การเปิดตัวของศูนย์การค้าสยามพารากอนเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2548 นับเป็นมิติใหม่ของการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกของไทย เนื่องจากเป็นศูนย์การค้าที่กำหนดลูกค้าเป้าหมายเอาไว้ที่ระดับบนสุดของประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น นับเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นสวรรค์แห่งการช็อปปิ้งอย่างชัดเจน สามารถแข่งขันในด้านความหรูหรากับย่านค้าปลีกชั้นนำของทวีปเอเชีย
ธุรกิจการค้าปลีกของไทยมีการบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อเนื่องมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มจากมีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาเปิดร้านค้าประเภทห้องแถว ต่อมาพ่อค้าชาวตะวันตกได้เริ่มมาตั้งร้านค้าในประเทศไทย โดยก่อตั้งห้างฮันเตอร์แอนด์เฮส์ขึ้นเมื่อปี 2367
ต่อมาได้เริ่มพัฒนาธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ขึ้น โดยกลุ่มเซ็นทรัลได้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2499 ที่ย่านวังบูรพา อีก 8 ปีต่อมา คือ ปี 2507 นับเป็นจุดหักเหที่สำคัญของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เมื่อบริษัทไดมารูของญี่ปุ่นได้เข้ามาเปิดห้างสรรพสินค้าของต่างชาติที่บริเวณย่านราชประสงค์ (บริเวณเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาในปัจจุบัน) โดยนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาอวดคนไทยเป็นครั้งแรก เช่น บันไดเลื่อน ระบบปรับอากาศ ฯลฯ ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก
ต่อมาในปี 2508 เป็นการก่อกำเนิดของสยามสแควร์ ซึ่งเดิมเป็นเพียงสวนผัก และประสบปัญหาถูกบุกรุกเป็นชุมชนแออัด ดังนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ทำการรื้อถอนเพื่อก่อสร้างเป็นศูนย์การค้าเต็มรูปแบบ ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ โรงภาพยนตร์ ฯลฯ
ต่อมาห้างไทยไดมารูเมื่อย้ายมาตั้งที่ราชดำริอาเขต (บริเวณห้างบิ๊กซีบนถนนราชดำริในปัจจุบัน) ยิ่งเพิ่มความโดดเด่นขึ้นอีกจนกลายเป็นศูนย์การค้าอันดับ 1 ของประเทศไทยในช่วงนั้น เนื่องจากราชดำริอาเขตนับเป็นศูนย์การค้าในลักษณะสมบูรณ์แบบแห่งแรกในประเทศไทย โดยมีทั้งห้างสรรพสินค้าไดมารู ร้านค้า ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ฯลฯ รวมเข้าด้วยกัน แม้มีศูนย์การค้าอื่นๆ เกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียง เป็นต้นว่า ศูนย์การค้าอินทรา เพลินจิตอาเขต สยามเซ็นเตอร์ ฯลฯ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเหมือนกับราชดำริอาเขตเนื่องจากไม่มีรูปแบบเป็นศูนย์การค้าสมบูรณ์แบบแต่อย่างใด
ต่อมามีการก่อสร้างศูนย์การค้าเพิ่มเติมบริเวณบริเวณใกล้เคียงอีกมากมาย เป็นต้นว่า เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเซ็นทรัลเวิลด์พลาซา) เซ็นทรัลชิดลม พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ฯลฯ ยิ่งส่งผลทำให้บริเวณแถบนี้กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจค้าปลีกของประเทศไทย จนบางครั้งมีผู้ขนานนามพื้นที่แถบนี้ว่าเป็น "4 เหลี่ยมทองคำ" ของธุรกิจค้าปลีกของประเทศไทย
ความสำเร็จอย่างท่วมท้นของศูนย์การค้าราชดำริอาเขตและห้างไทยไดมารูได้ทำให้ห้างสรรพสินค้าชาวไทยใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาและดัดแปลงจนสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดกลับคืนมาจากห้างญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดศูนย์การค้าแห่งนี้ต้องปิดตัวลงและบริษัทไดมารูของญี่ปุ่นได้เลิกกิจการในประเทศไทย
จากนั้นเซ็นทรัลชิดลมและเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ไปก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์การค้าหรูหราอันดับ 1 ของประเทศไทยแทนที่ราชดำริอาเขต อย่างไรก็ตาม เมื่อกลุ่มเดอะมอลล์ได้เปิดตัวศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียม แม้ศูนย์การค้าแห่งนี้มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่ได้กลายเป็นศูนย์การค้าหรูหราที่สุดในกรุงเทพมหานครได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก
สมรภูมิการแข่งขันยิ่งเข้มข้นไปอีกเมื่อมีการก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS ซึ่งริเริ่มขึ้นโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง และได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดดุลแห่งอำนาจแห่งธุรกิจค้าปลีกในย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร
เริ่มแรกเส้นทางรถไฟฟ้า BTS ไม่ได้กำหนดเส้นทางอย่างที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างใด สำหรับ เส้นทางรถไฟฟ้า BTS สายสีลม ซึ่งปัจจุบันมีเส้นทางจากสุดถนนสาทรมายังสนามกีฬาแห่งชาตินั้น เดิมได้กำหนดเส้นทางจากสุดถนนสีลมมาสิ้นสุดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยจากสีลมแทนที่จะเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกราชประสงค์มายังสยามสแควร์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เดิมได้กำหนดให้ใช้เส้นทางตรงไปผ่านศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ประตูน้ำ ศูนย์การค้าอินทรา จากนั้นถึงค่อยเลี้ยวซ้ายบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงไปตามถนนราชวิถีเพื่อตรงไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ตามเส้นทางเดิมนั้นแทนที่จะก่อสร้างสถานีราชดำริบริเวณใกล้กับโรงแรมเอราวัณอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้กำหนดก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าบริเวณหน้าศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ก่อสร้างอีกสถานีหนึ่งบริเวณหน้าศูนย์การค้าอินทรา
ส่วน เส้นทางรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท ก็เช่นเดียวกัน เดิมกำหนดเส้นทางว่าจะตรงมาโดยตลอดจากถนนสุขุมวิทมาถนนเพลินจิต ถนนพระราม 1 และสิ้นสุดที่บริเวณหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ไม่ได้เลี้ยวขวาบริเวณสี่แยกปทุมวันเพื่อตรงไปยังหมอชิตเหมือนกับเส้นทางในปัจจุบันแต่อย่างใด โดยกำหนดว่าจะก่อสร้างสถานีบริเวณหน้ากรมตำรวจใกล้กับศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ส่วนอีกสถานีหนึ่ง คือ สถานีชิดลม แทนที่จะก่อสร้างบริเวณหน้าโรงเรียนมาแตร์ฯ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ขยับออกไปก่อสร้างบริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลชิดลมเพื่อมิให้ 2 สถานีอยู่ใกล้กันเกินไป
หากการก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS เป็นไปตามแผนการเดิมที่กำหนดแล้ว บริเวณสถานีร่วมซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างผู้โดยสารของรถไฟฟ้า BTS ทั้ง 2 เส้นทาง จะไม่ใช่สถานีสยามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแต่อย่างใด แต่จะเป็นบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งจะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของธุรกิจค้าปลีกของกรุงเทพมหานครอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับศูนย์กลางธุรกิจค้าปลีกของประเทศอื่นๆ เช่น ย่านกินซ่า ย่านชินจูกุ หรือย่านซิบูย่าของกรุงโตเกียว จะเป็นบริเวณสถานีร่วมซึ่งรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนผ่านสายสาย ดังนั้น โครงการที่จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากเส้นทางที่ออกแบบไว้เดิม คือ ศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
อย่างไรก็ตาม เมื่อเมื่อการออกแบบโครงการ BTS ในรายละเอียด ก็ได้พบปัญหาบางประการ โดยเส้นทางสายสีลมผ่านเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาแล้วค่อยเลี้ยวไปยังอนุสาวรีย์สมรภูมินั้น มีปัญหาว่าเขตทางบริเวณแถบสามเหลี่ยมดินแดงแคบมาก ทำให้ยากในการเลี้ยวของรถไฟฟ้า ยิ่งไปกว่านั้น หากก่อสร้างตามแผนการเดิมแล้ว จะต้องก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าร่วมขนาดใหญ่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ดังนั้น อาจจะมองดูรกหูรกตาได้ โดยเฉพาะบริเวณนั้นเป็นที่ตั้งของศาลพระพรหมอันเป็นสถานที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
เพื่อแก้ไขสถานการณ์ จึงมีการทบทวนเส้นทาง BTS ใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยปรับเปลี่ยนเส้นทาง พร้อมกับเปลี่ยนสถานีร่วมจากเดิมที่กำหนดไว้บริเวณสี่แยกราชประสงค์มาเป็นสถานีสยาม ซึ่งการเปลี่ยนเส้นทางครั้งนี้ นับว่าส่งผลดีต่อพื้นที่ค้าปลีกบริเวณย่านสยามสแควร์เป็นอย่างมาก จากเดิมที่ค่อนข้างเงียบเหงาซบเซา กลายเป็นทำเลทอง ส่งผลให้พื้นที่แห่งนี้มีความคึกคักขึ้นอย่างทันทีทันใด ยิ่งไปกว่านั้น ยังเสริมความโดดเด่นให้กับศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียมขึ้นไปอีก เนื่องจากตั้งอยู่ติดกับสถานีพร้อมพงศ์พอดี
ส่วนศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาของค่ายเซ็นทรัลก็ไม่ได้หยุดนิ่ง โดยพยายามแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากมีทำเลที่ตั้งค่อนข้างไกลจากสถานีรถไฟฟ้า ดังนั้น ได้ลงทุน 250 ล้านบาท ในการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ความยาว 530 เมตร เพื่อเชื่อมศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาไปยังสถานีสยามและสถานีชิดลม ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลยังลงทุนขยายพื้นที่ค้าปลีกของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาอีกกว่า 70,000 ตร.ม. รวมเป็น 200,000 ตร.ม. และก่อสร้างโรงแรมโรงแรม เซ็นทรัลเวิลด์พลาซาคอนเวนชั่นโฮเต็ล โดยมีพื้นที่สำหรับจัดประชุมนานาชาติกว้างขวางถึง 16,000 ตร.ม.
เหตุการณ์สำคัญในปัจจุบัน คือ การเปิดตัวของศูนย์การค้าสยามพารากอนเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2548 นับเป็นโครงการขนาดยักษ์ลงทุนมากถึง 15,000 ล้านบาท โดยมีพื้นที่ใช้สอย 550,000 ตร.ม. และเมื่อรวมกับพื้นที่ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์และศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ซึ่งอยู่ติดกันแล้ว จะมีพื้นที่รวมกันมากถึง 700,000 ตร.ม. (เทียบเท่ากับพื้นที่สยามฟุตบอลมากถึง 117 สนาม) ทำให้กลายเป็นศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดและหรูหราที่สุดในประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีข้อได้เปรียบอย่างท่วมท้น เนื่องจากตั้งอยู่ติดกับสถานีสยามพอดี มีรถไฟฟ้า BTS ผ่านทั้ง 2 สาย
การเปิดตัวของสยามพารากอนซึ่งมีคำขวัญว่า "The Pride of Bangkok" หรือ "ความภาคภูมิใจของกรุงเทพมหานคร" ซึ่งเป็นศูนย์การค้าระดับโลก นับเป็นแม่เหล็กสำคัญสำหรับพื้นที่ช็อปปิ้งใจกลางกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นศูนย์การค้าที่กำหนดลูกค้าเป้าหมายเอาไว้ชัดเจนที่ระดับบนสุดของประเทศ โดยเฉพาะลูกค้ากระเป๋าหนักทั้งที่เป็นเศรษฐีไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมถึงบรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติระดับ 5 ดาว กำหนดลูกค้าเป้าหมาย 100,000 คน/วัน โดยในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติสัดส่วนสูงถึง 30% ของทั้งหมด
โครงการสยามพารากอนยังนับเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ของประเทศไทยว่าเป็นสวรรค์แห่งการชอปปิ้งอย่างแท้จริง เนื่องจากสามารถแข่งขันในด้านความหรูหรากับย่านค้าปลีกชั้นนำอื่นๆ ของโลกได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นย่านชอปปิ้งแถบถนนออชาร์ดของสิงคโปร์ แถบถนนนาธานของฮ่องกง หรือแถบกินซ่าและชินจูกุของญี่ปุ่น
บทบาทของศูนย์การค้าสยามพารากอนในด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น ไม่เพียงเป็นการส่งเสริมให้ชาวต่างชาติมาจับจ่ายซื้อสินค้าในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงส่งเสริมธุรกิจการประชุมนานาชาติด้วย เนื่องจากมีศูนย์ประชุม Royal Paragon Hall ประกอบด้วยพื้นที่ใช้สอยขนาด 6,000 ตารางเมตร ในห้องประชุม และพื้นที่นอกห้องประชุมอีก 4,000 ตารางเมตร โดยศูนย์ประชุมแห่งนี้คาดว่าจะสามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ 2,000-3,000 คน ศูนย์การค้าสยามพารากอนยังมีโครงการ Siam Ocean World ซึ่งนับเป็นสถานที่แสดงสัตว์น้ำใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทั้ง 2 โครงการข้างต้น ต่างได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
สุดท้ายนี้ อีกโครงการหนึ่งที่น่าสนใจของโครงการสยามพารากอน คือ Siam Opera เป็นโรงละครแนวบอร์ดเวย์แห่งแรกของไทย ขนาด 1,800 ที่นั่ง ซึ่งเมื่อเปิดดำเนินการในอนาคต จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์ศิลปะในภูมิภาค นับเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกแนวทางหนึ่ง
ปัจจุบันสิงคโปร์กำลังมาแรงในการท่องเที่ยวแขนงศิลปวัฒนธรรม โดยรัฐบาลสิงคโปร์ได้กำหนดวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนว่าจะเป็นเมืองหลวงของศิลปะ (Art Capital) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับประเทศ โดยลงทุนมากมายในด้านนี้ เป็นต้นว่า การก่อสร้าง Esplanade ซึ่งอาคารสำหรับใช้เป็นโรงละครขนาดยักษ์ โดยรูปร่างอาคารมีลักษณะคล้ายกับผลทุเรียน
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้รณรงค์ให้ประชาชนสนใจในศิลปะ พร้อมกับจัดทำโครงการ Foreign Artistic Talent Scheme เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินชาวต่างประเทศมาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในสิงคโปร์อย่างถาวร นอกจากนี้ ได้ผ่อนคลายและยกเลิกกฎระเบียบเกี่ยวกับความบันเทิงซึ่งเดิมควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินต่างประเทศมาจัดกิจกรรมในสิงคโปร์
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th
ธุรกิจการค้าปลีกของไทยมีการบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อเนื่องมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มจากมีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาเปิดร้านค้าประเภทห้องแถว ต่อมาพ่อค้าชาวตะวันตกได้เริ่มมาตั้งร้านค้าในประเทศไทย โดยก่อตั้งห้างฮันเตอร์แอนด์เฮส์ขึ้นเมื่อปี 2367
ต่อมาได้เริ่มพัฒนาธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ขึ้น โดยกลุ่มเซ็นทรัลได้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2499 ที่ย่านวังบูรพา อีก 8 ปีต่อมา คือ ปี 2507 นับเป็นจุดหักเหที่สำคัญของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เมื่อบริษัทไดมารูของญี่ปุ่นได้เข้ามาเปิดห้างสรรพสินค้าของต่างชาติที่บริเวณย่านราชประสงค์ (บริเวณเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาในปัจจุบัน) โดยนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาอวดคนไทยเป็นครั้งแรก เช่น บันไดเลื่อน ระบบปรับอากาศ ฯลฯ ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก
ต่อมาในปี 2508 เป็นการก่อกำเนิดของสยามสแควร์ ซึ่งเดิมเป็นเพียงสวนผัก และประสบปัญหาถูกบุกรุกเป็นชุมชนแออัด ดังนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ทำการรื้อถอนเพื่อก่อสร้างเป็นศูนย์การค้าเต็มรูปแบบ ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ โรงภาพยนตร์ ฯลฯ
ต่อมาห้างไทยไดมารูเมื่อย้ายมาตั้งที่ราชดำริอาเขต (บริเวณห้างบิ๊กซีบนถนนราชดำริในปัจจุบัน) ยิ่งเพิ่มความโดดเด่นขึ้นอีกจนกลายเป็นศูนย์การค้าอันดับ 1 ของประเทศไทยในช่วงนั้น เนื่องจากราชดำริอาเขตนับเป็นศูนย์การค้าในลักษณะสมบูรณ์แบบแห่งแรกในประเทศไทย โดยมีทั้งห้างสรรพสินค้าไดมารู ร้านค้า ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ฯลฯ รวมเข้าด้วยกัน แม้มีศูนย์การค้าอื่นๆ เกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียง เป็นต้นว่า ศูนย์การค้าอินทรา เพลินจิตอาเขต สยามเซ็นเตอร์ ฯลฯ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเหมือนกับราชดำริอาเขตเนื่องจากไม่มีรูปแบบเป็นศูนย์การค้าสมบูรณ์แบบแต่อย่างใด
ต่อมามีการก่อสร้างศูนย์การค้าเพิ่มเติมบริเวณบริเวณใกล้เคียงอีกมากมาย เป็นต้นว่า เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเซ็นทรัลเวิลด์พลาซา) เซ็นทรัลชิดลม พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ฯลฯ ยิ่งส่งผลทำให้บริเวณแถบนี้กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจค้าปลีกของประเทศไทย จนบางครั้งมีผู้ขนานนามพื้นที่แถบนี้ว่าเป็น "4 เหลี่ยมทองคำ" ของธุรกิจค้าปลีกของประเทศไทย
ความสำเร็จอย่างท่วมท้นของศูนย์การค้าราชดำริอาเขตและห้างไทยไดมารูได้ทำให้ห้างสรรพสินค้าชาวไทยใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาและดัดแปลงจนสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดกลับคืนมาจากห้างญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดศูนย์การค้าแห่งนี้ต้องปิดตัวลงและบริษัทไดมารูของญี่ปุ่นได้เลิกกิจการในประเทศไทย
จากนั้นเซ็นทรัลชิดลมและเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ไปก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์การค้าหรูหราอันดับ 1 ของประเทศไทยแทนที่ราชดำริอาเขต อย่างไรก็ตาม เมื่อกลุ่มเดอะมอลล์ได้เปิดตัวศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียม แม้ศูนย์การค้าแห่งนี้มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่ได้กลายเป็นศูนย์การค้าหรูหราที่สุดในกรุงเทพมหานครได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก
สมรภูมิการแข่งขันยิ่งเข้มข้นไปอีกเมื่อมีการก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS ซึ่งริเริ่มขึ้นโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง และได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดดุลแห่งอำนาจแห่งธุรกิจค้าปลีกในย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร
เริ่มแรกเส้นทางรถไฟฟ้า BTS ไม่ได้กำหนดเส้นทางอย่างที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างใด สำหรับ เส้นทางรถไฟฟ้า BTS สายสีลม ซึ่งปัจจุบันมีเส้นทางจากสุดถนนสาทรมายังสนามกีฬาแห่งชาตินั้น เดิมได้กำหนดเส้นทางจากสุดถนนสีลมมาสิ้นสุดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยจากสีลมแทนที่จะเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกราชประสงค์มายังสยามสแควร์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เดิมได้กำหนดให้ใช้เส้นทางตรงไปผ่านศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ประตูน้ำ ศูนย์การค้าอินทรา จากนั้นถึงค่อยเลี้ยวซ้ายบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงไปตามถนนราชวิถีเพื่อตรงไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ตามเส้นทางเดิมนั้นแทนที่จะก่อสร้างสถานีราชดำริบริเวณใกล้กับโรงแรมเอราวัณอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้กำหนดก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าบริเวณหน้าศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ก่อสร้างอีกสถานีหนึ่งบริเวณหน้าศูนย์การค้าอินทรา
ส่วน เส้นทางรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท ก็เช่นเดียวกัน เดิมกำหนดเส้นทางว่าจะตรงมาโดยตลอดจากถนนสุขุมวิทมาถนนเพลินจิต ถนนพระราม 1 และสิ้นสุดที่บริเวณหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ไม่ได้เลี้ยวขวาบริเวณสี่แยกปทุมวันเพื่อตรงไปยังหมอชิตเหมือนกับเส้นทางในปัจจุบันแต่อย่างใด โดยกำหนดว่าจะก่อสร้างสถานีบริเวณหน้ากรมตำรวจใกล้กับศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ส่วนอีกสถานีหนึ่ง คือ สถานีชิดลม แทนที่จะก่อสร้างบริเวณหน้าโรงเรียนมาแตร์ฯ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ขยับออกไปก่อสร้างบริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลชิดลมเพื่อมิให้ 2 สถานีอยู่ใกล้กันเกินไป
หากการก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS เป็นไปตามแผนการเดิมที่กำหนดแล้ว บริเวณสถานีร่วมซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างผู้โดยสารของรถไฟฟ้า BTS ทั้ง 2 เส้นทาง จะไม่ใช่สถานีสยามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแต่อย่างใด แต่จะเป็นบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งจะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของธุรกิจค้าปลีกของกรุงเทพมหานครอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับศูนย์กลางธุรกิจค้าปลีกของประเทศอื่นๆ เช่น ย่านกินซ่า ย่านชินจูกุ หรือย่านซิบูย่าของกรุงโตเกียว จะเป็นบริเวณสถานีร่วมซึ่งรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนผ่านสายสาย ดังนั้น โครงการที่จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากเส้นทางที่ออกแบบไว้เดิม คือ ศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
อย่างไรก็ตาม เมื่อเมื่อการออกแบบโครงการ BTS ในรายละเอียด ก็ได้พบปัญหาบางประการ โดยเส้นทางสายสีลมผ่านเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาแล้วค่อยเลี้ยวไปยังอนุสาวรีย์สมรภูมินั้น มีปัญหาว่าเขตทางบริเวณแถบสามเหลี่ยมดินแดงแคบมาก ทำให้ยากในการเลี้ยวของรถไฟฟ้า ยิ่งไปกว่านั้น หากก่อสร้างตามแผนการเดิมแล้ว จะต้องก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าร่วมขนาดใหญ่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ดังนั้น อาจจะมองดูรกหูรกตาได้ โดยเฉพาะบริเวณนั้นเป็นที่ตั้งของศาลพระพรหมอันเป็นสถานที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
เพื่อแก้ไขสถานการณ์ จึงมีการทบทวนเส้นทาง BTS ใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยปรับเปลี่ยนเส้นทาง พร้อมกับเปลี่ยนสถานีร่วมจากเดิมที่กำหนดไว้บริเวณสี่แยกราชประสงค์มาเป็นสถานีสยาม ซึ่งการเปลี่ยนเส้นทางครั้งนี้ นับว่าส่งผลดีต่อพื้นที่ค้าปลีกบริเวณย่านสยามสแควร์เป็นอย่างมาก จากเดิมที่ค่อนข้างเงียบเหงาซบเซา กลายเป็นทำเลทอง ส่งผลให้พื้นที่แห่งนี้มีความคึกคักขึ้นอย่างทันทีทันใด ยิ่งไปกว่านั้น ยังเสริมความโดดเด่นให้กับศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียมขึ้นไปอีก เนื่องจากตั้งอยู่ติดกับสถานีพร้อมพงศ์พอดี
ส่วนศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาของค่ายเซ็นทรัลก็ไม่ได้หยุดนิ่ง โดยพยายามแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากมีทำเลที่ตั้งค่อนข้างไกลจากสถานีรถไฟฟ้า ดังนั้น ได้ลงทุน 250 ล้านบาท ในการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ความยาว 530 เมตร เพื่อเชื่อมศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาไปยังสถานีสยามและสถานีชิดลม ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลยังลงทุนขยายพื้นที่ค้าปลีกของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาอีกกว่า 70,000 ตร.ม. รวมเป็น 200,000 ตร.ม. และก่อสร้างโรงแรมโรงแรม เซ็นทรัลเวิลด์พลาซาคอนเวนชั่นโฮเต็ล โดยมีพื้นที่สำหรับจัดประชุมนานาชาติกว้างขวางถึง 16,000 ตร.ม.
เหตุการณ์สำคัญในปัจจุบัน คือ การเปิดตัวของศูนย์การค้าสยามพารากอนเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2548 นับเป็นโครงการขนาดยักษ์ลงทุนมากถึง 15,000 ล้านบาท โดยมีพื้นที่ใช้สอย 550,000 ตร.ม. และเมื่อรวมกับพื้นที่ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์และศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ซึ่งอยู่ติดกันแล้ว จะมีพื้นที่รวมกันมากถึง 700,000 ตร.ม. (เทียบเท่ากับพื้นที่สยามฟุตบอลมากถึง 117 สนาม) ทำให้กลายเป็นศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดและหรูหราที่สุดในประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีข้อได้เปรียบอย่างท่วมท้น เนื่องจากตั้งอยู่ติดกับสถานีสยามพอดี มีรถไฟฟ้า BTS ผ่านทั้ง 2 สาย
การเปิดตัวของสยามพารากอนซึ่งมีคำขวัญว่า "The Pride of Bangkok" หรือ "ความภาคภูมิใจของกรุงเทพมหานคร" ซึ่งเป็นศูนย์การค้าระดับโลก นับเป็นแม่เหล็กสำคัญสำหรับพื้นที่ช็อปปิ้งใจกลางกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นศูนย์การค้าที่กำหนดลูกค้าเป้าหมายเอาไว้ชัดเจนที่ระดับบนสุดของประเทศ โดยเฉพาะลูกค้ากระเป๋าหนักทั้งที่เป็นเศรษฐีไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมถึงบรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติระดับ 5 ดาว กำหนดลูกค้าเป้าหมาย 100,000 คน/วัน โดยในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติสัดส่วนสูงถึง 30% ของทั้งหมด
โครงการสยามพารากอนยังนับเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ของประเทศไทยว่าเป็นสวรรค์แห่งการชอปปิ้งอย่างแท้จริง เนื่องจากสามารถแข่งขันในด้านความหรูหรากับย่านค้าปลีกชั้นนำอื่นๆ ของโลกได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นย่านชอปปิ้งแถบถนนออชาร์ดของสิงคโปร์ แถบถนนนาธานของฮ่องกง หรือแถบกินซ่าและชินจูกุของญี่ปุ่น
บทบาทของศูนย์การค้าสยามพารากอนในด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น ไม่เพียงเป็นการส่งเสริมให้ชาวต่างชาติมาจับจ่ายซื้อสินค้าในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงส่งเสริมธุรกิจการประชุมนานาชาติด้วย เนื่องจากมีศูนย์ประชุม Royal Paragon Hall ประกอบด้วยพื้นที่ใช้สอยขนาด 6,000 ตารางเมตร ในห้องประชุม และพื้นที่นอกห้องประชุมอีก 4,000 ตารางเมตร โดยศูนย์ประชุมแห่งนี้คาดว่าจะสามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ 2,000-3,000 คน ศูนย์การค้าสยามพารากอนยังมีโครงการ Siam Ocean World ซึ่งนับเป็นสถานที่แสดงสัตว์น้ำใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทั้ง 2 โครงการข้างต้น ต่างได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
สุดท้ายนี้ อีกโครงการหนึ่งที่น่าสนใจของโครงการสยามพารากอน คือ Siam Opera เป็นโรงละครแนวบอร์ดเวย์แห่งแรกของไทย ขนาด 1,800 ที่นั่ง ซึ่งเมื่อเปิดดำเนินการในอนาคต จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์ศิลปะในภูมิภาค นับเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกแนวทางหนึ่ง
ปัจจุบันสิงคโปร์กำลังมาแรงในการท่องเที่ยวแขนงศิลปวัฒนธรรม โดยรัฐบาลสิงคโปร์ได้กำหนดวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนว่าจะเป็นเมืองหลวงของศิลปะ (Art Capital) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับประเทศ โดยลงทุนมากมายในด้านนี้ เป็นต้นว่า การก่อสร้าง Esplanade ซึ่งอาคารสำหรับใช้เป็นโรงละครขนาดยักษ์ โดยรูปร่างอาคารมีลักษณะคล้ายกับผลทุเรียน
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้รณรงค์ให้ประชาชนสนใจในศิลปะ พร้อมกับจัดทำโครงการ Foreign Artistic Talent Scheme เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินชาวต่างประเทศมาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในสิงคโปร์อย่างถาวร นอกจากนี้ ได้ผ่อนคลายและยกเลิกกฎระเบียบเกี่ยวกับความบันเทิงซึ่งเดิมควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินต่างประเทศมาจัดกิจกรรมในสิงคโปร์
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th