ศูนย์ข่าวภูเก็ต -กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ตั้งงบประมาณผูกพันกว่า 300 ล้านบาท พัฒนาท่าเรืออ่าวฉลองเป็นมารีนา สำหรับรับเรือยอชต์ต่างชาติ ประเดิมเฟสแรก 70 ล้านบาทในปี 2549-2550 สร้างที่จอดเรือยอชต์ 70 ลำ จากทั้งโครงการที่ต้องสร้างรองรับถึง 270 ลำ
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ ที่มีนายพงษ์ศักดิ์ พลายเวช รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน วานนี้ (8 ก.พ.) ได้มีการพิจารณาการโยกย้ายงบประมาณในปี 2549 ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลแล้ว 2 โครงการ ไปใช้ในโครงการอื่นแทนที่มีความพร้อมกว่า ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลนครภูเก็ตที่ได้รับงบประมาณในปี 2549 จำนวน 20 ล้านบาท แต่ไม่สามารถที่จะก่อสร้างภายในปีนี้ ได้เนื่องจากติดปัญหาที่ดิน
จังหวัดภูเก็ต จึงได้เสนอที่จะโอนย้ายงบประมาณดังกล่าว ไปดำเนินการในโครงการที่จะของบประมาณในปี 2550 เข้ามาดำเนินการแทน คือโครงการเพาะเนื้อเหยื่องบประมาณ 13 ล้านบาท และโครงการ ก่อสร้างแพผลิตน้ำประปาจำนวน 16 ล้านบาท
ส่วนโครงการที่ 2 ที่จะต้องมีการโยกย้ายงบประมาณ คือ โครงการก่อสร้างมารีนาที่อ่าวฉลอง ซึ่งจังหวัดภูเก็ตได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ 2549 จำนวน 45 ล้านบาท แต่ปรากฏว่า กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ตั้งงบประมาณที่จะดำเนินโครงการก่อสร้างที่จอดเรือยอชต์ที่ท่าเรืออ่าวฉลอง ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ตแล้ว โดยตั้งเป็นงบฯผูกพันทั้งสิ้น 300 ล้านบาท เพื่อที่จะก่อสร้างที่จอดเรือยอชต์ ที่เป็นคอนกรีตลอยน้ำทั้งหมด 270 ลำ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
"ในปี 2549 -2550 ได้จัดสรรงบประมาณ มาดำเนินการแล้ว 70 ล้านบาท ก่อสร้างที่จอดเรือยอชต์เฟสแรกประมาณ 70 ลำ "
จังหวัดภูเก็ตจึงได้โอนย้ายงบประมาณจำนวน 45 ล้านบาท ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาท่าเรืออ่าวฉลองเป็นมารีนา แต่งบฯดังกล่าวจะนำไปพัฒนาในส่วนที่อยู่บนบก เพราะในส่วนของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีจะเน้นการพัฒนาในน้ำ
ทั้งนี้ จังหวัดภูเก็ตจะนำงบประมาณดังกล่าว ไปซื้ออาคารสำหรับจัดตั้งเป็นศูนย์ควบคุมเรือ หรือ PPCC เพื่อให้บริการเรือยอชต์และนักท่องเที่ยวทางเรือ ในลักษณะเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ซึ่งขณะนี้ได้ใช้อาคารของอบจ.ท่าเรืออ่าวฉลองอยู่ รวมทั้งจะมีการปรับปรุงถนน ทางออกจากท่าเรืออ่าวฉลอง ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างที่จะแออัดมาก ช่วงนักท่องเที่ยวเดินทางไป-กลับจากเกาะ
อย่างไรก็ตาม งบประมาณทั้ง 2 โครงการในปี 2549 ที่จะโอนย้ายไปดำเนินการในโครงการอื่น จังหวัดภูเก็ตจะมีการนำเสนอขอความเห็นชอบ ต่อทางรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบพื้นที่ภูเก็ตอีกครั้งหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ ที่มีนายพงษ์ศักดิ์ พลายเวช รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน วานนี้ (8 ก.พ.) ได้มีการพิจารณาการโยกย้ายงบประมาณในปี 2549 ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลแล้ว 2 โครงการ ไปใช้ในโครงการอื่นแทนที่มีความพร้อมกว่า ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลนครภูเก็ตที่ได้รับงบประมาณในปี 2549 จำนวน 20 ล้านบาท แต่ไม่สามารถที่จะก่อสร้างภายในปีนี้ ได้เนื่องจากติดปัญหาที่ดิน
จังหวัดภูเก็ต จึงได้เสนอที่จะโอนย้ายงบประมาณดังกล่าว ไปดำเนินการในโครงการที่จะของบประมาณในปี 2550 เข้ามาดำเนินการแทน คือโครงการเพาะเนื้อเหยื่องบประมาณ 13 ล้านบาท และโครงการ ก่อสร้างแพผลิตน้ำประปาจำนวน 16 ล้านบาท
ส่วนโครงการที่ 2 ที่จะต้องมีการโยกย้ายงบประมาณ คือ โครงการก่อสร้างมารีนาที่อ่าวฉลอง ซึ่งจังหวัดภูเก็ตได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ 2549 จำนวน 45 ล้านบาท แต่ปรากฏว่า กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ตั้งงบประมาณที่จะดำเนินโครงการก่อสร้างที่จอดเรือยอชต์ที่ท่าเรืออ่าวฉลอง ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ตแล้ว โดยตั้งเป็นงบฯผูกพันทั้งสิ้น 300 ล้านบาท เพื่อที่จะก่อสร้างที่จอดเรือยอชต์ ที่เป็นคอนกรีตลอยน้ำทั้งหมด 270 ลำ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
"ในปี 2549 -2550 ได้จัดสรรงบประมาณ มาดำเนินการแล้ว 70 ล้านบาท ก่อสร้างที่จอดเรือยอชต์เฟสแรกประมาณ 70 ลำ "
จังหวัดภูเก็ตจึงได้โอนย้ายงบประมาณจำนวน 45 ล้านบาท ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาท่าเรืออ่าวฉลองเป็นมารีนา แต่งบฯดังกล่าวจะนำไปพัฒนาในส่วนที่อยู่บนบก เพราะในส่วนของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีจะเน้นการพัฒนาในน้ำ
ทั้งนี้ จังหวัดภูเก็ตจะนำงบประมาณดังกล่าว ไปซื้ออาคารสำหรับจัดตั้งเป็นศูนย์ควบคุมเรือ หรือ PPCC เพื่อให้บริการเรือยอชต์และนักท่องเที่ยวทางเรือ ในลักษณะเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ซึ่งขณะนี้ได้ใช้อาคารของอบจ.ท่าเรืออ่าวฉลองอยู่ รวมทั้งจะมีการปรับปรุงถนน ทางออกจากท่าเรืออ่าวฉลอง ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างที่จะแออัดมาก ช่วงนักท่องเที่ยวเดินทางไป-กลับจากเกาะ
อย่างไรก็ตาม งบประมาณทั้ง 2 โครงการในปี 2549 ที่จะโอนย้ายไปดำเนินการในโครงการอื่น จังหวัดภูเก็ตจะมีการนำเสนอขอความเห็นชอบ ต่อทางรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบพื้นที่ภูเก็ตอีกครั้งหนึ่ง