ผู้จัดการรายวัน - นักวิชาการวิพากษ์ กกต.ไร้ความสุจริตและเที่ยงธรรม จัดเลือกตั้งเอื้อพรรรคใหญ่ ขัด รธน. “วรเจตน์” ระบุต้นต่อมาจากศาล รธน.ออกคำวินิจฉัยให้อำนาจเบ็ดเสร็จ กกต. โดยไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุล แนะเช็คบิล กกต.ชุดปัจจุยัน เสนอวิธีสรรหาใหม่ ให้ ส.ส.ลงมติ 4 ใน 5 คัดเลือกแทนสภาสูง ชี้ “จุดคูหาเลือกตั้ง-เวียนเทียนผู้สมัคร-จ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง” ปัจจัยทำลาdตั้งโมฆะ “คมสัน” แนะชง ตุลาการ-ผู้เชี่ยวชาญ-องค์กรเอกชน มาเป็น กกต. เฉ่ง ส.ว.เลือกตั้งตัวการทำลายองค์กรอิสระ ด้าน “นักวิจัยเลือกตั้ง แนะลดวาระดำรงตำแหน่ง หมุนเวียปธ.กกต.ทุก 1 ปี หวังรื้อระบบเผด็จการในองค์กร
ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย วานนี้ (7 พ.ค.) มีการ เสวนาเรื่อง “ยุบทิ้ง กกต.กับการปฏิรูประบบการจัดการเลือกตั้ง” โดยเชิญนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช (มสธ.) และน.ส.นภิสา ไวฑูรเกียรติ นักวิชาการอิสระ ที่มีผลงานด้านการวิจัยเรื่องการเลือกตั้งในต่างประเทศ เข้าร่วมเสวนา
นายวรเจตน์ กล่าวถึงปัญหาของ กกต.ว่า เริ่มมาจากปัญหาการตรวจสอบ อำนาจของ กกต.จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้กำหนดว่า กกต.มีอำนาจเบ็ดเสร็จเพียงองค์กรเดียว ในการจัดการเลือกตั้ง แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 13/2543 ที่ชี้ขาดว่า กกต.ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดดังเช่นตุลาการ และยังมีคำวินิจฉัยที่ 52/2546 อีก ทำให้การใช้อำนาจของ กกต. ไม่สามารถถูกตรวจสอบได้ ทั้งที่สถานะของ กกต.ไม่สามารถรวมศูนย์อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการได้เพียงองค์กรเดียว
“ต้องยอมรับยังมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์กรจัดการเลือกตั้ง เพราะประเทศไทยมาไกลเกินกว่าการกลับมาให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้จัดการเลือกตั้ง แม้จะยุบ กกต.ทิ้ง ก็ยังต้องมีองค์กรใหม่มาจัดการเลือกตั้ง โดยมีอำนาจหน้าที่ในการออก กฎ ระเบียบ การบริหารจัดการเลือกตั้ง และอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งต้องถูกตรวจสอบได้ ซึ่งจะทำให้ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจของ กกต.ก็จะไม่เกิดขึ้น ถึงแม้ต้นแบบของ กกต.ไทยจะมาจากอินเดียแต่ของอินเดียสร้างระบบตรวจสอบการใช้อำนาจของ กกต.แต่ของไทยกลับไม่มี” นายวรเจตน์ กล่าว
“วรเจตน์”แนะต้องมีระบบถ่วงดุล กกต.
นายวรเจตน์ กล่าวว่า ปัญหาอำนาจหน้าที่ของ กกต.โดยเฉพาะปัญหาการประกาศผลการเลือกตั้ง ทั้งที่การเลือกตั้งคือการที่ประชาชนแสดงเจตจำนงค์เลือกตังของตัวเอง ซึ่งในต่างประเทศเมื่อมีการนับคะแนนนั่นคือผลการเลือกตั้ง แต่ในประเทศไทยยังต้องมีการรับรองผลการเลือกตั้งของ กกต. ซึ่งหาก กกต.ไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งเท่ากับเป็นปฏิปักษ์ต่อเสียงลงคะแนนของประชาชน
ดังนั้นหาก กกต.ไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ก็ควรมีระบบตรวจสอบ เพราะวันนี้อำนาจการให้ใบเหลือง ใบแดงแก่ผู้สมัครเป็นอำนาจเด็ดขาดของ กกต. หากใครสามารถควบคุม กกต.ได้ ก็สามารถคุมใบเหลืองและใบแดงได้ รวมถึงการสั่งการเลือกตั้ง ต้องสามารถนำคดีเข้าสู่ศาลว่า กกต.ใช้อำนาจถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล รวมถึงวิธีการทำงานของ กกต. ที่ใช้มติเอกฉันท์ในการพิจารณา ทำให้เสียงข้างน้อยชนะเสียงข้างมาก คือ 1 เสียง ชนะ 4 เสียง จึงควรปรับเป็น 4 ใน 5 หรือ 3 ใน 4 โดยยอมรับในเสียงข้างมาก
จี้ยุบ กกต. ชุดปัจจุบันทิ้ง
นายวรเจตน์ กล่าวว่า สำหรับที่มาของกกต. ส่วนหนึ่งต้องมาจากองค์กรเอกชน และผู้มีความรู้ทางกฎหมาย โดยตนไม่ต่อต้านเรื่องของพรรคการเมืองในการสรรหา กกต. เพราะต้องยอมรับความเป็นจริงว่าแต่ละองค์กรย่อมมีการเมืองแฝงอยู่ จึงให้พรรคการเมืองมีช่องทางในการต่อสู้ผลประโยชน์ในเบื้องต้นและพรรคการเมือง ถือว่าเป็นการขุดเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับประชาน แต่ต้องให้พรรคการเมือง ไม่ใช่ส่วนสำคัญของการสรรหาแต่ให้เกิดการต่อสู้กันทางการเมืองในชั้นการสรรหา เพราะหาก กกต.มาจากศาลเพียงอย่างเดียวจะขาดฐานความชอบธรรม เนื่องจาก ศาลมีจุดอ่อนคือศาลยุติธรรมที่เป็นระบบปิดไม่เชื่อมโยงกับประชาชน ส่วนการลงมติเห็นชอบควรอยู่ที่ส.ส. โดยใช้เสียงข้างมากถึง 4 ใน 5 หรือ 400 ต่อ 500 เสียง ดังนั้นคงต้องมี กกต.ต่อไป แต่หากมีการปรับโครงสร้างใหม่ ก็ต้องยุบกกต. ชุดปัจจุบันออกไปก่อน
“ส่วนศาลที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบอำนาจของ กกต. ปัญหาอยู่ที่วิธีพิจารณา คดีเลือกตั้งว่าจะเฉพาะอยู่เพียงศาลเดียวหรือหลายศาล ซึ่งตนเห็นว่าหากเป็นการ วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะทั่วประเทศคงต้องเป็นศาลเดียวซึ่งอาจเป็น ศาลปกครองสูงสุด แต่หากเป็นการเลือกตั้งในคดีบุคคล ซึ่งมีคดีร้องเรียนจำนวนมาก อาจให้ศาลจังหวัดเป็นผู้เพิกถอนสิทธิิ
“จัดคูหาขัด กม.-จ้างผู้สมัคร”ทำให้โมฆะได้
นายวรเจตน์ กล่าวว่า สำหรับการกำหนดวันเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 115 และ 116 ตนมองว่าอำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นอำนาจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ทันที แต่การที่รัฐบาลไปปรึกษากับ กกต. ในฐานะผู้จัดการเลือกตั้ง ซึ่งได้คำตอบจาก กกต.ว่า สามารถจัดการเลือกตั้งได้ 30 วัน เป็นอย่างน้อยถือว่าทำถูกต้องแล้ว และหากให้มีการเลือกตั้งในกรณียุบสภา ควรมากกว่า 45 วัน รวมทั้งต้องมีการกำหนดอำนาจให้ชัดเจนไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยว่า รัฐบาลมีหน้าที่ยุบสภาอย่างเดียวและ กกต.ประกาศวันเลือกตั้ง ดังนั้นแม้การกำหนดวันเลือกตั้งเพียง 37 วัน จะไม่เหมาะสม แต่ไม่เป็นปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย และหากเห็นว่าผิด ก็จะไม่ส่งผลต่อการเลือกตั้ง เพราะการลงคะแนนได้เกิดขึ้นแล้ว
“การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะได้ต้องไม่ใช่จากการจัดเลือกตั้ง แต่เป็นเรื่องที่ของ เหตุแห่งการลงคะแนนว่าเสียงของประชาชนที่ลงคะแนน16 ล้านเสียงนั้นไม่สามารถ ใช้ได้ ซึ่งอาจมาหลายสาเหตุคือ การตั้งคูหาทำให้การลงคะแนนไม่เป็นความลับ การเปิดให้ผู้สมัครสามารถสมัครข้ามเขตทำให้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนน รวมถึงการจ้างผู้สมัครพรรคเล็กลงสมัคร ซึ่งประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะคือ คะแนนที่ลงมาเสียทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. หรือ 23 เม.ย. และหากศาลตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ จำเป็นต้อง มีเหตุผลเพื่อหักล้างกับการลงคะแนนของประชาชน ที่ทำให้เสมือนไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น”
เฉ่ง กกต.ไม่สนใจเจตนารมย์ของ รธน.
ด้าน นายคมสัน กล่าวว่า ถ้าจะให้เทียบ กกต.ชุดที่แล้วกับ กกต.ชุดปัจจุบัน เหมือนฟ้ากับเหว เพราะ กกต.ชุดนี้ทำงานผิดพลาดหลายครั้ง โดยเฉพาะการตัดสินใจกำหนดการเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการลืมหน้าที่และเจตนารมย์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ กกต.จัดการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ฉะนั้นเมื่อการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นมีการกำหนดวันที่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองด้วยกันแล้ว ทาง กกต.ต้องมีหน้าที่บอกว่าสิ่งที่รัฐบาลกำหนดให้จัดการเลือกตั้งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่ใช่ทำแบบนี้
“เป็นประเด็นที่ผมคิดว่าการกำหนดวันเลือกตั้งก็เป็นประเด็นที่ กกต. ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย รัฐธรรมนูญ มาตรา 115 และ มาตรา 116 เจตนารมณ์ของ ผู้ร่างต้องการให้เกิดความบริสุทธิ์ ยุติธรรมกับทุกฝ่าย ดังนั้นการที่กกต.อ้างว่า การกำหนดวันเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารเป็นผู้กำหนด กกต. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดวันดังกล่าว ที่มีระยะเวลาเพียง 37 วันนั้น ตามความเป็นจริงแล้วในรัฐธรรมนูญ มาตรา 115 ได้กำหนดไว้ว่า เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์ จะทรงตราพระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 45 วัน ตั้งแต่อายุของ สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง”
“ส่วนมาตรา 116 ที่ระบุไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฏร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยจะต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ภายในระยะเวลา 60 วัน ซึ่งหากถามว่า การกำหนดวันเลือกตั้งที่ผ่านมานั้น ถือว่า เป็นอำนาจโดยตรงของฝ่ายบริหารที่จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ตามที่ กกต. กล่าวอ้างหรือไม่ ต้องบอกได้ แต่ กกต.ก็จำเป็นจะต้องตีเจตนารมณ์ของกฎหมายทั้งสองมาตราดังกล่าวว่า มีความต้องการที่จะให้เกิดความเป็นธรรมเกิดความ บริสุทธิ์ยุติธรรมกับทุกฝ่ายไม่ใช่มาอ้างแต่ว่าสามารถจัดการเลือกตั้งได้เร็วที่สุดภายใน 30 วัน”
“รูปแบบของ กกต. ผมเคยพูดมาตลอดว่า มีกกต.ก็เหมาะสมดี แต่หลังจากผ่านมาหลายปี ผมเกิดความลังเลว่าองค์กร กกต.ที่เป็นอยู่ตอนนี้อาจจะไม่เหมาะแล้ว เพราะสภาพของระบอบการเมืองปัจจุบันที่ไม่มีใครคาดฝันว่าคนเพียงหนึ่งคน พรรคการเมืองเพียงหนึ่งพรรค จะครองเสียงข้างมากได้มากขนาดนี้ และก็ไม่มีใครคาดฝันว่าองค์กรอิสระทุกองค์กรที่มีการออกแบบมานั้นจะอยู่ภายใต้ การบริหารของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ไม่มีใครคิดว่าจะมีคนที่มีเงินเยอะ ๆ จนสามารถเข้ามามีอำนาจแบบนี้ได้”
ชี้เวียนเทียนลงสมัคร ส.ส. ได้ขัด รธน.
นายคมสัน กล่าวว่า ประเทศไทยมีความแปลกประหลาดอย่างมาก ที่เอาสิ่งที่ดี ๆ จากประเทศต่าง ๆ มาใช้กับประเทศไทยแล้วไม่สามารถจะทำได้ อย่างการตั้ง กกต. ของไทย ก็ไปลอกเลียนมาจากประเทศอินเดีย ที่มี กกต.เข้ามากำกับดูแล การเลือกตั้ง ซึ่งประเทศอินเดียนั้นประสบความสำเร็จ แต่สำหรับประเทศไทยกลับประสบความล้มเหลวและเดินถอยหลังอย่างสุดกู่
อย่างไรก็ตามโดยส่วนยังเห็นถึงความจำเป็นในการมี กกต.แต่ควรจะต้องกำหนดรูปแบบว่าควรมีรูปแบบอย่างไร ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความ ล้มเหลว ในการตั้งคณะทำงานในรูปของคณะกรรมการมาโดยตลอด รวมทั้งกับ กกต.ชุดปัจุบันนี้ด้วย
“กกต.ชุดปัจจุบันถือว่าเป็นชุดที่ตีความกฎหมายได้มั่วที่สุด โดยเฉพาะประเด็นให้มีการเวียนเทียนลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ข้ามเขตได้ ซึ่งการตีความกฎหมาย เช่นนี้ถือว่าเป็นการตีความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้คน ๆ เดียวสามารถลงสมัครในหลายเขตเลือกตั้งได้ภายในการเลือกตั้งครั้งเดียว และหากในอนาคตถ้าหากมีการรื้อ กกต.ใหม่เห็นว่า กกต.ควรที่มีเพียง5คน หรือไม่เกิน 7คน และบุคคลที่จะเข้ามาเป็น กกต.น่าจะประกอบกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเลือกตั้ง องค์กรเอกชน และบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งเป็น ตุลาการศาลยุติธรรม และศาลปกครองมาก่อน โดยเฉพาะในส่วนสุดท้ายจะเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงของ การใช้กฎหมาย และการตีความในการใช้กฎหมาย โดยตัดสัดส่วนการมีส่วนร่วมกับการสรรหาของพรรคการเมืองออกไป” นายคมสัน กล่าว
นายคมสัน กล่าวว่า ส่วนกระบวนการสรรหาโดยวุฒิสภาต้องมีการแก้ไขโดยตัดเรื่องที่ให้เลือกรายชื่อที่เสนอมาสองเท่าออกไป และให้วุฒิสภามีหน้าที่เพียงลงมติ เห็นชอบกับรายชื่อตามที่ได้มีการเสนอไปเท่านั้น โดยหากที่ประชุมวุฒิสภาไม่สามารถ เลือกตามรายชื่อที่เสนอเข้ามาได้ ก็ให้ส่งรายชื่อบุคคลเข้าไปใหม่
ชี้ กกต.ไม่มีความรู้กฎหมายมหาชน
สำหรับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ กกต. นายคมสันต์กล่าวว่า กกต. ชุดปัจจุบันจำเป็นจะต้องมีการรื้อระบบกันใหม่ โดยจะต้องมีองค์กรที่เข้ามาทำหน้าที่ควบคุม ถ่วงดุลการใช้อำนาจของ กกต.ที่อาจจะให้มีศาลพิเศษหรือศาลเลือกตั้งเพียงศาลเดียว เช่นเดียวกับศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ประกอบมาจากสัดส่วน ของศาลปกครองและศาลฎีกา ให้เข้ามาทำหน้าที่การใช้อำนาจ สืบสวนสอบสวน และอำนาจการวินิจฉัยของ กกต.ทั้งหมด โดยทั้งหมดต้องเขียนระบุการใช้อำนาจ และการวินิจฉัยชี้ขาดและการตรวจสอบไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน รวมทั้งต้องระบุด้วยว่า กกต.มีขอบเขตอำนาจหน้าที่มากน้อยเพียงใด และองค์กรที่จะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบจะสามารถเข้ามาชี้ขาดและทำการตรวจสอบ ได้มากเท่าใดเช่นกัน
“จากการที่พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต.ระบุว่าการใช้อำนาจของ กกต. เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีกฎหมายใดห้ามไว้ ผมมองว่าแนวคิดดังกล่าวมาจากแนวคิดกฎหมายเอกชน โดยเฉพาะประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กำหนดไว้เฉพาะการปฏิบัติของบุคคลที่ไม่กระทบต่อบุคคลอื่น แต่ กกต. ใช้อำนาจทางมหาชนซึ่งเป็นองค์กรตามกฎหมายมหาชน ดังนั้นการใช้อำนาจ สามารถทำได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ใช้ ประธาน กกต. จึงอาจใช้กฎหมายผิดฉบับที่มากกว่ามองเรื่องกฎหมายมหาชน”อาจารย์คณะนิติศาสตร์มสธ. ระบุ
ระบุ ส.ว.ชุดเลือกตั้งตัวการก่อปัญหา
นายคมสัน ยังได้กล่าวถึงต้นเหตุของปัญหาการทำงานขององค์กรอิสระว่า ต้องยอมรับว่าเกิดจากวุฒิสภาเช่นกัน โดยเฉพาะวุฒิสภาชุดนี้ที่ถูกครอบงำ โดยฝ่ายการเมือง มีทั้งนักการเมืองและนักธุรกิจที่แอบแฝงเข้าไป โดยส่วนตัวตนเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องมี ส.ว.อีกต่อไป และต่อไปในอนาคตจุดสุดท้าย ส.ว.ก็จะต้องสูญพันธ์เพราะเราต้องยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็เกิดขึ้นมาจาก ส.ว.ชุดปัจจุบันนี้ที่มีส่วนทำให้เกิดขึ้น เพราะในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่กำหนด ให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.แทนการแต่งตั้ง ในที่ประชุมของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ในเวลานั้นก็ยังไม่ใครรู้ว่าจะกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ ส.วชุดที่จะต้องมาจากการเลือกตั้งจะอำนาจหน้าที่อย่างไร และจะต้องไปทำหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด
ดังนั้นจึงเห็นว่า ส.ว.ที่มีการเลือกตั้งเข้ามาเป็น ส.ว.ชุดที่พิกลพิการอย่างมาก ซึ่งหากเราไม่มีวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเช่นนี้ การทำงานขององค์กรอิสระน่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้เสียด้วยซ้ำ ส่วนในอนาคตจะต้องมีการทบทวนถึง วุฒิสภาว่าควรจะให้มีอยู่หรือไม่คงต้องดูความจำเป็นทางการเมือง ณ เวลานั้นด้วย
“ความเป็นมาของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีการถกเถียงในชั้นของ ส.ส.ร. ที่ถือได้ว่าเป็นอุบัติเหตุการณ์ทางการเมือง เนื่องจากมี ส.ส.ร.กลุ่มใหญ่ที่เป็นนักเลือกตั้งอยากลง ส.ว.จึงโหวตชนะในเรื่องนี้” นายคมสันต์ กล่าว
แนะหมุนเวียน ปธ.กกต.ทุกปี
ขณะที่ น.ส.นภิสา กล่าวถึงการจัดการเลือกตั้งในต่างประเทศ ว่า ปัญหาในเรื่อง งานของกกต.ในประเทศไทยไม่ใช่ปัญหาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ในต่างประเทศก็มีเช่นกัน ทั้งนี้รูปแบบในการจัดการเลือกตั้งมีอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะคือ 1.ทำโดยกระทรวง อย่างเช่น กระทรวงมหาดไทย 2. โดยองค์กรอิสระที่ให้อำนาจเต็มที่ในการจัดการเลือกตั้ง และ3.ตั้งองค์กรอิสระขึ้นมา แต่ให้มีการตรวจสอบโดยอำนาจ ของตุลาการศาล สำหรับประเทศไทยเหมาะที่สุดที่จะใช้ในแบบที่ 3 เพราะปัญหาของ กกต.ของไทยอยู่ที่การตัดสินใจในหลายๆ เรื่องของ กกต.ที่ทำให้หลายฝ่ายไม่พอใจ ซึ่งนอกจากเปิดให้ตุลาการมาตรวจสอบแล้วควรจะให้สื่อมวลชนเข้าร่วมด้วย เพราะเป็นการให้ กกต.ต้องบอกเหตุผลถึงการตัดสินใจในแต่ละครั้ง
“อย่างปัญหาการกำหนดวันเลือกตั้ง ในกฎหมาย รวมทั้งระบบรัฐสภาของไทย เหมือนว่าจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีมากไป ซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งว่า นายกรัฐมนตรี สามารถยุบสภาแล้วสั่งให้มีการกำหนดได้เลยว่าต้องการเลือกตั้งวันไหน ในเรื่องนี้ ควรจะต้องมีการแก้ว่าจะให้ กกต.หรือนายกรัฐมนตรี ที่มีอำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้ง”
นอกจากนี้การที่กรรมการทั้ง 5 คนที่ดำรงตำแหน่งได้นานถึง 7 ปี ส่วนตัวมองว่าเป็นการให้อำนาจเบ็ดเสร็จมากไป ถ้าตั้งสมมุติฐานว่าการทำงานไม่เป็นกลาง ฉะนั้นทางออกคือการลดวาระในการดำรงตำแหน่งให้น้อยลง เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการหมุนเวียนบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่ง ประธาน กกต.ทุกปี เพราะฉะนั้นในเมื่อระบอบของไทยส่งเสริมให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจมากเกินไปจะเกิดสภาวะการเบ็ดเสร็จทางอำนาจในระบอบประชาธิปไตย จึงสมควรที่จะมีการกำหนดระยะของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับที่ใช้กับประธานาธิบดี เช่น ไม่ควรเกินของสองวาระหรือแปดปี เป็นต้น”
เสนอให้มีตัวแทนพรรคอยู่ใน กกต.
น.ส.นภิสา กล่าวว่า สำหรับเรื่องสัดส่วนของคณะกรรมการกกต.นั้นควรจะมี 9 คน โดย 5 คนให้มาจากองค์กรอิสระที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ส่วนอีก 4 คนมาจาก พรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในสภา สาเหตุที่เสนอให้พรรคการเมืองเข้ามา เนื่องจาก ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า การเลือกตั้งเป็นเรื่องของพรรคการเมือง ดังนั้นควรที่จะให้พรรคการเมืองเข้ามาตัดสินใจในเรื่องนี้ด้วย เพราะพรรคการเมืองเองก็ถือได้ว่า เป็นผู้ที่มาส่วนได้เสียทางการเมืองดีกว่าปล่อยให้เป็นการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร เพียงฝ่ายเดียว รวมทั้งการที่มีพรรคการเมืองเข้ามาจะได้ช่วยเกิดความการตรวจสอบ ถ่วงดุลเพื่อที่การตัดสินใจนั้นทุกฝ่ายจะได้เกิดความพอใจร่วมกัน
ที่สำคัญจะต้องมีการหมุนเวียนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกกต.ทุกปีด้วย ซึ่งข้อดีคือป้องกันการอำนาจเบ็ดเสร็จในองค์กร เนื่องจากในทุกองค์กรเต็มไปด้วย ผลประโยชน์ ดังนั้นการให้อำนาจผู้นำองค์กรโดยการดำรงตำแหน่งติดต่อกันนาน เกินไป ไม่มีวันที่การตัดสินที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะอยู่บนพื้นฐานของความอิสระได้
“ส่วนการสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาเป็น กกต.ให้เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับรองไม่ใช่วุฒิสภา โดยในการเลือกตั้งต้องใช้เสียงโหวตที่สูงมาก เช่น 4 ใน 5 เช่น ถ้าสภาผู้แทนฯมี 500 คน ให้ใช้เสียง 400 เสียง เพื่อทำการคัดเลือก เป็นต้น โดยระบบทั้งจะอยู่บนสมมุติฐานว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ดังนั้น จึงควรที่จะออกแบบระบบให้เข้มแข็งเพื่อป้องกันปัญหาการคอรัปชั่นให้น้อยที่สุด” น.ส.นภิสา กล่าว
ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย วานนี้ (7 พ.ค.) มีการ เสวนาเรื่อง “ยุบทิ้ง กกต.กับการปฏิรูประบบการจัดการเลือกตั้ง” โดยเชิญนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช (มสธ.) และน.ส.นภิสา ไวฑูรเกียรติ นักวิชาการอิสระ ที่มีผลงานด้านการวิจัยเรื่องการเลือกตั้งในต่างประเทศ เข้าร่วมเสวนา
นายวรเจตน์ กล่าวถึงปัญหาของ กกต.ว่า เริ่มมาจากปัญหาการตรวจสอบ อำนาจของ กกต.จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้กำหนดว่า กกต.มีอำนาจเบ็ดเสร็จเพียงองค์กรเดียว ในการจัดการเลือกตั้ง แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 13/2543 ที่ชี้ขาดว่า กกต.ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดดังเช่นตุลาการ และยังมีคำวินิจฉัยที่ 52/2546 อีก ทำให้การใช้อำนาจของ กกต. ไม่สามารถถูกตรวจสอบได้ ทั้งที่สถานะของ กกต.ไม่สามารถรวมศูนย์อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการได้เพียงองค์กรเดียว
“ต้องยอมรับยังมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์กรจัดการเลือกตั้ง เพราะประเทศไทยมาไกลเกินกว่าการกลับมาให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้จัดการเลือกตั้ง แม้จะยุบ กกต.ทิ้ง ก็ยังต้องมีองค์กรใหม่มาจัดการเลือกตั้ง โดยมีอำนาจหน้าที่ในการออก กฎ ระเบียบ การบริหารจัดการเลือกตั้ง และอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งต้องถูกตรวจสอบได้ ซึ่งจะทำให้ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจของ กกต.ก็จะไม่เกิดขึ้น ถึงแม้ต้นแบบของ กกต.ไทยจะมาจากอินเดียแต่ของอินเดียสร้างระบบตรวจสอบการใช้อำนาจของ กกต.แต่ของไทยกลับไม่มี” นายวรเจตน์ กล่าว
“วรเจตน์”แนะต้องมีระบบถ่วงดุล กกต.
นายวรเจตน์ กล่าวว่า ปัญหาอำนาจหน้าที่ของ กกต.โดยเฉพาะปัญหาการประกาศผลการเลือกตั้ง ทั้งที่การเลือกตั้งคือการที่ประชาชนแสดงเจตจำนงค์เลือกตังของตัวเอง ซึ่งในต่างประเทศเมื่อมีการนับคะแนนนั่นคือผลการเลือกตั้ง แต่ในประเทศไทยยังต้องมีการรับรองผลการเลือกตั้งของ กกต. ซึ่งหาก กกต.ไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งเท่ากับเป็นปฏิปักษ์ต่อเสียงลงคะแนนของประชาชน
ดังนั้นหาก กกต.ไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ก็ควรมีระบบตรวจสอบ เพราะวันนี้อำนาจการให้ใบเหลือง ใบแดงแก่ผู้สมัครเป็นอำนาจเด็ดขาดของ กกต. หากใครสามารถควบคุม กกต.ได้ ก็สามารถคุมใบเหลืองและใบแดงได้ รวมถึงการสั่งการเลือกตั้ง ต้องสามารถนำคดีเข้าสู่ศาลว่า กกต.ใช้อำนาจถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล รวมถึงวิธีการทำงานของ กกต. ที่ใช้มติเอกฉันท์ในการพิจารณา ทำให้เสียงข้างน้อยชนะเสียงข้างมาก คือ 1 เสียง ชนะ 4 เสียง จึงควรปรับเป็น 4 ใน 5 หรือ 3 ใน 4 โดยยอมรับในเสียงข้างมาก
จี้ยุบ กกต. ชุดปัจจุบันทิ้ง
นายวรเจตน์ กล่าวว่า สำหรับที่มาของกกต. ส่วนหนึ่งต้องมาจากองค์กรเอกชน และผู้มีความรู้ทางกฎหมาย โดยตนไม่ต่อต้านเรื่องของพรรคการเมืองในการสรรหา กกต. เพราะต้องยอมรับความเป็นจริงว่าแต่ละองค์กรย่อมมีการเมืองแฝงอยู่ จึงให้พรรคการเมืองมีช่องทางในการต่อสู้ผลประโยชน์ในเบื้องต้นและพรรคการเมือง ถือว่าเป็นการขุดเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับประชาน แต่ต้องให้พรรคการเมือง ไม่ใช่ส่วนสำคัญของการสรรหาแต่ให้เกิดการต่อสู้กันทางการเมืองในชั้นการสรรหา เพราะหาก กกต.มาจากศาลเพียงอย่างเดียวจะขาดฐานความชอบธรรม เนื่องจาก ศาลมีจุดอ่อนคือศาลยุติธรรมที่เป็นระบบปิดไม่เชื่อมโยงกับประชาชน ส่วนการลงมติเห็นชอบควรอยู่ที่ส.ส. โดยใช้เสียงข้างมากถึง 4 ใน 5 หรือ 400 ต่อ 500 เสียง ดังนั้นคงต้องมี กกต.ต่อไป แต่หากมีการปรับโครงสร้างใหม่ ก็ต้องยุบกกต. ชุดปัจจุบันออกไปก่อน
“ส่วนศาลที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบอำนาจของ กกต. ปัญหาอยู่ที่วิธีพิจารณา คดีเลือกตั้งว่าจะเฉพาะอยู่เพียงศาลเดียวหรือหลายศาล ซึ่งตนเห็นว่าหากเป็นการ วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะทั่วประเทศคงต้องเป็นศาลเดียวซึ่งอาจเป็น ศาลปกครองสูงสุด แต่หากเป็นการเลือกตั้งในคดีบุคคล ซึ่งมีคดีร้องเรียนจำนวนมาก อาจให้ศาลจังหวัดเป็นผู้เพิกถอนสิทธิิ
“จัดคูหาขัด กม.-จ้างผู้สมัคร”ทำให้โมฆะได้
นายวรเจตน์ กล่าวว่า สำหรับการกำหนดวันเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 115 และ 116 ตนมองว่าอำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นอำนาจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ทันที แต่การที่รัฐบาลไปปรึกษากับ กกต. ในฐานะผู้จัดการเลือกตั้ง ซึ่งได้คำตอบจาก กกต.ว่า สามารถจัดการเลือกตั้งได้ 30 วัน เป็นอย่างน้อยถือว่าทำถูกต้องแล้ว และหากให้มีการเลือกตั้งในกรณียุบสภา ควรมากกว่า 45 วัน รวมทั้งต้องมีการกำหนดอำนาจให้ชัดเจนไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยว่า รัฐบาลมีหน้าที่ยุบสภาอย่างเดียวและ กกต.ประกาศวันเลือกตั้ง ดังนั้นแม้การกำหนดวันเลือกตั้งเพียง 37 วัน จะไม่เหมาะสม แต่ไม่เป็นปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย และหากเห็นว่าผิด ก็จะไม่ส่งผลต่อการเลือกตั้ง เพราะการลงคะแนนได้เกิดขึ้นแล้ว
“การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะได้ต้องไม่ใช่จากการจัดเลือกตั้ง แต่เป็นเรื่องที่ของ เหตุแห่งการลงคะแนนว่าเสียงของประชาชนที่ลงคะแนน16 ล้านเสียงนั้นไม่สามารถ ใช้ได้ ซึ่งอาจมาหลายสาเหตุคือ การตั้งคูหาทำให้การลงคะแนนไม่เป็นความลับ การเปิดให้ผู้สมัครสามารถสมัครข้ามเขตทำให้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนน รวมถึงการจ้างผู้สมัครพรรคเล็กลงสมัคร ซึ่งประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะคือ คะแนนที่ลงมาเสียทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. หรือ 23 เม.ย. และหากศาลตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ จำเป็นต้อง มีเหตุผลเพื่อหักล้างกับการลงคะแนนของประชาชน ที่ทำให้เสมือนไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น”
เฉ่ง กกต.ไม่สนใจเจตนารมย์ของ รธน.
ด้าน นายคมสัน กล่าวว่า ถ้าจะให้เทียบ กกต.ชุดที่แล้วกับ กกต.ชุดปัจจุบัน เหมือนฟ้ากับเหว เพราะ กกต.ชุดนี้ทำงานผิดพลาดหลายครั้ง โดยเฉพาะการตัดสินใจกำหนดการเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการลืมหน้าที่และเจตนารมย์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ กกต.จัดการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ฉะนั้นเมื่อการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นมีการกำหนดวันที่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองด้วยกันแล้ว ทาง กกต.ต้องมีหน้าที่บอกว่าสิ่งที่รัฐบาลกำหนดให้จัดการเลือกตั้งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่ใช่ทำแบบนี้
“เป็นประเด็นที่ผมคิดว่าการกำหนดวันเลือกตั้งก็เป็นประเด็นที่ กกต. ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย รัฐธรรมนูญ มาตรา 115 และ มาตรา 116 เจตนารมณ์ของ ผู้ร่างต้องการให้เกิดความบริสุทธิ์ ยุติธรรมกับทุกฝ่าย ดังนั้นการที่กกต.อ้างว่า การกำหนดวันเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารเป็นผู้กำหนด กกต. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดวันดังกล่าว ที่มีระยะเวลาเพียง 37 วันนั้น ตามความเป็นจริงแล้วในรัฐธรรมนูญ มาตรา 115 ได้กำหนดไว้ว่า เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์ จะทรงตราพระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 45 วัน ตั้งแต่อายุของ สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง”
“ส่วนมาตรา 116 ที่ระบุไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฏร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยจะต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ภายในระยะเวลา 60 วัน ซึ่งหากถามว่า การกำหนดวันเลือกตั้งที่ผ่านมานั้น ถือว่า เป็นอำนาจโดยตรงของฝ่ายบริหารที่จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ตามที่ กกต. กล่าวอ้างหรือไม่ ต้องบอกได้ แต่ กกต.ก็จำเป็นจะต้องตีเจตนารมณ์ของกฎหมายทั้งสองมาตราดังกล่าวว่า มีความต้องการที่จะให้เกิดความเป็นธรรมเกิดความ บริสุทธิ์ยุติธรรมกับทุกฝ่ายไม่ใช่มาอ้างแต่ว่าสามารถจัดการเลือกตั้งได้เร็วที่สุดภายใน 30 วัน”
“รูปแบบของ กกต. ผมเคยพูดมาตลอดว่า มีกกต.ก็เหมาะสมดี แต่หลังจากผ่านมาหลายปี ผมเกิดความลังเลว่าองค์กร กกต.ที่เป็นอยู่ตอนนี้อาจจะไม่เหมาะแล้ว เพราะสภาพของระบอบการเมืองปัจจุบันที่ไม่มีใครคาดฝันว่าคนเพียงหนึ่งคน พรรคการเมืองเพียงหนึ่งพรรค จะครองเสียงข้างมากได้มากขนาดนี้ และก็ไม่มีใครคาดฝันว่าองค์กรอิสระทุกองค์กรที่มีการออกแบบมานั้นจะอยู่ภายใต้ การบริหารของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ไม่มีใครคิดว่าจะมีคนที่มีเงินเยอะ ๆ จนสามารถเข้ามามีอำนาจแบบนี้ได้”
ชี้เวียนเทียนลงสมัคร ส.ส. ได้ขัด รธน.
นายคมสัน กล่าวว่า ประเทศไทยมีความแปลกประหลาดอย่างมาก ที่เอาสิ่งที่ดี ๆ จากประเทศต่าง ๆ มาใช้กับประเทศไทยแล้วไม่สามารถจะทำได้ อย่างการตั้ง กกต. ของไทย ก็ไปลอกเลียนมาจากประเทศอินเดีย ที่มี กกต.เข้ามากำกับดูแล การเลือกตั้ง ซึ่งประเทศอินเดียนั้นประสบความสำเร็จ แต่สำหรับประเทศไทยกลับประสบความล้มเหลวและเดินถอยหลังอย่างสุดกู่
อย่างไรก็ตามโดยส่วนยังเห็นถึงความจำเป็นในการมี กกต.แต่ควรจะต้องกำหนดรูปแบบว่าควรมีรูปแบบอย่างไร ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความ ล้มเหลว ในการตั้งคณะทำงานในรูปของคณะกรรมการมาโดยตลอด รวมทั้งกับ กกต.ชุดปัจุบันนี้ด้วย
“กกต.ชุดปัจจุบันถือว่าเป็นชุดที่ตีความกฎหมายได้มั่วที่สุด โดยเฉพาะประเด็นให้มีการเวียนเทียนลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ข้ามเขตได้ ซึ่งการตีความกฎหมาย เช่นนี้ถือว่าเป็นการตีความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้คน ๆ เดียวสามารถลงสมัครในหลายเขตเลือกตั้งได้ภายในการเลือกตั้งครั้งเดียว และหากในอนาคตถ้าหากมีการรื้อ กกต.ใหม่เห็นว่า กกต.ควรที่มีเพียง5คน หรือไม่เกิน 7คน และบุคคลที่จะเข้ามาเป็น กกต.น่าจะประกอบกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเลือกตั้ง องค์กรเอกชน และบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งเป็น ตุลาการศาลยุติธรรม และศาลปกครองมาก่อน โดยเฉพาะในส่วนสุดท้ายจะเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงของ การใช้กฎหมาย และการตีความในการใช้กฎหมาย โดยตัดสัดส่วนการมีส่วนร่วมกับการสรรหาของพรรคการเมืองออกไป” นายคมสัน กล่าว
นายคมสัน กล่าวว่า ส่วนกระบวนการสรรหาโดยวุฒิสภาต้องมีการแก้ไขโดยตัดเรื่องที่ให้เลือกรายชื่อที่เสนอมาสองเท่าออกไป และให้วุฒิสภามีหน้าที่เพียงลงมติ เห็นชอบกับรายชื่อตามที่ได้มีการเสนอไปเท่านั้น โดยหากที่ประชุมวุฒิสภาไม่สามารถ เลือกตามรายชื่อที่เสนอเข้ามาได้ ก็ให้ส่งรายชื่อบุคคลเข้าไปใหม่
ชี้ กกต.ไม่มีความรู้กฎหมายมหาชน
สำหรับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ กกต. นายคมสันต์กล่าวว่า กกต. ชุดปัจจุบันจำเป็นจะต้องมีการรื้อระบบกันใหม่ โดยจะต้องมีองค์กรที่เข้ามาทำหน้าที่ควบคุม ถ่วงดุลการใช้อำนาจของ กกต.ที่อาจจะให้มีศาลพิเศษหรือศาลเลือกตั้งเพียงศาลเดียว เช่นเดียวกับศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ประกอบมาจากสัดส่วน ของศาลปกครองและศาลฎีกา ให้เข้ามาทำหน้าที่การใช้อำนาจ สืบสวนสอบสวน และอำนาจการวินิจฉัยของ กกต.ทั้งหมด โดยทั้งหมดต้องเขียนระบุการใช้อำนาจ และการวินิจฉัยชี้ขาดและการตรวจสอบไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน รวมทั้งต้องระบุด้วยว่า กกต.มีขอบเขตอำนาจหน้าที่มากน้อยเพียงใด และองค์กรที่จะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบจะสามารถเข้ามาชี้ขาดและทำการตรวจสอบ ได้มากเท่าใดเช่นกัน
“จากการที่พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต.ระบุว่าการใช้อำนาจของ กกต. เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีกฎหมายใดห้ามไว้ ผมมองว่าแนวคิดดังกล่าวมาจากแนวคิดกฎหมายเอกชน โดยเฉพาะประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กำหนดไว้เฉพาะการปฏิบัติของบุคคลที่ไม่กระทบต่อบุคคลอื่น แต่ กกต. ใช้อำนาจทางมหาชนซึ่งเป็นองค์กรตามกฎหมายมหาชน ดังนั้นการใช้อำนาจ สามารถทำได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ใช้ ประธาน กกต. จึงอาจใช้กฎหมายผิดฉบับที่มากกว่ามองเรื่องกฎหมายมหาชน”อาจารย์คณะนิติศาสตร์มสธ. ระบุ
ระบุ ส.ว.ชุดเลือกตั้งตัวการก่อปัญหา
นายคมสัน ยังได้กล่าวถึงต้นเหตุของปัญหาการทำงานขององค์กรอิสระว่า ต้องยอมรับว่าเกิดจากวุฒิสภาเช่นกัน โดยเฉพาะวุฒิสภาชุดนี้ที่ถูกครอบงำ โดยฝ่ายการเมือง มีทั้งนักการเมืองและนักธุรกิจที่แอบแฝงเข้าไป โดยส่วนตัวตนเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องมี ส.ว.อีกต่อไป และต่อไปในอนาคตจุดสุดท้าย ส.ว.ก็จะต้องสูญพันธ์เพราะเราต้องยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็เกิดขึ้นมาจาก ส.ว.ชุดปัจจุบันนี้ที่มีส่วนทำให้เกิดขึ้น เพราะในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่กำหนด ให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.แทนการแต่งตั้ง ในที่ประชุมของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ในเวลานั้นก็ยังไม่ใครรู้ว่าจะกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ ส.วชุดที่จะต้องมาจากการเลือกตั้งจะอำนาจหน้าที่อย่างไร และจะต้องไปทำหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด
ดังนั้นจึงเห็นว่า ส.ว.ที่มีการเลือกตั้งเข้ามาเป็น ส.ว.ชุดที่พิกลพิการอย่างมาก ซึ่งหากเราไม่มีวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเช่นนี้ การทำงานขององค์กรอิสระน่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้เสียด้วยซ้ำ ส่วนในอนาคตจะต้องมีการทบทวนถึง วุฒิสภาว่าควรจะให้มีอยู่หรือไม่คงต้องดูความจำเป็นทางการเมือง ณ เวลานั้นด้วย
“ความเป็นมาของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีการถกเถียงในชั้นของ ส.ส.ร. ที่ถือได้ว่าเป็นอุบัติเหตุการณ์ทางการเมือง เนื่องจากมี ส.ส.ร.กลุ่มใหญ่ที่เป็นนักเลือกตั้งอยากลง ส.ว.จึงโหวตชนะในเรื่องนี้” นายคมสันต์ กล่าว
แนะหมุนเวียน ปธ.กกต.ทุกปี
ขณะที่ น.ส.นภิสา กล่าวถึงการจัดการเลือกตั้งในต่างประเทศ ว่า ปัญหาในเรื่อง งานของกกต.ในประเทศไทยไม่ใช่ปัญหาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ในต่างประเทศก็มีเช่นกัน ทั้งนี้รูปแบบในการจัดการเลือกตั้งมีอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะคือ 1.ทำโดยกระทรวง อย่างเช่น กระทรวงมหาดไทย 2. โดยองค์กรอิสระที่ให้อำนาจเต็มที่ในการจัดการเลือกตั้ง และ3.ตั้งองค์กรอิสระขึ้นมา แต่ให้มีการตรวจสอบโดยอำนาจ ของตุลาการศาล สำหรับประเทศไทยเหมาะที่สุดที่จะใช้ในแบบที่ 3 เพราะปัญหาของ กกต.ของไทยอยู่ที่การตัดสินใจในหลายๆ เรื่องของ กกต.ที่ทำให้หลายฝ่ายไม่พอใจ ซึ่งนอกจากเปิดให้ตุลาการมาตรวจสอบแล้วควรจะให้สื่อมวลชนเข้าร่วมด้วย เพราะเป็นการให้ กกต.ต้องบอกเหตุผลถึงการตัดสินใจในแต่ละครั้ง
“อย่างปัญหาการกำหนดวันเลือกตั้ง ในกฎหมาย รวมทั้งระบบรัฐสภาของไทย เหมือนว่าจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีมากไป ซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งว่า นายกรัฐมนตรี สามารถยุบสภาแล้วสั่งให้มีการกำหนดได้เลยว่าต้องการเลือกตั้งวันไหน ในเรื่องนี้ ควรจะต้องมีการแก้ว่าจะให้ กกต.หรือนายกรัฐมนตรี ที่มีอำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้ง”
นอกจากนี้การที่กรรมการทั้ง 5 คนที่ดำรงตำแหน่งได้นานถึง 7 ปี ส่วนตัวมองว่าเป็นการให้อำนาจเบ็ดเสร็จมากไป ถ้าตั้งสมมุติฐานว่าการทำงานไม่เป็นกลาง ฉะนั้นทางออกคือการลดวาระในการดำรงตำแหน่งให้น้อยลง เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการหมุนเวียนบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่ง ประธาน กกต.ทุกปี เพราะฉะนั้นในเมื่อระบอบของไทยส่งเสริมให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจมากเกินไปจะเกิดสภาวะการเบ็ดเสร็จทางอำนาจในระบอบประชาธิปไตย จึงสมควรที่จะมีการกำหนดระยะของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับที่ใช้กับประธานาธิบดี เช่น ไม่ควรเกินของสองวาระหรือแปดปี เป็นต้น”
เสนอให้มีตัวแทนพรรคอยู่ใน กกต.
น.ส.นภิสา กล่าวว่า สำหรับเรื่องสัดส่วนของคณะกรรมการกกต.นั้นควรจะมี 9 คน โดย 5 คนให้มาจากองค์กรอิสระที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ส่วนอีก 4 คนมาจาก พรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในสภา สาเหตุที่เสนอให้พรรคการเมืองเข้ามา เนื่องจาก ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า การเลือกตั้งเป็นเรื่องของพรรคการเมือง ดังนั้นควรที่จะให้พรรคการเมืองเข้ามาตัดสินใจในเรื่องนี้ด้วย เพราะพรรคการเมืองเองก็ถือได้ว่า เป็นผู้ที่มาส่วนได้เสียทางการเมืองดีกว่าปล่อยให้เป็นการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร เพียงฝ่ายเดียว รวมทั้งการที่มีพรรคการเมืองเข้ามาจะได้ช่วยเกิดความการตรวจสอบ ถ่วงดุลเพื่อที่การตัดสินใจนั้นทุกฝ่ายจะได้เกิดความพอใจร่วมกัน
ที่สำคัญจะต้องมีการหมุนเวียนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกกต.ทุกปีด้วย ซึ่งข้อดีคือป้องกันการอำนาจเบ็ดเสร็จในองค์กร เนื่องจากในทุกองค์กรเต็มไปด้วย ผลประโยชน์ ดังนั้นการให้อำนาจผู้นำองค์กรโดยการดำรงตำแหน่งติดต่อกันนาน เกินไป ไม่มีวันที่การตัดสินที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะอยู่บนพื้นฐานของความอิสระได้
“ส่วนการสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาเป็น กกต.ให้เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับรองไม่ใช่วุฒิสภา โดยในการเลือกตั้งต้องใช้เสียงโหวตที่สูงมาก เช่น 4 ใน 5 เช่น ถ้าสภาผู้แทนฯมี 500 คน ให้ใช้เสียง 400 เสียง เพื่อทำการคัดเลือก เป็นต้น โดยระบบทั้งจะอยู่บนสมมุติฐานว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ดังนั้น จึงควรที่จะออกแบบระบบให้เข้มแข็งเพื่อป้องกันปัญหาการคอรัปชั่นให้น้อยที่สุด” น.ส.นภิสา กล่าว