ผู้จัดการรายวัน - ฝ่ายค้านบุกทำเนียบฯ ทวงสัญญา “ทักษิณ” จะให้ยืมเสียงเปิดซักฟอกนายกฯ เชื่อผู้นำต้องมีสัจจะ ขณะที่ “แม้ว” อ้างเฉยกับ ครม.ไม่เคยสัญญา อ้างฝ่ายค้านตีความไปเอง ส่วนการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ รัฐบาลวางกรอบ 4 ประเด็นให้ 2 สภาซัก โดยไม่ให้อภิปรายเรื่องจริยธรรมผู้นำ “โภคิน” รับลูกกำหนดให้อภิปรายในวันที่ 6 มี.ค.ในเวลา 5 วัน วันละ 8 ชม. นายกฯสั่ง ไอซีที-คลัง งัดข้อมูลตีโต้ฝ่ายค้านกลางสภา เย้ย “อภิสิทธิ์” อยากเป็นนายกฯตัวสั้น ยอมทำลายวัฒธรรมการเมือง ไล่ให้ไปถามประชาชนก่อน
ที่ทำเนียบรัฐบาล วานนี้ (21 ก.พ.) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายคาน พร้อม ส.ส.ฝ่ายค้านได้เข้ายื่นหนังสือถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ขอเสียงสนับสนุนในญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 185 ซึ่งนายกฯเคยให้สัญญาประชาคมไว้ว่าหากเสียงฝ่ายค้านไม่พอ พร้อมจะให้ส.ส.ลงชื่อในญัตติดังกล่าว พร้อมกับแนบหนังสือเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ มาด้วย โดยมี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับหนังสือแทน
นายสุรนันทน์ กล่าวว่า การยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นขบวนการตามระบอบประชาธิปไตย ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ส่วนจะให้ ส.ส.พรรคไทยรักไทยร่วมลงชื่อหรือไม่ต้องหารือกันในพรรคก่อน โดยจะรับเรื่องไว้พิจารณา ซึ่งคำที่นายกฯได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ถ้ามีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็พร้อมให้ตรวจสอบ ตรงนี้เป็นสิ่งที่พรรคต้องนำไปพิจารณา เพราะเท่าที่ได้ลองซาวเสียง ส.ส. หลายท่าน บางพวกยังไม่เห็นญัตติ ก็บอกขอดูญัตติก่อน โดยตนจะนำเสนอเรื่องนี้ต่อนายกฯ เพื่อนำเข้าหารือต่อไป
ฝ่ายค้านเชื่อผู้นำต้องมีสัจจะวาจา
ด้าน นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ให้สัมภาษณ์ว่า นายกฯในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เคยให้สัมภาษณ์ตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.2547 ในรายการ “ถึงลูกถึงคน” ทางโทรทัศน์ช่อง 9 ซึ่งนายกฯ ได้ยืนยันว่าหากพรรคไทยรักไทย ได้เสียงเกินจำนวน ที่สามารถสกัดกั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ ได้เสียงเกิน 400 เสียง หากพรรคฝ่ายค้านต้องการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ขอให้บอกจะเซ็นต์ให้
“คำพูดนั้นถือเป็นคำพูดที่เป็นสัญญาประชาคม และผู้นำในระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีสัจจะวาจา เราจึงได้ทำหนังสือเพื่อขอให้นายกฯ อนุญาตให้ ส.ส.ในสังกัดมาร่วมลงชื่อเพื่อเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามสัญญาที่ให้ไว้ โดยหนังสือ ที่ทำมาในวันนี้เราได้ทำอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อต้องการคำตอบ ซึ่งต้องดูว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะให้คำตอบพรรคฝ่ายค้านว่าอย่างไร”
ส่วนกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลออกมาระบุว่าขณะนี้พรรคฝ่ายค้านยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนจึงไม่สามารถให้ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเข้าร่วมลงรายชื่อเพื่อขอเปิดอภิปรายได้ นายสาทิตย์ กล่าวว่า ญัตติไม่ไว้วางใจฉบับที่นำมายื่นนี้ถือเป็นญัตติที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะระบุรายละเอียดพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจของนายกรัฐมนตรีที่ชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งมากกว่าญัตติไม่ไว้วางใจในอดีต หลังจากนี้จะมีหนังสือถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามมาทีหลัง
“ หากวันนี้ยังไม่มีคำตอบ เราก็จะรอ แต่ตามหลักการก็ไม่ควรจะให้คำตอบได้เกินกว่า 2 สัปดาห์”
“ทักษิณ”เย้ยการเมืองประหลาด
ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบข้อสักถามผู้สื่อข่าวที่พยายาม ถามเรื่องที่ฝ่ายค้านทวงถามสัญญาที่จะให้ ส.ส.รัฐบาลร่วมลงชื่อในญัตติอภิปราย ไม่ไว้วางใจนายกฯ โดยได้รับคำตอบสั้นๆ ว่า “การเมือง ประหลาด” แล้วเดินเข้าห้องประชุม ครม.ทันที
“แม้ว”อ้างไม่เคยพูดให้ฝ่ายค้านยืมส.ส.
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่างหลังการประชุม ครม.ถึง การยื่นหนังสือทวงถามสัญญาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะให้ยืมเสียง ส.ส.เพื่อซักฟอกนายกฯว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ชี้แจงว่า ได้เคยให้การสัมภาษณ์ไว้อย่างไร คำสัมภาษณ์ก็ปรากฏอยู่ในหนังสือของประธานวิปฝ่ายค้าน อยู่แล้วว่า ท่านให้สัมภาษณ์ว่าถ้าได้เกิน 400 เสียง กลัวว่าจะขอเปิดอภิปราย ไม่ไว้วางใจไม่ได้ตลอดเวลา 4 ปี นั้นคือเจตนาของคำที่พูดในวันนั้น
“เนื่องจากว่าฝ่ายค้านได้หยิบยกคำพูดนายกฯ ขึ้นมาตีความก็อยากให้เกิด ความชัดเจนว่า ความหมายคือ หากได้เกิน 400 เสียง แล้วจะอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่ได้ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาฝ่ายค้านตีความว่า นายกฯ เคยให้คำมั่นว่า จะให้อภิปรายนายกฯได้ ซึ่งในคำให้สัมภาษณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น”
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า กรณีที่ฝ่ายค้านจะให้ ส.ส.รัฐบาลลงชื่อในญัตตินั้น เวลา ส.ส.จะลงนามใด ๆต้องเห็นญัตติก่อน การที่ฝ่ายค้านขอให้ ส.ส.ฝ่ายพรรคไทยรักไทยไปลงนาม โดยคำนึงเพียงแค่ให้สามารถบรรลุได้ถึง 200 เสียง โดยไม่คำนึงว่า ผู้ลงนามเห็นด้วยหรือไม่กับญัตตินั้นคงไม่ถูกต้อง”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการให้สัมภาษณ์รายการ “ถึงลูกถึงคน” ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อสมท. เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2547 พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ถ้าหากได้เสียงเกินจำนวนขนาดที่จะสกัดกั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ 400 เสียงได้ หากใครต้องการขอให้บอกเดี๋ยวจะเซ็นต์ให้”
รัฐบาลให้เปิดอภิปราย 2 สภากี่วันก็ได้
ด้าน นพ.สุรพงษ์ ยังกล่าวถึงประเด็นที่จะเปิดให้อภิปราย 2 สภารวมทั้งระยะเวลาในการอภิปราย ได้หารือกันใน ครม.แล้วเห็นว่า เนื่องจากมีประเด็นที่หลากหลายในหลายเรื่องและมีรายละเอียดมาก ฉะนั้น ครม.จะเสนอรัฐสภา สามารถอภิปรายได้ โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขเวลาของ ครม. หมายความว่า ถ้าจะอภิปราย 5 วัน 5 คืน 7 วัน 7 คืน ถ้าทำให้เกิดประโยชน์ก็จะยินดี ที่จะรับความเห็นจากสมาชิกรัฐสภา ซึ่งทางประธานรัฐสภาจะได้พิจารณากำหนดวันและเวลาอภิปรายตามความเหมาะสมต่อไป
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมครม. ว่ารัฐบาลพร้อมจะเปิด อภิปรายเพื่อปรึกษาปัญหาบริหารราชแผ่นดินกับ 2 สภาตามมาตรา 213 ในวันที่ 6 มี.ค. ส่วนระยะเวลาในการอภิปรายนั้นจะให้วิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภาไปหารือกัน โดยรัฐบาลไม่ขัดข้องว่าจะอภิปรายกี่วัน ส่วนปัญหาอะไรบ้างที่รัฐบาลจะปรึกษาได้ระบุอยู่ในหนังสือที่รัฐบาลได้ส่งไปให้ประธานรรัฐสภาแล้ว
นายวิษณุ กล่าว รัฐบาลได้ตั้งกรอบในการอภิปรายครั้งนี้ว่า 1.ใครอยากถามอะไรก็สามารถถามได้ หรือถ้าใครมีประสบการณ์สวนตัว ขมขื่นใจ ไม่พอใจหน่วยงานใด ก็สามารถถามได้ 2. การปรึกษาเรื่องรัฐธรรมนูญทำไม่ได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 จึงได้ตั้งไปว่าขอปรึกษาเรื่องการปฏิรูปการเมืองรอบ 2 ซึ่งถือเป็นการปรึกษา เรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน 3.ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการทุจริต ในวงราชการ ซึ่งถ้ารัฐบาลเปิดโอกาสให้ถามได้ และสุดท้ายข้อที่ 4 ที่คิดไว้คือเรื่อง การทำ เอฟทีเอ แต่ถ้าเวลาไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็อยากจะคุย เพราะชอบบอกรัฐบาลว่าไม่เอาเรื่องนี้เข้าไปในสภาฯ
ส่วนประธานรัฐสภาจะขอนัดประชุมในวันที่ 8 ก.พ.นั้น นายวิษณุ กล่าวว่าก็แล้วแต่ เพราะกว่าจะเรียกประชุมจริงๆ สมาชิก 700 คน คงไม่ใช่เรื่องง่าย
ไม่มีประเด็นจริยธรรมผู้นำให้อภิปราย
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีเปิดให้มีการอภิปรายเรื่องจริยธรรมของนายกฯหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า การเปิดอภิปรายครั้งนี้รัฐบาลเป็นฝ่ายสภาโดยระบุว่ารัฐบาลขอปรึกษาในปัญหาสำคัญในเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าส่งญัตติในเรื่องจริยธรรมของนายกฯไปคงตกไปตั้งแต่แรกแล้ว เพราะไม่ใช่เรื่องปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ถ้าอภิปรายเรื่องอื่นคนอภิปราย สามารถถามแทรกเข้ามาในเรื่องอะไรก็ได้ เพราะรัฐบาลเปิดให้เข้ามาสอบถามซึ่งกันและกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเปิดอภิปรายลักษณะนี้ฝ่ายค้านมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่จริงใจของรัฐบาล นายวิษณุ กล่าวว่าไม่มีความเห็น แล้วจะให้รัฐบาลทำอย่างไรถึงจะเรียกว่าจริงใจ เมื่อถามว่าเป็นการลดกระแสการเมืองนอกสภาหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้าไม่ลดก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดคาด ส่วนการเปิดสภาจะทำให้การชี้แจงกับประชาชนดีขึ้นหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อยู่ที่การถามและคำตอบ ถ้าคนอยากรู้และตอบชัดเจน คนก็เข้าใจ และจะบอกว่า เป็นการสกัดกันกั้นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านก็ไม่ใช่ เพราะถ้าฝ่ายค้านสามารถเปิดได้ก็เปิดไป แต่การมีอภิปรายอย่างนี้จะทำให้มีข้อมูลมากขึ้น ในการนำข้อมูลมาใช้ในการอภิปรายทั่วไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าการอภิปรายมีสิทธิ์พาดพิงบุคคลที่ไม่อยู่ในครม.ได้มากแค่ไหน นายวิษณุ กล่าวว่า มีหลักในการอภิปรายอยู่แล้ว เมื่อการพาดพิงบุคคลที่สาม ประธานสภาก็จะเตือนและถ้าเป็นบุคคลที่อยู่ในที่ประชุม ก็สามารถฟ้องร้องได้เพราะมีการถ่ายทอดออกอากาศ แต่ถ้าประชุมลับพาดพิงได้ไม่เป็นไร
สั่งไอซีที-คลังหาข้อมูลตีกลับฝ่ายค้าน
แหล่งข่าวในที่ประชุมครม. เปิดเผยว่า ในการขออภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 นายกฯได้สั่งการให้ทางกระทรวงไอซีที เตรียมข้อมูลในเรื่องของการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่กำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นจาก 25 % เป็น 49 % เพื่อการชี้แจงในการประชุมร่วม 2 สภา ในวันที่ 6 มี.ค.นี้ โดยนายกฯย้ำว่า โดยเฉพาะเนื้อหาในช่วงที่มีการพิจารณา ในคณะกรรมาธิการที่มีฝ่ายค้านร่วมเป็นคณะกรรมาธิการด้วย ที่สำคัญยังสนับสนุนให้มีการแก้ไขด้วยซ้ำ ทั้งที่ตนได้คัดค้าน แต่ฝ่ายค้านกลับตำหนิว่า เป็นการปิดกั้นไม่ให้กิจการที่มีลักษณะเดียวกับเอไอเอสโต เนื่องจากขณะนั้นถือว่า ทางเอไอเอส เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการทางด้านการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุด ขณะที่ทางดีเทคได้ทำเรื่อง ขอให้มีการแก้ไข และเมื่อมีการแก้ไขก็หาว่า เป็นการเอื้อต่อการขายหุ้นของเอไอเอส
แหล่งข่าวที่ประชุมครม. เปิดเผยอีกว่า นายกฯ ยังได้สั่งให้กระทรวงการคลัง เตรียมข้อมูลในเรื่องของการขายหุ้นชินคอร์ปให้ชัดเจน และอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งข้อมูลการทำแคปปิตอล เกรน ว่ามีมาเมื่อไร มีใครบ้างที่ซื้อขายในลักษณะนี้ รวมทั้งเปรียบเทียบกับต่างประเทศด้วย
“เนื่องจากตอนนี้มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงกันมากจากบางสื่อ อย่าง บางกอกโพสต์ มติชน เนชั่น และผู้จัดการ ็คุณอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) คงอยากจะเป็นนายกฯ ถึงอยากได้เสียงพรรคไทยรักไทย ซึ่งน่าจะไปถามประชาชนก่อนว่า อยากให้เป็นนายกฯหรือเปล่า ทำอย่างนี้เท่ากับเป็นการทำลายวัฒนธรรมทางการเมือง” นายกฯ กล่าวในการประชุม ครม.
โภคินให้อภิปรายเต็มที 5 วัน
นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ได้รับหนังสือแจ้งจาก ครม.แล้วในการขอเปิดอภิปราย 2 สภา โดยประเด็นที่ เสนอมากว้างมาก มีทั้งเรื่องความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อหน่วยงานด้านการคลัง ตลาดหลักทรัพย์ หรือ เรื่องการทำสัญญาเปิดเสรีทางการค้า ( FTA.) การดูแลความสงบเรียบร้อย ในการชุมนุม การปราบคอรัปชั่น การปฏิรูปการเมือง และการแก้ไขรัฐธรมนูญ ซึ่ง ครม.มีความพร้อมตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. ดังนั้นจะจัดเรื่องนี้เข้าสู่ระเบียบวาระโดยด่วน โดยจะเรียกวิป ฝ่ายค้าน วิปรัฐบาลและวิปวุฒเข้าหารือในวันที่ 1 มี.ค. นี้เพื่อกำหนดสัดส่วนเวลาในการอภิปรายของสมาชิกแต่ละฝ่าย คิดว่าวันที่ 6 มี.ค.จะสามารถเปิดประชุมร่วม 2 สภาได้
นายโภคิน กล่าวว่า ได้คุยกับนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภาแล้วว่า จะเปิดอภิปราย5 วัน ตกวันละ 8 ชั่วโมง รวม 40 ชั่วโมง ถ้าอภิปรายวันละ15 ชั่วโมงคงไม่ไหว อย่างไรก็ดี หากประชุมในวันที่ 6 มี.ค. วุฒิสภาจะขอเวลา 1 ชั่วโมงเพื่ออภิปรายรับทราบกรณีที่ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสตง.กลับเข้าสู่ตำแหน่ง
เตือนฝ่ายค้านไม่ใช่อภิปรายไม่ไว้วางใจ
ส่วนที่นายวิษณุ ระบุว่า ไม่ให้อภิปรายเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ป ของครอบครัว นายกฯ ตลอดจนการหลบเลี่ยงภาษี นายโภคิน กล่าวว่า สมาชิกสามารถสอบถามได้ว่า รัฐบาลปฏิบัติเรื่องนั้นเรื่องนี้ถูกหรือไม่ รัฐบาลก็ต้องตอบ แต่ต้องเข้าใจว่าการอภิปราย ทั้ง 2 สภาไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากสมาชิกอภิปรายในลักษณะดังกล่าว ตนก็จำเป็นต้องเตือน ทั้งนี้ยอมรับว่า ในการอภิปรายคงมีความคาบเกี่ยวกันแต่กติกาที่ร่างขึ้นก็ปฏิบัติมานานแล้ว ไม่ใช่ตนหรือนายกฯจะเป็นผู้ที่ร่างขึ้นมาใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าฝ่ายค้านอาจจะโยงความผิดพลาดในการทำงานของกระทรวงการคลัง โดยยกกรณีของ นายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรีของนายกฯขึ้นมา และอาจมีความวุ่นวายเกิดขึ้นได้ นายโภคิน กล่าวว่า ผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณา ตนตอบแทนไม่ได้ และจะปฏิบัติตามข้อบังคับ ขอให้สมาชิกอภิปรายอยู่ในประเด็น
“มาร์ค”ยัน‘แม้ว”สัญญาจะให้ยืมเสียงเอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทวงถามสัญญาของนายกฯที่จะให้เสียงฝ่ายค้านในการยื่น อภิปรายฯนายกฯ เห็นว่าการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯน่าจะเป็นทางออกในการคลี่คลายและได้รับคำชี้แจงในสภา เกี่ยวกับปัญหาความคลางแคลงใจที่เกิดขึ้นในสังคมได้ดี การเปิดอภิปรายทั่วไปของ 2 สภาโดยไม่ลงมติ ไม่ตรงกับสิ่งที่ประชาชนเรียกร้อง เพราะเป็นเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเป็นฝ่ายปรึกษาสภา
ส่วนที่นายกฯระบุว่าการที่ฝ่ายค้านมาขอเสียงรัฐบาลเพื่อเปิดอภิปราย ไม่ไว้วางใจ เป็นเรื่องประหลาดนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องที่จะให้เสียง ส.ส.ในการเปิดอภิปรายเป็นข้อเสนอของนายกฯเอง ยืนยันว่าเราทำตามรัฐธรรมนูญ คือต้องหาเสียงให้ครบเพื่อเปิดอภิปรายฯนายกฯ ขอให้ไปอ่านรัฐธรรมนูญดูว่า กรณีการเข้าชื่อเสนอญัตตินั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้พูดเรื่องมติพรรค และไม่ได้พูดเรื่องฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ส.ส.มีสิทธิที่จะเสนอได้ ที่สำคัญถ้าบอกว่า เราเล่นนอกกติกา ก็ต้องถามว่า วันนั้นปล่อยให้นายกฯพูดได้อย่างไร ถ้าทำไม่ได้ แต่ก็ต้องให้โอกาสท่าน เผื่อจะรักษาสัจจะ เราจะรอท่านนายกฯขอให้ตอบมาก่อน เพราะจะไปใช้ช่องทางอื่น ๆ จะไม่ตรงเท่าช่องทางนี้ เราต้องเอาช่องทางที่ตรงที่สุด
ส่วนที่ รัฐบาลจะให้นายทนง พิทยะ รมว.คลัง ตอบเรื่องหุ้นแอมเพิลริชนั้น นายอภิสิทธิ์ ย้อนถามว่า นายทนงทราบเรื่องหุ้น แอมเพิลริชได้อย่างไร เพราะเรื่องหุ้นของชินคอร์ปมีหลายแง่มุม และหลายเรื่องเป็นเรื่องที่นายกฯเคยพูด หรือเคยแถลงเอาไว้ และเป็นปัญหาเรื่องจริยธรรมของนายกฯด้วย จึงอยากถามว่า นายทนงจะตอบเรื่องจริยธรรมของนายกฯได้หรือไม่ เพราะแม้แต่โฆษกของครอบครัวชินวัตรยังตอบไม่ได้เลย
ที่ทำเนียบรัฐบาล วานนี้ (21 ก.พ.) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายคาน พร้อม ส.ส.ฝ่ายค้านได้เข้ายื่นหนังสือถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ขอเสียงสนับสนุนในญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 185 ซึ่งนายกฯเคยให้สัญญาประชาคมไว้ว่าหากเสียงฝ่ายค้านไม่พอ พร้อมจะให้ส.ส.ลงชื่อในญัตติดังกล่าว พร้อมกับแนบหนังสือเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ มาด้วย โดยมี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับหนังสือแทน
นายสุรนันทน์ กล่าวว่า การยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นขบวนการตามระบอบประชาธิปไตย ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ส่วนจะให้ ส.ส.พรรคไทยรักไทยร่วมลงชื่อหรือไม่ต้องหารือกันในพรรคก่อน โดยจะรับเรื่องไว้พิจารณา ซึ่งคำที่นายกฯได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ถ้ามีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็พร้อมให้ตรวจสอบ ตรงนี้เป็นสิ่งที่พรรคต้องนำไปพิจารณา เพราะเท่าที่ได้ลองซาวเสียง ส.ส. หลายท่าน บางพวกยังไม่เห็นญัตติ ก็บอกขอดูญัตติก่อน โดยตนจะนำเสนอเรื่องนี้ต่อนายกฯ เพื่อนำเข้าหารือต่อไป
ฝ่ายค้านเชื่อผู้นำต้องมีสัจจะวาจา
ด้าน นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ให้สัมภาษณ์ว่า นายกฯในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เคยให้สัมภาษณ์ตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.2547 ในรายการ “ถึงลูกถึงคน” ทางโทรทัศน์ช่อง 9 ซึ่งนายกฯ ได้ยืนยันว่าหากพรรคไทยรักไทย ได้เสียงเกินจำนวน ที่สามารถสกัดกั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ ได้เสียงเกิน 400 เสียง หากพรรคฝ่ายค้านต้องการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ขอให้บอกจะเซ็นต์ให้
“คำพูดนั้นถือเป็นคำพูดที่เป็นสัญญาประชาคม และผู้นำในระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีสัจจะวาจา เราจึงได้ทำหนังสือเพื่อขอให้นายกฯ อนุญาตให้ ส.ส.ในสังกัดมาร่วมลงชื่อเพื่อเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามสัญญาที่ให้ไว้ โดยหนังสือ ที่ทำมาในวันนี้เราได้ทำอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อต้องการคำตอบ ซึ่งต้องดูว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะให้คำตอบพรรคฝ่ายค้านว่าอย่างไร”
ส่วนกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลออกมาระบุว่าขณะนี้พรรคฝ่ายค้านยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนจึงไม่สามารถให้ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเข้าร่วมลงรายชื่อเพื่อขอเปิดอภิปรายได้ นายสาทิตย์ กล่าวว่า ญัตติไม่ไว้วางใจฉบับที่นำมายื่นนี้ถือเป็นญัตติที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะระบุรายละเอียดพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจของนายกรัฐมนตรีที่ชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งมากกว่าญัตติไม่ไว้วางใจในอดีต หลังจากนี้จะมีหนังสือถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามมาทีหลัง
“ หากวันนี้ยังไม่มีคำตอบ เราก็จะรอ แต่ตามหลักการก็ไม่ควรจะให้คำตอบได้เกินกว่า 2 สัปดาห์”
“ทักษิณ”เย้ยการเมืองประหลาด
ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบข้อสักถามผู้สื่อข่าวที่พยายาม ถามเรื่องที่ฝ่ายค้านทวงถามสัญญาที่จะให้ ส.ส.รัฐบาลร่วมลงชื่อในญัตติอภิปราย ไม่ไว้วางใจนายกฯ โดยได้รับคำตอบสั้นๆ ว่า “การเมือง ประหลาด” แล้วเดินเข้าห้องประชุม ครม.ทันที
“แม้ว”อ้างไม่เคยพูดให้ฝ่ายค้านยืมส.ส.
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่างหลังการประชุม ครม.ถึง การยื่นหนังสือทวงถามสัญญาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะให้ยืมเสียง ส.ส.เพื่อซักฟอกนายกฯว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ชี้แจงว่า ได้เคยให้การสัมภาษณ์ไว้อย่างไร คำสัมภาษณ์ก็ปรากฏอยู่ในหนังสือของประธานวิปฝ่ายค้าน อยู่แล้วว่า ท่านให้สัมภาษณ์ว่าถ้าได้เกิน 400 เสียง กลัวว่าจะขอเปิดอภิปราย ไม่ไว้วางใจไม่ได้ตลอดเวลา 4 ปี นั้นคือเจตนาของคำที่พูดในวันนั้น
“เนื่องจากว่าฝ่ายค้านได้หยิบยกคำพูดนายกฯ ขึ้นมาตีความก็อยากให้เกิด ความชัดเจนว่า ความหมายคือ หากได้เกิน 400 เสียง แล้วจะอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่ได้ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาฝ่ายค้านตีความว่า นายกฯ เคยให้คำมั่นว่า จะให้อภิปรายนายกฯได้ ซึ่งในคำให้สัมภาษณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น”
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า กรณีที่ฝ่ายค้านจะให้ ส.ส.รัฐบาลลงชื่อในญัตตินั้น เวลา ส.ส.จะลงนามใด ๆต้องเห็นญัตติก่อน การที่ฝ่ายค้านขอให้ ส.ส.ฝ่ายพรรคไทยรักไทยไปลงนาม โดยคำนึงเพียงแค่ให้สามารถบรรลุได้ถึง 200 เสียง โดยไม่คำนึงว่า ผู้ลงนามเห็นด้วยหรือไม่กับญัตตินั้นคงไม่ถูกต้อง”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการให้สัมภาษณ์รายการ “ถึงลูกถึงคน” ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อสมท. เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2547 พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ถ้าหากได้เสียงเกินจำนวนขนาดที่จะสกัดกั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ 400 เสียงได้ หากใครต้องการขอให้บอกเดี๋ยวจะเซ็นต์ให้”
รัฐบาลให้เปิดอภิปราย 2 สภากี่วันก็ได้
ด้าน นพ.สุรพงษ์ ยังกล่าวถึงประเด็นที่จะเปิดให้อภิปราย 2 สภารวมทั้งระยะเวลาในการอภิปราย ได้หารือกันใน ครม.แล้วเห็นว่า เนื่องจากมีประเด็นที่หลากหลายในหลายเรื่องและมีรายละเอียดมาก ฉะนั้น ครม.จะเสนอรัฐสภา สามารถอภิปรายได้ โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขเวลาของ ครม. หมายความว่า ถ้าจะอภิปราย 5 วัน 5 คืน 7 วัน 7 คืน ถ้าทำให้เกิดประโยชน์ก็จะยินดี ที่จะรับความเห็นจากสมาชิกรัฐสภา ซึ่งทางประธานรัฐสภาจะได้พิจารณากำหนดวันและเวลาอภิปรายตามความเหมาะสมต่อไป
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมครม. ว่ารัฐบาลพร้อมจะเปิด อภิปรายเพื่อปรึกษาปัญหาบริหารราชแผ่นดินกับ 2 สภาตามมาตรา 213 ในวันที่ 6 มี.ค. ส่วนระยะเวลาในการอภิปรายนั้นจะให้วิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภาไปหารือกัน โดยรัฐบาลไม่ขัดข้องว่าจะอภิปรายกี่วัน ส่วนปัญหาอะไรบ้างที่รัฐบาลจะปรึกษาได้ระบุอยู่ในหนังสือที่รัฐบาลได้ส่งไปให้ประธานรรัฐสภาแล้ว
นายวิษณุ กล่าว รัฐบาลได้ตั้งกรอบในการอภิปรายครั้งนี้ว่า 1.ใครอยากถามอะไรก็สามารถถามได้ หรือถ้าใครมีประสบการณ์สวนตัว ขมขื่นใจ ไม่พอใจหน่วยงานใด ก็สามารถถามได้ 2. การปรึกษาเรื่องรัฐธรรมนูญทำไม่ได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 จึงได้ตั้งไปว่าขอปรึกษาเรื่องการปฏิรูปการเมืองรอบ 2 ซึ่งถือเป็นการปรึกษา เรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน 3.ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการทุจริต ในวงราชการ ซึ่งถ้ารัฐบาลเปิดโอกาสให้ถามได้ และสุดท้ายข้อที่ 4 ที่คิดไว้คือเรื่อง การทำ เอฟทีเอ แต่ถ้าเวลาไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็อยากจะคุย เพราะชอบบอกรัฐบาลว่าไม่เอาเรื่องนี้เข้าไปในสภาฯ
ส่วนประธานรัฐสภาจะขอนัดประชุมในวันที่ 8 ก.พ.นั้น นายวิษณุ กล่าวว่าก็แล้วแต่ เพราะกว่าจะเรียกประชุมจริงๆ สมาชิก 700 คน คงไม่ใช่เรื่องง่าย
ไม่มีประเด็นจริยธรรมผู้นำให้อภิปราย
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีเปิดให้มีการอภิปรายเรื่องจริยธรรมของนายกฯหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า การเปิดอภิปรายครั้งนี้รัฐบาลเป็นฝ่ายสภาโดยระบุว่ารัฐบาลขอปรึกษาในปัญหาสำคัญในเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าส่งญัตติในเรื่องจริยธรรมของนายกฯไปคงตกไปตั้งแต่แรกแล้ว เพราะไม่ใช่เรื่องปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ถ้าอภิปรายเรื่องอื่นคนอภิปราย สามารถถามแทรกเข้ามาในเรื่องอะไรก็ได้ เพราะรัฐบาลเปิดให้เข้ามาสอบถามซึ่งกันและกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเปิดอภิปรายลักษณะนี้ฝ่ายค้านมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่จริงใจของรัฐบาล นายวิษณุ กล่าวว่าไม่มีความเห็น แล้วจะให้รัฐบาลทำอย่างไรถึงจะเรียกว่าจริงใจ เมื่อถามว่าเป็นการลดกระแสการเมืองนอกสภาหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้าไม่ลดก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดคาด ส่วนการเปิดสภาจะทำให้การชี้แจงกับประชาชนดีขึ้นหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อยู่ที่การถามและคำตอบ ถ้าคนอยากรู้และตอบชัดเจน คนก็เข้าใจ และจะบอกว่า เป็นการสกัดกันกั้นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านก็ไม่ใช่ เพราะถ้าฝ่ายค้านสามารถเปิดได้ก็เปิดไป แต่การมีอภิปรายอย่างนี้จะทำให้มีข้อมูลมากขึ้น ในการนำข้อมูลมาใช้ในการอภิปรายทั่วไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าการอภิปรายมีสิทธิ์พาดพิงบุคคลที่ไม่อยู่ในครม.ได้มากแค่ไหน นายวิษณุ กล่าวว่า มีหลักในการอภิปรายอยู่แล้ว เมื่อการพาดพิงบุคคลที่สาม ประธานสภาก็จะเตือนและถ้าเป็นบุคคลที่อยู่ในที่ประชุม ก็สามารถฟ้องร้องได้เพราะมีการถ่ายทอดออกอากาศ แต่ถ้าประชุมลับพาดพิงได้ไม่เป็นไร
สั่งไอซีที-คลังหาข้อมูลตีกลับฝ่ายค้าน
แหล่งข่าวในที่ประชุมครม. เปิดเผยว่า ในการขออภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 นายกฯได้สั่งการให้ทางกระทรวงไอซีที เตรียมข้อมูลในเรื่องของการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่กำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นจาก 25 % เป็น 49 % เพื่อการชี้แจงในการประชุมร่วม 2 สภา ในวันที่ 6 มี.ค.นี้ โดยนายกฯย้ำว่า โดยเฉพาะเนื้อหาในช่วงที่มีการพิจารณา ในคณะกรรมาธิการที่มีฝ่ายค้านร่วมเป็นคณะกรรมาธิการด้วย ที่สำคัญยังสนับสนุนให้มีการแก้ไขด้วยซ้ำ ทั้งที่ตนได้คัดค้าน แต่ฝ่ายค้านกลับตำหนิว่า เป็นการปิดกั้นไม่ให้กิจการที่มีลักษณะเดียวกับเอไอเอสโต เนื่องจากขณะนั้นถือว่า ทางเอไอเอส เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการทางด้านการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุด ขณะที่ทางดีเทคได้ทำเรื่อง ขอให้มีการแก้ไข และเมื่อมีการแก้ไขก็หาว่า เป็นการเอื้อต่อการขายหุ้นของเอไอเอส
แหล่งข่าวที่ประชุมครม. เปิดเผยอีกว่า นายกฯ ยังได้สั่งให้กระทรวงการคลัง เตรียมข้อมูลในเรื่องของการขายหุ้นชินคอร์ปให้ชัดเจน และอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งข้อมูลการทำแคปปิตอล เกรน ว่ามีมาเมื่อไร มีใครบ้างที่ซื้อขายในลักษณะนี้ รวมทั้งเปรียบเทียบกับต่างประเทศด้วย
“เนื่องจากตอนนี้มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงกันมากจากบางสื่อ อย่าง บางกอกโพสต์ มติชน เนชั่น และผู้จัดการ ็คุณอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) คงอยากจะเป็นนายกฯ ถึงอยากได้เสียงพรรคไทยรักไทย ซึ่งน่าจะไปถามประชาชนก่อนว่า อยากให้เป็นนายกฯหรือเปล่า ทำอย่างนี้เท่ากับเป็นการทำลายวัฒนธรรมทางการเมือง” นายกฯ กล่าวในการประชุม ครม.
โภคินให้อภิปรายเต็มที 5 วัน
นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ได้รับหนังสือแจ้งจาก ครม.แล้วในการขอเปิดอภิปราย 2 สภา โดยประเด็นที่ เสนอมากว้างมาก มีทั้งเรื่องความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อหน่วยงานด้านการคลัง ตลาดหลักทรัพย์ หรือ เรื่องการทำสัญญาเปิดเสรีทางการค้า ( FTA.) การดูแลความสงบเรียบร้อย ในการชุมนุม การปราบคอรัปชั่น การปฏิรูปการเมือง และการแก้ไขรัฐธรมนูญ ซึ่ง ครม.มีความพร้อมตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. ดังนั้นจะจัดเรื่องนี้เข้าสู่ระเบียบวาระโดยด่วน โดยจะเรียกวิป ฝ่ายค้าน วิปรัฐบาลและวิปวุฒเข้าหารือในวันที่ 1 มี.ค. นี้เพื่อกำหนดสัดส่วนเวลาในการอภิปรายของสมาชิกแต่ละฝ่าย คิดว่าวันที่ 6 มี.ค.จะสามารถเปิดประชุมร่วม 2 สภาได้
นายโภคิน กล่าวว่า ได้คุยกับนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภาแล้วว่า จะเปิดอภิปราย5 วัน ตกวันละ 8 ชั่วโมง รวม 40 ชั่วโมง ถ้าอภิปรายวันละ15 ชั่วโมงคงไม่ไหว อย่างไรก็ดี หากประชุมในวันที่ 6 มี.ค. วุฒิสภาจะขอเวลา 1 ชั่วโมงเพื่ออภิปรายรับทราบกรณีที่ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสตง.กลับเข้าสู่ตำแหน่ง
เตือนฝ่ายค้านไม่ใช่อภิปรายไม่ไว้วางใจ
ส่วนที่นายวิษณุ ระบุว่า ไม่ให้อภิปรายเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ป ของครอบครัว นายกฯ ตลอดจนการหลบเลี่ยงภาษี นายโภคิน กล่าวว่า สมาชิกสามารถสอบถามได้ว่า รัฐบาลปฏิบัติเรื่องนั้นเรื่องนี้ถูกหรือไม่ รัฐบาลก็ต้องตอบ แต่ต้องเข้าใจว่าการอภิปราย ทั้ง 2 สภาไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากสมาชิกอภิปรายในลักษณะดังกล่าว ตนก็จำเป็นต้องเตือน ทั้งนี้ยอมรับว่า ในการอภิปรายคงมีความคาบเกี่ยวกันแต่กติกาที่ร่างขึ้นก็ปฏิบัติมานานแล้ว ไม่ใช่ตนหรือนายกฯจะเป็นผู้ที่ร่างขึ้นมาใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าฝ่ายค้านอาจจะโยงความผิดพลาดในการทำงานของกระทรวงการคลัง โดยยกกรณีของ นายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรีของนายกฯขึ้นมา และอาจมีความวุ่นวายเกิดขึ้นได้ นายโภคิน กล่าวว่า ผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณา ตนตอบแทนไม่ได้ และจะปฏิบัติตามข้อบังคับ ขอให้สมาชิกอภิปรายอยู่ในประเด็น
“มาร์ค”ยัน‘แม้ว”สัญญาจะให้ยืมเสียงเอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทวงถามสัญญาของนายกฯที่จะให้เสียงฝ่ายค้านในการยื่น อภิปรายฯนายกฯ เห็นว่าการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯน่าจะเป็นทางออกในการคลี่คลายและได้รับคำชี้แจงในสภา เกี่ยวกับปัญหาความคลางแคลงใจที่เกิดขึ้นในสังคมได้ดี การเปิดอภิปรายทั่วไปของ 2 สภาโดยไม่ลงมติ ไม่ตรงกับสิ่งที่ประชาชนเรียกร้อง เพราะเป็นเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเป็นฝ่ายปรึกษาสภา
ส่วนที่นายกฯระบุว่าการที่ฝ่ายค้านมาขอเสียงรัฐบาลเพื่อเปิดอภิปราย ไม่ไว้วางใจ เป็นเรื่องประหลาดนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องที่จะให้เสียง ส.ส.ในการเปิดอภิปรายเป็นข้อเสนอของนายกฯเอง ยืนยันว่าเราทำตามรัฐธรรมนูญ คือต้องหาเสียงให้ครบเพื่อเปิดอภิปรายฯนายกฯ ขอให้ไปอ่านรัฐธรรมนูญดูว่า กรณีการเข้าชื่อเสนอญัตตินั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้พูดเรื่องมติพรรค และไม่ได้พูดเรื่องฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ส.ส.มีสิทธิที่จะเสนอได้ ที่สำคัญถ้าบอกว่า เราเล่นนอกกติกา ก็ต้องถามว่า วันนั้นปล่อยให้นายกฯพูดได้อย่างไร ถ้าทำไม่ได้ แต่ก็ต้องให้โอกาสท่าน เผื่อจะรักษาสัจจะ เราจะรอท่านนายกฯขอให้ตอบมาก่อน เพราะจะไปใช้ช่องทางอื่น ๆ จะไม่ตรงเท่าช่องทางนี้ เราต้องเอาช่องทางที่ตรงที่สุด
ส่วนที่ รัฐบาลจะให้นายทนง พิทยะ รมว.คลัง ตอบเรื่องหุ้นแอมเพิลริชนั้น นายอภิสิทธิ์ ย้อนถามว่า นายทนงทราบเรื่องหุ้น แอมเพิลริชได้อย่างไร เพราะเรื่องหุ้นของชินคอร์ปมีหลายแง่มุม และหลายเรื่องเป็นเรื่องที่นายกฯเคยพูด หรือเคยแถลงเอาไว้ และเป็นปัญหาเรื่องจริยธรรมของนายกฯด้วย จึงอยากถามว่า นายทนงจะตอบเรื่องจริยธรรมของนายกฯได้หรือไม่ เพราะแม้แต่โฆษกของครอบครัวชินวัตรยังตอบไม่ได้เลย