เริ่มขึ้นปีใหม่นี้ ผมคิดว่าอยากเล่าเรื่องเก่าๆ สู่กันฟัง เพราะคนรุ่นลูกรุ่นหลานไม่ค่อยจะมีเรื่องราวที่ตื่นเต้นน่าสนใจ จะมีก็แต่เรื่องตื่นเต้นที่น่าตกใจอย่างเรื่องเครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรด หรือสึนามิเท่านั้น
เมื่อผมยังเด็ก ผมชอบคุยกับผู้ใหญ่หรือไม่พ่อแม่ก็มักจะพาไปงานที่ผู้ใหญ่ไปกัน ผมไม่ได้ไปวิ่งเล่นซนอะไร แต่จะนั่งสังเกตและฟังผู้ใหญ่เขาคุยกัน รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง
อย่างเช่น มีการประกวดนางสาวไทยปี 2490 กว่าๆ ผมจำได้ว่า คุณลุงคุณอาวิพากษ์วิจารณ์รูปร่างของผู้เข้าประกวด คุณลุงคนหนึ่งพูดว่า "คนนี้แก่กาแฟไปหน่อย" แล้วคนอื่นๆ ก็หัวเราะกัน ผมไม่รู้เรื่อง และไม่กล้าถามใคร เพราะแม่ห้ามไม่ให้พูดสอดขึ้นมาเวลาคนคุยกัน พอโตขึ้นมาจึงเข้าใจว่า "แก่กาแฟ" นั้น หมายถึง "นมน้อย" นั่นเอง
มีสำนวนเก่าๆ ที่สมัยนี้เราไม่ได้ยินกันแล้ว เช่น พ่อผมชอบพูดว่า "เขาสวดเรา--" คำว่า สวด นั้นหมายถึงพูดให้ร้าย ครูผมชอบพูดว่า "ข้าไม่หัวชาหรอก" แปลว่า "ไม่สนใจไม่ใส่ใจ"
การที่เราเป็นเด็กแต่ไปอยู่ในที่ที่ผู้ใหญ่อยู่ ทำให้ได้รู้ได้เห็นแยะ ผมเคยไปบ้านเพื่อนพ่อซึ่งกำลังเป็นใหญ่เป็นโต ก็เห็นเพื่อนๆ พ่อ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปมาหาสู่กัน พวกลุงๆ ก็คุยเรื่องการเมือง พวกป้าๆ ก็เปิดวงไพ่ตอง แม่และย่าผมเล่นไพ่ตอง ส่วนมากเล่นที่บ้าน แม่ผมจะเล่นไพ่นอกบ้านก็เฉพาะกับเพื่อนสนิทเท่านั้น และได้-เสียทีก็มีขีดจำกัด คือไม่เกินสองร้อยบาท การที่ผมได้รู้ว่าแม่ผมเล่นไพ่ไม่ได้เสียเงินมากนี้ ทำให้รู้สึกดีว่าแม่เราเล่นไพ่เพื่อการสังคม ในวงไพ่ตองนั้น คนเล่นจะคุยสารทุกข์สุขดิบกันไปเรื่อย
ผมได้รู้จักผู้ใหญ่หลายคน ส่วนมากนอกจากจะทำความเคารพท่านแล้ว ผมก็ไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับท่าน แต่พอเรานั่งรถกลับบ้าน พ่อผมก็จะพูดถึงท่านเหล่านั้นด้วยความชื่นชม อย่างเช่น ท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นต้น ท่านเป็นคนสมถะและซื่อสัตย์สุจริตมาก บ้านท่านที่สุขุมวิทก็หลังเล็กๆ ผมยังจำกางเกงที่ท่านสวมได้ คงจะคับแล้วท่านก็เลื่อนขอเกี่ยวกางเกงออกมาหน่อยหนึ่ง อาจารย์สัญญาเป็นเพื่อนกับหลวงพรหมทัตเวทีลุงของผม ซึ่งเป็นเด็กระยองคนแรกที่ได้ไปเรียนอังกฤษ คุณลุงหลวงพรหม มีบ้านหลังใหญ่อยู่แถวสี่พระยา ทุกปีผมจะได้พบกับอาจารย์สัญญาที่นั่น
สถานที่ที่ผมและน้องชอบไปกับพ่อก็คือ สมาคมพ่อค้าไทย เพราะได้กินน้ำหวานแล้วจดบัญชีไว้ พ่อผมไปเล่นบิลเลียดที่นั่น แต่ก็ไปได้ไม่นานก็ไม่ค่อยได้ไปอีก การไปสมาคมพ่อค้าไทยทำให้ผมรู้จักคุ้นหน้าคุ้นตาพ่อค้าหลายคน สมัย 50 ปีมาแล้ว ภาคเอกชนยังเล็กมาก พ่อค้าส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายจีน แต่ที่เป็นคนไทยก็มี อย่าง "ลุงพงศ์" เพื่อนพ่อผมมีอาชีพน่าสนใจมากคือ ส่งปลาตู้ขายเมืองนอก ลุงพงศ์จะไปหาปลาสวยๆ ตามน้ำตก ที่บ้านเต็มไปด้วยอ่างปลา ผมรู้สึกทึ่งมากที่รู้จักคนมีอาชีพเช่นนี้ เพราะเกือบจะไม่ต้องลงทุนเลย
เพื่อนบางคนของพ่อผมก็ชื่อแปลกๆ ที่ผมจำได้ติดหูก็คือ คุณ "ประหลาด" ตอนผมเด็กๆ เวลาเห็นคุณประหลาด ผมกับน้องชอบแอบหัวเราะกันเสมอ
ผมไม่แน่ใจว่าสมัยนี้เด็กๆ ได้มีประสบการณ์อย่างผมบ้างหรือเปล่า ผมเห็นว่าการที่เด็กๆ ได้พบกับผู้ใหญ่นอกเหนือไปจากวงศาคณาญาตินั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะผู้ใหญ่บางคนช่างเล่า เราก็ได้รู้เรื่องเก่าๆ มากมาย เด็กแต่ละคนมักจะมีญาติที่ตนชอบ อาจเป็นคุณปู่ คุณตา คุณลุง คุณอาก็ได้
ผมมีลุงมีอา แต่ไม่ใช่ลุง-อาแท้ๆ เป็นญาติสนิท มีอาคนหนึ่งเรียนเก่งมาก ได้ที่หนึ่งตลอด และเป็นคนโปรดของผู้ใหญ่ ครอบครัวผมมีผู้ใหญ่ที่นับถือคนหนึ่ง เราเรียกว่า "ท่าน" (ท่านเลี่ยม) ท่านเลี่ยมนี้เป็นลูกสาว "เจ้าคุณทหาร" ได้สมรสกับเจ้าพระยาผู้หนึ่ง แต่ต่อมาท่านไปหลงรักนักเรียนอังกฤษเป็นนักวิทยาศาสตร์ ท่านเลี่ยมเลี้ยงพวกพ่อ ลุง อาผมมา อาผมคนที่เรียนเก่งได้นั่งโต๊ะร่วมกับท่าน ส่วนพ่อและลุงของผมอีกสองคนนั่งข้างล่างคอยปัดยุง อาผมมักจะแกล้งเตะพ่อและลุงผมเสมอ
ต่อมาอาผมเรียนโรงเรียนนายเรือแต่ไม่จบ พ่อกับลุงผมทุกคนได้เป็นนายพลกันหมด ผมมักได้ยินผู้ใหญ่พูดเสมอว่า คนที่นั่งโต๊ะกลับได้ดีสู้พวกนั่งใต้โต๊ะไม่ได้
ปู่ผมตายตั้งแต่พ่อผมยังเล็ก ผมจึงมีปู่ที่ไม่ใช่ปู่แท้ๆ แต่ก็เหมือนปู่แท้ๆ คือ พาผมไปขี่ม้าแกลบที่หัวหิน ขับรถพาไปเที่ยว และจะเล่นซนอะไรก็ได้ไม่เคยห้าม ตอนผมเด็กๆ ปู่ไปญี่ปุ่นและกลับมาเล่าเรื่องราวความเก่งของคนญี่ปุ่นให้ฟัง แถมยังให้ผมกับน้องกินสุกียากี้อีกด้วย นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกทึ่งกับความเก่งของญี่ปุ่น
พอผมไปอยู่โรงเรียน ผมก็มีโอกาสได้เห็นพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงดนตรีที่โรงเรียน ทรงขับรถเฟียตเล็กมาด้วยพระองค์เอง นอกจากพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯ งานโรงเรียนแล้ว ก็ยังมีกรมหมื่นพิทยลาภฯ หรือพระองค์ธานี เสด็จมาโรงเรียนบ่อยๆ อีกด้วย นอกจากนั้นพวกนักเรียนยังได้เข้าไปเสิร์ฟอาหารในวัง เวลามีราชอาคันตุกะมาเยือน ทำให้เราได้อยู่ในสถานที่ที่ต้องระมัดระวังอากัปกิริยามารยาท
สมัยนี้เด็กๆ ไม่ค่อยได้มีโอกาสพบผู้ใหญ่ที่โรงเรียนวชิราวุธ เราโชคดีที่มีอาจารย์คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ ให้ความเมตตาเด็กๆ มาก อาจารย์คุณหญิงให้เวลากับเด็กๆ ในการให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 มากมาย ที่วชิราวุธวิทยาลัย มีการแข่งขันความรู้ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 เป็นประจำทุกปี
เด็กที่เติบโตมาโดยมีโอกาสอยู่กับผู้ใหญ่ที่ดีด้วยนั้น ทำให้เด็กโตเกินวัย อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้กิริยามารยาท ผู้ใหญ่มักจะสอนเราว่า โตขึ้นเราควรเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มักจะเป็นแบบอย่างให้กับเด็กด้วย
พอผมโตขึ้นเรียนชั้นมัธยมแล้ว จึงได้เริ่มพูดคุยกับผู้ใหญ่มากขึ้น ผมจำได้ว่าคุณลุงคนหนึ่งไปรบที่เชียงตุงก็เล่าเรื่องเชียงตุง พ่อผมเล่าเรื่องเสรีไทย ส่วนคุณปู่เล่าเรื่องสงครามโลกครั้งที่สอง คุณย่าเล่าเรื่องสมัยรัชกาลที่ 5 ว่าคุณก๋งไปประมูลขายเหล้าแล้วไปทำโรงงานน้ำตาลทรายขาวที่แปดริ้ว ส่วนป้าคนหนึ่งก็เล่าประวัติญาติข้างแม่ที่ระยอง ทำให้ผมเรียนรู้มากมาย
ผมอยากให้ผู้ใหญ่รู้อย่างหนึ่งว่า เด็กทุกคนต้องการกำลังใจอยากได้คำชม ไม่อยากให้เราเปรียบเทียบเขากับใคร อยากให้เราคุยกับเขาบ้าง แต่ไม่ถึงกับไปยุ่งกับเขามากจนเกินไป เด็กก็อยากอยู่ส่วนเด็ก ผมอยากให้พ่อ-แม่พาเด็กไปรู้จักผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่ญาติบ้าง แล้วเด็กจะโตขึ้นเป็นคนที่มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
เมื่อผมยังเด็ก ผมชอบคุยกับผู้ใหญ่หรือไม่พ่อแม่ก็มักจะพาไปงานที่ผู้ใหญ่ไปกัน ผมไม่ได้ไปวิ่งเล่นซนอะไร แต่จะนั่งสังเกตและฟังผู้ใหญ่เขาคุยกัน รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง
อย่างเช่น มีการประกวดนางสาวไทยปี 2490 กว่าๆ ผมจำได้ว่า คุณลุงคุณอาวิพากษ์วิจารณ์รูปร่างของผู้เข้าประกวด คุณลุงคนหนึ่งพูดว่า "คนนี้แก่กาแฟไปหน่อย" แล้วคนอื่นๆ ก็หัวเราะกัน ผมไม่รู้เรื่อง และไม่กล้าถามใคร เพราะแม่ห้ามไม่ให้พูดสอดขึ้นมาเวลาคนคุยกัน พอโตขึ้นมาจึงเข้าใจว่า "แก่กาแฟ" นั้น หมายถึง "นมน้อย" นั่นเอง
มีสำนวนเก่าๆ ที่สมัยนี้เราไม่ได้ยินกันแล้ว เช่น พ่อผมชอบพูดว่า "เขาสวดเรา--" คำว่า สวด นั้นหมายถึงพูดให้ร้าย ครูผมชอบพูดว่า "ข้าไม่หัวชาหรอก" แปลว่า "ไม่สนใจไม่ใส่ใจ"
การที่เราเป็นเด็กแต่ไปอยู่ในที่ที่ผู้ใหญ่อยู่ ทำให้ได้รู้ได้เห็นแยะ ผมเคยไปบ้านเพื่อนพ่อซึ่งกำลังเป็นใหญ่เป็นโต ก็เห็นเพื่อนๆ พ่อ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปมาหาสู่กัน พวกลุงๆ ก็คุยเรื่องการเมือง พวกป้าๆ ก็เปิดวงไพ่ตอง แม่และย่าผมเล่นไพ่ตอง ส่วนมากเล่นที่บ้าน แม่ผมจะเล่นไพ่นอกบ้านก็เฉพาะกับเพื่อนสนิทเท่านั้น และได้-เสียทีก็มีขีดจำกัด คือไม่เกินสองร้อยบาท การที่ผมได้รู้ว่าแม่ผมเล่นไพ่ไม่ได้เสียเงินมากนี้ ทำให้รู้สึกดีว่าแม่เราเล่นไพ่เพื่อการสังคม ในวงไพ่ตองนั้น คนเล่นจะคุยสารทุกข์สุขดิบกันไปเรื่อย
ผมได้รู้จักผู้ใหญ่หลายคน ส่วนมากนอกจากจะทำความเคารพท่านแล้ว ผมก็ไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับท่าน แต่พอเรานั่งรถกลับบ้าน พ่อผมก็จะพูดถึงท่านเหล่านั้นด้วยความชื่นชม อย่างเช่น ท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นต้น ท่านเป็นคนสมถะและซื่อสัตย์สุจริตมาก บ้านท่านที่สุขุมวิทก็หลังเล็กๆ ผมยังจำกางเกงที่ท่านสวมได้ คงจะคับแล้วท่านก็เลื่อนขอเกี่ยวกางเกงออกมาหน่อยหนึ่ง อาจารย์สัญญาเป็นเพื่อนกับหลวงพรหมทัตเวทีลุงของผม ซึ่งเป็นเด็กระยองคนแรกที่ได้ไปเรียนอังกฤษ คุณลุงหลวงพรหม มีบ้านหลังใหญ่อยู่แถวสี่พระยา ทุกปีผมจะได้พบกับอาจารย์สัญญาที่นั่น
สถานที่ที่ผมและน้องชอบไปกับพ่อก็คือ สมาคมพ่อค้าไทย เพราะได้กินน้ำหวานแล้วจดบัญชีไว้ พ่อผมไปเล่นบิลเลียดที่นั่น แต่ก็ไปได้ไม่นานก็ไม่ค่อยได้ไปอีก การไปสมาคมพ่อค้าไทยทำให้ผมรู้จักคุ้นหน้าคุ้นตาพ่อค้าหลายคน สมัย 50 ปีมาแล้ว ภาคเอกชนยังเล็กมาก พ่อค้าส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายจีน แต่ที่เป็นคนไทยก็มี อย่าง "ลุงพงศ์" เพื่อนพ่อผมมีอาชีพน่าสนใจมากคือ ส่งปลาตู้ขายเมืองนอก ลุงพงศ์จะไปหาปลาสวยๆ ตามน้ำตก ที่บ้านเต็มไปด้วยอ่างปลา ผมรู้สึกทึ่งมากที่รู้จักคนมีอาชีพเช่นนี้ เพราะเกือบจะไม่ต้องลงทุนเลย
เพื่อนบางคนของพ่อผมก็ชื่อแปลกๆ ที่ผมจำได้ติดหูก็คือ คุณ "ประหลาด" ตอนผมเด็กๆ เวลาเห็นคุณประหลาด ผมกับน้องชอบแอบหัวเราะกันเสมอ
ผมไม่แน่ใจว่าสมัยนี้เด็กๆ ได้มีประสบการณ์อย่างผมบ้างหรือเปล่า ผมเห็นว่าการที่เด็กๆ ได้พบกับผู้ใหญ่นอกเหนือไปจากวงศาคณาญาตินั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะผู้ใหญ่บางคนช่างเล่า เราก็ได้รู้เรื่องเก่าๆ มากมาย เด็กแต่ละคนมักจะมีญาติที่ตนชอบ อาจเป็นคุณปู่ คุณตา คุณลุง คุณอาก็ได้
ผมมีลุงมีอา แต่ไม่ใช่ลุง-อาแท้ๆ เป็นญาติสนิท มีอาคนหนึ่งเรียนเก่งมาก ได้ที่หนึ่งตลอด และเป็นคนโปรดของผู้ใหญ่ ครอบครัวผมมีผู้ใหญ่ที่นับถือคนหนึ่ง เราเรียกว่า "ท่าน" (ท่านเลี่ยม) ท่านเลี่ยมนี้เป็นลูกสาว "เจ้าคุณทหาร" ได้สมรสกับเจ้าพระยาผู้หนึ่ง แต่ต่อมาท่านไปหลงรักนักเรียนอังกฤษเป็นนักวิทยาศาสตร์ ท่านเลี่ยมเลี้ยงพวกพ่อ ลุง อาผมมา อาผมคนที่เรียนเก่งได้นั่งโต๊ะร่วมกับท่าน ส่วนพ่อและลุงของผมอีกสองคนนั่งข้างล่างคอยปัดยุง อาผมมักจะแกล้งเตะพ่อและลุงผมเสมอ
ต่อมาอาผมเรียนโรงเรียนนายเรือแต่ไม่จบ พ่อกับลุงผมทุกคนได้เป็นนายพลกันหมด ผมมักได้ยินผู้ใหญ่พูดเสมอว่า คนที่นั่งโต๊ะกลับได้ดีสู้พวกนั่งใต้โต๊ะไม่ได้
ปู่ผมตายตั้งแต่พ่อผมยังเล็ก ผมจึงมีปู่ที่ไม่ใช่ปู่แท้ๆ แต่ก็เหมือนปู่แท้ๆ คือ พาผมไปขี่ม้าแกลบที่หัวหิน ขับรถพาไปเที่ยว และจะเล่นซนอะไรก็ได้ไม่เคยห้าม ตอนผมเด็กๆ ปู่ไปญี่ปุ่นและกลับมาเล่าเรื่องราวความเก่งของคนญี่ปุ่นให้ฟัง แถมยังให้ผมกับน้องกินสุกียากี้อีกด้วย นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกทึ่งกับความเก่งของญี่ปุ่น
พอผมไปอยู่โรงเรียน ผมก็มีโอกาสได้เห็นพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงดนตรีที่โรงเรียน ทรงขับรถเฟียตเล็กมาด้วยพระองค์เอง นอกจากพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯ งานโรงเรียนแล้ว ก็ยังมีกรมหมื่นพิทยลาภฯ หรือพระองค์ธานี เสด็จมาโรงเรียนบ่อยๆ อีกด้วย นอกจากนั้นพวกนักเรียนยังได้เข้าไปเสิร์ฟอาหารในวัง เวลามีราชอาคันตุกะมาเยือน ทำให้เราได้อยู่ในสถานที่ที่ต้องระมัดระวังอากัปกิริยามารยาท
สมัยนี้เด็กๆ ไม่ค่อยได้มีโอกาสพบผู้ใหญ่ที่โรงเรียนวชิราวุธ เราโชคดีที่มีอาจารย์คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ ให้ความเมตตาเด็กๆ มาก อาจารย์คุณหญิงให้เวลากับเด็กๆ ในการให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 มากมาย ที่วชิราวุธวิทยาลัย มีการแข่งขันความรู้ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 เป็นประจำทุกปี
เด็กที่เติบโตมาโดยมีโอกาสอยู่กับผู้ใหญ่ที่ดีด้วยนั้น ทำให้เด็กโตเกินวัย อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้กิริยามารยาท ผู้ใหญ่มักจะสอนเราว่า โตขึ้นเราควรเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มักจะเป็นแบบอย่างให้กับเด็กด้วย
พอผมโตขึ้นเรียนชั้นมัธยมแล้ว จึงได้เริ่มพูดคุยกับผู้ใหญ่มากขึ้น ผมจำได้ว่าคุณลุงคนหนึ่งไปรบที่เชียงตุงก็เล่าเรื่องเชียงตุง พ่อผมเล่าเรื่องเสรีไทย ส่วนคุณปู่เล่าเรื่องสงครามโลกครั้งที่สอง คุณย่าเล่าเรื่องสมัยรัชกาลที่ 5 ว่าคุณก๋งไปประมูลขายเหล้าแล้วไปทำโรงงานน้ำตาลทรายขาวที่แปดริ้ว ส่วนป้าคนหนึ่งก็เล่าประวัติญาติข้างแม่ที่ระยอง ทำให้ผมเรียนรู้มากมาย
ผมอยากให้ผู้ใหญ่รู้อย่างหนึ่งว่า เด็กทุกคนต้องการกำลังใจอยากได้คำชม ไม่อยากให้เราเปรียบเทียบเขากับใคร อยากให้เราคุยกับเขาบ้าง แต่ไม่ถึงกับไปยุ่งกับเขามากจนเกินไป เด็กก็อยากอยู่ส่วนเด็ก ผมอยากให้พ่อ-แม่พาเด็กไปรู้จักผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่ญาติบ้าง แล้วเด็กจะโตขึ้นเป็นคนที่มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล