กมธ.ทุจริตวุฒิจัดสัมมนา เปิดพฤติกรรมและกระบวนการทุจริต "ประทิน"ชี้ โครงสร้างสังคม-เศรษฐกิจเหลื่อมล้ำ ทำให้กลุ่มทุนทุจริตแพร่ไปสู่รากหญ้า เรียกร้องสังคมช่วยกันปราบทุจริต ระบุรัฐบาลนี้คอร์รัปชั่นมากสุด คนมีการศึกษาสูงทำตัวเป็นโจรร่วมปล้นบ้านเมือง สอนลูกให้เป็น"ดอกเตอร์ติดดิน"อย่าเป็น"ดอกเตอร์ส้นตีน"วอนประชาชนอย่าเชื่อคนง่าย ขณะที่"คุณหญิงจารุวรรณ"ชี้เส้นทางช้างเผือก ทุจริตเชิงนโยบายผู้มีอำนาจตั้งที่ปรึกษาเพื่อปัดความรับผิดชอบเป็นทอดๆ
เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (13 มี.ค.)ที่รัฐสภา กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต(กมธ.วิฯสอบทุจริต)ร่วมกับกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา จัดสัมมนาเรื่อง"เปิดพฤติกรรมและกระบวนการทุจริต"ทั้งนี้ ก่อนการสัมมนามีการแจกหนังสือ "กระบวนการโกงชาติ"ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเภทของการทุจริต 3 ประเภท คือ 1. การทุจริตเชิงนโยบาย 2. การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และ 3.การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
นอกจากนี้ยังมีการมอบประกาศเกียรติคุณเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ร่วมป้องกันและปราบปราบการทุจริตจำนวน 8 คน เช่น นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผอ.กฎหมายของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ กรณีของกรมสรรพากร
จากนั้น พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีต ส.ว.กทม.และอดีตประธานกมธ.วิสามัญสอบทุจริต ปาฐกถาเปิดงานสัมนาโดยระบุในตอนหนึ่งว่า ปัญหาคอร์รัปชัน เป็นสิ่งเลวร้าย และบั่นทอนความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ซึ่งปัญหานี้ไม่สามารถแก้ได้ในระยะสั้น ซึ่งตนมีข้อสังเกต 3 ประการ คือ 1.ความสัมพันธ์ระหว่างการคอร์รัปชั่น โครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมจะมีความเหลื่อมล้ำกันมากขึ้น จะมีผลประโยชน์ของกลุ่มทุนในอาชีพต่างๆที่จะเข้าผูกขาดทุจริต 2.ปัญหาทุจริตแพร่ระบาดไปสู่ระดับรากหญ้ามากขึ้น ไม่ว่าในโรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำรวจจราจร หรือกองทุนหมู่บ้าน ที่เจ้าหน้าที่เบียดบังเอาผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตนเอง และ 3.บทบาทของสื่อในการตีแผ่ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น มีความสำคัญมาก หากสื่อเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มทุน ก็จะทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ซึ่งข้อสังเกตทั้ง 3 ประการนี้ อยากให้ทุกคนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการปราบปรามทุจริต เพราะการทุจริตในปัจจุบันมีความซับซ้อน ใช้เทคโนโลยีสูง ไม่มีทางที่จะไปไล่กลุ่มทุนหรือกลุ่มอำนาจที่ทุจริตได้ทัน
พล.ต.อ.ประทิน กล่าวว่าปีนี้ตนอายุ 72 ปี แต่ที่ผ่านมาไม่เคยเห็นรัฐบาลชุดไหนทุจริตเท่ารัฐบาลชุดนี้ เพราะคนที่ทุจริตเป็นคนที่มีการศึกษาสูง มีชื่อเสียงในอดีต แต่กลับตัวเป็นโจร ร่วมกับโจรปล้นบ้านปล้นเมือง บางคนก็เป็นคนในรัฐบาลเอง เป็นโจรที่นั่งรถเก๋ง ซึ่งการทุจริตจะไม่เกิดขึ้น หากรัฐบาลเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาด้วยการป้องกันและลงโทษผู้กระทำความผิด แต่รัฐบาลชุดนี้ไม่เคยทำ แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศนโยบายปราบปรามการทุจริตซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็ไม่เคยปราบได้แม้แต่ครั้งเดียว ถือเป็นการโกหกประชาชน รวมไปถึงการที่กมธ.ได้ส่งรายงานการทุจริตพร้อมหลักฐานรัฐบาลก็ไม่เคยจัดการใดๆทั้งสิ้น เช่น กรณีการทุจริตจัดซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลไม่สามารถทำได้ก็ต้องมีจิตสำนึกด้วยการลาออก เพราะคนไม่รักษาคำมั่นสัญญาถือว่าใช้ไม่ได้ นอกจากนี้องค์กรอิสระทั้ง 3 องค์กร คือ ศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง และผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ก็ต้องลาออกด้วยเพราะแอบขึ้นเงินเดือนตนเองแต่ยังมีหน้ามานั่งลอยหน้าลอยตาอีก
"ผมพูดเสมอกับลูกผม 3 คน ซึ่งจบปริญญาเอกเป็นดอกเตอร์ว่า ให้ลูกเป็น"ฟูตดอกเตอร์"ลูกผมถามกลับว่าหมายความว่าอย่างไร ผมก็บอกว่า เป็นดอกเตอร์ที่ติดดิน ไม่ใช่เป็น ดอกเตอร์ส้นตีน" พล.ต.อ.ประทิน กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก พล.ต.อ.ประทิน ปาฐกถาเสร็จได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมซักถาม ซึ่งนายสัก กอแสงเรือง ส.ว.กทม.ถามว่า เมื่อเจอ ดอกเตอร์พันธุ์ใหม่ควรจะมอบอะไรให้ พล.ต.อ.ประทิน กล่าวว่า ก็ควรจะมอบ"ส้นตีน"ให้เพราะเป็น"ดอกเตอร์ส้นตีน" ซึ่งในเมืองไทยมีดอกเตอร์พันธุ์นี้มาก
จากนั้นเป็นการสัมมนาเรื่อง"การทุจริตโดยนโยบายและการทุจริตในการให้สัมปทาน"โดยมีวิทยากร คือ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(ผู้ว่าฯสตง.) นายการุณ ใสงาม ส.ว.บุรีรัมย์ กมธ. นายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น และ พล.ต.ต.วีระ อนันตกูล ส.ว.ชลบุรี รองประธานกมธ.วิสามัญสอบทุจริต โดยคุณหญิงจารุวรรณ กล่าวว่า การทุจริตเชิงนโยบาย หมายถึง การแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบ ระดับอภิมหาอทินนาทาน แปลว่า การปล้นทรัพย์ขนานใหญ่ มีวิธีการแต่ละขั้นตอนโดยอาศัยรูปแบบของกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการ โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์แต่ถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วจะเห็นว่ามีการซ่อนเงื่อนการทุจริตในกฎหมายนั้นเอง ทั้งนี้จะเกิดในประเทศที่ฝ่ายบริหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดครอบงำเหนือฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตรวจสอบ
ในรัฐบาลนี้ การทุจริตเชิงนโยบายเกิดขึ้นจนกลายเป็นที่ยอมรับโดยปริยายไปแล้ว หลายเรื่องที่ กมธ.สอบสวนมีลักษณะถูกกำหนดมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้ วิธีการทุจริตดังกล่าวเรียกว่า "เส้นทางช้างเผือก" เริ่มจากการให้สัมปทานโครงการต่างๆ ที่มีการสั่งการจากเบื้องบน ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจ ซึ่งระดับล่างลงมาก็รับกันเป็นต่อๆ การจัดซื้อจัดจ้างหลายโครงการมีการสร้างระบบเซียน หรือ ระบบคอนซัลแทน (ที่ปรึกษา)ที่เป็นตัวแทนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากีดกันผู้ประมูลรายอื่น ทั้งนี้ กมธ.ตรวจรายงานการประชุมอนุมัติโครงการหลายโครงการจะพบโมเดลใหม่เริ่มตั้งแต่ ผู้มีอำนาจสั่งการและตั้งคอนซัลแทน จากนั้นคอนซัลแทนจะส่งคำเสนอไปให้คณะกรรมการพิจารณาประกวดราคา จากนั้นส่งไปคณะกรรมการบริหารออกเป็นมติแล้วจึงส่งไปให้ผู้บริหารในกระทรวง เมื่อ สตง.ไปตรวจไล่ดูพบว่า มีการอ้างเป็นต่อๆว่า คอนซัลแทนเสนอว่าอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายพอไปถามคอนซัลแทนก็ได้รับคำตอบว่า ตนเองมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเท่านั้นคณะกรรมการมีสิทธิที่จะรับหรือไม่รับก็ได้ คือเป็นการปัดความรับผิดชอบเป็นทอดๆ
"การทุจริตเชิงนโยบายมีลักษณะเริ่มจาก กำหนดนโยบายที่จะทำโครงการหรือกิจการขึ้นโดยองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐหรือรับาล ที่อ้างความชอบธรรมเพื่อประเทศชาติ จากนั้นจะมีการดำเนินการในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับโครงการนั้นๆ ให้มีความชอบธรรมด้วยกฎหมายหรือกฎระเบียบ สุดท้ายไม่ว่าข้ออ้างความจำเป็นจะเป็นประโยชน์จากการกำหนดนโยบายจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ผลประโยชน์ที่มิควรได้จะเกิดขึ้นกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อาจเป็นผู้อยู่เบื้องหลังหรือพวกพ้อง ญาติมิตรของผู้อยู่เบื้องหลังการกำหนดนโยบายดังกล่าว"คุณหญิงจาวรรณ กล่าว
นายการุณ กล่าวว่า การทุจริตในปัจจุบันใช้วิธีการเปลี่ยนนโยบายธรรมดาเป็นนโยบายเชิงกฎหมาย เช่น การทุจริตบัตรโดยสารเครื่องบินการบินไทยที่ลอนดอนหมื่นกว่าล้านบาท เมื่อมีการตั้งกรรมการสอบ ก็ลงโทษฝรั่งเพียงคนเดียว ส่วนเจ้าหน้าที่ไทยก็เก็บไว้ใช้งานสำหรับแอร์เอเชีย ซึ่งเส้นทางไหนได้กำไรก็ให้แอร์เอชียมาบินแทน ภายหลังแม้เส้นทางไหนไม่ได้กำไร ก็มีการขอเส้นทางนั้นเพื่อจะได้ซื้อฝูงบินเพิ่มกินคอมมิชชั่น 3 % คือราว 3,000 ล้านบาท ซึ่งคอมมิชชั่นนี้ ถูกกฎหมายในต่างประเทศแต่ผิดกฎหมายไทย หรือโครงการต่างๆในสนามบินสุวรรณภูมิก็มีการทุจริตมาก ที่ทราบมารัฐบาลนี้มีการหักค่าคอมมิชั่นไม่ต่ำกว่า 10 % ส่วนเรื่องเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ถือเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย เพราะมีบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรที่ทั้งล็อกสเปก และฮั้ว กมธ.สอบเรื่องนี้พบว่า มีการใช้การการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ เนื่องจากนโยบายเร่งเปิดสนามบิน ทำให้ไม่มีคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ตั้งราคากลางเพื่อต่อรองราคา จึงถือว่า ผิดพ.ร.บ.ฮั้ว กรณีซีทีเอ็กซ์ สามารถเอาผิดตั้งแต่ผู้ว่าการการท่าอากาศยาน คณะกรรมการบริหาร และอดีตข้าราชการระดับสูงในกระทรวงคมนาคม
นายการุณ กล่าวว่า ถ้าอยากรู้เรื่องการทุจริตให้ไปดูการใช้อำนาจบริหารในการครอบงำวุฒิสภา อย่างกรณีที่มีการแก้ไข พ.ร.บ.การลงทุนของต่างชาติจากเดิม 25 % เป็น 49 % จะเห็นชัดเลยว่า การผ่านมติคือเสียงส่วนใหญ่ที่ลงมติเหมือนเกือบ 100 % ตามใบสั่งเพื่อผ่าน พ.ร.บ.ดังกล่าวมีเพียง ส.ว.ประมาณ 30- 40 คน เท่านั้นที่คัดค้าน ด้วยเหตุนี้จึงมีข่าวการรับเงินเดือนจากรัฐบาล หรือบางทีก็รับเป็นชิ้นงาน เห็นปรากฏการณ์ทำให้องค์การตรวจสอบไม่สามารถทำงานได้ พฤติกรรมเชนนี้ยังสมควรที่จะให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้มีรัฐบาลนี้เข้ามาอีกหรือไม่ โดยทางออกที่ควรเป็นคือต้องแก้ไขกลไกให้ ส.ว.องค์กรอิสระทำงานตรวจสอบได้ ให้กลไกของรัฐสภาทำงานได้ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ก่อนจึงจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ไม่ดีกว่าหรือ
นายวีระ กล่าวว่า ข้อสังเกตที่ชัดที่สุดในการทุจริตเชิงนโยบาย คือ ทุกเรื่องจะต้องอ้างความจำเป็นและความต้องการของประชาชน ซึ่งถือว่านักการเมืองและข้าราชการระดับสูงมีความคิดแยบยล ซับซ้อนซ่อนเงื่อนแนบเนียนยากที่จะตาม ในอดีตตั้งแต่โครงการนมโรงเรียนที่อ้างเหตุผลสวยหรู แต่ปรากฎว่ามีการกินกันหลายชั้น โครงการช่วยเกษตรกรหลังภัยธรรมชาติก็เกิดปุ๋ยปลอม หรือโครงการจำนำลำไย และจำนำข้าว ดังนั้นขอให้จับตาโครงการที่มีการอ้างกันบ่อยๆว่า"จำเป็น หรือจำเป็นเร่งด่วน"
นายวีระ กล่าวต่อว่า ความแตกต่างของการทุจริตของรัฐบาลในอดีตกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ คือ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ กินคำโตกว่า มูมมามกว่า ชักเปอร์เซ็นต์สูงกว่า ซึ่งนายเสนาะ เทียนทอง อดีตประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย พูดในงานศาลจำลอง ที่จัดโดยศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมาชัดว่า แต่ละโครงการมีการชัดไม่ต่ำกว่า 10 % ซึ่งคนอย่างอดีตประธานที่ปรึกษาพรรคพูดแล้วจะฟังไม่ได้เลยหรือ ทั้งนี้แม้นายกฯ จะประกาศปราบคอร์รัปชั่น ถามว่าหากนายกฯ โกงเองจะจับตัวเองหรือไม่ ดังนั้นประชาชนต้องช่วยกันจับ อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาพอประชาชนกำลังจะไล่ทันก็มีการยุบสภา
ส่วนการทำเอฟทีเอ คนได้ประโยชน์คือพวกที่สนับสนุนพรรคไทนรักไทย ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เกษตรของซีพี อะไหล่รถยนต์ กิจการโทรคมนาคม แต่เกษตรกรรากหญ้าเป็นหมื่นรายเสียหาย
พล.ต.ต.วีระ กล่าวว่า อุปสรรคสำคัญของการปราบทุจริต คือ องค์กรตรวจสอบที่เป็นองค์กรอิสระต่างๆทำงานไม่ได้ ซึ่งปัญหานี้ต้องดูไปถึงวุฒิสภาที่เป็นผู้แต่งตั้งองค์เหล่านี้ซึ่งที่ผ่านมาก็ปรากฎข่าวมี ส.ว.รับกลางสภาว่า มี ส.ว.ได้รับเงินเดือนหรือรับเงินเป็นงานๆจากรัฐบาล นอกจากนี้ส.ว.คนหนึ่งยังเล่าให้ตนฟังว่า เดินๆอยู่ในสภาก็มีส.ว.เอาซองมายัดใส่ในปกเสื้อ พอเปิดออกดูก็ปรากฎว่ามีเงิน 30,000 บาท หลังจากนั้นก็มีลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีกครั้งโดยใส่ซองมา 20,000 บาท ภายหลังก็มีการมาขอให้ลงมติเรื่องต่างๆ ตามที่จะขอ
พล.ต.ต.วีระ กล่าวต่อว่า ส่วนการทำงานของกมธ.ซึ่งสอบสวนหลายโครงการก็พบหลักฐานแน่นหนาสามารถเอาผิดได้ แต่พอรายงานไปยังเจ้ากระทรวงนั้นๆพอมีการตั้งกรรมการสอบผลกลับออกมาว่าไม่มีใครผิดซึ่งเป็นเรื่องแปลก ประกอบกับขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มาปีกว่า ทำให้มีเรื่องค้างเป็นหมื่นเรื่องจึงกลายเป็นว่า การจัดการเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นโจรในเครื่องแบบก็มาค้างอยู่ที่นี่
เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (13 มี.ค.)ที่รัฐสภา กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต(กมธ.วิฯสอบทุจริต)ร่วมกับกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา จัดสัมมนาเรื่อง"เปิดพฤติกรรมและกระบวนการทุจริต"ทั้งนี้ ก่อนการสัมมนามีการแจกหนังสือ "กระบวนการโกงชาติ"ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเภทของการทุจริต 3 ประเภท คือ 1. การทุจริตเชิงนโยบาย 2. การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และ 3.การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
นอกจากนี้ยังมีการมอบประกาศเกียรติคุณเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ร่วมป้องกันและปราบปราบการทุจริตจำนวน 8 คน เช่น นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผอ.กฎหมายของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ กรณีของกรมสรรพากร
จากนั้น พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีต ส.ว.กทม.และอดีตประธานกมธ.วิสามัญสอบทุจริต ปาฐกถาเปิดงานสัมนาโดยระบุในตอนหนึ่งว่า ปัญหาคอร์รัปชัน เป็นสิ่งเลวร้าย และบั่นทอนความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ซึ่งปัญหานี้ไม่สามารถแก้ได้ในระยะสั้น ซึ่งตนมีข้อสังเกต 3 ประการ คือ 1.ความสัมพันธ์ระหว่างการคอร์รัปชั่น โครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมจะมีความเหลื่อมล้ำกันมากขึ้น จะมีผลประโยชน์ของกลุ่มทุนในอาชีพต่างๆที่จะเข้าผูกขาดทุจริต 2.ปัญหาทุจริตแพร่ระบาดไปสู่ระดับรากหญ้ามากขึ้น ไม่ว่าในโรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำรวจจราจร หรือกองทุนหมู่บ้าน ที่เจ้าหน้าที่เบียดบังเอาผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตนเอง และ 3.บทบาทของสื่อในการตีแผ่ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น มีความสำคัญมาก หากสื่อเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มทุน ก็จะทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ซึ่งข้อสังเกตทั้ง 3 ประการนี้ อยากให้ทุกคนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการปราบปรามทุจริต เพราะการทุจริตในปัจจุบันมีความซับซ้อน ใช้เทคโนโลยีสูง ไม่มีทางที่จะไปไล่กลุ่มทุนหรือกลุ่มอำนาจที่ทุจริตได้ทัน
พล.ต.อ.ประทิน กล่าวว่าปีนี้ตนอายุ 72 ปี แต่ที่ผ่านมาไม่เคยเห็นรัฐบาลชุดไหนทุจริตเท่ารัฐบาลชุดนี้ เพราะคนที่ทุจริตเป็นคนที่มีการศึกษาสูง มีชื่อเสียงในอดีต แต่กลับตัวเป็นโจร ร่วมกับโจรปล้นบ้านปล้นเมือง บางคนก็เป็นคนในรัฐบาลเอง เป็นโจรที่นั่งรถเก๋ง ซึ่งการทุจริตจะไม่เกิดขึ้น หากรัฐบาลเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาด้วยการป้องกันและลงโทษผู้กระทำความผิด แต่รัฐบาลชุดนี้ไม่เคยทำ แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศนโยบายปราบปรามการทุจริตซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็ไม่เคยปราบได้แม้แต่ครั้งเดียว ถือเป็นการโกหกประชาชน รวมไปถึงการที่กมธ.ได้ส่งรายงานการทุจริตพร้อมหลักฐานรัฐบาลก็ไม่เคยจัดการใดๆทั้งสิ้น เช่น กรณีการทุจริตจัดซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลไม่สามารถทำได้ก็ต้องมีจิตสำนึกด้วยการลาออก เพราะคนไม่รักษาคำมั่นสัญญาถือว่าใช้ไม่ได้ นอกจากนี้องค์กรอิสระทั้ง 3 องค์กร คือ ศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง และผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ก็ต้องลาออกด้วยเพราะแอบขึ้นเงินเดือนตนเองแต่ยังมีหน้ามานั่งลอยหน้าลอยตาอีก
"ผมพูดเสมอกับลูกผม 3 คน ซึ่งจบปริญญาเอกเป็นดอกเตอร์ว่า ให้ลูกเป็น"ฟูตดอกเตอร์"ลูกผมถามกลับว่าหมายความว่าอย่างไร ผมก็บอกว่า เป็นดอกเตอร์ที่ติดดิน ไม่ใช่เป็น ดอกเตอร์ส้นตีน" พล.ต.อ.ประทิน กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก พล.ต.อ.ประทิน ปาฐกถาเสร็จได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมซักถาม ซึ่งนายสัก กอแสงเรือง ส.ว.กทม.ถามว่า เมื่อเจอ ดอกเตอร์พันธุ์ใหม่ควรจะมอบอะไรให้ พล.ต.อ.ประทิน กล่าวว่า ก็ควรจะมอบ"ส้นตีน"ให้เพราะเป็น"ดอกเตอร์ส้นตีน" ซึ่งในเมืองไทยมีดอกเตอร์พันธุ์นี้มาก
จากนั้นเป็นการสัมมนาเรื่อง"การทุจริตโดยนโยบายและการทุจริตในการให้สัมปทาน"โดยมีวิทยากร คือ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(ผู้ว่าฯสตง.) นายการุณ ใสงาม ส.ว.บุรีรัมย์ กมธ. นายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น และ พล.ต.ต.วีระ อนันตกูล ส.ว.ชลบุรี รองประธานกมธ.วิสามัญสอบทุจริต โดยคุณหญิงจารุวรรณ กล่าวว่า การทุจริตเชิงนโยบาย หมายถึง การแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบ ระดับอภิมหาอทินนาทาน แปลว่า การปล้นทรัพย์ขนานใหญ่ มีวิธีการแต่ละขั้นตอนโดยอาศัยรูปแบบของกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการ โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์แต่ถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วจะเห็นว่ามีการซ่อนเงื่อนการทุจริตในกฎหมายนั้นเอง ทั้งนี้จะเกิดในประเทศที่ฝ่ายบริหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดครอบงำเหนือฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตรวจสอบ
ในรัฐบาลนี้ การทุจริตเชิงนโยบายเกิดขึ้นจนกลายเป็นที่ยอมรับโดยปริยายไปแล้ว หลายเรื่องที่ กมธ.สอบสวนมีลักษณะถูกกำหนดมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้ วิธีการทุจริตดังกล่าวเรียกว่า "เส้นทางช้างเผือก" เริ่มจากการให้สัมปทานโครงการต่างๆ ที่มีการสั่งการจากเบื้องบน ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจ ซึ่งระดับล่างลงมาก็รับกันเป็นต่อๆ การจัดซื้อจัดจ้างหลายโครงการมีการสร้างระบบเซียน หรือ ระบบคอนซัลแทน (ที่ปรึกษา)ที่เป็นตัวแทนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากีดกันผู้ประมูลรายอื่น ทั้งนี้ กมธ.ตรวจรายงานการประชุมอนุมัติโครงการหลายโครงการจะพบโมเดลใหม่เริ่มตั้งแต่ ผู้มีอำนาจสั่งการและตั้งคอนซัลแทน จากนั้นคอนซัลแทนจะส่งคำเสนอไปให้คณะกรรมการพิจารณาประกวดราคา จากนั้นส่งไปคณะกรรมการบริหารออกเป็นมติแล้วจึงส่งไปให้ผู้บริหารในกระทรวง เมื่อ สตง.ไปตรวจไล่ดูพบว่า มีการอ้างเป็นต่อๆว่า คอนซัลแทนเสนอว่าอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายพอไปถามคอนซัลแทนก็ได้รับคำตอบว่า ตนเองมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเท่านั้นคณะกรรมการมีสิทธิที่จะรับหรือไม่รับก็ได้ คือเป็นการปัดความรับผิดชอบเป็นทอดๆ
"การทุจริตเชิงนโยบายมีลักษณะเริ่มจาก กำหนดนโยบายที่จะทำโครงการหรือกิจการขึ้นโดยองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐหรือรับาล ที่อ้างความชอบธรรมเพื่อประเทศชาติ จากนั้นจะมีการดำเนินการในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับโครงการนั้นๆ ให้มีความชอบธรรมด้วยกฎหมายหรือกฎระเบียบ สุดท้ายไม่ว่าข้ออ้างความจำเป็นจะเป็นประโยชน์จากการกำหนดนโยบายจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ผลประโยชน์ที่มิควรได้จะเกิดขึ้นกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อาจเป็นผู้อยู่เบื้องหลังหรือพวกพ้อง ญาติมิตรของผู้อยู่เบื้องหลังการกำหนดนโยบายดังกล่าว"คุณหญิงจาวรรณ กล่าว
นายการุณ กล่าวว่า การทุจริตในปัจจุบันใช้วิธีการเปลี่ยนนโยบายธรรมดาเป็นนโยบายเชิงกฎหมาย เช่น การทุจริตบัตรโดยสารเครื่องบินการบินไทยที่ลอนดอนหมื่นกว่าล้านบาท เมื่อมีการตั้งกรรมการสอบ ก็ลงโทษฝรั่งเพียงคนเดียว ส่วนเจ้าหน้าที่ไทยก็เก็บไว้ใช้งานสำหรับแอร์เอเชีย ซึ่งเส้นทางไหนได้กำไรก็ให้แอร์เอชียมาบินแทน ภายหลังแม้เส้นทางไหนไม่ได้กำไร ก็มีการขอเส้นทางนั้นเพื่อจะได้ซื้อฝูงบินเพิ่มกินคอมมิชชั่น 3 % คือราว 3,000 ล้านบาท ซึ่งคอมมิชชั่นนี้ ถูกกฎหมายในต่างประเทศแต่ผิดกฎหมายไทย หรือโครงการต่างๆในสนามบินสุวรรณภูมิก็มีการทุจริตมาก ที่ทราบมารัฐบาลนี้มีการหักค่าคอมมิชั่นไม่ต่ำกว่า 10 % ส่วนเรื่องเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ถือเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย เพราะมีบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรที่ทั้งล็อกสเปก และฮั้ว กมธ.สอบเรื่องนี้พบว่า มีการใช้การการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ เนื่องจากนโยบายเร่งเปิดสนามบิน ทำให้ไม่มีคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ตั้งราคากลางเพื่อต่อรองราคา จึงถือว่า ผิดพ.ร.บ.ฮั้ว กรณีซีทีเอ็กซ์ สามารถเอาผิดตั้งแต่ผู้ว่าการการท่าอากาศยาน คณะกรรมการบริหาร และอดีตข้าราชการระดับสูงในกระทรวงคมนาคม
นายการุณ กล่าวว่า ถ้าอยากรู้เรื่องการทุจริตให้ไปดูการใช้อำนาจบริหารในการครอบงำวุฒิสภา อย่างกรณีที่มีการแก้ไข พ.ร.บ.การลงทุนของต่างชาติจากเดิม 25 % เป็น 49 % จะเห็นชัดเลยว่า การผ่านมติคือเสียงส่วนใหญ่ที่ลงมติเหมือนเกือบ 100 % ตามใบสั่งเพื่อผ่าน พ.ร.บ.ดังกล่าวมีเพียง ส.ว.ประมาณ 30- 40 คน เท่านั้นที่คัดค้าน ด้วยเหตุนี้จึงมีข่าวการรับเงินเดือนจากรัฐบาล หรือบางทีก็รับเป็นชิ้นงาน เห็นปรากฏการณ์ทำให้องค์การตรวจสอบไม่สามารถทำงานได้ พฤติกรรมเชนนี้ยังสมควรที่จะให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้มีรัฐบาลนี้เข้ามาอีกหรือไม่ โดยทางออกที่ควรเป็นคือต้องแก้ไขกลไกให้ ส.ว.องค์กรอิสระทำงานตรวจสอบได้ ให้กลไกของรัฐสภาทำงานได้ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ก่อนจึงจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ไม่ดีกว่าหรือ
นายวีระ กล่าวว่า ข้อสังเกตที่ชัดที่สุดในการทุจริตเชิงนโยบาย คือ ทุกเรื่องจะต้องอ้างความจำเป็นและความต้องการของประชาชน ซึ่งถือว่านักการเมืองและข้าราชการระดับสูงมีความคิดแยบยล ซับซ้อนซ่อนเงื่อนแนบเนียนยากที่จะตาม ในอดีตตั้งแต่โครงการนมโรงเรียนที่อ้างเหตุผลสวยหรู แต่ปรากฎว่ามีการกินกันหลายชั้น โครงการช่วยเกษตรกรหลังภัยธรรมชาติก็เกิดปุ๋ยปลอม หรือโครงการจำนำลำไย และจำนำข้าว ดังนั้นขอให้จับตาโครงการที่มีการอ้างกันบ่อยๆว่า"จำเป็น หรือจำเป็นเร่งด่วน"
นายวีระ กล่าวต่อว่า ความแตกต่างของการทุจริตของรัฐบาลในอดีตกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ คือ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ กินคำโตกว่า มูมมามกว่า ชักเปอร์เซ็นต์สูงกว่า ซึ่งนายเสนาะ เทียนทอง อดีตประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย พูดในงานศาลจำลอง ที่จัดโดยศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมาชัดว่า แต่ละโครงการมีการชัดไม่ต่ำกว่า 10 % ซึ่งคนอย่างอดีตประธานที่ปรึกษาพรรคพูดแล้วจะฟังไม่ได้เลยหรือ ทั้งนี้แม้นายกฯ จะประกาศปราบคอร์รัปชั่น ถามว่าหากนายกฯ โกงเองจะจับตัวเองหรือไม่ ดังนั้นประชาชนต้องช่วยกันจับ อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาพอประชาชนกำลังจะไล่ทันก็มีการยุบสภา
ส่วนการทำเอฟทีเอ คนได้ประโยชน์คือพวกที่สนับสนุนพรรคไทนรักไทย ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เกษตรของซีพี อะไหล่รถยนต์ กิจการโทรคมนาคม แต่เกษตรกรรากหญ้าเป็นหมื่นรายเสียหาย
พล.ต.ต.วีระ กล่าวว่า อุปสรรคสำคัญของการปราบทุจริต คือ องค์กรตรวจสอบที่เป็นองค์กรอิสระต่างๆทำงานไม่ได้ ซึ่งปัญหานี้ต้องดูไปถึงวุฒิสภาที่เป็นผู้แต่งตั้งองค์เหล่านี้ซึ่งที่ผ่านมาก็ปรากฎข่าวมี ส.ว.รับกลางสภาว่า มี ส.ว.ได้รับเงินเดือนหรือรับเงินเป็นงานๆจากรัฐบาล นอกจากนี้ส.ว.คนหนึ่งยังเล่าให้ตนฟังว่า เดินๆอยู่ในสภาก็มีส.ว.เอาซองมายัดใส่ในปกเสื้อ พอเปิดออกดูก็ปรากฎว่ามีเงิน 30,000 บาท หลังจากนั้นก็มีลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีกครั้งโดยใส่ซองมา 20,000 บาท ภายหลังก็มีการมาขอให้ลงมติเรื่องต่างๆ ตามที่จะขอ
พล.ต.ต.วีระ กล่าวต่อว่า ส่วนการทำงานของกมธ.ซึ่งสอบสวนหลายโครงการก็พบหลักฐานแน่นหนาสามารถเอาผิดได้ แต่พอรายงานไปยังเจ้ากระทรวงนั้นๆพอมีการตั้งกรรมการสอบผลกลับออกมาว่าไม่มีใครผิดซึ่งเป็นเรื่องแปลก ประกอบกับขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มาปีกว่า ทำให้มีเรื่องค้างเป็นหมื่นเรื่องจึงกลายเป็นว่า การจัดการเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นโจรในเครื่องแบบก็มาค้างอยู่ที่นี่