ผู้จัดการรายวัน - “อลงกรณ์” ยันมีหลักฐาน “ณฐนนท ทวีสิน” ลงนามเร่งรัดประมูล 10 โครงการ กทม.เอง ทั้งที่ มหาดไทยมีหนังสือให้ยับยั้ง แต่ไม่แจ้งให้ผู้บริหาร กทม.ทราบ เตือนปลัด กทม.อย่าเพิ่งลาออก จะให้โอกาสเชิญมาชี้แจงอีกครั้ง วันที่ 1 ก.พ.นี้ ย้ำ กมธ.ป.ป.ช.สอบทุกคนที่เกี่ยวข้องแน่ ด้าน ทรท.งัดข้อมูลป้ายจราจรอัจฉริยะเล่นงาน “อภิรักษ์” ระบุเอื้อเอกชนได้ประโยชน์ 6พันล้าน ขณะที่ กทม.ได้แค่ 40 ล้าน แถมตามเช็ค รถ“ภริยาอภิรักษ์” ได้มาจากการรับสินบนหรือไม่ “ศิธา” ทำตัวเป็นผู้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ชี้ผลสอบ “ประทิน” โยน ขรก.เป็นแพะฮั้วประมูลแน่
นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ รองประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม. ) กล่าวหาว่านายอลงกรณ์ เข้าใจผิดและพุ่งเป้าจับผิดการ อั้วประมูล 10 โครงการของกทม.มาที่คุณหญิงณฐนนท ว่า ขอยืนยันไม่ได้เข้าใจผิด และทางกรรมาธิการฯ จะตรวจสอบทุกคน ไม่ได้พุ่งประเด็นมาที่ปลัดกทม.เพียงคนเดียว แต่เนื่องจากการที่ปลัดกทม.ชี้แจงในที่ประชุมกรรมาธิการฯว่า ไม่ได้รับทราบกรณี การประมูล 10 โครงการในกทม. เพราะไม่ได้อ่านหนังสือที่กระทรวงมหาดไทยขอยับยั้งการประมูล แต่ได้ส่งเรื่องให้ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าฯกทม. ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามที่กรรมาธการฯได้ทราบ
“เรามีหลักฐานหนังสือร้องเรียนลงวันที่ 20 ธันวาคม 2548 จากนั้นในวันที่ 21 ธันวาคม กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือมายัง กทม.เพื่อขอให้ชะลอหรือระงับโครงการประมูล แต่ในวันที่ 22 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันประมูล ปลัดกทม.ได้เป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองงานในความรับผิดชอบของปลัดกทม. เวลา 08.30 น. แต่กลับเดินหน้าประมูลต่อโดยไม่แจ้งให้ผู้บริหารระดับสูงของกทม.ทราบ”
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า การที่รองปลัดกทม. ได้ชี้แจงต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า ในการประชุมดังกล่าวได้มีการทักท้วงว่า หนังสือจากกระทรวงมหาดไทย ควรส่งรายงานให้นายสามารถ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. เพื่อใช้ดุลพินิจ ว่าจะระงับโครงการหรือไม่ แต่ที่ประชุมกลับมีมติว่า เรื่องดังกล่าวสามารถชี้แจงได้ จึงไม่ระงับการประมูล พร้อมกับลงลายเซ็นของ ปลัดกทม. เพื่อเร่งรัดให้ดำเนินการประมูล ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่โครงการซึ่งใข้งบประมาณกว่า 20,000 ล้านบาท แต่ปลัดกทม.กลับไม่ทราบเรื่อง
ดังนั้นปลัดกทม.อย่าเพิ่งลาออกด้วยความน้อยใจ หรือเบี่ยงเบนประเด็นว่า เป็นเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์พุ่งเป้ามายังปลัดกทม. เพื่อหาแพะ แต่เป็นเรื่องของ กรรมาธิการฯ ที่ต้องตรวจสอบทุกคนที่เกี่ยวข้อง โดยวันที่ 30 มกราคมจะเชิญ นางณฐนนท์ มาชี้แจงเพื่อให้โอกาสอีกครั้ง และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ จะเชิญนายอภิรักษ์ และนายสามารถ มาชี้แจง โดยเฉพาะกรณีการจัดซื้อรถบีเอ็มดับเบิ้ลยูด้วยเงินสด
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า การที่พรรคไทยรักไทย ระบุว่าฝ่ายค้านพยายาม เบี่ยงเบนและบีบข้าราชการประจำ ยืนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของกรรมาธิการฯ ที่มี นายเทวัญ ลิปตพัลลภ ส.ส.นครราชสีมา พรรคไทยรักไทย เป็นประธาน และไม่ได้พุ่งเป้าไปที่ข้าราชการเพียงอย่างเดียว
ทรท.งัดป้ายจราจรอัจฉริยะฟัด“อภิรักษ์”
วานนี้ (29 ม.ค.) น.ต.ศิธา ทิวารี โฆษกพรรค ได้นำ นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ ส.ก.เขตลาดกระบัง และนายชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล ส.ก.เขตบางกะปิ พรรคไทยรักไทย ร่วมกันแถลงข่าวการทุจริตโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกและอุโมงค์16โครงการ มูลค่า 2หมื่นล้านบาทของกทม.และป้ายจราจรอัจฉริยะมูลค่า 200ล้านบาท ที่บริษัท จีเนียส คอมมูนิเคชั่น ซิสเต็ม(G.C.S.)และบริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซิสเต็ม (G.T.S.) ได้รับสัมปทานโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ในการแถลง น.ต.ศิธา นำเอกสารสัญญาสัมปทานดังกล่าวมาร่วมแถลงข่าวด้วย
น.ต.ศิธา กล่าวว่า พรรคได้ข้อมูลต่างๆ จากข้าราชการใน กทม.และประชาชนโดยเฉพาะโครงการที่ลงท้ายด้วยคำว่าอัจฉริยะ เช่นโครงการป้ายจราจรอัจฉริยะที่มีการติดตั้งป้ายในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งได้รับการร้องเรียนว่า สมาธิการขับรถของประชาชนอาจถูกรบกวน หากเกิดอุบัติเหตุจากการมองป้ายที่ กทม.มอบให้ 2 บริษัทรับผิดชอบ แต่ กทม.ไม่แจ้งให้ชาว กทม.รับรู้และไม่ทราบว่าประโยชน์ของป้ายนี้อำนวยความสะดวกในจราจรได้จริงหรือไม่เพราะมีการแอบแฝง ด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของเอกชน
น.ต.ศิธากล่าวว่า ป้ายจราจรอัจฉริยะเป็นนโยบายของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. ที่พูดไว้ตั้งแต่ก่อนเป็นผู้ว่าฯกทม.เมื่อนายอภิรักษ์เข้ามาทำงานก็ดำเนิน โครงการป้ายจราจรอัจฉริยะ ในถนนสายต่างๆ ขอถามว่าป้ายนี้ใช้เพื่อประโยชน์ ของชาว กทม.หรือประโยชน์ทางพาณิชย์ แม้เอกชนลงทุนให้และอาศัยการโฆษณานั้นเพราะป้ายนี้ติดตั้ง 40 จุดทั่ว กทม.และมีการเปรียบเทียบปริมาณการจราจรด้วย จุดสูงสุด คือ แยกลาดพร้าว 240,000 คันต่อวัน จุดน้อยสุด คือบ้านมนังคศิลา 40,000 คันต่อวัน สรุปตัวเลขยานยนต์บนถนนใน กทม.คือ 4 ล้านคันต่อวัน เมื่อนำข้อมูลนี้แปลงเป็นข้อมูลสินค้าของบริษัทแห่งหนึ่งให้นำไปพิจาณาเพื่อโฆษณา ในป้ายเหล่านี้และสัญญาที่กทม.ทำกับเอกชนคือ กทม.ให้สิทธิเอกชนในการติดตั้ง ดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ เท่ากับยอมรับว่าป้ายนี้หาผลประโยชน์จริง
น.ต.ศิธากล่าวว่าป้ายนี้ฉลาดกว่าทุกคนคาดคิด เพราะการติดตั้ง40 จุดนั้น มีจอแสดงภาพ จอแสดงแผนที่และข้อความตัววิ่ง จอแสดงภาพใช้งานตั้งแต่เวลา 05.00-02.10 น. ขอเปรียบเทียบว่า การใช้งานโฆษณากับการจราจรนั้น ใช้งานทั้งสิ้น 1270 นาที/วัน โดยแบ่งเป็นการแสดงภาพจราจรครั้งละ 20 วินาที 1 ชั่วโมงใช้ 100 วินาที 1วันใช้ 32 นาที ส่วนเวลาที่เหลือใช้โฆษณา สรุปคือใช้เพื่อโฆษณา 39 ส่วนใช้เพื่อจราจร 1 ส่วน
ระบุเอกชนได้รับประโยชน์6พันล้าน
ส่วนผลตอบแทนที่กทม.ได้รับและเอกชนได้รับ มีสัดส่วนดังนี้ กทม. ได้ค่าตอบแทนรายปีปีละ1 ล้านบาทเศษ ค่าใช้สิทธิรายเดือน 3 แสนบาทต่อเดือน และเงิน เปอร์เซ็นต์ โดยเอกชนต้องจ่ายเปอร์เซ็นต์เพิ่มให้ กทม.ในการต่อสัญญา 2ครั้งๆ ละ 3 ปี โดยปีแรกเอกชนจะจ่ายค่าตอบแทนให้ กทม. 4 ล้านบาท/ปี ปีที่4-6 จ่าย4ล้านบาท/ปีและจ่ายเพิ่ม10 % ปีที่7-9 จ่าย4ล้านบาท/ปีและจ่ายเพิ่มอีก 20% สรุป กทม.ได้ 40 ล้านบาทเศษในการให้สัมปทานเอกชน สิ่งที่เอกชนได้รับคือ ค่าโฆษณาซึ่ง กทม.อ้างว่าเป็นข้อมูลสินค้า ตนทราบมาว่า มี 56 สินค้าที่โฆษณา บนป้ายดังกล่าว ขณะที่สัมปทาน 9 ปีนี้ เอกชนได้รับเงิน 6,963 ล้านบาทเศษ เมื่อหักค่าลงทุน ค่าบริหารจัดการอีก 700 ล้านบาท เอกชนจะได้รับประโยชน์ประมาณ 6,000 ล้านบาท แต่เอกชน ตอบแทน กทม.ปีละ 4 ล้านบาท สัมปทาน 9 ปีนี้
กทม. ได้รับเพียง 40 ล้านบาทเศษ
“แม้เอกชนลงทุน 200 กว่าล้านบาท ราคาสินค้าที่แพงสุด คือ จอแสดงภาพ เพื่อการโฆษณาสินค้า หากหักค่าเช่า การลงทุน การบริหารจัดการ เอกชนจะได้เงิน 6,000 ล้านบาท สรุปง่ายๆ เอกชนได้ประโยชน์150 ส่วน กทม.ได้ประโยชน์1 ส่วนเท่านั้น หากมองกลับไปยังคำพูดของ นายอภิรักษ์ ว่าไม่รู้เรื่องฮั้วประมูล แต่โครงการนี้นายอภิรักษ์ เป็นคนคิดและพื้นเพการทำงานของนายอภิรักษ์ก่อนมาเป็น ผู้ว่า กทม.คือเป็นนักการตลาดและโฆษณา ฉะนั้นนายอภิรักษ์น่าจะรู้ว่าจุดใดที่มีการ จราจร 4 ล้านคันต่อวันและการทำป้าย 40 จุด นั้น ค่าตอบแทนนับพันล้านบาท นายอภิรักษ์ ก็น่าจะรู้ดี จึงอยากถามว่าทำเพื่อแก้ปัญหาจราจรของ กทม.หรือเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์กันแน่”
น.ต.ศิธา กล่าวว่า ไม่รู้ว่าโครงการนี้มีการฮั้วประมูลอัจฉริยะเหมือนโครงการ อุโมงค์-สะพานข้ามแยก16โครงการ 2 หมื่นล้านบาทหรือไม่เพราะไม่มีคนสู้ราคา นายอภิรักษ์ บอกมาตลอดว่าไม่เคยรู้เรื่องการฮั้วประมูล 2 หมื่นบาท แม้ ส.ก.พรรคไทยรักไทย จะอภิปรายเรื่องนี้มาตั้งนานแล้ว และมีการบันทึกภาพการประชุมสภา กทม.ที่มีการอภิปรายเรื่องนี้ไว้ด้วย โดยมีคนที่หน้าเหมือนนายอภิรักษ์ นั่งอยู่ในห้องประชุมด้วย
“นายอภิรักษ์พูดเรื่องนี้เมื่อวันที่ 11 ม.ค.49อย่าง ฮีโร่ว่าพบฮั้วประมูล10 โครงการ และได้ตั้งกรรมการตรวจสอบสวนแล้วเพราะนายกฯให้ระงับการประมูลแบบ อี-ออกชั่นและพบว่ามีผู้รับเหมาบางคนร้องเรียนการฮั้วประมูล เมื่อตรวจสอบต่อไป พบว่า ดีเอสไอ แจ้งเรื่องนี้ให้นายอภิรักษ์ทราบตั้งแต่ต.ค.ปีที่แล้วว่ามีการฮั้วประมูล เพราะกทม.กำลังจะเซ็นสัญญาหากเซ็นไปกทม.จะเสียค่าโง่กับเอกชนในการเซ็นสัญญา และเมื่อวันที่ 26 ม.ค.นายอภิรักษ์ กลับบอกว่าทราบเรื่องนี้เพราะดีเอสไอ ส่งเอกสารมาให้ จึงยกเลิกประมูล”
รู้ล่วงหน้าผลสอบ“ประทิน”เป็นอย่างไร
น.ต.ศิธา กล่าวว่า นายอลงกรณ์ บอกว่าข้าราชการ กทม.วางยาผู้ว่าฯกทม.และสอดรับกับข้อมูลของ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ประธานคณะกรรมการสอบสวน ที่นายอภิรักษ์ แต่งตั้งบอกว่าอีก10วันจะสรุปผล แต่ขอฟันธงไปเลยว่าหาก พล.ต.อ.ประทิน ตรวจสอบเสร็จแล้วข้อสรุปจะมีดังนี้1.คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกทม.และข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้องจะมีความผิดร้ายแรง 2.ความผิดความพลั้งเผลอจะอยู่ที่ นายสามารถ ราชกพลสิทธิ์ รองผู้ว่าฯกทม. 3.อัศวินม้าขาวคือ นายอภิรักษ์ เพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า เรื่องนี้ยังไม่มีการเซ็นสัญญาฉะนั้นนายอภิรักษ์จึงไม่เกี่ยวข้อง
น.ต.ศิธา กล่าวว่าขณะที่นายอภิรักษ์บอกว่า มอบอำนาจให้รองผู้ว่าฯกทม. ฝ่ายโยธา ไปดูแลและให้ข้าราชการ กทม.ปรับปรุงการทำงาน เท่ากับว่า นายอภิรักษ์ กำลังจะบอกว่าไม่เกี่ยวข้องและ ตอนนี้ข้าราชการ กทม.ไม่กล้าทำงานเพราะกลัวเรื่องนี้ เชื่อว่าข้าราชการ กทม.กล้าเซ็นสัญญาที่ถูกต้องแต่จะไม่กล้าทำในเรื่องที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย และถูกบีบให้เซ็นสัญญา
“ใน1สัปดาห์นี้ตนจะมีเรื่องเกี่ยวกับโครงการอัจฉริยะออกมาอีกเยอะ เพราะบางเรื่องนั้นทราบมาว่าการฮั้วประมูล 2 หมื่นล้านบาทซึ่งมีคนได้ประโยชน์ 4พันล้านบาท และป้ายจราจรอัจฉริยะนั้น เป็นเพียงออร์เดิรฟ์ เรียกน้ำย่อย และจะอธิบายว่า ทุจริตเชิงนโยบายและการโยนบาปให้เข้าราชการประจำที่พรรคประชาธิปัตย์พูดเสมอๆ นั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็กระทำด้วย”
นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ ส.ก.เขตลาดกระบัง กล่าวว่าปัญหาของ กทม.นั้น ข้าราชการหวั่นไหวมาก คณะทำงานของ กทม.ที่ตั้งขึ้นมามุ่งให้ข้าราชการรับผิดชอบ แต่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบด้วย ข้อมูลโครงการอัจฉริยะมีความแอบแฝงมากเพราะป้ายจราจรอัจฉริยะมีพื้นที่ไว้โฆษณาเกือบครึ่งหนึ่ง โดย กทม.ให้สัมปทานกับเอกชน ไปโดย กทม.ได้ผลประโยชน์เยอะมาก โครงการเหล่านี้ที่ กทม.ตั้งไว้ พวกตนท้วงติง มาแล้วเช่นที่จอดรถแท็กซี่อัจฉริยะซึ่งทำเป็นชั้นๆ แต่พวกตนไม่เห็นชอบแต่กลับมีการเปิดซองประมูล ปัญหาที่ผ่านมาที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้บริหาร กทม.นั้น พ.ร.บ.พัสดุของกทม.ในข้อ2 ผู้มีอำนาจแม้มอบอำนาจให้ผู้รับอำนาจไปดำเนินการ แล้วผู้มอบอำนาจต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
สงสัย“ภริยาอภิรักษ์”รับสินบนรถยนต์
ด้าน นายชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล ส.ก.เขตบางกะปิ พรรคไทยรักไทย กล่าวว่า การประชุมสภา กทม.ที่ผ่านมา ส.ก.พรรคไทยรักไทย สอบถาม ผอ.สำนักการตลาด กทม.ว่ามีธนาคารไทยพาณิชย์มาตั้งธนาคารในสวนจตุจักรและมอบรถยนต์นิสสัน เทียร์น่า ให้ กทม.เพราะตอนนั้นตัวแทนธนาคารสอบถามความต้องการของ กทม.ว่า ต้องการอะไร ผอ.สำนักการตลาดกทม.บอกว่า อยากได้รถยนต์ เรื่องนี้มันเข้าข่าย เจ้าพนักงานเรียกรับสินบนหรือไม่ แม้รถยนต์คันนั้นจะนำมาใช้ช่วยราชการก็ตาม แต่ขอถามว่ากรณีนี้มันเข้าข่ายเรียกรับสินบนหรือไม่
ขณะที่น.ต.ศิธา กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมามีข้อมูลว่าผู้บริหาร กทม.คนหนึ่ง ที่มีรถยนต์บีเอ็มดับบลิวป้ายแดงคันหนึ่งจากการฮั้วประมูล 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำลังตรวจสอบอยู่ นอกจากนี้ก็ยังมีคนมาบอกกับตนว่า ผู้ว่าฯกทม.อาศัยในคอนโดมิเนียม ในเขตของตน ภรรยา นายอภิรักษ์ ใช้รถยนต์นิสสันเทียร์น่าด้วย เป็นรถนิสสัน เทียร์น่า สีดำ ทะเบียน กท. ษช-0173 ซึ่งจะตรวจสอบว่ารถคันดังกล่าว เป็นรถยนต์ส่วนตัว หรือสินบนของ ธนาคารไทยพาณิชย์
“อภิรักษ์”เตรียมชี้แจงข้อกล่าวหาวันนี้
มีรายงานข่าวว่า วันนี้ (30 ม.ค.) นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. ได้เตรียม ที่จะชี้แจงประเด็นป้ายจราจรอัจฉริยะที่พรรคไทยรักไทยกล่าวอ้างว่า อาจเอื้อประโยชน์เชิงพาณิชย์ในวันนี้
นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ รองประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม. ) กล่าวหาว่านายอลงกรณ์ เข้าใจผิดและพุ่งเป้าจับผิดการ อั้วประมูล 10 โครงการของกทม.มาที่คุณหญิงณฐนนท ว่า ขอยืนยันไม่ได้เข้าใจผิด และทางกรรมาธิการฯ จะตรวจสอบทุกคน ไม่ได้พุ่งประเด็นมาที่ปลัดกทม.เพียงคนเดียว แต่เนื่องจากการที่ปลัดกทม.ชี้แจงในที่ประชุมกรรมาธิการฯว่า ไม่ได้รับทราบกรณี การประมูล 10 โครงการในกทม. เพราะไม่ได้อ่านหนังสือที่กระทรวงมหาดไทยขอยับยั้งการประมูล แต่ได้ส่งเรื่องให้ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าฯกทม. ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามที่กรรมาธการฯได้ทราบ
“เรามีหลักฐานหนังสือร้องเรียนลงวันที่ 20 ธันวาคม 2548 จากนั้นในวันที่ 21 ธันวาคม กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือมายัง กทม.เพื่อขอให้ชะลอหรือระงับโครงการประมูล แต่ในวันที่ 22 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันประมูล ปลัดกทม.ได้เป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองงานในความรับผิดชอบของปลัดกทม. เวลา 08.30 น. แต่กลับเดินหน้าประมูลต่อโดยไม่แจ้งให้ผู้บริหารระดับสูงของกทม.ทราบ”
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า การที่รองปลัดกทม. ได้ชี้แจงต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า ในการประชุมดังกล่าวได้มีการทักท้วงว่า หนังสือจากกระทรวงมหาดไทย ควรส่งรายงานให้นายสามารถ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. เพื่อใช้ดุลพินิจ ว่าจะระงับโครงการหรือไม่ แต่ที่ประชุมกลับมีมติว่า เรื่องดังกล่าวสามารถชี้แจงได้ จึงไม่ระงับการประมูล พร้อมกับลงลายเซ็นของ ปลัดกทม. เพื่อเร่งรัดให้ดำเนินการประมูล ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่โครงการซึ่งใข้งบประมาณกว่า 20,000 ล้านบาท แต่ปลัดกทม.กลับไม่ทราบเรื่อง
ดังนั้นปลัดกทม.อย่าเพิ่งลาออกด้วยความน้อยใจ หรือเบี่ยงเบนประเด็นว่า เป็นเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์พุ่งเป้ามายังปลัดกทม. เพื่อหาแพะ แต่เป็นเรื่องของ กรรมาธิการฯ ที่ต้องตรวจสอบทุกคนที่เกี่ยวข้อง โดยวันที่ 30 มกราคมจะเชิญ นางณฐนนท์ มาชี้แจงเพื่อให้โอกาสอีกครั้ง และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ จะเชิญนายอภิรักษ์ และนายสามารถ มาชี้แจง โดยเฉพาะกรณีการจัดซื้อรถบีเอ็มดับเบิ้ลยูด้วยเงินสด
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า การที่พรรคไทยรักไทย ระบุว่าฝ่ายค้านพยายาม เบี่ยงเบนและบีบข้าราชการประจำ ยืนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของกรรมาธิการฯ ที่มี นายเทวัญ ลิปตพัลลภ ส.ส.นครราชสีมา พรรคไทยรักไทย เป็นประธาน และไม่ได้พุ่งเป้าไปที่ข้าราชการเพียงอย่างเดียว
ทรท.งัดป้ายจราจรอัจฉริยะฟัด“อภิรักษ์”
วานนี้ (29 ม.ค.) น.ต.ศิธา ทิวารี โฆษกพรรค ได้นำ นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ ส.ก.เขตลาดกระบัง และนายชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล ส.ก.เขตบางกะปิ พรรคไทยรักไทย ร่วมกันแถลงข่าวการทุจริตโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกและอุโมงค์16โครงการ มูลค่า 2หมื่นล้านบาทของกทม.และป้ายจราจรอัจฉริยะมูลค่า 200ล้านบาท ที่บริษัท จีเนียส คอมมูนิเคชั่น ซิสเต็ม(G.C.S.)และบริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซิสเต็ม (G.T.S.) ได้รับสัมปทานโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ในการแถลง น.ต.ศิธา นำเอกสารสัญญาสัมปทานดังกล่าวมาร่วมแถลงข่าวด้วย
น.ต.ศิธา กล่าวว่า พรรคได้ข้อมูลต่างๆ จากข้าราชการใน กทม.และประชาชนโดยเฉพาะโครงการที่ลงท้ายด้วยคำว่าอัจฉริยะ เช่นโครงการป้ายจราจรอัจฉริยะที่มีการติดตั้งป้ายในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งได้รับการร้องเรียนว่า สมาธิการขับรถของประชาชนอาจถูกรบกวน หากเกิดอุบัติเหตุจากการมองป้ายที่ กทม.มอบให้ 2 บริษัทรับผิดชอบ แต่ กทม.ไม่แจ้งให้ชาว กทม.รับรู้และไม่ทราบว่าประโยชน์ของป้ายนี้อำนวยความสะดวกในจราจรได้จริงหรือไม่เพราะมีการแอบแฝง ด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของเอกชน
น.ต.ศิธากล่าวว่า ป้ายจราจรอัจฉริยะเป็นนโยบายของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. ที่พูดไว้ตั้งแต่ก่อนเป็นผู้ว่าฯกทม.เมื่อนายอภิรักษ์เข้ามาทำงานก็ดำเนิน โครงการป้ายจราจรอัจฉริยะ ในถนนสายต่างๆ ขอถามว่าป้ายนี้ใช้เพื่อประโยชน์ ของชาว กทม.หรือประโยชน์ทางพาณิชย์ แม้เอกชนลงทุนให้และอาศัยการโฆษณานั้นเพราะป้ายนี้ติดตั้ง 40 จุดทั่ว กทม.และมีการเปรียบเทียบปริมาณการจราจรด้วย จุดสูงสุด คือ แยกลาดพร้าว 240,000 คันต่อวัน จุดน้อยสุด คือบ้านมนังคศิลา 40,000 คันต่อวัน สรุปตัวเลขยานยนต์บนถนนใน กทม.คือ 4 ล้านคันต่อวัน เมื่อนำข้อมูลนี้แปลงเป็นข้อมูลสินค้าของบริษัทแห่งหนึ่งให้นำไปพิจาณาเพื่อโฆษณา ในป้ายเหล่านี้และสัญญาที่กทม.ทำกับเอกชนคือ กทม.ให้สิทธิเอกชนในการติดตั้ง ดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ เท่ากับยอมรับว่าป้ายนี้หาผลประโยชน์จริง
น.ต.ศิธากล่าวว่าป้ายนี้ฉลาดกว่าทุกคนคาดคิด เพราะการติดตั้ง40 จุดนั้น มีจอแสดงภาพ จอแสดงแผนที่และข้อความตัววิ่ง จอแสดงภาพใช้งานตั้งแต่เวลา 05.00-02.10 น. ขอเปรียบเทียบว่า การใช้งานโฆษณากับการจราจรนั้น ใช้งานทั้งสิ้น 1270 นาที/วัน โดยแบ่งเป็นการแสดงภาพจราจรครั้งละ 20 วินาที 1 ชั่วโมงใช้ 100 วินาที 1วันใช้ 32 นาที ส่วนเวลาที่เหลือใช้โฆษณา สรุปคือใช้เพื่อโฆษณา 39 ส่วนใช้เพื่อจราจร 1 ส่วน
ระบุเอกชนได้รับประโยชน์6พันล้าน
ส่วนผลตอบแทนที่กทม.ได้รับและเอกชนได้รับ มีสัดส่วนดังนี้ กทม. ได้ค่าตอบแทนรายปีปีละ1 ล้านบาทเศษ ค่าใช้สิทธิรายเดือน 3 แสนบาทต่อเดือน และเงิน เปอร์เซ็นต์ โดยเอกชนต้องจ่ายเปอร์เซ็นต์เพิ่มให้ กทม.ในการต่อสัญญา 2ครั้งๆ ละ 3 ปี โดยปีแรกเอกชนจะจ่ายค่าตอบแทนให้ กทม. 4 ล้านบาท/ปี ปีที่4-6 จ่าย4ล้านบาท/ปีและจ่ายเพิ่ม10 % ปีที่7-9 จ่าย4ล้านบาท/ปีและจ่ายเพิ่มอีก 20% สรุป กทม.ได้ 40 ล้านบาทเศษในการให้สัมปทานเอกชน สิ่งที่เอกชนได้รับคือ ค่าโฆษณาซึ่ง กทม.อ้างว่าเป็นข้อมูลสินค้า ตนทราบมาว่า มี 56 สินค้าที่โฆษณา บนป้ายดังกล่าว ขณะที่สัมปทาน 9 ปีนี้ เอกชนได้รับเงิน 6,963 ล้านบาทเศษ เมื่อหักค่าลงทุน ค่าบริหารจัดการอีก 700 ล้านบาท เอกชนจะได้รับประโยชน์ประมาณ 6,000 ล้านบาท แต่เอกชน ตอบแทน กทม.ปีละ 4 ล้านบาท สัมปทาน 9 ปีนี้
กทม. ได้รับเพียง 40 ล้านบาทเศษ
“แม้เอกชนลงทุน 200 กว่าล้านบาท ราคาสินค้าที่แพงสุด คือ จอแสดงภาพ เพื่อการโฆษณาสินค้า หากหักค่าเช่า การลงทุน การบริหารจัดการ เอกชนจะได้เงิน 6,000 ล้านบาท สรุปง่ายๆ เอกชนได้ประโยชน์150 ส่วน กทม.ได้ประโยชน์1 ส่วนเท่านั้น หากมองกลับไปยังคำพูดของ นายอภิรักษ์ ว่าไม่รู้เรื่องฮั้วประมูล แต่โครงการนี้นายอภิรักษ์ เป็นคนคิดและพื้นเพการทำงานของนายอภิรักษ์ก่อนมาเป็น ผู้ว่า กทม.คือเป็นนักการตลาดและโฆษณา ฉะนั้นนายอภิรักษ์น่าจะรู้ว่าจุดใดที่มีการ จราจร 4 ล้านคันต่อวันและการทำป้าย 40 จุด นั้น ค่าตอบแทนนับพันล้านบาท นายอภิรักษ์ ก็น่าจะรู้ดี จึงอยากถามว่าทำเพื่อแก้ปัญหาจราจรของ กทม.หรือเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์กันแน่”
น.ต.ศิธา กล่าวว่า ไม่รู้ว่าโครงการนี้มีการฮั้วประมูลอัจฉริยะเหมือนโครงการ อุโมงค์-สะพานข้ามแยก16โครงการ 2 หมื่นล้านบาทหรือไม่เพราะไม่มีคนสู้ราคา นายอภิรักษ์ บอกมาตลอดว่าไม่เคยรู้เรื่องการฮั้วประมูล 2 หมื่นบาท แม้ ส.ก.พรรคไทยรักไทย จะอภิปรายเรื่องนี้มาตั้งนานแล้ว และมีการบันทึกภาพการประชุมสภา กทม.ที่มีการอภิปรายเรื่องนี้ไว้ด้วย โดยมีคนที่หน้าเหมือนนายอภิรักษ์ นั่งอยู่ในห้องประชุมด้วย
“นายอภิรักษ์พูดเรื่องนี้เมื่อวันที่ 11 ม.ค.49อย่าง ฮีโร่ว่าพบฮั้วประมูล10 โครงการ และได้ตั้งกรรมการตรวจสอบสวนแล้วเพราะนายกฯให้ระงับการประมูลแบบ อี-ออกชั่นและพบว่ามีผู้รับเหมาบางคนร้องเรียนการฮั้วประมูล เมื่อตรวจสอบต่อไป พบว่า ดีเอสไอ แจ้งเรื่องนี้ให้นายอภิรักษ์ทราบตั้งแต่ต.ค.ปีที่แล้วว่ามีการฮั้วประมูล เพราะกทม.กำลังจะเซ็นสัญญาหากเซ็นไปกทม.จะเสียค่าโง่กับเอกชนในการเซ็นสัญญา และเมื่อวันที่ 26 ม.ค.นายอภิรักษ์ กลับบอกว่าทราบเรื่องนี้เพราะดีเอสไอ ส่งเอกสารมาให้ จึงยกเลิกประมูล”
รู้ล่วงหน้าผลสอบ“ประทิน”เป็นอย่างไร
น.ต.ศิธา กล่าวว่า นายอลงกรณ์ บอกว่าข้าราชการ กทม.วางยาผู้ว่าฯกทม.และสอดรับกับข้อมูลของ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ประธานคณะกรรมการสอบสวน ที่นายอภิรักษ์ แต่งตั้งบอกว่าอีก10วันจะสรุปผล แต่ขอฟันธงไปเลยว่าหาก พล.ต.อ.ประทิน ตรวจสอบเสร็จแล้วข้อสรุปจะมีดังนี้1.คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกทม.และข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้องจะมีความผิดร้ายแรง 2.ความผิดความพลั้งเผลอจะอยู่ที่ นายสามารถ ราชกพลสิทธิ์ รองผู้ว่าฯกทม. 3.อัศวินม้าขาวคือ นายอภิรักษ์ เพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า เรื่องนี้ยังไม่มีการเซ็นสัญญาฉะนั้นนายอภิรักษ์จึงไม่เกี่ยวข้อง
น.ต.ศิธา กล่าวว่าขณะที่นายอภิรักษ์บอกว่า มอบอำนาจให้รองผู้ว่าฯกทม. ฝ่ายโยธา ไปดูแลและให้ข้าราชการ กทม.ปรับปรุงการทำงาน เท่ากับว่า นายอภิรักษ์ กำลังจะบอกว่าไม่เกี่ยวข้องและ ตอนนี้ข้าราชการ กทม.ไม่กล้าทำงานเพราะกลัวเรื่องนี้ เชื่อว่าข้าราชการ กทม.กล้าเซ็นสัญญาที่ถูกต้องแต่จะไม่กล้าทำในเรื่องที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย และถูกบีบให้เซ็นสัญญา
“ใน1สัปดาห์นี้ตนจะมีเรื่องเกี่ยวกับโครงการอัจฉริยะออกมาอีกเยอะ เพราะบางเรื่องนั้นทราบมาว่าการฮั้วประมูล 2 หมื่นล้านบาทซึ่งมีคนได้ประโยชน์ 4พันล้านบาท และป้ายจราจรอัจฉริยะนั้น เป็นเพียงออร์เดิรฟ์ เรียกน้ำย่อย และจะอธิบายว่า ทุจริตเชิงนโยบายและการโยนบาปให้เข้าราชการประจำที่พรรคประชาธิปัตย์พูดเสมอๆ นั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็กระทำด้วย”
นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ ส.ก.เขตลาดกระบัง กล่าวว่าปัญหาของ กทม.นั้น ข้าราชการหวั่นไหวมาก คณะทำงานของ กทม.ที่ตั้งขึ้นมามุ่งให้ข้าราชการรับผิดชอบ แต่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบด้วย ข้อมูลโครงการอัจฉริยะมีความแอบแฝงมากเพราะป้ายจราจรอัจฉริยะมีพื้นที่ไว้โฆษณาเกือบครึ่งหนึ่ง โดย กทม.ให้สัมปทานกับเอกชน ไปโดย กทม.ได้ผลประโยชน์เยอะมาก โครงการเหล่านี้ที่ กทม.ตั้งไว้ พวกตนท้วงติง มาแล้วเช่นที่จอดรถแท็กซี่อัจฉริยะซึ่งทำเป็นชั้นๆ แต่พวกตนไม่เห็นชอบแต่กลับมีการเปิดซองประมูล ปัญหาที่ผ่านมาที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้บริหาร กทม.นั้น พ.ร.บ.พัสดุของกทม.ในข้อ2 ผู้มีอำนาจแม้มอบอำนาจให้ผู้รับอำนาจไปดำเนินการ แล้วผู้มอบอำนาจต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
สงสัย“ภริยาอภิรักษ์”รับสินบนรถยนต์
ด้าน นายชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล ส.ก.เขตบางกะปิ พรรคไทยรักไทย กล่าวว่า การประชุมสภา กทม.ที่ผ่านมา ส.ก.พรรคไทยรักไทย สอบถาม ผอ.สำนักการตลาด กทม.ว่ามีธนาคารไทยพาณิชย์มาตั้งธนาคารในสวนจตุจักรและมอบรถยนต์นิสสัน เทียร์น่า ให้ กทม.เพราะตอนนั้นตัวแทนธนาคารสอบถามความต้องการของ กทม.ว่า ต้องการอะไร ผอ.สำนักการตลาดกทม.บอกว่า อยากได้รถยนต์ เรื่องนี้มันเข้าข่าย เจ้าพนักงานเรียกรับสินบนหรือไม่ แม้รถยนต์คันนั้นจะนำมาใช้ช่วยราชการก็ตาม แต่ขอถามว่ากรณีนี้มันเข้าข่ายเรียกรับสินบนหรือไม่
ขณะที่น.ต.ศิธา กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมามีข้อมูลว่าผู้บริหาร กทม.คนหนึ่ง ที่มีรถยนต์บีเอ็มดับบลิวป้ายแดงคันหนึ่งจากการฮั้วประมูล 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำลังตรวจสอบอยู่ นอกจากนี้ก็ยังมีคนมาบอกกับตนว่า ผู้ว่าฯกทม.อาศัยในคอนโดมิเนียม ในเขตของตน ภรรยา นายอภิรักษ์ ใช้รถยนต์นิสสันเทียร์น่าด้วย เป็นรถนิสสัน เทียร์น่า สีดำ ทะเบียน กท. ษช-0173 ซึ่งจะตรวจสอบว่ารถคันดังกล่าว เป็นรถยนต์ส่วนตัว หรือสินบนของ ธนาคารไทยพาณิชย์
“อภิรักษ์”เตรียมชี้แจงข้อกล่าวหาวันนี้
มีรายงานข่าวว่า วันนี้ (30 ม.ค.) นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. ได้เตรียม ที่จะชี้แจงประเด็นป้ายจราจรอัจฉริยะที่พรรคไทยรักไทยกล่าวอ้างว่า อาจเอื้อประโยชน์เชิงพาณิชย์ในวันนี้