ปชป.รุกจี้ฝ่ายความมั่นคง ทหาร-ตำรวจ เรียก"เทมาเส็ก"มาลงนาข้อตกลง ป้องกันการบ่อนทำลายความมั่นคง- ครอบงำเศรษฐกิจ ยุให้เลิกใช้เอไอเอส ด้านอดีตทูตสิงคโปร์ แฉ "ทักษิณ"ถอดแบบวิธีคิด "ทุนนิยมรัฐ"ยึดบริหารเศรษฐกิจ 2 มาตรฐาน ทำลายระบบข้าราชการ ตัดกำัลังตรวจสอบฝ่ายค้าน ยุฟ้องอาญา มาตรา 157 "ชินวัตร -ดามาพงษ์"เลี่ยงภาษีทุจริตผลประโยชน์ส่วนรวม
วานนี้ (13 มี.ค.)โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดเสวนาหัวข้อ "The Ides of March : ตุมาสิก/เทมาเส็ก-ชินคอร์ป และเมืองไทยหลังทักษิณ" โดยมีนายอัษฎา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตประจำประเทศสิงคโปร์ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ คณะทำงานด้านกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวเรียกร้องกองทุนเทมาเส็กในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เครือชินคอร์ป ร่วมลงนามข้อตกลงความมั่นคง เพราะการที่บริษัทเทมาเส็กเข้ามาซื้อหุ้นชินคอร์ปฯ โดยเฉพาะกิจการโทรคมนาคม ที่บริษัทเอไอเอส มีสัมปทานกับองค์การโทรศัพท์ที่เป็นของรัฐ เป็นธุรกิจที่กระทบต่อความมั่นคง โดยเฉพาะไอทีวี กิจการการสื่อสาร ที่สามารถดักฟังโทรศัพท์ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางทหาร และตำรวจ ทำหน้าที่ของตัวเองด้วยการเรียกกองทุนเทเส็กมาลงนามฯให้เรียบร้อย
พร้อมกันนี้ขอเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันปฏิเสธสินค้าของเครือชินคอร์ปฯ เนื่องจากรายได้หลักของกลุ่มชินคอร์ปเกิดจากธุรกิจแม่ที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ที่มีลูกค้ากว่า 10 ล้านราย หากร่วมกันบอยคอตแค่ครึ่งหนึ่งก็จะทำให้หุ้นชินฯ ตกถึงร้อยละ 30 แน่นอน และเมื่อนั้นหุ้นก็จะตกลงมาอยู่ในราคา 12 บาทเท่าเดิม
"ตอนนี้รัฐบาลสิงคโปร์ซื้อหุ้นจากลูกชายและลูกสาวนายกฯ หุ้นละ 49 บาท ซึ่งถือว่าแพง เพราะสิงคโปร์ เชื่อมั่นคุณโอ๊คจะทำให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช) ยกเลิกสัมปทานมาเป็นใบอนุญาตได้ในอนาคต" นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว และว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้ทำลายระบบข้าราชการไทย ภายหลังที่เข้ามารับตำแหน่งนายกฯ เพียง 6 เดือน โดยเห็นได้จากการเข้ามาแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจตัวเอง ถือเป็นการรายจ่ายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง เพราะหุ้นกลุ่มชินหุ้นอย่าเห็นได้ชัด ทั้งยังบังคับให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม เข้าไปซื้อหุ้นกลุ่มชินฯ พอหุ้นในกลุ่มชินฯ เริ่มตก ก็สั่งให้กองทุนเหล่านี้เข้าไปซื้อ
"การกระทำเหล่านี้ทำให้ต่างชาติ ทั้งหัวขาว หัวดำ เข้ามาซื้อหุ้นของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอย่างมาก จากการสังเกตในช่วงที่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ หุ้นของกลุ่มชินฯ ก็จะขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากเข้าไปขยายมาเก็ตแค็ปในตลาด"
สิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่งภายหลังที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากตำแหน่งแล้ว นั่นคือ ระบอบทักษิณยังคงอยู่ เพราะทักษิณ ตลอดชีวิตใช้นอมินีมาโดยตลอด ตั้งแต่การซุกหุ้น ให้คนใช้และคนขับรถถือแทน หรือการให้ต่างชาติถือหุ้นแทนในกรณีบริษัทแอมเพิลริช ในขณะนี้คาดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังคิดว่าจะให้ใครเป็นนายกฯ นอมินีแทน อาจจะเป็นนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ก็ได้
"วันนี้คุณทักษิณพยายามตะแบงว่า พระเปรมศักดิ์ ยังมีคุณสมบัติการเป็น ส.ส.อยู่ โดยนับจากวันสมัคร ทั้งยังพรรคประชากรไทยเป็นนอมินีอีกพรรคหนึ่ง โดยอาจจะผลักคะแนนให้กับพรรคประชากรไทยเพื่อให้ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ หรือได้คะแนนถึง 1.6 ล้านคะแนน เพื่อความชอบธรรมของตัวเอง"นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
ทางด้านนายอัษฎา กล่าวว่า อยากเน้นย้ำการปฏิบัติสองมาตรฐานทางเศรษฐกิจ ของสิงคโปร์ รวมทั้งความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลสิงคโปร์ และการขายหุ้นชินคอร์ป กับการพัฒนาประเทศของสิงคโปร์ และเมืองไทยหลังการจากไปของพ.ต.ท.ทักษิณ
กองทุนเทมาเส็กเป็นของรัฐบาลสิงคโปร์โดยตรง ไม่ได้เป็นเอกชนที่มีความอิสระจะทำอะไรไม่ได้ หากรัฐบาลไม่เห็นด้วย การที่เข้ามาซื้อหุ้นชินฯ เพราะรัฐบาลต้องการเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นทุนนิยมของรัฐที่เข้ามาครอบงำเศรษฐกิจไทย ก่อนที่กองทุนเทมาเส็ก จะเข้าซื้อหุ้นชินคอร์ป ได้ศึกษาปัญหาที่จะเกิดเป็นอย่างดี แต่ก็มั่นใจว่า จะไม่มีปัญหา เพราะชื่อจะแก้ได้ โดยยึดในเครดิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่สามารถจัดการปัญหาได้ แม้ว่าหุ้นชินฯ ที่นายกฯอ้างเสมอว่าไม่ใช่ของตัวเอง แต่เป็นของลูกๆ ตนขอถามว่าตอนที่เจรจากับกองทุนเทมาเส็ก ใครจะเป็นคนเจรจาถ้าไม่ใช่พ.ต.ท.ทักษิณ
"ในอดีตที่ผ่านรัฐบาลสิงคโปร์มีพฤติกรรมเอาเปรียบและเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐานมาโดยตลอด เช่น กรณีการลักลอบขนแร่ดีบุกจากไทยไปที่ขายที่สิงคโปร์ หรือการที่สิงคโปร์ลักลอบขายน้ำมันให้นักการเมืองไทย ก็ไม่เคยใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำความผิดในสิงคโปร์ แต่ผลักไสให้รัฐบาลไทยเป็นผู้ควบคุมเสียเอง นอกจากนี้กรณีการเอาผิดแรงงาน เอาผิดแรงงานแทนที่จะใช้กฎหมายแรงงาน แต่กลับไปใช้กฎหมายตรวจคนเข้าเมืองแทน เพื่อไม่ให้นายจ้างที่เป็นคนสิงคโปร์ได้รับโทษ ให้แรงงานก็ไม่เคยมีคำสั่งกฎหมายลงโทษผู้ที่ละเมิด สิ่งที่ปรากฎนี้เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลสิงคโปร์ไม่เคยจะเสียเปรียบใคร"
นายอัษฎา ยังกล่าวอีกว่า ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ระบบข้าราชการถูกทำลายอย่างยับเยิน แม้กระทั่งกระทรวงการต่างประเทศที่เราเคยภูมิใจ เพราะสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ แต่ในสมัยรัฐบาลทักษิณ กลับมีแต่คำสั่งอย่างเดียว ทำให้ข้าราชการต้องขายตัว ถือเป็นโสเภณีชั้นเลว เขาสั่งอะไรก็ทำให้หมดเป็นเรื่องหน้าเศร้า
นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณ และนายลี กวน ยู อดีตผู้นำสิงคโปร์ ที่ให้ความสำคัญจนกระทั่งเป็นคนไทยคนเดียว ที่นายลีกวนยู เชิญไปร่วมแลกเปลี่ยน เพราะเห็นว่าเป็นนักการเมืองคนเดียวที่มีอำนาจและเงิน ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เลื่อมใสในระบบการเมืองการปกครองสิงคโปร์ ที่ต้องการนิ่ง ฝ่ายค้านอ่อนแอ ซึ่งเป็นสไตล์การบริหารประเทศ ที่รัฐบาลจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบข้าราชการ
วันเดียวกันที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเสวนาเรื่อง กรณีการซื้อขายหุ้นชินฯ กับปัญหาการเสียภาษีหุ้น "ชินคอร์ป" โดยรศ.ดร.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การขายหุ้น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับ กองทุนเทมาเส็กทำให้ได้เงิน 7.3 หมื่นล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมิน ที่ต้องเสียภาษี จะพบว่าเป็นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องมี 2 ธุรกรรมคือ 1. ธุรกรรมซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด กับ 2. ธุรกรรมขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีความรับผิดชอบในการเสียภาษีเงินได้ ของแต่ละธุรกรรมอาจคิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายภาษีถึง 5-6 พันล้านบาท หากอิงคำวินิจฉัยที่ต้องเสียภาษี ประโยชน์ที่ได้จากการขายหุ้น
"คนที่จะวินิจฉัยได้ดีที่สุดคือ ศาลยุติธรรมประชาชนจะยอมรับคำวินิจฉัย ไม่ใช่กรมสรรพากร เพราะคำวินิจฉัยประเมินการเสียหรือไม่เสียภาษีของกรมสรรพากรไม่ใช่กฎหมาย แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ใครที่มีอำนาจหน้าที่เหนือกว่าให้ศาลยุติธรรมวินิจฉัยได้อย่างไร" รศ.ดร.นิติพันธุ์ กล่าว
รศ.ดร.สุเมธ ศิริกุลโชติ คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นกฎหมายมหาชน ไม่ใช่กฎหมายเอกชนในทางกฎหมายอาญาอาจจะมีความผิดตาม ม.157 ในฐานหลีกเลี่ยงภาษีเป็นการกระทำโดยทุจริตแสวงหาประโยชน์มิควรได้ แต่ติดปัญหาตรงที่ว่า ยังไม่มีการดำเนินการว่าใครจะเป็นโจทย์ยื่นฟ้องร้องที่เป็นผู้เสียประโยชน์โดยตรง แต่ถ้ามีการฟ้องร้องกรมสรรพากรได้ และเชื่อว่าอัยการสูงสุด ที่เป็นทนายแผ่นดินอาจจะรับฟ้อง
"อาจจะใช้มาตรา 157 กฎหมายอาญาฟ้องร้องกรมสรรพากรได้ ทำไมไม่เก็บภาษี เช่น กรณีเราไม่เคยมีใครฟ้องร้องตำรวจว่าเวลาไม่จับคนขับรถฝ่าไฟแดง ต้องมีความผิดที่ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้ามีใครฟ้องก็ทำได้" รศ.ดร.สุเมธ กล่าว ขณะที่อดีตเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร คนหนึ่งกล่าวว่า คำแถลงหรือหนังสือตอบของกรมสรรพากร ที่อ้างว่าการขายหุ้นของชินฯ ให้กับกองทุนเทมาเซก ไม่ใช่กฎหมายสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อาจจะยกเลิกก็ได้ เป็นเพียงความเห็นเท่านั้น
วานนี้ (13 มี.ค.)โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดเสวนาหัวข้อ "The Ides of March : ตุมาสิก/เทมาเส็ก-ชินคอร์ป และเมืองไทยหลังทักษิณ" โดยมีนายอัษฎา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตประจำประเทศสิงคโปร์ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ คณะทำงานด้านกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวเรียกร้องกองทุนเทมาเส็กในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เครือชินคอร์ป ร่วมลงนามข้อตกลงความมั่นคง เพราะการที่บริษัทเทมาเส็กเข้ามาซื้อหุ้นชินคอร์ปฯ โดยเฉพาะกิจการโทรคมนาคม ที่บริษัทเอไอเอส มีสัมปทานกับองค์การโทรศัพท์ที่เป็นของรัฐ เป็นธุรกิจที่กระทบต่อความมั่นคง โดยเฉพาะไอทีวี กิจการการสื่อสาร ที่สามารถดักฟังโทรศัพท์ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางทหาร และตำรวจ ทำหน้าที่ของตัวเองด้วยการเรียกกองทุนเทเส็กมาลงนามฯให้เรียบร้อย
พร้อมกันนี้ขอเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันปฏิเสธสินค้าของเครือชินคอร์ปฯ เนื่องจากรายได้หลักของกลุ่มชินคอร์ปเกิดจากธุรกิจแม่ที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ที่มีลูกค้ากว่า 10 ล้านราย หากร่วมกันบอยคอตแค่ครึ่งหนึ่งก็จะทำให้หุ้นชินฯ ตกถึงร้อยละ 30 แน่นอน และเมื่อนั้นหุ้นก็จะตกลงมาอยู่ในราคา 12 บาทเท่าเดิม
"ตอนนี้รัฐบาลสิงคโปร์ซื้อหุ้นจากลูกชายและลูกสาวนายกฯ หุ้นละ 49 บาท ซึ่งถือว่าแพง เพราะสิงคโปร์ เชื่อมั่นคุณโอ๊คจะทำให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช) ยกเลิกสัมปทานมาเป็นใบอนุญาตได้ในอนาคต" นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว และว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้ทำลายระบบข้าราชการไทย ภายหลังที่เข้ามารับตำแหน่งนายกฯ เพียง 6 เดือน โดยเห็นได้จากการเข้ามาแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจตัวเอง ถือเป็นการรายจ่ายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง เพราะหุ้นกลุ่มชินหุ้นอย่าเห็นได้ชัด ทั้งยังบังคับให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม เข้าไปซื้อหุ้นกลุ่มชินฯ พอหุ้นในกลุ่มชินฯ เริ่มตก ก็สั่งให้กองทุนเหล่านี้เข้าไปซื้อ
"การกระทำเหล่านี้ทำให้ต่างชาติ ทั้งหัวขาว หัวดำ เข้ามาซื้อหุ้นของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอย่างมาก จากการสังเกตในช่วงที่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ หุ้นของกลุ่มชินฯ ก็จะขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากเข้าไปขยายมาเก็ตแค็ปในตลาด"
สิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่งภายหลังที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากตำแหน่งแล้ว นั่นคือ ระบอบทักษิณยังคงอยู่ เพราะทักษิณ ตลอดชีวิตใช้นอมินีมาโดยตลอด ตั้งแต่การซุกหุ้น ให้คนใช้และคนขับรถถือแทน หรือการให้ต่างชาติถือหุ้นแทนในกรณีบริษัทแอมเพิลริช ในขณะนี้คาดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังคิดว่าจะให้ใครเป็นนายกฯ นอมินีแทน อาจจะเป็นนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ก็ได้
"วันนี้คุณทักษิณพยายามตะแบงว่า พระเปรมศักดิ์ ยังมีคุณสมบัติการเป็น ส.ส.อยู่ โดยนับจากวันสมัคร ทั้งยังพรรคประชากรไทยเป็นนอมินีอีกพรรคหนึ่ง โดยอาจจะผลักคะแนนให้กับพรรคประชากรไทยเพื่อให้ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ หรือได้คะแนนถึง 1.6 ล้านคะแนน เพื่อความชอบธรรมของตัวเอง"นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
ทางด้านนายอัษฎา กล่าวว่า อยากเน้นย้ำการปฏิบัติสองมาตรฐานทางเศรษฐกิจ ของสิงคโปร์ รวมทั้งความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลสิงคโปร์ และการขายหุ้นชินคอร์ป กับการพัฒนาประเทศของสิงคโปร์ และเมืองไทยหลังการจากไปของพ.ต.ท.ทักษิณ
กองทุนเทมาเส็กเป็นของรัฐบาลสิงคโปร์โดยตรง ไม่ได้เป็นเอกชนที่มีความอิสระจะทำอะไรไม่ได้ หากรัฐบาลไม่เห็นด้วย การที่เข้ามาซื้อหุ้นชินฯ เพราะรัฐบาลต้องการเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นทุนนิยมของรัฐที่เข้ามาครอบงำเศรษฐกิจไทย ก่อนที่กองทุนเทมาเส็ก จะเข้าซื้อหุ้นชินคอร์ป ได้ศึกษาปัญหาที่จะเกิดเป็นอย่างดี แต่ก็มั่นใจว่า จะไม่มีปัญหา เพราะชื่อจะแก้ได้ โดยยึดในเครดิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่สามารถจัดการปัญหาได้ แม้ว่าหุ้นชินฯ ที่นายกฯอ้างเสมอว่าไม่ใช่ของตัวเอง แต่เป็นของลูกๆ ตนขอถามว่าตอนที่เจรจากับกองทุนเทมาเส็ก ใครจะเป็นคนเจรจาถ้าไม่ใช่พ.ต.ท.ทักษิณ
"ในอดีตที่ผ่านรัฐบาลสิงคโปร์มีพฤติกรรมเอาเปรียบและเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐานมาโดยตลอด เช่น กรณีการลักลอบขนแร่ดีบุกจากไทยไปที่ขายที่สิงคโปร์ หรือการที่สิงคโปร์ลักลอบขายน้ำมันให้นักการเมืองไทย ก็ไม่เคยใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำความผิดในสิงคโปร์ แต่ผลักไสให้รัฐบาลไทยเป็นผู้ควบคุมเสียเอง นอกจากนี้กรณีการเอาผิดแรงงาน เอาผิดแรงงานแทนที่จะใช้กฎหมายแรงงาน แต่กลับไปใช้กฎหมายตรวจคนเข้าเมืองแทน เพื่อไม่ให้นายจ้างที่เป็นคนสิงคโปร์ได้รับโทษ ให้แรงงานก็ไม่เคยมีคำสั่งกฎหมายลงโทษผู้ที่ละเมิด สิ่งที่ปรากฎนี้เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลสิงคโปร์ไม่เคยจะเสียเปรียบใคร"
นายอัษฎา ยังกล่าวอีกว่า ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ระบบข้าราชการถูกทำลายอย่างยับเยิน แม้กระทั่งกระทรวงการต่างประเทศที่เราเคยภูมิใจ เพราะสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ แต่ในสมัยรัฐบาลทักษิณ กลับมีแต่คำสั่งอย่างเดียว ทำให้ข้าราชการต้องขายตัว ถือเป็นโสเภณีชั้นเลว เขาสั่งอะไรก็ทำให้หมดเป็นเรื่องหน้าเศร้า
นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณ และนายลี กวน ยู อดีตผู้นำสิงคโปร์ ที่ให้ความสำคัญจนกระทั่งเป็นคนไทยคนเดียว ที่นายลีกวนยู เชิญไปร่วมแลกเปลี่ยน เพราะเห็นว่าเป็นนักการเมืองคนเดียวที่มีอำนาจและเงิน ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เลื่อมใสในระบบการเมืองการปกครองสิงคโปร์ ที่ต้องการนิ่ง ฝ่ายค้านอ่อนแอ ซึ่งเป็นสไตล์การบริหารประเทศ ที่รัฐบาลจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบข้าราชการ
วันเดียวกันที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเสวนาเรื่อง กรณีการซื้อขายหุ้นชินฯ กับปัญหาการเสียภาษีหุ้น "ชินคอร์ป" โดยรศ.ดร.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การขายหุ้น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับ กองทุนเทมาเส็กทำให้ได้เงิน 7.3 หมื่นล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมิน ที่ต้องเสียภาษี จะพบว่าเป็นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องมี 2 ธุรกรรมคือ 1. ธุรกรรมซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด กับ 2. ธุรกรรมขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีความรับผิดชอบในการเสียภาษีเงินได้ ของแต่ละธุรกรรมอาจคิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายภาษีถึง 5-6 พันล้านบาท หากอิงคำวินิจฉัยที่ต้องเสียภาษี ประโยชน์ที่ได้จากการขายหุ้น
"คนที่จะวินิจฉัยได้ดีที่สุดคือ ศาลยุติธรรมประชาชนจะยอมรับคำวินิจฉัย ไม่ใช่กรมสรรพากร เพราะคำวินิจฉัยประเมินการเสียหรือไม่เสียภาษีของกรมสรรพากรไม่ใช่กฎหมาย แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ใครที่มีอำนาจหน้าที่เหนือกว่าให้ศาลยุติธรรมวินิจฉัยได้อย่างไร" รศ.ดร.นิติพันธุ์ กล่าว
รศ.ดร.สุเมธ ศิริกุลโชติ คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นกฎหมายมหาชน ไม่ใช่กฎหมายเอกชนในทางกฎหมายอาญาอาจจะมีความผิดตาม ม.157 ในฐานหลีกเลี่ยงภาษีเป็นการกระทำโดยทุจริตแสวงหาประโยชน์มิควรได้ แต่ติดปัญหาตรงที่ว่า ยังไม่มีการดำเนินการว่าใครจะเป็นโจทย์ยื่นฟ้องร้องที่เป็นผู้เสียประโยชน์โดยตรง แต่ถ้ามีการฟ้องร้องกรมสรรพากรได้ และเชื่อว่าอัยการสูงสุด ที่เป็นทนายแผ่นดินอาจจะรับฟ้อง
"อาจจะใช้มาตรา 157 กฎหมายอาญาฟ้องร้องกรมสรรพากรได้ ทำไมไม่เก็บภาษี เช่น กรณีเราไม่เคยมีใครฟ้องร้องตำรวจว่าเวลาไม่จับคนขับรถฝ่าไฟแดง ต้องมีความผิดที่ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้ามีใครฟ้องก็ทำได้" รศ.ดร.สุเมธ กล่าว ขณะที่อดีตเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร คนหนึ่งกล่าวว่า คำแถลงหรือหนังสือตอบของกรมสรรพากร ที่อ้างว่าการขายหุ้นของชินฯ ให้กับกองทุนเทมาเซก ไม่ใช่กฎหมายสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อาจจะยกเลิกก็ได้ เป็นเพียงความเห็นเท่านั้น