นักวิชาการ-ส.ส.-นักธุรกิจ-ชาวบ้านในพื้นที่วิกฤตอุทกภัยภาคใต้รุมอัด"นายกฯ"ไม่ห่วงใจชาวใต้ เอาใจแต่เชียงใหม่พื้นที่คะแนนเสียง ทรท. เมินลงพื้นที่ดูแลทุกข์สุขประชาชนที่ถูกน้ำท่วม "ทักษิณ"ยันไม่ลงใต้เพราะไปบ่อยแล้วและเกรงเพิ่มภาระให้เจ้าหน้าที่ พร้อมสั่งเบรกร้องเพลงหน้าจอขอบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมใต้-ภัยหนาวอ้างรบกวนประชาชน แนะใครอยากช่วยให้ไปบริจาคเอง โวรัฐมีเงินพอ "คงศักดิ์"ลงใต้ดูปัญหาน้ำท่วมวันนี้
ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ ทุกภาคส่วนต่างออกมาแสดงความเห็นไม่พอใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กันอย่างเจ็บแสบ สาหัส หลังจากที่เกิดฝนตกน้ำท่วมอย่างหนักมาหลายวัน แต่นายกรัฐมนตรี กลับไม่ใส่ใจที่จะเดินทางไปดูแลปัญหาทุกข์สุขของประชาชนด้วยตนเอง
**ด่ายับ"ทักษิณ"ไม่ห่วงใจชาวใต้
นายวรวิทย์ บารู รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) กรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)กล่าวว่า ปีนี้หลายจังหวัดของภาคใต้ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะฝนตกหนักและน้ำท่วมอย่างสาหัสในหลายพื้นที่ ในส่วนของความช่วยเหลือจากรัฐบาลนั้นถือว่าล่าช้ามาก หากรัฐบาลสนใจความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนภาคใต้จริงก็น่าจะดีกว่านี้
"ผมมองว่าอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับหลายจังหวัดภาคใต้เวลานี้สมควรอย่างยิ่งที่นายกฯจะต้องลงมาดูแลความทุกข์ของประชาชนที่เดือดร้อน และที่จริงน่าจะต้องทำเร็วกว่านี้ด้วย หากนำความใส่ใจของรัฐบาลต่อปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ไปเทียบกับน้ำท่วมเชียงใหม่ ที่ผ่านมา ประชาชนรู้สึกได้เลยว่า การช่วยเหลือคนใต้นั้นช้าไป" นายวรวิทย์ กล่าว
นายจรูญ หยูทอง ที่ปรึกษาสมัชชาจังหวัดสงขลาเพื่อการปฎิรูปการเมือง เปิดเผยว่า หลังจากที่ 8 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างประสบภัยน้ำท่วมเป็นครั้งที่ 3 แล้วแต่ยังไม่เห็นนายกฯ เดินทางมาในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองอย่างเป็นทางการ สะท้อนกับคำพูดที่เคยเอ่ยว่า จะช่วยเหลือจังหวัดที่สนับสนุนเลือกพรรคไทยรักไทยเป็นอับดับแรก และเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์อุบัติภัยธรณีพิบัติในจังหวัดฝั่งอันดามันแล้ว รัฐบาลทุ่มเทและมีความจริงจังในการแก้ไขมากกว่า
"แลแล้วเขาจะไม่ยินดียินร้ายกับชาวใต้สักเท่าไร สะท้อนวิธีการคิดที่จะดูแลพื้นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธุรกิจนานาชาติ การลงทุน ซึ่งน้ำท่วมครั้งนี้มีเพียงย่านธรุกิจใจกลางเมืองหาดใหญ่ ที่ได้รับการกำชับให้ดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะมีปัจจัยอื่นเข้ามา คือไม่ใช่พื้นที่คะแนนเสียงหลัก และเลือกแคร์ความรู้สึกของนักธุรกิจเป็นหลัก ส่วนชาวบ้านนั้นจะทำอย่างไรก็ได้ ทำให้เกิดความอยุติธรรม เพราะได้รับความเดือดร้อนไม่เท่ากัน" นายจรูญ กล่าว
นายจามร เจริญอภิบาล ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่อปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ถือว่าล่าช้ามาก และการที่รัฐบาลไม่ค่อยใส่ใจให้ความช่วยเหลือคนใต้เท่าที่ควรนั้นอาจเป็นเพราะพื้นที่ภาคใต้ไม่ใช่ฐานเสียงของรัฐบาล ไม่มี ส.ส.ในพื้นที่
"น้ำท่วมใต้ครั้งนี้วิกฤตมาก ในฐานะนายกฯควรลงพื้นที่ด้วยตนเองไม่ใช่ส่งแค่รัฐมนตรีช่วยว่าการลงมา ซึ่งเหมือนกับไม่ไยดีคนใต้เท่าไร ในทางกลับกันผมเห็นว่าการที่รัฐบาลไม่มี ส.ส.ในพื้นที่นายกฯยิ่งต้องลงพื้นที่ สั่งการแก้ไขวิกฤตด้วยตัวเอง เพราะทำอย่างนี้แล้วจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้" นายจามร กล่าว
ขณะที่ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนสันนิษฐานว่าสาเหตุที่นายกฯ ไม่ให้ความสำคัญในการลงมาบัญชาการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ น่าจะเป็นเพราะยังมีความคิดอยู่บนพื้นฐานที่ว่า จังหวัดไหนไม่เลือกพรรคไทยรักไทย ก็จะไม่ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นต่อประชาชนในพื้นที่นั้น
"อยากจะบอกนายกฯว่า ให้มีความสงสารชาวบ้านบ้าง ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เลือกไทยรักไทย แต่เขาก็เสียภาษี ให้แก่ประเทศชาติ เรื่องการเมืองนั้นมันจบไปแล้ว ขอให้เห็นความสำคัญและช่วยเหลือชาวบ้านบ้าง"นายถาวร กล่าว
**เหน็บ!ให้คิดว่าใต้คือเชียงใหม่
นายธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ นายกอบต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านทางภาคใต้กำลังได้รับความเดือดร้อนกันอย่างหนัก แต่การช่วยเหลือจากภาครัฐน้อยมากในหลายๆ เรื่อง ชาวบ้านต้องดิ้นรนช่วยเหลือตัวเองเพื่อความอยู่รอดไปวันๆ นายกฯก็สั่งการช้า และไม่เห็นนายกฯลงพื้นที่ดูปัญหาของประชาชนเลย
"นายกฯเป็นของคนไทยทุกคนควรจะช่วยเหลือชาวใต้มากกว่านี้ แต่เวลาเชียงใหม่ ฝนตกหน่อยก็ไปแล้ว แต่พื้นที่ภาคใต้ระลอกที่ 3 และ 4 แล้วก็ยังไม่เห็นนายกฯลงพื้นที่เลย ผมฝากบอกนากยฯด้วยว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นคิดถึงนายกฯมาก ถ้านายกฯจะมาก็คิดว่ามาเชียงใหม่ก็แล้วกันจะได้ไม่ตะขิดตะขวงใจ"
นายสอและ การียา อายุ 45 ปี ชาวบ้าน ต.ละหาร อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส 1 ในผู้ประสบอุทกภัย กล่าวว่า ยากฝากถามนายกฯว่า ทำไมน้ำท่วมภาคใต้นายกฯถึงสั่งการให้ช่วยเหลือช้ามาก ไม่เหมือนกับน้ำท่วมในเชียงใหม่ นายกฯสั่งให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายจึงระดมกำลังช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แต่พอน้ำท่วมภาคใต้ ประชาชนเดือดร้อนไปทั่ว ทำไมนายกฯจึงไม่ลงพื้นที่ไปดูแลบ้าง หรือเพราะพื้นที่ภาคใต้ไม่ใช่ฐานเสียงของนายกฯ
**"ทักษิณ"ยันยังไม่ลงใต้ดูน้ำท่วม
ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ จ.สุโขทัย ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ ถึงสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ว่า เจ้าหน้าที่กำลังดูแลอยู่ และจากที่ประชุมร่วมกับผู้ว่าฯ ผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ ทราบว่าผู้ว่าฯ และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.มหาดไทย กำลังเร่งแก้ปัญหา ซึ่งเวลานี้น้ำก็ลดลงมากแล้ว
"ช่วงนี้ผมจะไม่ลงไปดูสถานการณ์น้ำท่วมด้วยตัวเอง เพราะหากวันนี้เดินทางลงพื้นที่จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับเจ้าหน้าที่แทนที่เจ้าหน้าที่จะไปดูเรื่องการระบายน้ำ ก็ต้องมาดูแลนายกฯ"
ส่วนการรับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยเหลือจากประชาชนนั้น นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลจะไม่ออกประกาศเชิญชวนคนมาบริจาค เพราะมีงบประมาณของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเงินช่วยจากรัฐวิสาหกิจเพียงพอดำเนินการ แต่ถ้าประชาชนมีน้ำใจจะบริจาคขอให้ระบุเลยว่าต้องการให้ความช่วยเหลือไปยังจังหวัดไหน และ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนรับ
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวถึงปัญหาการขุดลอกคลอง ร.1 ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่ยังมีปัญหาประชาชนไม่ยอมอพยพ ทำให้ไม่สามารถขุดลอกคลองได้ว่า เป็นเรื่องของการเวนคืน มีบ้านบางหลังไม่ยอมให้ความร่วมมือย้ายออก แต่พยายามดูว่าปัญหาลึก ๆ คืออะไร เวลานี้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ไปประสานแก้ไขแล้ว เชื่อว่าน่าจะจบได้ ส่วนปัญหาการดึงงานของบริษัทนั้นตนได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแล้ว ให้ดูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงก็ได้
**"ทักษิณ"เบรกขอบริจาคช่วยใต้
แหล่งข่าวในที่ประชุม ครม.สัญจร เปิดเผยว่า นายกฯได้พูดถึงการจัดรายการออกทางโทรทัศน์เพื่อรับบริจาคจากประชาชนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ 8 จังหวัดภาคใต้ หรือแม้กระทั่งการจัดงานรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวทางภาคเหนือว่า ไม่เห็นด้วย และไม่อยากให้มีการจัดงานประเภทนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะรูปแบบการจัดงานรับบริจาคโดยมีบุคคลสำคัญออกมาร้องเพลงแล้วให้ประชาชนบริจาค เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการรบกวนประชาชนที่จะต้องมาบริจาค โดยนายกฯย้ำว่า "ตังค์เรามีพอ ไม่อยากรบกวนประชาชน แต่ถ้าใครอยากจะบริจาค ก็สามารถบริจาคผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ได้เลย โดยตรง"
ทั้งนี้ ทำให้งานที่มีการประชาสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ว่า จะมีการจัดงานรับบริจาคทางช่อง 11 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมและภัยหนาว ต้องยุติโดยกระทันหัน
ด้าน พล.อ.คงศักดิ์ วันทนา รมว.มหาดไทย เปิดเผยว่า ในที่ประชุม ครม.นายกฯไม่ได้ตำหนิการทำงานของกระทรวงมหาดไทยในการแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่ชมเชยอีกต่างหาก ตนยอมรับว่าที่ผ่านมาการดูแลให้ความช่วยเหลือประชาชนอาจจะล่าช้าไปบ้าง เพราะเส้นทางบกถูกตัดขาดที่ จ.สงขลา อีกทั้งเส้นทางอากาศ สนามบินไม่สามารถเปิดให้เครื่องบินลงจอดได้ เพราะน้ำท่วม แต่ตอนนี้มั่นใจแล้วว่าจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง เพราะเรือท้องแบนมีครบทุกพื้นที่แล้ว และวันนี้ตนจะลงพื้นที่ใน อ.หาดใหญ่
**สงขลา-ปัตตานี-ยะลายังวิกฤต
ด้านสถานการณ์น้ำท่วม จ.สงขลายังวิกฤตอยู่ 2 อำเภอ คือ ระโนด และ กระแสสินธุ์ เส้นทางยังถูกตัดขาด เจ้าหน้าที่กองทัพเรือภาคที่ 2 นำเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงเครื่องอุปโภคบริโภคเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 3 ตำบลของ อ.ระโนด ได้แก่ ต.ระโนด ต.ตาเครียะ และ ต.บ้านขาว เนื่องจากทั้ง 12 ตำบล 73 หมู่บ้าน ถูกน้ำท่วมสูง 1 เมตร ส่วน อ.กระแสสินธุ์ แม้ระดับน้ำจะเริ่มลดลง แต่เป็นไปอย่างช้า ๆ โดยระดับน้ำสูงเฉลี่ย 50-80 เซนติเมตร เส้นทางยังไม่สามารถสัญจรได้ ขณะนี้ประชาชนในทั้ง 2 อำเภอ ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคและน้ำดื่มอย่างมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา
ส่วนพื้นที่รอบนอกของเทศบาลนครหาดใหญ่ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว มีบางพื้นที่ยังถูกน้ำท่วม โดยเฉพาะชุมชนริมคลองอู่ตะเภา ซึ่งเทศบาลนครหาดใหญ่ได้เร่งทำความสะอาดเมืองและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฝนหนักอีกครั้ง ส่วนความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ ซึ่งในวันนี้ นายสมพร ใช้บางยาง ผวจ.สงขลา จะเรียกประชุมทุกหน่วยงาน เพื่อสรุปและประเมินสถานการณ์น้ำท่วม
ใน จ.ปัตตานี สภาพน้ำท่วมได้ขยายวงกว้างมากขึ้น และทุกพื้นที่ยังคงมีน้ำท่วมสูง โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมืองปัตตานี เนื่องจากมีน้ำทะเลหนุนและน้ำจาก จ.ยะลา ไหลลงมาสมทบอย่างต่อเนื่อง โดยระดับน้ำเฉลี่ยประมาณ 20-50 เซนติเมตร ทำให้สถานที่ประกอบการค้า สถานที่ราชการ โรงเรียนทั้งจังหวัดต้องปิดชั่วคราว ส่วนการช่วยเหลือชาวบ้านที่ต้องการน้ำ อาหาร และยารักษาโรคมีเป็นจำนวนมากในหลายพื้นที่ ซึ่งนายภาณุ อุทัยรัตน์ ผวจ.ปัตตานี ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยเหลือเป็นการด่วน
ส่วนที่ จ.ยะลา นายบุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผวจ.ยะลา กล่าวว่า ขณะนี้น้ำได้ลดลงมาก แต่บางพื้นที่ยังไม่สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ โดยเฉพาะที่บ้าน กม.26 หมู่ 2 ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา ถนนและคอสะพานขาดบางจุด รถสัญจรไปมาไม่ได้ เจ้าหน้าที่ต้องใช้วิธีการเดินเท้าเข้าไปเป็นระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร จากการสำรวจพบว่าบ้านเรือนราษฎรได้ถูกดินและหินถล่มทับบ้านเรือนได้รับความเสียหายกว่า 50 หลังคาเรือน ประชาชนเกือบ 1,000 คน ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากขาดแคลนอาหารมาเป็นระยะเวลาเกือบ 3 วัน ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปช่วยเหลือแล้ว
ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ ทุกภาคส่วนต่างออกมาแสดงความเห็นไม่พอใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กันอย่างเจ็บแสบ สาหัส หลังจากที่เกิดฝนตกน้ำท่วมอย่างหนักมาหลายวัน แต่นายกรัฐมนตรี กลับไม่ใส่ใจที่จะเดินทางไปดูแลปัญหาทุกข์สุขของประชาชนด้วยตนเอง
**ด่ายับ"ทักษิณ"ไม่ห่วงใจชาวใต้
นายวรวิทย์ บารู รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) กรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)กล่าวว่า ปีนี้หลายจังหวัดของภาคใต้ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะฝนตกหนักและน้ำท่วมอย่างสาหัสในหลายพื้นที่ ในส่วนของความช่วยเหลือจากรัฐบาลนั้นถือว่าล่าช้ามาก หากรัฐบาลสนใจความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนภาคใต้จริงก็น่าจะดีกว่านี้
"ผมมองว่าอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับหลายจังหวัดภาคใต้เวลานี้สมควรอย่างยิ่งที่นายกฯจะต้องลงมาดูแลความทุกข์ของประชาชนที่เดือดร้อน และที่จริงน่าจะต้องทำเร็วกว่านี้ด้วย หากนำความใส่ใจของรัฐบาลต่อปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ไปเทียบกับน้ำท่วมเชียงใหม่ ที่ผ่านมา ประชาชนรู้สึกได้เลยว่า การช่วยเหลือคนใต้นั้นช้าไป" นายวรวิทย์ กล่าว
นายจรูญ หยูทอง ที่ปรึกษาสมัชชาจังหวัดสงขลาเพื่อการปฎิรูปการเมือง เปิดเผยว่า หลังจากที่ 8 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างประสบภัยน้ำท่วมเป็นครั้งที่ 3 แล้วแต่ยังไม่เห็นนายกฯ เดินทางมาในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองอย่างเป็นทางการ สะท้อนกับคำพูดที่เคยเอ่ยว่า จะช่วยเหลือจังหวัดที่สนับสนุนเลือกพรรคไทยรักไทยเป็นอับดับแรก และเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์อุบัติภัยธรณีพิบัติในจังหวัดฝั่งอันดามันแล้ว รัฐบาลทุ่มเทและมีความจริงจังในการแก้ไขมากกว่า
"แลแล้วเขาจะไม่ยินดียินร้ายกับชาวใต้สักเท่าไร สะท้อนวิธีการคิดที่จะดูแลพื้นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธุรกิจนานาชาติ การลงทุน ซึ่งน้ำท่วมครั้งนี้มีเพียงย่านธรุกิจใจกลางเมืองหาดใหญ่ ที่ได้รับการกำชับให้ดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะมีปัจจัยอื่นเข้ามา คือไม่ใช่พื้นที่คะแนนเสียงหลัก และเลือกแคร์ความรู้สึกของนักธุรกิจเป็นหลัก ส่วนชาวบ้านนั้นจะทำอย่างไรก็ได้ ทำให้เกิดความอยุติธรรม เพราะได้รับความเดือดร้อนไม่เท่ากัน" นายจรูญ กล่าว
นายจามร เจริญอภิบาล ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่อปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ถือว่าล่าช้ามาก และการที่รัฐบาลไม่ค่อยใส่ใจให้ความช่วยเหลือคนใต้เท่าที่ควรนั้นอาจเป็นเพราะพื้นที่ภาคใต้ไม่ใช่ฐานเสียงของรัฐบาล ไม่มี ส.ส.ในพื้นที่
"น้ำท่วมใต้ครั้งนี้วิกฤตมาก ในฐานะนายกฯควรลงพื้นที่ด้วยตนเองไม่ใช่ส่งแค่รัฐมนตรีช่วยว่าการลงมา ซึ่งเหมือนกับไม่ไยดีคนใต้เท่าไร ในทางกลับกันผมเห็นว่าการที่รัฐบาลไม่มี ส.ส.ในพื้นที่นายกฯยิ่งต้องลงพื้นที่ สั่งการแก้ไขวิกฤตด้วยตัวเอง เพราะทำอย่างนี้แล้วจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้" นายจามร กล่าว
ขณะที่ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนสันนิษฐานว่าสาเหตุที่นายกฯ ไม่ให้ความสำคัญในการลงมาบัญชาการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ น่าจะเป็นเพราะยังมีความคิดอยู่บนพื้นฐานที่ว่า จังหวัดไหนไม่เลือกพรรคไทยรักไทย ก็จะไม่ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นต่อประชาชนในพื้นที่นั้น
"อยากจะบอกนายกฯว่า ให้มีความสงสารชาวบ้านบ้าง ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เลือกไทยรักไทย แต่เขาก็เสียภาษี ให้แก่ประเทศชาติ เรื่องการเมืองนั้นมันจบไปแล้ว ขอให้เห็นความสำคัญและช่วยเหลือชาวบ้านบ้าง"นายถาวร กล่าว
**เหน็บ!ให้คิดว่าใต้คือเชียงใหม่
นายธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ นายกอบต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านทางภาคใต้กำลังได้รับความเดือดร้อนกันอย่างหนัก แต่การช่วยเหลือจากภาครัฐน้อยมากในหลายๆ เรื่อง ชาวบ้านต้องดิ้นรนช่วยเหลือตัวเองเพื่อความอยู่รอดไปวันๆ นายกฯก็สั่งการช้า และไม่เห็นนายกฯลงพื้นที่ดูปัญหาของประชาชนเลย
"นายกฯเป็นของคนไทยทุกคนควรจะช่วยเหลือชาวใต้มากกว่านี้ แต่เวลาเชียงใหม่ ฝนตกหน่อยก็ไปแล้ว แต่พื้นที่ภาคใต้ระลอกที่ 3 และ 4 แล้วก็ยังไม่เห็นนายกฯลงพื้นที่เลย ผมฝากบอกนากยฯด้วยว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นคิดถึงนายกฯมาก ถ้านายกฯจะมาก็คิดว่ามาเชียงใหม่ก็แล้วกันจะได้ไม่ตะขิดตะขวงใจ"
นายสอและ การียา อายุ 45 ปี ชาวบ้าน ต.ละหาร อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส 1 ในผู้ประสบอุทกภัย กล่าวว่า ยากฝากถามนายกฯว่า ทำไมน้ำท่วมภาคใต้นายกฯถึงสั่งการให้ช่วยเหลือช้ามาก ไม่เหมือนกับน้ำท่วมในเชียงใหม่ นายกฯสั่งให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายจึงระดมกำลังช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แต่พอน้ำท่วมภาคใต้ ประชาชนเดือดร้อนไปทั่ว ทำไมนายกฯจึงไม่ลงพื้นที่ไปดูแลบ้าง หรือเพราะพื้นที่ภาคใต้ไม่ใช่ฐานเสียงของนายกฯ
**"ทักษิณ"ยันยังไม่ลงใต้ดูน้ำท่วม
ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ จ.สุโขทัย ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ ถึงสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ว่า เจ้าหน้าที่กำลังดูแลอยู่ และจากที่ประชุมร่วมกับผู้ว่าฯ ผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ ทราบว่าผู้ว่าฯ และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.มหาดไทย กำลังเร่งแก้ปัญหา ซึ่งเวลานี้น้ำก็ลดลงมากแล้ว
"ช่วงนี้ผมจะไม่ลงไปดูสถานการณ์น้ำท่วมด้วยตัวเอง เพราะหากวันนี้เดินทางลงพื้นที่จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับเจ้าหน้าที่แทนที่เจ้าหน้าที่จะไปดูเรื่องการระบายน้ำ ก็ต้องมาดูแลนายกฯ"
ส่วนการรับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยเหลือจากประชาชนนั้น นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลจะไม่ออกประกาศเชิญชวนคนมาบริจาค เพราะมีงบประมาณของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเงินช่วยจากรัฐวิสาหกิจเพียงพอดำเนินการ แต่ถ้าประชาชนมีน้ำใจจะบริจาคขอให้ระบุเลยว่าต้องการให้ความช่วยเหลือไปยังจังหวัดไหน และ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนรับ
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวถึงปัญหาการขุดลอกคลอง ร.1 ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่ยังมีปัญหาประชาชนไม่ยอมอพยพ ทำให้ไม่สามารถขุดลอกคลองได้ว่า เป็นเรื่องของการเวนคืน มีบ้านบางหลังไม่ยอมให้ความร่วมมือย้ายออก แต่พยายามดูว่าปัญหาลึก ๆ คืออะไร เวลานี้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ไปประสานแก้ไขแล้ว เชื่อว่าน่าจะจบได้ ส่วนปัญหาการดึงงานของบริษัทนั้นตนได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแล้ว ให้ดูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงก็ได้
**"ทักษิณ"เบรกขอบริจาคช่วยใต้
แหล่งข่าวในที่ประชุม ครม.สัญจร เปิดเผยว่า นายกฯได้พูดถึงการจัดรายการออกทางโทรทัศน์เพื่อรับบริจาคจากประชาชนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ 8 จังหวัดภาคใต้ หรือแม้กระทั่งการจัดงานรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวทางภาคเหนือว่า ไม่เห็นด้วย และไม่อยากให้มีการจัดงานประเภทนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะรูปแบบการจัดงานรับบริจาคโดยมีบุคคลสำคัญออกมาร้องเพลงแล้วให้ประชาชนบริจาค เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการรบกวนประชาชนที่จะต้องมาบริจาค โดยนายกฯย้ำว่า "ตังค์เรามีพอ ไม่อยากรบกวนประชาชน แต่ถ้าใครอยากจะบริจาค ก็สามารถบริจาคผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ได้เลย โดยตรง"
ทั้งนี้ ทำให้งานที่มีการประชาสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ว่า จะมีการจัดงานรับบริจาคทางช่อง 11 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมและภัยหนาว ต้องยุติโดยกระทันหัน
ด้าน พล.อ.คงศักดิ์ วันทนา รมว.มหาดไทย เปิดเผยว่า ในที่ประชุม ครม.นายกฯไม่ได้ตำหนิการทำงานของกระทรวงมหาดไทยในการแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่ชมเชยอีกต่างหาก ตนยอมรับว่าที่ผ่านมาการดูแลให้ความช่วยเหลือประชาชนอาจจะล่าช้าไปบ้าง เพราะเส้นทางบกถูกตัดขาดที่ จ.สงขลา อีกทั้งเส้นทางอากาศ สนามบินไม่สามารถเปิดให้เครื่องบินลงจอดได้ เพราะน้ำท่วม แต่ตอนนี้มั่นใจแล้วว่าจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง เพราะเรือท้องแบนมีครบทุกพื้นที่แล้ว และวันนี้ตนจะลงพื้นที่ใน อ.หาดใหญ่
**สงขลา-ปัตตานี-ยะลายังวิกฤต
ด้านสถานการณ์น้ำท่วม จ.สงขลายังวิกฤตอยู่ 2 อำเภอ คือ ระโนด และ กระแสสินธุ์ เส้นทางยังถูกตัดขาด เจ้าหน้าที่กองทัพเรือภาคที่ 2 นำเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงเครื่องอุปโภคบริโภคเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 3 ตำบลของ อ.ระโนด ได้แก่ ต.ระโนด ต.ตาเครียะ และ ต.บ้านขาว เนื่องจากทั้ง 12 ตำบล 73 หมู่บ้าน ถูกน้ำท่วมสูง 1 เมตร ส่วน อ.กระแสสินธุ์ แม้ระดับน้ำจะเริ่มลดลง แต่เป็นไปอย่างช้า ๆ โดยระดับน้ำสูงเฉลี่ย 50-80 เซนติเมตร เส้นทางยังไม่สามารถสัญจรได้ ขณะนี้ประชาชนในทั้ง 2 อำเภอ ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคและน้ำดื่มอย่างมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา
ส่วนพื้นที่รอบนอกของเทศบาลนครหาดใหญ่ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว มีบางพื้นที่ยังถูกน้ำท่วม โดยเฉพาะชุมชนริมคลองอู่ตะเภา ซึ่งเทศบาลนครหาดใหญ่ได้เร่งทำความสะอาดเมืองและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฝนหนักอีกครั้ง ส่วนความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ ซึ่งในวันนี้ นายสมพร ใช้บางยาง ผวจ.สงขลา จะเรียกประชุมทุกหน่วยงาน เพื่อสรุปและประเมินสถานการณ์น้ำท่วม
ใน จ.ปัตตานี สภาพน้ำท่วมได้ขยายวงกว้างมากขึ้น และทุกพื้นที่ยังคงมีน้ำท่วมสูง โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมืองปัตตานี เนื่องจากมีน้ำทะเลหนุนและน้ำจาก จ.ยะลา ไหลลงมาสมทบอย่างต่อเนื่อง โดยระดับน้ำเฉลี่ยประมาณ 20-50 เซนติเมตร ทำให้สถานที่ประกอบการค้า สถานที่ราชการ โรงเรียนทั้งจังหวัดต้องปิดชั่วคราว ส่วนการช่วยเหลือชาวบ้านที่ต้องการน้ำ อาหาร และยารักษาโรคมีเป็นจำนวนมากในหลายพื้นที่ ซึ่งนายภาณุ อุทัยรัตน์ ผวจ.ปัตตานี ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยเหลือเป็นการด่วน
ส่วนที่ จ.ยะลา นายบุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผวจ.ยะลา กล่าวว่า ขณะนี้น้ำได้ลดลงมาก แต่บางพื้นที่ยังไม่สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ โดยเฉพาะที่บ้าน กม.26 หมู่ 2 ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา ถนนและคอสะพานขาดบางจุด รถสัญจรไปมาไม่ได้ เจ้าหน้าที่ต้องใช้วิธีการเดินเท้าเข้าไปเป็นระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร จากการสำรวจพบว่าบ้านเรือนราษฎรได้ถูกดินและหินถล่มทับบ้านเรือนได้รับความเสียหายกว่า 50 หลังคาเรือน ประชาชนเกือบ 1,000 คน ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากขาดแคลนอาหารมาเป็นระยะเวลาเกือบ 3 วัน ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปช่วยเหลือแล้ว