เวลานี้สังคมไทยมีการแบ่งเป็นสองขั้วอย่างเห็นได้ชัดแล้ว แต่ขั้วที่น่าสนใจคือ ฝ่ายสนับสนุนพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเกิดขึ้นช้ากว่าขั้วแรก
ขั้วแรกนั้นคือ ขั้วที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีการจัดตั้งมาก่อนหน้าพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยถึงหกปี พรรคไทยรักไทยได้ระดมความสนับสนุนจากประชาชนในต่างจังหวัดด้วยวิธีการต่างๆ มาตั้งแต่แรกตั้งพรรค เมื่อได้เป็นรัฐบาลและสามารถทำงบประมาณเองได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ฐานสนับสนุนจึงกว้างขวางมากขึ้น
ระหว่างสองขั้วนี้ฝ่ายหนึ่งมีปริมาณ มีทรัพยากรจากรัฐมาก อีกฝ่ายหนึ่งมีคุณภาพ ไม่เคยมีครั้งใดที่บุคคลผู้มีคุณภาพจะออกมาคัดค้านผู้นำประเทศมากเท่าครั้งนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ มีแผนการจะอยู่ในวงการเมืองระยะยาวเหมือนกับลีกวนยู และมหาเธร์คืออย่างน้อยก็ 12 ปี ดังนั้น จึงมีการเตรียมการวางตัวบุคคลในตำแหน่งต่างๆ ทั้งในระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัด หาก พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถอยู่ในตำแหน่งได้อีก 3-4 ปี ก็จะครอบงำองค์กรทุกองค์กรได้ โดยอาศัยกรอบกติกาของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเอื้ออำนวยให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจมาก
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้น ต้องการให้เกิดเสถียรภาพของระบบการเมือง ไม่ได้ต้องการให้เกิดอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนักธุรกิจประเภทรับสัมปทานผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด พฤติกรรมทางการเมืองจึงออกมาแบบนั้น
ผมเคยพูดไว้นานแล้วว่า การเมืองไทยใน 20-30 ปีข้างหน้านั้น จะเปลี่ยนไปอย่างมาก พ.ต.ท.ทักษิณจะมีอายุ 75-76 ปี ในอีก 20 ปีข้างหน้า นายลีกวนยู และมหาเธร์ก็มีอายุ 70 กว่าๆ ตอนที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เมื่อถึงเวลานั้น หาก พล.อ.เปรม ยังมีอายุยืน ก็จะอายุ 100 ปีแล้ว ปัจจัยที่จะถ่วงดุลอำนาจของนายกรัฐมนตรีก็จะมีน้อยลง พ.ต.ท.ทักษิณเองเมื่อถึงเวลานั้นก็คงจะไม่เป็นผู้นำอย่างเป็นทางการ แต่คงจะปรับบทบาทตนเองเป็นรัฐมนตรีอาวุโสแบบลีกวนยู และคอยชักใยอยู่ข้างหลัง
ผมเองไม่ได้วิตกอะไรมาก จนกระทั่งมีการขายหุ้นชินคอร์ป ที่ตกใจก็เพราะนายกรัฐมนตรีไม่มีความสำนึกทางด้านความมั่นคงของชาติเลย แรงขับดันทางธุรกิจ การหาผลประโยชน์ส่วนตัวมีมากกว่า ยิ่งมีการนัดประเทศที่มีทุนมากๆ ให้มาทำ Mega Project ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เห็นแนวทางในการจัดการเศรษฐกิจชัดเจนยิ่งขึ้น
ขณะนี้นายกรัฐมนตรีและบริวารกำลังหาทางแก้ปัญหาด้วย การจะให้มีการเลือกตั้งให้ได้ หลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณอาจลดกระแสกดดัน อุปโลกน์ให้คนใดคนหนึ่งขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี และให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ ใช้เวลาประมาณหนึ่งปี ก็จะมีการยุบสภา และเลือกตั้งใหม่ หลังจากนั้นก็จะกลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก ดังนั้น การเว้นวรรคก็น่าจะมีเพียงระยะเวลาสั้นๆ
หาก พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก โดยอ้างความชอบธรรมจากการได้เสียงข้างมากนั้น ผมคิดว่าคงลำบากเพราะฝ่ายต่อต้านได้ให้ความรู้ และข้อมูลสาธารณชนมากมาย คนที่ได้ข้อมูลมีความเข้าใจวาระซ่อนเร้นของ พ.ต.ท.ทักษิณมีมากขึ้น ผลดีที่มีฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณที่ชัดเจนก็คือ เรามีผู้เลือกตั้งที่มีข้อมูลข่าวสารมากกว่าเดิมหลายเท่า อันเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของระบอบประชาธิปไตย
สังคมไทยเริ่มเรียนรู้ถึงความจำเป็นในการมีการเมืองภาคพลเมือง ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องภายหลังการเลือกตั้ง ผู้คนมีความเข้าใจแล้วว่า การเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่พอเพียงสำหรับระบอบประชาธิปไตย
วันอังคารที่ 14 มีนาคมนี้ จะเป็นจุดสำคัญว่าการเมืองจะพลิกผันไปอย่างไร หากฝ่ายรัฐบาลระดมคนเข้ามา ตำรวจก็น่าจะสกัดกั้นไว้ไม่ให้ประชาชนสองฝ่ายต้องเผชิญหน้ากัน หากไม่มีเหตุการณ์อะไร พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คงจะอยู่ไปได้จนถึงหลังเลือกตั้ง ซึ่งก็จะมีสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองเกิดขึ้นอีก อันเป็นผลมาจากการเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคการเมืองเล็กๆ ได้รับการสนับสนุนจากพรรคไทยรักไทยให้ลงสมัครในพื้นที่ที่พรรคไทยรักไทยเกรงว่า หากไม่มีผู้สมัครแข่งก็จะไม่ได้คะแนนเสียงถึงยี่สิบเปอร์เซ็นต์ บางพรรคมีคนอีสานเป็นหัวหน้า แต่ได้รับการติดต่อให้ไปลงในสามจังหวัดภาคใต้
ผู้ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณบอกผมว่า ตั้งแต่มีการเรียกพรรคเล็กพรรคน้อยมา และมีการระดมคนมา ได้มีการใช้เงินไปแล้วสามพันล้านบาท รวมถึงค่าสนับสนุนจนถึงวันเลือกตั้ง
แหล่งเงินสำคัญก็คือ เงินของกองสลาก รางวัลที่ไม่มีผู้มารับมีหลายพันล้าน เวลานี้ถูกนำมาใช้หมดแล้ว และตลอดเวลาที่ผ่านมา เงินกองสลากเป็นแหล่งทุนที่สำคัญที่สุด ซึ่งต่อไปจะต้องมีการสอบสวนกัน คนในกองสลากที่รู้เห็นมาเล่าให้ผมฟังว่า เงินออกไปทุกเดือนๆ ละหลายร้อยล้านบาท ทั้งนี้เพราะงบราชการลับมีน้อย
หากไม่มีเหตุรุนแรงก่อนการเลือกตั้ง วิกฤตทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นอีกหลังจากนั้น และผมคาดว่า พ.ต.ท.ทักษิณคงอยู่ได้ไม่เกินเดือนกรกฎาคม
ขณะนี้สถานการณ์ทางการเมืองดำเนินไปถึงขั้นที่ประชาชนเรียกร้องให้มีการยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐมนตรีอีกจำนวนหนึ่งแล้ว สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณกลัวก็คือการยึดทรัพย์ และที่ยังไม่ยอมลาออกก็เพราะต้องการต่อรอง และให้มีคนกลางรับรองความปลอดภัยในเรื่องนี้
สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรมากมาย การแบ่งเป็นขั้วก็ชักลามปามไปถึงผู้ซึ่งไม่ควรได้รับการวิจารณ์ แต่ผู้สนับสนุนทักษิณ มีความภักดีต่อทักษิณจริงๆ นั้น มีอยู่ไม่กี่คนเท่านั้น ฐานการสนับสนุนของทักษิณจึงไม่มั่นคง แต่ถ้าอยู่ไปได้อีก 3-4 ปี ประเทศไทยก็จะมีระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องการระบอบราชประชาสมาสัยคือประชาชนต้องการและยอมรับพระบารมีของพระมหากษัตริย์มากกว่าที่จะให้ระบอบทักษิณเข้มแข็งขึ้นได้ ราชประชาสมาสัยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพึ่งพาพระบารมีของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในกรณีที่มีความไม่ปกติเกิดขึ้นโดยไม่อาจอาศัยกลไก และกระบวนการทางรัฐธรรมนูญได้
ทักษิณได้ทำลายกลไกการตรวจสอบในรัฐธรรมนูญลงเกือบหมด ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องอาศัยพลังของจารีตประเพณีตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 7 ระบุไว้ มิไยฝ่ายรัฐบาลจะออกมาบอกว่าใช้ไม่ได้หรือไม่ควรใช้ แต่ก็เป็นช่วงทางเดียวที่ราชประชาสมาสัยจะเกิดขึ้นได้ และก็จะไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้ง เว้นแต่ยามวิกฤตจริงๆ เท่านั้น
สมัยผมเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ผมได้เสนอแนวคิดนี้ต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญด้วย ได้ขนานนามความคิดที่ประชาชนกับพระมหากษัตริย์ร่วมกันแก้ไขวิกฤตทางการเมืองนี้ว่า “ราชประชาสมาสัย”
ขั้วแรกนั้นคือ ขั้วที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีการจัดตั้งมาก่อนหน้าพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยถึงหกปี พรรคไทยรักไทยได้ระดมความสนับสนุนจากประชาชนในต่างจังหวัดด้วยวิธีการต่างๆ มาตั้งแต่แรกตั้งพรรค เมื่อได้เป็นรัฐบาลและสามารถทำงบประมาณเองได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ฐานสนับสนุนจึงกว้างขวางมากขึ้น
ระหว่างสองขั้วนี้ฝ่ายหนึ่งมีปริมาณ มีทรัพยากรจากรัฐมาก อีกฝ่ายหนึ่งมีคุณภาพ ไม่เคยมีครั้งใดที่บุคคลผู้มีคุณภาพจะออกมาคัดค้านผู้นำประเทศมากเท่าครั้งนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ มีแผนการจะอยู่ในวงการเมืองระยะยาวเหมือนกับลีกวนยู และมหาเธร์คืออย่างน้อยก็ 12 ปี ดังนั้น จึงมีการเตรียมการวางตัวบุคคลในตำแหน่งต่างๆ ทั้งในระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัด หาก พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถอยู่ในตำแหน่งได้อีก 3-4 ปี ก็จะครอบงำองค์กรทุกองค์กรได้ โดยอาศัยกรอบกติกาของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเอื้ออำนวยให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจมาก
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้น ต้องการให้เกิดเสถียรภาพของระบบการเมือง ไม่ได้ต้องการให้เกิดอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนักธุรกิจประเภทรับสัมปทานผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด พฤติกรรมทางการเมืองจึงออกมาแบบนั้น
ผมเคยพูดไว้นานแล้วว่า การเมืองไทยใน 20-30 ปีข้างหน้านั้น จะเปลี่ยนไปอย่างมาก พ.ต.ท.ทักษิณจะมีอายุ 75-76 ปี ในอีก 20 ปีข้างหน้า นายลีกวนยู และมหาเธร์ก็มีอายุ 70 กว่าๆ ตอนที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เมื่อถึงเวลานั้น หาก พล.อ.เปรม ยังมีอายุยืน ก็จะอายุ 100 ปีแล้ว ปัจจัยที่จะถ่วงดุลอำนาจของนายกรัฐมนตรีก็จะมีน้อยลง พ.ต.ท.ทักษิณเองเมื่อถึงเวลานั้นก็คงจะไม่เป็นผู้นำอย่างเป็นทางการ แต่คงจะปรับบทบาทตนเองเป็นรัฐมนตรีอาวุโสแบบลีกวนยู และคอยชักใยอยู่ข้างหลัง
ผมเองไม่ได้วิตกอะไรมาก จนกระทั่งมีการขายหุ้นชินคอร์ป ที่ตกใจก็เพราะนายกรัฐมนตรีไม่มีความสำนึกทางด้านความมั่นคงของชาติเลย แรงขับดันทางธุรกิจ การหาผลประโยชน์ส่วนตัวมีมากกว่า ยิ่งมีการนัดประเทศที่มีทุนมากๆ ให้มาทำ Mega Project ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เห็นแนวทางในการจัดการเศรษฐกิจชัดเจนยิ่งขึ้น
ขณะนี้นายกรัฐมนตรีและบริวารกำลังหาทางแก้ปัญหาด้วย การจะให้มีการเลือกตั้งให้ได้ หลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณอาจลดกระแสกดดัน อุปโลกน์ให้คนใดคนหนึ่งขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี และให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ ใช้เวลาประมาณหนึ่งปี ก็จะมีการยุบสภา และเลือกตั้งใหม่ หลังจากนั้นก็จะกลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก ดังนั้น การเว้นวรรคก็น่าจะมีเพียงระยะเวลาสั้นๆ
หาก พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก โดยอ้างความชอบธรรมจากการได้เสียงข้างมากนั้น ผมคิดว่าคงลำบากเพราะฝ่ายต่อต้านได้ให้ความรู้ และข้อมูลสาธารณชนมากมาย คนที่ได้ข้อมูลมีความเข้าใจวาระซ่อนเร้นของ พ.ต.ท.ทักษิณมีมากขึ้น ผลดีที่มีฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณที่ชัดเจนก็คือ เรามีผู้เลือกตั้งที่มีข้อมูลข่าวสารมากกว่าเดิมหลายเท่า อันเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของระบอบประชาธิปไตย
สังคมไทยเริ่มเรียนรู้ถึงความจำเป็นในการมีการเมืองภาคพลเมือง ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องภายหลังการเลือกตั้ง ผู้คนมีความเข้าใจแล้วว่า การเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่พอเพียงสำหรับระบอบประชาธิปไตย
วันอังคารที่ 14 มีนาคมนี้ จะเป็นจุดสำคัญว่าการเมืองจะพลิกผันไปอย่างไร หากฝ่ายรัฐบาลระดมคนเข้ามา ตำรวจก็น่าจะสกัดกั้นไว้ไม่ให้ประชาชนสองฝ่ายต้องเผชิญหน้ากัน หากไม่มีเหตุการณ์อะไร พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คงจะอยู่ไปได้จนถึงหลังเลือกตั้ง ซึ่งก็จะมีสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองเกิดขึ้นอีก อันเป็นผลมาจากการเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคการเมืองเล็กๆ ได้รับการสนับสนุนจากพรรคไทยรักไทยให้ลงสมัครในพื้นที่ที่พรรคไทยรักไทยเกรงว่า หากไม่มีผู้สมัครแข่งก็จะไม่ได้คะแนนเสียงถึงยี่สิบเปอร์เซ็นต์ บางพรรคมีคนอีสานเป็นหัวหน้า แต่ได้รับการติดต่อให้ไปลงในสามจังหวัดภาคใต้
ผู้ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณบอกผมว่า ตั้งแต่มีการเรียกพรรคเล็กพรรคน้อยมา และมีการระดมคนมา ได้มีการใช้เงินไปแล้วสามพันล้านบาท รวมถึงค่าสนับสนุนจนถึงวันเลือกตั้ง
แหล่งเงินสำคัญก็คือ เงินของกองสลาก รางวัลที่ไม่มีผู้มารับมีหลายพันล้าน เวลานี้ถูกนำมาใช้หมดแล้ว และตลอดเวลาที่ผ่านมา เงินกองสลากเป็นแหล่งทุนที่สำคัญที่สุด ซึ่งต่อไปจะต้องมีการสอบสวนกัน คนในกองสลากที่รู้เห็นมาเล่าให้ผมฟังว่า เงินออกไปทุกเดือนๆ ละหลายร้อยล้านบาท ทั้งนี้เพราะงบราชการลับมีน้อย
หากไม่มีเหตุรุนแรงก่อนการเลือกตั้ง วิกฤตทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นอีกหลังจากนั้น และผมคาดว่า พ.ต.ท.ทักษิณคงอยู่ได้ไม่เกินเดือนกรกฎาคม
ขณะนี้สถานการณ์ทางการเมืองดำเนินไปถึงขั้นที่ประชาชนเรียกร้องให้มีการยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐมนตรีอีกจำนวนหนึ่งแล้ว สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณกลัวก็คือการยึดทรัพย์ และที่ยังไม่ยอมลาออกก็เพราะต้องการต่อรอง และให้มีคนกลางรับรองความปลอดภัยในเรื่องนี้
สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรมากมาย การแบ่งเป็นขั้วก็ชักลามปามไปถึงผู้ซึ่งไม่ควรได้รับการวิจารณ์ แต่ผู้สนับสนุนทักษิณ มีความภักดีต่อทักษิณจริงๆ นั้น มีอยู่ไม่กี่คนเท่านั้น ฐานการสนับสนุนของทักษิณจึงไม่มั่นคง แต่ถ้าอยู่ไปได้อีก 3-4 ปี ประเทศไทยก็จะมีระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องการระบอบราชประชาสมาสัยคือประชาชนต้องการและยอมรับพระบารมีของพระมหากษัตริย์มากกว่าที่จะให้ระบอบทักษิณเข้มแข็งขึ้นได้ ราชประชาสมาสัยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพึ่งพาพระบารมีของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในกรณีที่มีความไม่ปกติเกิดขึ้นโดยไม่อาจอาศัยกลไก และกระบวนการทางรัฐธรรมนูญได้
ทักษิณได้ทำลายกลไกการตรวจสอบในรัฐธรรมนูญลงเกือบหมด ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องอาศัยพลังของจารีตประเพณีตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 7 ระบุไว้ มิไยฝ่ายรัฐบาลจะออกมาบอกว่าใช้ไม่ได้หรือไม่ควรใช้ แต่ก็เป็นช่วงทางเดียวที่ราชประชาสมาสัยจะเกิดขึ้นได้ และก็จะไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้ง เว้นแต่ยามวิกฤตจริงๆ เท่านั้น
สมัยผมเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ผมได้เสนอแนวคิดนี้ต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญด้วย ได้ขนานนามความคิดที่ประชาชนกับพระมหากษัตริย์ร่วมกันแก้ไขวิกฤตทางการเมืองนี้ว่า “ราชประชาสมาสัย”