ผู้จัดการรายวัน - "สมคิด" สั่งถอนวาระ "โครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ" มูลค่า 8 หมื่นล้าน อ้างรอรัฐบาลใหม่พิจารณา ด้าน 2 บิ๊กรับเหมา ซิโน-ไทย-อิตาเลียนไทย ฝันค้างหลังประมูลงานได้
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. เปิดเผยว่า นายสมคิด จาตุศรี-พิทักษ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ได้ขอให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีถอนวาระขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ออกไปก่อน โดยให้เหตุผลว่าให้รอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา ทั้งนี้ ในวาระดังกล่าวกระทรวงการคลังจะรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานของโครงการฯ ให้ ครม. ทราบทุก 6 เดือน
รวมทั้งให้พิจารณาอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ตามสัญญา เช่าที่กรมธนารักษ์ได้ทำไว้กับบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) เป็นเวลา 30 ปี โดยจากเดิมที่ใช้ทุนจดทะเบียนทั้งหมด 258,338,120 บาท ถือหุ้น 100% ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ให้ทำหน้าที่บริหารและควบคุมงานก่อสร้าง และว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบ GCDC ส่วนการก่อสร้างอาคารตามโครงการได้แบ่งสัญญาก่อสร้างออกเป็น 5 สัญญาหลัก และ 5 สัญญาย่อย
นอกจากนี้ยังมีแผนระดมทุนสำหรับโครงการ โดยการระดมทุนผ่านโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ จำนวน 24,000 ล้านบาท เดิมจะขอให้เห็นชอบสัญญาเช่าพื้นที่ใน โครงการฯ ระหว่างกรมธนารักษ์ กับ ธพส. เป็นเวลา 30 ปี แต่โดยที่การตกลงทำสัญญาเช่าพื้นที่ในโครงการฯ ของกรมธนารักษ์ มีผลทำให้กรมธนารักษ์จะต้องผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีงบประมาณรวม 30 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551-2581) โดยเป็นค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน และค่าจัดหาเฟอร์นิเจอร์แทนที่ ทุกหน่วยงาน ในวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 82,114,073,184 บาท
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการประกวดราคาโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพ-มหานคร แจ้งวัฒนะ ได้ทำการเปิดประมูลศูนย์ราชการกรุงเทพฯจำนวน 4 โครงการ ของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ ด้วยวิธีการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ออกชัน ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยผลการประมูล ได้แก่ โครงการแรกในสัญญาที่ 2 การก่อสร้าง อาคาร เอ และอาคารจอดรถ ซึ่งมีราคากลาง ที่ 3,780 ล้านบาท โดยผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) STEC เสนอราคา 3,395 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 10.19% หรือ 385 ล้านบาท
โครงการที่ 2 ในสัญญาก่อสร้างที่ 3 การก่อสร้าง อาคาร บี พร้อมลานรอบอาคาร มูลค่าราคากลาง 7,355 ล้านบาท ผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เสนอราคา 6,877 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 6.5% หรือ 478 ล้านบาท, โครงการที่ 3 ในสัญญาก่อสร้างที่ 4 อาคารจอดรถ บี ศูนย์ประชุมและหอพัก ราคาเริ่มต้นการประมูล 2,022.5 ล้านบาท บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยราคา 1,860 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 8.02% หรือ 162.5 ล้านบาท
และโครงการที่ 4 ในสัญญาก่อสร้างที่ 5 ระบบสาธารณูปโภค อาคารควบคุม และหอประชุมทรงกลม ราคาเริ่มต้นประมูล 1,103.5 ล้านบาท บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยมูลค่า 1,100 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 0.32% หรือ 3.5 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากผลการประมูลบริษัท ซิโน-ไทยฯ ได้งานประมูลไปทั้งสิ้น 7,384 ล้านบาท บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้งานประมูล 6,877 ล้านบาท ซึ่งทาง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) จะเสนอผลการประมูลต่อคณะกรรมการชุดใหญ่เพื่อรับรองผลอย่างเป็นทางการ และกำหนดเริ่มทำการก่อสร้างได้ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา โดยกำหนดก่อสร้างเสร็จในปี 2551 แต่เกิดการยุบสภาจึงได้มีการประกาศเลื่อนโครงการ ออกไป
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. เปิดเผยว่า นายสมคิด จาตุศรี-พิทักษ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ได้ขอให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีถอนวาระขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ออกไปก่อน โดยให้เหตุผลว่าให้รอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา ทั้งนี้ ในวาระดังกล่าวกระทรวงการคลังจะรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานของโครงการฯ ให้ ครม. ทราบทุก 6 เดือน
รวมทั้งให้พิจารณาอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ตามสัญญา เช่าที่กรมธนารักษ์ได้ทำไว้กับบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) เป็นเวลา 30 ปี โดยจากเดิมที่ใช้ทุนจดทะเบียนทั้งหมด 258,338,120 บาท ถือหุ้น 100% ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ให้ทำหน้าที่บริหารและควบคุมงานก่อสร้าง และว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบ GCDC ส่วนการก่อสร้างอาคารตามโครงการได้แบ่งสัญญาก่อสร้างออกเป็น 5 สัญญาหลัก และ 5 สัญญาย่อย
นอกจากนี้ยังมีแผนระดมทุนสำหรับโครงการ โดยการระดมทุนผ่านโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ จำนวน 24,000 ล้านบาท เดิมจะขอให้เห็นชอบสัญญาเช่าพื้นที่ใน โครงการฯ ระหว่างกรมธนารักษ์ กับ ธพส. เป็นเวลา 30 ปี แต่โดยที่การตกลงทำสัญญาเช่าพื้นที่ในโครงการฯ ของกรมธนารักษ์ มีผลทำให้กรมธนารักษ์จะต้องผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีงบประมาณรวม 30 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551-2581) โดยเป็นค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน และค่าจัดหาเฟอร์นิเจอร์แทนที่ ทุกหน่วยงาน ในวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 82,114,073,184 บาท
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการประกวดราคาโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพ-มหานคร แจ้งวัฒนะ ได้ทำการเปิดประมูลศูนย์ราชการกรุงเทพฯจำนวน 4 โครงการ ของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ ด้วยวิธีการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ออกชัน ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยผลการประมูล ได้แก่ โครงการแรกในสัญญาที่ 2 การก่อสร้าง อาคาร เอ และอาคารจอดรถ ซึ่งมีราคากลาง ที่ 3,780 ล้านบาท โดยผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) STEC เสนอราคา 3,395 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 10.19% หรือ 385 ล้านบาท
โครงการที่ 2 ในสัญญาก่อสร้างที่ 3 การก่อสร้าง อาคาร บี พร้อมลานรอบอาคาร มูลค่าราคากลาง 7,355 ล้านบาท ผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เสนอราคา 6,877 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 6.5% หรือ 478 ล้านบาท, โครงการที่ 3 ในสัญญาก่อสร้างที่ 4 อาคารจอดรถ บี ศูนย์ประชุมและหอพัก ราคาเริ่มต้นการประมูล 2,022.5 ล้านบาท บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยราคา 1,860 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 8.02% หรือ 162.5 ล้านบาท
และโครงการที่ 4 ในสัญญาก่อสร้างที่ 5 ระบบสาธารณูปโภค อาคารควบคุม และหอประชุมทรงกลม ราคาเริ่มต้นประมูล 1,103.5 ล้านบาท บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยมูลค่า 1,100 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 0.32% หรือ 3.5 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากผลการประมูลบริษัท ซิโน-ไทยฯ ได้งานประมูลไปทั้งสิ้น 7,384 ล้านบาท บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้งานประมูล 6,877 ล้านบาท ซึ่งทาง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) จะเสนอผลการประมูลต่อคณะกรรมการชุดใหญ่เพื่อรับรองผลอย่างเป็นทางการ และกำหนดเริ่มทำการก่อสร้างได้ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา โดยกำหนดก่อสร้างเสร็จในปี 2551 แต่เกิดการยุบสภาจึงได้มีการประกาศเลื่อนโครงการ ออกไป