ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษอธิบายความของคำว่า despot ไว้ว่าหมายถึง “ผู้ปกครองหรือใครก็ตามที่มีอำนาจมากและใช้อำนาจนั้นอย่างไม่เป็นธรรม (unfairly) และโหดร้าย ส่วนคำคุณศัพท์ despotic ใช้บรรยายถึงผู้คนหรือพฤติกรรมของคนเหล่านั้นที่ใช้อำนาจที่เหนือคนอื่นอย่างไม่เป็นธรรมและโหดร้าย และ despotism หมายถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นธรรมและโหดร้ายโดยผู้ปกครองหรือกลุ่มผู้ปกครองที่มีอำนาจมากมาย
คำประเภทเดียวกันนี้ยังมีคำว่า tyranny ซึ่งหมายถึงการปกครองที่อยุติธรรม (unjust) และโหดร้าย โดยที่ผู้ปกครองอาจจะเป็นคนๆเดียวหรือกลุ่มคนที่ผูกขาดอำนาจเหนือคนอื่นๆในบ้าน เมือง และ tyrant หมายถึงตัวบุคคลที่มีผูกขาดอำนาจอยู่เหนือคนอื่นๆและใช้อำนาจนั้นอย่างไม่เป็นธรรมและโหดร้าย
สังเกตได้ว่าทั้งคำว่า tyrant, tyranny และ despot, despotism นั้นมีความหมายใกล้เคียงกันมาก หรือแทบจะไม่แตกต่างกันเลยก็ว่าได้ ซึ่งในภาษาไทยเรามักจะรวมแปล tyrant และ despot ว่า “ทรราช”
การเมืองไทยในอดีต คำว่า “ทรราช” ถูกใช้เป็นคำประณามผู้ปกครองเผด็จการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร-จอมพลประภาส จารุเสถียรและพันเอกณรงค์ กิตติขจรที่ผูกขาดการครองอำนาจทางการเมืองแต่เพียงกลุ่มของตนกลุ่มเดียวตั้งแต่ พ.ศ. 2506 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นเวลาถึง 10 ปีเต็ม แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งอยู่บ้าง แต่พรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากก็เป็นพรรคพวกของสามทรราชถนอม-ประภาส-ณรงค์นั่นเอง ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นฝ่ายค้านมาโดยตลอด และวันดีคืนดี จอมพลถนอม กิตติขจรผู้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ทำรัฐประหารตัวเองเพื่อหลีกหนีปัญหา และดำเนินการปกครองโดยไม่มีรัฐธรรมนูญไปจนกระทั่งเกิดการเรียกร้องรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมาจนบานปลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
จากนั้นเป็นต้นมา คำว่า “ทรราช” จึงถูกผูกติดอยู่กับภาพของผู้ปกครองหรือนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ใช้กำลังอำนาจทหารของตนในการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง และผูกขาดการใช้อำนาจนั้นแต่เพียงผู้เดียวหรือในวงศาคณาญาติพวกพ้องของตน
แต่ถ้าพิจารณาคำว่า “ทรราช” ในบริบทความคิดเกี่ยวกับ “despotism” และ “tyranny” ในทฤษฎีการเมืองตะวันตกโดยเฉพาะทฤษฎีการเมืองของ เดสตู เดอ เทรซี (Desttut de Tracy) นักคิดฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติสร้างชาติสร้างประชาธิปไตย ผู้เขียนหนังสือ “A Commentary of Montesquieu’s Spirit of Laws” (“ข้อคิดเกี่ยวกับหนังสือเจตนารมณ์แห่งกฎหมายของมองเตสกิเออ” ค.ศ. 1811) เขาได้อธิบายไว้ว่า การปกครองแบบทรราชหรือ despotism, tyranny นี้มิได้เป็นรูปแบบการปกครองเฉพาะแต่อย่างใด นั่นหมายความว่า การปกครองแบบทรราชมิได้จะต้องปรากฏตัวเฉพาะแต่การปกครองโดยทหารหรือการปกครองที่ใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจ แท้จริงแล้ว การปกครองแบบทรราชมิได้เป็นการปกครองที่มีรูปแบบเฉพาะตัว เช่น ต้องเป็นการปกครองโดยคนๆเดียว หรือเป็นการปกครองโดยกลุ่มคน หรือแม้กระทั่งการปกครองโดยมหาชนก็ตาม เพราะโดยแท้จริง การปกครองแบบทรราชนั้นบ่งบอกหรือส่อนัยถึงความฉ้อฉล (abuse) หรือความชั่วร้ายทั้งหลายที่สามารถปรากฏหรือเกิดขึ้นในรูปแบบการปกครองใดก็ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า สถาบันทางการเมืองหรือรูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นหรือสร้างกำหนดขึ้นมาด้วยน้ำมือมนุษย์ ย่อมไม่ต่างจากตัวมนุษย์ผู้สถาปนามันขึ้นมา นั่นคือ ย่อมไม่มีทางจะสมบูรณ์แบบได้ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดและความฉ้อฉลในการใช้อำนาจย่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในระบอบการปกครองทุกรูปแบบและทุกหนแห่ง
การปกครองแบบทรราชจึงย่อมไม่ใช่รูปแบบการปกครองหรือสภาพสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะอย่างที่มักจะเข้าใจกัน เพราะการกดขี่หรือใช้อำนาจในทางที่ผิดย่อมสามารถเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อใดก็ได้ ในยามที่ระเบียบกฎหมายที่วางไว้ปราศจากซึ่งพลังในการควบคุมให้ดำเนินไปตามเจตนารมณ์ หรือกฎหมายมีช่องโหว่เปิดโอกาสให้ผู้กุมอำนาจทางการเมือง---ไม่ว่าจะมีจำนวนหนึ่งคนหรือกี่คนก็ตาม-----ใช้อำนาจอย่างผิดทำนองคลองธรรม
เทรซียืนยันว่า เราสามารถประจักษ์เห็น “การปกครองแบบทรราช” เกิดขึ้นได้ในทุกยุคทุกสมัย เราย่อมเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ในหลายๆประเทศ หรือแม้แต่ในประเทศที่มีการเลือกตั้งหรือได้ชื่อว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยก็ตาม เทรซีได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเกิดการฉ้อฉลและการใช้อำนาจในทางที่ผิดว่าเกิดจากการที่ “ประชาชนไม่สุขุมรอบคอบพอหรือไม่ก็โง่และเขลาเกินไปที่จะสามารถป้องปรามหรือระแวงระวังความชั่วร้ายนี้ได้ หรือในบางแห่ง วิธีการในการป้องกันอาจจะไม่เพียงพอ”
ประเด็นสำคัญที่เทรซี (และตัวผู้เขียนด้วย) ต้องการสื่อถึงคนอ่านก็คือ การปกครองแบบทรราช ไม่ใช่ระบอบที่ถูกกำหนดให้มีรูปแบบเฉพาะตายตัว ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่มีก็ตาม
เทรซียกตัวอย่างการปกครองของเดนมาร์กในอดีต หลังจากประเทศได้ปลดแอกจากอำนาจของพระและชนชั้นสูงแล้ว ด้วยความกลัวอิทธิพลของอำนาจเก่าดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในสภา จึงได้มีการขอร้องให้กษัตริย์ปกครองโดยมีอำนาจสูงสุดแต่ลำพังแต่ผู้เดียว และให้ความไว้วางใจในพระองค์ในการดูแลการออกกฎหมายตามแต่ที่พระองค์ทรงเห็นจำเป็นสำหรับสิ่งที่ดีสำหรับบ้านเมือง โดยพระองค์ไม่ต้องแสดงเหตุผลหรืออธิบายการใช้พระราชอำนาจของพระองค์ เพราะถือว่า พระองค์ได้ทรงไตร่ตรองแล้ว เทรซีกล่าวว่า ถ้าพิจารณาตามเกณฑ์ความเข้าใจทั่วไป เราก็มักจะเรียกระบอบการปกครองดังกล่าวนี้ของเดนมาร์กว่าเป็น “ระบอบทรราช” ก็ได้ แต่กระนั้น เขายืนยันว่า แม้การปกครองของเดนมาร์กในขณะนั้นดูจะไม่มีข้อจำกัดในการออกกฎหมายของกษัตริย์ แต่ก็ได้ดำเนินไปอย่างละมุนละม่อม ดังนั้น มันไม่ถูกต้องอย่างยิ่งที่จะเรียกรูปแบบการปกครองนี้ว่าเป็นการปกครองของทรราช เพราะมันไม่ได้ถูกมองว่าเป็นการปกครองที่ไม่สามารถควบคุมการใช้อำนาจได้แต่อย่างใด เพราะกษัตริย์เดนมาร์กพระองค์ใช้พระราชวินิจฉัยและพระราชอำนาจอย่างระมัดระวัง ซึ่งเทรซีตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าการปกครองดังกล่าว จะมีความพอดี (moderation) ก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ยังคงตัดสินว่า การปกครองของเดนมาร์กในขณะนั้นเป็นระบอบทรราชอยู่ดี ทั้งๆที่มันไม่ใช่ !
ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาที่มาของคำว่า tyranny ที่มาจากภาษากรีกโบราณ “tyrannos” โดยทำความเข้าใจถึงนัยความหมายของคำดังกล่าวในประสบการณ์การเมืองกรีกโบราณจะพบว่า ทรราชกำเนิดขึ้นยามเมื่อกลไกที่มีอยู่ของรัฐไม่สามารถจัดการกับวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในหรือมาจากภายนอกรัฐ ความชอบธรรมของการเกิดทรราชก็คือ การนำมาซึ่งการปกครองที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพในการใช้อำนาจ สถานการณ์หรือวิกฤตอาจเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นจริงหรือถูกสร้างขึ้นก็ได้ แม้ว่าความต้องการผู้นำที่ผูกขาดการใช้อำนาจอย่างสมบูรณ์อาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ แต่ตัวทรราชก็มักจะใช้อำนาจเกินขอบเขตความจำเป็นในการแก้วิกฤตปัญหาที่ดำรงอยู่ ขณะเดียวกัน ทรราชจะพยายามทำให้เกิดความพร่ามัวยากที่จะแยกแยะระหว่างความกระหายอยากส่วนตัวและความจำเป็นที่ต้องมีตัวเขาอยู่ต่อไปเพื่อยังประโยชน์ต่อสาธารณะ ทรราชจะกอบโกยเพิ่มพูนทรัพย์สินของตนอย่างไม่หยุดยั้ง และใช้มันในการให้คุณหรือสยบผู้คนรอบข้าง ขณะเดียวกันก็ใช้อำนาจอันไม่จำกัดของตนในการให้โทษทำร้ายคนที่ต่อต้านตน และที่สำคัญคือ ไม่มีทรราชใดในประวัติศาสตร์จะยอมลาออกจากตำแหน่งอำนาจของตนโดยง่ายดาย ! ประสบการณ์การเมืองกรีกโบราณสอนให้เรารู้ว่า การต่อสู้กับผู้ที่เป็นทรราชแท้ๆนั้นมิใช่เรื่องง่าย เพราะทรราชที่แท้ย่อมมีภาพสองภาพปรากฏต่อสาธารณะในเวลาเดียวกัน ภาพแรกคือภาพของผู้นำอันประเสริฐเลิศแท้ อัศวินม้าขาวขวัญใจประชาชน อีกภาพหนึ่งคือ ภาพแห่งความชั่วร้ายฉ้อฉล
เห็นได้ว่า ช่วงก่อนที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรจะขึ้นสู่อำนาจในปี พ.ศ. 2544 สังคมไทยกำลังตกอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และรัฐบาลชุดแล้วชุดเล่าก็ดูจะไม่สามารถให้หลักประกันความหวังแก่ประชาชน ดังนั้น ด้วยภาพลักษณ์ของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่มีการบริหารจัดการที่ทันสมัยและมีไหวพริบในทางการค้า และแถมยังมีพรรคการเมืองที่เป็นของตนเองผู้ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการตำรวจที่มีเครือข่ายสายสัมพันธ์ในวงการตำรวจและทหารเป็นอย่างดี ดังนั้น พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทยจึงเป็นคำตอบสำหรับมหาชนผู้อยู่ในสภาวะที่สิ้นหวังทางการเมือง คะแนนเสียงมหาศาลที่เทให้กับพรรคไทยรักไทยคือเสียงสะท้อนความหวังให้ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจไทยให้กลับฟื้นคืนมา
ประกอบกับการที่นายกฯทักษิณใช้นโยบายประชานิยมในหลายๆกรณี โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงและความพร้อม ก็ทำให้ประชาชนยิ่งเพิ่มการสนับสนุนด้วยความคาดหวังให้นายกฯแก้ปัญหาต่างๆ ทำให้อำนาจความชอบธรรมของนายกฯทักษิณยิ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่เรียกว่า “ตัดตอน” และกดดันให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเร่งสร้างตัวเลขผลงานในการจับกุม เพื่อสร้าง “ภาพเชิงการตลาด” ในลักษณะประชานิยม ซึ่งได้ผลยิ่ง เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเห็นชอบจากการสำรวจโพลต่างๆ เป็นการทำลายกรอบการใช้อำนาจทางการเมืองตามแนวทางประชาธิปไตย และทำให้นายกฯทักษิณเกิดอาการ “ย่ามใจ” ในวิธีการใช้อำนาจของตนในการแก้ปัญหาบ้านเมือง และความย่ามใจในการใช้อำนาจก็เกิดมากขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุด ก็นำมาสู่วิกฤตทางการเมืองอย่างรุนแรง ภาพของความเป็น “ทรราชสมัยใหม่” ของนายกฯทักษิณก็เริ่มเด่นชัดขึ้นในที่สุด อันเป็นผลจากสภาพจิตวิทยาของมหาชนและตัวเขาเองประกอบกัน
เกี่ยวกับทรราชในสมัยโบราณ นักเขียนโรมันชื่อ Quintilian ได้ตั้งเป็นโจทย์คำถามขึ้นมาในงานเขียนที่ชื่อว่า “ฟ้าผ่าทรราช” (Tyrannus fulminatus) โดยจินตนาการถึงกรณีที่มีสายฟ้าจากเบื้องบนผ่าลงที่ตัวทรราชจนถึงแก่ความตาย ดังมีใจความว่า:
“ตามจารีตประเพณีของชาวโรมันเชื่อว่า ฟ้าผ่าเป็นการกระทำของเทพจูปีเตอร์ ถือเป็นการกระทำที่มีนัยและจุดประสงค์ ขณะเดียวกัน คนธรรมดาสามัญที่ถูกฟ้าผ่าตาย จะต้องฝังศพของเขา ณ ที่ๆเขาถูกฟ้าผ่าตาย ด้วยความเชื่อที่ว่า ฟ้าผ่าเป็นพระประสงค์ของเทพที่ต้องการให้คนๆนั้นตาย ณ ที่นั้น ขณะเดียวกัน เมื่อทรราชตาย ศพของเขาจะต้องถูกโยนออกไปนอกเขตเมือง เพราะศพทรราชนั้นน่ารังเกียจขยะแขยง ด้วยถ้าฝังในเมืองแล้ว ก็รังแต่จะเป็นอันตรายต่อบ้านเมืองด้วยการแพร่ระบาดของความสกปรกเน่าเสียชั่วร้ายของศพของทรราชผู้ชั่วช้าเลวทราม แต่ปัญหาคือ ถ้าทรราชถูกฟ้าผ่าตาย ณ ที่อันทรงเกียรติศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่ฝังศพเฉพาะของรัฐบุรุษ ศพของทรราชตนนั้นควรที่จะถูกฝังที่ไหน ?”
จากข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ทรราชจึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวน่ารังเกียจอย่างยิ่งในการเมืองกรีกและโรมันโบราณ
ลีโอ สเตราส์ ศาสตราจารย์ผู้สอนวิชาปรัชญาการเมืองเคยกล่าวไว้ว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยากที่นักวิชาการทั่วไปจะสังเกตเห็นว่า การขึ้นสู่อำนาจของระบอบนาซีของฮิตเลอร์นั้นจะนำไปสู่การปกครองแบบทรราชสมัยใหม่ เพราะฮิตเลอร์มาจากระบอบประชาธิปไตย มาจากการเลือกตั้ง และทำตามกติกากฎหมายทุกประการ องค์ความรู้รัฐศาสตร์สมัยใหม่และกฎหมาย ก็ไม่สามารถช่วยให้นักวิชาการเหล่านั้นได้ตระหนักรู้หรือสังเกตได้ว่า ระบอบการปกครองที่ปรากฏต่อหน้าเขานั้นคือระบอบทรราช
แม้ว่าจะมีนักวิชาการเยอรมันบางคนเริ่มเห็นเค้าลางของระบอบทรราช และออกมาเตือนสังคมของเขา แต่ก็ไม่มีใครฟัง แม้แต่นักวิชาการด้วยกัน สังคมไทยเราก็เช่นกัน เมื่อห้าปีที่แล้ว ก่อนที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรจะชนะการเลือกตั้งครั้งแรกด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น เสียงเตือนก็เริ่มเกิดขึ้น แต่ก็เป็นเพียงคลื่นกระทบฝั่งเท่านั้น
บัดนี้ เราต่างตระหนักดีแล้วว่า ทั้งระบอบนาซีและปัญหาระบอบทักษิณไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากเราเข้าใจความหมายของคำว่าทรราชในทางทฤษฎีและปรัชญาการเมืองสมัยก่อน การมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะทำให้เรารอดพ้นจากการเกิดทรราชได้ และถ้าเราเข้าใจระบอบทรราชแล้ว เราย่อมตระหนักดีว่า พันธกิจในการต่อสู้กับระบอบทรราชนั้นต้องอาศัยปัญญา ความสุขุมรอบคอบ ความอดทนและ..เวลา !
คำประเภทเดียวกันนี้ยังมีคำว่า tyranny ซึ่งหมายถึงการปกครองที่อยุติธรรม (unjust) และโหดร้าย โดยที่ผู้ปกครองอาจจะเป็นคนๆเดียวหรือกลุ่มคนที่ผูกขาดอำนาจเหนือคนอื่นๆในบ้าน เมือง และ tyrant หมายถึงตัวบุคคลที่มีผูกขาดอำนาจอยู่เหนือคนอื่นๆและใช้อำนาจนั้นอย่างไม่เป็นธรรมและโหดร้าย
สังเกตได้ว่าทั้งคำว่า tyrant, tyranny และ despot, despotism นั้นมีความหมายใกล้เคียงกันมาก หรือแทบจะไม่แตกต่างกันเลยก็ว่าได้ ซึ่งในภาษาไทยเรามักจะรวมแปล tyrant และ despot ว่า “ทรราช”
การเมืองไทยในอดีต คำว่า “ทรราช” ถูกใช้เป็นคำประณามผู้ปกครองเผด็จการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร-จอมพลประภาส จารุเสถียรและพันเอกณรงค์ กิตติขจรที่ผูกขาดการครองอำนาจทางการเมืองแต่เพียงกลุ่มของตนกลุ่มเดียวตั้งแต่ พ.ศ. 2506 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นเวลาถึง 10 ปีเต็ม แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งอยู่บ้าง แต่พรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากก็เป็นพรรคพวกของสามทรราชถนอม-ประภาส-ณรงค์นั่นเอง ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นฝ่ายค้านมาโดยตลอด และวันดีคืนดี จอมพลถนอม กิตติขจรผู้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ทำรัฐประหารตัวเองเพื่อหลีกหนีปัญหา และดำเนินการปกครองโดยไม่มีรัฐธรรมนูญไปจนกระทั่งเกิดการเรียกร้องรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมาจนบานปลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
จากนั้นเป็นต้นมา คำว่า “ทรราช” จึงถูกผูกติดอยู่กับภาพของผู้ปกครองหรือนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ใช้กำลังอำนาจทหารของตนในการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง และผูกขาดการใช้อำนาจนั้นแต่เพียงผู้เดียวหรือในวงศาคณาญาติพวกพ้องของตน
แต่ถ้าพิจารณาคำว่า “ทรราช” ในบริบทความคิดเกี่ยวกับ “despotism” และ “tyranny” ในทฤษฎีการเมืองตะวันตกโดยเฉพาะทฤษฎีการเมืองของ เดสตู เดอ เทรซี (Desttut de Tracy) นักคิดฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติสร้างชาติสร้างประชาธิปไตย ผู้เขียนหนังสือ “A Commentary of Montesquieu’s Spirit of Laws” (“ข้อคิดเกี่ยวกับหนังสือเจตนารมณ์แห่งกฎหมายของมองเตสกิเออ” ค.ศ. 1811) เขาได้อธิบายไว้ว่า การปกครองแบบทรราชหรือ despotism, tyranny นี้มิได้เป็นรูปแบบการปกครองเฉพาะแต่อย่างใด นั่นหมายความว่า การปกครองแบบทรราชมิได้จะต้องปรากฏตัวเฉพาะแต่การปกครองโดยทหารหรือการปกครองที่ใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจ แท้จริงแล้ว การปกครองแบบทรราชมิได้เป็นการปกครองที่มีรูปแบบเฉพาะตัว เช่น ต้องเป็นการปกครองโดยคนๆเดียว หรือเป็นการปกครองโดยกลุ่มคน หรือแม้กระทั่งการปกครองโดยมหาชนก็ตาม เพราะโดยแท้จริง การปกครองแบบทรราชนั้นบ่งบอกหรือส่อนัยถึงความฉ้อฉล (abuse) หรือความชั่วร้ายทั้งหลายที่สามารถปรากฏหรือเกิดขึ้นในรูปแบบการปกครองใดก็ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า สถาบันทางการเมืองหรือรูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นหรือสร้างกำหนดขึ้นมาด้วยน้ำมือมนุษย์ ย่อมไม่ต่างจากตัวมนุษย์ผู้สถาปนามันขึ้นมา นั่นคือ ย่อมไม่มีทางจะสมบูรณ์แบบได้ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดและความฉ้อฉลในการใช้อำนาจย่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในระบอบการปกครองทุกรูปแบบและทุกหนแห่ง
การปกครองแบบทรราชจึงย่อมไม่ใช่รูปแบบการปกครองหรือสภาพสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะอย่างที่มักจะเข้าใจกัน เพราะการกดขี่หรือใช้อำนาจในทางที่ผิดย่อมสามารถเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อใดก็ได้ ในยามที่ระเบียบกฎหมายที่วางไว้ปราศจากซึ่งพลังในการควบคุมให้ดำเนินไปตามเจตนารมณ์ หรือกฎหมายมีช่องโหว่เปิดโอกาสให้ผู้กุมอำนาจทางการเมือง---ไม่ว่าจะมีจำนวนหนึ่งคนหรือกี่คนก็ตาม-----ใช้อำนาจอย่างผิดทำนองคลองธรรม
เทรซียืนยันว่า เราสามารถประจักษ์เห็น “การปกครองแบบทรราช” เกิดขึ้นได้ในทุกยุคทุกสมัย เราย่อมเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ในหลายๆประเทศ หรือแม้แต่ในประเทศที่มีการเลือกตั้งหรือได้ชื่อว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยก็ตาม เทรซีได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเกิดการฉ้อฉลและการใช้อำนาจในทางที่ผิดว่าเกิดจากการที่ “ประชาชนไม่สุขุมรอบคอบพอหรือไม่ก็โง่และเขลาเกินไปที่จะสามารถป้องปรามหรือระแวงระวังความชั่วร้ายนี้ได้ หรือในบางแห่ง วิธีการในการป้องกันอาจจะไม่เพียงพอ”
ประเด็นสำคัญที่เทรซี (และตัวผู้เขียนด้วย) ต้องการสื่อถึงคนอ่านก็คือ การปกครองแบบทรราช ไม่ใช่ระบอบที่ถูกกำหนดให้มีรูปแบบเฉพาะตายตัว ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่มีก็ตาม
เทรซียกตัวอย่างการปกครองของเดนมาร์กในอดีต หลังจากประเทศได้ปลดแอกจากอำนาจของพระและชนชั้นสูงแล้ว ด้วยความกลัวอิทธิพลของอำนาจเก่าดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในสภา จึงได้มีการขอร้องให้กษัตริย์ปกครองโดยมีอำนาจสูงสุดแต่ลำพังแต่ผู้เดียว และให้ความไว้วางใจในพระองค์ในการดูแลการออกกฎหมายตามแต่ที่พระองค์ทรงเห็นจำเป็นสำหรับสิ่งที่ดีสำหรับบ้านเมือง โดยพระองค์ไม่ต้องแสดงเหตุผลหรืออธิบายการใช้พระราชอำนาจของพระองค์ เพราะถือว่า พระองค์ได้ทรงไตร่ตรองแล้ว เทรซีกล่าวว่า ถ้าพิจารณาตามเกณฑ์ความเข้าใจทั่วไป เราก็มักจะเรียกระบอบการปกครองดังกล่าวนี้ของเดนมาร์กว่าเป็น “ระบอบทรราช” ก็ได้ แต่กระนั้น เขายืนยันว่า แม้การปกครองของเดนมาร์กในขณะนั้นดูจะไม่มีข้อจำกัดในการออกกฎหมายของกษัตริย์ แต่ก็ได้ดำเนินไปอย่างละมุนละม่อม ดังนั้น มันไม่ถูกต้องอย่างยิ่งที่จะเรียกรูปแบบการปกครองนี้ว่าเป็นการปกครองของทรราช เพราะมันไม่ได้ถูกมองว่าเป็นการปกครองที่ไม่สามารถควบคุมการใช้อำนาจได้แต่อย่างใด เพราะกษัตริย์เดนมาร์กพระองค์ใช้พระราชวินิจฉัยและพระราชอำนาจอย่างระมัดระวัง ซึ่งเทรซีตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าการปกครองดังกล่าว จะมีความพอดี (moderation) ก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ยังคงตัดสินว่า การปกครองของเดนมาร์กในขณะนั้นเป็นระบอบทรราชอยู่ดี ทั้งๆที่มันไม่ใช่ !
ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาที่มาของคำว่า tyranny ที่มาจากภาษากรีกโบราณ “tyrannos” โดยทำความเข้าใจถึงนัยความหมายของคำดังกล่าวในประสบการณ์การเมืองกรีกโบราณจะพบว่า ทรราชกำเนิดขึ้นยามเมื่อกลไกที่มีอยู่ของรัฐไม่สามารถจัดการกับวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในหรือมาจากภายนอกรัฐ ความชอบธรรมของการเกิดทรราชก็คือ การนำมาซึ่งการปกครองที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพในการใช้อำนาจ สถานการณ์หรือวิกฤตอาจเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นจริงหรือถูกสร้างขึ้นก็ได้ แม้ว่าความต้องการผู้นำที่ผูกขาดการใช้อำนาจอย่างสมบูรณ์อาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ แต่ตัวทรราชก็มักจะใช้อำนาจเกินขอบเขตความจำเป็นในการแก้วิกฤตปัญหาที่ดำรงอยู่ ขณะเดียวกัน ทรราชจะพยายามทำให้เกิดความพร่ามัวยากที่จะแยกแยะระหว่างความกระหายอยากส่วนตัวและความจำเป็นที่ต้องมีตัวเขาอยู่ต่อไปเพื่อยังประโยชน์ต่อสาธารณะ ทรราชจะกอบโกยเพิ่มพูนทรัพย์สินของตนอย่างไม่หยุดยั้ง และใช้มันในการให้คุณหรือสยบผู้คนรอบข้าง ขณะเดียวกันก็ใช้อำนาจอันไม่จำกัดของตนในการให้โทษทำร้ายคนที่ต่อต้านตน และที่สำคัญคือ ไม่มีทรราชใดในประวัติศาสตร์จะยอมลาออกจากตำแหน่งอำนาจของตนโดยง่ายดาย ! ประสบการณ์การเมืองกรีกโบราณสอนให้เรารู้ว่า การต่อสู้กับผู้ที่เป็นทรราชแท้ๆนั้นมิใช่เรื่องง่าย เพราะทรราชที่แท้ย่อมมีภาพสองภาพปรากฏต่อสาธารณะในเวลาเดียวกัน ภาพแรกคือภาพของผู้นำอันประเสริฐเลิศแท้ อัศวินม้าขาวขวัญใจประชาชน อีกภาพหนึ่งคือ ภาพแห่งความชั่วร้ายฉ้อฉล
เห็นได้ว่า ช่วงก่อนที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรจะขึ้นสู่อำนาจในปี พ.ศ. 2544 สังคมไทยกำลังตกอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และรัฐบาลชุดแล้วชุดเล่าก็ดูจะไม่สามารถให้หลักประกันความหวังแก่ประชาชน ดังนั้น ด้วยภาพลักษณ์ของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่มีการบริหารจัดการที่ทันสมัยและมีไหวพริบในทางการค้า และแถมยังมีพรรคการเมืองที่เป็นของตนเองผู้ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการตำรวจที่มีเครือข่ายสายสัมพันธ์ในวงการตำรวจและทหารเป็นอย่างดี ดังนั้น พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทยจึงเป็นคำตอบสำหรับมหาชนผู้อยู่ในสภาวะที่สิ้นหวังทางการเมือง คะแนนเสียงมหาศาลที่เทให้กับพรรคไทยรักไทยคือเสียงสะท้อนความหวังให้ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจไทยให้กลับฟื้นคืนมา
ประกอบกับการที่นายกฯทักษิณใช้นโยบายประชานิยมในหลายๆกรณี โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงและความพร้อม ก็ทำให้ประชาชนยิ่งเพิ่มการสนับสนุนด้วยความคาดหวังให้นายกฯแก้ปัญหาต่างๆ ทำให้อำนาจความชอบธรรมของนายกฯทักษิณยิ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่เรียกว่า “ตัดตอน” และกดดันให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเร่งสร้างตัวเลขผลงานในการจับกุม เพื่อสร้าง “ภาพเชิงการตลาด” ในลักษณะประชานิยม ซึ่งได้ผลยิ่ง เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเห็นชอบจากการสำรวจโพลต่างๆ เป็นการทำลายกรอบการใช้อำนาจทางการเมืองตามแนวทางประชาธิปไตย และทำให้นายกฯทักษิณเกิดอาการ “ย่ามใจ” ในวิธีการใช้อำนาจของตนในการแก้ปัญหาบ้านเมือง และความย่ามใจในการใช้อำนาจก็เกิดมากขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุด ก็นำมาสู่วิกฤตทางการเมืองอย่างรุนแรง ภาพของความเป็น “ทรราชสมัยใหม่” ของนายกฯทักษิณก็เริ่มเด่นชัดขึ้นในที่สุด อันเป็นผลจากสภาพจิตวิทยาของมหาชนและตัวเขาเองประกอบกัน
เกี่ยวกับทรราชในสมัยโบราณ นักเขียนโรมันชื่อ Quintilian ได้ตั้งเป็นโจทย์คำถามขึ้นมาในงานเขียนที่ชื่อว่า “ฟ้าผ่าทรราช” (Tyrannus fulminatus) โดยจินตนาการถึงกรณีที่มีสายฟ้าจากเบื้องบนผ่าลงที่ตัวทรราชจนถึงแก่ความตาย ดังมีใจความว่า:
“ตามจารีตประเพณีของชาวโรมันเชื่อว่า ฟ้าผ่าเป็นการกระทำของเทพจูปีเตอร์ ถือเป็นการกระทำที่มีนัยและจุดประสงค์ ขณะเดียวกัน คนธรรมดาสามัญที่ถูกฟ้าผ่าตาย จะต้องฝังศพของเขา ณ ที่ๆเขาถูกฟ้าผ่าตาย ด้วยความเชื่อที่ว่า ฟ้าผ่าเป็นพระประสงค์ของเทพที่ต้องการให้คนๆนั้นตาย ณ ที่นั้น ขณะเดียวกัน เมื่อทรราชตาย ศพของเขาจะต้องถูกโยนออกไปนอกเขตเมือง เพราะศพทรราชนั้นน่ารังเกียจขยะแขยง ด้วยถ้าฝังในเมืองแล้ว ก็รังแต่จะเป็นอันตรายต่อบ้านเมืองด้วยการแพร่ระบาดของความสกปรกเน่าเสียชั่วร้ายของศพของทรราชผู้ชั่วช้าเลวทราม แต่ปัญหาคือ ถ้าทรราชถูกฟ้าผ่าตาย ณ ที่อันทรงเกียรติศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่ฝังศพเฉพาะของรัฐบุรุษ ศพของทรราชตนนั้นควรที่จะถูกฝังที่ไหน ?”
จากข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ทรราชจึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวน่ารังเกียจอย่างยิ่งในการเมืองกรีกและโรมันโบราณ
ลีโอ สเตราส์ ศาสตราจารย์ผู้สอนวิชาปรัชญาการเมืองเคยกล่าวไว้ว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยากที่นักวิชาการทั่วไปจะสังเกตเห็นว่า การขึ้นสู่อำนาจของระบอบนาซีของฮิตเลอร์นั้นจะนำไปสู่การปกครองแบบทรราชสมัยใหม่ เพราะฮิตเลอร์มาจากระบอบประชาธิปไตย มาจากการเลือกตั้ง และทำตามกติกากฎหมายทุกประการ องค์ความรู้รัฐศาสตร์สมัยใหม่และกฎหมาย ก็ไม่สามารถช่วยให้นักวิชาการเหล่านั้นได้ตระหนักรู้หรือสังเกตได้ว่า ระบอบการปกครองที่ปรากฏต่อหน้าเขานั้นคือระบอบทรราช
แม้ว่าจะมีนักวิชาการเยอรมันบางคนเริ่มเห็นเค้าลางของระบอบทรราช และออกมาเตือนสังคมของเขา แต่ก็ไม่มีใครฟัง แม้แต่นักวิชาการด้วยกัน สังคมไทยเราก็เช่นกัน เมื่อห้าปีที่แล้ว ก่อนที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรจะชนะการเลือกตั้งครั้งแรกด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น เสียงเตือนก็เริ่มเกิดขึ้น แต่ก็เป็นเพียงคลื่นกระทบฝั่งเท่านั้น
บัดนี้ เราต่างตระหนักดีแล้วว่า ทั้งระบอบนาซีและปัญหาระบอบทักษิณไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากเราเข้าใจความหมายของคำว่าทรราชในทางทฤษฎีและปรัชญาการเมืองสมัยก่อน การมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะทำให้เรารอดพ้นจากการเกิดทรราชได้ และถ้าเราเข้าใจระบอบทรราชแล้ว เราย่อมตระหนักดีว่า พันธกิจในการต่อสู้กับระบอบทรราชนั้นต้องอาศัยปัญญา ความสุขุมรอบคอบ ความอดทนและ..เวลา !