"แม้ว"ดิ้นกลับสู่ตำแหน่งนายกฯ นั่งหัวโต๊ะประชุมครม.งัดกฎหมายสารพัดมาตรามาออกมติครม.ใหม่ ลบล้างมติเมื่อ 5 เม.ย.ที่ขอลาพัก สร้างภาพประชุมเช้า-บ่าย งัดมุกเดิมๆออกมาหาเสียง วันนี้ขึ้นเหนือตรวจน้ำท่วม ลังเลลงใต้ "การุณ"ยื่นศาลปกครอง สั่งแม้วพ้นเก้าอี้นายกฯ โพลยี้คนไม่รักษาคำพูด ขืนกลับมาการเมืองวุ่นแน่ สั่ง"อากู๋"ปิดคลื่น 94 โอเพ่นเรดิโอ ฐานไม่สนองนโยบายเชียร์รัฐบาลข้างเดียว ดันเชิญฝ่ายตรงข้ามมาด่ารัฐบาล
เมื่อเวลา 08.30 น.วานนี้ (23พ.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเข้ามาเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เป็นครั้งแรกนับแต่ที่ได้มีการประกาศเว้นวรรคการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตั้ง แต่วันที่ 4 เม.ย.เป็นต้นมา และได้มีมติครม.ในวันที่ 5 เม.ย.เรื่องขอลาพักการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และรมว.ยุติธรรม ปฏิบัติหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน
เมื่อพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางถึง บริเวณตึกเลขาธิการครม.(ตึกแดง)ได้มีบรรดามิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส และดาราชื่อดัง อาทิ พิงค์กี้-สาวิกา ไชยเดช ,อั้ม-อธิชาติ ชุมนานนท์ เป็นต้น เดินทางมาร่วมจำหน่ายเข็มกลัดกับธงเฉลิมพระเกียรติครบ 60 ปีครองราชย์ ให้แก่บรรดาคณะรัฐมนตรี และ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยพ.ต.ท.ทักษิณได้ทักทายอย่างอารมณ์ดี พร้อมควักเงิน 2 ครั้ง รวม 8,000 บาท เพื่อซื้อเข็มกลัด 3,000 บาท และธงเฉลิมพระเกียรติฯ 5,000 บาท
ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามนายกรัฐมนตรีว่า ต่อไปนี้จะมาเป็นประธานประชุมครม.ทุกนัดเลยหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ ตอบว่า "อ๋อ..แน่นอนสิครับ" เมื่อถามย้ำว่า จะกลับมาทำงานเต็มตัวเลยใช่ไหม พ.ต.ท.ทักษิณ ตอบรับว่า"ครับๆ ทำงาน" ผู้สื่อข่าวถามถึงโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะดำเนินการอย่างไรต่อไปหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ ตอบสั้นๆว่า "ก็เอาอะไรที่จำเป็นก่อน" ก่อนที่จะเดินเลี่ยงขึ้นตึก เพื่อเป็นประธานการประชุมครม.
**ยกเลิกมติครม.เรื่องขอพักงาน
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุม ครม.ว่าในช่วงก่อนเข้าสู่วาระการประชุม พ.ต.ท.ทักษิณ ได้แจ้งต่อที่ประชุม ขอให้ยกเลิก มติครม.เมื่อวันที่ 5 เม.ย.49 ซึ่งครม.ได้ให้ความเห็นชอบ และมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 92/2549 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10,38, 41,42,48 และ 49 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของครม.จึงให้ยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 49 และเพิ่มความ เป็นข้อ 2 ในส่วนที่ 1 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 59/2549 วันที่ 14 มี.ค.49 ดังต่อไปนี้ คือ ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาการแทนข้างต้นจะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และ การอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบของครม.ก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (23 พ.ค.49)
"นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณรัฐมนตรีทุกท่าน โดยเฉพาะ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งว่าจากการเดินทางไปพบผู้นำประเทศต่างๆ พบว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นผลให้เกิดการชะลอการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น นักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ตรงนี้นายกรัฐมนตรีคิดว่า เมื่อการเลือกตั้งครั้งใหม่ ซึ่งจะยาวนานไปอีก 5 เดือนข้างหน้า ฉะนั้นการเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง"
น.พ.สุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า การเข้าประชุมครั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้สั่งการเรื่องต่างๆ โดย 1.เรื่องภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ เห็นว่าขณะนี้มีลักษณะคล้าย แต่ไม่เหมือนทีเดียวกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เข้ามารับผิดชอบบริหารประเทศเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2544
"คือเมื่อปี 2544 เรื่องความเชื่อมั่นเศรษฐกิจของไทย ไม่มีเลย ส่วนปี 2549 ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ลดลง และในปี 2544 ประชาชนไม่มีเงินออมพอที่จะใช้จ่าย แต่ในปี 2549 ประชาชนมีเงินออมในกระเป๋า แต่ขาดความเชื่อมั่น และชะลอการใช้จ่ายไป การลงทุนต่างๆก็ลดลง ฉะนั้นการแก้ไขปัญหา จะต้องใช้หลักการที่คล้ายคลึงกัน คือ มุ่งเน้นแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ฐานราก เพื่อสามารถกระจายเศรษฐกิจขึ้นมาสู่เศรษฐกิจในเมือง และเมื่อเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวดีจึงจะขยายไปสู่ภาคเศรษฐกิจต่างประเทศต่อไป ฉะนั้นกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจ จะคล้ายกับกรอบพัฒนาเศรษฐกิจในปี 2544 โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป"
**เร่งงัดมุกเก่าออกมาหาเสียง
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเน้นว่า ในระยะต่อไปขอให้รัฐมนตรี เน้นการดำเนินการใน 3 เรื่อง 1. งานฉลองสิริราชย์สมบัติครบ 60 ปี ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 9 มิ.ย.49 และต่อเนื่องไปตลอดทั้งปี 2.การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ 3. การผลักดันนโยบายของรัฐบาลที่ได้ประกาศไว้แล้ว แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ หมายถึงนโยบายเก่าที่ได้ประกาศ และมีแผนงานแล้ว แต่นโยบายใหม่ยังไม่มีการดำเนินการ
ส่วนเรื่องสนามบินสุวรรณภูมิ ได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อติดตามและเร่งรัดการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งในวันที่ 25 พ.ค.นี้ เวลา 10.30 น.จะมีการประชุมในเรื่องนี้ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ
สำหรับกการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น ขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมการป.ป.ช. ทำให้มีเรื่องค้างการพิจารณาเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อส่วนราชการที่ได้ส่งเรื่องให้กับป.ป.ช.เนื่องจากต้องรอผลการพิจารณาของป.ป.ช.ก่อนที่จะดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งเวลานี้ต้องรอกระบวนการสรรหาคณะกรรมการป.ป.ช. พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มอบให้ นายวิษณุ เครืองาม รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาฯครม.หาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ด้านปัญหายาเสพติด ที่พบว่ามีการลักลอบนำเข้าตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้น โดยมีการแพร่กระจายไปในจุดต่างๆที่เคยระบาด แต่ยังไม่มีระบาดพื้นที่ใหม่ ซึ่งมีประชาชนมาร้องเรียนว่า ที่ลูกหลานเคยห่างจากยาเสพติด แต่ต้องมาผจญปัญหาอีก และหนีออกจากบ้านไป ฉะนั้น จึงเน้นให้เร่งเข้าไปแก้ปัญหา และให้ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
ส่วนการดำเนินนโยบายเอสเอ็มแอล ได้ขอให้พล.ต.อ.ชิดชัย และ กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการต่อไป รวมถึงการจัดทำสมาร์ทการ์ด ที่ยังล่าช้าก็ให้กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.นี้
ด้านการทำงานของผู้ว่าซีอีโอ ให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทยไปดำเนินการปลุกจิตสำนึกการดำเนินการของ ผู้ว่าซีอีโอและเน้นให้บริหารงบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นไปตามเป้าหมาย
สำหรับปัญหาในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ ได้คำนึงถึงความไม่ปลอดภัยของครูที่สอนในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ จึงขอให้เร่งรัดก่อสร้างรั้วโรงเรียนในเขตต่างๆ ที่เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย โดยให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกับหน่วยทหารพัฒนา และดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องบ้านพักครูด้วย ส่วนการทดลองนำร่องปลัดตำบล ในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้นั้น ขณะนี้ขอให้กระทรวงมหาดไทยไปดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในเรื่องการดำเนินการของกระทรวงต่างๆ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้สั่งการว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆของส่วนราชการ โดยเฉพาะคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับโครงการต่างๆ ขอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนที่มาจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนของสภาวิชาชีพ และสื่อมวลชนเป็นกรรมการด้วย หากเป็นไปได้ ในส่วนนี้ถ้าสื่อมวลชนได้ติดต่อไปแล้วให้ติดต่อผ่านสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เพื่อพิจารณาส่งตัวแทนมา ถ้าติดเงื่อนไขใดก็ให้มาร่วมสังเกตการณ์ รวมถึงการประชุมของคณะกรรมการต่างๆ ให้สื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมทุกครั้ง
น.พ.สุรพงษ์ กล่าวว่า เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งมวลชน ให้พิจารณาว่าโครงการที่เป็นโครงการเดิมที่ชะลอไปนั้นให้ดำเนินการโดยทบทวนแนวทางการดำเนินการที่สามารถดำเนินการได้ก่อน เช่น โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสีแดง ดอนเมือง พญาไท สุวรรณภูมิ หรือ สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ สายสีน้ำเงิน ฝั่งธนฯ-บางแค สามารถที่จะเร่งรัดดำเนินการได้ เพราะมีความชัดเจนในแนวทางของการก่อสร้างแล้ว โดยเน้นว่าการดำเนินการจะต้องยืดหยุ่น สามารถปรับระบบรองรับระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบในกรุงเทพฯได้ ส่วนเรื่องรถไฟฟ้ารางคู่ให้คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยไปพิจารณา
เรื่องการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้กระทรวงศึกษาฯ จัดซื้อโดยใช้งบประมาณปกติของกระทรวงไปได้ก่อน ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาฯ มีงบส่วนนี้ประมาณ 500 ล้านบาท
สำหรับเรื่องสินค้าการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และข้าว ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการดูแลเรื่องราคา เป็นพิเศษ
**หลบสื่อหลังถอนเว้นวรรค
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น.วานนี้ หลังพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ครั้งที่ 5/2549 ที่ ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้ ก่อนการประชุมได้มีกลุ่มนักธุรกิจเอกชนเข้ามามอบเช็คเงินสดที่จะสนับสนุนในการจัดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ อาทิ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ ,ปตท. ,บ.บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด(มหาชน) ,กฟผ. ,การบินไทย , ท่าอากาศยานไทย ,ไทยเบฟเวอเรจ, กสท. , ทีโอที และ ไปรษณีย์ไทย รวมแล้วเป็นเงินทั้งสินเป็นเงินกว่า 245 ล้านบาท
ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว กล่าวเพียงสั้นๆว่า"ทำงาน ทำงาน" และเมื่อผู้สื่อข่าวถามเรื่องการประชุมถึงการประชุมครม.อีกรอบในช่วงเย็นวันนี้ว่า"ประชุมต่อในเรื่องที่ยังค้างอยู่"
**จ่ายยาครอบจักรวาลกู้คะแนนคืน
ต่อมาเมื่อเวลา 19.15 น. น.พ.สุรพงษ์ ให้สัมภาษณ์อีกครั้ง หลังการประชุม ครม.รอบบ่าย (16.00 น.) ว่า เป็นการพิจารณางานของรองนายกรัฐมนตรี 4 คน ประกอบด้วย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายวิษณุ เครืองาม และนพ.สุชัย เจริญรัตนกุล โดยเน้นปัญหาเศรษฐกิจ ยึดหลักเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้ประชาชน ซึ่งวันนี้ค่าเงินบาทผันผวน ราคาน้ำมัน และดอกเบี้ยสูง
ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ มอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไปหาข้อมูลต่างๆ และนำมาประชุมอีกครั้งในวันที่ 29 พ.ค.ว่า จะมีมาตรการช่วยประชาชนอย่างไรบ้าง
สำหรับในเช้าวันนี้ (24 พ.ค.)นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปตรวจพื้นที่น้ำท่วมในภาคเหนือ จากนั้นเวลา 16.00 น.จะกลับกทม.เพื่อประชุมกับผู้รับผิดชอบโครงการโอ-ทอป โครงการ เอสเอ็มแอล โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนและโครงการกองทุนหมู่บ้านฯ
รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.แจ้งว่า การประชุมครม.ในรอบบ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ย้ำเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจว่า 3 เดือนจากนี้ไปต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ได้ เพราะมีปัจจัยหลายด้านที่ทำให้เศรษฐกิจตกลงมา หาก 3 เดือนข้างหน้าแก้เรื่องนี้ไม่ได้ ก็จะดึงเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว และโตขึ้นไม่ได้ และจากนี้ไปต้องช่วยชนชั้นกลาง โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนเป็นหลัก เพราะได้รับผลกระทบเยอะจากราคาน้ำมันและดอกเบี้ยที่สูง เพราะชนชั้นกลางต้องใช้เงินผ่อนรถและผ่อนบ้าน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังมอบหมายให้สภาพัฒน์ฯประเมินรายได้ประชาชนเช่นค่าแรงขั้นต่ำว่าจะพอมีหนทางที่จะเพิ่มค่าแรงให้ได้บ้างหรือไม่
**ร้องศาลปกครอง สั่งแม้วพ้นนายกฯ
ในวันเดียวกันนี้ นายการุณ ใสงาม ส.ว.บุรีรัมย์ นายสกุล สื่อทรงธรรม กรรมการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย และนายวรินทร์ เทียมจรัส เลขานุการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย เดินทางมายื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองสูงสุด โดยขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้นายกฯ พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ นับแต่วันที่ 5 เม.ย.49 เป็นต้นไป และห้ามไม่ให้กระทำการใดๆ ในตำแหน่งนายกฯอีก และขอให้มีคำสั่งให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะ พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ หรือพ้นจากการทำหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. เนื่องจากความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลงแล้ว
นายการุณ กล่าวว่า เหตุที่ต้องฟ้องคดี เนื่องจากการลาพักปฎิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีได้สิ้นสุดไปแล้วตาม มาตรา 215 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญ การที่นายกฯ พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายไปแล้ว และจะกลับมาบริหารประเทศต่อหรือใช้อำนาจบริหารราชการ โดยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อการบริหารราชการ และอาจเป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ฯ เพราะอาจจะมีการสนองพระบรมราชโองการ หรือ นำพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และประกาศต่างๆ เพื่อทูลเกล้าฯ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย รวมทั้งคำสั่งและมติต่างๆ ที่ออกโดยนายกฯ และครม.จะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่อาจเยียวยาแก้ไขได้ในภายหลัง
ดังนั้น จึงขอให้ศาลดำเนินการไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยการให้ระงับการกระทำใดๆ ของนายก ฯ และครม.ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอื่นๆ ต่อไป
"เราจะปล่อยให้คนผิดกฎหมาย หรือคนเถื่อน มาบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างไร"นายการุณ กล่าว
**เลี้ยบยันแม้วกลับเป็นนายกฯเหมือนเดิม
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กล่าวถึงสถานภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะนี้ ว่า เมื่อครม.มีมติยกเลิกมติครม.วันที่ 5เม.ย.เรื่องการขอลาพักการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 ตอนนี้เท่ากับว่าสถานะ ของพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีเหมือนเดิมแล้ว เหมือนตอนหลังการยุสภาฯ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 215 วรรค สอง คือ นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งด้วยการยุบสภา แต่ภาษาราชการ ไม่ใช้คำว่า รักษาการนายกรัฐมนตรี เรียก นายกรัฐมนตรีเหมือนเดิม ดังนั้น นายกรัฐมนตรีได้พ้นตำแหน่งด้วยการยุบสภาแล้ว เพราะฉะนั้นจะไม่มีการพ้นตำแหน่งอีก แต่เมื่อวันที่ 5 เม.ย.คือ การขอลาพักการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น
**โพลชี้ แม้วกลับมาการเมืองวุ่นแน่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง"ประชาชนคิดอย่างไร เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี กลับมาทำงานอีกครั้ง" จากกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,598 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 21-22 พ.ค.ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ควรรักษาคำพูดหรือไม่ เพื่อจะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.0 ระบุ ควรรักษาคำพูด ขณะที่ร้อยละ 44.0 ระบุ ไม่ต้องรักษาคำพูด
ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาทำงานต่อในรัฐบาลรักษาการ จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.2 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ขณะที่ ร้อยละ 42.8 คิดว่าไม่เกิด
นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 46.9 คิดว่า กกต.3 คนที่เหลือ ควรลาออก เพื่อสรรหากกต.ชุดใหม่ทั้งชุด ขณะที่มีเพียงร้อยละ 16.7 ที่คิดว่า ไม่ควรลาออก และ ร้อยละ 36.4 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.9 คิดว่า จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ถ้าหากกกต.ชุดเดิมยังคงทำงานต่อไป ขณะที่ ร้อยละ 33.1 คิดว่า ไม่เกิด
เมื่อสอบถามถึงความเห็นต่อ ประธานวุฒิสภา ในการกำหนดแนวทางเพื่อสรรหา กกต.พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 62.3 เห็นว่า ควรสรรหาใหม่ทั้งชุด (5 ตำแหน่ง) ในขณะที่ร้อยละ 37.7 ควรสรรหาใหม่เฉพาะตำแหน่งที่ว่างลง
อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองขณะนี้ จะเห็นได้ว่า มีเงื่อนตายทางการเมืองอย่างน้อย 2 ปมใหม่เกิดขึ้น จากเดิมอยู่ที่กกต. แต่ได้เพิ่มปมการกลับมาของพ.ต.ท.ทักษิณ และบทบาทของประธานวุฒิสภา ที่จะผลักดันให้มีการสรรหากกต.ขึ้นมาใหม่อีก 2 คน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ซึ่งเปรียบเสมือนกองเพลิงทางการเมือง ที่ลุกโชนขึ้นอีกสองจุด ที่ยากจะคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตอันใกล้นี้
**ใบสั่ง"แม้ว"ปิดโอเพ่นเรดิโอ
มีรายงานข่าวว่า สำนักข่าวไทยไทมส์ โอเพ่นเรดิโอ 94 เมกะเฮิรตซ์ ของกองทัพบก ภายใต้สังกัดของแกรมมี่ ซึ่งประกาศตัวเป็นสถานีข่าว และออกอากาศมาเป็นเวลา 5 เดือน จะปิดตัวเองลงในสิ้นเดือนพ.ค.นี้ โดยทางผู้บริหารแกรมมี่อ้างสาเหตุการปิดตัวของสถานีข่าวแห่งนี้ว่าประสบกับภาวะขาดทุน และจะเปลี่ยนไปเป็นสถานีเพื่อความบันเทิงแทน
แหล่งข่าวในสำนักข่าวไทยไทมส์ เปิดเผยว่า โอเพ่นเรดิโอ ซึ่งมีนายพิรุณ ฉัตรวณิชกุล เป็นผู้บริหาร ได้ฟอร์มทีมงานโดยการดึงตัวผู้สื่อข่าว และผู้ดำเนินรายการที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาร่วมงานจำนวนมาก โดยแลกกับผลตอบแทนที่สูง โดยหวังจะให้เป็นสถานีข่าวชั้นแนวหน้า อย่างไรก็ตาม แม้การจัดรายการจะพยายามเสนอข่าวที่สนับสนุนแนวทางของรัฐบาลตามนโยบายของผู้บริหารเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้มีการเปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลมาออกอากาศด้วย เพื่อแสดงความเป็นมืออาชีพ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้บริหารที่มีความสนิทสนมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างมาก
โดยก่อนหน้านี้ได้มีคำสั่งให้นางยุวดี ธัญญสิริ และนางอำพา สันติเมทนีดล 2 ผู้ดำเนินรายการ ยุติการจัดรายการ เนื่องจากผู้ดำเนินรายการทั้งสองได้เชิญ นายโสภณ สุภาพงษ์ มาออกอากาศ และแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในแง่ลบ
แหล่งข่าวเปิดเผยคำสั่งดังกล่าวว่า เกิดขึ้นภายหลังจากเมื่อวันพุธที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางเข้าไปพบกับนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่สำนักงานถนนอโศก จนกระทั่งมีคำสั่งปิดสถานีข่าว โดยทางแกรมมี่จะนำคลื่น เอฟเอ็ม 94 มาเป็นสถานีด้านความบันเทิงแทน
ก่อนหน้านี้ นายพิรุณได้ผู้ประกาศตัวเป็นเจ้าของไทยไทม์นิวส์ แต่วงในรู้กันว่า นายทุนที่แท้จริงคือนายไพบูลย์ เนื่องจากทั้งสองคนเป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่เป็นนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตอนนั้นนายพิรุณ เป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ปี 2514 ขณะที่ นายไพบูลย์ เป็นผู้แทนคณะนิเทศศาสตร์ จากนั้นต่างก็เดินตามเส้นทางของตัวเอง โดยนายไพบูลย์กลายเป็นอภิมหาเศรษฐีเจ้าของค่ายเพลงแกรมมี่ และเป็นเพื่อนสนิทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนนายพิรุณเดินทางเข้าป่า กลายเป็น “สหายขวาน”กรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังถูกจับติดคุก 5 ปี ออกมาเป็นนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ และเป็นรองเลขาธิการ กกต.
ทั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช ส.ว.กทม.ได้เคยออกมาโจมตีคลื่น 94 แห่งนี้(ไทยไทมส์)อย่างรุนแรงโดยระบุว่า เป็นคลื่นที่ปลุกระดม ปล่ยให้โจมตีรัฐบาลได้อย่างไร พร้อมทั้งตำหนิกองทัพบกในฐานะเจ้าของคลื่นอย่างรุนแรงเช่นเดียวกันด้วย
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ทางรัฐบาลได้เปิดให้คลื่นวิทยุชุมชน 94.25 และ 94.75 เมกะเฮิรตซ์ เข้ามาทำหน้าที่กระบอกเสียงของรัฐบาล โดยมีการดำเนินรายการโจมตีฝ่ายต่อต้านรัฐบาล รวมทั้งโจมตีการทำงานของสถาบันตุลาการ ที่ออกมาเรียกร้องให้ กกต.ลาออก โดยทั้งสองสถานีมีคลื่นความถี่ที่สูง สามารถรับฟังได้ไกลกว่าข้อกำหนดของวิทยุชุมชน แม้จะมีการร้องเรียนไปยัง นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแล้วก็ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ทั้งที่ก่อนหน้านี้นายสุรนันทน์ ได้อ้างคำร้องเรียนของประชาชนในการปิดสถานีวิทยุที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหลายครั้ง
เมื่อเวลา 08.30 น.วานนี้ (23พ.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเข้ามาเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เป็นครั้งแรกนับแต่ที่ได้มีการประกาศเว้นวรรคการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตั้ง แต่วันที่ 4 เม.ย.เป็นต้นมา และได้มีมติครม.ในวันที่ 5 เม.ย.เรื่องขอลาพักการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และรมว.ยุติธรรม ปฏิบัติหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน
เมื่อพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางถึง บริเวณตึกเลขาธิการครม.(ตึกแดง)ได้มีบรรดามิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส และดาราชื่อดัง อาทิ พิงค์กี้-สาวิกา ไชยเดช ,อั้ม-อธิชาติ ชุมนานนท์ เป็นต้น เดินทางมาร่วมจำหน่ายเข็มกลัดกับธงเฉลิมพระเกียรติครบ 60 ปีครองราชย์ ให้แก่บรรดาคณะรัฐมนตรี และ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยพ.ต.ท.ทักษิณได้ทักทายอย่างอารมณ์ดี พร้อมควักเงิน 2 ครั้ง รวม 8,000 บาท เพื่อซื้อเข็มกลัด 3,000 บาท และธงเฉลิมพระเกียรติฯ 5,000 บาท
ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามนายกรัฐมนตรีว่า ต่อไปนี้จะมาเป็นประธานประชุมครม.ทุกนัดเลยหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ ตอบว่า "อ๋อ..แน่นอนสิครับ" เมื่อถามย้ำว่า จะกลับมาทำงานเต็มตัวเลยใช่ไหม พ.ต.ท.ทักษิณ ตอบรับว่า"ครับๆ ทำงาน" ผู้สื่อข่าวถามถึงโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะดำเนินการอย่างไรต่อไปหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ ตอบสั้นๆว่า "ก็เอาอะไรที่จำเป็นก่อน" ก่อนที่จะเดินเลี่ยงขึ้นตึก เพื่อเป็นประธานการประชุมครม.
**ยกเลิกมติครม.เรื่องขอพักงาน
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุม ครม.ว่าในช่วงก่อนเข้าสู่วาระการประชุม พ.ต.ท.ทักษิณ ได้แจ้งต่อที่ประชุม ขอให้ยกเลิก มติครม.เมื่อวันที่ 5 เม.ย.49 ซึ่งครม.ได้ให้ความเห็นชอบ และมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 92/2549 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10,38, 41,42,48 และ 49 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของครม.จึงให้ยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 49 และเพิ่มความ เป็นข้อ 2 ในส่วนที่ 1 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 59/2549 วันที่ 14 มี.ค.49 ดังต่อไปนี้ คือ ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาการแทนข้างต้นจะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และ การอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบของครม.ก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (23 พ.ค.49)
"นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณรัฐมนตรีทุกท่าน โดยเฉพาะ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งว่าจากการเดินทางไปพบผู้นำประเทศต่างๆ พบว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นผลให้เกิดการชะลอการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น นักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ตรงนี้นายกรัฐมนตรีคิดว่า เมื่อการเลือกตั้งครั้งใหม่ ซึ่งจะยาวนานไปอีก 5 เดือนข้างหน้า ฉะนั้นการเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง"
น.พ.สุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า การเข้าประชุมครั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้สั่งการเรื่องต่างๆ โดย 1.เรื่องภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ เห็นว่าขณะนี้มีลักษณะคล้าย แต่ไม่เหมือนทีเดียวกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เข้ามารับผิดชอบบริหารประเทศเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2544
"คือเมื่อปี 2544 เรื่องความเชื่อมั่นเศรษฐกิจของไทย ไม่มีเลย ส่วนปี 2549 ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ลดลง และในปี 2544 ประชาชนไม่มีเงินออมพอที่จะใช้จ่าย แต่ในปี 2549 ประชาชนมีเงินออมในกระเป๋า แต่ขาดความเชื่อมั่น และชะลอการใช้จ่ายไป การลงทุนต่างๆก็ลดลง ฉะนั้นการแก้ไขปัญหา จะต้องใช้หลักการที่คล้ายคลึงกัน คือ มุ่งเน้นแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ฐานราก เพื่อสามารถกระจายเศรษฐกิจขึ้นมาสู่เศรษฐกิจในเมือง และเมื่อเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวดีจึงจะขยายไปสู่ภาคเศรษฐกิจต่างประเทศต่อไป ฉะนั้นกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจ จะคล้ายกับกรอบพัฒนาเศรษฐกิจในปี 2544 โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป"
**เร่งงัดมุกเก่าออกมาหาเสียง
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเน้นว่า ในระยะต่อไปขอให้รัฐมนตรี เน้นการดำเนินการใน 3 เรื่อง 1. งานฉลองสิริราชย์สมบัติครบ 60 ปี ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 9 มิ.ย.49 และต่อเนื่องไปตลอดทั้งปี 2.การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ 3. การผลักดันนโยบายของรัฐบาลที่ได้ประกาศไว้แล้ว แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ หมายถึงนโยบายเก่าที่ได้ประกาศ และมีแผนงานแล้ว แต่นโยบายใหม่ยังไม่มีการดำเนินการ
ส่วนเรื่องสนามบินสุวรรณภูมิ ได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อติดตามและเร่งรัดการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งในวันที่ 25 พ.ค.นี้ เวลา 10.30 น.จะมีการประชุมในเรื่องนี้ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ
สำหรับกการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น ขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมการป.ป.ช. ทำให้มีเรื่องค้างการพิจารณาเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อส่วนราชการที่ได้ส่งเรื่องให้กับป.ป.ช.เนื่องจากต้องรอผลการพิจารณาของป.ป.ช.ก่อนที่จะดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งเวลานี้ต้องรอกระบวนการสรรหาคณะกรรมการป.ป.ช. พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มอบให้ นายวิษณุ เครืองาม รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาฯครม.หาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ด้านปัญหายาเสพติด ที่พบว่ามีการลักลอบนำเข้าตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้น โดยมีการแพร่กระจายไปในจุดต่างๆที่เคยระบาด แต่ยังไม่มีระบาดพื้นที่ใหม่ ซึ่งมีประชาชนมาร้องเรียนว่า ที่ลูกหลานเคยห่างจากยาเสพติด แต่ต้องมาผจญปัญหาอีก และหนีออกจากบ้านไป ฉะนั้น จึงเน้นให้เร่งเข้าไปแก้ปัญหา และให้ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
ส่วนการดำเนินนโยบายเอสเอ็มแอล ได้ขอให้พล.ต.อ.ชิดชัย และ กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการต่อไป รวมถึงการจัดทำสมาร์ทการ์ด ที่ยังล่าช้าก็ให้กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.นี้
ด้านการทำงานของผู้ว่าซีอีโอ ให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทยไปดำเนินการปลุกจิตสำนึกการดำเนินการของ ผู้ว่าซีอีโอและเน้นให้บริหารงบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นไปตามเป้าหมาย
สำหรับปัญหาในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ ได้คำนึงถึงความไม่ปลอดภัยของครูที่สอนในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ จึงขอให้เร่งรัดก่อสร้างรั้วโรงเรียนในเขตต่างๆ ที่เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย โดยให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกับหน่วยทหารพัฒนา และดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องบ้านพักครูด้วย ส่วนการทดลองนำร่องปลัดตำบล ในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้นั้น ขณะนี้ขอให้กระทรวงมหาดไทยไปดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในเรื่องการดำเนินการของกระทรวงต่างๆ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้สั่งการว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆของส่วนราชการ โดยเฉพาะคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับโครงการต่างๆ ขอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนที่มาจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนของสภาวิชาชีพ และสื่อมวลชนเป็นกรรมการด้วย หากเป็นไปได้ ในส่วนนี้ถ้าสื่อมวลชนได้ติดต่อไปแล้วให้ติดต่อผ่านสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เพื่อพิจารณาส่งตัวแทนมา ถ้าติดเงื่อนไขใดก็ให้มาร่วมสังเกตการณ์ รวมถึงการประชุมของคณะกรรมการต่างๆ ให้สื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมทุกครั้ง
น.พ.สุรพงษ์ กล่าวว่า เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งมวลชน ให้พิจารณาว่าโครงการที่เป็นโครงการเดิมที่ชะลอไปนั้นให้ดำเนินการโดยทบทวนแนวทางการดำเนินการที่สามารถดำเนินการได้ก่อน เช่น โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสีแดง ดอนเมือง พญาไท สุวรรณภูมิ หรือ สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ สายสีน้ำเงิน ฝั่งธนฯ-บางแค สามารถที่จะเร่งรัดดำเนินการได้ เพราะมีความชัดเจนในแนวทางของการก่อสร้างแล้ว โดยเน้นว่าการดำเนินการจะต้องยืดหยุ่น สามารถปรับระบบรองรับระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบในกรุงเทพฯได้ ส่วนเรื่องรถไฟฟ้ารางคู่ให้คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยไปพิจารณา
เรื่องการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้กระทรวงศึกษาฯ จัดซื้อโดยใช้งบประมาณปกติของกระทรวงไปได้ก่อน ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาฯ มีงบส่วนนี้ประมาณ 500 ล้านบาท
สำหรับเรื่องสินค้าการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และข้าว ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการดูแลเรื่องราคา เป็นพิเศษ
**หลบสื่อหลังถอนเว้นวรรค
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น.วานนี้ หลังพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ครั้งที่ 5/2549 ที่ ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้ ก่อนการประชุมได้มีกลุ่มนักธุรกิจเอกชนเข้ามามอบเช็คเงินสดที่จะสนับสนุนในการจัดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ อาทิ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ ,ปตท. ,บ.บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด(มหาชน) ,กฟผ. ,การบินไทย , ท่าอากาศยานไทย ,ไทยเบฟเวอเรจ, กสท. , ทีโอที และ ไปรษณีย์ไทย รวมแล้วเป็นเงินทั้งสินเป็นเงินกว่า 245 ล้านบาท
ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว กล่าวเพียงสั้นๆว่า"ทำงาน ทำงาน" และเมื่อผู้สื่อข่าวถามเรื่องการประชุมถึงการประชุมครม.อีกรอบในช่วงเย็นวันนี้ว่า"ประชุมต่อในเรื่องที่ยังค้างอยู่"
**จ่ายยาครอบจักรวาลกู้คะแนนคืน
ต่อมาเมื่อเวลา 19.15 น. น.พ.สุรพงษ์ ให้สัมภาษณ์อีกครั้ง หลังการประชุม ครม.รอบบ่าย (16.00 น.) ว่า เป็นการพิจารณางานของรองนายกรัฐมนตรี 4 คน ประกอบด้วย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายวิษณุ เครืองาม และนพ.สุชัย เจริญรัตนกุล โดยเน้นปัญหาเศรษฐกิจ ยึดหลักเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้ประชาชน ซึ่งวันนี้ค่าเงินบาทผันผวน ราคาน้ำมัน และดอกเบี้ยสูง
ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ มอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไปหาข้อมูลต่างๆ และนำมาประชุมอีกครั้งในวันที่ 29 พ.ค.ว่า จะมีมาตรการช่วยประชาชนอย่างไรบ้าง
สำหรับในเช้าวันนี้ (24 พ.ค.)นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปตรวจพื้นที่น้ำท่วมในภาคเหนือ จากนั้นเวลา 16.00 น.จะกลับกทม.เพื่อประชุมกับผู้รับผิดชอบโครงการโอ-ทอป โครงการ เอสเอ็มแอล โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนและโครงการกองทุนหมู่บ้านฯ
รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.แจ้งว่า การประชุมครม.ในรอบบ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ย้ำเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจว่า 3 เดือนจากนี้ไปต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ได้ เพราะมีปัจจัยหลายด้านที่ทำให้เศรษฐกิจตกลงมา หาก 3 เดือนข้างหน้าแก้เรื่องนี้ไม่ได้ ก็จะดึงเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว และโตขึ้นไม่ได้ และจากนี้ไปต้องช่วยชนชั้นกลาง โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนเป็นหลัก เพราะได้รับผลกระทบเยอะจากราคาน้ำมันและดอกเบี้ยที่สูง เพราะชนชั้นกลางต้องใช้เงินผ่อนรถและผ่อนบ้าน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังมอบหมายให้สภาพัฒน์ฯประเมินรายได้ประชาชนเช่นค่าแรงขั้นต่ำว่าจะพอมีหนทางที่จะเพิ่มค่าแรงให้ได้บ้างหรือไม่
**ร้องศาลปกครอง สั่งแม้วพ้นนายกฯ
ในวันเดียวกันนี้ นายการุณ ใสงาม ส.ว.บุรีรัมย์ นายสกุล สื่อทรงธรรม กรรมการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย และนายวรินทร์ เทียมจรัส เลขานุการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย เดินทางมายื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองสูงสุด โดยขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้นายกฯ พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ นับแต่วันที่ 5 เม.ย.49 เป็นต้นไป และห้ามไม่ให้กระทำการใดๆ ในตำแหน่งนายกฯอีก และขอให้มีคำสั่งให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะ พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ หรือพ้นจากการทำหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. เนื่องจากความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลงแล้ว
นายการุณ กล่าวว่า เหตุที่ต้องฟ้องคดี เนื่องจากการลาพักปฎิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีได้สิ้นสุดไปแล้วตาม มาตรา 215 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญ การที่นายกฯ พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายไปแล้ว และจะกลับมาบริหารประเทศต่อหรือใช้อำนาจบริหารราชการ โดยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อการบริหารราชการ และอาจเป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ฯ เพราะอาจจะมีการสนองพระบรมราชโองการ หรือ นำพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และประกาศต่างๆ เพื่อทูลเกล้าฯ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย รวมทั้งคำสั่งและมติต่างๆ ที่ออกโดยนายกฯ และครม.จะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่อาจเยียวยาแก้ไขได้ในภายหลัง
ดังนั้น จึงขอให้ศาลดำเนินการไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยการให้ระงับการกระทำใดๆ ของนายก ฯ และครม.ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอื่นๆ ต่อไป
"เราจะปล่อยให้คนผิดกฎหมาย หรือคนเถื่อน มาบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างไร"นายการุณ กล่าว
**เลี้ยบยันแม้วกลับเป็นนายกฯเหมือนเดิม
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กล่าวถึงสถานภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะนี้ ว่า เมื่อครม.มีมติยกเลิกมติครม.วันที่ 5เม.ย.เรื่องการขอลาพักการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 ตอนนี้เท่ากับว่าสถานะ ของพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีเหมือนเดิมแล้ว เหมือนตอนหลังการยุสภาฯ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 215 วรรค สอง คือ นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งด้วยการยุบสภา แต่ภาษาราชการ ไม่ใช้คำว่า รักษาการนายกรัฐมนตรี เรียก นายกรัฐมนตรีเหมือนเดิม ดังนั้น นายกรัฐมนตรีได้พ้นตำแหน่งด้วยการยุบสภาแล้ว เพราะฉะนั้นจะไม่มีการพ้นตำแหน่งอีก แต่เมื่อวันที่ 5 เม.ย.คือ การขอลาพักการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น
**โพลชี้ แม้วกลับมาการเมืองวุ่นแน่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง"ประชาชนคิดอย่างไร เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี กลับมาทำงานอีกครั้ง" จากกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,598 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 21-22 พ.ค.ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ควรรักษาคำพูดหรือไม่ เพื่อจะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.0 ระบุ ควรรักษาคำพูด ขณะที่ร้อยละ 44.0 ระบุ ไม่ต้องรักษาคำพูด
ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาทำงานต่อในรัฐบาลรักษาการ จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.2 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ขณะที่ ร้อยละ 42.8 คิดว่าไม่เกิด
นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 46.9 คิดว่า กกต.3 คนที่เหลือ ควรลาออก เพื่อสรรหากกต.ชุดใหม่ทั้งชุด ขณะที่มีเพียงร้อยละ 16.7 ที่คิดว่า ไม่ควรลาออก และ ร้อยละ 36.4 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.9 คิดว่า จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ถ้าหากกกต.ชุดเดิมยังคงทำงานต่อไป ขณะที่ ร้อยละ 33.1 คิดว่า ไม่เกิด
เมื่อสอบถามถึงความเห็นต่อ ประธานวุฒิสภา ในการกำหนดแนวทางเพื่อสรรหา กกต.พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 62.3 เห็นว่า ควรสรรหาใหม่ทั้งชุด (5 ตำแหน่ง) ในขณะที่ร้อยละ 37.7 ควรสรรหาใหม่เฉพาะตำแหน่งที่ว่างลง
อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองขณะนี้ จะเห็นได้ว่า มีเงื่อนตายทางการเมืองอย่างน้อย 2 ปมใหม่เกิดขึ้น จากเดิมอยู่ที่กกต. แต่ได้เพิ่มปมการกลับมาของพ.ต.ท.ทักษิณ และบทบาทของประธานวุฒิสภา ที่จะผลักดันให้มีการสรรหากกต.ขึ้นมาใหม่อีก 2 คน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ซึ่งเปรียบเสมือนกองเพลิงทางการเมือง ที่ลุกโชนขึ้นอีกสองจุด ที่ยากจะคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตอันใกล้นี้
**ใบสั่ง"แม้ว"ปิดโอเพ่นเรดิโอ
มีรายงานข่าวว่า สำนักข่าวไทยไทมส์ โอเพ่นเรดิโอ 94 เมกะเฮิรตซ์ ของกองทัพบก ภายใต้สังกัดของแกรมมี่ ซึ่งประกาศตัวเป็นสถานีข่าว และออกอากาศมาเป็นเวลา 5 เดือน จะปิดตัวเองลงในสิ้นเดือนพ.ค.นี้ โดยทางผู้บริหารแกรมมี่อ้างสาเหตุการปิดตัวของสถานีข่าวแห่งนี้ว่าประสบกับภาวะขาดทุน และจะเปลี่ยนไปเป็นสถานีเพื่อความบันเทิงแทน
แหล่งข่าวในสำนักข่าวไทยไทมส์ เปิดเผยว่า โอเพ่นเรดิโอ ซึ่งมีนายพิรุณ ฉัตรวณิชกุล เป็นผู้บริหาร ได้ฟอร์มทีมงานโดยการดึงตัวผู้สื่อข่าว และผู้ดำเนินรายการที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาร่วมงานจำนวนมาก โดยแลกกับผลตอบแทนที่สูง โดยหวังจะให้เป็นสถานีข่าวชั้นแนวหน้า อย่างไรก็ตาม แม้การจัดรายการจะพยายามเสนอข่าวที่สนับสนุนแนวทางของรัฐบาลตามนโยบายของผู้บริหารเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้มีการเปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลมาออกอากาศด้วย เพื่อแสดงความเป็นมืออาชีพ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้บริหารที่มีความสนิทสนมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างมาก
โดยก่อนหน้านี้ได้มีคำสั่งให้นางยุวดี ธัญญสิริ และนางอำพา สันติเมทนีดล 2 ผู้ดำเนินรายการ ยุติการจัดรายการ เนื่องจากผู้ดำเนินรายการทั้งสองได้เชิญ นายโสภณ สุภาพงษ์ มาออกอากาศ และแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในแง่ลบ
แหล่งข่าวเปิดเผยคำสั่งดังกล่าวว่า เกิดขึ้นภายหลังจากเมื่อวันพุธที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางเข้าไปพบกับนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่สำนักงานถนนอโศก จนกระทั่งมีคำสั่งปิดสถานีข่าว โดยทางแกรมมี่จะนำคลื่น เอฟเอ็ม 94 มาเป็นสถานีด้านความบันเทิงแทน
ก่อนหน้านี้ นายพิรุณได้ผู้ประกาศตัวเป็นเจ้าของไทยไทม์นิวส์ แต่วงในรู้กันว่า นายทุนที่แท้จริงคือนายไพบูลย์ เนื่องจากทั้งสองคนเป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่เป็นนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตอนนั้นนายพิรุณ เป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ปี 2514 ขณะที่ นายไพบูลย์ เป็นผู้แทนคณะนิเทศศาสตร์ จากนั้นต่างก็เดินตามเส้นทางของตัวเอง โดยนายไพบูลย์กลายเป็นอภิมหาเศรษฐีเจ้าของค่ายเพลงแกรมมี่ และเป็นเพื่อนสนิทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนนายพิรุณเดินทางเข้าป่า กลายเป็น “สหายขวาน”กรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังถูกจับติดคุก 5 ปี ออกมาเป็นนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ และเป็นรองเลขาธิการ กกต.
ทั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช ส.ว.กทม.ได้เคยออกมาโจมตีคลื่น 94 แห่งนี้(ไทยไทมส์)อย่างรุนแรงโดยระบุว่า เป็นคลื่นที่ปลุกระดม ปล่ยให้โจมตีรัฐบาลได้อย่างไร พร้อมทั้งตำหนิกองทัพบกในฐานะเจ้าของคลื่นอย่างรุนแรงเช่นเดียวกันด้วย
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ทางรัฐบาลได้เปิดให้คลื่นวิทยุชุมชน 94.25 และ 94.75 เมกะเฮิรตซ์ เข้ามาทำหน้าที่กระบอกเสียงของรัฐบาล โดยมีการดำเนินรายการโจมตีฝ่ายต่อต้านรัฐบาล รวมทั้งโจมตีการทำงานของสถาบันตุลาการ ที่ออกมาเรียกร้องให้ กกต.ลาออก โดยทั้งสองสถานีมีคลื่นความถี่ที่สูง สามารถรับฟังได้ไกลกว่าข้อกำหนดของวิทยุชุมชน แม้จะมีการร้องเรียนไปยัง นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแล้วก็ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ทั้งที่ก่อนหน้านี้นายสุรนันทน์ ได้อ้างคำร้องเรียนของประชาชนในการปิดสถานีวิทยุที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหลายครั้ง