กระบวนการหรือขั้นตอนการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีความคล้ายคลึงกับการบริหารนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารหรือคณะทำงานด้าน ต้องรู้จักคำว่าเตรียมการหรือวางแผน กำหนดแผนการทำงาน และการประเมินผลการทำงานตามลำดับ อันได้แก่
จดทะเบียนรับโอนที่ดินแปลงอันเป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามแผนผังโครงการได้รับอนุญาตกับผู้จัดสรรที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินซึ่งโครงการจัดสรรที่ดินตั้งอยู่ รับมอบเงินกองทุนหรือค่าบำรุง จำนวนเงิน 7% ของมูลค่าการก่อสร้างสาธารณูปโภค รับมอบและตราจสอบรายการทรัพย์สินส่วนกลางซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้จัดสรรที่ดิน รวมถึงรับมอบเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดสรรที่ดินที่สำคัญ เป็นต้น หลักการเหล่านี้ จะทำให้ผู้บริหารหรือคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร สามารถบริหารงานได้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิก
ทั้งนี้ บทบาทและหน้าที่ในการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของประธานและคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ซึ่งในมุมมองของตน ประธานและคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ควรมีการวางแผนงานบริหารไว้ล่วงหน้า จำนวน 10 เรื่อง ดังนี้
1.จัดหาพื้นที่ส่วนกลางบริเวณเหมาะสม (กรณียังไม่มี) ทำเป็นสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรร หรือปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลางบางส่วนเป็นสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ตามความพ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 บังคับให้ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดให้มีสำนักงาน นอกจากจะใช้เป็นสถานที่ทำงานของผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรแล้ว จะเป็นสถานที่จัดเก็บเอกสารหลักฐานสำคัญต่าง ๆ
2.คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ควรพิจารณากำหนดหรือแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงานแต่ละด้านให้ชัดเจนก่อนมอบนโยบายหรือแนวทางการบริหารงานให้ผู้จัดการนิติบุคคลนำไปปฏิบัติ อาทิ การบริหารงานบุคคลและธุรการ รวมทั้งการจัดซื้อ จัดจ้าง, การบริหารงานด้านบัญชี การเงิน และการธนาคาร งานบริหารติดตามทวงถาม และเร่งรัดหนี้ค่าใช้จ่ายบำรุงดูแลรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะซึ่งสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรรค้างชำระ เป็นต้น
3.จัดหาบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่หรือผู้จัดการนิติบุคคลที่มีประสบการณ์ ความชำนาญเข้าปฏิบัติงาน ณ สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามความจำเป็นและเหมาะสม
4.กำหนดแผนงาน การเรียกเก็บค่าบำรุงดูแลรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ซึ่งจะเรียกเก็บกับสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแปลงย่อยและผู้จัดสรรที่ดิน (ถ้ามี) โดยเรื่องดังกล่าว ถือมีความสำคัญยิ่งต่อการอยู่อาศัยและการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
5.กำหนดแผนงานการซ่อมบำรุงดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และพื้นที่สวนสาธารณะ
ซึ่งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง ทั้งสาธารณูปโภคประเภท ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ รวมถึงสปอร์ตคลับ ทั้งนี้ ถ้าจะให้บุคคลหรือนิติบุคคลภายนอก เข้ามาให้บริการก็สามารถดำเนินการได้ โดยเรียบเก็บค่าเช่าพื้นที่หรือเปอร์เซ็นต์การขาย หรือการให้บริการเข้าเป็นรายได้ให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (ต่อฉบับหน้า)
นายพิสิฐ ชูประสิทธิ์
Email : pisit_peterandpaul@hotmail.comนายกสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร
โทรศัพท์ : 02 - 941 - 4434 - 5
จดทะเบียนรับโอนที่ดินแปลงอันเป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามแผนผังโครงการได้รับอนุญาตกับผู้จัดสรรที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินซึ่งโครงการจัดสรรที่ดินตั้งอยู่ รับมอบเงินกองทุนหรือค่าบำรุง จำนวนเงิน 7% ของมูลค่าการก่อสร้างสาธารณูปโภค รับมอบและตราจสอบรายการทรัพย์สินส่วนกลางซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้จัดสรรที่ดิน รวมถึงรับมอบเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดสรรที่ดินที่สำคัญ เป็นต้น หลักการเหล่านี้ จะทำให้ผู้บริหารหรือคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร สามารถบริหารงานได้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิก
ทั้งนี้ บทบาทและหน้าที่ในการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของประธานและคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ซึ่งในมุมมองของตน ประธานและคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ควรมีการวางแผนงานบริหารไว้ล่วงหน้า จำนวน 10 เรื่อง ดังนี้
1.จัดหาพื้นที่ส่วนกลางบริเวณเหมาะสม (กรณียังไม่มี) ทำเป็นสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรร หรือปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลางบางส่วนเป็นสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ตามความพ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 บังคับให้ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดให้มีสำนักงาน นอกจากจะใช้เป็นสถานที่ทำงานของผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรแล้ว จะเป็นสถานที่จัดเก็บเอกสารหลักฐานสำคัญต่าง ๆ
2.คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ควรพิจารณากำหนดหรือแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงานแต่ละด้านให้ชัดเจนก่อนมอบนโยบายหรือแนวทางการบริหารงานให้ผู้จัดการนิติบุคคลนำไปปฏิบัติ อาทิ การบริหารงานบุคคลและธุรการ รวมทั้งการจัดซื้อ จัดจ้าง, การบริหารงานด้านบัญชี การเงิน และการธนาคาร งานบริหารติดตามทวงถาม และเร่งรัดหนี้ค่าใช้จ่ายบำรุงดูแลรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะซึ่งสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรรค้างชำระ เป็นต้น
3.จัดหาบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่หรือผู้จัดการนิติบุคคลที่มีประสบการณ์ ความชำนาญเข้าปฏิบัติงาน ณ สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามความจำเป็นและเหมาะสม
4.กำหนดแผนงาน การเรียกเก็บค่าบำรุงดูแลรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ซึ่งจะเรียกเก็บกับสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแปลงย่อยและผู้จัดสรรที่ดิน (ถ้ามี) โดยเรื่องดังกล่าว ถือมีความสำคัญยิ่งต่อการอยู่อาศัยและการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
5.กำหนดแผนงานการซ่อมบำรุงดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และพื้นที่สวนสาธารณะ
ซึ่งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง ทั้งสาธารณูปโภคประเภท ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ รวมถึงสปอร์ตคลับ ทั้งนี้ ถ้าจะให้บุคคลหรือนิติบุคคลภายนอก เข้ามาให้บริการก็สามารถดำเนินการได้ โดยเรียบเก็บค่าเช่าพื้นที่หรือเปอร์เซ็นต์การขาย หรือการให้บริการเข้าเป็นรายได้ให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (ต่อฉบับหน้า)
นายพิสิฐ ชูประสิทธิ์
Email : pisit_peterandpaul@hotmail.comนายกสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร
โทรศัพท์ : 02 - 941 - 4434 - 5