การศึกษาและการฝึกอบรมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับปัจเจกบุคลและสังคม ตั้งแต่สมัยโบราณมนุษย์จะมีการศึกษาเล่าเรียนและการฝึกอบรมในรูปแบบต่างๆ ความสำคัญของการศึกษามีการกล่าวเน้นโดยนักคิดหลายคน นักปราชญ์ เช่น เพลโต้ก็ดี อริสโตเติลก็ดี จะเน้นเรื่องการศึกษาในลักษณะเป็นตัวแปรที่จะสร้างคนในอุดมคติขึ้นมา สังคมจีนโบราณก็มีความคิดทำนองเดียวกัน หรือแม้กระทั่งสังคมปฐมภูมิที่มีการล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวเพื่อการยังชีพก็ยังมีการศึกษาและเรียนรู้ จะเห็นว่าเด็กอายุ 10 กว่าขวบจะเริ่มหัดทำธนูเพื่อล่าสัตว์ ซึ่งเห็นได้จากภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับชาวแอฟริกันบางเผ่า การล่าสัตว์เป็นการหาเลี้ยงชีพจึงต้องเรียนรู้ทักษะดังกล่าว คนในสังคมเกษตรต้องเรียนรู้การทำนา ชาวประมงต้องเรียนรู้การจับปลา ฯลฯ
ในสังคมสมัยใหม่จุดประสงค์ของการศึกษาและเรียนรู้ของปัจเจกบุคคลมีหลายประการ ดังต่อไปนี้คือ
1. คนบางคนศึกษาเล่าเรียนเพราะมีความใฝ่รู้ มีความสุขกับการที่ได้อ่านหนังสือเพื่อจะเข้าใจสภาพแวดล้อม เข้าใจสังคมมนุษย์ เข้าใจโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จนถึงอนาคต ความใฝ่รู้อันนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการอ่านหนังสือ สังเกตสังกาสภาพแวดล้อม โลกทั้งโลกมีความน่าตื่นเต้น น่าเรียนรู้ ความใฝ่รู้ดังกล่าวบางครั้งนำไปสู่ความกล้าที่จะผจญภัย เสี่ยงภยันตรายเพราะความอยากรู้อยากเห็น จนบางครั้งอาจจะประสบอันตรายกับผู้ใฝ่รู้เอง
2. การเรียนรู้เพื่อมีทักษะและวิทยาการไปประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ คนที่เรียนวิชาแพทยศาสตร์ก็ดี วิศวกรรมศาสตร์ก็ดี เรียนภาษาก็ดี ก็คือผู้ซึ่งต้องการใช้วิทยาการและทักษะดังกล่าวนั้นไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนด้วยการทำมาหากิน โดยคาดหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีในสังคม จะเห็นได้ว่าวิชาใดก็ตามที่สามารถหาเงินได้มากก็จะมีผู้ศึกษาเป็นจำนวนมาก
3. การศึกษาหรือการฝึกอบรมนั้น เป็นเสมือนใบเบิกทาง เพราะเงื่อนไขที่องค์การหรือสังคมได้กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น การที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่าผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. และ ส.ว. และผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต้องจบการาศึกษาอย่างต่ำปริญญาตรี ใบปริญญาบัตรปริญญาตรีจึงเป็นใบเบิกทางที่สำคัญที่จะมีคุณสมบัติไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งดังกล่าว ผู้ศึกษาจำนวนไม่น้อยเพื่อได้ปริญญาตรีนั้นอาจไม่ได้ให้น้ำหนักกับการศึกษาอย่างแท้จริง ความอยากรู้ก็คงมีไม่มากและอาจไม่รู้สึกว่าใบปริญญาบัตรดังกล่าวจะช่วยเสริมงานที่ตนทำอยู่ เพราะหลายคนที่ไม่จบปริญญาตรีมีความรู้มากกว่าสิ่งที่สอนในมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากเป็นใบเบิกทางจึงต้องศึกษาให้จบ ผู้ซึ่งศึกษาปริญญาตรีในลักษณะนี้บางคนอาจมีลักษณะต่างกับผู้อื่นคือไม่ค่อยมาเข้าชั้นเรียนแต่ก็มีความสามารถที่จะสอบผ่านได้
4. การศึกษาเป็นการได้มาซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรี ผู้ที่จบปริญญาตรีจะเรียกว่าเป็นบัณฑิต จะใส่เสื้อครุยปริญญา ในระดับที่สูงกว่าก็อาจจะมีคำนำหน้า นอกจากนั้นยังมีการถือว่าเมื่อมีระบบการศึกษาสูงขึ้นจะกลายเป็นนักปราชญ์ เป็นผู้รู้ เกียรติยศก็สูงขึ้น เป็นที่ชื่นชมของครอบครัว จะเห็นได้จากการถ่ายรูปรับปริญญาตรีแขวนไว้ในบ้านด้วยความภาคภูมิใจ บางครั้งก็ถ่ายทั้งครอบครัวเพื่อแสดงว่าได้รับเกียรติยศชื่อเสียง มีการศึกษาในระดับสูง
5. การศึกษาเป็นเสมือนการชุบตัว คนซึ่งมาจากภูมิหลังครอบครัวที่ยากจน แต่ถ้ามีระดับการศึกษาสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีโอกาสศึกษายังต่างประเทศ บุคลิกลักษณะการพูดจาจะเปลี่ยนไป และเมื่อได้ตำแหน่งการงานสูงขึ้น การชุบตัวดังกล่าวก็จะมีผลต่อการยกฐานะทางสังคมสูงขึ้นกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น คนที่มาจากชนบทที่ยากจน ศึกษาจนจบแพทย์กลายเป็นนายแพทย์หรือแพทย์หญิง หรือบางคนจบวิชากฎหมายและได้ตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาตุลาการ เป็นผลมาจากการศึกษาทั้งสิ้น การศึกษาจึงเป็นการชุบตัวและยกฐานะทางสังคม
6. การศึกษาเกิดจากการเรียนแบบเพื่อนฝูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาที่กำลังเป็นที่นิยม เช่น ในสมัยหนึ่งคนจำนวนไม่น้อยอยากเรียนหมอ เรียนวิศวะ ทั้งๆ ที่อาจไม่ชอบวิชาแพทยศาสตร์ หากชอบทางอักษรศาสตร์ แต่เมื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนวิชาดังกล่าวก็ลงทะเบียนเพื่อจะเรียนวิชาดังกล่าวด้วย ในยุคต่อมาวิชาสื่อสารมวลชนเป็นที่นิยมเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ก็ทำให้กลายเป็นวิชาที่มีความนิยมมากยิ่งขึ้น หลายคนก็ศึกษาเนื่องจากเพื่อนส่วนใหญ่ในห้องเลือกที่จะศึกษาวิชาดังกล่าว
7. การศึกษาที่เกิดจากการพยายามหาคำตอบ เช่น คนซึ่งมีธุรกิจก็ต้องการปรับปรุงธุรกิจของตนให้ดีขึ้น จึงพยายามศึกษาเพิ่มเติมในการบริหารธุรกิจเพื่อจะนำมาแก้ปัญหาดังกล่าวที่บริษัทของตนกำลังเผชิญอยู่ หรือคนซึ่งมีปัญหาทางจิตวิทยาก็อาจจะเลือกศึกษาทางจิตวิทยาเพื่อพยายามเข้าใจปัญหาของตนเอง แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ศึกษาทางจิตวิทยาต้องเป็นคนที่มีปัญหาเสมอไป บางคนก็พยายามศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับประวัติของเผ่าพันธุ์เพราะตนมีเชื้อสายเผ่าพันธุ์นั้น ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อหาข้อข้องใจต่างๆ
8. การศึกษาเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ศึกษาต้องการความสนุกซึ่งใกล้เคียงกับความใฝ่รู้ เช่นบางคนศึกษามาทางอักษรศาสตร์ทำงานจนอายุ 50 ปี เก็บเงินได้ก้อนหนึ่งก็เข้าศึกษาวิชาฟิสิกส์ซึ่งตนคิดว่าเป็นวิชาที่น่าสนใจและสนุก ที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับชาวอเมริกันผู้หนึ่งที่สอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยเป็นเวลาหลายสิบปี และได้เดินทางไปศึกษาวิชาฟิสิกส์ตอนอายุ 50 ปี โดยไม่ต้องการปริญญา เมื่อถามว่าทำไมจึงศึกษาเมื่ออายุ 50 คำตอบก็คืออยากศึกษามานานแล้วแต่ไม่มีโอกาสจึงหาความสนุกจากการศึกษา
9. การศึกษาเกิดขึ้นเนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขใหม่ของสังคม เช่น ในขณะนี้มีคนจำนวนไม่น้อยพยายามศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก เนื่องจากคนจำนวนมากศึกษาปริญญาตรีเพราะเป็นเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญตามที่กล่าวมาแล้ว หลายคนจึงต้องการยกระดับการศึกษาส่วนหนึ่งปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป
10. การศึกษาเกิดจากโอกาส ตัวอย่างเช่น ในสมัยก่อนการศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศมีไม่มาก และโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศก็เกิดขึ้นไม่ง่ายนัก เมื่อมีการเปิดโครงการปริญญาเอกภายในประเทศขึ้นก็มีการตื่นตัวและมีการศึกษาในระดับสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากสภาพที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน
11. การศึกษาเกิดขึ้นเพราะเป็นการศึกษาที่รัฐบังคับ ใครก็ตามที่ไม่ศึกษาจนจบภาคบังคับก็จะสร้างปัญหาให้กับพ่อแม่ เพราะอาจจะทำผิดพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับได้ รัฐไม่สามารถจะปล่อยให้ประชาชนไม่มีการศึกษาอบรม ไม่รู้หนังสือ ในบางประเทศ เช่น ประเทศจีน ตอนเหมา เจ๋อตุง ยึดอำนาจได้ก็มีการรณรงค์และบังคับให้คนทั้งประเทศเรียนหนังสือเพื่อจะได้รู้หนังสือ ทั้งเด็กและผู้ชราต่างต้องเรียนหนังสือทั้งสิ้น
12. ศึกษาเนื่องจากต้องทำตามบิดามารดา พ่อแม่จำนวนไม่น้อยเป็นผู้เลือกวิชาชีพให้กับลูก เช่น ตาอ๊อดต้องเรียนหมอ ยายนีต้องเรียนอักษรศาสตร์ เจ้าหนุ่ยต้องเรียนทหาร เด็กที่เกิดในครอบครัวเช่นนี้จะทำตามความต้องการของบิดามารดาซึ่งในหลายกรณีก็ประสบความสำเร็จ แต่ในบางกรณีจะเป็นการเรียนอย่างฝืนใจ จะเห็นได้ว่าหลายคนเมื่อจบวิชาชีพจะกลับไปประกอบวิชาชีพที่ตนไม่ได้ศึกษามา แต่การที่เรียนวิชาดังกล่าวนั้นเพราะไม่อยากขัดใจพ่อแม่
การศึกษาและการฝึกอบรมหรือการเรียนรู้นั้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม การศึกษาที่ดีที่สุดก็คือ ผู้เรียนต้องมีความต้องการที่จะเรียนรู้และมีความสุขกับการเรียนรู้นั้นโดยไม่รู้สึกฝืนใจและเครียด กล่าวอีกนัยหนึ่ง จะต้องมีความสนุกขณะที่เรียนรู้ หรือที่เรียกว่า play and learn ซึ่งสอดคล้องกับภาษาไทยว่า เพลิน เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าต้องเรียนหนังสือโดยฝืนกับความต้องการของตัวเอง ความสำเร็จของการศึกษานั้นก็จะเป็นไปในลักษณะกล้อมแกล้ม และบางครั้งอาจจะทำลายสุขภาพจิตของผู้เรียนด้วย การศึกษาที่ดีนั้นจะต้องทำให้บุคคลผู้ศึกษาเข้าในสภาพแวดล้อม เข้าใจโลก เข้าใจตนเอง เข้าใจชีวิตดีขึ้น ที่สำคัญการศึกษาที่ดีต้องทำให้ผู้ศึกษามีทั้งความรู้ทางวิทยาการและความเป็นมนุษย์ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น แยกแยะความดีความชั่วได้ มีศีลธรรมและจริยธรรม โดยสรุปก็คือ การศึกษาคือการทำให้คนมีความรู้ความสามารถ และเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ
ในสังคมสมัยใหม่จุดประสงค์ของการศึกษาและเรียนรู้ของปัจเจกบุคคลมีหลายประการ ดังต่อไปนี้คือ
1. คนบางคนศึกษาเล่าเรียนเพราะมีความใฝ่รู้ มีความสุขกับการที่ได้อ่านหนังสือเพื่อจะเข้าใจสภาพแวดล้อม เข้าใจสังคมมนุษย์ เข้าใจโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จนถึงอนาคต ความใฝ่รู้อันนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการอ่านหนังสือ สังเกตสังกาสภาพแวดล้อม โลกทั้งโลกมีความน่าตื่นเต้น น่าเรียนรู้ ความใฝ่รู้ดังกล่าวบางครั้งนำไปสู่ความกล้าที่จะผจญภัย เสี่ยงภยันตรายเพราะความอยากรู้อยากเห็น จนบางครั้งอาจจะประสบอันตรายกับผู้ใฝ่รู้เอง
2. การเรียนรู้เพื่อมีทักษะและวิทยาการไปประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ คนที่เรียนวิชาแพทยศาสตร์ก็ดี วิศวกรรมศาสตร์ก็ดี เรียนภาษาก็ดี ก็คือผู้ซึ่งต้องการใช้วิทยาการและทักษะดังกล่าวนั้นไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนด้วยการทำมาหากิน โดยคาดหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีในสังคม จะเห็นได้ว่าวิชาใดก็ตามที่สามารถหาเงินได้มากก็จะมีผู้ศึกษาเป็นจำนวนมาก
3. การศึกษาหรือการฝึกอบรมนั้น เป็นเสมือนใบเบิกทาง เพราะเงื่อนไขที่องค์การหรือสังคมได้กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น การที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่าผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. และ ส.ว. และผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต้องจบการาศึกษาอย่างต่ำปริญญาตรี ใบปริญญาบัตรปริญญาตรีจึงเป็นใบเบิกทางที่สำคัญที่จะมีคุณสมบัติไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งดังกล่าว ผู้ศึกษาจำนวนไม่น้อยเพื่อได้ปริญญาตรีนั้นอาจไม่ได้ให้น้ำหนักกับการศึกษาอย่างแท้จริง ความอยากรู้ก็คงมีไม่มากและอาจไม่รู้สึกว่าใบปริญญาบัตรดังกล่าวจะช่วยเสริมงานที่ตนทำอยู่ เพราะหลายคนที่ไม่จบปริญญาตรีมีความรู้มากกว่าสิ่งที่สอนในมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากเป็นใบเบิกทางจึงต้องศึกษาให้จบ ผู้ซึ่งศึกษาปริญญาตรีในลักษณะนี้บางคนอาจมีลักษณะต่างกับผู้อื่นคือไม่ค่อยมาเข้าชั้นเรียนแต่ก็มีความสามารถที่จะสอบผ่านได้
4. การศึกษาเป็นการได้มาซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรี ผู้ที่จบปริญญาตรีจะเรียกว่าเป็นบัณฑิต จะใส่เสื้อครุยปริญญา ในระดับที่สูงกว่าก็อาจจะมีคำนำหน้า นอกจากนั้นยังมีการถือว่าเมื่อมีระบบการศึกษาสูงขึ้นจะกลายเป็นนักปราชญ์ เป็นผู้รู้ เกียรติยศก็สูงขึ้น เป็นที่ชื่นชมของครอบครัว จะเห็นได้จากการถ่ายรูปรับปริญญาตรีแขวนไว้ในบ้านด้วยความภาคภูมิใจ บางครั้งก็ถ่ายทั้งครอบครัวเพื่อแสดงว่าได้รับเกียรติยศชื่อเสียง มีการศึกษาในระดับสูง
5. การศึกษาเป็นเสมือนการชุบตัว คนซึ่งมาจากภูมิหลังครอบครัวที่ยากจน แต่ถ้ามีระดับการศึกษาสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีโอกาสศึกษายังต่างประเทศ บุคลิกลักษณะการพูดจาจะเปลี่ยนไป และเมื่อได้ตำแหน่งการงานสูงขึ้น การชุบตัวดังกล่าวก็จะมีผลต่อการยกฐานะทางสังคมสูงขึ้นกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น คนที่มาจากชนบทที่ยากจน ศึกษาจนจบแพทย์กลายเป็นนายแพทย์หรือแพทย์หญิง หรือบางคนจบวิชากฎหมายและได้ตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาตุลาการ เป็นผลมาจากการศึกษาทั้งสิ้น การศึกษาจึงเป็นการชุบตัวและยกฐานะทางสังคม
6. การศึกษาเกิดจากการเรียนแบบเพื่อนฝูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาที่กำลังเป็นที่นิยม เช่น ในสมัยหนึ่งคนจำนวนไม่น้อยอยากเรียนหมอ เรียนวิศวะ ทั้งๆ ที่อาจไม่ชอบวิชาแพทยศาสตร์ หากชอบทางอักษรศาสตร์ แต่เมื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนวิชาดังกล่าวก็ลงทะเบียนเพื่อจะเรียนวิชาดังกล่าวด้วย ในยุคต่อมาวิชาสื่อสารมวลชนเป็นที่นิยมเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ก็ทำให้กลายเป็นวิชาที่มีความนิยมมากยิ่งขึ้น หลายคนก็ศึกษาเนื่องจากเพื่อนส่วนใหญ่ในห้องเลือกที่จะศึกษาวิชาดังกล่าว
7. การศึกษาที่เกิดจากการพยายามหาคำตอบ เช่น คนซึ่งมีธุรกิจก็ต้องการปรับปรุงธุรกิจของตนให้ดีขึ้น จึงพยายามศึกษาเพิ่มเติมในการบริหารธุรกิจเพื่อจะนำมาแก้ปัญหาดังกล่าวที่บริษัทของตนกำลังเผชิญอยู่ หรือคนซึ่งมีปัญหาทางจิตวิทยาก็อาจจะเลือกศึกษาทางจิตวิทยาเพื่อพยายามเข้าใจปัญหาของตนเอง แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ศึกษาทางจิตวิทยาต้องเป็นคนที่มีปัญหาเสมอไป บางคนก็พยายามศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับประวัติของเผ่าพันธุ์เพราะตนมีเชื้อสายเผ่าพันธุ์นั้น ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อหาข้อข้องใจต่างๆ
8. การศึกษาเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ศึกษาต้องการความสนุกซึ่งใกล้เคียงกับความใฝ่รู้ เช่นบางคนศึกษามาทางอักษรศาสตร์ทำงานจนอายุ 50 ปี เก็บเงินได้ก้อนหนึ่งก็เข้าศึกษาวิชาฟิสิกส์ซึ่งตนคิดว่าเป็นวิชาที่น่าสนใจและสนุก ที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับชาวอเมริกันผู้หนึ่งที่สอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยเป็นเวลาหลายสิบปี และได้เดินทางไปศึกษาวิชาฟิสิกส์ตอนอายุ 50 ปี โดยไม่ต้องการปริญญา เมื่อถามว่าทำไมจึงศึกษาเมื่ออายุ 50 คำตอบก็คืออยากศึกษามานานแล้วแต่ไม่มีโอกาสจึงหาความสนุกจากการศึกษา
9. การศึกษาเกิดขึ้นเนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขใหม่ของสังคม เช่น ในขณะนี้มีคนจำนวนไม่น้อยพยายามศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก เนื่องจากคนจำนวนมากศึกษาปริญญาตรีเพราะเป็นเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญตามที่กล่าวมาแล้ว หลายคนจึงต้องการยกระดับการศึกษาส่วนหนึ่งปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป
10. การศึกษาเกิดจากโอกาส ตัวอย่างเช่น ในสมัยก่อนการศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศมีไม่มาก และโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศก็เกิดขึ้นไม่ง่ายนัก เมื่อมีการเปิดโครงการปริญญาเอกภายในประเทศขึ้นก็มีการตื่นตัวและมีการศึกษาในระดับสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากสภาพที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน
11. การศึกษาเกิดขึ้นเพราะเป็นการศึกษาที่รัฐบังคับ ใครก็ตามที่ไม่ศึกษาจนจบภาคบังคับก็จะสร้างปัญหาให้กับพ่อแม่ เพราะอาจจะทำผิดพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับได้ รัฐไม่สามารถจะปล่อยให้ประชาชนไม่มีการศึกษาอบรม ไม่รู้หนังสือ ในบางประเทศ เช่น ประเทศจีน ตอนเหมา เจ๋อตุง ยึดอำนาจได้ก็มีการรณรงค์และบังคับให้คนทั้งประเทศเรียนหนังสือเพื่อจะได้รู้หนังสือ ทั้งเด็กและผู้ชราต่างต้องเรียนหนังสือทั้งสิ้น
12. ศึกษาเนื่องจากต้องทำตามบิดามารดา พ่อแม่จำนวนไม่น้อยเป็นผู้เลือกวิชาชีพให้กับลูก เช่น ตาอ๊อดต้องเรียนหมอ ยายนีต้องเรียนอักษรศาสตร์ เจ้าหนุ่ยต้องเรียนทหาร เด็กที่เกิดในครอบครัวเช่นนี้จะทำตามความต้องการของบิดามารดาซึ่งในหลายกรณีก็ประสบความสำเร็จ แต่ในบางกรณีจะเป็นการเรียนอย่างฝืนใจ จะเห็นได้ว่าหลายคนเมื่อจบวิชาชีพจะกลับไปประกอบวิชาชีพที่ตนไม่ได้ศึกษามา แต่การที่เรียนวิชาดังกล่าวนั้นเพราะไม่อยากขัดใจพ่อแม่
การศึกษาและการฝึกอบรมหรือการเรียนรู้นั้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม การศึกษาที่ดีที่สุดก็คือ ผู้เรียนต้องมีความต้องการที่จะเรียนรู้และมีความสุขกับการเรียนรู้นั้นโดยไม่รู้สึกฝืนใจและเครียด กล่าวอีกนัยหนึ่ง จะต้องมีความสนุกขณะที่เรียนรู้ หรือที่เรียกว่า play and learn ซึ่งสอดคล้องกับภาษาไทยว่า เพลิน เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าต้องเรียนหนังสือโดยฝืนกับความต้องการของตัวเอง ความสำเร็จของการศึกษานั้นก็จะเป็นไปในลักษณะกล้อมแกล้ม และบางครั้งอาจจะทำลายสุขภาพจิตของผู้เรียนด้วย การศึกษาที่ดีนั้นจะต้องทำให้บุคคลผู้ศึกษาเข้าในสภาพแวดล้อม เข้าใจโลก เข้าใจตนเอง เข้าใจชีวิตดีขึ้น ที่สำคัญการศึกษาที่ดีต้องทำให้ผู้ศึกษามีทั้งความรู้ทางวิทยาการและความเป็นมนุษย์ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น แยกแยะความดีความชั่วได้ มีศีลธรรมและจริยธรรม โดยสรุปก็คือ การศึกษาคือการทำให้คนมีความรู้ความสามารถ และเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ