ปฏิรูปการเมืองขุดรากถอนโคน “ระบอบทักษิณ” เรื่องยากที่ต้องทำ นักวิชาการ-ส.ว.ประสานเสียง ต้องลดอำนาจบริหาร เพิ่มอำนาจการตรวจสอบ สร้างสื่อเสรี เพื่อการตัดสินใจที่ดีกว่าของประชาชน รับความแตกแยกของชนในชาติผลพวงจากระบอบทักษิณ กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปฏิรูป ระบุให้ขั้นตอนยกร่างสั้น แต่รับฟังความเห็นให้นาน เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นเจ้าของมากสุด ขณะเดียวกันปล่อยการปฏิรูปในอุ้งมือไทยรักไทยไม่ทางที่ประชาชนจะสมหวัง ย้ำควรมีผู้ใช้อำนาจรัฐที่เป็นกลาง หรือรัฐบาลพระราชทานดำเนินการ
นับจากนี้ไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะเป็นใคร หรือการเลือกตั้ง 2 เม.ย. จะเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ที่แน่นอนคือจะมีการปฏิรูปการเมืองรอบ 2 เกิดขึ้น
หากแต่ท่ามกลางความแตกแยกคนในสังคมที่คนกลุ่มหนึ่งเสพติดประชานิยม ชื่นชม พ.ต.ท.ทักษิณ คือผู้ดลบันดาลชีวิตที่ดีกว่าเดิมให้ ตรงกันข้ามกับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือผู้ทำลายชาติ ขายสมบัติแผ่นดินเพียงเพื่อประโยชน์ตัวเอง ทำให้ต้องยอมรับว่า การจะปฏิรูปการเมือง ให้พ้นจาก “ระบอบทักษิณ” นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
“ระบอบทักษิณ” บรรดาผู้รู้ทั้งหลายเห็นตรงกันว่า เป็นการอาศัยความได้เปรียบจากรัฐธรรมนูญ 40 เฉพาะอย่างยิ่งหลักการความเข้มแข็งของนายกฯ มาสร้างฐานอำนาจให้กับตัวเองและพวกพ้อง มีการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบด้วยการแทรกซึมองค์กรอิสระ ทำลายกลไกการตรวจสอบทุกระดับ ส่งผลให้ทั้งระบอบเต็มไปด้วยการคอรัปชั่น จนเป็นที่เรียกขานกันว่า “ โคตรคอรัปชั่น” ทำให้ประชาชนอ่อนแอ เพราะเสพติดประชานิยมจอมปลอมยากจะถอนตัว และสุดท้ายกลายเป็นเหตุหลักของความแตกแยกของคนในสังคม
ดังนั้นในยามที่ความคิดยังไม่ตกผลึก การเปิดรับฟังความคิดเห็น และมุมมองที่หลากย่อมเป็นผลดี เพื่อนำการปฏิรูปการเมืองนำไปสู่ปลายทางของการมี สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่สมบูรณ์
**ยิ่งเว้นวรรคยิ่งมีอำนาจ
“ระยะสั้น การเว้นวรรค ยิ่งทำให้พ.ต.ท.ทักษิณมีอำนาจมากขึ้นทั้งด้านการเงินคืออยู่เบื้องหลังสิงคโปร์ หรือต่างชาติอื่นที่เข้ามาซื้อขายประเทศไทย ส่วนด้านบริหาร ก็ใช้อำนาจบริหารเอื้อประโยชน์ต่อการเงิน และกิจการที่มีผลประโยชน์ได้ การเลื่อนขึ้นไปใช้อำนาจระดับหัวหน้าพรรคจะพ้นการตรวจสอบทั้งปวง ตรงนี้เป็นทิศทางเดียวกับลีกวนยู ที่มีสิงคโปร์เป็นบ้าน มีประเทศไทยเป็นสินค้าไว้ทำมาหากิน คุณทักษิณก็เหมือนกันมีสิงคโปร์เป็นบ้าน และมีประเทศไทยเป็นสินค้าไว้ค้าขายในภูมิภาค จึงต้องมีการดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อเอาทรัพย์สินของคนไทยกลับคืนมา ”นายโสภณ สุภาพงษ์ ส.ว.กทม. กล่าวถึง จุดเริ่มต้นที่ควรกระทำในการปฏิรูปการเมือง
แง่ของโครงสร้างจำเป็น ต้องลด อำนาจฝ่ายบริหาร เพิ่มอำนาจการตรวจสอบ เพราะองค์กรตรวจสอบกลายมาเป็นตัวช่วยให้คอรัปชั่นเกิดขึ้นมากมาย การกำหนดให้ผู้ที่จะลงสมัครส.ส.ได้ต้องสังกัดพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งไม่น้อยกว่า 90 วัน ต้องเลิก เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ความฉ้อฉลถูกปิดบัง การตรวจสอบนายกฯ ก็ให้ใช้เสียงแค่ 50-100 เสียงก็ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้
เพราะเหตุที่องค์กรตรวจสอบพึ่งพาไม่ได้ จึงทำให้คนต้องออกมาเดินกันเต็มถนน การทำให้องค์กรตรวจสอบทั้งในและนอกระบบรัฐสภามีความเป็นอิสระจึงสำคัญ โดยกระบวนการสรรหาต้องคิดใหม่ ไม่ให้ฝ่ายการเมืองสามารถเข้าครอบงำได้ วุฒิสภาถ้ายังให้มีที่มาจากฐานเดียวกับส.ส. ก็ไม่ควรมีเสียดีกว่า
การคัดสรรคนเข้าทำหน้าที่ในองค์กรเหล่านี้ก็ต้องเลิกคิด จะเอาแต่คนเก่งๆ เพราะจะได้แต่พวกข้าราชการเก่าที่หลงอยู่กับอำนาจเข้ามา ซึ่งจริงๆ แล้ว “ความอิสระ”สำคัญมากกว่า “ความเก่ง” และควรกำหนดให้องค์กรเหล่านี้อิสระในด้านงบประมาณเหมือนกับกองทุนสสส. ที่มีงบประมาณโดยตรงจากภาษีบุหรี่ เหล้า แต่ก็ต้องมีความยึดโยงกับประชาชน
“ผมว่าเอาโครงใหญ่ ๆ เรื่องของอำนาจก่อน เพราะมีความเข้าใจผิดมากว่า พอเลือกตั้งเสร็จ คนเป็นนายกคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของประเทศจะทำอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแคร์สถาบันใด ๆ อันนี้อันตรายมาก ต้องทำตรงนี้ก่อน บางคนลงไปในรายละเอียดมันถูก แต่เราจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยถ้ายังทำเรื่องเล็กๆ อยู่”นายโสภณกล่าวและว่าการแก้ไข จริงอยู่ที่ต้องให้ประชาชนเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มากที่สุด แต่ไม่จำเป็นที่ประชาชนต้องเข้ามาร่วมตั้งแต่ชั้นของการร่าง แต่การยกร่างควรจะทำในลักษณะมีทางเลือกที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แล้วหมั่นเอามาทำประชาพิจารณ์กับประชาชน ก่อนจะทำประชาพิจารณ์อีกครั้งในขั้นสุดท้าย โดยระหว่างนั้นก็ควรจะมีการจัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรภาคประชาชนเพื่อให้ไปทำหน้าที่ให้ความรู้ ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ที่จะแก้ไข
“บางทีอาจต้องมีประเด็นย่อยให้เลือกก่อน ฟังอันย่อยก่อนแล้วค่อยเขียนอันใหญ่ อย่างเอฟทีเอ มันกระทบบ้านเมืองมหาศาล แต่เรากลับปล่อยให้นักเซ็งลี้คนเดียวไปทำ มันไม่ไหว”
**ชูรัฐบาลพระราชทานโค่นระบอบทักษิณ
นายโสภณกล่าวต่อว่า การจะขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณให้หมดไปนั้น ไม่ง่าย เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ เก่งกว่าหัวหน้าโจรก่อการร้ายในภาคใต้ สามารถแบ่งประเทศไทยออกเป็นเสี่ยง ๆ ได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี แถมครั้งนี้เจ็บกว่าทุกคราว เนื่องจากยังเอาอนาคตไปขายด้วย แต่ก็ต้องพยายามแก้ไข ซึ่งแม้จะเป็นประชาธิปไตย ก็ยังเห็นความจำเป็นที่ต้องมี “รัฐบาลพระราชทาน” ขึ้นมาเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการปฏิรูปการเมือง
“ไม่เช่นนั้นเราเริ่มต้นไม่ได้ ใครจะเป็นผู้ทำโครงสร้างให้ประชาชนแข็งแรง มันไม่มี แต่ถ้ามีรัฐบาลพระราชทาน ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่จะเห็นเลยว่าบ้านเมืองต้องมีสถานีโทรทัศน์ที่อิสระอย่างน้อย 3 แห่ง มีทุนสำหรับภาคประชาชนที่จะดำเนินการ เพราะถ้าปล่อยให้การเมืองเป็นคนทำ ไม่มีทางทำอยู่แล้ว”
คล้ายกับนายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาร่าง ที่แม้จะไม่ชัดเจนว่าควรจะมีรัฐบาลพระราชทานมาเป็นผู้ดำเนินการปฏิรูปการเมืองหรือไม่ แต่มองว่า การได้ผู้ใช้อำนาจรัฐที่เป็นกลางย่อมจะทำให้การปฏิรูปการเมืองที่จะเกิดขึ้นเดินหน้าไปได้ด้วยดี เพราะสภาพการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ค่อนข้างลำบาก ทั้งสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในมือพรรคไทยรักไทย การปฏิรูปแล้วทำให้ตัวเองเสียประโยชน์ ไทยรักไทยย่อมไม่มีทางยอม
“ถ้าจะบอกว่าก็ได้เสียงมาอย่างนี้ช่วยไม่ได้นั้น ในความเป็นจริง ถ้าจะบริหารกันวันต่อวันก็บริหารกันไปได้ แต่ถ้าจะปฏิรูปโครงสร้างของระบบการเมืองให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ขณะที่สภามีพรรคการเมืองเดียวอาจไม่ค่อยเหมาะ ต้องหลากหลายหน่อย หรือถ้าจะบอกว่าคณะผู้ยกร่างหลากหลายพอแล้ว คำถามคือต้องมีการส่งให้สภาเห็นชอบหรือเปล่า ตรงนี้ยังไม่มีการพูดกัน ถ้าส่งเหมือนยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่แล้ว สภาแบบนี้การจะได้รับความชอบธรรมคงลำบาก หรือถ้าบอกว่าสภาจะทำหน้าที่แค่ให้ความเห็นชอบอย่างเดียว แก้ไขอะไรไม่ได้ ก็ต้องไปดูองค์ประกอบของคณะผู้ยกร่างที่จะตั้งขึ้นอีกว่ามีร่างทรงของพรรคการเมืองหรือเปล่า”
**แก้เป็นมาตรา ไม่ต้องยกเครื่อง
ในทัศนะของอดีตส.ส.ร.ผู้นี้ไม่อยากให้การปฏิรูปฯที่จะเกิดขึ้นถึงขั้นต้องเขียนรัฐธรรมนูญกันใหม่ทั้งฉบับเพราะอาจล่าช้า ควรแก้ไขเฉพาะมาตราที่เป็นปัญหา ไม่ว่า ปลดล็อค 90 วัน การลดจำนวนเสียงที่จะขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกเหลือ 1 ใน 5 การไม่ให้พรรคการเมืองเข้ามาเป็นกรรมการสรรหากกรรมการองค์กรอิสระ รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และบทบาทของกกต. โดยประชาชนจะต้องเคลื่อนไหวกดดันให้มีการรับที่จะแก้ไขประเด็นเหล่านี้ รวมทั้งต้องติดตามใกล้ชิดป้องกันการ “ถูกหลอก”ภายหลัง
แต่ที่หนักใจคือความแตกแยกเป็น 2 ฝ่ายของคนในสังคมฝ่ายหนึ่งสนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ อยากให้กลับเข้ามาบริหาร และให้ระบอบทักษิณคงอยู่ ขณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการขจัดระบอบนี้ ซึ่งการจะทำให้หายไปโดยเร็วไม่ง่ายนัก และอาจส่งผลให้การจะทำประชาพิจารณ์ในประเด็นการปฏิรูปฯกลายเป็นปัญหาได้
“การทำประชาพิจารณ์น่าสนใจ แต่ก็ต้องคำนึงถึงว่าเป็นใคร ไปถามใคร เพราะคราวร่างรัฐธรรมนูญ 40 ตอนส.ส.ร.ไปถามมันไม่มีการสร้างกระแสกดดันอย่างหนึ่งอย่างใด เหมือนเวลานี้ คนก็สามารถพูดแสดงออกได้ชัดเจน แต่ตอนนี้มันแบ่งกัน ดังนั้นการจะให้ประชาชนผนึกกันเป็นหนึ่งเดียวแล้วทำประชาพิจารณ์มันมองแทบจะไม่เห็น”
**ระบุสื่ออิสระปัจจัยสำคัญ
ขณะที่นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ คณบดีคณะรัฐประศาสน์ศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เชื่อว่าแม้ความแตกแยกของคนในสังคมจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูป แต่จะไม่รุนแรง เพราะกระแสที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงมีศักยภาพน้อย เนื่องจาก เป็นกลุ่มคนรากหญ้า ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้ มีความกระตือรือร้นทางการเมืองมาก
“เหมือนเราบอกว่าเสียงสนับสนุนพรรคไทยรักไทยมากกว่าเสียงโนโหวต ฉะนั้นเท่ากับว่ากระแสต่อต้านการปฏิรูปมันมากกว่า มันไม่ได้ เพราะประสิทธิภาพของคนที่ลงคะแนนเสียงให้พ.ต.ท.ทักษิณ กับประสิทธิภาพของคนที่โนโหวตมันต่างกันมาก”
รวมทั้งเป็นเรื่องธรรมดาที่จะไปคาดหวังให้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยแก้รัฐธรรมนูญตรงกับความต้องการของประชาชนคงไม่ได้ ถ้าการแก้ไขนั้นนำไปสู่การที่พรรคไทยรักไทยต้องเสียประโยชน์ เพราะ เป็นสัจธรรมว่าชนใดบัญญัติกฎหมาย ก็เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้นอยู่แล้ว การจะเปลี่ยนแปลงหรือทำอะไรให้กลุ่มตนเสียประโยชน์ ถ้าต้องทำก็น้อยที่สุด
แต่แม้ปลายทางของการเมืองในขณะนี้ หากเกิดสภาที่มีพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว ก็เชื่อว่าดีกรีกระแสการตื่นตัวของประชาชนในทางการเมือง ไม่น่าจะทำให้พรรคไทยรักไทยสามารถทำอะไรได้ตาม “อำเภอใจ” อีกแล้ว เพราะการจับจ้องของประชาชนจะสูงและบังคับให้รัฐบาลต้องทำตามความต้องการของประชาชนมากขึ้น ความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชนจะเป็นกลไกสำคัญของการปฏิรูปการเมืองนับจากนี้ จะไปหวังพึ่งองค์กรอื่นไม่ได้แล้ว
และเมื่อจะกำจัด ระบอบทักษิณ การแก้ก็ต้องมุ่งที่จะขจัดปัญหา การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ครอบงำทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ องค์กรอิสระ การทำให้องค์กรต่างๆ อยู่ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของทักษิณโดยสิ้นเชิง หรือทำให้ระบบทุนนิยมเข้ามาครอบงำประเทศทั้งหมด ซึ่งโดยหลักคิดของการเกิดรัฐธรรมนูญ 40 มาจากปัญหารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ เมื่อแก้ไข ทำให้เกิดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพมาก กลายเป็นเผด็จการ การแก้ก็ต้องพิจารณาว่าทำอย่างไร ยังคงให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ แต่ไม่มีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรอื่น
ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องเป็นอิสระ แต่ไม่สามารถใช้ความเป็น“อิสระ”นั้นต่อรองผลประโยชน์เพื่อคุกคามฝ่ายบริหารได้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ต้องไม่ใช่เครื่องมือของส.ส.คุกคามเสถียรภาพของรัฐบาลแต่สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อิสระต้องคิดกระบวนการสรรหาใหม่ที่ทำให้อำนาจฝ่ายบริหารไม่สามารถครอบงำได้ เพราะถ้าองค์กรอิสระไม่อิสระ ก็ไม่ได้ช่วยการปฏิรูปการเมืองได้ ขณะเดียวกันก็จำเป็นที่ต้องเน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพสื่อโดยเฉพาะวิทยุ โทรทัศน์
“เพราะถ้าสื่ออิสระมาก รัฐบาลไม่สามารถครอบงำสื่อได้ การตัดสินใจของประชาชนจะต่างไปเลย สังเกตได้จากการเลือกตั้งส.ส.ที่ผ่านมา ประชาชนต่างจังหวัดในเขตหนึ่ง ที่ได้ดู ASTV ผลการเลือกตั้งที่ออกมาก็จะมีโนโหวตมาก นี่เป็นตัวออย่างว่าถ้าสื่อไม่ถูกครอบงำ สามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาได้ ประชาชนก็จะตัดสินใจได้ดีมากขึ้น ฉะนั้นในภาคประชาชนสื่อถือว่ามีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการเมือง เฉพาะอย่างยิ่งตอนนี้ การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นก็เพราะอิทธิพลของสื่อ บทบาทของสื่อจึงมีความสำคัญในการปฏิรูปการเมือง คือต้องเป็นสื่อที่เป็นอิสระและมีเสรีภาพ”นายสมบัติกล่าว
ดังนั้น การจะปฏิรูปเพื่อรื้อถอน นอกจากต้องตั้งอยู่บนหลักการตระหนักถึง “พิษภัย” ของตัวระบอบทักษิณ และต้องขจัดให้หมดไปแล้ว ยังจำต้องคิดหนทางป้องกันมิให้ “เชื้อร้ายกลายพันธุ์ ”และกลับมาเป็น “เชื้อชั่วไม่มีวันตาย”ที่ให้ประชาชนต้องมาออกแรงเดินบนท้องถนนอีกครั้ง
นับจากนี้ไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะเป็นใคร หรือการเลือกตั้ง 2 เม.ย. จะเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ที่แน่นอนคือจะมีการปฏิรูปการเมืองรอบ 2 เกิดขึ้น
หากแต่ท่ามกลางความแตกแยกคนในสังคมที่คนกลุ่มหนึ่งเสพติดประชานิยม ชื่นชม พ.ต.ท.ทักษิณ คือผู้ดลบันดาลชีวิตที่ดีกว่าเดิมให้ ตรงกันข้ามกับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือผู้ทำลายชาติ ขายสมบัติแผ่นดินเพียงเพื่อประโยชน์ตัวเอง ทำให้ต้องยอมรับว่า การจะปฏิรูปการเมือง ให้พ้นจาก “ระบอบทักษิณ” นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
“ระบอบทักษิณ” บรรดาผู้รู้ทั้งหลายเห็นตรงกันว่า เป็นการอาศัยความได้เปรียบจากรัฐธรรมนูญ 40 เฉพาะอย่างยิ่งหลักการความเข้มแข็งของนายกฯ มาสร้างฐานอำนาจให้กับตัวเองและพวกพ้อง มีการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบด้วยการแทรกซึมองค์กรอิสระ ทำลายกลไกการตรวจสอบทุกระดับ ส่งผลให้ทั้งระบอบเต็มไปด้วยการคอรัปชั่น จนเป็นที่เรียกขานกันว่า “ โคตรคอรัปชั่น” ทำให้ประชาชนอ่อนแอ เพราะเสพติดประชานิยมจอมปลอมยากจะถอนตัว และสุดท้ายกลายเป็นเหตุหลักของความแตกแยกของคนในสังคม
ดังนั้นในยามที่ความคิดยังไม่ตกผลึก การเปิดรับฟังความคิดเห็น และมุมมองที่หลากย่อมเป็นผลดี เพื่อนำการปฏิรูปการเมืองนำไปสู่ปลายทางของการมี สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่สมบูรณ์
**ยิ่งเว้นวรรคยิ่งมีอำนาจ
“ระยะสั้น การเว้นวรรค ยิ่งทำให้พ.ต.ท.ทักษิณมีอำนาจมากขึ้นทั้งด้านการเงินคืออยู่เบื้องหลังสิงคโปร์ หรือต่างชาติอื่นที่เข้ามาซื้อขายประเทศไทย ส่วนด้านบริหาร ก็ใช้อำนาจบริหารเอื้อประโยชน์ต่อการเงิน และกิจการที่มีผลประโยชน์ได้ การเลื่อนขึ้นไปใช้อำนาจระดับหัวหน้าพรรคจะพ้นการตรวจสอบทั้งปวง ตรงนี้เป็นทิศทางเดียวกับลีกวนยู ที่มีสิงคโปร์เป็นบ้าน มีประเทศไทยเป็นสินค้าไว้ทำมาหากิน คุณทักษิณก็เหมือนกันมีสิงคโปร์เป็นบ้าน และมีประเทศไทยเป็นสินค้าไว้ค้าขายในภูมิภาค จึงต้องมีการดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อเอาทรัพย์สินของคนไทยกลับคืนมา ”นายโสภณ สุภาพงษ์ ส.ว.กทม. กล่าวถึง จุดเริ่มต้นที่ควรกระทำในการปฏิรูปการเมือง
แง่ของโครงสร้างจำเป็น ต้องลด อำนาจฝ่ายบริหาร เพิ่มอำนาจการตรวจสอบ เพราะองค์กรตรวจสอบกลายมาเป็นตัวช่วยให้คอรัปชั่นเกิดขึ้นมากมาย การกำหนดให้ผู้ที่จะลงสมัครส.ส.ได้ต้องสังกัดพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งไม่น้อยกว่า 90 วัน ต้องเลิก เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ความฉ้อฉลถูกปิดบัง การตรวจสอบนายกฯ ก็ให้ใช้เสียงแค่ 50-100 เสียงก็ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้
เพราะเหตุที่องค์กรตรวจสอบพึ่งพาไม่ได้ จึงทำให้คนต้องออกมาเดินกันเต็มถนน การทำให้องค์กรตรวจสอบทั้งในและนอกระบบรัฐสภามีความเป็นอิสระจึงสำคัญ โดยกระบวนการสรรหาต้องคิดใหม่ ไม่ให้ฝ่ายการเมืองสามารถเข้าครอบงำได้ วุฒิสภาถ้ายังให้มีที่มาจากฐานเดียวกับส.ส. ก็ไม่ควรมีเสียดีกว่า
การคัดสรรคนเข้าทำหน้าที่ในองค์กรเหล่านี้ก็ต้องเลิกคิด จะเอาแต่คนเก่งๆ เพราะจะได้แต่พวกข้าราชการเก่าที่หลงอยู่กับอำนาจเข้ามา ซึ่งจริงๆ แล้ว “ความอิสระ”สำคัญมากกว่า “ความเก่ง” และควรกำหนดให้องค์กรเหล่านี้อิสระในด้านงบประมาณเหมือนกับกองทุนสสส. ที่มีงบประมาณโดยตรงจากภาษีบุหรี่ เหล้า แต่ก็ต้องมีความยึดโยงกับประชาชน
“ผมว่าเอาโครงใหญ่ ๆ เรื่องของอำนาจก่อน เพราะมีความเข้าใจผิดมากว่า พอเลือกตั้งเสร็จ คนเป็นนายกคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของประเทศจะทำอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแคร์สถาบันใด ๆ อันนี้อันตรายมาก ต้องทำตรงนี้ก่อน บางคนลงไปในรายละเอียดมันถูก แต่เราจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยถ้ายังทำเรื่องเล็กๆ อยู่”นายโสภณกล่าวและว่าการแก้ไข จริงอยู่ที่ต้องให้ประชาชนเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มากที่สุด แต่ไม่จำเป็นที่ประชาชนต้องเข้ามาร่วมตั้งแต่ชั้นของการร่าง แต่การยกร่างควรจะทำในลักษณะมีทางเลือกที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แล้วหมั่นเอามาทำประชาพิจารณ์กับประชาชน ก่อนจะทำประชาพิจารณ์อีกครั้งในขั้นสุดท้าย โดยระหว่างนั้นก็ควรจะมีการจัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรภาคประชาชนเพื่อให้ไปทำหน้าที่ให้ความรู้ ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ที่จะแก้ไข
“บางทีอาจต้องมีประเด็นย่อยให้เลือกก่อน ฟังอันย่อยก่อนแล้วค่อยเขียนอันใหญ่ อย่างเอฟทีเอ มันกระทบบ้านเมืองมหาศาล แต่เรากลับปล่อยให้นักเซ็งลี้คนเดียวไปทำ มันไม่ไหว”
**ชูรัฐบาลพระราชทานโค่นระบอบทักษิณ
นายโสภณกล่าวต่อว่า การจะขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณให้หมดไปนั้น ไม่ง่าย เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ เก่งกว่าหัวหน้าโจรก่อการร้ายในภาคใต้ สามารถแบ่งประเทศไทยออกเป็นเสี่ยง ๆ ได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี แถมครั้งนี้เจ็บกว่าทุกคราว เนื่องจากยังเอาอนาคตไปขายด้วย แต่ก็ต้องพยายามแก้ไข ซึ่งแม้จะเป็นประชาธิปไตย ก็ยังเห็นความจำเป็นที่ต้องมี “รัฐบาลพระราชทาน” ขึ้นมาเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการปฏิรูปการเมือง
“ไม่เช่นนั้นเราเริ่มต้นไม่ได้ ใครจะเป็นผู้ทำโครงสร้างให้ประชาชนแข็งแรง มันไม่มี แต่ถ้ามีรัฐบาลพระราชทาน ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่จะเห็นเลยว่าบ้านเมืองต้องมีสถานีโทรทัศน์ที่อิสระอย่างน้อย 3 แห่ง มีทุนสำหรับภาคประชาชนที่จะดำเนินการ เพราะถ้าปล่อยให้การเมืองเป็นคนทำ ไม่มีทางทำอยู่แล้ว”
คล้ายกับนายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาร่าง ที่แม้จะไม่ชัดเจนว่าควรจะมีรัฐบาลพระราชทานมาเป็นผู้ดำเนินการปฏิรูปการเมืองหรือไม่ แต่มองว่า การได้ผู้ใช้อำนาจรัฐที่เป็นกลางย่อมจะทำให้การปฏิรูปการเมืองที่จะเกิดขึ้นเดินหน้าไปได้ด้วยดี เพราะสภาพการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ค่อนข้างลำบาก ทั้งสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในมือพรรคไทยรักไทย การปฏิรูปแล้วทำให้ตัวเองเสียประโยชน์ ไทยรักไทยย่อมไม่มีทางยอม
“ถ้าจะบอกว่าก็ได้เสียงมาอย่างนี้ช่วยไม่ได้นั้น ในความเป็นจริง ถ้าจะบริหารกันวันต่อวันก็บริหารกันไปได้ แต่ถ้าจะปฏิรูปโครงสร้างของระบบการเมืองให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ขณะที่สภามีพรรคการเมืองเดียวอาจไม่ค่อยเหมาะ ต้องหลากหลายหน่อย หรือถ้าจะบอกว่าคณะผู้ยกร่างหลากหลายพอแล้ว คำถามคือต้องมีการส่งให้สภาเห็นชอบหรือเปล่า ตรงนี้ยังไม่มีการพูดกัน ถ้าส่งเหมือนยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่แล้ว สภาแบบนี้การจะได้รับความชอบธรรมคงลำบาก หรือถ้าบอกว่าสภาจะทำหน้าที่แค่ให้ความเห็นชอบอย่างเดียว แก้ไขอะไรไม่ได้ ก็ต้องไปดูองค์ประกอบของคณะผู้ยกร่างที่จะตั้งขึ้นอีกว่ามีร่างทรงของพรรคการเมืองหรือเปล่า”
**แก้เป็นมาตรา ไม่ต้องยกเครื่อง
ในทัศนะของอดีตส.ส.ร.ผู้นี้ไม่อยากให้การปฏิรูปฯที่จะเกิดขึ้นถึงขั้นต้องเขียนรัฐธรรมนูญกันใหม่ทั้งฉบับเพราะอาจล่าช้า ควรแก้ไขเฉพาะมาตราที่เป็นปัญหา ไม่ว่า ปลดล็อค 90 วัน การลดจำนวนเสียงที่จะขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกเหลือ 1 ใน 5 การไม่ให้พรรคการเมืองเข้ามาเป็นกรรมการสรรหากกรรมการองค์กรอิสระ รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และบทบาทของกกต. โดยประชาชนจะต้องเคลื่อนไหวกดดันให้มีการรับที่จะแก้ไขประเด็นเหล่านี้ รวมทั้งต้องติดตามใกล้ชิดป้องกันการ “ถูกหลอก”ภายหลัง
แต่ที่หนักใจคือความแตกแยกเป็น 2 ฝ่ายของคนในสังคมฝ่ายหนึ่งสนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ อยากให้กลับเข้ามาบริหาร และให้ระบอบทักษิณคงอยู่ ขณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการขจัดระบอบนี้ ซึ่งการจะทำให้หายไปโดยเร็วไม่ง่ายนัก และอาจส่งผลให้การจะทำประชาพิจารณ์ในประเด็นการปฏิรูปฯกลายเป็นปัญหาได้
“การทำประชาพิจารณ์น่าสนใจ แต่ก็ต้องคำนึงถึงว่าเป็นใคร ไปถามใคร เพราะคราวร่างรัฐธรรมนูญ 40 ตอนส.ส.ร.ไปถามมันไม่มีการสร้างกระแสกดดันอย่างหนึ่งอย่างใด เหมือนเวลานี้ คนก็สามารถพูดแสดงออกได้ชัดเจน แต่ตอนนี้มันแบ่งกัน ดังนั้นการจะให้ประชาชนผนึกกันเป็นหนึ่งเดียวแล้วทำประชาพิจารณ์มันมองแทบจะไม่เห็น”
**ระบุสื่ออิสระปัจจัยสำคัญ
ขณะที่นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ คณบดีคณะรัฐประศาสน์ศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เชื่อว่าแม้ความแตกแยกของคนในสังคมจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูป แต่จะไม่รุนแรง เพราะกระแสที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงมีศักยภาพน้อย เนื่องจาก เป็นกลุ่มคนรากหญ้า ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้ มีความกระตือรือร้นทางการเมืองมาก
“เหมือนเราบอกว่าเสียงสนับสนุนพรรคไทยรักไทยมากกว่าเสียงโนโหวต ฉะนั้นเท่ากับว่ากระแสต่อต้านการปฏิรูปมันมากกว่า มันไม่ได้ เพราะประสิทธิภาพของคนที่ลงคะแนนเสียงให้พ.ต.ท.ทักษิณ กับประสิทธิภาพของคนที่โนโหวตมันต่างกันมาก”
รวมทั้งเป็นเรื่องธรรมดาที่จะไปคาดหวังให้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยแก้รัฐธรรมนูญตรงกับความต้องการของประชาชนคงไม่ได้ ถ้าการแก้ไขนั้นนำไปสู่การที่พรรคไทยรักไทยต้องเสียประโยชน์ เพราะ เป็นสัจธรรมว่าชนใดบัญญัติกฎหมาย ก็เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้นอยู่แล้ว การจะเปลี่ยนแปลงหรือทำอะไรให้กลุ่มตนเสียประโยชน์ ถ้าต้องทำก็น้อยที่สุด
แต่แม้ปลายทางของการเมืองในขณะนี้ หากเกิดสภาที่มีพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว ก็เชื่อว่าดีกรีกระแสการตื่นตัวของประชาชนในทางการเมือง ไม่น่าจะทำให้พรรคไทยรักไทยสามารถทำอะไรได้ตาม “อำเภอใจ” อีกแล้ว เพราะการจับจ้องของประชาชนจะสูงและบังคับให้รัฐบาลต้องทำตามความต้องการของประชาชนมากขึ้น ความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชนจะเป็นกลไกสำคัญของการปฏิรูปการเมืองนับจากนี้ จะไปหวังพึ่งองค์กรอื่นไม่ได้แล้ว
และเมื่อจะกำจัด ระบอบทักษิณ การแก้ก็ต้องมุ่งที่จะขจัดปัญหา การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ครอบงำทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ องค์กรอิสระ การทำให้องค์กรต่างๆ อยู่ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของทักษิณโดยสิ้นเชิง หรือทำให้ระบบทุนนิยมเข้ามาครอบงำประเทศทั้งหมด ซึ่งโดยหลักคิดของการเกิดรัฐธรรมนูญ 40 มาจากปัญหารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ เมื่อแก้ไข ทำให้เกิดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพมาก กลายเป็นเผด็จการ การแก้ก็ต้องพิจารณาว่าทำอย่างไร ยังคงให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ แต่ไม่มีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรอื่น
ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องเป็นอิสระ แต่ไม่สามารถใช้ความเป็น“อิสระ”นั้นต่อรองผลประโยชน์เพื่อคุกคามฝ่ายบริหารได้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ต้องไม่ใช่เครื่องมือของส.ส.คุกคามเสถียรภาพของรัฐบาลแต่สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อิสระต้องคิดกระบวนการสรรหาใหม่ที่ทำให้อำนาจฝ่ายบริหารไม่สามารถครอบงำได้ เพราะถ้าองค์กรอิสระไม่อิสระ ก็ไม่ได้ช่วยการปฏิรูปการเมืองได้ ขณะเดียวกันก็จำเป็นที่ต้องเน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพสื่อโดยเฉพาะวิทยุ โทรทัศน์
“เพราะถ้าสื่ออิสระมาก รัฐบาลไม่สามารถครอบงำสื่อได้ การตัดสินใจของประชาชนจะต่างไปเลย สังเกตได้จากการเลือกตั้งส.ส.ที่ผ่านมา ประชาชนต่างจังหวัดในเขตหนึ่ง ที่ได้ดู ASTV ผลการเลือกตั้งที่ออกมาก็จะมีโนโหวตมาก นี่เป็นตัวออย่างว่าถ้าสื่อไม่ถูกครอบงำ สามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาได้ ประชาชนก็จะตัดสินใจได้ดีมากขึ้น ฉะนั้นในภาคประชาชนสื่อถือว่ามีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการเมือง เฉพาะอย่างยิ่งตอนนี้ การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นก็เพราะอิทธิพลของสื่อ บทบาทของสื่อจึงมีความสำคัญในการปฏิรูปการเมือง คือต้องเป็นสื่อที่เป็นอิสระและมีเสรีภาพ”นายสมบัติกล่าว
ดังนั้น การจะปฏิรูปเพื่อรื้อถอน นอกจากต้องตั้งอยู่บนหลักการตระหนักถึง “พิษภัย” ของตัวระบอบทักษิณ และต้องขจัดให้หมดไปแล้ว ยังจำต้องคิดหนทางป้องกันมิให้ “เชื้อร้ายกลายพันธุ์ ”และกลับมาเป็น “เชื้อชั่วไม่มีวันตาย”ที่ให้ประชาชนต้องมาออกแรงเดินบนท้องถนนอีกครั้ง