ผู้จัดการรายวัน - สมัชชาคนจนยึดกระทรวงเกษตรฯกดดันเจรจาแก้ปัญหาค้างปี ปลัดฯ เหงื่อตกรับหน้าม็อบทั้งวัน “คุณหญิงหน่อย” แจ้นเปิดโต๊ะเจรจา กะงัดมุขเก่าตั้ง กก.ดูแล กล่อมม็อบกลับบ้าน หวั่นร่วมชุมนุมใหญ่ 26 ก.พ. แต่สมัชชาฯ ไม่เล่นด้วยต้องเจรจาให้จบ
วานนี้ (23 ก.พ.) เวลา 05.00 น. ชาวบ้านเครือข่ายสมัชชาคนจนราว1,000 คน เคลื่อนขบวนจากที่ชุมนุมหน้ารัฐสภาไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกระจายคนเข้านั่งชุมนุมอยู่บริเวณภายในอาคารอำนวยการของกระทรวงเกษตรฯ ทั้งในบริเวณห้องโถงชั้นล่างและชั้น 2 หน้าห้องรัฐมนตรี ทางเดินในอาคาร และบริเวณบันได รวมถึงบริเวณหน้าอาคาร โดยมีรถเครื่องเสียง 1 คัน เป็นจุดปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์นโยบายแก้จนของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย โดยมีเรียกร้องให้เร่งรัดการแก้ปัญหากรณีปัญหาในเครือข่าย อาทิ กรณีที่สาธารณะ เขื่อน ผู้ป่วยจากการทำงาน ป่าไม้ทับที่ เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดเวลาทั้งวัน นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้พยายามเจรจาให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมถอนกำลังคนออกจากบริเวณ อาคารของกระทรวง เมื่อคนออกแล้ว จะเริ่มต้นเจรจาในประเด็นของปัญหาต่างๆ ต่อไปได้ ในขณะที่ตัวแทนสมัชชาคนจนกว่า 30 คน เรียกร้องที่จะเจรจาการแก้ปัญหากับนักการเมืองผู้มีอำนาจตัดสินใจเท่านั้น ในขณะที่ยืนยันว่ากลุ่มชาวบ้านจะรอรับฟังผลการเจรจาจนถึงที่สุด
ต่อมาเวลา 17.00 น. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรฯ ได้เดินทางมาพบผู้ชุมนุมโดยทักทายชายแก่คนหนึ่งว่า “สบายดีหรือเปล่า เดี๋ยวคุยแล้วจะรับข้อเสนอ จากนั้นก็กลับบ้านนะ จะไปเยี่ยมที่บ้าน” จากนั้นเข้าร่วมหารือกับตัวแทนสมัชชาคนจนที่ห้องประชุมชั้น 3 โดยตัวแทนสมัชชาคนจน ได้อ่านแถลงการณ์ ถามหาสำนึกของนายกฯ พร้อมทั้งนำเสนอปัญหาทั้งที่เป็นกรณีที่มีมติ ครม.รองรับ แต่ขาดการสั่งการหรือกลไกในการแก้ปัญหาไม่ปฏิบัติตาม รวมทั้งกรณีที่ยังไม่ได้ริเริ่มแก้ปัญหา
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า จะรับเป็นคนประสานงานหลักใน 6 กระทรวงหลักที่รับผิดชอบในกรณีปัญหาของสมัชชาคนจน พร้อมทั้งรับปากว่าจะเสนอให้นายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการที่มีรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวงเป็นประธานหรือกรรมการ โดยจะมีการประชุมสรุปความคืบหน้ากันเดือนละครั้งหรือสองครั้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่สามารถสั่งการได้เลยก็รับปากว่าจะดำเนินการและประสานไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยให้ตัวแทนของสมัชชาคนจนจัดทำตารางกำหนดประเด็นและหน่วยงานที่มีอำนาจให้ชัดเจน
“ตอนนี้จะรับเป็นคนประสานให้ รัฐมนตรีบางคนรับปากแล้ว แต่บางคนยังอยู่ต่างประเทศมาไม่ได้ แต่ตัวดิฉันจะเป็นตัวประกันให้”
ระหว่างการเจรจา รมว.กระทรวงเกษตรฯ ได้สอบถามกับผู้ชุมนุมว่าจะกลับภูมิลำเนาทันทีหรือไม่เมื่อการเจรจาแล้วเสร็จ แต่ตัวแทนสมัชชาคนจนยืนยันจะชุมนุมต่อที่หน้ากระทรวงเกษตรฯ จนกว่าจะได้การแก้ปัญหาเป็นที่น่าพอใจ คุณหญิงสุดารัตน์แสดงความตกใจ และสอบถามกลางวงประชุมว่า “ไม่ได้กะจะไปร่วมกับเขาใช่มั้ย” ซึ่งหมายถึงการชุมนุมใหญ่วันที่ 26 ก.พ.นี้ แต่ได้รับคำปฏิเสธจากตัวแทนสมัชชาคนจน
น.ส.สมภาร คืนดี ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ระบุว่า การประชุมตัวแทนชาวบ้าน แต่ละเครือข่ายสรุปว่าไม่เห็นด้วยกับการตั้งกรรมการขึ้นมาดูแล เนื่องจากที่ผ่านมา หลายกรณีก็มีกรรมการหลายชุดอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่แท้จริงคือไม่มีการปฎิบัติตามมติ ครม.และข้อตกลงของกรรมการ ไม่มีความคืบหน้า เราต้องการให้ ปัญหาทุกกรณีได้ขึ้นโต๊ะเจรจา และมีแนวทางในการแก้ปัญหาชัดเจนถึงขั้นตอนการปฏิบัติ ส่วนเรื่องที่สามารถสั่งการได้ 9 กรณี เช่น เขื่อนสิรินธร เขื่อนห้วยละห้า ก็สั่งการได้เลย
“ชาวบ้านได้รับบทเรียนว่าการมีมติ ครม.และการรับปากลมๆ แล้งๆ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ท่าทีของ รมว.เกษตรฯ พยายามเร่งรัดให้ชาวบ้านกลับบ้าน เพราะกลัวว่าชาวบ้านจะได้รับอันตรายจากมือที่สาม แต่ชาวบ้านยืนยันที่จะชุมนุมต่อจนกว่าผลการเจรจาจะเป็นที่พอใจ”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการเจรจากันกลุ่มผู้ชุมนุมได้ทยอยกันออกมาจากกระทรวงเกษตรฯ และรวมตัวชุมนุมอยู่นอกรั้วกระทรวงเกษตร ในขณะที่ล่าสุดเวลา 21.00 น. มีรัฐมนตรีหลายคน อาทิ นายยงยุทธ ติยะไพรัช รมว.ทรัพยากรฯ นายเสริมศักดิ์ พงศ์พานิช รมช.มหาดไทย และนายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง วนเวียนเข้ามาในห้องเจรจาซึ่งยังคงดำเนินอยู่
วานนี้ (23 ก.พ.) เวลา 05.00 น. ชาวบ้านเครือข่ายสมัชชาคนจนราว1,000 คน เคลื่อนขบวนจากที่ชุมนุมหน้ารัฐสภาไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกระจายคนเข้านั่งชุมนุมอยู่บริเวณภายในอาคารอำนวยการของกระทรวงเกษตรฯ ทั้งในบริเวณห้องโถงชั้นล่างและชั้น 2 หน้าห้องรัฐมนตรี ทางเดินในอาคาร และบริเวณบันได รวมถึงบริเวณหน้าอาคาร โดยมีรถเครื่องเสียง 1 คัน เป็นจุดปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์นโยบายแก้จนของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย โดยมีเรียกร้องให้เร่งรัดการแก้ปัญหากรณีปัญหาในเครือข่าย อาทิ กรณีที่สาธารณะ เขื่อน ผู้ป่วยจากการทำงาน ป่าไม้ทับที่ เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดเวลาทั้งวัน นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้พยายามเจรจาให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมถอนกำลังคนออกจากบริเวณ อาคารของกระทรวง เมื่อคนออกแล้ว จะเริ่มต้นเจรจาในประเด็นของปัญหาต่างๆ ต่อไปได้ ในขณะที่ตัวแทนสมัชชาคนจนกว่า 30 คน เรียกร้องที่จะเจรจาการแก้ปัญหากับนักการเมืองผู้มีอำนาจตัดสินใจเท่านั้น ในขณะที่ยืนยันว่ากลุ่มชาวบ้านจะรอรับฟังผลการเจรจาจนถึงที่สุด
ต่อมาเวลา 17.00 น. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรฯ ได้เดินทางมาพบผู้ชุมนุมโดยทักทายชายแก่คนหนึ่งว่า “สบายดีหรือเปล่า เดี๋ยวคุยแล้วจะรับข้อเสนอ จากนั้นก็กลับบ้านนะ จะไปเยี่ยมที่บ้าน” จากนั้นเข้าร่วมหารือกับตัวแทนสมัชชาคนจนที่ห้องประชุมชั้น 3 โดยตัวแทนสมัชชาคนจน ได้อ่านแถลงการณ์ ถามหาสำนึกของนายกฯ พร้อมทั้งนำเสนอปัญหาทั้งที่เป็นกรณีที่มีมติ ครม.รองรับ แต่ขาดการสั่งการหรือกลไกในการแก้ปัญหาไม่ปฏิบัติตาม รวมทั้งกรณีที่ยังไม่ได้ริเริ่มแก้ปัญหา
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า จะรับเป็นคนประสานงานหลักใน 6 กระทรวงหลักที่รับผิดชอบในกรณีปัญหาของสมัชชาคนจน พร้อมทั้งรับปากว่าจะเสนอให้นายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการที่มีรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวงเป็นประธานหรือกรรมการ โดยจะมีการประชุมสรุปความคืบหน้ากันเดือนละครั้งหรือสองครั้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่สามารถสั่งการได้เลยก็รับปากว่าจะดำเนินการและประสานไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยให้ตัวแทนของสมัชชาคนจนจัดทำตารางกำหนดประเด็นและหน่วยงานที่มีอำนาจให้ชัดเจน
“ตอนนี้จะรับเป็นคนประสานให้ รัฐมนตรีบางคนรับปากแล้ว แต่บางคนยังอยู่ต่างประเทศมาไม่ได้ แต่ตัวดิฉันจะเป็นตัวประกันให้”
ระหว่างการเจรจา รมว.กระทรวงเกษตรฯ ได้สอบถามกับผู้ชุมนุมว่าจะกลับภูมิลำเนาทันทีหรือไม่เมื่อการเจรจาแล้วเสร็จ แต่ตัวแทนสมัชชาคนจนยืนยันจะชุมนุมต่อที่หน้ากระทรวงเกษตรฯ จนกว่าจะได้การแก้ปัญหาเป็นที่น่าพอใจ คุณหญิงสุดารัตน์แสดงความตกใจ และสอบถามกลางวงประชุมว่า “ไม่ได้กะจะไปร่วมกับเขาใช่มั้ย” ซึ่งหมายถึงการชุมนุมใหญ่วันที่ 26 ก.พ.นี้ แต่ได้รับคำปฏิเสธจากตัวแทนสมัชชาคนจน
น.ส.สมภาร คืนดี ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ระบุว่า การประชุมตัวแทนชาวบ้าน แต่ละเครือข่ายสรุปว่าไม่เห็นด้วยกับการตั้งกรรมการขึ้นมาดูแล เนื่องจากที่ผ่านมา หลายกรณีก็มีกรรมการหลายชุดอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่แท้จริงคือไม่มีการปฎิบัติตามมติ ครม.และข้อตกลงของกรรมการ ไม่มีความคืบหน้า เราต้องการให้ ปัญหาทุกกรณีได้ขึ้นโต๊ะเจรจา และมีแนวทางในการแก้ปัญหาชัดเจนถึงขั้นตอนการปฏิบัติ ส่วนเรื่องที่สามารถสั่งการได้ 9 กรณี เช่น เขื่อนสิรินธร เขื่อนห้วยละห้า ก็สั่งการได้เลย
“ชาวบ้านได้รับบทเรียนว่าการมีมติ ครม.และการรับปากลมๆ แล้งๆ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ท่าทีของ รมว.เกษตรฯ พยายามเร่งรัดให้ชาวบ้านกลับบ้าน เพราะกลัวว่าชาวบ้านจะได้รับอันตรายจากมือที่สาม แต่ชาวบ้านยืนยันที่จะชุมนุมต่อจนกว่าผลการเจรจาจะเป็นที่พอใจ”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการเจรจากันกลุ่มผู้ชุมนุมได้ทยอยกันออกมาจากกระทรวงเกษตรฯ และรวมตัวชุมนุมอยู่นอกรั้วกระทรวงเกษตร ในขณะที่ล่าสุดเวลา 21.00 น. มีรัฐมนตรีหลายคน อาทิ นายยงยุทธ ติยะไพรัช รมว.ทรัพยากรฯ นายเสริมศักดิ์ พงศ์พานิช รมช.มหาดไทย และนายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง วนเวียนเข้ามาในห้องเจรจาซึ่งยังคงดำเนินอยู่