ปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มใหม่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย กล่าวคือ บริษัทรถยนต์ค่ายญี่ปุ่นได้เริ่มก่อตั้งฐานวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นกิจจะลักษณะขึ้นในประเทศไทย นับว่าแตกต่างจากเดิมซึ่งแม้บริษัทเหล่านี้ได้ก่อตั้งศูนย์เทคนิคในประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่ทำหน้าที่หลักเพียงตัวกลางประสานงานระหว่างศูนย์วิจัยและพัฒนาที่บริษัทแม่กับบริษัทลูกในประเทศไทยเท่านั้น
จากการที่ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในกิจการวิจัยและพัฒนา ส่งผลให้บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นหลายค่ายก่อตั้งฐานการออกแบบ วิจัย พัฒนา และวิศวกรรมเกี่ยวกับรถยนต์ขึ้นในประเทศไทย
สำหรับค่ายแรก คือ บริษัทโตโยต้า ความจริงแล้วได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเล็กๆ น้อยๆ ในประเทศไทยมาบ้างแล้ว โดยในปี 2535 ได้เริ่มโครงการผลิตรถยนต์โซลูน่า มีเป้าหมายผลิตรถยนต์คุณภาพดีราคาถูกเพื่อสกัดกั้นและคุมกำเนิดรถยนต์จากเกาหลีใต้ที่กำลังมาแรงในยุคนั้น แม้การพัฒนารถยนต์แบบนี้เกือบทั้งหมดจะดำเนินการโดยทีมงานโตโยต้าในญี่ปุ่น แต่ทีมงานในไทยก็ได้ร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การศึกษา เก็บข้อมูล และวิเคราะห์
ต่อมาประเทศไทยเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลให้โครงการต้องหยุดชะงักลงชั่วขณะ และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น บริษัทโตโยต้าจึงตัดสินใจครั้งสำคัญ โดยประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 จะจัดตั้งฐานวิจัยและพัฒนาด้านรถยนต์ขึ้นในประเทศไทย โดยร่วมมือการออกแบบกับศูนย์วิจัยและพัฒนาของโตโยต้าในประเทศออสเตรเลียที่จัดตั้งขึ้นพร้อมกัน
โครงการนี้กำหนดจะลงทุนมากถึง 3,700 ล้านบาท จ้างงาน 463 คน ดำเนินการโดยบริษัท โตโยต้าเทคนิคอลเซ็นเตอร์เอเชียแปซิฟิก (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนเมื่อปลายปี 2546 โดยสถานที่ตั้งอยู่บริเวณอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ใกล้เคียงกับสนามบินสุวรรณภูมิ
ส่วนค่ายที่สอง คือ อีซูซุ ซึ่งโรงงานประกอบรถยนต์อีซูซุในประเทศไทยเริ่มจัดตั้งแผนกที่รับผิดชอบในด้านวางแผนผลิตและวิศวกรรมมาตั้งแต่ปี 2523 ต่อมาในปี 2534 ได้ยกระดับศูนย์วิจัยเทคโนโลยีแห่งนี้ขึ้นเป็นบริษัทแยกต่างหากโดยใช้ชื่อว่าบริษัท อีซูซุเทคนิคัลเซ็นเตอร์ (ประเทศ ไทย) จำกัด
อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา ศูนย์เทคโนโลยีของอีซูซุในไทยมีบทบาทค่อนข้างจำกัด ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงานระหว่างศูนย์วิจัยและพัฒนาในญี่ปุ่นกับบริษัทอีซูซุในประเทศไทย รวมถึงการนำรถยนต์ต้นแบบมาทดสอบในประเทศไทย โดยรับผิดชอบการวิจัย พัฒนา และออกแบบในลักษณะ Minor Change เท่านั้น
แต่ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยบริษัทอีซูซุของญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตรถยนต์ปิกอัพขนาด 1 ตัน จากญี่ปุ่นมายังประเทศไทย ดังนั้น จึงวางแผนจะให้ไทยเป็นฐานการผลิตอย่างครบวงจร โดยกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการออกแบบและทดสอบชิ้นส่วนรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัท อีซูซุเทคนิคัลเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงขยายบทบาทไปสู่การวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะรถยนต์ปิกอัพขนาด 1 ตัน รถยนต์ 6 – 10 ล้อ และรถยนต์ SUV ขนาดเล็กที่ดัดแปลงมาจากรถปิกอัพดีแมคซ์ โดยตั้งเป้าหมายว่าในอนาคตการออกแบบรถยนต์ปิกอัพขนาด 1 ตัน จะดำเนินการในประเทศไทยแทบทั้งหมด โดยจะออกแบบในญี่ปุ่นเฉพาะชิ้นส่วนยากๆ เท่านั้น
จากโครงการข้างต้น บริษัทอีซูซุจึงตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมอีก 200 ล้านบาท เพื่อก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาอย่างเป็นทางการขึ้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เมื่อกลางปี 2547 นับเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนานอกประเทศญี่ปุ่นแห่งที่ 3 ของอีซูซุ ต่อจากศูนย์วิจัยและพัฒนาในสหรัฐฯ และจีน
ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2548 บริษัทฮอนด้าได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการวิจัยและพัฒนารถยนต์ มีเงินลงทุน 2,400 ล้านบาท เพื่อก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์รถยนต์ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคขึ้นในประเทศไทย ดำเนินการในนามบริษัท ฮอนด้าอาร์ แอนด์ดีเอเชีย-แปซิฟิก จำกัด โดยกำหนดก่อสร้างศูนย์วิจัยแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการในปี 2550 นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะก่อสร้างสนามทดสอบแห่งใหม่ขึ้นอีกด้วยในอนาคต
ล่าสุดเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2548 ได้มีการให้การส่งเสริมการลงทุนแก่โครงการวิจัยและพัฒนาของบริษัทนิสสัน ซึ่งดำเนินการในนามบริษัท นิสสันเซ้าท์อีสต์เอเชีย จำกัด มีเงินลงทุน 170 ล้านบาท เพื่อก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในประเทศไทย โดยก่อตั้งบริเวณ กม. 22 ถนนบางนา-ตราด ซึ่งอยู่ภายในโรงงานประกอบรถยนต์ของนิสสัน
สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนา 4 โครงการดังกล่าวข้างต้นจะมีขอบข่ายธุรกิจค่อนข้างคล้ายคลึงกัน โดยครอบคลุมถึงขั้นตอนต่างๆ กล่าวคือ การวางแผนผลิตภัณฑ์ (Product Planning) เป็นการพบปะกับตัวแทนขายเพื่อนำข้อมูลไปทำแผนในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทั้ง Minor Change และ Full Model Change รวมทั้งทำแผนในการเตรียมออกแบบผลิตภัณฑ์
การออกแบบทางอุตสาหกรรม (Industrial Design) เป็นการออกแบบรูปลักษณ์รถยนต์รวมถึงการทำโมเดลของรถยนต์ขึ้นจากดินเหนียวหรือไฟเบอร์กลาสตั้งแต่ขนาดย่อส่วนจนถึงขนาดใหญ่เท่ากับของจริง
การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบ Prototype Drawing และ Production Drawing เพื่อให้สามารถนำแบบมาผลิตได้ โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนจะเข้ามาร่วมมือกับบริษัทรถยนต์ในการออกแบบขั้นตอนนี้ ซึ่งจะส่งผลดีทางอ้อมทำให้รถยนต์ที่ออกแบบเสร็จแล้วมีแนวโน้มใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเป็นสัดส่วนมากขึ้น
1 Body Interior/Exterior Design เป็นการออกแบบโครงสร้างตัวถังและชิ้นส่วน
2. Chassis Design เป็นการออกแบบช่วงล่างรถยนต์ โดยครอบคลุมถึงระบบการทรงตัว ระบบเบรก ระบบพวงมาลัย ฯลฯ
3. Electrical Design เป็นการออกแบบระบบสายไฟ เครื่องปรับอากาศ แบตเตอรี่ ระบบเครื่องเสียง ฯลฯ
4. Engine Design เป็นการออกแบบชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์
การทดสอบรถยนต์ (Vehicle Experiment) เป็นการทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ และชิ้นส่วน ทดสอบความทนทาน การปล่อยไอเสีย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ฯลฯ ทั้งโดยการจำลองการทำงานและการขับทดสอบจริง เพื่อให้ฝ่ายออกแบบนำไปใช้ปรับปรุงงานต่อไป
การขับทดสอบจริงจะดำเนินการภายในสนามทดสอบซึ่งมีขนาดใหญ่มาก เพื่อให้รถยนต์สามารถแล่นได้สูงสุดตามที่กำหนด เป็นต้นว่า ขับด้วยความเร็วสูงถึง 200 - 300 กม./ชั่วโมง ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีสนามทดสอบขนาดใหญ่เช่นนี้ ดังนั้น จะต้องนำรถยนต์ต้นแบบไปทดสอบในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม บริษัทรถยนต์บางค่ายได้มีแผนจะก่อสร้างสนามทดสอบขนาดใหญ่ขึ้นในประเทศไทย
ภายหลังทดสอบในสนามทดสอบจนเกิดความมั่นใจแล้ว ยังต้องนำรถยนต์ไปทดสอบในถนนจริงด้วยเพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นว่ารถยนต์ดังกล่าวจะสามารถใช้ได้ดีในสภาพภูมิประเทศต่างๆ โดยพื้นที่ซึ่งได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ คือ จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศหลากหลาย ทั้งในส่วนภูเขาและที่ราบ โดยบ่อยครั้งที่เราเห็นรถยนต์แปลกๆ ซึ่งไม่ได้วางตลาดในประเทศไทย ถูกขับทดสอบบนถนนสายต่างๆ ของเชียงใหม่ เป็นต้นว่า เส้นทางขึ้นดอยสุเทพ
การจัดการกระบวนการผลิตและเทคโนโลยี (Planning, Technology & Process Management) เป็นการวิจัยและพัฒนาถึงกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อประหยัดเวลาทำงาน ลดต้นทุน และปรับปรุงคุณภาพ
การศึกษา Feed Back ของลูกค้าภายหลังจำหน่าย คือการศึกษาว่าลูกค้าพอใจหรือไม่พอใจรถยนต์มากน้อยเพียงใด โดยจะเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์สื่อมวลชนที่เชิญมาทดสอบขับรถยนต์ สัมภาษณ์ลูกค้าว่าพึงพอใจมากน้อยเพียงใดกับรถยนต์ที่ซื้อไป สัมภาษณ์ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ ศึกษาข้อมูลของศูนย์บริการรถยนต์เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ของลูกค้า ฯลฯ
โครงการวิจัยและพัฒนารถยนต์ของค่ายญี่ปุ่นดังกล่าวข้างต้นมีส่วนแตกต่างกันอยู่บ้างในรายละเอียด โดยบางบริษัทเน้นให้กิจการในประเทศไทยทำการวิจัยและพัฒนาเฉพาะขั้นต้นน้ำ กล่าวคือ การออกแบบทางอุตสาหกรรม จากนั้นจะออกแบบในรายละเอียดทางวิศวกรรมในญี่ปุ่น
ขณะที่บางบริษัทกลับทำตรงกันข้าม คือเน้นให้กิจการในประเทศไทยทำการวิจัยและพัฒนาในขั้นปลายน้ำ กล่าวคือ การออกแบบทางอุตสาหกรามจะดำเนินการในญี่ปุ่นเป็นหลัก จากนั้นจะมาออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมสำหรับชิ้นส่วนแต่ละชิ้นในประเทศไทย
สุดท้ายนี้ นอกจากการวิจัยและพัฒนารถยนต์ของตนเองแล้ว บรรดาศูนย์วิจัยและพัฒนาเหล่านี้ยังต้องทำการวิจัยและพัฒนารถยนต์คู่แข่งอย่างไม่คิดมูลค่าอีกด้วย โดยเมื่อบริษัทคู่แข่งวางตลาดรถยนต์รุ่นใหม่แล้ว ก็จะแอบไปซื้อมาขับทดสอบ จากนั้นจะทำการรื้อรถยนต์ของคู่แข่งออกเป็นชิ้นๆ เพื่อศึกษาว่ามีจุดเด่นหรือจุดด้อยกว่ารถยนต์ของตนเองอย่างใดบ้าง เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงรถยนต์ของตนเองให้เหนือกว่าคู่แข่งอยู่เสมอ
จากการที่ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในกิจการวิจัยและพัฒนา ส่งผลให้บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นหลายค่ายก่อตั้งฐานการออกแบบ วิจัย พัฒนา และวิศวกรรมเกี่ยวกับรถยนต์ขึ้นในประเทศไทย
สำหรับค่ายแรก คือ บริษัทโตโยต้า ความจริงแล้วได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเล็กๆ น้อยๆ ในประเทศไทยมาบ้างแล้ว โดยในปี 2535 ได้เริ่มโครงการผลิตรถยนต์โซลูน่า มีเป้าหมายผลิตรถยนต์คุณภาพดีราคาถูกเพื่อสกัดกั้นและคุมกำเนิดรถยนต์จากเกาหลีใต้ที่กำลังมาแรงในยุคนั้น แม้การพัฒนารถยนต์แบบนี้เกือบทั้งหมดจะดำเนินการโดยทีมงานโตโยต้าในญี่ปุ่น แต่ทีมงานในไทยก็ได้ร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การศึกษา เก็บข้อมูล และวิเคราะห์
ต่อมาประเทศไทยเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลให้โครงการต้องหยุดชะงักลงชั่วขณะ และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น บริษัทโตโยต้าจึงตัดสินใจครั้งสำคัญ โดยประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 จะจัดตั้งฐานวิจัยและพัฒนาด้านรถยนต์ขึ้นในประเทศไทย โดยร่วมมือการออกแบบกับศูนย์วิจัยและพัฒนาของโตโยต้าในประเทศออสเตรเลียที่จัดตั้งขึ้นพร้อมกัน
โครงการนี้กำหนดจะลงทุนมากถึง 3,700 ล้านบาท จ้างงาน 463 คน ดำเนินการโดยบริษัท โตโยต้าเทคนิคอลเซ็นเตอร์เอเชียแปซิฟิก (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนเมื่อปลายปี 2546 โดยสถานที่ตั้งอยู่บริเวณอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ใกล้เคียงกับสนามบินสุวรรณภูมิ
ส่วนค่ายที่สอง คือ อีซูซุ ซึ่งโรงงานประกอบรถยนต์อีซูซุในประเทศไทยเริ่มจัดตั้งแผนกที่รับผิดชอบในด้านวางแผนผลิตและวิศวกรรมมาตั้งแต่ปี 2523 ต่อมาในปี 2534 ได้ยกระดับศูนย์วิจัยเทคโนโลยีแห่งนี้ขึ้นเป็นบริษัทแยกต่างหากโดยใช้ชื่อว่าบริษัท อีซูซุเทคนิคัลเซ็นเตอร์ (ประเทศ ไทย) จำกัด
อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา ศูนย์เทคโนโลยีของอีซูซุในไทยมีบทบาทค่อนข้างจำกัด ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงานระหว่างศูนย์วิจัยและพัฒนาในญี่ปุ่นกับบริษัทอีซูซุในประเทศไทย รวมถึงการนำรถยนต์ต้นแบบมาทดสอบในประเทศไทย โดยรับผิดชอบการวิจัย พัฒนา และออกแบบในลักษณะ Minor Change เท่านั้น
แต่ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยบริษัทอีซูซุของญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตรถยนต์ปิกอัพขนาด 1 ตัน จากญี่ปุ่นมายังประเทศไทย ดังนั้น จึงวางแผนจะให้ไทยเป็นฐานการผลิตอย่างครบวงจร โดยกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการออกแบบและทดสอบชิ้นส่วนรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัท อีซูซุเทคนิคัลเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงขยายบทบาทไปสู่การวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะรถยนต์ปิกอัพขนาด 1 ตัน รถยนต์ 6 – 10 ล้อ และรถยนต์ SUV ขนาดเล็กที่ดัดแปลงมาจากรถปิกอัพดีแมคซ์ โดยตั้งเป้าหมายว่าในอนาคตการออกแบบรถยนต์ปิกอัพขนาด 1 ตัน จะดำเนินการในประเทศไทยแทบทั้งหมด โดยจะออกแบบในญี่ปุ่นเฉพาะชิ้นส่วนยากๆ เท่านั้น
จากโครงการข้างต้น บริษัทอีซูซุจึงตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมอีก 200 ล้านบาท เพื่อก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาอย่างเป็นทางการขึ้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เมื่อกลางปี 2547 นับเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนานอกประเทศญี่ปุ่นแห่งที่ 3 ของอีซูซุ ต่อจากศูนย์วิจัยและพัฒนาในสหรัฐฯ และจีน
ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2548 บริษัทฮอนด้าได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการวิจัยและพัฒนารถยนต์ มีเงินลงทุน 2,400 ล้านบาท เพื่อก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์รถยนต์ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคขึ้นในประเทศไทย ดำเนินการในนามบริษัท ฮอนด้าอาร์ แอนด์ดีเอเชีย-แปซิฟิก จำกัด โดยกำหนดก่อสร้างศูนย์วิจัยแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการในปี 2550 นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะก่อสร้างสนามทดสอบแห่งใหม่ขึ้นอีกด้วยในอนาคต
ล่าสุดเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2548 ได้มีการให้การส่งเสริมการลงทุนแก่โครงการวิจัยและพัฒนาของบริษัทนิสสัน ซึ่งดำเนินการในนามบริษัท นิสสันเซ้าท์อีสต์เอเชีย จำกัด มีเงินลงทุน 170 ล้านบาท เพื่อก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในประเทศไทย โดยก่อตั้งบริเวณ กม. 22 ถนนบางนา-ตราด ซึ่งอยู่ภายในโรงงานประกอบรถยนต์ของนิสสัน
สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนา 4 โครงการดังกล่าวข้างต้นจะมีขอบข่ายธุรกิจค่อนข้างคล้ายคลึงกัน โดยครอบคลุมถึงขั้นตอนต่างๆ กล่าวคือ การวางแผนผลิตภัณฑ์ (Product Planning) เป็นการพบปะกับตัวแทนขายเพื่อนำข้อมูลไปทำแผนในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทั้ง Minor Change และ Full Model Change รวมทั้งทำแผนในการเตรียมออกแบบผลิตภัณฑ์
การออกแบบทางอุตสาหกรรม (Industrial Design) เป็นการออกแบบรูปลักษณ์รถยนต์รวมถึงการทำโมเดลของรถยนต์ขึ้นจากดินเหนียวหรือไฟเบอร์กลาสตั้งแต่ขนาดย่อส่วนจนถึงขนาดใหญ่เท่ากับของจริง
การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบ Prototype Drawing และ Production Drawing เพื่อให้สามารถนำแบบมาผลิตได้ โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนจะเข้ามาร่วมมือกับบริษัทรถยนต์ในการออกแบบขั้นตอนนี้ ซึ่งจะส่งผลดีทางอ้อมทำให้รถยนต์ที่ออกแบบเสร็จแล้วมีแนวโน้มใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเป็นสัดส่วนมากขึ้น
1 Body Interior/Exterior Design เป็นการออกแบบโครงสร้างตัวถังและชิ้นส่วน
2. Chassis Design เป็นการออกแบบช่วงล่างรถยนต์ โดยครอบคลุมถึงระบบการทรงตัว ระบบเบรก ระบบพวงมาลัย ฯลฯ
3. Electrical Design เป็นการออกแบบระบบสายไฟ เครื่องปรับอากาศ แบตเตอรี่ ระบบเครื่องเสียง ฯลฯ
4. Engine Design เป็นการออกแบบชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์
การทดสอบรถยนต์ (Vehicle Experiment) เป็นการทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ และชิ้นส่วน ทดสอบความทนทาน การปล่อยไอเสีย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ฯลฯ ทั้งโดยการจำลองการทำงานและการขับทดสอบจริง เพื่อให้ฝ่ายออกแบบนำไปใช้ปรับปรุงงานต่อไป
การขับทดสอบจริงจะดำเนินการภายในสนามทดสอบซึ่งมีขนาดใหญ่มาก เพื่อให้รถยนต์สามารถแล่นได้สูงสุดตามที่กำหนด เป็นต้นว่า ขับด้วยความเร็วสูงถึง 200 - 300 กม./ชั่วโมง ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีสนามทดสอบขนาดใหญ่เช่นนี้ ดังนั้น จะต้องนำรถยนต์ต้นแบบไปทดสอบในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม บริษัทรถยนต์บางค่ายได้มีแผนจะก่อสร้างสนามทดสอบขนาดใหญ่ขึ้นในประเทศไทย
ภายหลังทดสอบในสนามทดสอบจนเกิดความมั่นใจแล้ว ยังต้องนำรถยนต์ไปทดสอบในถนนจริงด้วยเพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นว่ารถยนต์ดังกล่าวจะสามารถใช้ได้ดีในสภาพภูมิประเทศต่างๆ โดยพื้นที่ซึ่งได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ คือ จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศหลากหลาย ทั้งในส่วนภูเขาและที่ราบ โดยบ่อยครั้งที่เราเห็นรถยนต์แปลกๆ ซึ่งไม่ได้วางตลาดในประเทศไทย ถูกขับทดสอบบนถนนสายต่างๆ ของเชียงใหม่ เป็นต้นว่า เส้นทางขึ้นดอยสุเทพ
การจัดการกระบวนการผลิตและเทคโนโลยี (Planning, Technology & Process Management) เป็นการวิจัยและพัฒนาถึงกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อประหยัดเวลาทำงาน ลดต้นทุน และปรับปรุงคุณภาพ
การศึกษา Feed Back ของลูกค้าภายหลังจำหน่าย คือการศึกษาว่าลูกค้าพอใจหรือไม่พอใจรถยนต์มากน้อยเพียงใด โดยจะเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์สื่อมวลชนที่เชิญมาทดสอบขับรถยนต์ สัมภาษณ์ลูกค้าว่าพึงพอใจมากน้อยเพียงใดกับรถยนต์ที่ซื้อไป สัมภาษณ์ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ ศึกษาข้อมูลของศูนย์บริการรถยนต์เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ของลูกค้า ฯลฯ
โครงการวิจัยและพัฒนารถยนต์ของค่ายญี่ปุ่นดังกล่าวข้างต้นมีส่วนแตกต่างกันอยู่บ้างในรายละเอียด โดยบางบริษัทเน้นให้กิจการในประเทศไทยทำการวิจัยและพัฒนาเฉพาะขั้นต้นน้ำ กล่าวคือ การออกแบบทางอุตสาหกรรม จากนั้นจะออกแบบในรายละเอียดทางวิศวกรรมในญี่ปุ่น
ขณะที่บางบริษัทกลับทำตรงกันข้าม คือเน้นให้กิจการในประเทศไทยทำการวิจัยและพัฒนาในขั้นปลายน้ำ กล่าวคือ การออกแบบทางอุตสาหกรามจะดำเนินการในญี่ปุ่นเป็นหลัก จากนั้นจะมาออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมสำหรับชิ้นส่วนแต่ละชิ้นในประเทศไทย
สุดท้ายนี้ นอกจากการวิจัยและพัฒนารถยนต์ของตนเองแล้ว บรรดาศูนย์วิจัยและพัฒนาเหล่านี้ยังต้องทำการวิจัยและพัฒนารถยนต์คู่แข่งอย่างไม่คิดมูลค่าอีกด้วย โดยเมื่อบริษัทคู่แข่งวางตลาดรถยนต์รุ่นใหม่แล้ว ก็จะแอบไปซื้อมาขับทดสอบ จากนั้นจะทำการรื้อรถยนต์ของคู่แข่งออกเป็นชิ้นๆ เพื่อศึกษาว่ามีจุดเด่นหรือจุดด้อยกว่ารถยนต์ของตนเองอย่างใดบ้าง เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงรถยนต์ของตนเองให้เหนือกว่าคู่แข่งอยู่เสมอ