สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาแม้ว "พ่อมดมนต์เลื่อม" ผู้เป็นเจ้าของวาทะแห่งปี "จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ" และเป็นผู้นำรัฐนาวา "ประชาระทม" มี "ทนายหน้าหอ" ชื่อวิษณุ มี "ซากซีทีเอ็กซ์" กำกับงานด้านเศรษฐกิจ และมีรองนายกฯ "ปลั๊กหลวม" รับผิดชอบด้านความมั่นคง ขณะที่ "คงศักดิ์ วันทนา" ได้ฉายา "รมต.พลังน้ำ" ส่วนวาทะแห่งปี "จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ"
การตั้งฉายารัฐมนตรีประจำปีของผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อเนื่องกันมา เป็นการสะท้อนความคิดเห็นของสื่อฯต่อการทำงานของรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี โดยในปี 2548 มีรัฐมนตรีที่ได้รับการตั้งฉายาดังต่อไปนี้
1.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร "พ่อมดมนต์เสื่อม" ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนอย่างท่วมท้น กว่า 19 ล้านเสียง นั่งแท่นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองอย่างสง่างาม แต่จากการทำงานช่วงระยะเวลาไม่ถึงปี ภาพเดิมที่เคยถูกมองว่าเป็น “เทวดา”เก่งและเนรมิตได้ทุกเรื่อง ใครแตะต้องไม่ได้ กลับกลายเป็น “พ่อมด”ที่ใช้แต่อารมณ์ ยิ่งเมื่อถูกรุมเร้าด้วยปัญหาสารพัด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง สุดท้ายต้องแหงนหน้าพึ่งดาวพุธ ถอยฉากตั้งหลัก ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นลดลงไปเรื่อยๆ เพราะถูกจับได้ไล่ทันว่า ไม่สามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้ได้ ประชาชนเสื่อมศรัทธาไม่เชื่อถือในความซื่อสัตย์ ไม่เพียงแค่ประชาชน แม้แต่ลูกพรรคไทยรักไทย ยังออกมาลองของไม่เว้นแต่ละวัน คำพูดของท่านผู้นำที่เคยศักดิ์สิทธิ์ในวันนี้กลับเสื่อมถอยลง
2.นายวิษณุ เครืองาม"ทนายหน้าหอ" เป็นเนติบริกร ให้กับรัฐบาลทักษิณเพื่อใช้ข้อกฎหมายมาพลิกแพลงให้เป็นคุณต่อรัฐบาล บางครั้งถึงกับยอมพลิกลิ้น ฉีกตำรากฎหมาย หาช่องทางสนองบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล มาในปีนี้ ยิ่งหนักข้อขึ้น เมื่อรัฐบาลเจอวิกฤติร้อนๆ สารพัดเรื่อง จากสถานะมือกฎหมายของรัฐบาล นายวิษณุ จึงต้องตกที่นั่งกลายมารับหน้าที่เป็นทนายแก้ต่าง เพื่อคลายปมปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทุจริต ซีทีเอ็กซ์ ปัญหากสช.การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช การถ่ายโอนโรงเรียนไปยังท้องถิ่น จึงเปรียบได้แค่ทนายหน้าหอ มีหน้าที่คอยแก้ตัวสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลเท่านั้น
3.นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ "ซากซีทีเอ็กซ์" ถูกฝ่ายค้านลากขึ้นเขียงอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นคนแรก ของรัฐบาล"ทักษิณ 2" จากกรณีการทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 ในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ภาพลักษณ์รัฐบาลติดลบ สอบตกเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตอย่างร้ายแรงนับแต่นั้นมา แม้นายกรัฐมนตรีจะปรับพ้นเก้าอี้ รมว.คมนาคม เพื่อลดกระแส แต่ยังเอื้ออาทร ยอมให้ตำแหน่งรองนายกฯ ควบกระทรวงอุตสาหกรรม แถมยังให้อำนาจกำกับดูแลกระทรวงคมนาคมต่อ และแม้จะพยายามดิ้นสุดฤทธิ์จนได้เครื่องซีทีเอ็กซ์ เจ้าปัญหามาการันตีความบริสุทธิ์แล้วก็ตาม แต่สังคมปักใจเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง ชะตากรรมของนายสุริยะ จึงไม่ต่างกับซากซีทีเอ็กซ์ ที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนตลอดไป
4.พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ "ปลั๊กหลวม" เป็นนายตำรวจรุ่นพี่นายกรัฐมนตรี มีดีกรีถึงดอกเตอร์ ถูกคาดหวังให้มารับผิดชอบเรื่องความมั่นคง แทนพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รับหน้าเสื่อดับไฟใต้ แต่เมื่อทำงานจริงกลับไม่สัมฤทธิ์ผลตามราคาคุย ขยันออกนโยบายแต่ไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ เพราะฝีมือไม่ถึง บารมีไม่พอ ขาดประสบการณ์ เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ “ปลั๊กหลวม”เสียบแล้วใช้การได้ไม่เต็มที่ ติดๆ ดับๆ จึงไม่สามารถลดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ลงได้
5.นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ "พี.อาร์.25 ชั่วโมง" ขึ้นชื่อเป็นรัฐมนตรีที่เน้นการประชาสัมพันธ์ให้ตัวเองเป็นหลัก มากกว่าผลงานในหน้าที่ มุ่งทำตัวเองให้เป็นข่าวออกหน้าจอทีวีเสมอ เก็บทุกประเด็นไม่แยกแยะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ขอให้ได้เป็นข่าวก็พอ จนเกิดปัญหาเกาเหลากับรัฐมนตรีเจ้าสังกัดโดยตรง ตกเป็นข่าวคึกโครมกับนายประชา มาลีนนท์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กรณี “รับธงซีเกมส์ ”จึงขอมอบฉายา พี.อาร์.25 ชั่วโมง
6.น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล "เด็กนายหญิง" รัฐมนตรีสายตรงจากนายหญิง ถูกส่งเข้ามาคุมกระทรวงหมอ แต่ด้วยความที่เป็นเด็กเส้น ขาดประสบการณ์งานบริหาร แค่ช่วงเวลาสั้นๆที่เข้าไปทำงาน ได้สร้างความปั่นป่วน ด้วยการสั่งปลดโยกย้าย บิ๊กสาธารณสุข รวดเดียว 9 คน จนเกิดแรงต้านจากกลุ่มหมอ และลุกลามไปสู่การประลองกำลังระหว่าง"เจ๊ใหญ่"กับ "นายหญิง" ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีต้องรีบปลดชนวนระเบิด สั่งทบทวนโผโยกย้าย แต่เจ้าตัวยังฮึดฮัด ขัดขืน ประกาศยื่นใบลาออก ร้อนถึงนายหญิง ต้องออกแรงอุ้ม ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี เพื่อรักษาศักดิ์ศรีจันทร์ส่องหล้า
7.นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ "คลื่นแทรก" รับบทบาทพิมาตสื่อ คอยเป็นกันชนไม่ให้เกิดผลกระทบต่อรัฐบาล ซ้ำร้ายจ้องจับผิดสื่อที่เป็นอริ สร้างความอึดอัดใจกันทั้งวงการ มีการใช้สารพัดวิชามารใต้ดิน บนดิน แทรกแซงจน สื่อแทบขาดอิสระในการทำงาน โดยเฉพาะสื่อของรัฐโดนครอบงำ ให้เสนอแต่เรื่องที่เป็นคุณแก่รัฐบาลข้างเดียว บทบาทของนายสุรนันทน์ จึงเป็นเหมือนคลื่นแทรก ที่คอยก่อกวน และสกัดการทำงานของสื่อ
8.พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา "รมต.พลัง"น้ำ" " อาศัยบารมี"ลูกน้ำ" ศรีภรรยา ซึ่งเป็นเพื่อนและเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยานายกรัฐมนตรี จนได้นั่งเก้าอี้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ท่ามกลางเสียงคัดค้านของกลุ่มมุ้งการเมืองในไทยรักไทยที่พลาดตำแหน่ง ขณะที่ผลงานติดลบตลอด ถูกลูบคมด้วยประทัดยักษ์ถึงหัวบันไดกระทรวง ไม่สามารถบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชนได้ เสนอไอเดียออกมาแต่ละอย่าง มีแต่เสียงโห่ไล่ เช่น การติดยูบีซีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถูก ส.ส.รวมหัวตะเพิดออกจากตำแหน่ง แต่ด้วยพลังภายในของ"ลูกน้ำ"ทำให้ "พี่บิ๊ก"ยังเกาะเก้าอี้แน่นต่อไป
9.นายวิเศษ จูภิบาล "โบรกเกอร์รัฐบาล" ถูกส่งมากำกับดูแลด้านพลังงาน ท่ามกลางวิกฤตน้ำมันแพง แต่กลับทำตัวเป็นโบรกเกอร์ ที่คอยต่อรองสร้างผลกำไรให้กับกลุ่มทุนซีกรัฐบาล โดยเฉพาะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่นำ กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ จนถูกมองว่า นำทรัพย์สินของประเทศไปขาย ขณะเดียวกันปัญหาน้ำมันแพงก็ยังแก้ไม่ตก ส่งผลให้กองทุนน้ำมันติดลบมหาศาล เนื่องจากนำเงินไปพยุงราคาน้ำมัน แบบฝืนกลไกลการตลาด สุดท้ายชาวบ้านต้อง ก้มหน้ารับกรรมใช้น้ำมันแพงต่อไป
10.นายวัฒนา เมืองสุข "อิกคิวเซ็ง" มีไอเดียแหวกแนว เหมือน"อิกคิวซัง" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีปัญญา แต่ทว่าชอบคิดอะไรเพี้ยนๆ สวนกระแสสังคมบ่อยครั้ง หวังสร้างกระแสให้ตัวเอง อาทิ การจัดถนนให้วัยรุ่นซิ่งรถจักรยานยนต์ ให้ภรรยากราบเท้าสามีก่อนนอน การฉายสปอตไลท์หน้าโรงแรมม่านรูดในคืนวันลอยกระทง จนถูกประณามอย่างหนัก พฤติกรรมดังกล่าวจึงน่าจะเข้าข่าย "อิกคิวเซ็ง" ที่คิดอะไรแย่ๆ อวดฉลาด จนคนในสังคมเซ็งกับความคิดของท่านรมต.วัฒนา
ฉายารัฐบาล "ประชาระทม" ที่ผ่านมารัฐบาลโหมใช้นโยบายประชานิยมโฆษณาชวนเชื่อ จนประชาชนมอบความไว้วางใจด้วยคะแนนท่วมท้นให้เป็นรัฐบาลอีกสมัย โดยหวังว่าจะเข้ามาพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตให้อยู่ดี กินดี แต่หลังจากบริหารประเทศ ยังไม่ทันครบปี ปรากฎว่านโยบายประชานิยมกลับพ่นพิษ ทำให้ประชาชนต่างทุกข์ระทม ภาวะหนี้สินทุกครัวเรือนพุ่งขึ้นไม่หยุด เข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพง เกิดความรุนแรงในสังคม กอปรกับสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่มีทีท่าจะยุติ มิหนำซ้ำยังมีข่าวฉาวคอร์รัปชั่น เอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง ขนาดองค์กรอิสระที่ชาวบ้านหวังเป็นที่พึ่ง ยังถูกครอบงำจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ แม้รัฐบาลจะตีปี๊บประโคมข่าว ตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะดีดตัวสูงขึ้น แต่ประชาชนชั้นรากหญ้ายังต้องระทมทุกข์ต่อไป
วาทะแห่งปี "จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ" เป็นคำพูดของนายกฯ ที่สร้างความฮือฮาให้กับคนทั้งประเทศ และถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด ในระหว่างการลงพื้นที่ประชุม ครม.สัญจร จ.นครสวรรค์ หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งซ่อม โดยเฉพาะที่ จ.พิจิตร เป็นการสะท้อน ให้เห็นถึงแนวคิดของผู้นำในการเลือกปฏิบัติ เน้นการเมืองเหนือการบริหารประเทศ
"แน่นอนครับ…ผมตรงไปตรงมา ผมไม่อ้อมค้อม จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งเราก็ต้องดูแลคนทั้งประเทศ แต่เนื่องจากว่าเวลามันจำกัด เอาเวลาไปจังหวัดที่ไว้วางใจเราเป็นพิเศษก่อน จังหวัดที่ไว้วางใจเราน้อยก็ไปทีหลัง ไม่ใช่ไม่ไป แต่ไปทีหลัง ก็เรียงคิว ต้องเรียงกัน" เป็นคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่ต้องจดจำ เป็นวาทะแห่งปี 2548
การตั้งฉายารัฐมนตรีประจำปีของผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อเนื่องกันมา เป็นการสะท้อนความคิดเห็นของสื่อฯต่อการทำงานของรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี โดยในปี 2548 มีรัฐมนตรีที่ได้รับการตั้งฉายาดังต่อไปนี้
1.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร "พ่อมดมนต์เสื่อม" ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนอย่างท่วมท้น กว่า 19 ล้านเสียง นั่งแท่นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองอย่างสง่างาม แต่จากการทำงานช่วงระยะเวลาไม่ถึงปี ภาพเดิมที่เคยถูกมองว่าเป็น “เทวดา”เก่งและเนรมิตได้ทุกเรื่อง ใครแตะต้องไม่ได้ กลับกลายเป็น “พ่อมด”ที่ใช้แต่อารมณ์ ยิ่งเมื่อถูกรุมเร้าด้วยปัญหาสารพัด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง สุดท้ายต้องแหงนหน้าพึ่งดาวพุธ ถอยฉากตั้งหลัก ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นลดลงไปเรื่อยๆ เพราะถูกจับได้ไล่ทันว่า ไม่สามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้ได้ ประชาชนเสื่อมศรัทธาไม่เชื่อถือในความซื่อสัตย์ ไม่เพียงแค่ประชาชน แม้แต่ลูกพรรคไทยรักไทย ยังออกมาลองของไม่เว้นแต่ละวัน คำพูดของท่านผู้นำที่เคยศักดิ์สิทธิ์ในวันนี้กลับเสื่อมถอยลง
2.นายวิษณุ เครืองาม"ทนายหน้าหอ" เป็นเนติบริกร ให้กับรัฐบาลทักษิณเพื่อใช้ข้อกฎหมายมาพลิกแพลงให้เป็นคุณต่อรัฐบาล บางครั้งถึงกับยอมพลิกลิ้น ฉีกตำรากฎหมาย หาช่องทางสนองบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล มาในปีนี้ ยิ่งหนักข้อขึ้น เมื่อรัฐบาลเจอวิกฤติร้อนๆ สารพัดเรื่อง จากสถานะมือกฎหมายของรัฐบาล นายวิษณุ จึงต้องตกที่นั่งกลายมารับหน้าที่เป็นทนายแก้ต่าง เพื่อคลายปมปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทุจริต ซีทีเอ็กซ์ ปัญหากสช.การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช การถ่ายโอนโรงเรียนไปยังท้องถิ่น จึงเปรียบได้แค่ทนายหน้าหอ มีหน้าที่คอยแก้ตัวสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลเท่านั้น
3.นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ "ซากซีทีเอ็กซ์" ถูกฝ่ายค้านลากขึ้นเขียงอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นคนแรก ของรัฐบาล"ทักษิณ 2" จากกรณีการทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 ในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ภาพลักษณ์รัฐบาลติดลบ สอบตกเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตอย่างร้ายแรงนับแต่นั้นมา แม้นายกรัฐมนตรีจะปรับพ้นเก้าอี้ รมว.คมนาคม เพื่อลดกระแส แต่ยังเอื้ออาทร ยอมให้ตำแหน่งรองนายกฯ ควบกระทรวงอุตสาหกรรม แถมยังให้อำนาจกำกับดูแลกระทรวงคมนาคมต่อ และแม้จะพยายามดิ้นสุดฤทธิ์จนได้เครื่องซีทีเอ็กซ์ เจ้าปัญหามาการันตีความบริสุทธิ์แล้วก็ตาม แต่สังคมปักใจเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง ชะตากรรมของนายสุริยะ จึงไม่ต่างกับซากซีทีเอ็กซ์ ที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนตลอดไป
4.พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ "ปลั๊กหลวม" เป็นนายตำรวจรุ่นพี่นายกรัฐมนตรี มีดีกรีถึงดอกเตอร์ ถูกคาดหวังให้มารับผิดชอบเรื่องความมั่นคง แทนพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รับหน้าเสื่อดับไฟใต้ แต่เมื่อทำงานจริงกลับไม่สัมฤทธิ์ผลตามราคาคุย ขยันออกนโยบายแต่ไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ เพราะฝีมือไม่ถึง บารมีไม่พอ ขาดประสบการณ์ เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ “ปลั๊กหลวม”เสียบแล้วใช้การได้ไม่เต็มที่ ติดๆ ดับๆ จึงไม่สามารถลดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ลงได้
5.นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ "พี.อาร์.25 ชั่วโมง" ขึ้นชื่อเป็นรัฐมนตรีที่เน้นการประชาสัมพันธ์ให้ตัวเองเป็นหลัก มากกว่าผลงานในหน้าที่ มุ่งทำตัวเองให้เป็นข่าวออกหน้าจอทีวีเสมอ เก็บทุกประเด็นไม่แยกแยะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ขอให้ได้เป็นข่าวก็พอ จนเกิดปัญหาเกาเหลากับรัฐมนตรีเจ้าสังกัดโดยตรง ตกเป็นข่าวคึกโครมกับนายประชา มาลีนนท์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กรณี “รับธงซีเกมส์ ”จึงขอมอบฉายา พี.อาร์.25 ชั่วโมง
6.น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล "เด็กนายหญิง" รัฐมนตรีสายตรงจากนายหญิง ถูกส่งเข้ามาคุมกระทรวงหมอ แต่ด้วยความที่เป็นเด็กเส้น ขาดประสบการณ์งานบริหาร แค่ช่วงเวลาสั้นๆที่เข้าไปทำงาน ได้สร้างความปั่นป่วน ด้วยการสั่งปลดโยกย้าย บิ๊กสาธารณสุข รวดเดียว 9 คน จนเกิดแรงต้านจากกลุ่มหมอ และลุกลามไปสู่การประลองกำลังระหว่าง"เจ๊ใหญ่"กับ "นายหญิง" ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีต้องรีบปลดชนวนระเบิด สั่งทบทวนโผโยกย้าย แต่เจ้าตัวยังฮึดฮัด ขัดขืน ประกาศยื่นใบลาออก ร้อนถึงนายหญิง ต้องออกแรงอุ้ม ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี เพื่อรักษาศักดิ์ศรีจันทร์ส่องหล้า
7.นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ "คลื่นแทรก" รับบทบาทพิมาตสื่อ คอยเป็นกันชนไม่ให้เกิดผลกระทบต่อรัฐบาล ซ้ำร้ายจ้องจับผิดสื่อที่เป็นอริ สร้างความอึดอัดใจกันทั้งวงการ มีการใช้สารพัดวิชามารใต้ดิน บนดิน แทรกแซงจน สื่อแทบขาดอิสระในการทำงาน โดยเฉพาะสื่อของรัฐโดนครอบงำ ให้เสนอแต่เรื่องที่เป็นคุณแก่รัฐบาลข้างเดียว บทบาทของนายสุรนันทน์ จึงเป็นเหมือนคลื่นแทรก ที่คอยก่อกวน และสกัดการทำงานของสื่อ
8.พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา "รมต.พลัง"น้ำ" " อาศัยบารมี"ลูกน้ำ" ศรีภรรยา ซึ่งเป็นเพื่อนและเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยานายกรัฐมนตรี จนได้นั่งเก้าอี้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ท่ามกลางเสียงคัดค้านของกลุ่มมุ้งการเมืองในไทยรักไทยที่พลาดตำแหน่ง ขณะที่ผลงานติดลบตลอด ถูกลูบคมด้วยประทัดยักษ์ถึงหัวบันไดกระทรวง ไม่สามารถบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชนได้ เสนอไอเดียออกมาแต่ละอย่าง มีแต่เสียงโห่ไล่ เช่น การติดยูบีซีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถูก ส.ส.รวมหัวตะเพิดออกจากตำแหน่ง แต่ด้วยพลังภายในของ"ลูกน้ำ"ทำให้ "พี่บิ๊ก"ยังเกาะเก้าอี้แน่นต่อไป
9.นายวิเศษ จูภิบาล "โบรกเกอร์รัฐบาล" ถูกส่งมากำกับดูแลด้านพลังงาน ท่ามกลางวิกฤตน้ำมันแพง แต่กลับทำตัวเป็นโบรกเกอร์ ที่คอยต่อรองสร้างผลกำไรให้กับกลุ่มทุนซีกรัฐบาล โดยเฉพาะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่นำ กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ จนถูกมองว่า นำทรัพย์สินของประเทศไปขาย ขณะเดียวกันปัญหาน้ำมันแพงก็ยังแก้ไม่ตก ส่งผลให้กองทุนน้ำมันติดลบมหาศาล เนื่องจากนำเงินไปพยุงราคาน้ำมัน แบบฝืนกลไกลการตลาด สุดท้ายชาวบ้านต้อง ก้มหน้ารับกรรมใช้น้ำมันแพงต่อไป
10.นายวัฒนา เมืองสุข "อิกคิวเซ็ง" มีไอเดียแหวกแนว เหมือน"อิกคิวซัง" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีปัญญา แต่ทว่าชอบคิดอะไรเพี้ยนๆ สวนกระแสสังคมบ่อยครั้ง หวังสร้างกระแสให้ตัวเอง อาทิ การจัดถนนให้วัยรุ่นซิ่งรถจักรยานยนต์ ให้ภรรยากราบเท้าสามีก่อนนอน การฉายสปอตไลท์หน้าโรงแรมม่านรูดในคืนวันลอยกระทง จนถูกประณามอย่างหนัก พฤติกรรมดังกล่าวจึงน่าจะเข้าข่าย "อิกคิวเซ็ง" ที่คิดอะไรแย่ๆ อวดฉลาด จนคนในสังคมเซ็งกับความคิดของท่านรมต.วัฒนา
ฉายารัฐบาล "ประชาระทม" ที่ผ่านมารัฐบาลโหมใช้นโยบายประชานิยมโฆษณาชวนเชื่อ จนประชาชนมอบความไว้วางใจด้วยคะแนนท่วมท้นให้เป็นรัฐบาลอีกสมัย โดยหวังว่าจะเข้ามาพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตให้อยู่ดี กินดี แต่หลังจากบริหารประเทศ ยังไม่ทันครบปี ปรากฎว่านโยบายประชานิยมกลับพ่นพิษ ทำให้ประชาชนต่างทุกข์ระทม ภาวะหนี้สินทุกครัวเรือนพุ่งขึ้นไม่หยุด เข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพง เกิดความรุนแรงในสังคม กอปรกับสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่มีทีท่าจะยุติ มิหนำซ้ำยังมีข่าวฉาวคอร์รัปชั่น เอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง ขนาดองค์กรอิสระที่ชาวบ้านหวังเป็นที่พึ่ง ยังถูกครอบงำจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ แม้รัฐบาลจะตีปี๊บประโคมข่าว ตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะดีดตัวสูงขึ้น แต่ประชาชนชั้นรากหญ้ายังต้องระทมทุกข์ต่อไป
วาทะแห่งปี "จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ" เป็นคำพูดของนายกฯ ที่สร้างความฮือฮาให้กับคนทั้งประเทศ และถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด ในระหว่างการลงพื้นที่ประชุม ครม.สัญจร จ.นครสวรรค์ หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งซ่อม โดยเฉพาะที่ จ.พิจิตร เป็นการสะท้อน ให้เห็นถึงแนวคิดของผู้นำในการเลือกปฏิบัติ เน้นการเมืองเหนือการบริหารประเทศ
"แน่นอนครับ…ผมตรงไปตรงมา ผมไม่อ้อมค้อม จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งเราก็ต้องดูแลคนทั้งประเทศ แต่เนื่องจากว่าเวลามันจำกัด เอาเวลาไปจังหวัดที่ไว้วางใจเราเป็นพิเศษก่อน จังหวัดที่ไว้วางใจเราน้อยก็ไปทีหลัง ไม่ใช่ไม่ไป แต่ไปทีหลัง ก็เรียงคิว ต้องเรียงกัน" เป็นคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่ต้องจดจำ เป็นวาทะแห่งปี 2548