Hard Disk Drive (HDD) นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยตลาดมีขนาดปีละประมาณ 1,000,000 ล้านบาท การเติบโตของอุตสาหกรรม HDD และบริษัทซีเกทเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ล่าสุดมีรายงานข่าวเกรียวกราวไปทั่วโลกเกี่ยวกับกรณีบริษัทซีเกทซื้อกิจการบริษัทคู่แข่ง คือ บริษัทแม็กตอร์ (Maxtor) จึงนับเป็นความท้าทายครั้งสำคัญ
เดิมในปี 2528 ทั่วโลกมีบริษัทผลิต HDD ประมาณ 60 บริษัท แต่อุตสาหกรรมนี้แข่งขันกันสูงมาก ทำให้มีกำไรต่ำมาก ส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ล้มหายตายจากหรือควบกิจการเข้าด้วยกันเป็นจำนวนมาก จึงมีจำนวนผู้ผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา เหลือผู้ผลิตหลักเพียงแค่ 9 บริษัทเท่านั้น คือ ซีเกท แม็กตอร์ ไอบีเอ็ม เวสเทิร์นดิจิตอล ฮิตาชิ ควันตัม โตชิบา ซัมซุง และฟูจิตสึ
ต่อมาในปี 2544 บริษัทแม็กตอร์ซื้อกิจการผลิต HDD ของบริษัทควันตัม ทำให้จำนวนผู้ผลิต HDD รายใหญ่ลดลงอีกเหลือเพียง 8 บริษัท จากนั้นในปี 2545 มีแยกธุรกิจผลิต HDD ออกจากบริษัทฮิตาชิและบริษัทไอบีเอ็มมาก่อตั้งเป็นบริษัทใหม่ซึ่งมีชื่อว่าบริษัทฮิตาชิโกลบอลสตอเรจเทคโนโลยีส์ จำกัด (HGST) ทำให้จำนวนผู้ผลิต HDD รายใหญ่ลดลงอีกครั้งหนึ่งเหลือเพียงแค่ 7 บริษัท
เดิมบริษัทควันตัมเป็นผู้ผลิต HDD ใหญ่อันดับ 1 ของโลก ต่อมาบริษัทซีเกทซื้อกิจการบริษัทคอร์เนอร์ ทำให้แซงหน้าบริษัทควันตัมกลายเป็นผู้จำหน่าย HDD รายใหญ่อันดับ 1 ของโลก นับตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนเมษายน 2544 บริษัทแม็กตอร์ซื้อกิจการบริษัทควันตัม จึงแซงหน้าบริษัทซีเกทกลายเป็นบริษัทมียอดจำหน่ายมากเป็นอันดับ 1 ขณะที่บริษัทซีเกทตามมาเป็นอันดับ 2
อย่างไรก็ตาม บริษัทซีเกทสูญเสียตำแหน่งอันดับ 1 ของโลกเป็นระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากในระยะหลังธุรกิจของบริษัทซีเกทดีขึ้นมาก ประกอบกับบริษัทแม็กตอร์อ่อนแรงลงอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้ซีเกทสามารถแซงบริษัทแม็กตอร์ขึ้นเป็นผู้ผลิต HDD ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลกอีกครั้งหนึ่งนับตั้งแต่ปลายปี 2544 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ บริษัทเวสเทิร์นดิจิตอลและบริษัทฮิตาชิก็กำลังมาแรงเช่นกัน โดยแซงหน้าบริษัทแม็กตอร์ขึ้นเป็นอันดับ 2 และอันดับ 3 ของโลก ตามลำดับ
ปัจจุบันหากวัดตามจำนวนปริมาณการจำหน่าย HDD แล้ว บริษัทซีเกทมีส่วนแบ่งตลาดโลกเป็นอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งตลาดมากถึง 28.1% รองลงมา คือ บริษัทเวสท์เทิร์นดิจิตอล 18% บริษัทฮิตาชิ 15% บริษัทแม็กตอร์ 13.8% บริษัทโตชิบา 9.5% บริษัทซัมซุง 7.7% และบริษัทฟูจิตสึ 6.4%
ปัจจุบันบริษัทซีเกทนับว่ามีสถานการณ์ดีขึ้นมาก โดยในปีงบประมาณ 2548 (กรกฎาคม 2547 – มิถุนายน 2548) จำหน่าย HDD จำนวน 98 ล้านชิ้น มีรายได้ 300,000 ล้านบาท และกำไร 28,000 ล้านบาท นับว่าเพิ่มขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีรายได้ 250,000 ล้านบาท และกำไร 21,000 ล้านบาท
จุดแข็งของบริษัทซีเกท คือ HDD ในตลาดบนซึ่งเรียกว่าตลาด Enterprise โดยเป็น HDD สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันซีเกทครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 54% อันดับ 2 คือ บริษัทฟูจิตสึมีส่วนแบ่งตลาด 21.4% สำหรับลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทซีเกทในตลาดนี้ คือ บริษัท HP และบริษัท EMC
บริษัทซีเกทยังมีจุดแข็งที่ตลาด HDD ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ โดยมีส่วนแบ่งตลาดโลกมากถึง 31% อย่างไรก็ตาม ตลาดนี้แม้มีขนาดใหญ่มาก แต่ก็ไม่น่าสนใจมากนัก เนื่องจากมีการแข่งขันสูงมาก ทำให้มีกำไรต่ำมาก
อย่างไรก็ตาม แต่เดิมบริษัทซีเกทมีจุดอ่อนสำคัญในตลาด HDD ขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 นิ้ว ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตรวดเร็วมาก แม้ในอดีตบริษัทซีเกทพยายามบุกตลาดนี้หลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าใดนัก เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว บริษัทซีเกทจึงวางตลาด HDD ขนาด 2.5 นิ้ว แบบใหม่ โดยใช้ชื่อว่า Momentus เมื่อปี 2546 และวางตลาด HDD ขนาดเล็กลงไปอีก คือ ขนาด 1 นิ้ว เมื่อกลางปี 2547 ทำให้สามารถตีตื้นอย่างรวดเร็วในตลาด HDD ขนาดเล็ก
ส่วนบริษัทแม็กตอร์กลับมีสถานการณ์ไม่สู้ดีนัก ในปี 2537 ถูกบริษัทฮุนไดอิเล็กทรอนิกส์ซื้อหุ้นในสัดส่วน 40% ของทั้งหมด ต่อมาในปี 2539 บริษัทฮุนไดได้ซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท อย่างไรก็ตาม เมื่อเกาหลีใต้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อกลุ่มฮุนได ทำให้ต้องขายหุ้นในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นบริษัทอิสระโดยมีเจ้าหนี้เข้ามาถือหุ้นใหญ่และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Hynix Semiconductors
จากนั้นในเดือนเมษายน 2544 บริษัทแม็กตอร์ซื้อกิจการ HDD ของบริษัทควันตัม ทำให้กลายเป็นผู้ผลิต HDD ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก อย่างไรก็ตาม บริษัท Hynix ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ต้องการเงินมากอบกู้สถานการณ์ทางการเงินของบริษัท ดังนั้น ได้ตัดสินใจขายหุ้นที่ถือในบริษัทแม็กตอร์ทั้งหมดออกไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545
สาเหตุที่บริษัทแม็กตอร์ซึ่งเดิมเคยเป็นผู้ผลิต HDD ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันหล่นมาอยู่อันดับ 4 ของโลก เนื่องจากประสบปัญหามากมาย โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ประสบกับปัญหาขาดทุนมากถึง 3 ปี โดยมีกำไรเพียงปีเดียวเท่านั้น โดยงบการเงินล่าสุดในปี 2547 แม้บริษัทแม็กตอร์มีรายได้เป็นเงินมากถึง 150,000 ล้านบาท แต่ขาดทุนมากถึง 7,200 ล้านบาท
ปัญหาสำคัญของบริษัทแม็กตอร์มีหลายประการ ประการแรก บริษัทแม็กตอร์จำหน่าย HDD ขนาด 3.5 นิ้ว เป็นหลัก ซึ่งเป็นตลาดซึ่งมีการแข่งขันตัดราคาในระดับสูง ทำให้มีกำไรต่ำ แม้ว่าบริษัทแม็ตตอร์วางแผนจะผลิต HDD ขนาด 2.5 นิ้ว ซึ่งเป็นตลาดที่มีการแข่งขันในด้านราคาต่ำกว่า แต่ประสบปัญหา จึงต้องประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2545 ยกเลิกโครงการผลิต HDD ขนาด 2.5 นิ้ว พร้อมกับต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเป็นเงินประมาณ 200 ล้านบาท
ประการที่สอง เดิมบริษัทแม็กตอร์มีฐานการผลิต HDD กระจุกตัวในสิงคโปร์เกือบทั้งหมด โดยมีพนักงานในสิงคโปร์เป็นจำนวนมากถึง 9,700 คน ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากต้องจ้างแรงงานในราคาแพง ดังนั้นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ บริษัทแม็กตอร์จึงมีนโยบายลดบทบาทของโรงงานในสิงคโปร์ลง โดยก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่เพื่อผลิต HDD ที่นครซูโจว ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับนครเซี่ยงไฮ้ ก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จปลายปี 2547 ขณะเดียวกันได้ประกาศเมื่อเดือนมีนาคม 2548 ว่าจะลดจำนวนพนักงานในสิงคโปร์ลงเหลือ 4,200 คน
ล่าสุดมีข่าวเกรียวกราวทั่วโลกเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2548 เมื่อบริษัทซีเกทประกาศจะควบกิจการเข้ากับบริษัทแม็กตอร์ โดยการควบกิจการอยู่ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนหุ้น ซึ่งเมื่อมองแบบผิวเผินแล้วเป็นการควบกิจการระหว่าง 2 บริษัทที่มีฐานะเท่าเทียมกัน แต่หากมองในเชิงลึกจะเห็นว่าเป็นกรณีที่บริษัทซีเกทเข้ายึดครองบริษัทแม็กตอร์อย่างเบ็ดเสร็จ เนื่องจากเหตุผลหลายประการ
ประการแรก ภายหลังควบกิจการระหว่าง 2 บริษัท จะยังคงใช้ชื่อบริษัทซีเกทตามเดิม
ประการที่สอง ภายหลังควบกิจการ สำนักงานใหญ่ยังคงตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทซีเกทในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่เมือง Scott Valley ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย
ประการที่สาม ตำแหน่งผู้บริหารภายหลังควบกิจการยังเป็นผู้บริหารของซีเกทตามเดิม โดย ดร. C.S. Park ประธานกรรมการและหัวหน้าผู้บริหารของบริษัทแม็กตอร์จะเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นเพียงกรรมการของบริษัทซีเกทเท่านั้น
ประการที่สี่ ภายหลังการควบกิจการ ผู้ถือหุ้นฝ่ายซีเกทจะถือหุ้นในบริษัทเป็นสัดส่วนมากถึง 84% ขณะที่ผู้ถือหุ้นฝ่ายแม็กตอร์จะถือหุ้นเป็นสัดส่วนเพียง 16% เท่านั้น
ภายหลังการควบกิจการ บริษัทแห่งนี้จะมียอดจำหน่ายมากถึงปีละ 450,000 ล้านบาท โดยมีการวิเคราะห์ในแง่ดีว่าการควบกิจการจะเป็นการประสานจุดแข็งและลบจุดอ่อนของทั้ง 2 บริษัท โดยกรณีของบริษัทซีเกทมีจุดแข็ง คือ ผลิต HDD คุณภาพสูง ส่วนบริษัทแม็กตอร์มีจุดแข็ง คือ ผลิตภัณฑ์เป็นของดีราคาถูก ยิ่งไปกว่านั้น การควบกิจการเข้าด้วยกันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึงปีละ 12,000 ล้านบาท อันเป็นผลจากการลดค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาที่ซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale)
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าการควบกิจการครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขวิกฤตของบริษัทแม็กตอร์มากกว่าจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทซีเกท เนื่องจากบริษัทซีเกทนับว่าแตกต่างจากบริษัทผลิต HDD รายอื่นๆ กล่าวคือ มีเทคโนโลยีของตนเองอย่างครบวงจรตั้งแต่การผลิตเวเฟอร์ แผ่นมีเดีย มอเตอร์ ฯลฯ ขณะที่บริษัทแม็กตอร์ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากผู้ผลิตชิ้นส่วนเป็นอย่างมาก ดังนั้นบริษัทซีเกทจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีของบริษัทแม็กตอร์อย่างจำกัด สิ่งที่บริษัทซีเกทได้รับน่าจะเป็นเพียงโรงงานของบริษัทแม็กตอร์ในประเทศจีนและแบรนด์เนมเท่านั้น
การควบกิจการส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้ผลิตชิ้นส่วน HDD เป็นอย่างมาก มีความวิตกว่าภายหลังควบกิจการแล้วเสร็จ บริษัทซีเกทจะยกเลิกการผลิต HDD ที่ออกแบบโดยบริษัทแม็กตอร์ โดยกรณีของตลาดหุ้นสิงคโปร์ เมื่อข่าวการควบกิจการครั้งนี้แพร่กระจายออกไป บริษัทที่ได้รับผลกระทบทางบวก คือ ราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ บริษัท MMI Holdings, บริษัท Beyonics Technology และบริษัท Seksun Corp ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัทซีเกทเป็นหลัก ขณะที่บริษัท Jurong Tech และบริษัท Brilliant กลับปรากฏว่าราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัทแม็กตอร์เป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แม้การประกาศควบกิจการได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของทั้ง 2 บริษัทอย่างเอกฉันท์แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการควบกิจการได้ทันที ยังต้องเผชิญหน้าอีก 2 ด่าน กล่าวคือ ด่านแรก ต้องได้รับความเห็นชอบจากการประชุมผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัท
นอกจากนี้ ยังต้องฝ่าด่านที่สอง โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยราชการที่กำกับดูแลเพื่อป้องกันการผูกขาด ซึ่งนับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายในการขออนุมัติ เนื่องจากภายหลังควบรวมกิจการเข้าด้วยกันแล้ว จะทำให้เหลือผู้ผลิต HDD รายใหญ่เพียงแค่ 6 บริษัท ยิ่งไปกว่านั้นจะส่งผลให้บริษัทซีเกทมีส่วนแบ่งตลาดโลกรวมกันสูงถึง 41.9% จึงมีอำนาจสูงในการครอบงำตลาดและกำหนดราคา HDD ทำให้คาดว่าอย่างเร็วที่สุด คงไม่สามารถควบกิจการได้แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ก่อนกลางปี 2549
เดิมในปี 2528 ทั่วโลกมีบริษัทผลิต HDD ประมาณ 60 บริษัท แต่อุตสาหกรรมนี้แข่งขันกันสูงมาก ทำให้มีกำไรต่ำมาก ส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ล้มหายตายจากหรือควบกิจการเข้าด้วยกันเป็นจำนวนมาก จึงมีจำนวนผู้ผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา เหลือผู้ผลิตหลักเพียงแค่ 9 บริษัทเท่านั้น คือ ซีเกท แม็กตอร์ ไอบีเอ็ม เวสเทิร์นดิจิตอล ฮิตาชิ ควันตัม โตชิบา ซัมซุง และฟูจิตสึ
ต่อมาในปี 2544 บริษัทแม็กตอร์ซื้อกิจการผลิต HDD ของบริษัทควันตัม ทำให้จำนวนผู้ผลิต HDD รายใหญ่ลดลงอีกเหลือเพียง 8 บริษัท จากนั้นในปี 2545 มีแยกธุรกิจผลิต HDD ออกจากบริษัทฮิตาชิและบริษัทไอบีเอ็มมาก่อตั้งเป็นบริษัทใหม่ซึ่งมีชื่อว่าบริษัทฮิตาชิโกลบอลสตอเรจเทคโนโลยีส์ จำกัด (HGST) ทำให้จำนวนผู้ผลิต HDD รายใหญ่ลดลงอีกครั้งหนึ่งเหลือเพียงแค่ 7 บริษัท
เดิมบริษัทควันตัมเป็นผู้ผลิต HDD ใหญ่อันดับ 1 ของโลก ต่อมาบริษัทซีเกทซื้อกิจการบริษัทคอร์เนอร์ ทำให้แซงหน้าบริษัทควันตัมกลายเป็นผู้จำหน่าย HDD รายใหญ่อันดับ 1 ของโลก นับตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนเมษายน 2544 บริษัทแม็กตอร์ซื้อกิจการบริษัทควันตัม จึงแซงหน้าบริษัทซีเกทกลายเป็นบริษัทมียอดจำหน่ายมากเป็นอันดับ 1 ขณะที่บริษัทซีเกทตามมาเป็นอันดับ 2
อย่างไรก็ตาม บริษัทซีเกทสูญเสียตำแหน่งอันดับ 1 ของโลกเป็นระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากในระยะหลังธุรกิจของบริษัทซีเกทดีขึ้นมาก ประกอบกับบริษัทแม็กตอร์อ่อนแรงลงอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้ซีเกทสามารถแซงบริษัทแม็กตอร์ขึ้นเป็นผู้ผลิต HDD ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลกอีกครั้งหนึ่งนับตั้งแต่ปลายปี 2544 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ บริษัทเวสเทิร์นดิจิตอลและบริษัทฮิตาชิก็กำลังมาแรงเช่นกัน โดยแซงหน้าบริษัทแม็กตอร์ขึ้นเป็นอันดับ 2 และอันดับ 3 ของโลก ตามลำดับ
ปัจจุบันหากวัดตามจำนวนปริมาณการจำหน่าย HDD แล้ว บริษัทซีเกทมีส่วนแบ่งตลาดโลกเป็นอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งตลาดมากถึง 28.1% รองลงมา คือ บริษัทเวสท์เทิร์นดิจิตอล 18% บริษัทฮิตาชิ 15% บริษัทแม็กตอร์ 13.8% บริษัทโตชิบา 9.5% บริษัทซัมซุง 7.7% และบริษัทฟูจิตสึ 6.4%
ปัจจุบันบริษัทซีเกทนับว่ามีสถานการณ์ดีขึ้นมาก โดยในปีงบประมาณ 2548 (กรกฎาคม 2547 – มิถุนายน 2548) จำหน่าย HDD จำนวน 98 ล้านชิ้น มีรายได้ 300,000 ล้านบาท และกำไร 28,000 ล้านบาท นับว่าเพิ่มขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีรายได้ 250,000 ล้านบาท และกำไร 21,000 ล้านบาท
จุดแข็งของบริษัทซีเกท คือ HDD ในตลาดบนซึ่งเรียกว่าตลาด Enterprise โดยเป็น HDD สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันซีเกทครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 54% อันดับ 2 คือ บริษัทฟูจิตสึมีส่วนแบ่งตลาด 21.4% สำหรับลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทซีเกทในตลาดนี้ คือ บริษัท HP และบริษัท EMC
บริษัทซีเกทยังมีจุดแข็งที่ตลาด HDD ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ โดยมีส่วนแบ่งตลาดโลกมากถึง 31% อย่างไรก็ตาม ตลาดนี้แม้มีขนาดใหญ่มาก แต่ก็ไม่น่าสนใจมากนัก เนื่องจากมีการแข่งขันสูงมาก ทำให้มีกำไรต่ำมาก
อย่างไรก็ตาม แต่เดิมบริษัทซีเกทมีจุดอ่อนสำคัญในตลาด HDD ขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 นิ้ว ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตรวดเร็วมาก แม้ในอดีตบริษัทซีเกทพยายามบุกตลาดนี้หลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าใดนัก เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว บริษัทซีเกทจึงวางตลาด HDD ขนาด 2.5 นิ้ว แบบใหม่ โดยใช้ชื่อว่า Momentus เมื่อปี 2546 และวางตลาด HDD ขนาดเล็กลงไปอีก คือ ขนาด 1 นิ้ว เมื่อกลางปี 2547 ทำให้สามารถตีตื้นอย่างรวดเร็วในตลาด HDD ขนาดเล็ก
ส่วนบริษัทแม็กตอร์กลับมีสถานการณ์ไม่สู้ดีนัก ในปี 2537 ถูกบริษัทฮุนไดอิเล็กทรอนิกส์ซื้อหุ้นในสัดส่วน 40% ของทั้งหมด ต่อมาในปี 2539 บริษัทฮุนไดได้ซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท อย่างไรก็ตาม เมื่อเกาหลีใต้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อกลุ่มฮุนได ทำให้ต้องขายหุ้นในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นบริษัทอิสระโดยมีเจ้าหนี้เข้ามาถือหุ้นใหญ่และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Hynix Semiconductors
จากนั้นในเดือนเมษายน 2544 บริษัทแม็กตอร์ซื้อกิจการ HDD ของบริษัทควันตัม ทำให้กลายเป็นผู้ผลิต HDD ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก อย่างไรก็ตาม บริษัท Hynix ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ต้องการเงินมากอบกู้สถานการณ์ทางการเงินของบริษัท ดังนั้น ได้ตัดสินใจขายหุ้นที่ถือในบริษัทแม็กตอร์ทั้งหมดออกไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545
สาเหตุที่บริษัทแม็กตอร์ซึ่งเดิมเคยเป็นผู้ผลิต HDD ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันหล่นมาอยู่อันดับ 4 ของโลก เนื่องจากประสบปัญหามากมาย โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ประสบกับปัญหาขาดทุนมากถึง 3 ปี โดยมีกำไรเพียงปีเดียวเท่านั้น โดยงบการเงินล่าสุดในปี 2547 แม้บริษัทแม็กตอร์มีรายได้เป็นเงินมากถึง 150,000 ล้านบาท แต่ขาดทุนมากถึง 7,200 ล้านบาท
ปัญหาสำคัญของบริษัทแม็กตอร์มีหลายประการ ประการแรก บริษัทแม็กตอร์จำหน่าย HDD ขนาด 3.5 นิ้ว เป็นหลัก ซึ่งเป็นตลาดซึ่งมีการแข่งขันตัดราคาในระดับสูง ทำให้มีกำไรต่ำ แม้ว่าบริษัทแม็ตตอร์วางแผนจะผลิต HDD ขนาด 2.5 นิ้ว ซึ่งเป็นตลาดที่มีการแข่งขันในด้านราคาต่ำกว่า แต่ประสบปัญหา จึงต้องประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2545 ยกเลิกโครงการผลิต HDD ขนาด 2.5 นิ้ว พร้อมกับต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเป็นเงินประมาณ 200 ล้านบาท
ประการที่สอง เดิมบริษัทแม็กตอร์มีฐานการผลิต HDD กระจุกตัวในสิงคโปร์เกือบทั้งหมด โดยมีพนักงานในสิงคโปร์เป็นจำนวนมากถึง 9,700 คน ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากต้องจ้างแรงงานในราคาแพง ดังนั้นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ บริษัทแม็กตอร์จึงมีนโยบายลดบทบาทของโรงงานในสิงคโปร์ลง โดยก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่เพื่อผลิต HDD ที่นครซูโจว ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับนครเซี่ยงไฮ้ ก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จปลายปี 2547 ขณะเดียวกันได้ประกาศเมื่อเดือนมีนาคม 2548 ว่าจะลดจำนวนพนักงานในสิงคโปร์ลงเหลือ 4,200 คน
ล่าสุดมีข่าวเกรียวกราวทั่วโลกเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2548 เมื่อบริษัทซีเกทประกาศจะควบกิจการเข้ากับบริษัทแม็กตอร์ โดยการควบกิจการอยู่ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนหุ้น ซึ่งเมื่อมองแบบผิวเผินแล้วเป็นการควบกิจการระหว่าง 2 บริษัทที่มีฐานะเท่าเทียมกัน แต่หากมองในเชิงลึกจะเห็นว่าเป็นกรณีที่บริษัทซีเกทเข้ายึดครองบริษัทแม็กตอร์อย่างเบ็ดเสร็จ เนื่องจากเหตุผลหลายประการ
ประการแรก ภายหลังควบกิจการระหว่าง 2 บริษัท จะยังคงใช้ชื่อบริษัทซีเกทตามเดิม
ประการที่สอง ภายหลังควบกิจการ สำนักงานใหญ่ยังคงตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทซีเกทในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่เมือง Scott Valley ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย
ประการที่สาม ตำแหน่งผู้บริหารภายหลังควบกิจการยังเป็นผู้บริหารของซีเกทตามเดิม โดย ดร. C.S. Park ประธานกรรมการและหัวหน้าผู้บริหารของบริษัทแม็กตอร์จะเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นเพียงกรรมการของบริษัทซีเกทเท่านั้น
ประการที่สี่ ภายหลังการควบกิจการ ผู้ถือหุ้นฝ่ายซีเกทจะถือหุ้นในบริษัทเป็นสัดส่วนมากถึง 84% ขณะที่ผู้ถือหุ้นฝ่ายแม็กตอร์จะถือหุ้นเป็นสัดส่วนเพียง 16% เท่านั้น
ภายหลังการควบกิจการ บริษัทแห่งนี้จะมียอดจำหน่ายมากถึงปีละ 450,000 ล้านบาท โดยมีการวิเคราะห์ในแง่ดีว่าการควบกิจการจะเป็นการประสานจุดแข็งและลบจุดอ่อนของทั้ง 2 บริษัท โดยกรณีของบริษัทซีเกทมีจุดแข็ง คือ ผลิต HDD คุณภาพสูง ส่วนบริษัทแม็กตอร์มีจุดแข็ง คือ ผลิตภัณฑ์เป็นของดีราคาถูก ยิ่งไปกว่านั้น การควบกิจการเข้าด้วยกันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึงปีละ 12,000 ล้านบาท อันเป็นผลจากการลดค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาที่ซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale)
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าการควบกิจการครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขวิกฤตของบริษัทแม็กตอร์มากกว่าจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทซีเกท เนื่องจากบริษัทซีเกทนับว่าแตกต่างจากบริษัทผลิต HDD รายอื่นๆ กล่าวคือ มีเทคโนโลยีของตนเองอย่างครบวงจรตั้งแต่การผลิตเวเฟอร์ แผ่นมีเดีย มอเตอร์ ฯลฯ ขณะที่บริษัทแม็กตอร์ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากผู้ผลิตชิ้นส่วนเป็นอย่างมาก ดังนั้นบริษัทซีเกทจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีของบริษัทแม็กตอร์อย่างจำกัด สิ่งที่บริษัทซีเกทได้รับน่าจะเป็นเพียงโรงงานของบริษัทแม็กตอร์ในประเทศจีนและแบรนด์เนมเท่านั้น
การควบกิจการส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้ผลิตชิ้นส่วน HDD เป็นอย่างมาก มีความวิตกว่าภายหลังควบกิจการแล้วเสร็จ บริษัทซีเกทจะยกเลิกการผลิต HDD ที่ออกแบบโดยบริษัทแม็กตอร์ โดยกรณีของตลาดหุ้นสิงคโปร์ เมื่อข่าวการควบกิจการครั้งนี้แพร่กระจายออกไป บริษัทที่ได้รับผลกระทบทางบวก คือ ราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ บริษัท MMI Holdings, บริษัท Beyonics Technology และบริษัท Seksun Corp ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัทซีเกทเป็นหลัก ขณะที่บริษัท Jurong Tech และบริษัท Brilliant กลับปรากฏว่าราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัทแม็กตอร์เป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แม้การประกาศควบกิจการได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของทั้ง 2 บริษัทอย่างเอกฉันท์แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการควบกิจการได้ทันที ยังต้องเผชิญหน้าอีก 2 ด่าน กล่าวคือ ด่านแรก ต้องได้รับความเห็นชอบจากการประชุมผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัท
นอกจากนี้ ยังต้องฝ่าด่านที่สอง โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยราชการที่กำกับดูแลเพื่อป้องกันการผูกขาด ซึ่งนับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายในการขออนุมัติ เนื่องจากภายหลังควบรวมกิจการเข้าด้วยกันแล้ว จะทำให้เหลือผู้ผลิต HDD รายใหญ่เพียงแค่ 6 บริษัท ยิ่งไปกว่านั้นจะส่งผลให้บริษัทซีเกทมีส่วนแบ่งตลาดโลกรวมกันสูงถึง 41.9% จึงมีอำนาจสูงในการครอบงำตลาดและกำหนดราคา HDD ทำให้คาดว่าอย่างเร็วที่สุด คงไม่สามารถควบกิจการได้แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ก่อนกลางปี 2549