ผู้จัดการรายวัน - ขี้ยาเจอลดพื้นที่สูบบุหรี่อีก สธ.ประกาศเพิ่มสถานที่ห้ามสูบในล็อบบี้โรงแรม โบกี้รถไฟ สปาเพื่อสุขภาพ แถมให้เพิ่มป้ายแสดงเขตปลอดบุหรี่ ขนาดเล็ก เพื่อให้เหมาะสมสถานที่ที่จะติดป้าย และให้ผู้ประกอบการออกแบบเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ได้ คาดมีผลบังคับมกราคมนี้
นายพินิจ จารุสมบัติ รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2549 ว่า จะเน้นเรื่องการป้องกันโรค ลดปัญหาการเจ็บป่วยให้น้อยลง โดยเฉพาะในโรคที่ป้องกันได้ ที่เป็นปัญหาอันดับ 1 ของไทยขณะนี้ ได้แก่ โรคมะเร็งที่มีผู้เสียชีวิตปีละ 45,759 คน หรือเฉลี่ยตายชั่วโมงละ 5 คน ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่น่ากลัวมาก โดยสาเหตุหลักๆ เกิดมาจากการสูดควันพิษจากบุหรี่ ผลสำรวจล่าสุด ทั่วประเทศมีคนสูบบุหรี่มากถึง 11.3 ล้านคน ดังนั้นจะต้องคุ้มครองสุขภาพของคนอีก 52 ล้านคน ที่ไม่ได้สูบ แต่ได้รับควันพิษจากบุหรี่ อย่างต่อเนื่อง จริงจัง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับ เรื่องการกำหนดเครื่องหมายของเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่ และการกำหนดพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มเติมจากกฎหมายเดิมที่มี 31 ประเภท เพิ่มอีก 3 ประเภท โดยมีการปรับปรุงกฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 10 เดิมที่ใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 2545 เป็นต้นมา เพื่อให้มีความครอบคลุมยิ่งขึ้น คาดว่าจะมีผลใช้หลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาภายในเดือนมกราคมนี้
โดยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขใหม่ ได้เพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่ ได้แก่ ล็อบบี้โรงแรมที่ติดแอร์ทุกแห่ง สถานพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทย และธุรกิจบริการสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ สปาเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อสุขภาพ และร้านเสริมสวยเพื่อสุขภาพ และแก้ไขประกาศเดิม ซึ่งครอบคลุมเฉพาะตู้รถไฟชนิดปรับอากาศ แต่ประกาศฉบับใหม่นี้จะครอบคลุมตู้โดยสารรถไฟทั้งขบวน
สำหรับ เครื่องหมายของเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่ ได้มีการลดขนาดป้ายที้ให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร เป็นป้ายวงกลม พื้นสีขาว โดยมีขอบสีแดง กว้างไม่ต่ำกว่า 0.5 เซนติเมตร มีรูปมวนบุหรี่ซิกาแรต และควันสีดำอยู่ตรงกลาง มีเส้นทึบสีแดงพาดทับ ขนาดกว้างเท่าขอบสีแดง ทั้งนี้ อาจจัดให้มีข้อความ “ห้ามสูบบุหรี่ ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 2,000 บาท” หรือพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในความหมายเดียวกัน โดยให้ผู้ประกอบการสามารถออกแบบเองได้ด้วย
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศผู้นำของโลกในด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ ซึ่งแสดงถึงความจริงจังของรัฐบาลไทย โดยมีพื้นที่ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ 34 ประเภท แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ 100%
ได้แก่ 1.รถยนต์โดยสารประจำทาง 2.รถยนต์โดยสารรับจ้าง 3.ตู้โดยสารรถไฟ 4.เรือโดยสาร 5. เครื่องบินโดยสารภายในประเทศ 6.ที่พักผู้โดยสารเฉพาะบริเวณติดแอร์ 7.ลิฟต์โดยสาร 8.ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 9.รถรับส่งนักเรียน 10.โรงมหรสพ 11.ห้องสมุด 12.ร้านตัดผม ร้านตัดเสื้อ สถานเสริมความงาม ร้านขายยา หรือร้านอินเทอร์เน็ตเฉพาะบริเวณที่ติดแอร์
13.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า หรือสถานที่จำหน่ายสินค้าเฉพาะบริเวณที่ติดแอร์ 14.สถานที่ออกกำลังกายเฉพาะบริเวณที่ติดแอร์ 15.คลินิกที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน 16.ศาสนสถานเฉพาะบริเวณประกอบศาสนกิจ 17.สถานที่จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม เฉพาะในบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ ซึ่งรวมถึงร้านอาหาร ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าด้วย
18.ห้องสุขา 19.ท่าเทียบเรือสาธารณะ 20.โบว์ลิ่ง 21.ล็อบบี้โรงแรมที่ติดแอร์ทุกแห่ง 22. สถานพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทย และ 23.ธุรกิจบริการสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ สปาเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อสุขภาพ และร้านเสริมสวยเพื่อสุขภาพ
ลักษณะที่ 2 เป็นพื้นที่ที่คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่โดยมีข้อยกเว้น ประกอบด้วย 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1.สถานที่เหล่านี้เป็นเขตปลอดบุหรี่ แต่ยกเว้นห้องส่วนตัว ประกอบด้วย 1.สถานศึกษาที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา 2.อาคารจัดแสดงศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ 3.สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยค้างคืน 4.สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน และ 5.สนามกีฬาในร่ม
กลุ่มที่ 2 เป็นเขตปลอดบุหรี่ ยกเว้นห้องส่วนตัวและสถานที่ที่จัดเป็นเขตสูบบุหรี่เฉพาะ ได้แก่ 1.สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา 2.บริเวณแสดงสินค้า หรือนิทรรศการเฉพาะที่มีระบบปรับอากาศ 3.สถานที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ 4.ธนาคารและสถาบันการเงิน 5.สำนักงานที่ติดแอร์ และ 6. อาคารท่าอากาศยาน
นายพินิจ จารุสมบัติ รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2549 ว่า จะเน้นเรื่องการป้องกันโรค ลดปัญหาการเจ็บป่วยให้น้อยลง โดยเฉพาะในโรคที่ป้องกันได้ ที่เป็นปัญหาอันดับ 1 ของไทยขณะนี้ ได้แก่ โรคมะเร็งที่มีผู้เสียชีวิตปีละ 45,759 คน หรือเฉลี่ยตายชั่วโมงละ 5 คน ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่น่ากลัวมาก โดยสาเหตุหลักๆ เกิดมาจากการสูดควันพิษจากบุหรี่ ผลสำรวจล่าสุด ทั่วประเทศมีคนสูบบุหรี่มากถึง 11.3 ล้านคน ดังนั้นจะต้องคุ้มครองสุขภาพของคนอีก 52 ล้านคน ที่ไม่ได้สูบ แต่ได้รับควันพิษจากบุหรี่ อย่างต่อเนื่อง จริงจัง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับ เรื่องการกำหนดเครื่องหมายของเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่ และการกำหนดพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มเติมจากกฎหมายเดิมที่มี 31 ประเภท เพิ่มอีก 3 ประเภท โดยมีการปรับปรุงกฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 10 เดิมที่ใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 2545 เป็นต้นมา เพื่อให้มีความครอบคลุมยิ่งขึ้น คาดว่าจะมีผลใช้หลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาภายในเดือนมกราคมนี้
โดยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขใหม่ ได้เพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่ ได้แก่ ล็อบบี้โรงแรมที่ติดแอร์ทุกแห่ง สถานพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทย และธุรกิจบริการสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ สปาเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อสุขภาพ และร้านเสริมสวยเพื่อสุขภาพ และแก้ไขประกาศเดิม ซึ่งครอบคลุมเฉพาะตู้รถไฟชนิดปรับอากาศ แต่ประกาศฉบับใหม่นี้จะครอบคลุมตู้โดยสารรถไฟทั้งขบวน
สำหรับ เครื่องหมายของเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่ ได้มีการลดขนาดป้ายที้ให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร เป็นป้ายวงกลม พื้นสีขาว โดยมีขอบสีแดง กว้างไม่ต่ำกว่า 0.5 เซนติเมตร มีรูปมวนบุหรี่ซิกาแรต และควันสีดำอยู่ตรงกลาง มีเส้นทึบสีแดงพาดทับ ขนาดกว้างเท่าขอบสีแดง ทั้งนี้ อาจจัดให้มีข้อความ “ห้ามสูบบุหรี่ ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 2,000 บาท” หรือพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในความหมายเดียวกัน โดยให้ผู้ประกอบการสามารถออกแบบเองได้ด้วย
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศผู้นำของโลกในด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ ซึ่งแสดงถึงความจริงจังของรัฐบาลไทย โดยมีพื้นที่ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ 34 ประเภท แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ 100%
ได้แก่ 1.รถยนต์โดยสารประจำทาง 2.รถยนต์โดยสารรับจ้าง 3.ตู้โดยสารรถไฟ 4.เรือโดยสาร 5. เครื่องบินโดยสารภายในประเทศ 6.ที่พักผู้โดยสารเฉพาะบริเวณติดแอร์ 7.ลิฟต์โดยสาร 8.ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 9.รถรับส่งนักเรียน 10.โรงมหรสพ 11.ห้องสมุด 12.ร้านตัดผม ร้านตัดเสื้อ สถานเสริมความงาม ร้านขายยา หรือร้านอินเทอร์เน็ตเฉพาะบริเวณที่ติดแอร์
13.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า หรือสถานที่จำหน่ายสินค้าเฉพาะบริเวณที่ติดแอร์ 14.สถานที่ออกกำลังกายเฉพาะบริเวณที่ติดแอร์ 15.คลินิกที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน 16.ศาสนสถานเฉพาะบริเวณประกอบศาสนกิจ 17.สถานที่จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม เฉพาะในบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ ซึ่งรวมถึงร้านอาหาร ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าด้วย
18.ห้องสุขา 19.ท่าเทียบเรือสาธารณะ 20.โบว์ลิ่ง 21.ล็อบบี้โรงแรมที่ติดแอร์ทุกแห่ง 22. สถานพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทย และ 23.ธุรกิจบริการสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ สปาเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อสุขภาพ และร้านเสริมสวยเพื่อสุขภาพ
ลักษณะที่ 2 เป็นพื้นที่ที่คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่โดยมีข้อยกเว้น ประกอบด้วย 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1.สถานที่เหล่านี้เป็นเขตปลอดบุหรี่ แต่ยกเว้นห้องส่วนตัว ประกอบด้วย 1.สถานศึกษาที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา 2.อาคารจัดแสดงศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ 3.สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยค้างคืน 4.สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน และ 5.สนามกีฬาในร่ม
กลุ่มที่ 2 เป็นเขตปลอดบุหรี่ ยกเว้นห้องส่วนตัวและสถานที่ที่จัดเป็นเขตสูบบุหรี่เฉพาะ ได้แก่ 1.สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา 2.บริเวณแสดงสินค้า หรือนิทรรศการเฉพาะที่มีระบบปรับอากาศ 3.สถานที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ 4.ธนาคารและสถาบันการเงิน 5.สำนักงานที่ติดแอร์ และ 6. อาคารท่าอากาศยาน