เวทีพีเน็ตแท้งก่อนคลอด รัฐบาลยังตะแบงหลักกู ยอมขึ้นเวทีดีเบต แต่มีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนว่ากลุ่มพันธมิตรฯต้องยุติการชุมนุม และต้องยอมรับปาหี่เลือกตั้ง 2 เม.ย.นี้ด้วย ด้าน"สุริยะใส"อัดล็อกสเปก ชงเองเล่นเอง เสนอตั้ง กก.กลางสาวปมซุกหุ้นทักษิณ "สาทิตย์"ชี้รัฐบาลแค่เล่นเกมต่อรองให้สลายม็อบ
ที่บ้านมนังคศิลา เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (20 มี.ค.)องค์กรกลางและเครือข่ายผู้ประสานงานเพื่อการเลือกตั้ง (พีเน็ต)ได้จัดประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางในการจัดเวทีสาธารณ ในวันที่ 24 มี.ค. เพื่อเสนอทางออกให้กับสังคมไทย โดยมีพล.อ.สายหยุด เกิดผล รองประธานองค์กรกลาง เป็นประธานในที่ประชุม มีนายสมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้ประสานงานพีเน็ต พร้อมด้วยตัวแทน 3 ฝ่ายคือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาล นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เป็นตัวแทนฝ่ายค้าน และนายสุริยะใส กตะศิลา ตัวแทนฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เข้าร่วมหารือ โดยการหารือดังกล่าวใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที และมีการเปิดให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังด้วย
ทั้งนี้ การหารือเป็นไปอย่างเคร่งเครียด แต่ละฝ่ายต่างมีจุดยืนของตนเอง โดยนายสุริยะใส ได้เสนอแนวทางของกลุ่มพันธมิตรฯว่า หากมีการดีเบตในวันที่ 24 มี.ค.จะต้องมีการถ่ายทอดสด เปิดเผยและโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยจะต้องให้ผู้นำแต่ละฝ่ายขึ้นเวทีดีเบตอย่างไม่มีเงื่อนไข แต่เบื้องต้นทางฝ่ายพันธมิตรฯ ไม่สามารถรับเงื่อนไขของรัฐบาลได้ เพราะแม้จะมีการดีเบตกัน แต่ข้อครหาของนายกฯ ไม่ว่าจะเป็นการซุกหุ้น หรือการเลี่ยงภาษี ก็ไม่ได้สร้างความเข้าใจกับประชาชนได้ ดังนั้นจะโยนเรื่องนี้ให้ประชาชนตัดสินในวันที่ 2 เม.ย.ไม่ได้ ตนจึงเห็นว่าหากมีกลไกคู่ขนาน หรือคณะกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบไต่สวน ซึ่งอาจมีขึ้นหลังการดีเบต หรือ หลังวันที่ 2 เม.ย.โดยกรรมการชุดนี้จะต้องมาจากบุคคลที่ 3 ฝ่ายยอมรับได้ เพื่อตรวจสอบประเด็นข้อครหาเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี
ขณะที่นายสาทิตย์ ได้เสนอแนวทางของฝ่ายค้าน ซึ่งเป็นไปแนวทางเดียวกันกับฝ่ายพันธมิตรฯ แต่ไม่อยากให้มีการกำหนดเงื่อนไขด้วยการนำการเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. กำหนดให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง และไม่ควรกำหนดให้ทุกฝ่ายยุติการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ตนเห็นด้วยกับแนวคิดการตั้งคณะกรรมการกลางของนายสุริยะใส
ด้านนพ.สุรพงษ์ ได้เสนอจุดยืนของรัฐบาลว่า รัฐบาลพร้อมขึ้นเวทีดีเบต โดยมีการถ่ายทอดสด และแบ่งเวลาให้แต่ละฝ่ายพูดอย่างเท่าเทียมกัน โดยจะต้องมีข้อสรุปให้กับสังคมไทยหลังการขึ้นเวทีดีเบต ด้วยการที่กลุ่มผู้ชุมนุมควรยุติการชุมนุม และการเลือกตั้ง วันที่ 2 เม.ย. ยังต้องมีต่อไป และทุกคนต้องยอมรับผลการเลือกตั้ง และหากในช่วงที่มีกระบวนการขึ้นมาตรวจสอบทุกฝ่ายก็ต้องยุติการเคลื่อนไหวด้วย และตนเห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบประเด็นที่ยังค้างคาใจของประชาชน แต่ต้องมาหารือกันในรายละเอียดอีกครั้ง และไม่ว่าผลการตรวจสอบจะออกมาอย่างไร จะขัดแย้งกับผลการเลือกตั้งหรือไม่ รัฐบาลก็พร้อมยอมรับผลการตัดสิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อถึงตรงนี้ บรรยากาศการหารือเริ่มเคร่งเครียดขึ้น เพราะข้อเสนอของฝ่ายรัฐบาล ไม่ตรงกับข้อเสนออีก 2 ฝ่าย ซึ่งทางพล.อ.สายหยุด ได้พยายามไกล่เกลี่ยว่า ขณะนี้ทุกฝ่ายเห็นด้วยกับการขึ้นเวทีสาธารณะวันที่ 24 มี.ค.โดยแกนนำแต่ละฝ่ายต้องมาพบกัน โดยเวทีจะต้องมีรูปแบบที่เปิดเผย โปร่งใส มีการถ่ายทอดสด ถือว่าพอจะเดินไปด้วยกันได้ ส่วนเงื่อนไขอื่นๆ เช่นการยุติการชุมนุม และการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. ขอให้เป็นการหารือของคณะทำงาน เพราะจุดประสงค์ขององค์กรกลางที่จัดเพื่อให้ 3 ฝ่ายได้พบกัน อาจจะเป็นลักษณะการจิบน้ำชา หรือ การเสวนากันก็ได้ ซึ่งทั้งตัวแทนฝ่ายพันธมิตรฯ และฝ่ายค้านต่างเห็นพ้องกับข้อสรุปของพล.อ.สายหยุด มีเพียง นพ.สุรพงษ์ ที่ระบุว่า ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะถ้าออกไปอย่างนี้ก็กลายเป็นว่า รัฐบาลตกลงในการดีเบต แล้วสุดท้ายจะมาว่ารัฐบาลเปลี่ยนใจ ไม่ทำตามข้อตกลง ซึ่งรัฐบาลยังยืนยันในเงื่อนไขว่า หลังออกเวทีดีเบตจะต้องมีทางออกที่ชัดเจน และอยากให้เป็นเวทีที่แบ่งเวลาแต่ละฝ่ายเท่าเทียมกัน แต่หากจะเป็นเวทีเสวนา หรือจิบน้ำชา ก็เห็นด้วย แต่ไม่อยากให้ถ่ายทอดสด เนื่องจากไม่เคยมีเวทีไหนในโลกที่มีการถ่ายทอดสดแล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้ อีกทั้งจะเป็นการแย่งเวลากันพูดกับประชาชนมากกว่า วันนี้เราต้องการผ่าทางตัน ให้ทุกฝ่ายได้หารือกัน แต่ถ้าหารือกันแล้วทำให้เกิดความเห็นที่แตกต่างกัน ก็ไม่ควรทำ ดังนั้นตนยังยืนยันว่า น่าจะมีบทสรุปว่าดีเบตแล้วสังคมจะเดินไปอย่างไร
ทันายสมชัย กล่าวสนับสนุนข้อเสนอของ นพ.สุรพงษ์ว่า หากมีการดีเบต แล้วฝ่ายหนึ่งเดินหน้าเลือกตั้ง อีกฝ่ายยังคงชุมนุม อีกฝ่ายยังบอยคอต จะทำให้การดีเบตเหมือนกับการจัดโชว์คั่นรายการ ดังนั้นตนอยากให้แต่ละฝ่ายกลับไปพิจารณาถึงทางออก เช่นนายสุริยะใส ไปดูรูปแบบการตั้งคณะกรรมการกลาง และนำมาเสนอให้ชัดเจนว่าคณะกรรมการกลางจะมีระยะเวลาการทำงานกี่เดือน โดยหลังการเลือกตั้งทุกฝ่ายยังสามารถจัดเวทีวิจารณ์รัฐบาลได้ แต่ในเรื่องการชุมนุมที่กระทบหลายอย่าง ฝ่ายรัฐบาลบอกจะต้องไม่มีการชุมนุม แต่สำหรับตนเห็นว่าไม่ควรมีการชุมนุมจนกว่าไต่สวนเสร็จ ดังนั้นจึงอยากให้ทุกฝ่ายกลับมาหารือกันในรายละเอียดอีกครั้ง ในวันที่ 22 มี.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
ทั้งนี้นายสุริยะไส กล่าวสรุปท่าทีของพันธมิตรฯ ว่า หากรัฐบาลยังยืนยันจะจัดเวทีในรูปแบบมีเงื่อนไข ทางพันธมิตรฯจะไม่ขอเข้าร่วมประชุมในวันที่ 22 มี.ค.เพราะก่อนหน้านี้กลุ่นพันธมิตรฯ ยืนยันที่จะให้พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออก ตอนนี้ถือว่าถอยไปหลายก้าวจนหลังชนกำแพงแล้ว ซึ่งเชื่อว่านอกจากเวทีดีเบตแล้ว ยังมีทางออกอื่นอีกหลายทาง ดังนั้นทางพันธมิตรจะยึดแนวทางสันติ เคลื่อนไหวกดดันให้พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกต่อไป จึงอยากพูดให้ชัด เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ประชาชนจะได้ไม่ต้องรอคอยอีกต่อไป
ด้านนายสาทิตย์ กล่าวว่า ฝ่ายค้านจะไม่เข้าร่วมในวันที่ 22 มี.ค.เช่นกัน เพราะเงื่อนไขของรัฐบาลจะเป็นการเอาเวทีดีเบต มากำหนดทิศทางการเมืองซึ่งเราไม่สามารถเข้าร่วมได้ เนื่องจากในข้อตกลงเบื้องต้นที่จะให้แกนนำแต่ละฝ่ายขึ้นเวทีดีเบตวันที่ 24 มี.ค. ก็น่าให้แกนนำตัดสินกันเอง ถ้าจะมีอะไรไม่ดีก็ควรให้เกิดในเวทีนั้นไปเลย ไม่ควรมาสรุปก่อน เพราะเป็นการจำกัดสิทธิของฝ่ายค้านและพันธมิตรฯ จึงไม่ควรตัดสินใจบนพื้นฐานที่มีเงื่อนไข
ขณะที่ น.พ.สุรพงษ์ ก็ประกาศจุดยืนรัฐบาลเช่นกันว่า รูปแบบที่ฝ่ายค้านและพันธมิตรเสนอมา จะไม่เกิดประโยชน์ต่อสังคม จึงจะไม่ร่วมเข้าร่วมหารือในวันที่ 22 มี.ค.เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นายสมชัย ได้กล่าวสรุปก่อนปิดการประชุมว่า องค์กรกลางยืนยันที่จะจัดให้มีการพบกันของตัวแทน 3 ฝ่ายเพื่อหารือในรายละเอียดอีกครั้งในวันที่ 22 มี.ค. หากฝ่ายใดไม่มาก็เท่ากับไม่เห็นด้วยกับการจัดเวทีดีเบต จึงอยากให้ทุกฝ่ายไปทบทวน และเสนอความเห็นได้ตลอด แต่ถ้าวันที่ 22 มี.ค. ทั้ง 3 ฝ่ายไม่มีใครมา ทางองค์กรกลางก็จะแถลงจุดยืนว่า คิดอย่างไรกับสังคมไทยต่อไป
ภายหลังการประชุม นายสุริยะใส ให้สัมภาษณ์ว่า เงื่อนไขของรัฐบาลถือเป็นการกำหนดเสปกที่รัฐบาลออกแบบเอง เสนองานประมูลเอง เป็นการล็อกเสปกเวทีดีเบตที่ไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นเสนอความเห็น เป็นวิธีที่รัฐบาลถนัดที่สุด เราจึงขอปฏิเสธไม่เข้าร่วม
นายสาทิตย์ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวของรัฐบาล เป็นการสร้างเงื่อนไขต่อรอง และมีเจตนาล้มล้างเวทีของกลุ่มพันธมิตรฯ หากมีการเปิดเวทีสาธารณะโดยมีผู้นำทุกฝ่ายเข้าร่วม ฝ่ายค้านก็ยืนยันว่าจะเข้าร่วมด้วย แต่ในที่สุดพรรคไทยรักไทย ก็ยังยืนยันเงื่อนไขเดิม โดยเรียกอ้างว่าเงื่อนไขดังกล่าวเป็นทางออกของประเทศที่แท้จริง ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการเล่นเกมซื้อ ส่อเค้าทุจริต โกงการเลือกตั้งอย่างมโหฬารเท่านั้น ไม่ใช่ทางออกที่แท้จริง แต่เป็นทางปิดมากกว่า
ที่บ้านมนังคศิลา เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (20 มี.ค.)องค์กรกลางและเครือข่ายผู้ประสานงานเพื่อการเลือกตั้ง (พีเน็ต)ได้จัดประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางในการจัดเวทีสาธารณ ในวันที่ 24 มี.ค. เพื่อเสนอทางออกให้กับสังคมไทย โดยมีพล.อ.สายหยุด เกิดผล รองประธานองค์กรกลาง เป็นประธานในที่ประชุม มีนายสมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้ประสานงานพีเน็ต พร้อมด้วยตัวแทน 3 ฝ่ายคือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาล นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เป็นตัวแทนฝ่ายค้าน และนายสุริยะใส กตะศิลา ตัวแทนฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เข้าร่วมหารือ โดยการหารือดังกล่าวใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที และมีการเปิดให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังด้วย
ทั้งนี้ การหารือเป็นไปอย่างเคร่งเครียด แต่ละฝ่ายต่างมีจุดยืนของตนเอง โดยนายสุริยะใส ได้เสนอแนวทางของกลุ่มพันธมิตรฯว่า หากมีการดีเบตในวันที่ 24 มี.ค.จะต้องมีการถ่ายทอดสด เปิดเผยและโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยจะต้องให้ผู้นำแต่ละฝ่ายขึ้นเวทีดีเบตอย่างไม่มีเงื่อนไข แต่เบื้องต้นทางฝ่ายพันธมิตรฯ ไม่สามารถรับเงื่อนไขของรัฐบาลได้ เพราะแม้จะมีการดีเบตกัน แต่ข้อครหาของนายกฯ ไม่ว่าจะเป็นการซุกหุ้น หรือการเลี่ยงภาษี ก็ไม่ได้สร้างความเข้าใจกับประชาชนได้ ดังนั้นจะโยนเรื่องนี้ให้ประชาชนตัดสินในวันที่ 2 เม.ย.ไม่ได้ ตนจึงเห็นว่าหากมีกลไกคู่ขนาน หรือคณะกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบไต่สวน ซึ่งอาจมีขึ้นหลังการดีเบต หรือ หลังวันที่ 2 เม.ย.โดยกรรมการชุดนี้จะต้องมาจากบุคคลที่ 3 ฝ่ายยอมรับได้ เพื่อตรวจสอบประเด็นข้อครหาเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี
ขณะที่นายสาทิตย์ ได้เสนอแนวทางของฝ่ายค้าน ซึ่งเป็นไปแนวทางเดียวกันกับฝ่ายพันธมิตรฯ แต่ไม่อยากให้มีการกำหนดเงื่อนไขด้วยการนำการเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. กำหนดให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง และไม่ควรกำหนดให้ทุกฝ่ายยุติการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ตนเห็นด้วยกับแนวคิดการตั้งคณะกรรมการกลางของนายสุริยะใส
ด้านนพ.สุรพงษ์ ได้เสนอจุดยืนของรัฐบาลว่า รัฐบาลพร้อมขึ้นเวทีดีเบต โดยมีการถ่ายทอดสด และแบ่งเวลาให้แต่ละฝ่ายพูดอย่างเท่าเทียมกัน โดยจะต้องมีข้อสรุปให้กับสังคมไทยหลังการขึ้นเวทีดีเบต ด้วยการที่กลุ่มผู้ชุมนุมควรยุติการชุมนุม และการเลือกตั้ง วันที่ 2 เม.ย. ยังต้องมีต่อไป และทุกคนต้องยอมรับผลการเลือกตั้ง และหากในช่วงที่มีกระบวนการขึ้นมาตรวจสอบทุกฝ่ายก็ต้องยุติการเคลื่อนไหวด้วย และตนเห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบประเด็นที่ยังค้างคาใจของประชาชน แต่ต้องมาหารือกันในรายละเอียดอีกครั้ง และไม่ว่าผลการตรวจสอบจะออกมาอย่างไร จะขัดแย้งกับผลการเลือกตั้งหรือไม่ รัฐบาลก็พร้อมยอมรับผลการตัดสิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อถึงตรงนี้ บรรยากาศการหารือเริ่มเคร่งเครียดขึ้น เพราะข้อเสนอของฝ่ายรัฐบาล ไม่ตรงกับข้อเสนออีก 2 ฝ่าย ซึ่งทางพล.อ.สายหยุด ได้พยายามไกล่เกลี่ยว่า ขณะนี้ทุกฝ่ายเห็นด้วยกับการขึ้นเวทีสาธารณะวันที่ 24 มี.ค.โดยแกนนำแต่ละฝ่ายต้องมาพบกัน โดยเวทีจะต้องมีรูปแบบที่เปิดเผย โปร่งใส มีการถ่ายทอดสด ถือว่าพอจะเดินไปด้วยกันได้ ส่วนเงื่อนไขอื่นๆ เช่นการยุติการชุมนุม และการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. ขอให้เป็นการหารือของคณะทำงาน เพราะจุดประสงค์ขององค์กรกลางที่จัดเพื่อให้ 3 ฝ่ายได้พบกัน อาจจะเป็นลักษณะการจิบน้ำชา หรือ การเสวนากันก็ได้ ซึ่งทั้งตัวแทนฝ่ายพันธมิตรฯ และฝ่ายค้านต่างเห็นพ้องกับข้อสรุปของพล.อ.สายหยุด มีเพียง นพ.สุรพงษ์ ที่ระบุว่า ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะถ้าออกไปอย่างนี้ก็กลายเป็นว่า รัฐบาลตกลงในการดีเบต แล้วสุดท้ายจะมาว่ารัฐบาลเปลี่ยนใจ ไม่ทำตามข้อตกลง ซึ่งรัฐบาลยังยืนยันในเงื่อนไขว่า หลังออกเวทีดีเบตจะต้องมีทางออกที่ชัดเจน และอยากให้เป็นเวทีที่แบ่งเวลาแต่ละฝ่ายเท่าเทียมกัน แต่หากจะเป็นเวทีเสวนา หรือจิบน้ำชา ก็เห็นด้วย แต่ไม่อยากให้ถ่ายทอดสด เนื่องจากไม่เคยมีเวทีไหนในโลกที่มีการถ่ายทอดสดแล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้ อีกทั้งจะเป็นการแย่งเวลากันพูดกับประชาชนมากกว่า วันนี้เราต้องการผ่าทางตัน ให้ทุกฝ่ายได้หารือกัน แต่ถ้าหารือกันแล้วทำให้เกิดความเห็นที่แตกต่างกัน ก็ไม่ควรทำ ดังนั้นตนยังยืนยันว่า น่าจะมีบทสรุปว่าดีเบตแล้วสังคมจะเดินไปอย่างไร
ทันายสมชัย กล่าวสนับสนุนข้อเสนอของ นพ.สุรพงษ์ว่า หากมีการดีเบต แล้วฝ่ายหนึ่งเดินหน้าเลือกตั้ง อีกฝ่ายยังคงชุมนุม อีกฝ่ายยังบอยคอต จะทำให้การดีเบตเหมือนกับการจัดโชว์คั่นรายการ ดังนั้นตนอยากให้แต่ละฝ่ายกลับไปพิจารณาถึงทางออก เช่นนายสุริยะใส ไปดูรูปแบบการตั้งคณะกรรมการกลาง และนำมาเสนอให้ชัดเจนว่าคณะกรรมการกลางจะมีระยะเวลาการทำงานกี่เดือน โดยหลังการเลือกตั้งทุกฝ่ายยังสามารถจัดเวทีวิจารณ์รัฐบาลได้ แต่ในเรื่องการชุมนุมที่กระทบหลายอย่าง ฝ่ายรัฐบาลบอกจะต้องไม่มีการชุมนุม แต่สำหรับตนเห็นว่าไม่ควรมีการชุมนุมจนกว่าไต่สวนเสร็จ ดังนั้นจึงอยากให้ทุกฝ่ายกลับมาหารือกันในรายละเอียดอีกครั้ง ในวันที่ 22 มี.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
ทั้งนี้นายสุริยะไส กล่าวสรุปท่าทีของพันธมิตรฯ ว่า หากรัฐบาลยังยืนยันจะจัดเวทีในรูปแบบมีเงื่อนไข ทางพันธมิตรฯจะไม่ขอเข้าร่วมประชุมในวันที่ 22 มี.ค.เพราะก่อนหน้านี้กลุ่นพันธมิตรฯ ยืนยันที่จะให้พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออก ตอนนี้ถือว่าถอยไปหลายก้าวจนหลังชนกำแพงแล้ว ซึ่งเชื่อว่านอกจากเวทีดีเบตแล้ว ยังมีทางออกอื่นอีกหลายทาง ดังนั้นทางพันธมิตรจะยึดแนวทางสันติ เคลื่อนไหวกดดันให้พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกต่อไป จึงอยากพูดให้ชัด เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ประชาชนจะได้ไม่ต้องรอคอยอีกต่อไป
ด้านนายสาทิตย์ กล่าวว่า ฝ่ายค้านจะไม่เข้าร่วมในวันที่ 22 มี.ค.เช่นกัน เพราะเงื่อนไขของรัฐบาลจะเป็นการเอาเวทีดีเบต มากำหนดทิศทางการเมืองซึ่งเราไม่สามารถเข้าร่วมได้ เนื่องจากในข้อตกลงเบื้องต้นที่จะให้แกนนำแต่ละฝ่ายขึ้นเวทีดีเบตวันที่ 24 มี.ค. ก็น่าให้แกนนำตัดสินกันเอง ถ้าจะมีอะไรไม่ดีก็ควรให้เกิดในเวทีนั้นไปเลย ไม่ควรมาสรุปก่อน เพราะเป็นการจำกัดสิทธิของฝ่ายค้านและพันธมิตรฯ จึงไม่ควรตัดสินใจบนพื้นฐานที่มีเงื่อนไข
ขณะที่ น.พ.สุรพงษ์ ก็ประกาศจุดยืนรัฐบาลเช่นกันว่า รูปแบบที่ฝ่ายค้านและพันธมิตรเสนอมา จะไม่เกิดประโยชน์ต่อสังคม จึงจะไม่ร่วมเข้าร่วมหารือในวันที่ 22 มี.ค.เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นายสมชัย ได้กล่าวสรุปก่อนปิดการประชุมว่า องค์กรกลางยืนยันที่จะจัดให้มีการพบกันของตัวแทน 3 ฝ่ายเพื่อหารือในรายละเอียดอีกครั้งในวันที่ 22 มี.ค. หากฝ่ายใดไม่มาก็เท่ากับไม่เห็นด้วยกับการจัดเวทีดีเบต จึงอยากให้ทุกฝ่ายไปทบทวน และเสนอความเห็นได้ตลอด แต่ถ้าวันที่ 22 มี.ค. ทั้ง 3 ฝ่ายไม่มีใครมา ทางองค์กรกลางก็จะแถลงจุดยืนว่า คิดอย่างไรกับสังคมไทยต่อไป
ภายหลังการประชุม นายสุริยะใส ให้สัมภาษณ์ว่า เงื่อนไขของรัฐบาลถือเป็นการกำหนดเสปกที่รัฐบาลออกแบบเอง เสนองานประมูลเอง เป็นการล็อกเสปกเวทีดีเบตที่ไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นเสนอความเห็น เป็นวิธีที่รัฐบาลถนัดที่สุด เราจึงขอปฏิเสธไม่เข้าร่วม
นายสาทิตย์ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวของรัฐบาล เป็นการสร้างเงื่อนไขต่อรอง และมีเจตนาล้มล้างเวทีของกลุ่มพันธมิตรฯ หากมีการเปิดเวทีสาธารณะโดยมีผู้นำทุกฝ่ายเข้าร่วม ฝ่ายค้านก็ยืนยันว่าจะเข้าร่วมด้วย แต่ในที่สุดพรรคไทยรักไทย ก็ยังยืนยันเงื่อนไขเดิม โดยเรียกอ้างว่าเงื่อนไขดังกล่าวเป็นทางออกของประเทศที่แท้จริง ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการเล่นเกมซื้อ ส่อเค้าทุจริต โกงการเลือกตั้งอย่างมโหฬารเท่านั้น ไม่ใช่ทางออกที่แท้จริง แต่เป็นทางปิดมากกว่า