คนไทยเรามีสำนวนที่เกี่ยวกับช้างมากมาย เช่น “ฆ่าช้างเอางา” ซึ่งหมายถึง การทำลายสิ่งมีค่า เพื่อเอาประโยชน์ส่วนเดียว “ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด” ซึ่งหมายถึง ความผิดร้ายแรงที่ถึงจะปิดเท่าไร หรือ อย่างไร ก็เป็นที่รู้กันทั่ว “ช้างเท้าหน้า” หมายถึง มีความสำคัญ และ “ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก” ซึ่งหมายถึง คนเก่าแก่ ใกล้ชิดที่ถ้าให้ความไว้วางใจจนเกินไป อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ การมีสำนวนเกี่ยวกับช้างมากมายเช่นนี้ เพราะ ช้างเป็นสัตว์ที่เรามีความรู้สึกผูกพันจนนับเป็นสัตว์คู่บ้าน คู่เมืองนั่นเอง
เราทุกคนรู้ว่า ช้างเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ถึงแม้วาฬจะมีขนาดใหญ่กว่ามากก็ตาม แต่วาฬก็เป็นสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในทะเล การศึกษาฟอสซิลของช้างได้ทำให้นักชีววิทยาดึกดำบรรพ์รู้ว่า บรรพสัตว์ของช้าง (Proboscidean) ได้ถือกำเนิดบนโลกเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อนนี้ทั้งในแอฟริกาและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แล้วได้เดินทางแพร่พันธุ์ไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกในเวลาต่อมา จากนั้นกระบวนการวิวัฒนาการก็ได้ทำให้ Proboscidean กลายพันธุ์ไปเป็นสัตว์ Moritherium ที่มีขนาดตัวเล็กเท่าหมู และมีงา 2 งา ครั้นเมื่อถึงยุค Eocene คือเมื่อ 25 ล้านปีก่อนนี้ ตัว Palaeomastodon ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของช้างปัจจุบันก็ได้เดินทางขึ้นเหนือแล้วกลายพันธุ์เป็นช้าง Mammut ที่ชอบกินใบหญ้าและใบไม้ จนกระทั่งถึงยุค Miocene พันธุ์ช้างก็ได้แบ่งแยกออกเป็น 2 สาย คือ ช้างเอเชีย (Elephas) และ ช้างแอฟริกา (Loxodonta)
ช้างแอฟริกาที่เป็นตัวผู้ เวลาโตเต็มที่อาจสูงถึง 4 เมตร และหนักถึง 6 ตัน แต่ถ้าเป็นตัวเมียก็ไม่สูงใหญ่นัก ช้างชอบอาศัยเป็นฝูงที่มีสมาชิก 20-30 ตัว และมีช้างตัวเมียเป็นผู้นำ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะช้างตัวเมีย มีความสุขุม ไม่บ้าบิ่น และค่อนข้างระมัดระวังตัว จึงสามารถนำครอบครัวสู่สถานที่ที่ปลอดภัย และสงบเงียบ ที่ปราศจากสัตว์อื่นคุกคามได้ ช้างแอฟริกาชอบใช้ชีวิตตามต้นไม้ในป่า คือ ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ในวันที่อากาศร้อน มันจะยืนหลบร่มหรือไม่ก็ยืนหลับ โดยไม่คุกเข่านอน พออากาศเย็นลง มันก็จะเดินหาอาหารและน้ำ เพราะอาหารหลักของช้างคือใบไม้และผลไม้ ดังนั้น มันจึงชอบสถานที่มีต้นไม้และน้ำอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะต้น Musanga, Acacia, Baobab และ Euphoibia ซึ่งมีใบเขียวชอุ่ม และไม่ผลัดใบ เราหลายคนคงคิดว่า งาคืออวัยวะสำคัญของช้าง แต่ในความเป็นจริงอวัยวะสำคัญที่สุดของช้าง คือ งวง เพราะ ถ้างวงถูกทำร้ายจนพิการ ช้างจะตาย ทั้งนี้เพราะนอกจากช้างต้องใช้งวงในการหายใจ ดื่มน้ำ และดมกลิ่นแล้ว ยังต้องใช้งวงในการหยิบอาหารเข้าปาก หรือเวลามันต้องการอาบน้ำ มันก็จะใช้งวงสูบน้ำแล้วพ่นน้ำใส่หลัง เพื่อระบายความร้อนในตัว เวลาดมกลิ่น มันใช้งวงที่ทอดดิ่งลง ดมกลิ่นพื้นดิน เวลารู้สึกว่ามีอันตราย มันจะยกงวงขึ้นสูงเหนือหัว เพื่อสูดลม งวงช้างที่แข็งแรง สามารถใช้ยกขอนไม้ขนาดใหญ่ได้
อวัยวะที่โดดเด่นอีกชิ้นหนึ่งของช้างคือ หู ถึงจะมีขนาดใหญ่ แต่ความสามารถในการได้ยินของมันก็ไม่ดีเท่าสัตว์อื่น เวลามันตกใจ มันจะสะบัดหูไปมา แล้วยกงวงขึ้นสูดอากาศ เพราะตามีขนาดเล็ก สายตามันจึงไม่ดี จนบางครั้ง ถ้าเราไม่ขยับเขยื้อน ช้างป่าอาจเดินเข้าใกล้ โดยไม่เห็นเราเลยก็ได้
ช้างแอฟริกาตัวผู้ทุกตัวมีงายาว งาช้างที่โตเต็มที่อาจยาวถึงสองเมตร ส่วนช้างตัวเมียมีงาที่สั้นกว่า ตามปกติเวลาใช้ไปๆ งาช้างจะกร่อนจนบางครั้งก็หัก แต่งวงสามารถงอกใหม่ได้ เหมือนเล็บคนที่ถูกตัดเท่าไร ก็งอกใหม่ได้เรื่อย ดังนั้น ช้างตัวผู้ที่ชรา หากมันรู้จักใช้งาอย่างระมัดระวัง งาจะใหญ่และยาว
ขาช้างมีสองส่วน โดยส่วนบนยาวและส่วนล่างจะสั้น จึงแตกต่างจากม้า หรือเลียงผาที่มีขาส่วนล่างยาว แต่ส่วนบนสั้น ด้วยเหตุนี้ช้างจึงวิ่งไม่ได้เร็วเหมือนม้า แต่ก็เดินได้เร็วประมาณ 25 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในการเดินช่วงสั้น แต่ถ้าเดินนาน ความเร็วก็ลดลงครึ่งหนึ่ง ช้างบางตัวอาจเดินได้ไกลถึง 80 กิโลเมตร ใน 1 วัน เพื่อหาน้ำหรืออาหาร ข้อสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจคือ ทั้งที่ตัวมีขนาดใหญ่ แต่ช้างก็เดินได้เงียบ เพราะก้าวหนึ่งๆ ของช้างยาวประมาณ 2 เมตร ดังนั้น ถ้าคูมีขนาดกว้างกว่า 2 เมตร ช้างจะข้ามคูไม่ได้ เพราะมันกระโดดไม่เป็น ช้างว่ายน้ำได้ดี โดยมันจะชูงวงขึ้นเหนือผิวน้ำ เพื่อหายใจ ในขณะที่ลำตัวอยู่ใต้ผิวน้ำ
การมีลำตัวที่มีขนาดใหญ่ ทำให้สัตว์อื่นๆ ไม่ชอบทำร้ายมัน แต่สิงโตอาจฆ่าช้างได้ (ถ้าช้างป่วย พิการ หรือ ใกล้ตาย) มันสามารถอยู่ร่วมกับสัตว์อื่นได้อย่างสันติ ตามปกติช้างไม่ชอบคน แต่ก็ไม่ไล่ฆ่าคน นอกจากเวลาถูกคนทำร้าย เวลาช้างโกรธ มันจะส่งเสียงร้องแปร๋น แล้ววิ่งเข้าหาศัตรูพร้อมชูงวงร่า
คนป่าแอฟริกาบางกลุ่ม ฆ่าช้างเป็นอาหาร โดยใช้กับดักที่ขุดเป็นหลุม และมีใบไม้ปิดปากหลุม ช้างแก่มักรู้ตัวจึงเดินไม่ตกหลุม แต่ช้างหนุ่ม-สาว ตกหลุมบ่อยกว่า เวลาฆ่าช้าง คนป่าจะใช้หอกที่เคลือบยาพิษ พุ่งแทง ขณะถูกพิษ ช้างจะเดินไปๆจนหมดแรง แล้วยอมให้พรานฆ่าในที่สุด ส่วนคนยุโรปนั้นนิยมฆ่าช้างด้วยปืน และบางคนฆ่าช้างเพื่อเอางาไปขาย ซึ่งได้ราคาดีจนในสมัยหนึ่ง ช้างเกือบสูญพันธุ์เพราะถูกฆ่ามาก
ถึงแม้ช้างตามปกติจะไม่ทำร้ายคน แต่ในหลายโอกาส มันก็สามารถสร้างความรำคาญได้ เพราะเวลาชาวบ้านทำไร่ข้าวโพดหรือมันฝรั่ง ช้างป่ามักจะแอบบุกรุกเข้าไป ขโมยพืชที่ชาวบ้านปลูก เพื่อเอาไปกินในเวลากลางคืน เพราะช้างต้องการอาหารมาก ดังนั้น ชาวบ้านจึงต้องระมัดระวังตัวโดยการให้สัญญาณ เวลาเห็นช้างบุก เพื่อเพื่อนบ้านจะได้ช่วยขับไล่ช้างไป
ช้างโทน เป็นช้างที่ชอบอยู่โดดเดี่ยวนับเป็นช้างอันตราย เพราะดุร้ายมากจากการอาจเคยถูกทำร้ายมาก่อน มันจึงมีอารมณ์เสียบ่อย ซึ่งมีผลทำให้ช้างตัวอื่นทนไม่ได้ จึงขับไล่มันออกจากฝูง หรือบางตัวอาจเสียงาไป ทำให้หาอาหารไม่ได้ จึงต้องบุกทำลายไร่นา เหยียบย่ำกระท่อมของชาวไร่ เพื่อระบายอารมณ์ ในการสืบพันธุ์ ช้างตัวเมียจะท้องนาน 660 วัน และตามปกติทุก 2 ปี ช้างตัวเมียจึงจะคลอดลูกครั้งหนึ่ง และบางครั้งก็จะให้ลูกแฝด แต่ก็ไม่บ่อย ลูกช้างที่เกิดใหม่จะหนักประมาณ 100 กิโลกรัม และมีขนาดเล็กกว่าลา และมีขนดกแต่เมื่อเวลาผ่านไปๆ ขนก็จะร่วงไปๆ ขณะมันยังเล็ก ทั้งแม่และช้างตัวอื่นๆ จะมีบทบาทดูแลและปกป้องมัน ลูกช้างกินอาหารมากประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว และดื่มน้ำประมาณวันละ 40 แกลลอน เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้จะหนักถึง 6.5 ตัน และตัวเมียจะหนักประมาณ 4 ตัน
ในช่วง 4 ปีแรกของชีวิต ลูกช้างผูกพันและติดแม่มาก เมื่ออายุ 18 ปี มันจะโตเต็มที่ ช้างแอฟริกาตัวเมียมีอายุยืนถึง 60 ปี เวลาช้างรู้ว่าลูกมันจะมีอันตราย ช้างตัวเมียจะส่งสัญญาณให้ลูกรู้ทันที ถ้าแม่ช้างตายลง ช้างตัวเมียตัวอื่นก็จะรับลูกช้างที่กำพร้าแม่ไปเป็นลูกบุญธรรม ช้างแอฟริกันเลี้ยงง่ายและเรียนรู้เร็ว อีกทั้งซื่อสัตย์และอุทิศตัวให้นายมาก ช้างที่โตเต็มที่จะแข็งแรงมากเท่าวัวประมาณ 20 ตัว
ช้างเป็นสัตว์ฉลาด ดังจะเห็นเวลาลูกช้างตกหลุมพราง ช้างตัวอื่นยืนที่ขอบหลุม ต่างก็ใช้เท้ากระทืบดินที่ขอบให้ทรุด เพื่อให้ลูกช้างเดินขึ้นแล้วช้างอื่นก็จะใช้งวงดึงลูกช้างขึ้นจากหลุม
ส่วนช้างอินเดียหรือช้างเอเชียนั้น ตามปกติจะไม่สูงใหญ่เท่าช้างแอฟริกา ใบหูก็มีขนาดเล็กกว่า หน้าผากมีสองโหนก มีพบในลังกา พม่า ไทย จีน อินโดจีน และอินโดนีเซีย เพราะประเทศดังกล่าวนี้มีลมมรสุมพัดผ่าน ทำให้พื้นที่มีฝนตกชุก ป่าและภูเขาแถบนี้จึงมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบ ช้างอินเดียที่ชอบกินใบไม้ กล้วย และใบหญ้าจึงมีอาหารอุดมสมบูรณ์ และเพราะอาหารที่บริโภคนุ่ม ดังนั้น งาจึงไม่มีบทบาทมากในกรณีช้างอินเดีย จนช้างตัวเมีย ไม่มีงาเลย ในเวลากลางวันที่แดดร้อน ช้างจะหลบร่มหรือไม่ก็อาบน้ำ
ตามปกติช้างเอเชียไม่ฆ่าคน และมักได้รับการฝึกให้ทำงานมากยิ่งกว่าช้าง แอฟริกา เช่นให้ลากซุงขนท่อนไม้จากภูเขาลงสู่แม่น้ำให้ซุงลอยไปจนถึงโรงเลื่อย แล้วจึงใช้ช้างลากซุงขึ้นฝั่งอีก ช้างที่ทำหน้าที่นี้ มักเป็นช้างเลี้ยง ที่มีคนให้อาหาร แต่สำหรับช้างป่านั้นต้องหาอาหารเอง ในการใช้ช้างทำงานหนัก เขามักให้มันทำงาน 3 วัน แล้วหยุด 2 วัน สลับกันไป และมักให้งานเสร็จในตอนบ่าย เพื่อช้างจะได้ใช้เวลาที่เหลือพักผ่อน การทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างควาญช้างกับช้างนี้ ทำให้ควาญช้างรู้ใจและเข้าใจช้างมาก จนรู้จักแม้กระทั่งรอยเท้าช้างของตนดี
ในการจับช้างป่ามาเลี้ยง ชาวบ้านมักเลือกบริเวณโกรกเขาที่แคบเป็นพื้นที่สำหรับสร้างเพนียดคล้องช้างแล้วสร้างรั้วที่มีประตูปิด-เปิด โดยให้กำแพงรั้วสูงประมาณ 5 เมตร จากนั้นก็ต้อนช้างให้เดินช้าๆเข้าเพนียด เพื่อไม่ให้มันสงสัย พอช้างผ่านประตู เขาก็จะปิดประตูอย่างเร็ว ถึงมันจะตกใจและพยายามทลายรั้ว แต่ก็ทำไม่สำเร็จ จนในที่สุดมันก็จะยืนนิ่งสงบ แล้วชาวบ้านก็จะขี่ช้างที่เชื่องแล้วออกมาต้อนมันเข้ากรง แล้วให้อาหารมันเรื่อยๆ จนมันชินกับการเดินตามช้างตัวอื่นๆ และกลายเป็นช้างบ้านในที่สุด
ในอดีตเมื่อ 100 ปีก่อนนี้ นักสัตววิทยาประมาณว่า ช้างแอฟริกามีมากถึง 1 ล้าน 3 แสนตัว แต่ความจริงมีว่าแอฟริกามีช้างเพียง 5 แสนตัวเท่านั้นเอง เมื่อตัวเลขเป็นเช่นนี้ ดังนั้น คนหลายคนจึงคิดว่า ช้างเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่สมควรห้ามใครฆ่า ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ. 2532 ช้างจึงได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ที่โลกต้องอนุรักษ์ โดยห้ามฆ่าและห้ามทำธุรกิจค้างาทุกรูปแบบ แต่สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้จำนวนช้างแอฟริกาลดคือ การที่พื้นที่ป่าลดขนาด จนช้างมีอาหารไม่พอเพียง จึงต้องเข้าบุกรุกไร่ของชาวนาเพื่อหาอาหาร เพราะช้างกินอาหารจุมากคือประมาณวันละ 400 กิโลกรัม การมีความต้องการกินมากเช่นนี้ ทำให้ไร่ของชาวไร่ไม่มีอะไรเหลือ หลังจากถูกช้างบุก ครั้นจะใช้ปืนลูกซองยิงช้างก็เป็นอันตราย เพราะถ้ามันไม่ตาย คนยิงก็มีโอกาสถูกช้างกระทืบตาย ในประเทศ Zimbabwe ทุกปีมีรายงานคนถูกช้างฆ่าตาย 10 คน เพราะเพียงแต่ตะโกนไล่มันเท่านั้น คนบางคนใช้วิธีเผาพริกหรือพ่นพริกไทย เพราะจมูกช้างไวต่อกลิ่น ดังนั้นเมื่อจมูกมันสูดรับควันพิษ มันก็จะถอยหนี การป้องกันการบุกรุกของช้างลักษณะนี้ จึงถือได้ว่า มีส่วนช่วยเพิ่มรสชาติอาหารที่มันบริโภคด้วยพริกและพริกไทย
B. Langbauer แห่งสวนสัตว์ที่เมือง Pittsburgh ในสหรัฐอเมริกาเป็นนักสัตววิทยาผู้หนึ่งที่สนใจการส่งสัญญาณรักของช้างตัวเมียให้ตัวผู้รู้ โดย Langbauer ได้ติดตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุกับตัวช้าง เครื่องนี้สามารถรับสัญญาณที่มีความถี่ต่ำมากจนหูมนุษย์แทบไม่ได้ยินได้ เพราะมันมีความถี่ตั้งแต่ 15-35 รอบ/วินาที ในขณะที่หูมนุษย์สามารถรับเสียงความถี่ต่ำสุดได้เพียง 20 รอบ/วินาที ดังนั้น เวลาช้างตัวเมียส่งสัญญาณ เสียงที่ได้ยินจึงเป็นเสียงคำรามและครางเล็กน้อย การแปลสัญญาณทำให้ Langbauer รู้ว่า ช้างที่อยู่กระจัดกระจายกันร่วม 20 ตัว สามารถมารวมฝูงกันได้อย่างไร และช้างตัวเมียเวลาติดสัด ซึ่งนานเพียง 4 วันในทุก 4 ปี สามารถส่งสัญญาณบอกตัวผู้ที่อยู่ห่างออกไป 6 กิโลเมตรได้อย่างไร และเขาก็ได้พบว่า ช้างตัวเมียจะส่งเสียงร้องซ้ำแล้วซ้ำอีก นานประมาณ 45 นาที การส่งเสียงที่มีความถี่ต่ำนั้น ทำให้เสียงไม่ถูกใบไม้หรือ ต้นไม้รบกวน เสียงจึงสามารถเดินทางถึงหูของช้างตัวผู้ได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ จนทำให้ตัวผู้สามารถรู้ว่าตัวเมียอยู่ห่างจากมันเพียงใดได้
การศึกษาสัญญาณรักของช้างในประเทศ Namibia และ Zimbabwe แสดงให้เห็นว่าทันทีที่ได้ยินสัญญาณเร้นรัก ช้างตัวผู้จะหยุดกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดแล้วเดินหน้าหาเจ้าของเสียงทันที ซึ่งก็เหมือนๆ กับกรณีผู้ชายที่ได้ยินเสียงภรรยาร้องเรียก (ถ้ายังรักกันอยู่) สามีก็จะเดินไปหาทันที แต่ถ้าได้ยินเสียงเจ้าหนี้เรียก สามีก็จะเดินหนีอีกทิศ เป็นต้น
ถึงแม้จำนวนประชากรช้างจะตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ในหลายประเทศทั่วโลก แต่ในแอฟริกาตอนใต้ โดยเฉพาะใน South Africa ที่ช้าง 600 เชือกจะถูกฆ่าทุกปี เพื่อให้จำนวนช้างในสวนสาธารณะ Kruger ที่มี 7,500 ตัว มีจำนวนคงตัวเพราะการฆ่าช้างเป็นวิธีทารุณ ดังนั้น นักสัตววิทยา จึงมุ่งหวังจะคุมกำเนิดช้าง ซึ่งสามารถทำได้สองวิธีคือ ฝังยาคุมกำเนิดในตัวช้าง ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมนออกมาในเลือด ทำให้ช้างไม่ตั้งครรภ์ ส่วนวิธีที่สอง คือฉีดวัคซีน ที่ทำให้ไข่ช้างไม่ปฏิสนธิกับอสุจ
ิ
จะอย่างไรก็ตาม การคุมกำเนิดช้างทั้งสองวิธีนี้ ก็ได้ทำให้เกิดการถกเถียงในบรรดานักวิชาการที่สนใจเรื่องสิทธิ์ของสัตว์ ซึ่งสนับสนุนการคุมกำเนิดมากกว่าการฆ่าทิ้ง กับนักอนุรักษ์ที่มีความเห็นแตกต่างไป เพราะมองเห็นว่าน่าจะให้นักท่องเที่ยวยิงช้างเป็นการหารายได้เข้าประเทศ นอกจากนี้เนื้อช้างที่ถูกฆ่าแล้ว ยังสามารถเป็นอาหารให้ชาวบ้านที่ยากจนได้ หนังช้างก็สามารถนำมาทำเครื่องใช้ได้ เมื่อช้างเป็นตัวเงินตัวทองเช่นนี้ การคุมกำเนิดช้างจึงเป็นเรื่องไม่น่ากระทำ คนกลุ่มนี้จึงมีความเห็นว่า ชาติต่างๆ ควรให้ช้างหารายได้เข้าประเทศตราบเท่าที่ช้างไม่สูญพันธุ์ แต่เมื่อวัคซีนคุมกำเนิดยังไม่ได้ผลสมบูรณ์ แอฟริกาใต้จึงยังต้องใช้วิธีฆ่าช้าง เพื่อควบคุมจำนวนช้างที่มีในประเทศ ไม่ให้เปลี่ยนแปลงมากต่อไป
ในเอเชีย ปัญหาเรื่องช้างจะสูญพันธุ์ก็เป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ปัญหาหนึ่งเช่นกัน เพราะมีการลอบฆ่าช้าง และพื้นที่ป่าซึ่งเป็นที่อาศัยของช้างถูกบุกรุกตลอดเวลา นักอนุรักษ์ช้างประมาณว่า ณ วันนี้ช้างเอเชียมีประมาณ 35,000 เชือก และกว่าครึ่งของจำนวนนี้อาศัยอยู่ในป่าของอินเดียตอนใต้ สมาพันธ์อนุรักษ์ช้างเอเชียแห่งโลก (World Conservation Union’s Asian Elephant Specialist Group) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 20 ประเทศประมาณว่า ณ วันนี้ช้างในเวียดนามมีน้อยกว่า 70 เชือก และคงสูญพันธุ์ในที่สุด เพราะมีจำนวนน้อยเกินไป และในเขมรซึ่งมีช้างตั้งแต่ 250-400 เชือก ช้างเหล่านี้ส่วนมากอยู่ป่า จะอย่างไรก็ตาม เพราะคนเอเชียชอบซื้อขายงา ดังนั้น 80% ของช้างได้ถูกฆ่าตายไปแล้ว ในเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เพราะจำนวนช้างที่เหลือมีน้อยลงๆ ตลอดเวลา ดังนั้น สมาพันธ์จึงมีความเห็นว่า คนเอเชียจะต้องไม่ทำลายป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของช้างอีกต่อไป และต้องมียามควบคุมสอดส่องดูแลการลอบฆ่าช้างด้วย มิฉะนั้น ช้างเอเชียก็จะ สูญพันธุ์แน่นอน
ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2548 J.H. Poole แห่ง Amboseli Trust for Elephants ในเมือง Nairobi ประเทศ Kenya ได้รายงานว่า ช้างแอฟริกัน (Loxodonta africana) เวลาได้ยินเสียงใดๆ มันสามารถออกเสียงเลียนแบบเสียงที่ได้ยินได้ ซึ่งความสามารถนี้เป็นความสามารถที่ลิง นก ค้างคาว และสัตว์ทะเล เช่น โลมาหรือวาฬได้ เป็นที่รู้กันว่ามีมานานแล้ว
โดย Poole กับคณะได้พบว่า เวลาช้างตัวเมียอายุ 10 ปี ได้ยินเสียงรถสิบล้อวิ่งตามถนนที่อยู่ห่างจากที่ที่มันอยู่ 3 กิโลเมตร มันจะส่งเสียงแบบเสียงรถสิบล้อได้นานหลายชั่วโมง โดยเสียงมันกับเสียงรถมีความถี่ที่แอทปลิจูดใกล้เคียงกันมาก
กรณีศึกษาชิ้นที่สองคือ ช้างแอฟริกันสามารถส่งเสียงเลียนช้างเอเชีย Elephas maxinus ได้ เพราะ Poole กับคณะได้พบว่า ช้างแอฟริกันตัวผู้อายุ 23 ปี หลังจากที่ได้อยู่ร่วมกับช้างเอเชียตัวเมีย 2 ตัวนาน 18 ปี ในสวนสัตว์เมือง Basle ในสวิตเซอร์แลนด์ สามารถส่งเสียงเลียนแบบช้างตัวเมียได้แนบเนียน
นี่จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า สัตว์สามารถเลียนเสียงของสิ่งที่ไม่มีชีวิต (รถสิบล้อ) และสิ่งมีชีวิตได้ ทั้งๆ ที่ช้างมิได้เก่งกล้าสามารถเหมือนลิง แต่ก็สามารถออกเสียงเลียนแบบได้อย่างสนิท ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อแสดงความผูกพันระหว่างมันกับโลกภายนอกนั่นเอง
สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท
เราทุกคนรู้ว่า ช้างเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ถึงแม้วาฬจะมีขนาดใหญ่กว่ามากก็ตาม แต่วาฬก็เป็นสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในทะเล การศึกษาฟอสซิลของช้างได้ทำให้นักชีววิทยาดึกดำบรรพ์รู้ว่า บรรพสัตว์ของช้าง (Proboscidean) ได้ถือกำเนิดบนโลกเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อนนี้ทั้งในแอฟริกาและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แล้วได้เดินทางแพร่พันธุ์ไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกในเวลาต่อมา จากนั้นกระบวนการวิวัฒนาการก็ได้ทำให้ Proboscidean กลายพันธุ์ไปเป็นสัตว์ Moritherium ที่มีขนาดตัวเล็กเท่าหมู และมีงา 2 งา ครั้นเมื่อถึงยุค Eocene คือเมื่อ 25 ล้านปีก่อนนี้ ตัว Palaeomastodon ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของช้างปัจจุบันก็ได้เดินทางขึ้นเหนือแล้วกลายพันธุ์เป็นช้าง Mammut ที่ชอบกินใบหญ้าและใบไม้ จนกระทั่งถึงยุค Miocene พันธุ์ช้างก็ได้แบ่งแยกออกเป็น 2 สาย คือ ช้างเอเชีย (Elephas) และ ช้างแอฟริกา (Loxodonta)
ช้างแอฟริกาที่เป็นตัวผู้ เวลาโตเต็มที่อาจสูงถึง 4 เมตร และหนักถึง 6 ตัน แต่ถ้าเป็นตัวเมียก็ไม่สูงใหญ่นัก ช้างชอบอาศัยเป็นฝูงที่มีสมาชิก 20-30 ตัว และมีช้างตัวเมียเป็นผู้นำ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะช้างตัวเมีย มีความสุขุม ไม่บ้าบิ่น และค่อนข้างระมัดระวังตัว จึงสามารถนำครอบครัวสู่สถานที่ที่ปลอดภัย และสงบเงียบ ที่ปราศจากสัตว์อื่นคุกคามได้ ช้างแอฟริกาชอบใช้ชีวิตตามต้นไม้ในป่า คือ ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ในวันที่อากาศร้อน มันจะยืนหลบร่มหรือไม่ก็ยืนหลับ โดยไม่คุกเข่านอน พออากาศเย็นลง มันก็จะเดินหาอาหารและน้ำ เพราะอาหารหลักของช้างคือใบไม้และผลไม้ ดังนั้น มันจึงชอบสถานที่มีต้นไม้และน้ำอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะต้น Musanga, Acacia, Baobab และ Euphoibia ซึ่งมีใบเขียวชอุ่ม และไม่ผลัดใบ เราหลายคนคงคิดว่า งาคืออวัยวะสำคัญของช้าง แต่ในความเป็นจริงอวัยวะสำคัญที่สุดของช้าง คือ งวง เพราะ ถ้างวงถูกทำร้ายจนพิการ ช้างจะตาย ทั้งนี้เพราะนอกจากช้างต้องใช้งวงในการหายใจ ดื่มน้ำ และดมกลิ่นแล้ว ยังต้องใช้งวงในการหยิบอาหารเข้าปาก หรือเวลามันต้องการอาบน้ำ มันก็จะใช้งวงสูบน้ำแล้วพ่นน้ำใส่หลัง เพื่อระบายความร้อนในตัว เวลาดมกลิ่น มันใช้งวงที่ทอดดิ่งลง ดมกลิ่นพื้นดิน เวลารู้สึกว่ามีอันตราย มันจะยกงวงขึ้นสูงเหนือหัว เพื่อสูดลม งวงช้างที่แข็งแรง สามารถใช้ยกขอนไม้ขนาดใหญ่ได้
อวัยวะที่โดดเด่นอีกชิ้นหนึ่งของช้างคือ หู ถึงจะมีขนาดใหญ่ แต่ความสามารถในการได้ยินของมันก็ไม่ดีเท่าสัตว์อื่น เวลามันตกใจ มันจะสะบัดหูไปมา แล้วยกงวงขึ้นสูดอากาศ เพราะตามีขนาดเล็ก สายตามันจึงไม่ดี จนบางครั้ง ถ้าเราไม่ขยับเขยื้อน ช้างป่าอาจเดินเข้าใกล้ โดยไม่เห็นเราเลยก็ได้
ช้างแอฟริกาตัวผู้ทุกตัวมีงายาว งาช้างที่โตเต็มที่อาจยาวถึงสองเมตร ส่วนช้างตัวเมียมีงาที่สั้นกว่า ตามปกติเวลาใช้ไปๆ งาช้างจะกร่อนจนบางครั้งก็หัก แต่งวงสามารถงอกใหม่ได้ เหมือนเล็บคนที่ถูกตัดเท่าไร ก็งอกใหม่ได้เรื่อย ดังนั้น ช้างตัวผู้ที่ชรา หากมันรู้จักใช้งาอย่างระมัดระวัง งาจะใหญ่และยาว
ขาช้างมีสองส่วน โดยส่วนบนยาวและส่วนล่างจะสั้น จึงแตกต่างจากม้า หรือเลียงผาที่มีขาส่วนล่างยาว แต่ส่วนบนสั้น ด้วยเหตุนี้ช้างจึงวิ่งไม่ได้เร็วเหมือนม้า แต่ก็เดินได้เร็วประมาณ 25 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในการเดินช่วงสั้น แต่ถ้าเดินนาน ความเร็วก็ลดลงครึ่งหนึ่ง ช้างบางตัวอาจเดินได้ไกลถึง 80 กิโลเมตร ใน 1 วัน เพื่อหาน้ำหรืออาหาร ข้อสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจคือ ทั้งที่ตัวมีขนาดใหญ่ แต่ช้างก็เดินได้เงียบ เพราะก้าวหนึ่งๆ ของช้างยาวประมาณ 2 เมตร ดังนั้น ถ้าคูมีขนาดกว้างกว่า 2 เมตร ช้างจะข้ามคูไม่ได้ เพราะมันกระโดดไม่เป็น ช้างว่ายน้ำได้ดี โดยมันจะชูงวงขึ้นเหนือผิวน้ำ เพื่อหายใจ ในขณะที่ลำตัวอยู่ใต้ผิวน้ำ
การมีลำตัวที่มีขนาดใหญ่ ทำให้สัตว์อื่นๆ ไม่ชอบทำร้ายมัน แต่สิงโตอาจฆ่าช้างได้ (ถ้าช้างป่วย พิการ หรือ ใกล้ตาย) มันสามารถอยู่ร่วมกับสัตว์อื่นได้อย่างสันติ ตามปกติช้างไม่ชอบคน แต่ก็ไม่ไล่ฆ่าคน นอกจากเวลาถูกคนทำร้าย เวลาช้างโกรธ มันจะส่งเสียงร้องแปร๋น แล้ววิ่งเข้าหาศัตรูพร้อมชูงวงร่า
คนป่าแอฟริกาบางกลุ่ม ฆ่าช้างเป็นอาหาร โดยใช้กับดักที่ขุดเป็นหลุม และมีใบไม้ปิดปากหลุม ช้างแก่มักรู้ตัวจึงเดินไม่ตกหลุม แต่ช้างหนุ่ม-สาว ตกหลุมบ่อยกว่า เวลาฆ่าช้าง คนป่าจะใช้หอกที่เคลือบยาพิษ พุ่งแทง ขณะถูกพิษ ช้างจะเดินไปๆจนหมดแรง แล้วยอมให้พรานฆ่าในที่สุด ส่วนคนยุโรปนั้นนิยมฆ่าช้างด้วยปืน และบางคนฆ่าช้างเพื่อเอางาไปขาย ซึ่งได้ราคาดีจนในสมัยหนึ่ง ช้างเกือบสูญพันธุ์เพราะถูกฆ่ามาก
ถึงแม้ช้างตามปกติจะไม่ทำร้ายคน แต่ในหลายโอกาส มันก็สามารถสร้างความรำคาญได้ เพราะเวลาชาวบ้านทำไร่ข้าวโพดหรือมันฝรั่ง ช้างป่ามักจะแอบบุกรุกเข้าไป ขโมยพืชที่ชาวบ้านปลูก เพื่อเอาไปกินในเวลากลางคืน เพราะช้างต้องการอาหารมาก ดังนั้น ชาวบ้านจึงต้องระมัดระวังตัวโดยการให้สัญญาณ เวลาเห็นช้างบุก เพื่อเพื่อนบ้านจะได้ช่วยขับไล่ช้างไป
ช้างโทน เป็นช้างที่ชอบอยู่โดดเดี่ยวนับเป็นช้างอันตราย เพราะดุร้ายมากจากการอาจเคยถูกทำร้ายมาก่อน มันจึงมีอารมณ์เสียบ่อย ซึ่งมีผลทำให้ช้างตัวอื่นทนไม่ได้ จึงขับไล่มันออกจากฝูง หรือบางตัวอาจเสียงาไป ทำให้หาอาหารไม่ได้ จึงต้องบุกทำลายไร่นา เหยียบย่ำกระท่อมของชาวไร่ เพื่อระบายอารมณ์ ในการสืบพันธุ์ ช้างตัวเมียจะท้องนาน 660 วัน และตามปกติทุก 2 ปี ช้างตัวเมียจึงจะคลอดลูกครั้งหนึ่ง และบางครั้งก็จะให้ลูกแฝด แต่ก็ไม่บ่อย ลูกช้างที่เกิดใหม่จะหนักประมาณ 100 กิโลกรัม และมีขนาดเล็กกว่าลา และมีขนดกแต่เมื่อเวลาผ่านไปๆ ขนก็จะร่วงไปๆ ขณะมันยังเล็ก ทั้งแม่และช้างตัวอื่นๆ จะมีบทบาทดูแลและปกป้องมัน ลูกช้างกินอาหารมากประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว และดื่มน้ำประมาณวันละ 40 แกลลอน เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้จะหนักถึง 6.5 ตัน และตัวเมียจะหนักประมาณ 4 ตัน
ในช่วง 4 ปีแรกของชีวิต ลูกช้างผูกพันและติดแม่มาก เมื่ออายุ 18 ปี มันจะโตเต็มที่ ช้างแอฟริกาตัวเมียมีอายุยืนถึง 60 ปี เวลาช้างรู้ว่าลูกมันจะมีอันตราย ช้างตัวเมียจะส่งสัญญาณให้ลูกรู้ทันที ถ้าแม่ช้างตายลง ช้างตัวเมียตัวอื่นก็จะรับลูกช้างที่กำพร้าแม่ไปเป็นลูกบุญธรรม ช้างแอฟริกันเลี้ยงง่ายและเรียนรู้เร็ว อีกทั้งซื่อสัตย์และอุทิศตัวให้นายมาก ช้างที่โตเต็มที่จะแข็งแรงมากเท่าวัวประมาณ 20 ตัว
ช้างเป็นสัตว์ฉลาด ดังจะเห็นเวลาลูกช้างตกหลุมพราง ช้างตัวอื่นยืนที่ขอบหลุม ต่างก็ใช้เท้ากระทืบดินที่ขอบให้ทรุด เพื่อให้ลูกช้างเดินขึ้นแล้วช้างอื่นก็จะใช้งวงดึงลูกช้างขึ้นจากหลุม
ส่วนช้างอินเดียหรือช้างเอเชียนั้น ตามปกติจะไม่สูงใหญ่เท่าช้างแอฟริกา ใบหูก็มีขนาดเล็กกว่า หน้าผากมีสองโหนก มีพบในลังกา พม่า ไทย จีน อินโดจีน และอินโดนีเซีย เพราะประเทศดังกล่าวนี้มีลมมรสุมพัดผ่าน ทำให้พื้นที่มีฝนตกชุก ป่าและภูเขาแถบนี้จึงมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบ ช้างอินเดียที่ชอบกินใบไม้ กล้วย และใบหญ้าจึงมีอาหารอุดมสมบูรณ์ และเพราะอาหารที่บริโภคนุ่ม ดังนั้น งาจึงไม่มีบทบาทมากในกรณีช้างอินเดีย จนช้างตัวเมีย ไม่มีงาเลย ในเวลากลางวันที่แดดร้อน ช้างจะหลบร่มหรือไม่ก็อาบน้ำ
ตามปกติช้างเอเชียไม่ฆ่าคน และมักได้รับการฝึกให้ทำงานมากยิ่งกว่าช้าง แอฟริกา เช่นให้ลากซุงขนท่อนไม้จากภูเขาลงสู่แม่น้ำให้ซุงลอยไปจนถึงโรงเลื่อย แล้วจึงใช้ช้างลากซุงขึ้นฝั่งอีก ช้างที่ทำหน้าที่นี้ มักเป็นช้างเลี้ยง ที่มีคนให้อาหาร แต่สำหรับช้างป่านั้นต้องหาอาหารเอง ในการใช้ช้างทำงานหนัก เขามักให้มันทำงาน 3 วัน แล้วหยุด 2 วัน สลับกันไป และมักให้งานเสร็จในตอนบ่าย เพื่อช้างจะได้ใช้เวลาที่เหลือพักผ่อน การทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างควาญช้างกับช้างนี้ ทำให้ควาญช้างรู้ใจและเข้าใจช้างมาก จนรู้จักแม้กระทั่งรอยเท้าช้างของตนดี
ในการจับช้างป่ามาเลี้ยง ชาวบ้านมักเลือกบริเวณโกรกเขาที่แคบเป็นพื้นที่สำหรับสร้างเพนียดคล้องช้างแล้วสร้างรั้วที่มีประตูปิด-เปิด โดยให้กำแพงรั้วสูงประมาณ 5 เมตร จากนั้นก็ต้อนช้างให้เดินช้าๆเข้าเพนียด เพื่อไม่ให้มันสงสัย พอช้างผ่านประตู เขาก็จะปิดประตูอย่างเร็ว ถึงมันจะตกใจและพยายามทลายรั้ว แต่ก็ทำไม่สำเร็จ จนในที่สุดมันก็จะยืนนิ่งสงบ แล้วชาวบ้านก็จะขี่ช้างที่เชื่องแล้วออกมาต้อนมันเข้ากรง แล้วให้อาหารมันเรื่อยๆ จนมันชินกับการเดินตามช้างตัวอื่นๆ และกลายเป็นช้างบ้านในที่สุด
ในอดีตเมื่อ 100 ปีก่อนนี้ นักสัตววิทยาประมาณว่า ช้างแอฟริกามีมากถึง 1 ล้าน 3 แสนตัว แต่ความจริงมีว่าแอฟริกามีช้างเพียง 5 แสนตัวเท่านั้นเอง เมื่อตัวเลขเป็นเช่นนี้ ดังนั้น คนหลายคนจึงคิดว่า ช้างเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่สมควรห้ามใครฆ่า ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ. 2532 ช้างจึงได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ที่โลกต้องอนุรักษ์ โดยห้ามฆ่าและห้ามทำธุรกิจค้างาทุกรูปแบบ แต่สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้จำนวนช้างแอฟริกาลดคือ การที่พื้นที่ป่าลดขนาด จนช้างมีอาหารไม่พอเพียง จึงต้องเข้าบุกรุกไร่ของชาวนาเพื่อหาอาหาร เพราะช้างกินอาหารจุมากคือประมาณวันละ 400 กิโลกรัม การมีความต้องการกินมากเช่นนี้ ทำให้ไร่ของชาวไร่ไม่มีอะไรเหลือ หลังจากถูกช้างบุก ครั้นจะใช้ปืนลูกซองยิงช้างก็เป็นอันตราย เพราะถ้ามันไม่ตาย คนยิงก็มีโอกาสถูกช้างกระทืบตาย ในประเทศ Zimbabwe ทุกปีมีรายงานคนถูกช้างฆ่าตาย 10 คน เพราะเพียงแต่ตะโกนไล่มันเท่านั้น คนบางคนใช้วิธีเผาพริกหรือพ่นพริกไทย เพราะจมูกช้างไวต่อกลิ่น ดังนั้นเมื่อจมูกมันสูดรับควันพิษ มันก็จะถอยหนี การป้องกันการบุกรุกของช้างลักษณะนี้ จึงถือได้ว่า มีส่วนช่วยเพิ่มรสชาติอาหารที่มันบริโภคด้วยพริกและพริกไทย
B. Langbauer แห่งสวนสัตว์ที่เมือง Pittsburgh ในสหรัฐอเมริกาเป็นนักสัตววิทยาผู้หนึ่งที่สนใจการส่งสัญญาณรักของช้างตัวเมียให้ตัวผู้รู้ โดย Langbauer ได้ติดตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุกับตัวช้าง เครื่องนี้สามารถรับสัญญาณที่มีความถี่ต่ำมากจนหูมนุษย์แทบไม่ได้ยินได้ เพราะมันมีความถี่ตั้งแต่ 15-35 รอบ/วินาที ในขณะที่หูมนุษย์สามารถรับเสียงความถี่ต่ำสุดได้เพียง 20 รอบ/วินาที ดังนั้น เวลาช้างตัวเมียส่งสัญญาณ เสียงที่ได้ยินจึงเป็นเสียงคำรามและครางเล็กน้อย การแปลสัญญาณทำให้ Langbauer รู้ว่า ช้างที่อยู่กระจัดกระจายกันร่วม 20 ตัว สามารถมารวมฝูงกันได้อย่างไร และช้างตัวเมียเวลาติดสัด ซึ่งนานเพียง 4 วันในทุก 4 ปี สามารถส่งสัญญาณบอกตัวผู้ที่อยู่ห่างออกไป 6 กิโลเมตรได้อย่างไร และเขาก็ได้พบว่า ช้างตัวเมียจะส่งเสียงร้องซ้ำแล้วซ้ำอีก นานประมาณ 45 นาที การส่งเสียงที่มีความถี่ต่ำนั้น ทำให้เสียงไม่ถูกใบไม้หรือ ต้นไม้รบกวน เสียงจึงสามารถเดินทางถึงหูของช้างตัวผู้ได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ จนทำให้ตัวผู้สามารถรู้ว่าตัวเมียอยู่ห่างจากมันเพียงใดได้
การศึกษาสัญญาณรักของช้างในประเทศ Namibia และ Zimbabwe แสดงให้เห็นว่าทันทีที่ได้ยินสัญญาณเร้นรัก ช้างตัวผู้จะหยุดกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดแล้วเดินหน้าหาเจ้าของเสียงทันที ซึ่งก็เหมือนๆ กับกรณีผู้ชายที่ได้ยินเสียงภรรยาร้องเรียก (ถ้ายังรักกันอยู่) สามีก็จะเดินไปหาทันที แต่ถ้าได้ยินเสียงเจ้าหนี้เรียก สามีก็จะเดินหนีอีกทิศ เป็นต้น
ถึงแม้จำนวนประชากรช้างจะตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ในหลายประเทศทั่วโลก แต่ในแอฟริกาตอนใต้ โดยเฉพาะใน South Africa ที่ช้าง 600 เชือกจะถูกฆ่าทุกปี เพื่อให้จำนวนช้างในสวนสาธารณะ Kruger ที่มี 7,500 ตัว มีจำนวนคงตัวเพราะการฆ่าช้างเป็นวิธีทารุณ ดังนั้น นักสัตววิทยา จึงมุ่งหวังจะคุมกำเนิดช้าง ซึ่งสามารถทำได้สองวิธีคือ ฝังยาคุมกำเนิดในตัวช้าง ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมนออกมาในเลือด ทำให้ช้างไม่ตั้งครรภ์ ส่วนวิธีที่สอง คือฉีดวัคซีน ที่ทำให้ไข่ช้างไม่ปฏิสนธิกับอสุจ
ิ
จะอย่างไรก็ตาม การคุมกำเนิดช้างทั้งสองวิธีนี้ ก็ได้ทำให้เกิดการถกเถียงในบรรดานักวิชาการที่สนใจเรื่องสิทธิ์ของสัตว์ ซึ่งสนับสนุนการคุมกำเนิดมากกว่าการฆ่าทิ้ง กับนักอนุรักษ์ที่มีความเห็นแตกต่างไป เพราะมองเห็นว่าน่าจะให้นักท่องเที่ยวยิงช้างเป็นการหารายได้เข้าประเทศ นอกจากนี้เนื้อช้างที่ถูกฆ่าแล้ว ยังสามารถเป็นอาหารให้ชาวบ้านที่ยากจนได้ หนังช้างก็สามารถนำมาทำเครื่องใช้ได้ เมื่อช้างเป็นตัวเงินตัวทองเช่นนี้ การคุมกำเนิดช้างจึงเป็นเรื่องไม่น่ากระทำ คนกลุ่มนี้จึงมีความเห็นว่า ชาติต่างๆ ควรให้ช้างหารายได้เข้าประเทศตราบเท่าที่ช้างไม่สูญพันธุ์ แต่เมื่อวัคซีนคุมกำเนิดยังไม่ได้ผลสมบูรณ์ แอฟริกาใต้จึงยังต้องใช้วิธีฆ่าช้าง เพื่อควบคุมจำนวนช้างที่มีในประเทศ ไม่ให้เปลี่ยนแปลงมากต่อไป
ในเอเชีย ปัญหาเรื่องช้างจะสูญพันธุ์ก็เป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ปัญหาหนึ่งเช่นกัน เพราะมีการลอบฆ่าช้าง และพื้นที่ป่าซึ่งเป็นที่อาศัยของช้างถูกบุกรุกตลอดเวลา นักอนุรักษ์ช้างประมาณว่า ณ วันนี้ช้างเอเชียมีประมาณ 35,000 เชือก และกว่าครึ่งของจำนวนนี้อาศัยอยู่ในป่าของอินเดียตอนใต้ สมาพันธ์อนุรักษ์ช้างเอเชียแห่งโลก (World Conservation Union’s Asian Elephant Specialist Group) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 20 ประเทศประมาณว่า ณ วันนี้ช้างในเวียดนามมีน้อยกว่า 70 เชือก และคงสูญพันธุ์ในที่สุด เพราะมีจำนวนน้อยเกินไป และในเขมรซึ่งมีช้างตั้งแต่ 250-400 เชือก ช้างเหล่านี้ส่วนมากอยู่ป่า จะอย่างไรก็ตาม เพราะคนเอเชียชอบซื้อขายงา ดังนั้น 80% ของช้างได้ถูกฆ่าตายไปแล้ว ในเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เพราะจำนวนช้างที่เหลือมีน้อยลงๆ ตลอดเวลา ดังนั้น สมาพันธ์จึงมีความเห็นว่า คนเอเชียจะต้องไม่ทำลายป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของช้างอีกต่อไป และต้องมียามควบคุมสอดส่องดูแลการลอบฆ่าช้างด้วย มิฉะนั้น ช้างเอเชียก็จะ สูญพันธุ์แน่นอน
ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2548 J.H. Poole แห่ง Amboseli Trust for Elephants ในเมือง Nairobi ประเทศ Kenya ได้รายงานว่า ช้างแอฟริกัน (Loxodonta africana) เวลาได้ยินเสียงใดๆ มันสามารถออกเสียงเลียนแบบเสียงที่ได้ยินได้ ซึ่งความสามารถนี้เป็นความสามารถที่ลิง นก ค้างคาว และสัตว์ทะเล เช่น โลมาหรือวาฬได้ เป็นที่รู้กันว่ามีมานานแล้ว
โดย Poole กับคณะได้พบว่า เวลาช้างตัวเมียอายุ 10 ปี ได้ยินเสียงรถสิบล้อวิ่งตามถนนที่อยู่ห่างจากที่ที่มันอยู่ 3 กิโลเมตร มันจะส่งเสียงแบบเสียงรถสิบล้อได้นานหลายชั่วโมง โดยเสียงมันกับเสียงรถมีความถี่ที่แอทปลิจูดใกล้เคียงกันมาก
กรณีศึกษาชิ้นที่สองคือ ช้างแอฟริกันสามารถส่งเสียงเลียนช้างเอเชีย Elephas maxinus ได้ เพราะ Poole กับคณะได้พบว่า ช้างแอฟริกันตัวผู้อายุ 23 ปี หลังจากที่ได้อยู่ร่วมกับช้างเอเชียตัวเมีย 2 ตัวนาน 18 ปี ในสวนสัตว์เมือง Basle ในสวิตเซอร์แลนด์ สามารถส่งเสียงเลียนแบบช้างตัวเมียได้แนบเนียน
นี่จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า สัตว์สามารถเลียนเสียงของสิ่งที่ไม่มีชีวิต (รถสิบล้อ) และสิ่งมีชีวิตได้ ทั้งๆ ที่ช้างมิได้เก่งกล้าสามารถเหมือนลิง แต่ก็สามารถออกเสียงเลียนแบบได้อย่างสนิท ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อแสดงความผูกพันระหว่างมันกับโลกภายนอกนั่นเอง
สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท