ผู้จัดการรายวัน - ฝ่ายค้านยกร่างญัตติซักฟอก “ทักษิณ”เสร็จวันนี้ เผยอยู่ใน 5 กรอบที่สื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การถอดถอน จากนั้นจะเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ ขณะเดียวกันเตรียมทำหนังสือทวงสัญญาที่เคยประกาศว่าจะให้ฝ่ายค้านยืมเสียงซักฟอกนายกฯ ระบุ “สัจจะวาจา” ถือเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำประเทศ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงาน พรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) แถลงภายหลังประชุมวิปฝ่ายค้านเป็นกรณีพิเศษ เพื่อหารือถึงการเสนอให้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันว่ากรอบที่จะใช้ในการร่างญัตตินั้นจะชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีโดยจะอยู่ใน 5 กรอบ คือ การใช้อำนาจ การทุจริตเชิงนโยบายที่มีผลสำเร็จ การออกกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ การไม่ปกป้องรักษาสมบัติชาติ และการบริหาราชการแผ่นดินผิดพลาดร้ายแรง กระทบต่อประชาชนและประเทศชาติ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ไปร่างตามกรอบทั้ง 5 ซึ่งคาดว่าจะยกร่างเสร็จภายในวันที่ 17 ก.พ. ซึ่งเมื่อร่างเสร็จแล้วจะเปิดเผยเหตุผลต่อสาธารณะต่อไป เพื่อนำไปขอเสียง ส.ส.จากซีกรัฐบาล
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังมีมติให้ยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี แต่คำร้องขอยื่นจะต้องมีการระบุพฤติกรรมเป็นข้อๆ ดังนั้น จึงต้องขอเวลา คาดว่าสัปดาห์หน้าจะร่างคำร้องถอดถอนเสร็จสิ้น โดยเชื่อว่านายกฯมีพฤติกรรมเข้าข่ายประเด็นในการยื่นถอดถอนได้ตามมาตรา 303 และมาตรา 304 เกี่ยวกับการทุจริต ต่อหน้าที่ จงใจฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญและร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งขณะนี้มีพฤติกรรมชัดเจน ในการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ
“หากนายกฯอยู่ในตำแหน่งต่อไปแล้วไม่สามารถตรวจสอบได้ จะทำให้เกิดปัญหา เนื่องจากนายกฯ อยู่ในสถานะที่ไม่สามารถถูกตรวจสอบมานานกว่า 5 ปี จึงทำให้การบริหารราชการแผ่นดินมีพฤติกรรมในการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อเอื้อประโยชน์กับตนเองครอบครัวและพวกพ้องต่อเนื่องมานานถึง 5 ปี”
ส่วนที่มีคำถามว่าฝ่ายค้านมีเสียง124 เสียง แต่การยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีจะต้องใช้เสียง 200 เสียงนั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้นายกฯ ได้ให้สัญญากับประชาชนซึ่งถือเป็นการให้สัญญาประชาคมไว้ในการให้สัมภาษณ์ ในรายการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 25 ส.ค.2547 ระหว่างเดินทางไป ตรวจราชการภาคใต้ ซึ่งก่อนจะมีการเลือกตั้ง โดยนายกฯได้สัญญาว่าฝ่ายค้าน ไม่สามารถอภิปรายนายกฯได้แต่ทุกครั้งที่เปิดอภิปรายก็อภิปรายกระทบนายกฯ ทุกครั้ง ดังนั้น ถ้าประชาชนศรัทธามอบคะแนนเสียงเกิน 400 ถ้าฝ่ายค้าน อยากอภิปรายเมื่อใดขอให้บอกมา เดี๋ยวเซ็นให้ ดังนั้นในสัปดาห์หน้าวิปฝ่ายค้านจะทำหนังสือทวงสัญญาและแนบญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจพร้อมถอดเทปคำสัญญาของนายกฯ เพื่อนำไปยื่นให้นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลและขอให้นายกฯตอบด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจแค่ไหนว่านายกรัฐมนตรี จะให้เสียงในครั้งนี้ นายสาทิตย์ กล่าวว่า สัจจะวาจา เป็นคุณสมบัติสำคัญของคนที่เป็นผู้นำประเทศ สิ่งใดที่พูดออกมาแล้วคนที่เป็นผู้นำจะต้องรักษาสัจจะวาจาซึ่งจะเป็นพิสูจน์ว่าท่านจะมีความชอบธรรมในการบริหาประเทศอีกต่อไปหรือไม่ เพราะคำสัญญาดังกล่าว ถือเป็นสัญญาประชาคม ซึ่งการทวงสัญญา ไม่ใช่เป็นเรื่องนามธรรม เพราะยังไม่ทันไรนายกฯก็ขู่ยุบสภา ไม่น่าเชื่อว่าท่านจะต้องไปขู่ลูกพรรคตัวเอง
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่นายกฯจะตัดสินใจยุบสภา เพราะเป็นทางออกทางเดียว เนื่องจาก นายกฯต้องเผชิญ 3 เรื่องคือ การเข้าชื่อยื่นถอดถอน การขับไล่ และการถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งการยุบสภาเป็นการข่มขู่สมาชิกไม่ให้เข้าร่วมลงชื่อ ดังนั้นฝ่ายค้านเห็นว่า 5 ปีสิ่งที่นายกฯกลัวที่สุด คือการถูกตรวจสอบ ถ่วงดุลในสภา ถ้านายกฯประกาศว่าพร้อมก็ขอทวงสัจจะให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะทองแท้ ย่อมไม่กลัวการพิสูจน์ ต้องเป็นทองไม่กลัวไฟเพราะการยุบสภาเป็นการแก้ไขปัญหาตัวเอง แต่ไม่ใช่แก้ปัญหาประเทศชาติ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงาน พรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) แถลงภายหลังประชุมวิปฝ่ายค้านเป็นกรณีพิเศษ เพื่อหารือถึงการเสนอให้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันว่ากรอบที่จะใช้ในการร่างญัตตินั้นจะชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีโดยจะอยู่ใน 5 กรอบ คือ การใช้อำนาจ การทุจริตเชิงนโยบายที่มีผลสำเร็จ การออกกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ การไม่ปกป้องรักษาสมบัติชาติ และการบริหาราชการแผ่นดินผิดพลาดร้ายแรง กระทบต่อประชาชนและประเทศชาติ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ไปร่างตามกรอบทั้ง 5 ซึ่งคาดว่าจะยกร่างเสร็จภายในวันที่ 17 ก.พ. ซึ่งเมื่อร่างเสร็จแล้วจะเปิดเผยเหตุผลต่อสาธารณะต่อไป เพื่อนำไปขอเสียง ส.ส.จากซีกรัฐบาล
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังมีมติให้ยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี แต่คำร้องขอยื่นจะต้องมีการระบุพฤติกรรมเป็นข้อๆ ดังนั้น จึงต้องขอเวลา คาดว่าสัปดาห์หน้าจะร่างคำร้องถอดถอนเสร็จสิ้น โดยเชื่อว่านายกฯมีพฤติกรรมเข้าข่ายประเด็นในการยื่นถอดถอนได้ตามมาตรา 303 และมาตรา 304 เกี่ยวกับการทุจริต ต่อหน้าที่ จงใจฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญและร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งขณะนี้มีพฤติกรรมชัดเจน ในการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ
“หากนายกฯอยู่ในตำแหน่งต่อไปแล้วไม่สามารถตรวจสอบได้ จะทำให้เกิดปัญหา เนื่องจากนายกฯ อยู่ในสถานะที่ไม่สามารถถูกตรวจสอบมานานกว่า 5 ปี จึงทำให้การบริหารราชการแผ่นดินมีพฤติกรรมในการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อเอื้อประโยชน์กับตนเองครอบครัวและพวกพ้องต่อเนื่องมานานถึง 5 ปี”
ส่วนที่มีคำถามว่าฝ่ายค้านมีเสียง124 เสียง แต่การยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีจะต้องใช้เสียง 200 เสียงนั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้นายกฯ ได้ให้สัญญากับประชาชนซึ่งถือเป็นการให้สัญญาประชาคมไว้ในการให้สัมภาษณ์ ในรายการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 25 ส.ค.2547 ระหว่างเดินทางไป ตรวจราชการภาคใต้ ซึ่งก่อนจะมีการเลือกตั้ง โดยนายกฯได้สัญญาว่าฝ่ายค้าน ไม่สามารถอภิปรายนายกฯได้แต่ทุกครั้งที่เปิดอภิปรายก็อภิปรายกระทบนายกฯ ทุกครั้ง ดังนั้น ถ้าประชาชนศรัทธามอบคะแนนเสียงเกิน 400 ถ้าฝ่ายค้าน อยากอภิปรายเมื่อใดขอให้บอกมา เดี๋ยวเซ็นให้ ดังนั้นในสัปดาห์หน้าวิปฝ่ายค้านจะทำหนังสือทวงสัญญาและแนบญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจพร้อมถอดเทปคำสัญญาของนายกฯ เพื่อนำไปยื่นให้นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลและขอให้นายกฯตอบด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจแค่ไหนว่านายกรัฐมนตรี จะให้เสียงในครั้งนี้ นายสาทิตย์ กล่าวว่า สัจจะวาจา เป็นคุณสมบัติสำคัญของคนที่เป็นผู้นำประเทศ สิ่งใดที่พูดออกมาแล้วคนที่เป็นผู้นำจะต้องรักษาสัจจะวาจาซึ่งจะเป็นพิสูจน์ว่าท่านจะมีความชอบธรรมในการบริหาประเทศอีกต่อไปหรือไม่ เพราะคำสัญญาดังกล่าว ถือเป็นสัญญาประชาคม ซึ่งการทวงสัญญา ไม่ใช่เป็นเรื่องนามธรรม เพราะยังไม่ทันไรนายกฯก็ขู่ยุบสภา ไม่น่าเชื่อว่าท่านจะต้องไปขู่ลูกพรรคตัวเอง
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่นายกฯจะตัดสินใจยุบสภา เพราะเป็นทางออกทางเดียว เนื่องจาก นายกฯต้องเผชิญ 3 เรื่องคือ การเข้าชื่อยื่นถอดถอน การขับไล่ และการถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งการยุบสภาเป็นการข่มขู่สมาชิกไม่ให้เข้าร่วมลงชื่อ ดังนั้นฝ่ายค้านเห็นว่า 5 ปีสิ่งที่นายกฯกลัวที่สุด คือการถูกตรวจสอบ ถ่วงดุลในสภา ถ้านายกฯประกาศว่าพร้อมก็ขอทวงสัจจะให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะทองแท้ ย่อมไม่กลัวการพิสูจน์ ต้องเป็นทองไม่กลัวไฟเพราะการยุบสภาเป็นการแก้ไขปัญหาตัวเอง แต่ไม่ใช่แก้ปัญหาประเทศชาติ