แกรมมี่ปรับธุรกิจเพลงสู่ “เทเลอร์-เมด” หวังเจาะผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากขึ้น และกระตุ้นยอดรายได้โต หลังแบบเดิมไม่เวิร์คเพราะเน้นทำตามแฟชั่นเกินไป
นางบุษบา ดาวเรือง ประธานกรรมการบริหาร บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานในปีนี้บริษัทฯมีแผนปรับรูปแบบการทำงานใหม่ โดยเฉพาะในด้านงานเพลงจะมีความชัดเจนมากขึ้น ภายใต้รูปแบบ “เทเลอร์-เมด (Tailor-Made)” โดยจะมีการเจาะลึกในรายละเอียดของแต่ละอัลบั้มมากขึ้น อาทิ แนวเพลง , ช่องทางการขาย ,วิธีการโปรโมตศิลปิน เป็นต้น เพื่อที่ผลงานเพลงที่ออกมาสู่ตลาดจะสามารถตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มได้อย่างเจาะจงและชัดเจนมากขึ้น ซึ่งการทำงานแบบใหม่นี้จะแตกต่างจากรูปแบบการทำเพลงแบบเดิมที่จะเน้นการสร้างศิลปินตามกระแสแฟชั่นและปริมาณเป็นหลักหรือมีวิธีคิดและการทำงานในแบบเมนสตรีม (Mainstream) ตรงนี้มองว่าเป็นจุดหนึ่งที่ส่งผลให้ยอดรายได้จากธุรกิจเพลงของบริษัทฯโตไม่หวือหวา
บริษัทฯเชื่อว่าการลดสัดส่วนการทำงานแบบเมนสตรีลงคาดว่าจะทำให้ผลงานเพลงที่ออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งผลงานที่เห็นตัวอย่างได้ชัดเจน ได้แก่ ค่ายเพลงน้องใหม่อย่างสนามหลวงที่เปิดกว้างกับศิลปินทุกราย โดยแนวเพลงจะเป็นแบบอินดี้ เป็นต้น ประกอบกับแนวทางใหม่นี้ยังเป็นแนวทางการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับตลาดในปัจจุบันอีกด้วย ปัจจุบันธุรกิจเพลงของบริษัทฯมีทีมงานที่ผลิตผลงานเพลงรวมกันกว่า 30 ทีม และผลิตผลงานเพลงประมาณปีละ 200 อัลบั้ม
ทั้งนี้บริษัทฯยังให้ความสำคัญกับธุรกิจเพลงเป็นหลัก ภายใต้นโยบายเน้นส่งเสริมกระบวนการผลิตผลงานที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง โดยไม่ได้ยึดติดกับยอดขายจากการจำหน่ายแผ่นซีดีเพียงอย่างเดียว รวมถึงบริษัทฯพยายามต่อยอดสร้างรายได้เสริมในส่วนอื่นเพิมเติม เช่น ดิจิตอล คอนเทนต์ และการบริหารสิทธิ์ศิลปิน (อาร์ทิสต์แมเนจเมนท์) เป็นต้น
นางบุษบา ดาวเรือง ประธานกรรมการบริหาร บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานในปีนี้บริษัทฯมีแผนปรับรูปแบบการทำงานใหม่ โดยเฉพาะในด้านงานเพลงจะมีความชัดเจนมากขึ้น ภายใต้รูปแบบ “เทเลอร์-เมด (Tailor-Made)” โดยจะมีการเจาะลึกในรายละเอียดของแต่ละอัลบั้มมากขึ้น อาทิ แนวเพลง , ช่องทางการขาย ,วิธีการโปรโมตศิลปิน เป็นต้น เพื่อที่ผลงานเพลงที่ออกมาสู่ตลาดจะสามารถตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มได้อย่างเจาะจงและชัดเจนมากขึ้น ซึ่งการทำงานแบบใหม่นี้จะแตกต่างจากรูปแบบการทำเพลงแบบเดิมที่จะเน้นการสร้างศิลปินตามกระแสแฟชั่นและปริมาณเป็นหลักหรือมีวิธีคิดและการทำงานในแบบเมนสตรีม (Mainstream) ตรงนี้มองว่าเป็นจุดหนึ่งที่ส่งผลให้ยอดรายได้จากธุรกิจเพลงของบริษัทฯโตไม่หวือหวา
บริษัทฯเชื่อว่าการลดสัดส่วนการทำงานแบบเมนสตรีลงคาดว่าจะทำให้ผลงานเพลงที่ออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งผลงานที่เห็นตัวอย่างได้ชัดเจน ได้แก่ ค่ายเพลงน้องใหม่อย่างสนามหลวงที่เปิดกว้างกับศิลปินทุกราย โดยแนวเพลงจะเป็นแบบอินดี้ เป็นต้น ประกอบกับแนวทางใหม่นี้ยังเป็นแนวทางการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับตลาดในปัจจุบันอีกด้วย ปัจจุบันธุรกิจเพลงของบริษัทฯมีทีมงานที่ผลิตผลงานเพลงรวมกันกว่า 30 ทีม และผลิตผลงานเพลงประมาณปีละ 200 อัลบั้ม
ทั้งนี้บริษัทฯยังให้ความสำคัญกับธุรกิจเพลงเป็นหลัก ภายใต้นโยบายเน้นส่งเสริมกระบวนการผลิตผลงานที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง โดยไม่ได้ยึดติดกับยอดขายจากการจำหน่ายแผ่นซีดีเพียงอย่างเดียว รวมถึงบริษัทฯพยายามต่อยอดสร้างรายได้เสริมในส่วนอื่นเพิมเติม เช่น ดิจิตอล คอนเทนต์ และการบริหารสิทธิ์ศิลปิน (อาร์ทิสต์แมเนจเมนท์) เป็นต้น