สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ (สสนท.) ร่อนแถลงการณ์เพื่อหาทางออกยุติความขัดแย้งสังคมไทย 10 ข้อ ผ่าทางตันมรสุมการเมือง โดยเสนอให้องคมนตรีทั้งคณะเข้ามาทำหน้าตัวกลางเชิญ 4 แกนนำเข้าร่วมถก พร้อมเรียกร้องให้ป๋าเปรมหรือผู้ที่องคมนตรีเห็นว่าสมควร ขึ้นมานั่งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นตัวกลางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ยังเดินหน้าต่อแต่พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องไม่กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกฯ ก่อนจัดเลือกตั้งครั้งใหม่ในปี 2550 หลังแก้ไขรัฐธรรมนูญสมบูรณ์
สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ (สสทน.) ได้ออกแถลงการณ์ของสหพันธ์ฉบับที่ 1 วันที่ 16 มีนาคม 2549 เรื่อง...ทางออกเพื่อการยุติความขัดแย้งของสังคมไทย พ.ศ. 2549 โดยระบุว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยระหว่างคนไทย 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรี กลุ่มรัฐบาลรักษาการนำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มอดีตพรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค และกลุ่มราษฎรอาวุโส นักวิชาการ องค์กรเอกชน นักศึกษา เยาวชน
"สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ (สสทน.) องค์กรเครือข่ายธุรกิจท่องเที่ยวเอกชนภาคเหนือ 17 จังหวัด รู้สึกวิตกกังวลต่อปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งกำลังบ่อนทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวของประเทศอย่างร้ายแรง นักท่องเที่ยวของประเทศอย่างร้ายแรง นักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก เริ่มขาดความมั่นใจต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการว่างงานในธุรกิจท่องเที่ยวทุกแขนง จักต้องเกิดขึ้นเช่นเดียวกับเหตุการณ์ สึนามิฝั่งทะเลอันดามันอย่างไม่ต้องสงสัย"
ในแถลงการณ์ระบุว่า ความขัดแย้งที่กำลังเป็นอยู่ขณะนี้ มิได้เป็นเพยงวิกฤตทางการเมือง แต่ถือว่าเป็นวิกฤตความขัดแย้งของสังคมไทย โดยมีบุคคลทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว เป็นผู้มีส่วนในความขัดแย้ง แต่ละกลุ่มมีวัตถุประสงค์ มีวิธีการแก้ไขปัญหาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และไม่มีหนทางการบรรจบพบกันได้อย่างเด็ดขาด
โดยกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งสถานเดียว กลุ่มรัฐบาลให้ความสำคัญกับกลุ่มประท้วงโดยการประกาศยุบสภา และเดินหน้าหาเสียงเลือกตั้ง กลุ่มพรรคฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 และกลุ่มราษฎรอาวุโส ฯลฯ ต้องการให้มีรัฐบาลพระราชทาน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7
แถลงการณ์สสนท. กล่าวว่า แต่ละกลุ่มต่างเชื่อว่า วิธีการของกลุ่มตนคือ ความถูกต้องของสังคมไทย แม้ทุกกลุ่มต่างประกาศว่าพร้อมจะพูดจา แต่ก็มีกำแพงปิดกั้นการพูดจาเสมอ ทุกกลุ่มต่างรู้ทันเกมและต่างการได้ประโยชน์สูงสุดในเวทีพูดจา จึงเท่ากับหมดหนทางยุติความขัดแย้งของสังคมไทยโดยวิธีการพูดจาแล้ว จึงเท่ากับทุกกลุ่มต้องการเดินเข้าสู่สมรภูมิการต่อสู้จนเสียเลือดเนื้อ จนมีไฟลุกท่วมเมือง จึงเท่ากับทุกกลุ่มรอนั่งพับเพียบต่อหน้าพระพักตร์ ภายหลังการนองเลือด จึงเท่ากับทุกกลุ่มเป็นผู้เพิ่มความทุกข์แก่พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงมีพระชนน์มายุถึง 78 พรรษา จึงเท่ากับทุกกลุ่มเป็นผู้ทำลายหัวใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน ที่ต้องการเห็นพระองค์ได้ทรงพักผ่อนยามทรงชราภาพ
ทุกกลุ่มต่างมีความปรารถนาดีต่อประเทศชาติ แต่วิธีการแก้ปัญหามิได้เป็นแม้เส้นขนาน มิได้เป็นแม้งูกินหาง แต่เป็นระเบิด 4 ลูก ที่ถูกเหวี่ยงออกไปอย่างไร้ทิศทาง และย่อมหล่นลงเป็นความพินาศของสังคมไทยทั้งมวล
สหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ (สสทน.) ได้เสนอข้อเรียกร้องเพื่อยุติความขัดแย้งของสังคมไทย 10 ข้อ คือ 1.ขอประทานกราบเรียนฯพณฯองค์มนตรีทั้งคณะได้โปรดเมตตารับเป็นคนกลางเชิญแกนนำบุคคลทั้ง 4 กลุ่มมาประชุม ณ สำนักงานองคมนตรี อย่างเป็นทางการอย่างเร่งด่วน โดยไม่ปล่อยให้เป็นบทบาทของอธิการบดี หรือพีเน็ต หรือองค์กรใด เนื่องจากองค์กรเหล่านั้น ถูกมองว่าเป็นคุณเป็นโทษกับอีกกลุ่มหนึ่งเสมอ
2.ขอให้กกต.จัดการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ต่อไป ไม่จำเป็นต้องเลื่อน เพราะถึงแม้เลื่อนออกไป กลุ่มพรรคฝ่ายค้านก็ยืนยันว่ากลุ่มตนเสียเปรียบ ต้องพ่ายแพ้ และไม่ยอมลงสมัครเหมือนเดิม
3.ขอให้ท่านประธานองค์มนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือผู้ที่คณะองคมนตรีเห็นสมควร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำรัฐบาลผู้มีอำนาจเต็ม มีวาระ 14 เดือน นับจากวันที่ 3 เมษายน 2549 ถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2550 เนื่องจากทุกฝ่ายต่างทราบดีอยู่แล้วว่า สภาผู้แทนฯที่เกิดจากการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 อาจเป็นสภาพิการ สมาชิกไม่ครบองค์ประชุม หรือถึงแม้จะครบองค์ประชุมก็ยังคงถูกครหาว่าไม่สง่างาม ไม่มีการแข่งขัน ประชาชนไม่ทีทางเลือก เป็นจุดด่างดำของการเมืองไทย และหากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงย่อมไม่มีวันเลิกรา
ข้อเรียกร้องเพื่อยุติความขัดแย้งข้อของสสทน.ข้อที่ 4.ขอให้คณะรัฐบาลซึ่งมีรัฐมนตรี ซึ่งมีรัฐมนตรีผู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงจากสังคมไทย เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มทั้ง 4 และไม่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 12 เดือน แล้วประกาศให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรครั้งใหม่ในวันที่ 2 มิถุนายน 2550 หรือ 2 เดือนหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
5.ขอให้พรรคการเมืองทุกพรรคเตรียมตัวเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง 14 เดือน เพื่อลบข้อกล่าวหาว่าฝ่ายใด ได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง 6.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องยอมรับว่า การเลือกตั้งได้เกิดขึ้นแล้ว ตาที่รัฐบาลต้องการ ทั้งต้องยอมรับว่าสภาผู้แทนราษฎรหลังการเลือกตั้ง ยังถูกสังคมไทยตั้งคำถามดังเหตุผลในข้อ 3 จึงควรที่จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แม้ว่าจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบองค์ประชุมก็ตาม
7.กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ต้องยอมรับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นนายกรัฐมนตรีและไม่มีอำนาจใดๆ ในรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 สมตามที่กลุ่มต้องการแล้ว จึงต้องยุติการชุมนุมประท้วงอย่างสิ้นเชิง
ข้อเรียกร้องที่ 8.ระหว่างที่กำลังดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญและรอวันเลือกตั้งใหม่ตามข้อ 4 ทุกพรรคการเมือง มีสิทธิหาเสียง นำเสนอนโยบายของพรรคอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะรัฐบาล องคมนตรี เพื่อรักษาควบคุมความสงบเรียบร้อยของสังคมไทย
9.ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง วันที่ 2 มิถุนายน 2550 ทุกกลุ่มจักต้องเคารพผลการเลือกตั้ง ไม่ว่าพรรคใดจะชนะการเลือกตั้ง หรือผู้ใดจะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่มีการกีดกั้นสิทธิของคนไทยคนหนึ่งคนใด รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ย่อมมีสิทธิประกอบวิชาชีพนักการเมืองในฐานะคนไทยในสังคมไทยที่ถูกต้องตามกฎหมาย และ 10.สมาชิกสภาผู้แทนฯที่มาจากการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินคณะรัฐบาลองคมนตรี และมีหน้าที่ลงนามรับรองร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
สสทน.ระบุว่า การดำเนินการทั้ง 10 ข้อ ต้องถือเป็นทางออกสุดท้าย เพื่อป้องกันมิให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายทั้งก่อน หรือหลังการนองเลือด ทั้งไม่ต้องห่วงว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้รัฐธรรมนูญไม่สมบูรณ์และต้องมีการแก้ไขอย่างแน่นอนอยู่แล้ว และคนไทยไม่ต้องกังวลว่า รัฐจะต้องสูญเสียเงินอีกจำนวน 2,000 ล้านบาท เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ เพราะจำนวนเงินดังกล่าวเทียบไม่ได้กับความสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน เศรษฐกิจ และจิตใจของคนในสังคมไทย อันจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในเร็ววันนี้
แถลงการณ์ดังกล่าวมีประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือร่วมลงนาม เช่น นายพนม มีสุข ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ สมเกียรติ ชื่นธีระวงค์ ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย ฉลอง นนทพายัพ ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดพะเยา นายนฤทธิ์ อรุณศักดิ์ ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดลำปาง นายสมชัย สมทา ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดแพร่ และนายชมพูทัชน์ ศรีสัปปุริส ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดน่าน เป็นต้น
ตลาดรถไม่กระทบแม้วออก-ไม่ออก
นายเรียว ซาคาตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์การเมืองปัจจุบันอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกค้าในการชะลอการตัดสินใจซื้อรถบ้าง และเชื่อว่าหากสถานการณ์ยังไม่รุนแรงก็ไม่น่าจะวิตกมากนัก สำหรับอีซูซุ ลูกค้ายังให้ความเชื่อมั่นในการซื้อรถสูงเหมือนเดิม
“โครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานของไทยมีความแข็งแกร่งพอสมควร สถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นหากการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ ไม่รุนแรงก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์มากนัก แม้นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จะอยู่หรือไป ก็ไม่น่าจะส่งผลแต่อย่างใด ยกเว้นจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น ตรงนั้นจะส่งผลมากกว่า ซึ่งโดยพื้นฐานของคนไทยไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น เพราะคนไทยมีบุคลิกประณีประนอม ที่สำคัญคนไทยมีพระบาทสมเด็จกระเจ้าอยู่เป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นเสาหลัก ทำให้เชื่อว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้”
สำหรับปิกอัพในปีนี้คิดว่าจะมีอัตรากรเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่หากเทียบกับปีที่ผ่านมา ไม่น่าจะเติบโตสูงมากนัก โดยคาดว่าปีนี้ตลาดปิกอัพ ของอีซูซุน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.85 แสนคัน ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วที่ทำได้ 1.75 แสนคัน
สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ (สสทน.) ได้ออกแถลงการณ์ของสหพันธ์ฉบับที่ 1 วันที่ 16 มีนาคม 2549 เรื่อง...ทางออกเพื่อการยุติความขัดแย้งของสังคมไทย พ.ศ. 2549 โดยระบุว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยระหว่างคนไทย 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรี กลุ่มรัฐบาลรักษาการนำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มอดีตพรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค และกลุ่มราษฎรอาวุโส นักวิชาการ องค์กรเอกชน นักศึกษา เยาวชน
"สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ (สสทน.) องค์กรเครือข่ายธุรกิจท่องเที่ยวเอกชนภาคเหนือ 17 จังหวัด รู้สึกวิตกกังวลต่อปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งกำลังบ่อนทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวของประเทศอย่างร้ายแรง นักท่องเที่ยวของประเทศอย่างร้ายแรง นักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก เริ่มขาดความมั่นใจต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการว่างงานในธุรกิจท่องเที่ยวทุกแขนง จักต้องเกิดขึ้นเช่นเดียวกับเหตุการณ์ สึนามิฝั่งทะเลอันดามันอย่างไม่ต้องสงสัย"
ในแถลงการณ์ระบุว่า ความขัดแย้งที่กำลังเป็นอยู่ขณะนี้ มิได้เป็นเพยงวิกฤตทางการเมือง แต่ถือว่าเป็นวิกฤตความขัดแย้งของสังคมไทย โดยมีบุคคลทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว เป็นผู้มีส่วนในความขัดแย้ง แต่ละกลุ่มมีวัตถุประสงค์ มีวิธีการแก้ไขปัญหาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และไม่มีหนทางการบรรจบพบกันได้อย่างเด็ดขาด
โดยกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งสถานเดียว กลุ่มรัฐบาลให้ความสำคัญกับกลุ่มประท้วงโดยการประกาศยุบสภา และเดินหน้าหาเสียงเลือกตั้ง กลุ่มพรรคฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 และกลุ่มราษฎรอาวุโส ฯลฯ ต้องการให้มีรัฐบาลพระราชทาน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7
แถลงการณ์สสนท. กล่าวว่า แต่ละกลุ่มต่างเชื่อว่า วิธีการของกลุ่มตนคือ ความถูกต้องของสังคมไทย แม้ทุกกลุ่มต่างประกาศว่าพร้อมจะพูดจา แต่ก็มีกำแพงปิดกั้นการพูดจาเสมอ ทุกกลุ่มต่างรู้ทันเกมและต่างการได้ประโยชน์สูงสุดในเวทีพูดจา จึงเท่ากับหมดหนทางยุติความขัดแย้งของสังคมไทยโดยวิธีการพูดจาแล้ว จึงเท่ากับทุกกลุ่มต้องการเดินเข้าสู่สมรภูมิการต่อสู้จนเสียเลือดเนื้อ จนมีไฟลุกท่วมเมือง จึงเท่ากับทุกกลุ่มรอนั่งพับเพียบต่อหน้าพระพักตร์ ภายหลังการนองเลือด จึงเท่ากับทุกกลุ่มเป็นผู้เพิ่มความทุกข์แก่พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงมีพระชนน์มายุถึง 78 พรรษา จึงเท่ากับทุกกลุ่มเป็นผู้ทำลายหัวใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน ที่ต้องการเห็นพระองค์ได้ทรงพักผ่อนยามทรงชราภาพ
ทุกกลุ่มต่างมีความปรารถนาดีต่อประเทศชาติ แต่วิธีการแก้ปัญหามิได้เป็นแม้เส้นขนาน มิได้เป็นแม้งูกินหาง แต่เป็นระเบิด 4 ลูก ที่ถูกเหวี่ยงออกไปอย่างไร้ทิศทาง และย่อมหล่นลงเป็นความพินาศของสังคมไทยทั้งมวล
สหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ (สสทน.) ได้เสนอข้อเรียกร้องเพื่อยุติความขัดแย้งของสังคมไทย 10 ข้อ คือ 1.ขอประทานกราบเรียนฯพณฯองค์มนตรีทั้งคณะได้โปรดเมตตารับเป็นคนกลางเชิญแกนนำบุคคลทั้ง 4 กลุ่มมาประชุม ณ สำนักงานองคมนตรี อย่างเป็นทางการอย่างเร่งด่วน โดยไม่ปล่อยให้เป็นบทบาทของอธิการบดี หรือพีเน็ต หรือองค์กรใด เนื่องจากองค์กรเหล่านั้น ถูกมองว่าเป็นคุณเป็นโทษกับอีกกลุ่มหนึ่งเสมอ
2.ขอให้กกต.จัดการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ต่อไป ไม่จำเป็นต้องเลื่อน เพราะถึงแม้เลื่อนออกไป กลุ่มพรรคฝ่ายค้านก็ยืนยันว่ากลุ่มตนเสียเปรียบ ต้องพ่ายแพ้ และไม่ยอมลงสมัครเหมือนเดิม
3.ขอให้ท่านประธานองค์มนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือผู้ที่คณะองคมนตรีเห็นสมควร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำรัฐบาลผู้มีอำนาจเต็ม มีวาระ 14 เดือน นับจากวันที่ 3 เมษายน 2549 ถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2550 เนื่องจากทุกฝ่ายต่างทราบดีอยู่แล้วว่า สภาผู้แทนฯที่เกิดจากการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 อาจเป็นสภาพิการ สมาชิกไม่ครบองค์ประชุม หรือถึงแม้จะครบองค์ประชุมก็ยังคงถูกครหาว่าไม่สง่างาม ไม่มีการแข่งขัน ประชาชนไม่ทีทางเลือก เป็นจุดด่างดำของการเมืองไทย และหากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงย่อมไม่มีวันเลิกรา
ข้อเรียกร้องเพื่อยุติความขัดแย้งข้อของสสทน.ข้อที่ 4.ขอให้คณะรัฐบาลซึ่งมีรัฐมนตรี ซึ่งมีรัฐมนตรีผู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงจากสังคมไทย เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มทั้ง 4 และไม่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 12 เดือน แล้วประกาศให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรครั้งใหม่ในวันที่ 2 มิถุนายน 2550 หรือ 2 เดือนหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
5.ขอให้พรรคการเมืองทุกพรรคเตรียมตัวเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง 14 เดือน เพื่อลบข้อกล่าวหาว่าฝ่ายใด ได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง 6.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องยอมรับว่า การเลือกตั้งได้เกิดขึ้นแล้ว ตาที่รัฐบาลต้องการ ทั้งต้องยอมรับว่าสภาผู้แทนราษฎรหลังการเลือกตั้ง ยังถูกสังคมไทยตั้งคำถามดังเหตุผลในข้อ 3 จึงควรที่จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แม้ว่าจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบองค์ประชุมก็ตาม
7.กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ต้องยอมรับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นนายกรัฐมนตรีและไม่มีอำนาจใดๆ ในรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 สมตามที่กลุ่มต้องการแล้ว จึงต้องยุติการชุมนุมประท้วงอย่างสิ้นเชิง
ข้อเรียกร้องที่ 8.ระหว่างที่กำลังดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญและรอวันเลือกตั้งใหม่ตามข้อ 4 ทุกพรรคการเมือง มีสิทธิหาเสียง นำเสนอนโยบายของพรรคอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะรัฐบาล องคมนตรี เพื่อรักษาควบคุมความสงบเรียบร้อยของสังคมไทย
9.ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง วันที่ 2 มิถุนายน 2550 ทุกกลุ่มจักต้องเคารพผลการเลือกตั้ง ไม่ว่าพรรคใดจะชนะการเลือกตั้ง หรือผู้ใดจะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่มีการกีดกั้นสิทธิของคนไทยคนหนึ่งคนใด รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ย่อมมีสิทธิประกอบวิชาชีพนักการเมืองในฐานะคนไทยในสังคมไทยที่ถูกต้องตามกฎหมาย และ 10.สมาชิกสภาผู้แทนฯที่มาจากการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินคณะรัฐบาลองคมนตรี และมีหน้าที่ลงนามรับรองร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
สสทน.ระบุว่า การดำเนินการทั้ง 10 ข้อ ต้องถือเป็นทางออกสุดท้าย เพื่อป้องกันมิให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายทั้งก่อน หรือหลังการนองเลือด ทั้งไม่ต้องห่วงว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้รัฐธรรมนูญไม่สมบูรณ์และต้องมีการแก้ไขอย่างแน่นอนอยู่แล้ว และคนไทยไม่ต้องกังวลว่า รัฐจะต้องสูญเสียเงินอีกจำนวน 2,000 ล้านบาท เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ เพราะจำนวนเงินดังกล่าวเทียบไม่ได้กับความสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน เศรษฐกิจ และจิตใจของคนในสังคมไทย อันจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในเร็ววันนี้
แถลงการณ์ดังกล่าวมีประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือร่วมลงนาม เช่น นายพนม มีสุข ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ สมเกียรติ ชื่นธีระวงค์ ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย ฉลอง นนทพายัพ ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดพะเยา นายนฤทธิ์ อรุณศักดิ์ ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดลำปาง นายสมชัย สมทา ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดแพร่ และนายชมพูทัชน์ ศรีสัปปุริส ประธานสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดน่าน เป็นต้น
ตลาดรถไม่กระทบแม้วออก-ไม่ออก
นายเรียว ซาคาตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์การเมืองปัจจุบันอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกค้าในการชะลอการตัดสินใจซื้อรถบ้าง และเชื่อว่าหากสถานการณ์ยังไม่รุนแรงก็ไม่น่าจะวิตกมากนัก สำหรับอีซูซุ ลูกค้ายังให้ความเชื่อมั่นในการซื้อรถสูงเหมือนเดิม
“โครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานของไทยมีความแข็งแกร่งพอสมควร สถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นหากการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ ไม่รุนแรงก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์มากนัก แม้นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จะอยู่หรือไป ก็ไม่น่าจะส่งผลแต่อย่างใด ยกเว้นจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น ตรงนั้นจะส่งผลมากกว่า ซึ่งโดยพื้นฐานของคนไทยไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น เพราะคนไทยมีบุคลิกประณีประนอม ที่สำคัญคนไทยมีพระบาทสมเด็จกระเจ้าอยู่เป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นเสาหลัก ทำให้เชื่อว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้”
สำหรับปิกอัพในปีนี้คิดว่าจะมีอัตรากรเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่หากเทียบกับปีที่ผ่านมา ไม่น่าจะเติบโตสูงมากนัก โดยคาดว่าปีนี้ตลาดปิกอัพ ของอีซูซุน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.85 แสนคัน ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วที่ทำได้ 1.75 แสนคัน