ผู้จัดการรายวัน- จุฬาฯ-แบงก์กรุงศรี-ตลาดหลักทรัพย์ผนึกกำลัง เปิดตัว “ห้องปฏิบัติการทางการเงิน” หวังเป็นศูนย์การเรียนรู้นักการเมืองรุ่นใหม่ ป้อนตลาดแรงงานภาคการเงินและธุรกิจหลักทรัพย์
รายงานข่าวจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในปัจจุบันการเติบโตของอุตสาหกรรมทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและรูปแบบตราสารทางการเงิน ทำให้นักการเงินรุ่นใหม่จะต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการวิเคราะห์เชิงลึก มีความรู้ความสามารถ พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นดังกล่าว จึงได้จัดสร้างห้องปฏิบัติการทางการเงิน (Financial Lab) ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์การเรียนการสอน และการทำวิจัยที่ทันสมัย เน้นให้ผู้เรียนได้มีการฝึกปฏิบัติจริง พร้อมจะก้าวขึ้นสู่การเป็นนักการเงินรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพในอนาคต
สำหรับห้องปฏิบัติการทางการเงินดังกล่าวจะเป็นศูนย์รวมการเรียนรู้มิติใหม่ทางด้านการเงิน โดยภายในห้องจะประกอบด้วย Personal Computer : IBM ThinkCentre ความเร็ว 3.0 GHz Main Memory 512 MB จำนวน 28 เครื่อง และซอฟแวร์ทางการเงิน (Financial Trading System) อาทิ FTS Real Time Position Manager, FTS Trader, FTS Tutor เปรียบเสมือนห้องค้าหลักทรัพย์จำลองที่เลียนแบบการซื้อขายหลักทรัพย์จริง ผู้เรียนจะได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นักค้าหลักทรัพย์ในธนาคาร และสถาบันการเงินอื่นๆ ใช้กันในการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นจะเป็นวิธีการเดียวกันกับที่นักค้าหลักทรัพย์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของตนกับตลาดหลักทรัพย์โดยตรง
นอกจากนี้ ยังมี Datastream โปรแกรมแสดงข้อมูลเศรษฐกิจ การเงิน อัตราดอกเบี้ย และงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศต่างๆ Reuters 3000 Xtra and PowerPlus Pro: Reuters 3000 Xtra เป็นโปรแกรมที่ให้ข้อมูลเน้นหนักไปทางด้านการเงิน ข้อมูลข่าวทั่วโลกในรูปแบบ Real time ส่วน PowerPlus Pro เป็นโปรแกรมในส่วนหนึ่งของ Reuters ที่ให้บริการในการดึงข้อมูลที่สำคัญทางด้านการเงินย้อนหลัง
ทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนในห้องปฏิบัติการทางการเงินดังกล่าว ก็คือ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีและแนวคิดทางการเงินผ่านทางกรณีศึกษาที่มีความหลากหลาย และคลอบคลุมหัวข้อทางการเงิน รวมถึงหลักทรัพย์หลายประเภท เช่น Foreign Exchange, Capital Asset Pricing Model, Portfolio Management, Efficient Market Hypotheses
ปัจจุบันห้องปฏิบัติการทางการเงิน ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ในการปรับปรุงรูปแบบให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะรองรับนักการเงินรุ่นใหม่ไฟแรง เพื่อป้อนบุคลากรสู่อุตสาหกรรมทางกรเงินที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สดใสในอนาคต ซึ่งปัจจุบันตลาดงานยังสามารถรองรับได้อีกประมาณ 400 อัตรา
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามและขอรายละเอียดได้ที่ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-218-5674-5 หรือเข้าไปชมในเว็บไซต์ได้ที่ http://msfin.acc.chula.ac.th
รายงานข่าวจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในปัจจุบันการเติบโตของอุตสาหกรรมทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและรูปแบบตราสารทางการเงิน ทำให้นักการเงินรุ่นใหม่จะต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการวิเคราะห์เชิงลึก มีความรู้ความสามารถ พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นดังกล่าว จึงได้จัดสร้างห้องปฏิบัติการทางการเงิน (Financial Lab) ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์การเรียนการสอน และการทำวิจัยที่ทันสมัย เน้นให้ผู้เรียนได้มีการฝึกปฏิบัติจริง พร้อมจะก้าวขึ้นสู่การเป็นนักการเงินรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพในอนาคต
สำหรับห้องปฏิบัติการทางการเงินดังกล่าวจะเป็นศูนย์รวมการเรียนรู้มิติใหม่ทางด้านการเงิน โดยภายในห้องจะประกอบด้วย Personal Computer : IBM ThinkCentre ความเร็ว 3.0 GHz Main Memory 512 MB จำนวน 28 เครื่อง และซอฟแวร์ทางการเงิน (Financial Trading System) อาทิ FTS Real Time Position Manager, FTS Trader, FTS Tutor เปรียบเสมือนห้องค้าหลักทรัพย์จำลองที่เลียนแบบการซื้อขายหลักทรัพย์จริง ผู้เรียนจะได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นักค้าหลักทรัพย์ในธนาคาร และสถาบันการเงินอื่นๆ ใช้กันในการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นจะเป็นวิธีการเดียวกันกับที่นักค้าหลักทรัพย์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของตนกับตลาดหลักทรัพย์โดยตรง
นอกจากนี้ ยังมี Datastream โปรแกรมแสดงข้อมูลเศรษฐกิจ การเงิน อัตราดอกเบี้ย และงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศต่างๆ Reuters 3000 Xtra and PowerPlus Pro: Reuters 3000 Xtra เป็นโปรแกรมที่ให้ข้อมูลเน้นหนักไปทางด้านการเงิน ข้อมูลข่าวทั่วโลกในรูปแบบ Real time ส่วน PowerPlus Pro เป็นโปรแกรมในส่วนหนึ่งของ Reuters ที่ให้บริการในการดึงข้อมูลที่สำคัญทางด้านการเงินย้อนหลัง
ทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนในห้องปฏิบัติการทางการเงินดังกล่าว ก็คือ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีและแนวคิดทางการเงินผ่านทางกรณีศึกษาที่มีความหลากหลาย และคลอบคลุมหัวข้อทางการเงิน รวมถึงหลักทรัพย์หลายประเภท เช่น Foreign Exchange, Capital Asset Pricing Model, Portfolio Management, Efficient Market Hypotheses
ปัจจุบันห้องปฏิบัติการทางการเงิน ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ในการปรับปรุงรูปแบบให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะรองรับนักการเงินรุ่นใหม่ไฟแรง เพื่อป้อนบุคลากรสู่อุตสาหกรรมทางกรเงินที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สดใสในอนาคต ซึ่งปัจจุบันตลาดงานยังสามารถรองรับได้อีกประมาณ 400 อัตรา
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามและขอรายละเอียดได้ที่ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-218-5674-5 หรือเข้าไปชมในเว็บไซต์ได้ที่ http://msfin.acc.chula.ac.th