5 เหยื่อหน่อไม้ปี๊บ ร.พ.น่าน อาการปลอดภัย แพทย์ให้กลับบ้านได้ อีก 11 ราย ยังต้องพึ่งเครื่องช่วยหายใจ แม้อาการดีขึ้น ยังคงเหลือนอนรักษาที่โรงพยาบาลทั้งหมด 59 ราย ด้าน สสจ.น่าน จะจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ออกให้บริการหมู่บ้านเกิดเหตุฟรี
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าอาการของผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) หลังกินหน่อไม้ปี๊บโดยไม่ผ่านการต้มให้เดือดก่อนที่ จ.น่าน ตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา วานนี้ (26 มี.ค.) เวลา 14.00 น.ผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลน่านทั้งหมด 64 ราย อาการปลอดภัยแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้อีก 5 ราย คงเหลือนอนในโรงพยาบาลน่าน 59 ราย ในส่วนของผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีอยู่เดิม 13 ราย วันนี้มี 2 ราย สามารถหายใจได้เอง แพทย์ได้ถอดเครื่องช่วยหายใจออก คงเหลือผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนอนที่ห้องไอซียู 11 ราย อยู่ในความดูแลของคณะแพทย์อย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่อาการดีขึ้น ส่วนที่หมู่บ้านนาหวายใหม่ หมู่ที่ 5 ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดเหตุ ไม่มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มแต่อย่างใด
นพ.พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน กล่าวว่า ในวานนี้(26 มี.ค.)สำนักงานสาธารณสุขจัหวัด (สสจ.) น่าน จะจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ประกอบด้วย แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ออกไปให้บริการตรวจสุขภาพฟรีชาวบ้านที่หมู่ที่ 5 บ้านนาหวายใหม่ ต.ป่าคาหลวง และจะเยี่ยมติดตามอาการของผู้ป่วยที่อาการทุเลาและกลับมาพักฟื้นที่บ้านด้วย ซึ่งมีทั้งหมด 79 รายอย่างต่อเนื่อง โดยจะจัดหน่วยแพทย์หมุนเวียนบริการต่อเนื่องจนกว่าทุกรายมีอาการหายเป็นปกติ
ขณะเดียวกัน ได้จัดทำรายการวิทยุชุมชนใน อ.บ้านหลวง เชื่อมหอกระจายข่าวในหมู่บ้านทุกแห่ง เพื่อให้ความรู้ ตอบข้อสงสัยชาวบ้านที่ยังมีความวิตกกังวลเรื่องอาหารเป็นพิษทุกวันตั้งแต่เวลา 12.30-14.00 น. และให้ประชาชนโทรศัพท์ปรึกษาอาการได้ที่โรงพยาบาลน่าน หมายเลขโทรศัพท์ 054-771620 054-710138 ร.พ.บ้านหลวง 054-761060 หรือที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดโดยตรง 01-883-7601 ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้มีโทรปรึกษาวันละ 2-3 ราย ส่วนใหญ่จะปรึกษาเรื่องอาการกลืนลำบาก ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นผลมาจากการถูกพิษทำลายชั่วคราว โดยอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ ใช้เวลานาน 1-2 เดือน
นอกจากนี้ สสจ.ยังได้จัดทำสมุดบันทึกอาการรายวันแจกให้ผู้ที่ได้รับพิษมีอาการทางระบบประสาทกล้ามเนื้อ และญาติ แจกให้ประมาณ 400 เล่ม เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเขียนอาการลงในสมุด รวมทั้งผลกระทบอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างเจ็บป่วยและความต้องการความช่วยเหลือเพื่อลดความเครียด โดยจะมีเจ้าหน้าที่ออกติดตามประเมินทุกวัน รายใดที่มีปัญหานอกเหนือจากเรื่องสุขภาพก็จะประสานความช่วยเหลือ มาตรการดังกล่าวทั้งผู้ป่วยและญาติมีความพอใจมากจะดำเนินการเช่นนี้จนกว่าสถานการณ์จะกลับคืนสู่ปกติ
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าอาการของผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) หลังกินหน่อไม้ปี๊บโดยไม่ผ่านการต้มให้เดือดก่อนที่ จ.น่าน ตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา วานนี้ (26 มี.ค.) เวลา 14.00 น.ผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลน่านทั้งหมด 64 ราย อาการปลอดภัยแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้อีก 5 ราย คงเหลือนอนในโรงพยาบาลน่าน 59 ราย ในส่วนของผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีอยู่เดิม 13 ราย วันนี้มี 2 ราย สามารถหายใจได้เอง แพทย์ได้ถอดเครื่องช่วยหายใจออก คงเหลือผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนอนที่ห้องไอซียู 11 ราย อยู่ในความดูแลของคณะแพทย์อย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่อาการดีขึ้น ส่วนที่หมู่บ้านนาหวายใหม่ หมู่ที่ 5 ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดเหตุ ไม่มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มแต่อย่างใด
นพ.พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน กล่าวว่า ในวานนี้(26 มี.ค.)สำนักงานสาธารณสุขจัหวัด (สสจ.) น่าน จะจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ประกอบด้วย แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ออกไปให้บริการตรวจสุขภาพฟรีชาวบ้านที่หมู่ที่ 5 บ้านนาหวายใหม่ ต.ป่าคาหลวง และจะเยี่ยมติดตามอาการของผู้ป่วยที่อาการทุเลาและกลับมาพักฟื้นที่บ้านด้วย ซึ่งมีทั้งหมด 79 รายอย่างต่อเนื่อง โดยจะจัดหน่วยแพทย์หมุนเวียนบริการต่อเนื่องจนกว่าทุกรายมีอาการหายเป็นปกติ
ขณะเดียวกัน ได้จัดทำรายการวิทยุชุมชนใน อ.บ้านหลวง เชื่อมหอกระจายข่าวในหมู่บ้านทุกแห่ง เพื่อให้ความรู้ ตอบข้อสงสัยชาวบ้านที่ยังมีความวิตกกังวลเรื่องอาหารเป็นพิษทุกวันตั้งแต่เวลา 12.30-14.00 น. และให้ประชาชนโทรศัพท์ปรึกษาอาการได้ที่โรงพยาบาลน่าน หมายเลขโทรศัพท์ 054-771620 054-710138 ร.พ.บ้านหลวง 054-761060 หรือที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดโดยตรง 01-883-7601 ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้มีโทรปรึกษาวันละ 2-3 ราย ส่วนใหญ่จะปรึกษาเรื่องอาการกลืนลำบาก ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นผลมาจากการถูกพิษทำลายชั่วคราว โดยอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ ใช้เวลานาน 1-2 เดือน
นอกจากนี้ สสจ.ยังได้จัดทำสมุดบันทึกอาการรายวันแจกให้ผู้ที่ได้รับพิษมีอาการทางระบบประสาทกล้ามเนื้อ และญาติ แจกให้ประมาณ 400 เล่ม เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเขียนอาการลงในสมุด รวมทั้งผลกระทบอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างเจ็บป่วยและความต้องการความช่วยเหลือเพื่อลดความเครียด โดยจะมีเจ้าหน้าที่ออกติดตามประเมินทุกวัน รายใดที่มีปัญหานอกเหนือจากเรื่องสุขภาพก็จะประสานความช่วยเหลือ มาตรการดังกล่าวทั้งผู้ป่วยและญาติมีความพอใจมากจะดำเนินการเช่นนี้จนกว่าสถานการณ์จะกลับคืนสู่ปกติ