ผู้จัดการรายวัน - " มานพ พงศทัต " กูรูอสังหาฯ ชี้ภูเก็ตไม่ควรพึ่งการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว หวั่นเศรษฐ -กิจไม่สมดุล แนะเพิ่มท่าเทียบเรือยอร์ชหลายแห่ง เหมือนกับมอลติคาโล ดึงฝรั่งเงินหนาเข้าไทย สู่โฉมหน้าเมืองที่อยู่อาศัย ระบุอสังหาฯภูเก็ตอนาคตอันใกล้พลิกโฉมโตแซงหน้าท่องเที่ยว ด้านผู้ประกอบการโอดผังเมือทับซ้อนยากแก่การปฏิบัติ อีกทั้งกฎหมายจัดสรรกำหนดให้ขายห้ามปล่อยเช่า ในขณะที่ชาวต่างชาติต้องเช่าซื้อ หวั่นผิดกฎหมาย วอนรัฐเปิดโอกาสให้ต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ แต่กำหนดให้ถือได้คนละไม่เกินกี่แปลงหรือจัดโซนนิ่ง
นายมานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในจังหวัดภูเก็ตมีทิศทางการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น จากการลงทุนของนักลงทุนส่วนกลาง นักลงทุนท้องถิ่น และนักลงทุนต่างชาติที่ขยายการลงทุนในธุรกิจจัดสรร โดยมุ่งเน้นตลาดระดับบนเป็นหลัก เนื่องจากตลาดภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นลูกค้าชาวต่างชาติ รวมถึงนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุน และกลุ่มชาวต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในธุรกิจอสังหาฯในแต่ละพื้นที่ จำเป็นจะต้องศึกษากฎหมายท้องถิ่นให้ชัดเจนก่อนการลงทุน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต โดยเฉพาะกฎหมายสิ่งแวดล้อมของ จังหวัดภูเก็ต ที่มีความเข้มงวดเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ
นอกจากนี้ ตลาดอสังหาฯภูเก็ตในระยะยาว จะมีโฉมหน้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก โดยเป็นผลมาจาก 4 ปัจจัยหลักๆ คือ ประการแรก ให้น้ำหนักไปเรื่องการปรับเปลี่ยนผังเมืองใหม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการปรับเปลี่ยนผังเมืองใหม่ที่ครอบคลุมการจัดระเบียบพื้นที่ทั้งหมด ทั้งในส่วนพื้นที่เกาะและพื้นที่น้ำ ซึ่งครอบคลุมไปถึงเกาะเล็กๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย
ขณะเดียวกัน ยังได้รับอิทธิพลจากนโยบายการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ของภาครัฐ ซึ่งมีแผนผลักดันให้ จังหวัดภูเก็ต เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของจังหวัดทางภาคใต้ ที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดตรัง , สตูล ,กระบี่ และพังงา โดยมีแผนลงทุนพัฒนาโครงการมารีน่า ซิตี้ หรือท่าเทียบเรือยอร์ช และศูนย์การประชุม ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่ลงตัวว่า จะใช้พื้นที่ใดในการก่อสร้างจากจำนวนพื้นที่ที่มีให้เลือก 3 แห่ง ประกอบด้วย พื้นที่ด้านเหนือของภูเก็ต ทั้งนี้เพื่อหนุนโครงการมารีน่า ซิตี้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ย่านหาดไม้ขาว โดยมองว่าใน 1 จังหวัดมีศักยภาพในการลงทุนเปิดมารีน่าได้มากกว่า 1 แห่ง หรืออย่างน้อย 1 แห่งต่อจังหวัด ซึ่งปัจจุบันที่ภูเก็ตมีการลงทุนมารีน่าแล้ว 3 แห่ง โดยพัฒนาภูเก็ตให้มีศักยภาพเช่นเดียวกับประเทศมอนติคาโล ซึ่งมีท่าเทียบเรือยอร์ชเป็นจำนวนมาก เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีรายได้สูงให้เดินทางเข้ามาในไทยมากขึ้น โดยนำรูปแบบการพัฒนาประเทศมอนติคาโลมาเป็นแม่แบบในการยกระดับภูเก็ตให้เป็นพื้นที่ของผู้มีรายได้สูง
" การผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ นอกเหนือจากธุรกิจท่องเที่ยว นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหาย กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแล้ว ยังสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นเกิดการจ้างงาน รวมทั้งเกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมารีน่า เช่น อู่ซ่อมเรือ ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับภูเก็ตนอกเหนือจากรายได้ที่มาจากธุรกิจท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว "นายมานพกล่าว
***เอกชนร้องผังเมืองทับซ้อนยากในการปฏิบัติ***
นายภูมิศักดิ์ หงษ์หยก กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท วิภาษ กรุ๊ป ในฐานะประธานชมรมอสังหาริมทรัพย์ ภูเก็ตและผู้ที่มีแลนด์แบงก์อันดับต้นๆในจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ปัจจุบันภูเก็ตอยู่ระหว่างการจัดทำผังเมืองใหม่ ซึ่ง เดิมใช้ถึง 8 ฉบับ ล่าสุดได้รวมรวบให้เป็นผังเมืองภูเก็ต รวมถึง 39 เกาะโดยรอบ ซึ่งการจัดทำดังกล่าวยังพบอุปสรรค์ในหลายด้าน อาทิ ปัญหาการทับซ้อนกันว่าจะใช้ของหน่วยงานใด ทั้งกรมป่าไม้ เขตจังหวัด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องของผังเฉพาะของเกาะที่ไม่สามารถออกโฉนดได้ ในขณะที่ผังจังหวัดสามารถดำเนินการได้ ซึ่งภูเก็ตเป็นทั้งเกาะและจังหวัด ดังนั้นจะต้องศึกษาในเรื่องข้อกฎหมายอย่างละเอียด
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังประสบกับปัญหาในเรื่องของการขออนุญาตจัดสรร คือ กฎหมายกำหนดให้โครงการที่พัฒนาบ้านจัดสรรจำนวนไม่เกิน 99 แปลง พื้นที่ไม่เกิน 21 ไร่ จำต้องทำการศึกษาสิ่งแวดล้อมขั้นต้น หากเกินกว่า 99 แปลง พื้นที่เกิน 21 ไร่ จะต้องทำการศึกษาสิ่งแวดล้อมใหญ่ ซึ่งจะต้องไปขออนุญาตจากกรุงเทพฯ ทำให้ใช้เวลามากกว่า 1 ปี อีกทั้ง บ้านจัดสรรในภูเก็ตจะมีลูกค้าส่วนหนึ่งเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งไม่สามารถซื้อได้ต้องใช้สัญญาเช่าระยะเวลา 30 ปี และบวกเพิ่มอีก 2 ครั้ง เป็น 90 ปี แต่กฎหมายจัดสรรห้ามเช่า โดยที่ผ่านมาก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาหรือวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมายหรือไม่
"รัฐบาลควรอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถถือกรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาฯได้ หากเกรงว่าจะมีการกว้านซื้อที่ดินนั้น ก็ให้กำหนดว่าสามารถซื้อได้กี่แปลงหรือกี่ไร่ หรือไม่ก็จัดโซนนิ่ง เพราะภูเก็ต เป็นเมืองท่องเที่ยวมีชาวต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยจำนวนมาก และจะนำไปสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพ ถึงแม้จะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นเค้าก็ไม่สามารถเอาที่ดินกลับประเทศได้ ดูอย่างคนไทยหลายรายยังสามารถไปซื้อที่ดินที่เมืองนอกได้เลย" นายภูมิศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ การที่กฎหมายมีความเข้มงวดและทับซ้อนกันดังกล่าว ทำให้นักลงทุนหรือผู้ประกอบการหลีกเลียงกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ในจังหวัดภูเก็ตเป็นของเอกชน 52% ที่เหลือเป็นของหน่วยงานภาครัฐ มีโครงการจัดสรรกว่า 130 โครงการ ในจำนวนดังกล่าวมีใบอนุญาตจัดสรรเพียง 50 โครงการเท่านั้น ส่วนที่เหลือมีทั้งการหลีกเลี่ยงจัดสรร และไม่เข้าข่ายจัดสรร แต่ขออนุญาตก่อสร้าง
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอสังหาฯ ภูเก็ตได้รวมตัวจัดตั้งเป็นชมรมขึ้น เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงเรียงร้องและเสนอแนะไปยังภาครัฐให้ทราบถึงความเดือนร้อนของการดำเนินการ เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะ ซึ่งมีความแตกต่างจากพื้นที่อื่น
นายภูมิศักดิ์ กล่าวว่า โครงการจัดสรรทั้ง 130 โครงการ มูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท เป็นของชาวต่างชาติถึง 50%ซึ่งมีทั้งการร่วมทุนกับคนไทยและลงทุนเอง ส่วนใหญ่จะพัฒนาโครงการระดับบน ราคามากว่า 100 ล้านบาท ส่วนผู้ประกอบการไทยพัฒนาระดับราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท
สำหรับภาพของตลาดอสังหาฯ ภูเก็ตหลังเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2547 นั้น มีการปรับตัวดีขึ้น ต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาภูเก็ตมีธุรกิจท่องเที่ยวเป็นตัวนำเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันอสังหาฯกลับมาเป็นตัวนำเศรษฐกิจ และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาราคาที่ดินได้ปรับขึ้นไปแล้ว 33% โดยเฉลี่ย โดยในปีที่ผ่านมากรมที่ดินสามารถเรียกเก็บภาษีที่ดินได้ 900 ล้านบาท ในปีนี้สูงกว่า 1,000 ล้านบาท โดยเฉพาะการซื้อขายเปลี่ยนมือของชาวต่างชาติ
ทั้งนี้ หลังจากเกิดสึนามิอสังหาฯ มีการชะลอตัวเพียง 3 เดือนเท่านั้น หลังจากนั้นมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจไทม์แชร์ริ่งเริ่มกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง มีโรงแรมขนาดใหญ่อีกประมาณ 3-4 แห่งที่จะเปิดใหม่ รวมถึงธุรกิจมารีน่า
การพัฒนาจะมีการขยายตัวไปด้านทิศตะวันออกของเกาะมากขึ้น จากเดิมที่มีการขยายตัวเฉพาะด้านตะวันตกของเกาะ โดยพื้นที่ที่มีการขยายตัวมาก ได้แก่ อ่าวปอ ปากคลอก ซึ่งจะสามารถมองเห็นเกาะพังงาอย่างชัดเจน โดยราคาที่ดินได้ปรับขึ้นจากไร่ละ 1 ล้านบาท เป็น 4 ล้านบาท อีกทั้งยังมีสนามกอล์ฟเกิดขึ้นด้วย
**แบงก์สกรีนปล่อยกู้โครงการขายได้
ด้านนางลัดดาวัลย์ ธนธนิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า
การพัฒนาอสังหาฯของผู้ประกอบการจากนี้ไป จะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง จะพิจารณาจากความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการโครงการ จากเดิมที่จะเน้นทำเลที่ตั้งโครงการที่มีศักยภาพเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังจะเป็นพิจารณาในเรื่องของทุนจดทะเบียนบริษัท ที่มีความสอดคล้องกับการลงทุนโครงการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
"ยืนยันว่าแบงก์ทุกแห่งจะปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการทุกรายอย่างแน่นอนไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องนี้
แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ประกอบการที่ขอสินเชื่อจะต้องดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้นอย่าใช้วิธีซิกแซก" นางลัดดาวัลย์ กล่าวว่า
ปัจจุบันสัดส่วนในการปล่อยสินเชื่อโครงการของแบงก์จะอยู่ในระดับ 60:40 ถือเป็นโครงการสร้างการปล่อยกู้ที่แบงก์เริ่มให้ความสำคัญเพื่อป้องกันความเสี่ยงหากผู้ประกอบการไม่สามารถพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จได้
นายมานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในจังหวัดภูเก็ตมีทิศทางการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น จากการลงทุนของนักลงทุนส่วนกลาง นักลงทุนท้องถิ่น และนักลงทุนต่างชาติที่ขยายการลงทุนในธุรกิจจัดสรร โดยมุ่งเน้นตลาดระดับบนเป็นหลัก เนื่องจากตลาดภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นลูกค้าชาวต่างชาติ รวมถึงนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุน และกลุ่มชาวต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในธุรกิจอสังหาฯในแต่ละพื้นที่ จำเป็นจะต้องศึกษากฎหมายท้องถิ่นให้ชัดเจนก่อนการลงทุน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต โดยเฉพาะกฎหมายสิ่งแวดล้อมของ จังหวัดภูเก็ต ที่มีความเข้มงวดเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ
นอกจากนี้ ตลาดอสังหาฯภูเก็ตในระยะยาว จะมีโฉมหน้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก โดยเป็นผลมาจาก 4 ปัจจัยหลักๆ คือ ประการแรก ให้น้ำหนักไปเรื่องการปรับเปลี่ยนผังเมืองใหม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการปรับเปลี่ยนผังเมืองใหม่ที่ครอบคลุมการจัดระเบียบพื้นที่ทั้งหมด ทั้งในส่วนพื้นที่เกาะและพื้นที่น้ำ ซึ่งครอบคลุมไปถึงเกาะเล็กๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย
ขณะเดียวกัน ยังได้รับอิทธิพลจากนโยบายการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ของภาครัฐ ซึ่งมีแผนผลักดันให้ จังหวัดภูเก็ต เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของจังหวัดทางภาคใต้ ที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดตรัง , สตูล ,กระบี่ และพังงา โดยมีแผนลงทุนพัฒนาโครงการมารีน่า ซิตี้ หรือท่าเทียบเรือยอร์ช และศูนย์การประชุม ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่ลงตัวว่า จะใช้พื้นที่ใดในการก่อสร้างจากจำนวนพื้นที่ที่มีให้เลือก 3 แห่ง ประกอบด้วย พื้นที่ด้านเหนือของภูเก็ต ทั้งนี้เพื่อหนุนโครงการมารีน่า ซิตี้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ย่านหาดไม้ขาว โดยมองว่าใน 1 จังหวัดมีศักยภาพในการลงทุนเปิดมารีน่าได้มากกว่า 1 แห่ง หรืออย่างน้อย 1 แห่งต่อจังหวัด ซึ่งปัจจุบันที่ภูเก็ตมีการลงทุนมารีน่าแล้ว 3 แห่ง โดยพัฒนาภูเก็ตให้มีศักยภาพเช่นเดียวกับประเทศมอนติคาโล ซึ่งมีท่าเทียบเรือยอร์ชเป็นจำนวนมาก เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีรายได้สูงให้เดินทางเข้ามาในไทยมากขึ้น โดยนำรูปแบบการพัฒนาประเทศมอนติคาโลมาเป็นแม่แบบในการยกระดับภูเก็ตให้เป็นพื้นที่ของผู้มีรายได้สูง
" การผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ นอกเหนือจากธุรกิจท่องเที่ยว นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหาย กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแล้ว ยังสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นเกิดการจ้างงาน รวมทั้งเกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมารีน่า เช่น อู่ซ่อมเรือ ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับภูเก็ตนอกเหนือจากรายได้ที่มาจากธุรกิจท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว "นายมานพกล่าว
***เอกชนร้องผังเมืองทับซ้อนยากในการปฏิบัติ***
นายภูมิศักดิ์ หงษ์หยก กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท วิภาษ กรุ๊ป ในฐานะประธานชมรมอสังหาริมทรัพย์ ภูเก็ตและผู้ที่มีแลนด์แบงก์อันดับต้นๆในจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ปัจจุบันภูเก็ตอยู่ระหว่างการจัดทำผังเมืองใหม่ ซึ่ง เดิมใช้ถึง 8 ฉบับ ล่าสุดได้รวมรวบให้เป็นผังเมืองภูเก็ต รวมถึง 39 เกาะโดยรอบ ซึ่งการจัดทำดังกล่าวยังพบอุปสรรค์ในหลายด้าน อาทิ ปัญหาการทับซ้อนกันว่าจะใช้ของหน่วยงานใด ทั้งกรมป่าไม้ เขตจังหวัด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องของผังเฉพาะของเกาะที่ไม่สามารถออกโฉนดได้ ในขณะที่ผังจังหวัดสามารถดำเนินการได้ ซึ่งภูเก็ตเป็นทั้งเกาะและจังหวัด ดังนั้นจะต้องศึกษาในเรื่องข้อกฎหมายอย่างละเอียด
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังประสบกับปัญหาในเรื่องของการขออนุญาตจัดสรร คือ กฎหมายกำหนดให้โครงการที่พัฒนาบ้านจัดสรรจำนวนไม่เกิน 99 แปลง พื้นที่ไม่เกิน 21 ไร่ จำต้องทำการศึกษาสิ่งแวดล้อมขั้นต้น หากเกินกว่า 99 แปลง พื้นที่เกิน 21 ไร่ จะต้องทำการศึกษาสิ่งแวดล้อมใหญ่ ซึ่งจะต้องไปขออนุญาตจากกรุงเทพฯ ทำให้ใช้เวลามากกว่า 1 ปี อีกทั้ง บ้านจัดสรรในภูเก็ตจะมีลูกค้าส่วนหนึ่งเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งไม่สามารถซื้อได้ต้องใช้สัญญาเช่าระยะเวลา 30 ปี และบวกเพิ่มอีก 2 ครั้ง เป็น 90 ปี แต่กฎหมายจัดสรรห้ามเช่า โดยที่ผ่านมาก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาหรือวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมายหรือไม่
"รัฐบาลควรอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถถือกรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาฯได้ หากเกรงว่าจะมีการกว้านซื้อที่ดินนั้น ก็ให้กำหนดว่าสามารถซื้อได้กี่แปลงหรือกี่ไร่ หรือไม่ก็จัดโซนนิ่ง เพราะภูเก็ต เป็นเมืองท่องเที่ยวมีชาวต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยจำนวนมาก และจะนำไปสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพ ถึงแม้จะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นเค้าก็ไม่สามารถเอาที่ดินกลับประเทศได้ ดูอย่างคนไทยหลายรายยังสามารถไปซื้อที่ดินที่เมืองนอกได้เลย" นายภูมิศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ การที่กฎหมายมีความเข้มงวดและทับซ้อนกันดังกล่าว ทำให้นักลงทุนหรือผู้ประกอบการหลีกเลียงกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ในจังหวัดภูเก็ตเป็นของเอกชน 52% ที่เหลือเป็นของหน่วยงานภาครัฐ มีโครงการจัดสรรกว่า 130 โครงการ ในจำนวนดังกล่าวมีใบอนุญาตจัดสรรเพียง 50 โครงการเท่านั้น ส่วนที่เหลือมีทั้งการหลีกเลี่ยงจัดสรร และไม่เข้าข่ายจัดสรร แต่ขออนุญาตก่อสร้าง
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอสังหาฯ ภูเก็ตได้รวมตัวจัดตั้งเป็นชมรมขึ้น เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงเรียงร้องและเสนอแนะไปยังภาครัฐให้ทราบถึงความเดือนร้อนของการดำเนินการ เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะ ซึ่งมีความแตกต่างจากพื้นที่อื่น
นายภูมิศักดิ์ กล่าวว่า โครงการจัดสรรทั้ง 130 โครงการ มูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท เป็นของชาวต่างชาติถึง 50%ซึ่งมีทั้งการร่วมทุนกับคนไทยและลงทุนเอง ส่วนใหญ่จะพัฒนาโครงการระดับบน ราคามากว่า 100 ล้านบาท ส่วนผู้ประกอบการไทยพัฒนาระดับราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท
สำหรับภาพของตลาดอสังหาฯ ภูเก็ตหลังเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2547 นั้น มีการปรับตัวดีขึ้น ต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาภูเก็ตมีธุรกิจท่องเที่ยวเป็นตัวนำเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันอสังหาฯกลับมาเป็นตัวนำเศรษฐกิจ และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาราคาที่ดินได้ปรับขึ้นไปแล้ว 33% โดยเฉลี่ย โดยในปีที่ผ่านมากรมที่ดินสามารถเรียกเก็บภาษีที่ดินได้ 900 ล้านบาท ในปีนี้สูงกว่า 1,000 ล้านบาท โดยเฉพาะการซื้อขายเปลี่ยนมือของชาวต่างชาติ
ทั้งนี้ หลังจากเกิดสึนามิอสังหาฯ มีการชะลอตัวเพียง 3 เดือนเท่านั้น หลังจากนั้นมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจไทม์แชร์ริ่งเริ่มกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง มีโรงแรมขนาดใหญ่อีกประมาณ 3-4 แห่งที่จะเปิดใหม่ รวมถึงธุรกิจมารีน่า
การพัฒนาจะมีการขยายตัวไปด้านทิศตะวันออกของเกาะมากขึ้น จากเดิมที่มีการขยายตัวเฉพาะด้านตะวันตกของเกาะ โดยพื้นที่ที่มีการขยายตัวมาก ได้แก่ อ่าวปอ ปากคลอก ซึ่งจะสามารถมองเห็นเกาะพังงาอย่างชัดเจน โดยราคาที่ดินได้ปรับขึ้นจากไร่ละ 1 ล้านบาท เป็น 4 ล้านบาท อีกทั้งยังมีสนามกอล์ฟเกิดขึ้นด้วย
**แบงก์สกรีนปล่อยกู้โครงการขายได้
ด้านนางลัดดาวัลย์ ธนธนิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า
การพัฒนาอสังหาฯของผู้ประกอบการจากนี้ไป จะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง จะพิจารณาจากความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการโครงการ จากเดิมที่จะเน้นทำเลที่ตั้งโครงการที่มีศักยภาพเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังจะเป็นพิจารณาในเรื่องของทุนจดทะเบียนบริษัท ที่มีความสอดคล้องกับการลงทุนโครงการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
"ยืนยันว่าแบงก์ทุกแห่งจะปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการทุกรายอย่างแน่นอนไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องนี้
แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ประกอบการที่ขอสินเชื่อจะต้องดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้นอย่าใช้วิธีซิกแซก" นางลัดดาวัลย์ กล่าวว่า
ปัจจุบันสัดส่วนในการปล่อยสินเชื่อโครงการของแบงก์จะอยู่ในระดับ 60:40 ถือเป็นโครงการสร้างการปล่อยกู้ที่แบงก์เริ่มให้ความสำคัญเพื่อป้องกันความเสี่ยงหากผู้ประกอบการไม่สามารถพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จได้