ศูนย์ข่าวภูเก็ต -การติดตั้งหอเตือนภัยในฝั่งอันดามันทั้ง 62 หอ บนบกเสร็จแค่ครึ่งเดียว 31 หอ ส่วนที่เหลือบนเกาะกลางทะเลอีก 31 หอ บริษัทรับติดตั้งตอบไม่ได้เสร็จเมื่อไหร่ เพราะติดปัญหาการขนส่งอุปกรณ์ก่อสร้างและระบบเตือนภัย ที่มีตัวแปรจากสภาพคลื่นลม ส่วนที่ภูเก็ตเหลือแค่ที่เกาะโหลน ซึ่งจะเชื่อมสัญญาณสัปดาห์หน้า ขณะที่ผู้ว่าฯต้องการติดตั้งเพิ่ม บนเกาะราชา
นางอรสา แป้งหอม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เรย์แด้น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทดำเนินการติดตั้งระบบเตือนภัยในฝั่งทะเลอันดามัน (หอกระจายข่าว) เปิดเผยถึงความคืบหน้า การติดตั้งหอเตือนภัยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และฝั่งทะเลอันดามัน ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่าฯซีอีโอ)วานนี้(15 ก.พ.) เพื่อนำเสนอการติดตั้งหอเตือนภัยในภูเก็ตทั้งหมด ก่อนส่งมอบงาน วันที่ 19 ก.พ. ว่า
การติดตั้งหอเตือนภัย ที่บริษัทรับผิดชอบจะต้องดำเนินการใน 6 จังหวัดอันดามัน 62 หอ งบประมาณ 61 ล้านบาท ขณะนี้เสร็จแล้ว และเชื่อมต่อสัญญาณกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 31 หอ ส่วนที่เหลืออีก 31 หอ ซึ่งทั้งหมดจะต้องติดตั้งตามเกาะแก่งต่างๆ ใน 6 จังหวัดยังไม่แล้วเสร็จ และยังระบุไม่ได้ว่าทั้ง 31 หอจะแล้วเสร็จเมื่อใด
ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปเพียง 8 หอเท่านั้น ซึ่งจะต้องรอให้กรมโยธาธิการก่อสร้างเสาให้แล้วเสร็จก่อน บริษัทถึงจะนำระบบเตือนภัยไปติดตั้งได้ และการติดตั้งจะมีปัญหาการขนส่งอุปกรณ์ต่างๆที่ขึ้นอยู่กับสภาพลมฟ้าอากาศ
ส่วนการติดตั้งหอเตือนภัยในพี้นที่จังหวัดภูเก็ตทั้งหมด 18 หอ ใช้งบประมาณของจังหวัดภูเก็ต 9 หอ เอกชนบริจาคที่หาดป่าตอง 3 หอ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ(ไอทีซี) 3 จุด และบริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน)บริจาคอีก 2 จุด (ยังไม่ได้ก่อสร้าง) โดยทั้ง 16 จุด สามารถที่จะเชื่อต่อสัญญาณกับศูนย์เตือนภัยพิบัติได้แล้ว 15 จุด เหลือเพียง 1 จุดเท่านั้นที่เกาะโหลนที่จะเชื่อมสัญญาณเตือนภัยในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะทำให้ครอบคลุมทุกจุดในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจังหวัดภูเก็ต ที่ได้มีการติดตั้งไปแล้วมีปัญหาเกิดขึ้น โดยเฉพาะหอเตือนภัยที่บริเวณอ่าวยนต์ ได้มีผู้ขโมยสายดิน ที่ติดตั้งเพื่อกันฟ้าผ่าแล้วถึง 2 ครั้ง
สำหรับหอเตือนภัยที่ภูเก็ตที่ติดตั้งไปแล้ว 9 หอ แบ่งเป็นหอขนาดใหญ่ 6 หอ ติดตั้งตามชายหาดต่างๆ ที่หาดกะตะ กะรน กมลา ในยาง ไม้ขาว บางเทา เป็นต้น ส่วนหอเตือนภัยขนาดเล็ก 3 หอ ประกอบด้วย สะพานหิน อ่าวยนต์ และอ่าวปอ
นางอรสา กล่าวอีกว่า ภายหลังจากที่การก่อสร้างในพื้นที่อันดามันแล้วเสร็จ รัฐบาลมีโครงการที่จะติดตั้งหอเตือนภัยเพิ่มอีก 19 จุด ในพื้นที่ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่ภาคตะวันออก และภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีมาจนถึงจังหวัดนราธิวาส โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการยื่นซองประมูล โดยหอเตือนภัยดังกล่าวจะมีสัญญาณเตือนภัยทั้งหมด 9 เสียง เช่น เสียงเตือนฝนตกหนัก พายุ น้ำท่วม เขื่อนแตก คลื่นลมแรง เป็นต้น
ขณะที่นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตต้องการที่จะให้บริษัทเรย์แด้นฯ ศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งหอเตือนภัย ที่เกาะราชา เพราะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าไปเป็นจำนวนมาก จำเป็นที่จะต้องมีระบบเตือนภัย ที่สามารถแจ้งเตือนได้ทันที เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยว และคาดว่าในอนาคตเกาะราชาจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปมากขึ้น
นอกจากนี้ยังต้องการที่จะให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเอกภาพในการจัดสรรงบประมาณสำหรับการบริหารจัดการหอเตือนภัยที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมด เพราะจากข้อมูลของบริษัท การดูแลรักษาจะต้องใช้ถึงต้นละ 60,000 บาทต่อปี เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลการดูแลรักษาจะต้องทำบ่อยกว่าพื้นที่ที่อยู่ไกลทะเล
นางอรสา แป้งหอม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เรย์แด้น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทดำเนินการติดตั้งระบบเตือนภัยในฝั่งทะเลอันดามัน (หอกระจายข่าว) เปิดเผยถึงความคืบหน้า การติดตั้งหอเตือนภัยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และฝั่งทะเลอันดามัน ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่าฯซีอีโอ)วานนี้(15 ก.พ.) เพื่อนำเสนอการติดตั้งหอเตือนภัยในภูเก็ตทั้งหมด ก่อนส่งมอบงาน วันที่ 19 ก.พ. ว่า
การติดตั้งหอเตือนภัย ที่บริษัทรับผิดชอบจะต้องดำเนินการใน 6 จังหวัดอันดามัน 62 หอ งบประมาณ 61 ล้านบาท ขณะนี้เสร็จแล้ว และเชื่อมต่อสัญญาณกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 31 หอ ส่วนที่เหลืออีก 31 หอ ซึ่งทั้งหมดจะต้องติดตั้งตามเกาะแก่งต่างๆ ใน 6 จังหวัดยังไม่แล้วเสร็จ และยังระบุไม่ได้ว่าทั้ง 31 หอจะแล้วเสร็จเมื่อใด
ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปเพียง 8 หอเท่านั้น ซึ่งจะต้องรอให้กรมโยธาธิการก่อสร้างเสาให้แล้วเสร็จก่อน บริษัทถึงจะนำระบบเตือนภัยไปติดตั้งได้ และการติดตั้งจะมีปัญหาการขนส่งอุปกรณ์ต่างๆที่ขึ้นอยู่กับสภาพลมฟ้าอากาศ
ส่วนการติดตั้งหอเตือนภัยในพี้นที่จังหวัดภูเก็ตทั้งหมด 18 หอ ใช้งบประมาณของจังหวัดภูเก็ต 9 หอ เอกชนบริจาคที่หาดป่าตอง 3 หอ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ(ไอทีซี) 3 จุด และบริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน)บริจาคอีก 2 จุด (ยังไม่ได้ก่อสร้าง) โดยทั้ง 16 จุด สามารถที่จะเชื่อต่อสัญญาณกับศูนย์เตือนภัยพิบัติได้แล้ว 15 จุด เหลือเพียง 1 จุดเท่านั้นที่เกาะโหลนที่จะเชื่อมสัญญาณเตือนภัยในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะทำให้ครอบคลุมทุกจุดในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจังหวัดภูเก็ต ที่ได้มีการติดตั้งไปแล้วมีปัญหาเกิดขึ้น โดยเฉพาะหอเตือนภัยที่บริเวณอ่าวยนต์ ได้มีผู้ขโมยสายดิน ที่ติดตั้งเพื่อกันฟ้าผ่าแล้วถึง 2 ครั้ง
สำหรับหอเตือนภัยที่ภูเก็ตที่ติดตั้งไปแล้ว 9 หอ แบ่งเป็นหอขนาดใหญ่ 6 หอ ติดตั้งตามชายหาดต่างๆ ที่หาดกะตะ กะรน กมลา ในยาง ไม้ขาว บางเทา เป็นต้น ส่วนหอเตือนภัยขนาดเล็ก 3 หอ ประกอบด้วย สะพานหิน อ่าวยนต์ และอ่าวปอ
นางอรสา กล่าวอีกว่า ภายหลังจากที่การก่อสร้างในพื้นที่อันดามันแล้วเสร็จ รัฐบาลมีโครงการที่จะติดตั้งหอเตือนภัยเพิ่มอีก 19 จุด ในพื้นที่ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่ภาคตะวันออก และภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีมาจนถึงจังหวัดนราธิวาส โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการยื่นซองประมูล โดยหอเตือนภัยดังกล่าวจะมีสัญญาณเตือนภัยทั้งหมด 9 เสียง เช่น เสียงเตือนฝนตกหนัก พายุ น้ำท่วม เขื่อนแตก คลื่นลมแรง เป็นต้น
ขณะที่นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตต้องการที่จะให้บริษัทเรย์แด้นฯ ศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งหอเตือนภัย ที่เกาะราชา เพราะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าไปเป็นจำนวนมาก จำเป็นที่จะต้องมีระบบเตือนภัย ที่สามารถแจ้งเตือนได้ทันที เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยว และคาดว่าในอนาคตเกาะราชาจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปมากขึ้น
นอกจากนี้ยังต้องการที่จะให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเอกภาพในการจัดสรรงบประมาณสำหรับการบริหารจัดการหอเตือนภัยที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมด เพราะจากข้อมูลของบริษัท การดูแลรักษาจะต้องใช้ถึงต้นละ 60,000 บาทต่อปี เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลการดูแลรักษาจะต้องทำบ่อยกว่าพื้นที่ที่อยู่ไกลทะเล