xs
xsm
sm
md
lg

“ไม่ทำตามที่สอน อย่ามาอ้อนเรียกอาจารย์”

เผยแพร่:   โดย: ป.เพชรอริยะ

ระลึกวันครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พระอาจารย์พุทธทาสภิกขุ พระอริยสงฆ์ เป็นพระดีศรีแผ่นดิน (โลก) ท่านเคยพูดไว้ว่า “ไม่ทำตามที่สอน อย่ามาอ้อนเรียกอาจารย์” ซึ่งเป็นผู้เปิดเผยปรมัตถธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า อันลึกซึ้งที่สุด คือ ตถตา แปลว่า “เป็นเช่นนั้นเอง” พร้อมทั้งไวพจน์ ซึ่งใครๆ อาจจะเข้าใจยาก “ป. เพชรอริยะ” ได้นำมาสรุปและขยายความให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้

สภาวะตถตากับไวพจน์ที่เกี่ยวข้อง แสดงด้วยสี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะ

ตถตา (ธรรม)

อสังขตธรรม สังขตธรรม
นิพพาน จิต, เจตสิก รูป, กาย
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ธรรมะ ความเจริญ
จิตตสังขาร ความเสื่อม
t t

จากรูป สี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะ อธิบายให้เราทราบว่า

1. ลูกศร แสดงให้เห็นการเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกล่าง และดับไปในที่สุดของสังขารทั้งปวง ทางด้านนาม (จิตตสังขาร) เกิด - ดับ เป็นขณะๆ

2. ตัว t แสดงให้เห็น ช่วงระยะเวลา ที่เกิดขึ้น แปรปรวน และดับไป ของสังขารทั้งปวง (ด้านรูปธรรม, กาย เช่น ยุง 7 วัน แมว 10-12 ปี คนเฉลี่ย 75 ปี ฯลฯ)

3. สังขารทั้งปวง เป็นสิ่งผสมที่เกิดร่วมกัน เกิดพร้อมกันอย่างน้อย 2 สิ่ง จึงเกิดเป็นสัมพันธภาวะ และขัดกันระหว่างความเป็นภาวะกับความไม่เป็นภาวะ หรือความดำรงอยู่กับความไม่ดำรงอยู่ หรือความเจริญกับความเสื่อม หรือการเกิดขึ้นของกิเลสกับความดับกิเลส หรือความเกิดปรุงแต่งขัดกับความดับปรุงแต่ง หรืออธรรมขัดกับธรรมะ (ฝ่ายธรรมะชนะเสมอไป) หรือความขัดแย้งขัดกับความไม่ขัดแย้ง (ฝ่ายสันติชนะเสมอไป)

4. แสดงให้รู้ว่า สังขารทั้งปวงถูกครอบงำด้วยกฎไตรลักษณ์ เกิด แก่ ดับ หรือเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง ดับไปในที่สุด แสดงให้เห็นถึงความไม่มีแก่นสารของสังขารทั้งปวง

5. แสดงให้รู้ว่า อิทัปปัจจยตา คือกฎความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล การเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง ต้องเกิดจากเหตุปัจจัย จะเกิดขึ้นลอยๆ ไม่ได้ เช่น ตา ผัสสะ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แล้วเกิดกิเลส หรือเกิดความยินดี ไม่ยินดี เมื่อเกิดแล้วต้องดับ เกิดขึ้นเท่าใด ก็ต้องดับไปเท่านั้น

6. แสดงให้รู้ว่า ปฏิจจสมุปบาท อธิบายเหมือนกับในข้อ 5 และการเกิดทางใจเป็นขณะๆ เมื่อมีการปรุงแต่งเกิดขึ้นทางใจเช่น กลัว โลภ โกรธ หลง หรือดีใจ เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับไป แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความไม่มีแก่นสารของจิตตสังขาร แสดงให้เห็นความไม่มีตัวตนอย่างชัดเจน

7. แสดงให้รู้ว่า อวิตถตา คือภาวะที่ไม่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นอย่างนั้น เกิด - ดับ อยู่ในรอยเดิม คือสังขารทั้งปวงต้องเป็นไปตามข้อ 1- 6

8. แสดงให้รู้ว่า อนัญญถตา คือภาวะที่ไม่เป็นไปอย่างอื่นหรือไม่เป็นไปโดยประการอื่น คือสังขารทั้งปวงต้องเป็นไปตามข้อ 1-7

9. แสดงให้รู้ว่า ธรรมนิยามตา คือกฎธรรมชาติที่แสดงให้เห็นความเป็นระเบียบแน่นอนของสังขารทั้งปวง (ต้องเป็นไปตามข้อ 1- 8) และวิสังขาร หมายความว่า ถ้ามีปัญญารู้แจ้งในสังขาร เป็นกลางต่อสังขาร ไม่ติดยึดในสังขารแล้ว ดุจหยดน้ำลงบนใบบัว ก็จะเกิดปัญญาวิมุตติ อิสระจากสังขารทั้งปวง ก็จะพบสภาวะวิสังขาร หรือนิพพาน อันเป็นสภาวะอสังขตธรรม

10. แสดงให้รู้ว่า ธัมมัฏฐิตตา คือความตั้งอยู่ ความดำรงอยู่ของกฎธรรมชาติได้แก่ อสังขตธรรม พ้นจากกฎไตรลักษณ์ และสังขตธรรม ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (ต้องเป็นไปตามข้อ 1- 9)

11. แสดงให้รู้ว่า สุญญตา คือธรรมทั้งปวงว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน สภาวธรรมดังกล่าว (ต้องเป็นไปตามข้อ 1- 10) ไม่มีใครที่จะบังคับให้เป็นไปอย่างอื่นได้ สังขารทั้งปวงเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องดับไป ซ้ำในรอยเดิม และเมื่อไม่ยึดติดในสังขารทั้งปวง ก็จะอิสระเป็นวิสังขาร (นิพพาน) ทั้งสังขารทั้งปวงและวิสังขาร ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน อย่างสิ้นเชิง

12. แสดงให้รู้ว่า อตัมมยตา คือความที่ไม่ต้องสำเร็จมาจากสิ่งนั้น คือเมื่อรู้แจ้งเกี่ยวกับสังขารทั้งปวงอย่างละเอียดจนถึงที่สุด ก็จะเห็นว่าสังขารทั้งปวงพร่องอยู่เสมอ เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว วางใจเป็นกลาง จึงหาทางหลีกเสียจากสังขาร นั่นก็คือปัญญาที่รู้เท่าทันต่อสังขารทั้งปวง สิ้นอุปาทาน หมดความยึดมั่นถือมั่น จึงได้ (ผัสสะ) สัมพันธ์อิสระจากสังขารทั้งปวง (ปัญญาวิมุตติ) ดุจดังหยดน้ำกับใบบัว คือสามารถควบคุม ปฏิจจสมุปบาท ไม่ให้เกิดขึ้นในใจอีกต่อไป (พ้นจากข้อ 1- 11)

13. แสดงให้รู้ว่า ตถตา คือความเป็นเช่นนั้นเองแห่งธรรมทั้งปวง (ทั้ง อสังขตธรรม และ สังขตธรรม) ตถตา คือการมีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในธรรมทั้งปวงว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง (ข้อ 1- 12) โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือการคาดคะเนของผู้ปฏิบัติ และยอมรับว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แจ้งจริงโดยดุษฎี เป็นผู้เคารพพระรัตนตรัย และเป็นผู้เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างสมบูรณ์ และเคารพพระธรรมตามที่พระพุทธเจ้าเคารพ และเห็นองค์เอกภาพของของกฎธรรมธรรมชาติระหว่างอสังขตธรรมและสังขตธรรม หรือเอกภาพของความแตกต่างหลากหลาย

14. ถ้ารู้แจ้งจริงๆ จากข้อ 1- 13 ถามว่า สี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะจะเกิดขึ้นในใจอีกหรือไม่ ก. เกิดอีก, ข. เกิดบ้างไม่เกิดบ้าง, ค. ไม่เกิดอีกต่อไป ทั้งหมดเป็นปัจจัตตัง “สุทธิ อสุทธิ รู้ได้เฉพาะตน” ใครตอบถูกผู้นั้นรู้แจ้ง ได้ดวงตาเห็นธรรม “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินเวสาย ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”

15. เข้าใจดังนี้แล้ว ร่วมจัดตั้งเป็น องค์การเผยแผ่ธรรมาธิปไตยแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ เป็นภารกิจทางประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่แก้ไขยากที่สุด เพราะความหลงผิดของผู้ปกครอง นักวิชาการ พรรคการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน สื่อมวลชนบางส่วน ที่เข้าใจว่าปัจจุบันคือระบอบประชาธิปไตย เมื่อเข้าใจผิดเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ก็หมดหนทางที่จะแก้ไขเหตุวิกฤตให้ผ่านพ้นไปได้

ดังนั้นพรรคการเมืองทุกพรรค ที่เข้าใจว่าปัจจุบันเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นกลุ่มชนมิจฉาทิฐิ ด้อยคุณภาพ แต่โลภ และอยากเป็นใหญ่ จึงควรป้องกันไม่ให้คนจำพวกนี้ทำหน้าที่อีกต่อไป ล้วนเข้าไปโกงชาติให้ทรุดหนักลงไปอีก เป็นความหลงผิดที่แก้ไขยากจริงๆ ด้วยพวกเขาประมาทในธรรม มองข้ามคำสอนของพระพุทธเจ้า มองข้ามพระเจ้าแผ่นดิน จึงเขียนภาพรวมของกฎธรรมชาติมาให้พิจารณากัน องคุมาล ยังกลับใจได้ อย่าได้หลงใหลกันมากนัก พวกหนาทั้งหลาย

องค์สัมพันธภาพขันธ์ 5 (เบญจขันธ์)

ธรรม


อสังขตธรรม ดุลยภาพ สังขตธรรม
(ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง) (ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง)
นิพพาน จิต, เจตสิก, รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รู้แจ้งธรรมทั้งองค์รวม ธรรมะ ความเจริญ
มรรคมีองค์ 8 จิตตสังขาร ความเสื่อม ช่วงขณะจิตปรุงแต่ง ช่วงอายุ

(1)
(2)

อวิชชา 0 จุดยืนเพื่อชาติ100
อุทธัจจะ 10 คุณธรรม เมตตา 90
มานะ 20 เอื้ออาทร 80
อรูปราคะ 30 คิดสร้างสรรค์ 70
รูปราคะ 40 60
พยาบาท 5050
กามราคะ 60 ความหลง40
สีลัพพตฯ 70 ความโกรธ30
วิจิกิจฉา 80 ความโลภ20
สักกายทิฐิ 90 ความกลัว10
1000

ภาพแสดง
(1) ภูมิธรรมต่ำมีมาก ภูมิสูงมีน้อย
(2) ภูมิธรรมสูงมีปัญญามากทัศนะกว้างไกลสัจธรรมสัมบูรณ์ (Absolute truth)
สภาวะสมบูรณ์ในตัวเอง เป็นแก่นแท้
ไม่เกิด, ไม่แก่, ไม่ดับ เหนือกาลเวลา
พ้นการเปรียบเทียบ
พ้นการปรุงแต่งทั้งปวง
อนัตตา

ภาพแสดง ภูมิธรรมของมนุษย์ การวิปัสสนา ละสังโยชน์ 10 การยกจิต วิญญาณ ปัญญา ด้วยมรรคมีองค์ 8 สู่พระนิพพาน

สัจธรรมสัมพัทธ์ (Relative truth)
เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง ดับไปในที่สุด
เกิด แก่ ดับ ประกอบด้วยกาล เป็นมายา
เปรียบเทียบ, เชิงปริมาณ, คุณภาพ
กุศลธรรม, อัพยากตธรรม, อกุศลธรรม

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ สังขารา ทุกขา
(สัพเพ สังขารา อนัตตา)

สัพเพ ธรรมา อนัตตา

ธรรมทั้งปวงทั้ง อสังขตธรรม และ สังขตธรรม เป็นอนัตตา หรืออาจพูดได้ว่า “สัพเพ ธรรมา ตถตา”

ที่มาจากหนังสือ “ธรรมาธิปไตย 9 อารยธรรมของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดย ป. เพชรอริยะ และคณะ “ไม่มีค่าอันใดเลยสำหรับบางคน หรือมีค่ายิ่งใหญ่สูงสุดสำหรับบางคน” เป็นเช่นนั้นเอง
กำลังโหลดความคิดเห็น