สปท.ผุดไอเดียแปลงกระดาษเป็นทุน รุกจีบแบงก์ให้ปล่อยกู้ ใบอนุญาต-หนังสือรับรอง หมอนวด พ่อครัว ไกด์ และอาชีวะ พร้อมเร่งหาช่องกฎหมายการันตีแบงก์ นำร่องเกษตรอินทรีย์ ด้านกรุงไทยคุยแปลงสินทรัพย์ทะลัก 4.4 หมื่นล้าน
นายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (สปท.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง สปท.มีแนวคิดที่จะเร่งผลักดันการแปลงทรัพย์สินเป็นทุนในสินทรัพย์ประเภทใบอนุญาต/หนังสือรับรองมาแปลงเป็นทุนอาทิ ซึ่งกำลัง เตรียมหารือ กับหน่วยงานต่างๆ ในการผลักดันใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองผ่านการอบวิชาชีพพ่อครัว มัคคุเทศก์ และ นวดแผนโบราณ ให้เป็นทรัพย์สินตามกฎหมายที่นำมาเป็นหลักค้ำประกันกู้เงินจากธนาคารเพื่อขยายกิจการ ตามนโยบายแปลงสินทรัพย์ได้ รวมทั้งสามารถเพิกถอนใบอนุญาตได้ในกรณีที่กระทำผิด คาดว่าวันที่ 9 ธ.ค.จะมีข้อสรุปที่ชัดเจน
"เดิมมีสินทรัพย์ 5 ประเภท ที่สามารถแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เช่น ที่ดิน สิทธิการเช่าสาธารณะ ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ต่อไปจะเพิ่ม ใบอบรมวิชาชีพ และองค์ความรู้ หากผลักดันให้มีผลทางกฎหมาย เช่น สามารถเพิกถอนได้ก็จะทำให้แบงก์กล้าปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยส่วนของ มัคคุเทศก์,นวดแผนโบราณ และพ่อครัว ก็จะสอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มจากได้จากนักท่องเที่ยว,ส่งออกธุรกิจสปา และ ครัวไทยสู่โลก"
นอกจากนี้ สปท.และสถาบันรับรองต่างๆ มีแผนจะร่วมกันตั้งคณะกรรมการมาดูแลศูนย์ บ่มเพาะอาชีวะศึกษาแห่งชาติ เพื่อรับรองใบวิชาชีพของนักเรียนอาชีวะให้สู่มาตรฐานมากขึ้น และสามารถนำเข้าโครงการแปลงทุนทรัพย์เป็นทุน โดยวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาให้นักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ และที่สำคัญยังสามารถลบภาพเดิมๆที่ไม่ดี เช่น การยกพวกตีกัน เป็นต้น
ทั้งกันนี้ ในวันที่ 7 ธ.ค.48 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ จะร่วมลงนามกับธนาคารกรุงไทย ในการนำร่องโครงการเกษตรอินทรีย์แปลงเป็นทุน และในวันที่ 8-9 ธ.ค.48 สปท.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารือด้านกฎหมายในการรับรองหรือเพิกถอนอย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม การปล่อยสินเชื่อนั้นสถาบันการเงินต้องมั่นใจว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความสามารถในการชำระเงินได้ลดความเสี่ยงในการเกิดเอ็นพีแอลลง ฉะนั้นหลักการและเหตุผลของโครงการจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
"ต้องยอมรับว่าแบงก์รอบคอบ และมีการป้องกันความเสี่ยงสูงจึงมีการปล่อยสินเชื่อในส่วนของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเป็นรูปธรรมมากกว่าซึ่งทาง สปท.ก็พยามยามติดตามผู้เข้าโครงการให้คำปรึกษาโครงการมาตลอดเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากแบงก์มากขึ้น"นายนที กล่าว
ส่วนผลการเนินการในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนว่า ณ วันที่ 1 ม.ค.47-30 ก.ย.48 มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์ทุนในสินทรัพย์ประเภทที่ดินสิทธิการเช่า การใช้ที่สาธารณะ ทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องจักร ทั้งหมดจำนวน 205,471 คน ซึ่งสปท.ได้อนุมัติสินเชี่อไปแล้วจำนวน 198,166 คน วงเงินกว่า 44,655 ล้านบาท
โดยเบื้องต้นแบ่งเป็นสินเชื่อประเภทเครื่องจักรวงเงิน 29,206 ล้านบาท ประเภทที่สาธารณะวงเงิน 14,412 ล้านบาท ประเภทสิทธิการเช่า 868 ล้านบาท ประเภทที่ดินวงเงิน 130 ล้านบาท และประเภทสินทรัพย์ทางปัญญา วงเงิน 39.37ล้านบาท ทั้งนี้ในจำนวนดังกล่าว แบ่งเป็นวงเงินจดจำนองประมาณ 1,299 ล้านบาท
สำหรับการอนุมัติปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)อนุมัติสินเชื่อไปแล้วจำนวน 1.8 แสนราย วงเงินประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ 300 กว่ารายวงเงิน 8.4พันล้านบาท ธนาคารออมสิน 4 พันราย วงเงิน 380 ล้านบาท และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ธพว.)ซึ่งส่วนใหญ่จะให้สินเชื่อในสินทรัพย์ประเภทที่ดินมากว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น
นายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (สปท.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง สปท.มีแนวคิดที่จะเร่งผลักดันการแปลงทรัพย์สินเป็นทุนในสินทรัพย์ประเภทใบอนุญาต/หนังสือรับรองมาแปลงเป็นทุนอาทิ ซึ่งกำลัง เตรียมหารือ กับหน่วยงานต่างๆ ในการผลักดันใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองผ่านการอบวิชาชีพพ่อครัว มัคคุเทศก์ และ นวดแผนโบราณ ให้เป็นทรัพย์สินตามกฎหมายที่นำมาเป็นหลักค้ำประกันกู้เงินจากธนาคารเพื่อขยายกิจการ ตามนโยบายแปลงสินทรัพย์ได้ รวมทั้งสามารถเพิกถอนใบอนุญาตได้ในกรณีที่กระทำผิด คาดว่าวันที่ 9 ธ.ค.จะมีข้อสรุปที่ชัดเจน
"เดิมมีสินทรัพย์ 5 ประเภท ที่สามารถแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เช่น ที่ดิน สิทธิการเช่าสาธารณะ ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ต่อไปจะเพิ่ม ใบอบรมวิชาชีพ และองค์ความรู้ หากผลักดันให้มีผลทางกฎหมาย เช่น สามารถเพิกถอนได้ก็จะทำให้แบงก์กล้าปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยส่วนของ มัคคุเทศก์,นวดแผนโบราณ และพ่อครัว ก็จะสอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มจากได้จากนักท่องเที่ยว,ส่งออกธุรกิจสปา และ ครัวไทยสู่โลก"
นอกจากนี้ สปท.และสถาบันรับรองต่างๆ มีแผนจะร่วมกันตั้งคณะกรรมการมาดูแลศูนย์ บ่มเพาะอาชีวะศึกษาแห่งชาติ เพื่อรับรองใบวิชาชีพของนักเรียนอาชีวะให้สู่มาตรฐานมากขึ้น และสามารถนำเข้าโครงการแปลงทุนทรัพย์เป็นทุน โดยวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาให้นักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ และที่สำคัญยังสามารถลบภาพเดิมๆที่ไม่ดี เช่น การยกพวกตีกัน เป็นต้น
ทั้งกันนี้ ในวันที่ 7 ธ.ค.48 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ จะร่วมลงนามกับธนาคารกรุงไทย ในการนำร่องโครงการเกษตรอินทรีย์แปลงเป็นทุน และในวันที่ 8-9 ธ.ค.48 สปท.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารือด้านกฎหมายในการรับรองหรือเพิกถอนอย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม การปล่อยสินเชื่อนั้นสถาบันการเงินต้องมั่นใจว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความสามารถในการชำระเงินได้ลดความเสี่ยงในการเกิดเอ็นพีแอลลง ฉะนั้นหลักการและเหตุผลของโครงการจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
"ต้องยอมรับว่าแบงก์รอบคอบ และมีการป้องกันความเสี่ยงสูงจึงมีการปล่อยสินเชื่อในส่วนของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเป็นรูปธรรมมากกว่าซึ่งทาง สปท.ก็พยามยามติดตามผู้เข้าโครงการให้คำปรึกษาโครงการมาตลอดเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากแบงก์มากขึ้น"นายนที กล่าว
ส่วนผลการเนินการในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนว่า ณ วันที่ 1 ม.ค.47-30 ก.ย.48 มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์ทุนในสินทรัพย์ประเภทที่ดินสิทธิการเช่า การใช้ที่สาธารณะ ทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องจักร ทั้งหมดจำนวน 205,471 คน ซึ่งสปท.ได้อนุมัติสินเชี่อไปแล้วจำนวน 198,166 คน วงเงินกว่า 44,655 ล้านบาท
โดยเบื้องต้นแบ่งเป็นสินเชื่อประเภทเครื่องจักรวงเงิน 29,206 ล้านบาท ประเภทที่สาธารณะวงเงิน 14,412 ล้านบาท ประเภทสิทธิการเช่า 868 ล้านบาท ประเภทที่ดินวงเงิน 130 ล้านบาท และประเภทสินทรัพย์ทางปัญญา วงเงิน 39.37ล้านบาท ทั้งนี้ในจำนวนดังกล่าว แบ่งเป็นวงเงินจดจำนองประมาณ 1,299 ล้านบาท
สำหรับการอนุมัติปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)อนุมัติสินเชื่อไปแล้วจำนวน 1.8 แสนราย วงเงินประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ 300 กว่ารายวงเงิน 8.4พันล้านบาท ธนาคารออมสิน 4 พันราย วงเงิน 380 ล้านบาท และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ธพว.)ซึ่งส่วนใหญ่จะให้สินเชื่อในสินทรัพย์ประเภทที่ดินมากว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น