ผู้จัดการรายวัน - “สุรนันทน์” รับหน้าเสื่อโต้ ทีอีอาร์ไอ ระบุ วิจารณ์เศรษฐกิจยุค “ทักษิณ” แค่มุมมองเก่า แถมทวงบุญคุณปลดหนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนด โวนโยบายประชานิยมทำคนจนลดลง
นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย แถลงตอบโต้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นำเสนอบทความวิเคราะห์เศรษฐกิจภายใต้การบริหารของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อหาสรุปว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ไม่ได้เป็นผลจากการบริหารของรัฐบาล และรัฐบาลไม่ได้มีส่วนในการทำเศรษฐกิจ ขยายตัวเท่าที่ควรว่า ตนคิดว่าการบริหารงานของรัฐบาลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีความเป็นรูปธรรมชัดเจน การที่ทีดีอาร์ไอสรุปเช่นนี้ทำให้เห็นชัดว่า มุมมองหรือกระบวนทัศน์ของทีดีอาร์ไอเป็นแบบเก่า ซึ่งครอบงำเศรษฐกิจไทยในยุคประชาธิปัตย์ จะเห็นได้ว่ากระบวนทัศน์นั้นทำให้ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตหลายครั้ง
เมื่อเราเข้ามารับตำแหน่งเมื่อปี 2544 มีหนี้ต่างประเทศถึง 1.4 ล้านล้านบาท การบริหารจัดการเศรษฐกิจรัฐบาลเน้นการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ทั้งทำให้ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง 17.9 % เหลือ 8.2 % นอกจากนี้ยังชำระหนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดและลดหนี้ต่างประเทศจากเดิมที่มีสูงถึง 79,715 ล้านดอลลาร์ให้เหลือเพียง 51,588 ล้านดอลลาร์
นายสุรนันทน์ กล่าวว่า มีการควบคุมการก่อหนี้ต่างประเทศในแต่ละปีไม่ให้เกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหนี้สาธารณะลดลงจาก 57% ของจีดีพีในปี 2544 ลดเหลือ 46%ของจีดีพีในปี 2548 การดูแลการก่อหนี้ต่างประเทศทำให้รายได้การส่งออกเพิ่มขึ้น จาก 32,661 ดอลลาร์ในปี 2544 เป็น 53,377 ดอลลาร์ในเดือน ก.พ. 49 นอกจากนี้รัฐบาลไทยรักไทยเน้นเศรษฐกิจแบบรากหญ้า โดยจัดทำโครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการเอสเอ็มแอล โครงการพักหนี้เกษตรกรและโอท็อป ขณะเดียวกันก็ดูแลสุขภาพประชาชนด้วยนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค อีกทั้งมีจำนวนคนจนลดลง 12.8 ล้านคนในปี 2543 เหลือ 7.5 ล้านคนในปี 2547 และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น การจ้างงานและการกระจายรายได้เพิ่มขึ้น จะเห็นลักษณะตัวเลขเศรษฐกิจมีพื้นฐานที่แข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสด้านสังคม เช่น การให้ทุนการศึกษา การให้หลักประกันสังคม หลักประกันสุขภาพ รวมถึงมาตรการต่างๆที่แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เช่น หวัดนก สึนามิ หรือวิกฤตพลังงานระหว่างประเทศ
“การที่ทีดีอาร์ไอเปรียบเทียบตัวเลขกับประเทศอื่นๆ นั้นต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ประเทศไทยมีมาตรฐานถึงระดับจะเทคออฟและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ๆ และมาตรฐานทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน ฉะนั้นการเปรียบเทียบว่าให้ดูเหมือนว่า เศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจเพื่อนบ้านไม่มีอะไรแตกต่างกัน แล้วมาสรุปว่านายกฯ ทักษิณไม่ได้ทำอะไรนั้น จริงๆไม่เลย เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้นมาก และมีตัวเลขที่สามารถพิสูจน์ได้” นายสุรนันทน์ กล่าว
นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย แถลงตอบโต้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นำเสนอบทความวิเคราะห์เศรษฐกิจภายใต้การบริหารของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อหาสรุปว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ไม่ได้เป็นผลจากการบริหารของรัฐบาล และรัฐบาลไม่ได้มีส่วนในการทำเศรษฐกิจ ขยายตัวเท่าที่ควรว่า ตนคิดว่าการบริหารงานของรัฐบาลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีความเป็นรูปธรรมชัดเจน การที่ทีดีอาร์ไอสรุปเช่นนี้ทำให้เห็นชัดว่า มุมมองหรือกระบวนทัศน์ของทีดีอาร์ไอเป็นแบบเก่า ซึ่งครอบงำเศรษฐกิจไทยในยุคประชาธิปัตย์ จะเห็นได้ว่ากระบวนทัศน์นั้นทำให้ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตหลายครั้ง
เมื่อเราเข้ามารับตำแหน่งเมื่อปี 2544 มีหนี้ต่างประเทศถึง 1.4 ล้านล้านบาท การบริหารจัดการเศรษฐกิจรัฐบาลเน้นการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ทั้งทำให้ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง 17.9 % เหลือ 8.2 % นอกจากนี้ยังชำระหนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดและลดหนี้ต่างประเทศจากเดิมที่มีสูงถึง 79,715 ล้านดอลลาร์ให้เหลือเพียง 51,588 ล้านดอลลาร์
นายสุรนันทน์ กล่าวว่า มีการควบคุมการก่อหนี้ต่างประเทศในแต่ละปีไม่ให้เกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหนี้สาธารณะลดลงจาก 57% ของจีดีพีในปี 2544 ลดเหลือ 46%ของจีดีพีในปี 2548 การดูแลการก่อหนี้ต่างประเทศทำให้รายได้การส่งออกเพิ่มขึ้น จาก 32,661 ดอลลาร์ในปี 2544 เป็น 53,377 ดอลลาร์ในเดือน ก.พ. 49 นอกจากนี้รัฐบาลไทยรักไทยเน้นเศรษฐกิจแบบรากหญ้า โดยจัดทำโครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการเอสเอ็มแอล โครงการพักหนี้เกษตรกรและโอท็อป ขณะเดียวกันก็ดูแลสุขภาพประชาชนด้วยนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค อีกทั้งมีจำนวนคนจนลดลง 12.8 ล้านคนในปี 2543 เหลือ 7.5 ล้านคนในปี 2547 และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น การจ้างงานและการกระจายรายได้เพิ่มขึ้น จะเห็นลักษณะตัวเลขเศรษฐกิจมีพื้นฐานที่แข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสด้านสังคม เช่น การให้ทุนการศึกษา การให้หลักประกันสังคม หลักประกันสุขภาพ รวมถึงมาตรการต่างๆที่แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เช่น หวัดนก สึนามิ หรือวิกฤตพลังงานระหว่างประเทศ
“การที่ทีดีอาร์ไอเปรียบเทียบตัวเลขกับประเทศอื่นๆ นั้นต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ประเทศไทยมีมาตรฐานถึงระดับจะเทคออฟและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ๆ และมาตรฐานทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน ฉะนั้นการเปรียบเทียบว่าให้ดูเหมือนว่า เศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจเพื่อนบ้านไม่มีอะไรแตกต่างกัน แล้วมาสรุปว่านายกฯ ทักษิณไม่ได้ทำอะไรนั้น จริงๆไม่เลย เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้นมาก และมีตัวเลขที่สามารถพิสูจน์ได้” นายสุรนันทน์ กล่าว