ปัจจุบันได้มีการกล่าวกันมากถึงคำว่า Emotional Quotient (EQ) ซึ่งเป็นทักษะให้การบริหารจัดการตัวเราเองและทักษะในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นๆ นับว่าสำคัญมากต่อความสำเร็จในการบริหารธุรกิจ รวมถึงเป็นเคล็ดลับต่อความสุขและความสำเร็จในชีวิตประจำวัน
คำว่า EQ เป็นคำศัพท์ค่อนข้างใหม่ โดยยังไม่มีคำศัพท์บัญญัติเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ จึงเรียกกันในภาษาไทยอย่างหลากหลาย เช่น เชาวน์อารมณ์ วุฒิภาวะทางอารมณ์ ความสติปัญญาทางอารมณ์ ฉลาดทางอารมณ์ ฯลฯ
ความสนใจใน EQ เริ่มต้นเมื่อปี 2533โดยนายปีเตอร์ ซาโลเวย์ ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล และนายจอห์น เมเยอร์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ ได้ร่วมกันเขียนเอกสารเพื่อบรรยายคุณลักษณะความฉลาดทางอารมณ์อันนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต
เริ่มแรกคำว่า EQ รู้จักกันในหมู่นักจิตวิทยาเท่านั้น สำหรับบุคคลสำคัญที่ทำให้คำนี้กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คือ ดร. แดเนียล โกลแมน ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเป็นนักเขียนชื่อดังของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ เขาได้เขียนหนังสือชื่อ Emotional Intelligence ขึ้นเมื่อปี 2538 โดยพยายามนำเรื่อง EQ ซึ่งเดิมเป็นทฤษฎีในด้านจิตวิทยามาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับประชาชนทั่วไป ทำให้หนังสือเล่มนี้ขายดีแบบเทน้ำเทท่า
ดร.โกลแมน ได้จำแนก EQ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรก ทักษะในด้านบริหารจัดการตนเอง (Self-Management Skills) เป็นต้นว่า ความสามารถที่จะรู้จักตัวเราเองทั้งในส่วนจุดเด่นและจุดด้อย ความสามารถในการไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ความมุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตอย่างซื่อสัตย์สุจริตและมีคุณธรรม ความขยันขันแข็งและมุ่งมั่นในการทำงาน การคิดในแง่บวก (Positive Thinking) ไม่ท้อถอยเมื่อเผชิญกับอุปสรรค
กลุ่มที่สอง ทักษะในด้านบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (Relationship Skills) คนเราไม่สามารถอยู่ได้คนเดียวในโลก โดยต้องเกี่ยวพันกับบุคคลอีกมากมายไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ดังนั้น ทักษะในการบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นจึงนับว่าสำคัญต่อการดำรงชีวิตเช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า ความสามารถที่จะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจบุคคลอื่น ทักษะในการเข้าสังคม ความระมัดระวังในการใช้คำพูด การรู้กาลเทศะว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ ทักษะในการสร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ รวมถึงความสามารถที่จะโน้มน้าวให้บุคคลอื่นคล้อยตามความคิดเห็นของตนเอง ฯลฯ
ทักษะในการบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ได้หมายความว่างานการไม่ทำ ชอบเข้าสังคมอยู่ตลอดเวลา ตรงกันข้าม การเข้าสังคมไม่ได้เป็นเป้าหมายในตัวเอง โดยเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายให้งานประสบผลสำเร็จเท่านั้น ซึ่งเราไม่สามารถทำงานใหญ่ให้ประสบผลสำเร็จได้หากปราศจากความร่วมมือของบุคคลอื่น
ผู้เชี่ยวชาญได้เคยทำการทดสอบในสหรัฐฯ พบว่าโดยปกติแล้วผู้ชายและผู้หญิงมีทักษะในด้านบริหารจัดการตนเองพอๆ กัน แต่สำหรับทักษะในด้านบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแล้ว โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะมีทักษะสูงกว่าผู้ชายค่อนข้างมาก เนื่องจากมีบุคลิกชอบเข้าสังคมมากกว่า ทำให้มีโอกาสฝึกฝนทักษะในด้านนี้มากกว่าผู้ชาย
ความจริงแล้ว EQ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างไร มนุษย์เราเห็นความสำคัญมาตั้งแต่ในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาก็ได้กล่าวถึง EQ เช่นเดียวกัน โดยในส่วน Self-Management Skills นั้น นับว่าใกล้เคียงมากกับฆราวาสธรรม 4 อันเป็นหลักธรรมในการครองชีวิตของฆราวาสเพื่อให้เกิดความดีงาม เกิดความสำเร็จ และสงบสุข ประกอบด้วย
1. สัจจะ คือ ความซื่อตรง จริงใจ พูดจริง ทำจริง
2. ทมะ คือ การฝึกนิสัย ปรับตัว รู้จักควบคุมจิตใจ แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
3. ขันติ คือ ความอดทน ตั้งใจทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่หวั่นไหว มั่นใจในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ คือ ความเสียสละ ยอมสละกิเลส ความสุขสบาย และผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่คับแคบเห็นแต่ประโยชน์ของตนเอง ไม่เอาแต่ใจตัว
ขณะที่ EQ ในส่วนเกี่ยวกับ Relationship Skills นับว่าสอดคล้องกับพรหมวิหาร 4 อันเป็นหลักธรรมเกี่ยวกับความประพฤติที่ประเสริฐ ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นโดยชอบ ประกอบด้วย
1. เมตตา คือ รักใคร่ ปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข มีจิตใจแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์ต่อผู้อื่น
2. กรุณา คือ คิดช่วยเหลือให้คนอื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข
4. อุเบกขา คือ ความว่างและวางใจเป็นกลาง
นักปราชญ์ของชาติตะวันตกก็ได้กล่าวถึง EQ มาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า Publilius Syrus ได้เคยว่า “จะต้องควบคุมอารมณ์ของตนเอง มิฉะนั้นอารมณ์จะควบคุมตัวท่าน”
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า EQ สำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนกับ Intelligence Quotient (IQ) หรือความฉลาดทางสติปัญญา บางคนถึงกับเห็นว่า EQ สำคัญกว่า IQ ด้วยซ้ำ โดยเรามีคำพังเพยเกี่ยวกับบุคคลที่มี IQ สูง แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิตว่า “ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด”
กรณีเป็นคนฉลาดหลักแหลมนั้น หากไม่มี EQ เสียแล้ว ก็จะประสบปัญหามากมาย เป็นต้นว่า ขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา ไม่กินเส้นกับคนอื่น เกียจคร้านในการทำงาน มีพฤติกรรมต่อต้านองค์กร มีทัศนคติในแง่ลบอยู่เสมอว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ชอบนินทาว่าร้ายคนอื่น ชอบปล่อยข่าวลือไร้สาระ ฯลฯ ในที่สุดก็จะกลายเป็นตัวสร้างปัญหาขององค์กรและจะต้องถูกเชิญออกไปทำงานที่บริษัทอื่น
ยิ่งไปกว่านั้น ยิ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปเท่าใด ความสำคัญของ EQ เมื่อเปรียบเทียบกับ IQ ยิ่งมากขึ้นไปเท่าใด ดังนั้น จึงมีการกล่าวกันว่า IQ ทำให้คุณได้รับการจ้างงาน ส่วน EQ ทำให้คุณได้เลื่อนตำแหน่ง โดยในอดีตที่ผ่านมาได้เคยมีการวิจัยในสหรัฐฯ ว่าทำไมนักบริหารจำนวนมากซึ่งเดิมเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ได้รับการเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไประดับหนึ่งแล้ว กลับล้มเหลวในการบริหารงาน
การศึกษาพบว่าปัญหาสำคัญที่เปลี่ยนจากดาวรุ่งเป็นดาวร่วงนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากจุดบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถในเชิงเทคนิคแต่อย่างใด แต่เนื่องมาจากขาด EQ ซึ่งสำคัญมากสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยขาดมนุษยสัมพันธ์ ไม่อาจควบคุมความคิด อารมณ์ การแสดงออกของตนเองอย่างเหมาะสม ทำให้มีบุคลิกเป็นเผด็จการ เอาแต่ใจตัวเอง บ้าอำนาจ หยิ่งจองหอง มองเห็นบุคคลอื่นโง่ไปหมด ทำให้คนอื่นไม่อยากเข้าใกล้
ขณะเดียวกันเคล็ดลับของความสำเร็จทางธุรกิจประการหนึ่ง คือ การว่าจ้างบุคคลที่มี EQ สูงมาเป็นพนักงาน โดยนายพลโคลิน เพาเวล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ มักจะกล่าวเสมอๆ ว่าทัศนคติเชิงบวกของบุคลากรมีความสำคัญมากกว่าความรู้ ทั้งนี้ หากบริษัทว่าจ้างบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวกมาเป็นพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานที่ทำหน้าที่ติดต่อลูกค้าแล้ว คุณภาพของบริการย่อมเพิ่มขึ้น สร้างความประทับใจต่อลูกค้า ทำให้ครองใจลูกค้า และเพิ่มผลกำไรให้กับบริษัทในที่สุด
ปัจจุบันสถาบันการศึกษาก็หันมาสนใจในด้านพัฒนา EQ ให้กับนักศึกษา จากเดิมที่เป็นการเรียนแบบท่องจำ ซึ่งมุ่งเน้นเพิ่ม IQ แต่เพียงอย่างเดียว ก็ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ให้นักศึกษามีโอกาสพูดและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กันเองเพื่อฝึกฝน EQ พร้อมกันไปด้วย
เราหันมาวิเคราะห์ผู้นำทางการเมืองดูบ้าง ศจ. Fred Greenstein แห่งมหาวิทยาลัยพรินตันของสหรัฐฯ ได้วิเคราะห์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในอดีต 11 คน ตั้งแต่ประธานาธิบดีรุสเวลท์ถึงคลินตัน พบว่าโดยภาพรวมแล้วสอบผ่านได้คะแนน EQ ดีเยี่ยมเพียง 3 คนเท่านั้น คือ ไอเซนฮาวร์ ฟอร์ด และบุช (ผู้พ่อ)
การศึกษาพบว่าประธานาธิบดีนิกสันแม้มี IQ สูง มีความเฉลียวฉลาดเป็นอย่างมากในด้านยุทธศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ แต่กลับล้มเหลวต้องลาออกจากตำแหน่งจากกรณีอื้อฉาวคดีวอเตอร์เกตเนื่องจากมีจุดอ่อนสำคัญ คือ มี EQ ค่อนข้างต่ำ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ โดยมักโกรธ วิตกกังวล และหวาดระแวงบุคคลรอบข้าง
ส่วนเคนเนดี้และคลินตันนั้น แม้ EQ นับว่าดีมากในแง่วาทศิลป์ในการโน้มน้าวความคิดเห็นของคนอื่นและความมีเสน่ห์ แต่มีจุดอ่อนด้าน EQ เช่นเดียวกัน คือ เป็นคนเจ้าชู้ ไม่สามารถหักห้ามจิตใจตนเองได้ จึงเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้น ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ทางลบให้ตนเองเป็นอย่างมาก
ขณะที่ไอเซนฮาวร์มีบุคลิกความเป็นผู้นำโดดเด่นมาก สามารถบังคับบัญชาให้บุคลากรทำงานเป็นทีมเป็นอย่างดี แตกต่างจากประธานาธิบดีคนอื่นๆ ซึ่งลูกน้องมักขัดแย้งกินเกาเหลากันเองไม่มากก็น้อย ส่วนประธานาธิบดีบุช (ผู้พ่อ) ก็มี EQ ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน โดยมีจุดเด่น คือ เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อบุคคลอื่น สุภาพเรียบร้อย และสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี
สุดท้ายนี้ หากเราทดสอบพบว่ามีค่า EQ ต่ำ ก็อย่าเสียกำลังใจ เพราะ EQ เป็นสิ่งที่เรียนรู้และพัฒนาขึ้นไม่ยากนัก สามารถพัฒนาได้จนถึงวัยสูงอายุ โดยเราจะสังเกตว่าบางคนเมื่ออ่อนวัยจะมี EQ ต่ำ มีจิตใจหุนหันพลันแล่น พออายุมากขึ้น กลับมี EQ หรือวุฒิภาวะเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ นับว่าแตกต่างจากกรณี IQ ซึ่งมีโอกาสพัฒนาให้ดีขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นภายหลังเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่
คำว่า EQ เป็นคำศัพท์ค่อนข้างใหม่ โดยยังไม่มีคำศัพท์บัญญัติเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ จึงเรียกกันในภาษาไทยอย่างหลากหลาย เช่น เชาวน์อารมณ์ วุฒิภาวะทางอารมณ์ ความสติปัญญาทางอารมณ์ ฉลาดทางอารมณ์ ฯลฯ
ความสนใจใน EQ เริ่มต้นเมื่อปี 2533โดยนายปีเตอร์ ซาโลเวย์ ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล และนายจอห์น เมเยอร์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ ได้ร่วมกันเขียนเอกสารเพื่อบรรยายคุณลักษณะความฉลาดทางอารมณ์อันนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต
เริ่มแรกคำว่า EQ รู้จักกันในหมู่นักจิตวิทยาเท่านั้น สำหรับบุคคลสำคัญที่ทำให้คำนี้กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คือ ดร. แดเนียล โกลแมน ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเป็นนักเขียนชื่อดังของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ เขาได้เขียนหนังสือชื่อ Emotional Intelligence ขึ้นเมื่อปี 2538 โดยพยายามนำเรื่อง EQ ซึ่งเดิมเป็นทฤษฎีในด้านจิตวิทยามาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับประชาชนทั่วไป ทำให้หนังสือเล่มนี้ขายดีแบบเทน้ำเทท่า
ดร.โกลแมน ได้จำแนก EQ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรก ทักษะในด้านบริหารจัดการตนเอง (Self-Management Skills) เป็นต้นว่า ความสามารถที่จะรู้จักตัวเราเองทั้งในส่วนจุดเด่นและจุดด้อย ความสามารถในการไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ความมุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตอย่างซื่อสัตย์สุจริตและมีคุณธรรม ความขยันขันแข็งและมุ่งมั่นในการทำงาน การคิดในแง่บวก (Positive Thinking) ไม่ท้อถอยเมื่อเผชิญกับอุปสรรค
กลุ่มที่สอง ทักษะในด้านบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (Relationship Skills) คนเราไม่สามารถอยู่ได้คนเดียวในโลก โดยต้องเกี่ยวพันกับบุคคลอีกมากมายไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ดังนั้น ทักษะในการบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นจึงนับว่าสำคัญต่อการดำรงชีวิตเช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า ความสามารถที่จะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจบุคคลอื่น ทักษะในการเข้าสังคม ความระมัดระวังในการใช้คำพูด การรู้กาลเทศะว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ ทักษะในการสร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ รวมถึงความสามารถที่จะโน้มน้าวให้บุคคลอื่นคล้อยตามความคิดเห็นของตนเอง ฯลฯ
ทักษะในการบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ได้หมายความว่างานการไม่ทำ ชอบเข้าสังคมอยู่ตลอดเวลา ตรงกันข้าม การเข้าสังคมไม่ได้เป็นเป้าหมายในตัวเอง โดยเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายให้งานประสบผลสำเร็จเท่านั้น ซึ่งเราไม่สามารถทำงานใหญ่ให้ประสบผลสำเร็จได้หากปราศจากความร่วมมือของบุคคลอื่น
ผู้เชี่ยวชาญได้เคยทำการทดสอบในสหรัฐฯ พบว่าโดยปกติแล้วผู้ชายและผู้หญิงมีทักษะในด้านบริหารจัดการตนเองพอๆ กัน แต่สำหรับทักษะในด้านบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแล้ว โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะมีทักษะสูงกว่าผู้ชายค่อนข้างมาก เนื่องจากมีบุคลิกชอบเข้าสังคมมากกว่า ทำให้มีโอกาสฝึกฝนทักษะในด้านนี้มากกว่าผู้ชาย
ความจริงแล้ว EQ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างไร มนุษย์เราเห็นความสำคัญมาตั้งแต่ในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาก็ได้กล่าวถึง EQ เช่นเดียวกัน โดยในส่วน Self-Management Skills นั้น นับว่าใกล้เคียงมากกับฆราวาสธรรม 4 อันเป็นหลักธรรมในการครองชีวิตของฆราวาสเพื่อให้เกิดความดีงาม เกิดความสำเร็จ และสงบสุข ประกอบด้วย
1. สัจจะ คือ ความซื่อตรง จริงใจ พูดจริง ทำจริง
2. ทมะ คือ การฝึกนิสัย ปรับตัว รู้จักควบคุมจิตใจ แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
3. ขันติ คือ ความอดทน ตั้งใจทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่หวั่นไหว มั่นใจในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ คือ ความเสียสละ ยอมสละกิเลส ความสุขสบาย และผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่คับแคบเห็นแต่ประโยชน์ของตนเอง ไม่เอาแต่ใจตัว
ขณะที่ EQ ในส่วนเกี่ยวกับ Relationship Skills นับว่าสอดคล้องกับพรหมวิหาร 4 อันเป็นหลักธรรมเกี่ยวกับความประพฤติที่ประเสริฐ ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นโดยชอบ ประกอบด้วย
1. เมตตา คือ รักใคร่ ปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข มีจิตใจแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์ต่อผู้อื่น
2. กรุณา คือ คิดช่วยเหลือให้คนอื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข
4. อุเบกขา คือ ความว่างและวางใจเป็นกลาง
นักปราชญ์ของชาติตะวันตกก็ได้กล่าวถึง EQ มาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า Publilius Syrus ได้เคยว่า “จะต้องควบคุมอารมณ์ของตนเอง มิฉะนั้นอารมณ์จะควบคุมตัวท่าน”
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า EQ สำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนกับ Intelligence Quotient (IQ) หรือความฉลาดทางสติปัญญา บางคนถึงกับเห็นว่า EQ สำคัญกว่า IQ ด้วยซ้ำ โดยเรามีคำพังเพยเกี่ยวกับบุคคลที่มี IQ สูง แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิตว่า “ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด”
กรณีเป็นคนฉลาดหลักแหลมนั้น หากไม่มี EQ เสียแล้ว ก็จะประสบปัญหามากมาย เป็นต้นว่า ขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา ไม่กินเส้นกับคนอื่น เกียจคร้านในการทำงาน มีพฤติกรรมต่อต้านองค์กร มีทัศนคติในแง่ลบอยู่เสมอว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ชอบนินทาว่าร้ายคนอื่น ชอบปล่อยข่าวลือไร้สาระ ฯลฯ ในที่สุดก็จะกลายเป็นตัวสร้างปัญหาขององค์กรและจะต้องถูกเชิญออกไปทำงานที่บริษัทอื่น
ยิ่งไปกว่านั้น ยิ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปเท่าใด ความสำคัญของ EQ เมื่อเปรียบเทียบกับ IQ ยิ่งมากขึ้นไปเท่าใด ดังนั้น จึงมีการกล่าวกันว่า IQ ทำให้คุณได้รับการจ้างงาน ส่วน EQ ทำให้คุณได้เลื่อนตำแหน่ง โดยในอดีตที่ผ่านมาได้เคยมีการวิจัยในสหรัฐฯ ว่าทำไมนักบริหารจำนวนมากซึ่งเดิมเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ได้รับการเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไประดับหนึ่งแล้ว กลับล้มเหลวในการบริหารงาน
การศึกษาพบว่าปัญหาสำคัญที่เปลี่ยนจากดาวรุ่งเป็นดาวร่วงนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากจุดบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถในเชิงเทคนิคแต่อย่างใด แต่เนื่องมาจากขาด EQ ซึ่งสำคัญมากสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยขาดมนุษยสัมพันธ์ ไม่อาจควบคุมความคิด อารมณ์ การแสดงออกของตนเองอย่างเหมาะสม ทำให้มีบุคลิกเป็นเผด็จการ เอาแต่ใจตัวเอง บ้าอำนาจ หยิ่งจองหอง มองเห็นบุคคลอื่นโง่ไปหมด ทำให้คนอื่นไม่อยากเข้าใกล้
ขณะเดียวกันเคล็ดลับของความสำเร็จทางธุรกิจประการหนึ่ง คือ การว่าจ้างบุคคลที่มี EQ สูงมาเป็นพนักงาน โดยนายพลโคลิน เพาเวล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ มักจะกล่าวเสมอๆ ว่าทัศนคติเชิงบวกของบุคลากรมีความสำคัญมากกว่าความรู้ ทั้งนี้ หากบริษัทว่าจ้างบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวกมาเป็นพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานที่ทำหน้าที่ติดต่อลูกค้าแล้ว คุณภาพของบริการย่อมเพิ่มขึ้น สร้างความประทับใจต่อลูกค้า ทำให้ครองใจลูกค้า และเพิ่มผลกำไรให้กับบริษัทในที่สุด
ปัจจุบันสถาบันการศึกษาก็หันมาสนใจในด้านพัฒนา EQ ให้กับนักศึกษา จากเดิมที่เป็นการเรียนแบบท่องจำ ซึ่งมุ่งเน้นเพิ่ม IQ แต่เพียงอย่างเดียว ก็ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ให้นักศึกษามีโอกาสพูดและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กันเองเพื่อฝึกฝน EQ พร้อมกันไปด้วย
เราหันมาวิเคราะห์ผู้นำทางการเมืองดูบ้าง ศจ. Fred Greenstein แห่งมหาวิทยาลัยพรินตันของสหรัฐฯ ได้วิเคราะห์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในอดีต 11 คน ตั้งแต่ประธานาธิบดีรุสเวลท์ถึงคลินตัน พบว่าโดยภาพรวมแล้วสอบผ่านได้คะแนน EQ ดีเยี่ยมเพียง 3 คนเท่านั้น คือ ไอเซนฮาวร์ ฟอร์ด และบุช (ผู้พ่อ)
การศึกษาพบว่าประธานาธิบดีนิกสันแม้มี IQ สูง มีความเฉลียวฉลาดเป็นอย่างมากในด้านยุทธศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ แต่กลับล้มเหลวต้องลาออกจากตำแหน่งจากกรณีอื้อฉาวคดีวอเตอร์เกตเนื่องจากมีจุดอ่อนสำคัญ คือ มี EQ ค่อนข้างต่ำ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ โดยมักโกรธ วิตกกังวล และหวาดระแวงบุคคลรอบข้าง
ส่วนเคนเนดี้และคลินตันนั้น แม้ EQ นับว่าดีมากในแง่วาทศิลป์ในการโน้มน้าวความคิดเห็นของคนอื่นและความมีเสน่ห์ แต่มีจุดอ่อนด้าน EQ เช่นเดียวกัน คือ เป็นคนเจ้าชู้ ไม่สามารถหักห้ามจิตใจตนเองได้ จึงเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้น ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ทางลบให้ตนเองเป็นอย่างมาก
ขณะที่ไอเซนฮาวร์มีบุคลิกความเป็นผู้นำโดดเด่นมาก สามารถบังคับบัญชาให้บุคลากรทำงานเป็นทีมเป็นอย่างดี แตกต่างจากประธานาธิบดีคนอื่นๆ ซึ่งลูกน้องมักขัดแย้งกินเกาเหลากันเองไม่มากก็น้อย ส่วนประธานาธิบดีบุช (ผู้พ่อ) ก็มี EQ ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน โดยมีจุดเด่น คือ เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อบุคคลอื่น สุภาพเรียบร้อย และสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี
สุดท้ายนี้ หากเราทดสอบพบว่ามีค่า EQ ต่ำ ก็อย่าเสียกำลังใจ เพราะ EQ เป็นสิ่งที่เรียนรู้และพัฒนาขึ้นไม่ยากนัก สามารถพัฒนาได้จนถึงวัยสูงอายุ โดยเราจะสังเกตว่าบางคนเมื่ออ่อนวัยจะมี EQ ต่ำ มีจิตใจหุนหันพลันแล่น พออายุมากขึ้น กลับมี EQ หรือวุฒิภาวะเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ นับว่าแตกต่างจากกรณี IQ ซึ่งมีโอกาสพัฒนาให้ดีขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นภายหลังเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่