การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 มีปรากฏการณ์ประหลาดอยู่ประการหนึ่งคือการจัดวางผังคูหาลงคะแนนแบบใหม่ที่ให้ผู้ลงคะแนนหันหลังออกสู่ภายนอก เปิดโอกาสให้กรรมการและบุคคลภายนอกมองเห็น ชนิดที่ถ้าจะสอดส่ายสายตาก็พอจะมองออกว่าลงคะแนนให้ใคร แตกต่างจากการจัดวางผังครั้งก่อนๆ ที่ให้ผู้ลงคะแนนหันหลังให้กำแพง ซึ่งไม่มีทางที่ใครจะมองออกว่าลงคะแนนให้ใคร เพราะด้านหน้าเป็นแผงกั้นเป็นคอก 3 ด้าน
การจัดวางผังแบบใหม่นี้ คุณเปลว สีเงินแห่งไทยโพสต์เขียนไว้ในบทความของท่านฉบับวานนี้ว่า....
“หันตูดให้แดด”
การจัดผังแบบนี้ไม่ว่า กกต.จะแก้ตัวอย่างไร แต่รูปธรรมที่ปรากฏแก่สายตาคนไทยทั่วไปแล้วฟังไม่ขึ้นสักเท่าไรนัก
เพราะเป็นเสมือนการแก้เกมให้บรรดาหัวคะแนนที่คอยจับจ้องผลงานที่ตนไปซื้อเสียงมา
เป็นการแก้เกมการนับคะแนนแบบรวมกองที่เกิดขึ้นหลังรัฐธรรมนูญ 2540
ต้องเข้าใจการเมืองไทยสักนิดว่าปัญหาใหญ่ของการเลือกตั้งคือการซื้อเสียง โดยผ่านระบบหัวคะแนน ซึ่งก็คือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่ชาวบ้านทั้งพึ่งพาทั้งกลัว ด้านหนึ่งชาวบ้านของเรานั้นเป็นคนซื่อ ยึดมันในศาสนาและวัฒนธรรมตะวันออก เมื่อรับเงินใครแล้วก็มักจะทำตาม แต่อีกด้านหนึ่งการนับคะแนนเมื่อก่อนรัฐธรรมนูญ 2540 จะนับที่หน่วยเลือกตั้งเลย คะแนนที่ปรากฏออกมาขณะนับจะบอกเล่าชาวบ้านในหมู่บ้าน ณ ที่ตั้งหน่วยเลือกตั้งนั้นทำตามสัญญาที่รับเงินไปหรือไม่ ถ้าเกิดคะแนนที่นับไม่ตรงกับที่จ่ายเงินไปก็แปลว่ามีการผิดสัญญาขึ้นมา หลังเลือกตั้งก็มักจะมีการเช็กบิลกันพอสมควร หัวคะแนนระดับล่างสุดที่อยู่ในพื้นที่หน่วยเลือกตั้งที่เกิดการผิดสัญญามักจะเป็นไข้โป้งตาย
คุณอุทัย พิมพ์ใจชนเป็นเจ้าของไอเดียเสนอให้มีการนับคะแนนรวมกอง เพื่อป้องกันการตรวจสอบผลงานการซื้อเสียง
โดยเอาประสบการณ์การลงสนามเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรีหลายครั้งหลายหนมาเป็นเกณฑ์
เพราะที่นั่นท่านต้องสู้กับกำนันเป๊าะอภิมหาอมตะหัวคะแนนมือ 1 ของประเทศ
การนับคะแนนรวมกองนั้น นักวิชาการกฎหมายมหาชนเขาวิพากษ์กันมาแต้ต้นว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
เพราะเป็นการทำให้การเลือกตั้งที่ควรเป็นกิจกรรมใกล้ชิดกับประชาชนในทุกขั้นตอนต้องมีอันห่างจากประชาชน
จำได้ไหมครับสมัยเด็กๆ เวลามีเลือกตั้ง ตกเย็นหลังปิดหีบทุกคนในชุมชนก็ออกมาดูผลการนับคะแนน ที่หน่วยเลือกตั้ง แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้แล้ว หีบบัตรเลือกตั้งแต่ละหน่วยจะถูกขนไปอีกที่หนึ่งเพื่อรวมกองกันแล้วนับรวม เพื่อไม่ให้รู้ว่าคะแนนที่ลงเลือกคนนั้นคนนี้มาจากหน่วยใด
เพื่อป้องกันการเช็กบิล
เพื่อที่จะได้ไปรณรงค์กับชาวบ้านได้ว่าไม่ต้องห่วงว่ารับเงินเขามาแล้วต้องเลือกเขา เพราะกลัวเขาจับได้ รับเงินมาแล้วไม่ต้องเลือกก็ได้ เพราะการลงคะแนนของเราเป็นความลับ ตอนนับคะแนนก็ตรวจสอบไม่ได้
ขอเน้นนะครับว่ากุญแจของเรื่องคือ...
“ความลับ”
ซึ่งก็เป็นหลักการพื้นฐานของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ชาวบ้านจะลงคะแนนเลือกใครถือเป็นความลับของเขา ไม่จำเป็นต้องบอกผู้ใด ทำให้ระยะหลังมีการตั้งคำถามถึงการทำเอ็กซิสต์โพล จนกระทั่งกลายเป็นข้อห้ามในที่สุด เพราะถ้าเปิดให้ทำเอ็กซิสต์โพลโดยเสรี ก็ไม่ต่างอะไรกับการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งนั่นแหละ
การเลือกตั้งเป็นกิจกรรมในระบอบประชาธิปไตยที่ต้องทำโดยเปิดเผยและโปร่งใส แต่การลงคะแนนของผู้มีสิทธิแต่ละคนต้องเป็นความลับ
ดังนั้นแม้การนับคะแนนรวมกองจะมีผลเสีย แต่ทุกคนก็ยอมรับในผลดีที่มีมากกว่า
แต่ครั้งนี้ กกต.ทำลายหลักการพื้นฐานเสียหมดแล้ว
การเลือกตั้งครั้งนี้ว่าไปแล้วเป็นการแข่งขันระหว่างพรรคไทยรักไทย กับไม่เอาพรรคไทยรักไทยคือลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน บัตรเลือกตั้งก็ให้บังเอิญออกแบบมาให้ช่องกาพรรคไทยรักไทยอยู่บนขวา ช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนอยู่ล่างขวา ตั้งใจดูสักหน่อยก็จะมองออกว่าลงคะแนนให้ใคร
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่เป็นความลับ 100% อีกต่อไป
กกต.อาจจะมีเหตุผลมาแก้ตัวแบบศรีธนญชัยได้สารพัด แต่ลำพังเหตุผลแค่ประเด็น“ความลับ” ข้อเดียว ก็สามารถหักล้างเหตุผลข้ออื่นได้ทั้งหมด
แต่ กกต.กลับไม่ใส่ใจไม่แยแส
อ้างอิงข้างๆ คูๆ เหมือนคนสมองกลวงไปว่าไม่เห็น, ไม่มีใครมาจับจ้องดูหรอก, ไม่มีใครบ้ามายืนดูนานๆ ขนาดนั้น
ในฐานะองค์กรจัดการเลือกตั้ง หน้าที่โดยพื้นฐานก็คือต้องคิดหาวิธีการที่ดีที่สุดที่จะให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้มีสิทธิแต่ละคนเป็นความลับ จะมีใครมายืนจับจ้องดูหรือไม่ยังไม่สำคัญเท่ากับว่าคุณต้องตั้งสมมติฐานว่าถ้ามีคนมายืนดูก็มองไม่เห็น
สมควรแล้วละครับที่มีคนไปตั้งม็อบหน้า กกต.
เพราะคณะ 4 คนชุดนี้ไม่มีคุณค่าพอที่จะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอีกต่อไป
สรุปแล้ว การนับคะแนนรวมกองไร้ประสิทธิภาพพื้นฐานทันทีหากมีการจัดผังแบบ “หันตูดให้แดด” เช่นนี้
มิพักต้องพูดว่า การนับคะแนนรวมกองก็ถูกพลิกมาเป็นกลโกงได้แล้ว!
การนับคะแนนที่แต่ละหน่วยนั้นแม้จะมีข้อเสียที่คุณอุทัย พิมพ์ใจชนเห็น แต่ข้อดีก็คือประชาชนเป็นกรรมการโดยธรรมชาติที่จะไม่ยอมให้ใครเอาบัตรเลือกตั้งมายัดใส่เป็นปึกๆ อย่างที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2548
เมื่อการนับคะแนนรวมกองเริ่มมีปัญหา แล้ววันนี้ยังมาจัดผังแบบหันตูดให้แดดชนิดไร้ความลับเช่นนี้อีก
อะไรจะไปเหลือ?
คนที่คิดที่เชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของระบอบประชาธิปไตยนั้นกรุณาใช้วิจารณญาณให้ดี นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งแบบนี้จะมีคุณค่าอะไร การเลือกตั้งเป็นสิ่งจำเป็นและจะขาดเสียมิได้ในระบอบประชาธิปไตยก็จริง แต่มันต้องมีสิ่งจำเป็นและจะขาดเสียมิได้อื่นๆ ประกอบด้วย และเฉพาะการเลือกตั้งนั้นก็ต้องเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ได้มีลักษณะรวมกองเพื่อยัดบัตรและหันตูดให้แดดเช่นนี้
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคิดถูกแล้วละครับที่จะยื่นเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณา
อย่างน้อยจะได้เป็นมาตรฐานต่อไป
การจัดวางผังแบบใหม่นี้ คุณเปลว สีเงินแห่งไทยโพสต์เขียนไว้ในบทความของท่านฉบับวานนี้ว่า....
“หันตูดให้แดด”
การจัดผังแบบนี้ไม่ว่า กกต.จะแก้ตัวอย่างไร แต่รูปธรรมที่ปรากฏแก่สายตาคนไทยทั่วไปแล้วฟังไม่ขึ้นสักเท่าไรนัก
เพราะเป็นเสมือนการแก้เกมให้บรรดาหัวคะแนนที่คอยจับจ้องผลงานที่ตนไปซื้อเสียงมา
เป็นการแก้เกมการนับคะแนนแบบรวมกองที่เกิดขึ้นหลังรัฐธรรมนูญ 2540
ต้องเข้าใจการเมืองไทยสักนิดว่าปัญหาใหญ่ของการเลือกตั้งคือการซื้อเสียง โดยผ่านระบบหัวคะแนน ซึ่งก็คือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่ชาวบ้านทั้งพึ่งพาทั้งกลัว ด้านหนึ่งชาวบ้านของเรานั้นเป็นคนซื่อ ยึดมันในศาสนาและวัฒนธรรมตะวันออก เมื่อรับเงินใครแล้วก็มักจะทำตาม แต่อีกด้านหนึ่งการนับคะแนนเมื่อก่อนรัฐธรรมนูญ 2540 จะนับที่หน่วยเลือกตั้งเลย คะแนนที่ปรากฏออกมาขณะนับจะบอกเล่าชาวบ้านในหมู่บ้าน ณ ที่ตั้งหน่วยเลือกตั้งนั้นทำตามสัญญาที่รับเงินไปหรือไม่ ถ้าเกิดคะแนนที่นับไม่ตรงกับที่จ่ายเงินไปก็แปลว่ามีการผิดสัญญาขึ้นมา หลังเลือกตั้งก็มักจะมีการเช็กบิลกันพอสมควร หัวคะแนนระดับล่างสุดที่อยู่ในพื้นที่หน่วยเลือกตั้งที่เกิดการผิดสัญญามักจะเป็นไข้โป้งตาย
คุณอุทัย พิมพ์ใจชนเป็นเจ้าของไอเดียเสนอให้มีการนับคะแนนรวมกอง เพื่อป้องกันการตรวจสอบผลงานการซื้อเสียง
โดยเอาประสบการณ์การลงสนามเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรีหลายครั้งหลายหนมาเป็นเกณฑ์
เพราะที่นั่นท่านต้องสู้กับกำนันเป๊าะอภิมหาอมตะหัวคะแนนมือ 1 ของประเทศ
การนับคะแนนรวมกองนั้น นักวิชาการกฎหมายมหาชนเขาวิพากษ์กันมาแต้ต้นว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
เพราะเป็นการทำให้การเลือกตั้งที่ควรเป็นกิจกรรมใกล้ชิดกับประชาชนในทุกขั้นตอนต้องมีอันห่างจากประชาชน
จำได้ไหมครับสมัยเด็กๆ เวลามีเลือกตั้ง ตกเย็นหลังปิดหีบทุกคนในชุมชนก็ออกมาดูผลการนับคะแนน ที่หน่วยเลือกตั้ง แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้แล้ว หีบบัตรเลือกตั้งแต่ละหน่วยจะถูกขนไปอีกที่หนึ่งเพื่อรวมกองกันแล้วนับรวม เพื่อไม่ให้รู้ว่าคะแนนที่ลงเลือกคนนั้นคนนี้มาจากหน่วยใด
เพื่อป้องกันการเช็กบิล
เพื่อที่จะได้ไปรณรงค์กับชาวบ้านได้ว่าไม่ต้องห่วงว่ารับเงินเขามาแล้วต้องเลือกเขา เพราะกลัวเขาจับได้ รับเงินมาแล้วไม่ต้องเลือกก็ได้ เพราะการลงคะแนนของเราเป็นความลับ ตอนนับคะแนนก็ตรวจสอบไม่ได้
ขอเน้นนะครับว่ากุญแจของเรื่องคือ...
“ความลับ”
ซึ่งก็เป็นหลักการพื้นฐานของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ชาวบ้านจะลงคะแนนเลือกใครถือเป็นความลับของเขา ไม่จำเป็นต้องบอกผู้ใด ทำให้ระยะหลังมีการตั้งคำถามถึงการทำเอ็กซิสต์โพล จนกระทั่งกลายเป็นข้อห้ามในที่สุด เพราะถ้าเปิดให้ทำเอ็กซิสต์โพลโดยเสรี ก็ไม่ต่างอะไรกับการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งนั่นแหละ
การเลือกตั้งเป็นกิจกรรมในระบอบประชาธิปไตยที่ต้องทำโดยเปิดเผยและโปร่งใส แต่การลงคะแนนของผู้มีสิทธิแต่ละคนต้องเป็นความลับ
ดังนั้นแม้การนับคะแนนรวมกองจะมีผลเสีย แต่ทุกคนก็ยอมรับในผลดีที่มีมากกว่า
แต่ครั้งนี้ กกต.ทำลายหลักการพื้นฐานเสียหมดแล้ว
การเลือกตั้งครั้งนี้ว่าไปแล้วเป็นการแข่งขันระหว่างพรรคไทยรักไทย กับไม่เอาพรรคไทยรักไทยคือลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน บัตรเลือกตั้งก็ให้บังเอิญออกแบบมาให้ช่องกาพรรคไทยรักไทยอยู่บนขวา ช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนอยู่ล่างขวา ตั้งใจดูสักหน่อยก็จะมองออกว่าลงคะแนนให้ใคร
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่เป็นความลับ 100% อีกต่อไป
กกต.อาจจะมีเหตุผลมาแก้ตัวแบบศรีธนญชัยได้สารพัด แต่ลำพังเหตุผลแค่ประเด็น“ความลับ” ข้อเดียว ก็สามารถหักล้างเหตุผลข้ออื่นได้ทั้งหมด
แต่ กกต.กลับไม่ใส่ใจไม่แยแส
อ้างอิงข้างๆ คูๆ เหมือนคนสมองกลวงไปว่าไม่เห็น, ไม่มีใครมาจับจ้องดูหรอก, ไม่มีใครบ้ามายืนดูนานๆ ขนาดนั้น
ในฐานะองค์กรจัดการเลือกตั้ง หน้าที่โดยพื้นฐานก็คือต้องคิดหาวิธีการที่ดีที่สุดที่จะให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้มีสิทธิแต่ละคนเป็นความลับ จะมีใครมายืนจับจ้องดูหรือไม่ยังไม่สำคัญเท่ากับว่าคุณต้องตั้งสมมติฐานว่าถ้ามีคนมายืนดูก็มองไม่เห็น
สมควรแล้วละครับที่มีคนไปตั้งม็อบหน้า กกต.
เพราะคณะ 4 คนชุดนี้ไม่มีคุณค่าพอที่จะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอีกต่อไป
สรุปแล้ว การนับคะแนนรวมกองไร้ประสิทธิภาพพื้นฐานทันทีหากมีการจัดผังแบบ “หันตูดให้แดด” เช่นนี้
มิพักต้องพูดว่า การนับคะแนนรวมกองก็ถูกพลิกมาเป็นกลโกงได้แล้ว!
การนับคะแนนที่แต่ละหน่วยนั้นแม้จะมีข้อเสียที่คุณอุทัย พิมพ์ใจชนเห็น แต่ข้อดีก็คือประชาชนเป็นกรรมการโดยธรรมชาติที่จะไม่ยอมให้ใครเอาบัตรเลือกตั้งมายัดใส่เป็นปึกๆ อย่างที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2548
เมื่อการนับคะแนนรวมกองเริ่มมีปัญหา แล้ววันนี้ยังมาจัดผังแบบหันตูดให้แดดชนิดไร้ความลับเช่นนี้อีก
อะไรจะไปเหลือ?
คนที่คิดที่เชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของระบอบประชาธิปไตยนั้นกรุณาใช้วิจารณญาณให้ดี นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งแบบนี้จะมีคุณค่าอะไร การเลือกตั้งเป็นสิ่งจำเป็นและจะขาดเสียมิได้ในระบอบประชาธิปไตยก็จริง แต่มันต้องมีสิ่งจำเป็นและจะขาดเสียมิได้อื่นๆ ประกอบด้วย และเฉพาะการเลือกตั้งนั้นก็ต้องเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ได้มีลักษณะรวมกองเพื่อยัดบัตรและหันตูดให้แดดเช่นนี้
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคิดถูกแล้วละครับที่จะยื่นเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณา
อย่างน้อยจะได้เป็นมาตรฐานต่อไป