ผู้จัดการรายวัน – “บุญรอดฯ”ผ่าโครงสร้างเบียร์อาซาฮี ยกเครื่องงานด้านการตลาดทำเองแทนทีมเดิมของบีแอนด์เอ รับมือสมรภูมิฟองเบียร์งัดฟูลพอร์ตแข่งเดือด ละเลงศึกปั้น “อาซาฮี” เสริมความแข็งแกร่งเซกเมนต์พรีเมียม ชี้เป็นเบียร์ที่มีอนาคตดี เผยปีที่ผ่านมาครองแชร์ 2.78% แซงหน้าคลอสเตอร์
แหล่งข่าวจาก บริษัท บี แอนด์ เอ ดิสทริบิวชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเบียร์อาซาฮี เปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาทางบริษัทฯได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ครั้งใหญ่นับตั้งแต่ได้ทำตลาดเบียร์อาซาฮีในไทยมา โดยขณะนี้ทางกลุ่มบุญรอดฯจะเข้าเป็นผู้รับผิดชอบดูแลงานด้านการตลาดเบียร์อาซาฮีทั้งหมด จากเดิมที่ก่อนหน้านี้แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบงาน โดยบุญรอดฯดูแลด้านการขาย ส่วนบีแอนด์เอฯจะเป็นผู้ดูแลงานการตลาด ซึ่งบีแอนด์เอฯมีผู้บริหารระดับสูง 4 คน เป็นคนไทย 2 คนที่มาจากบุญรอดฯและคนญี่ปุ่น 2 คน
สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการที่บุญรอดฯได้เข้าถือหุ้นในบริษัท ขอนแก่น บริวเวอรี่ สัดส่วน 51% ซึ่งมากกว่าบริษัทญี่ปุ่นถือหุ้น 49% ซึ่งส่งผลให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทำให้มีอำนาจในการตัดสินใจปรับโครงสร้างในครั้งนี้
การที่บุญรอดฯดึงงานด้านการตลาดเบียร์อาซาฮีเข้ามาบริหารเอง เพราะแนวโน้มการแข่งขันตลาดเบียร์ แต่ละค่ายจะต้องมีสินค้าครบพอร์ตหรือทุกเซกเมนต์ ซึ่งเมื่อเทียบกับค่ายเบียร์ด้วยกันแล้ว บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ได้เริ่มรุกกลยุทธ์นี้อย่างชัดเจนและส่งผลให้มีสินค้าครบพอร์ตตั้งแต่ปีที่ผ่านมา คือ เบียร์ไฮเนเก้นอยู่ในเซกเมนต์พรีเมียม, เบียร์ไทเกอร์อยู่ในเซกเมนต์สแตนดาร์ด และเบียร์เชียร์อยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมี่
ส่วนค่ายไทยเบฟฯ ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี มีเบียร์ช้าง-เบียร์อาชาอยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมี่ และในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ก็เตรียมเปิดตัวเบียร์ระดับพรีเมียมแต่เป็นเซกเมนต์ใหม่ยี่ห้อ “ช้างไลท์” นอกจากนี้ยังมีแผนเปิดตัวเบียร์อีก 2 ตัว อยู่ในระดับพรีเมียมและสแตนดาร์ดอีกด้วย
ขณะที่บุญรอดฯ ปัจจุบันมี “เบียร์ลีโอ” แข็งแกร่งในเซกเมนต์อีโคโนมี่ และเป็นเบียร์ที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุดเมื่อปีที่ผ่านมา กระทั่งมีส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 25% ส่วนเบียร์สิงห์แข็งแกร่งในเซกเมนต์สแตนดาร์ด มีส่วนแบ่ง 14-15% ส่วนเซกเมนต์พรีเมียมบุญรอดฯยังไม่มีความแข็งแกร่ง แม้ว่าจะมีเบียร์อยู่ในพอร์ตแล้วก็ตาม แต่เบียร์อาซาฮีกำลังกลายเป็นเบียร์ที่มีอนาคตในเซกเมนต์พรีเมียม ซึ่งสิ้นปี 2548 มีส่วนแบ่งตลาด 2.78% มากกว่าคลอสเตอร์เบียร์ในเครือบุญรอดฯมีส่วนแบ่งเพียง 2.71% จากมูลค่าตลาดรวม 82,000 ล้านบาท
ดังนั้นการที่บุญรอดฯทำตลาดเองพร้อมกับจัดจำหน่ายเองด้วยนั้น จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการจัดการต่างๆทั้งหมดในการทำตลาดจากเดิมที่ต่างคนต่างทำหน้าที่กัน ซึ่งยังสามารถที่จะวางแผนในภาพรวมเป็นแพคเดียวกับแผนตลาดรวมของเบียร์ในกลุ่มทั้งหมดได้ด้วย
ล่าสุดนายวิวัฒน์ หล่อจีระชุณห์กุล ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท บีแอนด์เอ ดิสทริบิวชั่น จำกัด จะเข้ามาดูแลด้านการตลาดเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งได้ปรับทีมการตลาดใหม่ภายใต้ทีมจากบุญรอดฯ อย่างไรก็ตามโพซิชั่นนิ่งหรือตำแหน่งการตลาดเบียร์อาซาฮีจากนี้ไป คงจะไม่เปลี่ยนแปลงเพราะโพซิชั่นนิ่งเดิมดีอยู่แล้ว โดยวางไว้เป็นเบียร์อินเตอร์เนชั่นแนล หลังจากก่อนหน้านี้เบียร์อาซาฮีวางโพซิชันนิ่งเป็นเบียร์ญี่ปุ่น ทำให้ขายได้เฉพาะเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
สำหรับงบการตลาดเบียร์อาซาฮีปีนี้วางไว้ใกล้เคียงกับปี 2548 คือ ราว 90-110 ล้านบาท ซึ่งหากเป็นแผนเดิมวางงบไว้ที่ 200 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม 10% หรือมียอดขาย 1,000 ล้านบาท
ส่วนผลประกอบการในปีที่ผ่านมามีประมาณ 370-380 ล้านบาท และในอีก 3 ปีข้างหน้านี้เป้าหมายเดิมตั้งเป้ามีส่วนแบ่ง 30% โดยขึ้นมาเป็นเบอร์สองของตลาดอย่างชัดเจน จากปัจจุบันเบอร์สองจะมีทั้งเบียร์คลอสเตอร์,อาซาฮีและเบียร์นำเข้าซึ่งมีส่วนแบ่งไล่เลี่ยกัน ส่วนผู้นำตลาดอย่างเบ็ดเสร็จเป็นเบียร์ไฮเนเก้น ครองส่วนแบ่ง 90-92% มูลค่า 9,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมา เบียร์อาซาฮี ถือว่าเปิดฉากรุกตลาดอย่างหนัก เริ่มตั้งแต่การรีแบรนด์จากเบียร์เจเทรนด์สู่เบียร์ระดับอินเตอร์เนชั่นแนล เน้นตอกย้ำภาพลักษณ์ให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากเบียร์อื่นอย่างชัดเจนภายใต้คอนเซปต์ “คิดในแบบที่แตกต่าง” หรือ “Think Difference” ควบคู่กับกลยุทธ์มิวสิกมาร์เก็ตติ้ง ดึง “โดม- ปกรณ์ลัม” ศิลปินตัวแทนของคนที่มีความคิดแบบที่แตกต่างสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง ฯลฯ
แหล่งข่าวจาก บริษัท บี แอนด์ เอ ดิสทริบิวชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเบียร์อาซาฮี เปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาทางบริษัทฯได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ครั้งใหญ่นับตั้งแต่ได้ทำตลาดเบียร์อาซาฮีในไทยมา โดยขณะนี้ทางกลุ่มบุญรอดฯจะเข้าเป็นผู้รับผิดชอบดูแลงานด้านการตลาดเบียร์อาซาฮีทั้งหมด จากเดิมที่ก่อนหน้านี้แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบงาน โดยบุญรอดฯดูแลด้านการขาย ส่วนบีแอนด์เอฯจะเป็นผู้ดูแลงานการตลาด ซึ่งบีแอนด์เอฯมีผู้บริหารระดับสูง 4 คน เป็นคนไทย 2 คนที่มาจากบุญรอดฯและคนญี่ปุ่น 2 คน
สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการที่บุญรอดฯได้เข้าถือหุ้นในบริษัท ขอนแก่น บริวเวอรี่ สัดส่วน 51% ซึ่งมากกว่าบริษัทญี่ปุ่นถือหุ้น 49% ซึ่งส่งผลให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทำให้มีอำนาจในการตัดสินใจปรับโครงสร้างในครั้งนี้
การที่บุญรอดฯดึงงานด้านการตลาดเบียร์อาซาฮีเข้ามาบริหารเอง เพราะแนวโน้มการแข่งขันตลาดเบียร์ แต่ละค่ายจะต้องมีสินค้าครบพอร์ตหรือทุกเซกเมนต์ ซึ่งเมื่อเทียบกับค่ายเบียร์ด้วยกันแล้ว บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ได้เริ่มรุกกลยุทธ์นี้อย่างชัดเจนและส่งผลให้มีสินค้าครบพอร์ตตั้งแต่ปีที่ผ่านมา คือ เบียร์ไฮเนเก้นอยู่ในเซกเมนต์พรีเมียม, เบียร์ไทเกอร์อยู่ในเซกเมนต์สแตนดาร์ด และเบียร์เชียร์อยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมี่
ส่วนค่ายไทยเบฟฯ ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี มีเบียร์ช้าง-เบียร์อาชาอยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมี่ และในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ก็เตรียมเปิดตัวเบียร์ระดับพรีเมียมแต่เป็นเซกเมนต์ใหม่ยี่ห้อ “ช้างไลท์” นอกจากนี้ยังมีแผนเปิดตัวเบียร์อีก 2 ตัว อยู่ในระดับพรีเมียมและสแตนดาร์ดอีกด้วย
ขณะที่บุญรอดฯ ปัจจุบันมี “เบียร์ลีโอ” แข็งแกร่งในเซกเมนต์อีโคโนมี่ และเป็นเบียร์ที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุดเมื่อปีที่ผ่านมา กระทั่งมีส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 25% ส่วนเบียร์สิงห์แข็งแกร่งในเซกเมนต์สแตนดาร์ด มีส่วนแบ่ง 14-15% ส่วนเซกเมนต์พรีเมียมบุญรอดฯยังไม่มีความแข็งแกร่ง แม้ว่าจะมีเบียร์อยู่ในพอร์ตแล้วก็ตาม แต่เบียร์อาซาฮีกำลังกลายเป็นเบียร์ที่มีอนาคตในเซกเมนต์พรีเมียม ซึ่งสิ้นปี 2548 มีส่วนแบ่งตลาด 2.78% มากกว่าคลอสเตอร์เบียร์ในเครือบุญรอดฯมีส่วนแบ่งเพียง 2.71% จากมูลค่าตลาดรวม 82,000 ล้านบาท
ดังนั้นการที่บุญรอดฯทำตลาดเองพร้อมกับจัดจำหน่ายเองด้วยนั้น จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการจัดการต่างๆทั้งหมดในการทำตลาดจากเดิมที่ต่างคนต่างทำหน้าที่กัน ซึ่งยังสามารถที่จะวางแผนในภาพรวมเป็นแพคเดียวกับแผนตลาดรวมของเบียร์ในกลุ่มทั้งหมดได้ด้วย
ล่าสุดนายวิวัฒน์ หล่อจีระชุณห์กุล ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท บีแอนด์เอ ดิสทริบิวชั่น จำกัด จะเข้ามาดูแลด้านการตลาดเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งได้ปรับทีมการตลาดใหม่ภายใต้ทีมจากบุญรอดฯ อย่างไรก็ตามโพซิชั่นนิ่งหรือตำแหน่งการตลาดเบียร์อาซาฮีจากนี้ไป คงจะไม่เปลี่ยนแปลงเพราะโพซิชั่นนิ่งเดิมดีอยู่แล้ว โดยวางไว้เป็นเบียร์อินเตอร์เนชั่นแนล หลังจากก่อนหน้านี้เบียร์อาซาฮีวางโพซิชันนิ่งเป็นเบียร์ญี่ปุ่น ทำให้ขายได้เฉพาะเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
สำหรับงบการตลาดเบียร์อาซาฮีปีนี้วางไว้ใกล้เคียงกับปี 2548 คือ ราว 90-110 ล้านบาท ซึ่งหากเป็นแผนเดิมวางงบไว้ที่ 200 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม 10% หรือมียอดขาย 1,000 ล้านบาท
ส่วนผลประกอบการในปีที่ผ่านมามีประมาณ 370-380 ล้านบาท และในอีก 3 ปีข้างหน้านี้เป้าหมายเดิมตั้งเป้ามีส่วนแบ่ง 30% โดยขึ้นมาเป็นเบอร์สองของตลาดอย่างชัดเจน จากปัจจุบันเบอร์สองจะมีทั้งเบียร์คลอสเตอร์,อาซาฮีและเบียร์นำเข้าซึ่งมีส่วนแบ่งไล่เลี่ยกัน ส่วนผู้นำตลาดอย่างเบ็ดเสร็จเป็นเบียร์ไฮเนเก้น ครองส่วนแบ่ง 90-92% มูลค่า 9,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมา เบียร์อาซาฮี ถือว่าเปิดฉากรุกตลาดอย่างหนัก เริ่มตั้งแต่การรีแบรนด์จากเบียร์เจเทรนด์สู่เบียร์ระดับอินเตอร์เนชั่นแนล เน้นตอกย้ำภาพลักษณ์ให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากเบียร์อื่นอย่างชัดเจนภายใต้คอนเซปต์ “คิดในแบบที่แตกต่าง” หรือ “Think Difference” ควบคู่กับกลยุทธ์มิวสิกมาร์เก็ตติ้ง ดึง “โดม- ปกรณ์ลัม” ศิลปินตัวแทนของคนที่มีความคิดแบบที่แตกต่างสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง ฯลฯ