ปัจจุบันปัญหาสำคัญของหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ไม่ใช่ปัญหาราคาน้ำมัน หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เป็นปัญหาว่าประชากรมีแนวโน้มจะลดลงอย่างรวดเร็วในอนาคต โดยกำลังจะกลายเป็นประเทศคนแก่ เต็มไปด้วยผู้สูงอายุ ขณะที่มีประชากรวัยเด็กลดลงมาก แนวโน้มเช่นนี้จะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อประมาณ 200 ปี ที่ผ่านมา คือ ในปี 2341 นายโทมาส มัลธัส ได้ตีพิมพ์ตำราเศรษฐศาสตร์ โดยกล่าวว่าจำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นตามอนุกรมเรขาคณิต ขณะที่ปัจจัยในการดำรงชีวิตจะเพิ่มขึ้นตามอนุกรมเลขคณิต ดังนั้น ในอนาคตโลกจะไม่มีอาหารเพียงพอในการเลี้ยงประชากร
ปัจจุบันเวลาผ่านไปประมาณ 200 ปี แต่คำพยากรณ์ของนายมัลธัสกลับตรงข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ความอดอยากไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญของโลก กลับมีปัญหาผลิตอาหารเกินความต้องการจนรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องพยายามพยุงราคาพืชผลทางการเกษตร สำหรับในอนาคตจะมีพืช GMO ยิ่งจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเกินความต้องการมากขึ้นไปอีก
ปัจจุบันประเด็นด้านกลับไม่ใช่ปัญหาประชากรเพิ่มขึ้น แต่เป็นปัญหาประชากรลดน้อยลง ในทางทฤษฎีจะมีคำศัพท์ Replacement Fertility มีความหมายว่าเป็นอัตราการเกิดหรือเจริญพันธุ์ที่สามารถทดแทนจำนวนประชากรที่มีอยู่ได้ เราสามารถคิดง่ายๆ ได้ว่าหากมีคน 2 คน คือ ผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉลี่ยแล้วสตรีจะต้องมีบุตร 2.1 คน (จำนวน 0.1 คน เป็นการเผื่อการเสียชีวิตของเด็กและทารก) เพื่อให้จำนวนประชากรสามารถทดแทนประชากร 2 คนเท่าเดิม หากมีลูกมากกว่านี้แล้ว ประชากรจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีลูกน้อยกว่านี้ จำนวนประชากรจะลดลง
ปัจจุบันมีประเทศมากถึง 83 ประเทศ ซึ่งมีประชากรคิดเป็นร้อยละ 44 ของโลก มีอัตราการเกิดต่ำกว่าอัตราเจริญพันธุ์ทดแทน 2.1 คน โดยไทยนับเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มนี้ด้วย เนื่องจากประชากรจำนวนมากเป็นโสด แม้ประชากรบางส่วนจะแต่งงาน แต่ก็มีบุตรคนเดียวหรือไม่อย่างนั้นก็ถือคติ “DINK” ซึ่งย่อมาจาก “Double Income, No Kids” ซึ่งมีความหมายว่าสามีและภรรยาทำงานทั้ง 2 คน ไม่มีบุตร
ดร.เตียง ผาดไธสง แห่งภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เคยทำการวิจัยเรื่อง “การล่มสลายของสังคมไทยเนื่องมาจากการวางแผนครอบครัว” สรุปว่าหากเรายังคงดำเนินนโยบายคุมกำเนิดต่อไป อัตราเจริญพันธุ์ของประเทศไทยจะลดลงเหลือเพียง 1.41 คน ซึ่งเป็นระดับเดียวกับสิงคโปร์และญี่ปุ่น จะส่งผลให้ประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว โดยพยากรณ์ว่าในปี 2643 หรือ 99 ปีข้างหน้า ประชากรของประเทศไทยจะลดลงเหลือเพียงแค่ 21 ล้านคน เท่านั้น
ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน" อาจารย์ประจำวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงกล่าวว่า ช่วงปี 2543-2552 เป็น 6 ปีทองสุดท้ายของโอกาสการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากนับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป สัดส่วนของประชากรวัยแรงงานจะลดลงเรื่อยๆ
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่ของประชากรของไทยในอนาคตจะเป็นคนแก่ โดยมีประชากรในวัยทำงานน้อยมาก ซึ่งปัจจุบันเราเริ่มจะเห็นแนวโน้มนี้แล้ว กล่าวคือ ในปี 2513 อายุเฉลี่ยของคนไทย คือ 19 ปี อีก 20 ปีต่อมา คือ ปี 2533 อายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 24.6 ปี ต่อมาอีก 10 ปี คือ ปี 2543 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 29.7 ปี ในอนาคตประชากรไทยอาจจะมีอายุเฉลี่ยในระดับสูงถึง 40 ปี เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นที่มีอายุเฉลี่ย 41 ปี หรือเยอรมนี 40 ปี
ในอดีตที่ผ่านมานักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น จอห์นเมนาร์ดเคนส์ ได้เคยวิเคราะห์กรณีประชากรของประเทศใดประเทศหนึ่งมีจำนวนลดลงแล้ว จะกระทบต่ออุปสงค์รวมของประเทศ เศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราลดลง หรือกรณีประชากรลดลงมากๆ แล้ว เศรษฐกิจก็จะหดตัวลง สำหรับนายกรีนสแปนก็ได้เคยกล่าวปราศรัยขณะดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ เช่นเดียวกันโดยกล่าวเตือนว่าหากโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป โดยมีสัดส่วนเป็นประชากรสูงอายุจำนวนมาก จะต้องเตรียมตัวเตรียมใจเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ปัจจุบันหลายประเทศจึงเปลี่ยนจากนโยบายคุมกำเนิดมาเป็นนโยบายเพิ่มประชากร เป็นต้นว่า รัฐบาลสิงคโปร์ได้เริ่มให้บริการ Matchmaking หรือเป็นพ่อสื่อแม่ชักให้คนสิงคโปร์แต่งงานกันตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม บริการ Matchmaking ดังกล่าวข้างต้นไม่ประสบผลสำเร็จนัก ดังนั้น ในปี 2543 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศนโยบายเพิ่มเติม โดยกำหนดว่าหากครอบครัวใดมีบุตรคนที่ 2 รัฐบาลจะจ่ายเงินอุดหนุนและสมทบให้ปีละ 12,500 บาท และหากมีบุตรคนที่ 3 รัฐบาลจะเพิ่มโบนัสเป็นปีละ 37,500 บาท โดยจะอุดหนุนจนเด็กอายุครบ 6 ปี
กรณีมารดาสามารถหยุดงานเพื่อคลอดบุตรได้นาน 8 สัปดาห์ รัฐบาลสิงคโปร์จะจ่ายเงินเดือนระหว่างหยุดงานให้เองเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่นายจ้าง โดยเงินเดือนที่รัฐบาลจ่ายให้จะต้องไม่เกิน 20,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 500,000 บาท ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลมีแผนจะพยายามปรับปรุงค่านิยมของประชาชนเพื่อกระตุ้นให้ต้องการมีลูกมาก เนื่องจากเห็นว่ามาตรการทางการเงินเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะต้องมีมาตรการด้านวัฒนธรรมมาเสริม
สำหรับนายลีเชียนหลุงเมื่อได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์เมื่อเดือนสิงหาคม 2547 นโยบายเร่งด่วนที่ได้ประกาศเนื่องในวาระโอกาสรับตำแหน่ง คือ ประกาศขยายสิทธิและประโยชน์ จากเดิมกำหนดจะให้เงินช่วยเหลือเฉพาะบุตรคนที่ 2 และ 3 เท่านั้น เปลี่ยนมาให้ความช่วยเหลือบุตรคนที่ 1 และ 4 ด้วยเช่นเดียวกัน
ล่าสุดรัฐบาลสิงคโปร์ได้ส่งข้าราชการไปดูงานที่ยุโรปเพื่อศึกษากรณีของบางประเทศ เช่น นอร์เวย์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ฯลฯ ซึ่งเดิมประสบปัญหาการเจริญพันธุ์อยู่ในระดับต่ำ แต่ได้ประสบผลสำเร็จระดับหนึ่งในการเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ให้สูงขึ้น ซึ่งการศึกษาพบว่าประเทศเหล่านี้ให้สวัสดิการมากมายเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประชากร แม้จะส่งผลกระทบในระยะสั้นต่อฐานะการคลังของรัฐบาล แต่จะส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
อนึ่ง ปัจจุบันรัฐบาลสิงคโปร์ยังได้มีนโยบายแสวงหาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพจากต่างประเทศให้มาทำงานที่สิงคโปร์ หากทำงานในสิงคโปร์แล้วมีผลงานดี ก็จะอนุญาตให้อยู่ในประเทศเป็นการถาวร ซึ่งจะช่วยลดปัญหาประชากรลดลงได้ในระดับหนึ่ง
รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามส่งเสริมสตรีให้มีบุตรมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันประชาชนในวัยทำงานลดลงอย่างฮวบฮาบ นับเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะถดถอยติดต่อกันอย่างยาวนานมากกว่า 10 ปี นับเป็นกรณีศึกษาสำคัญของประเทศคนแก่
รัฐบาลญี่ปุ่นมีมาตรการหลายประการ เป็นต้นว่า กำหนดให้กระทรวงทบวงกรมต่างๆ จะจัดสรรพื้นที่ภายในอาคารสำนักงานเพื่อเป็นสถานรับเลี้ยงดูลูกๆ ของข้าราชการ พร้อมกับจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูบุตร 2 คนแรก 5,000 เยน/เดือน หรือประมาณ 2,000 บาท/เดือน และบุตรคนต่อไปคนละ 10,000 เยน/เดือน หรือประมาณ 4,000 บาท/เดือน ในช่วงเด็กยังไม่เข้าโรงเรียน นอกจากนี้ ยังสามารถได้รับเงินเดือน 40% ของที่เคยได้รับ กรณีออกมาเลี้ยงดูลูกบุตร
นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2545 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตั้งงบประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อนำไปสนับสนุนภาคเอกชนขยายกิจการรับเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้สามารถรองรับเด็กได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 50,000 คน ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น ได้พิจารณาเกี่ยวกับนโยบายจะส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจ Matchmaking เพื่อเป็นพ่อสื่อแม่ชัก เนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทให้บริการประเภทนี้ในญี่ปุ่นมากถึง 3,100 บริษัท แต่บริการยังไม่ดีเพียงพอ ยังไม่มีหน่วยงานใดควบคุมคุณภาพ
สำหรับไต้หวันได้เริ่มประสบวิกฤติด้านประชากรเมื่อประมาณ 25 ปีมาแล้ว เมื่ออัตราการเจริญพันธุ์ลดลงเหลือเพียง 1.5 เท่านั้น รัฐบาลไต้หวันจึงตั้งเป้าหมายตัวชี้วัดที่จะเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์เป็น 2.2 โดยกรมประชากร ซึ่งเป็นหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้รณรงค์ส่งเสริมให้การมีลูกมากขึ้น มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนแต่งงาน และเมื่อแต่งงานแล้ว ก็รณรงค์อย่างต่อเนื่องให้มีลูกเพิ่มขึ้น
รัฐบาลไต้หวันยังมีการให้เงินโบนัสแก่ข้าราชการมีบุตรเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงมหาดไทยของไต้หวันยังได้ทำเรื่องเสนอรัฐบาลว่าควรให้โรงพยาบาลเสนอบริการฟรีโดยไม่คิดมูลค่าสำหรับบริการให้แก่ผู้มีบุตรยากให้สามารถมีบุตรได้
สำหรับกรณีของมาเลเซีย เมื่อนายมหาเธร์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ก็ได้สั่งยกเลิกนโยบายคุมกำเนิด ขณะเดียวกันได้ประกาศนโยบายเพิ่มประชากร โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มประชากรเป็น 70 ล้านคน ส่วนหน่วยงาน NGO คือ สมาคมคนเชื้อสายจีนในมาเลเซีย ก็ได้เสนอรางวัลจูงใจแก่ครอบครัวที่มีลูกมากตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป จะได้รับเงินโบนัสประมาณ 25,000 บาท ต่อบุตรที่เพิ่มขึ้นแต่ละคน นอกจากนี้ สมาคมยังก่อตั้ง Cupid Space Club เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 เพื่อเป็นสถานที่พบกันของคนหนุ่มสาวเชื้อสายจีนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป เพื่อส่งเสริมให้มาพบปะและแต่งงานกัน
ส่วนออสเตรเลียได้ประกาศนโยบายเพิ่มประชากร โดยนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2547 เป็นต้นว่า หากครอบครัวใดมีบุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์จากรัฐบาล 3,000 เหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 84,000 บาท ต่อบุตรที่เกิดใหม่แต่ละคน
สุดท้ายนี้ กรณีของประเทศไทย นโยบายเพิ่มประชากรไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เคยมีพระราชปรารภเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้วว่าประเทศไทยกว้างใหญ่ไพศาล แต่ประชากรมีน้อยมาก โดยทรงมีพระราชดำริว่าหากประเทศไทยมีประชากรมากแล้ว จะส่งผลดีนานัปการ ต่อประเทศทั้งในแง่การทหาร เศรษฐกิจ ฯลฯ
ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเสริมให้สตรีมีบุตรมาก โดยจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์การส่งเสริมการสมรส สำนักงานสื่อสมรส ฯลฯ นอกจากนี้ ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้มีบุตรมาก สนับสนุนให้ภาคเอกชนจัดตั้งสถานพยาบาลด้านสูติกรรม
นอกจากนั้น ในช่วงก่อนจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐบาลไทยยังกำหนดโควต้าอนุญาตให้คนจีนเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทยมากถึงปีละ 20,000 คน พร้อมกับตั้งสถานกงสุลที่นครซันโถว(ซัวเถา)เพื่ออำนวยความสะดวกในการอนุญาตให้คนจีนเข้าเมือง นับเป็นมาตรการเพิ่มประชากรอีกทางหนึ่ง ซึ่งชาวจีนอพยพเหล่านี้ต่อมาได้สร้างคุณประโยชน์แก่เศรษฐกิจไทยอย่างมากมาย
ปัจจุบันมีแนวโน้มว่ารัฐบาลไทยได้เริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายหันมาส่งเสริมการเพิ่มประชากรอีกครั้งหนึ่ง โดยได้เริ่มประกาศหลายมาตรการ เป็นต้นว่า การคลอดบุตร ซึ่งเดิมให้รายละไม่เกิน 6,000 บาท และต้องออกค่าตรวจครรภ์เองนั้น ทางกองทุนประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ไม่จำกัดวงเงินและออกค่าตรวจครรภ์ให้ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
เมื่อประมาณ 200 ปี ที่ผ่านมา คือ ในปี 2341 นายโทมาส มัลธัส ได้ตีพิมพ์ตำราเศรษฐศาสตร์ โดยกล่าวว่าจำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นตามอนุกรมเรขาคณิต ขณะที่ปัจจัยในการดำรงชีวิตจะเพิ่มขึ้นตามอนุกรมเลขคณิต ดังนั้น ในอนาคตโลกจะไม่มีอาหารเพียงพอในการเลี้ยงประชากร
ปัจจุบันเวลาผ่านไปประมาณ 200 ปี แต่คำพยากรณ์ของนายมัลธัสกลับตรงข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ความอดอยากไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญของโลก กลับมีปัญหาผลิตอาหารเกินความต้องการจนรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องพยายามพยุงราคาพืชผลทางการเกษตร สำหรับในอนาคตจะมีพืช GMO ยิ่งจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเกินความต้องการมากขึ้นไปอีก
ปัจจุบันประเด็นด้านกลับไม่ใช่ปัญหาประชากรเพิ่มขึ้น แต่เป็นปัญหาประชากรลดน้อยลง ในทางทฤษฎีจะมีคำศัพท์ Replacement Fertility มีความหมายว่าเป็นอัตราการเกิดหรือเจริญพันธุ์ที่สามารถทดแทนจำนวนประชากรที่มีอยู่ได้ เราสามารถคิดง่ายๆ ได้ว่าหากมีคน 2 คน คือ ผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉลี่ยแล้วสตรีจะต้องมีบุตร 2.1 คน (จำนวน 0.1 คน เป็นการเผื่อการเสียชีวิตของเด็กและทารก) เพื่อให้จำนวนประชากรสามารถทดแทนประชากร 2 คนเท่าเดิม หากมีลูกมากกว่านี้แล้ว ประชากรจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีลูกน้อยกว่านี้ จำนวนประชากรจะลดลง
ปัจจุบันมีประเทศมากถึง 83 ประเทศ ซึ่งมีประชากรคิดเป็นร้อยละ 44 ของโลก มีอัตราการเกิดต่ำกว่าอัตราเจริญพันธุ์ทดแทน 2.1 คน โดยไทยนับเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มนี้ด้วย เนื่องจากประชากรจำนวนมากเป็นโสด แม้ประชากรบางส่วนจะแต่งงาน แต่ก็มีบุตรคนเดียวหรือไม่อย่างนั้นก็ถือคติ “DINK” ซึ่งย่อมาจาก “Double Income, No Kids” ซึ่งมีความหมายว่าสามีและภรรยาทำงานทั้ง 2 คน ไม่มีบุตร
ดร.เตียง ผาดไธสง แห่งภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เคยทำการวิจัยเรื่อง “การล่มสลายของสังคมไทยเนื่องมาจากการวางแผนครอบครัว” สรุปว่าหากเรายังคงดำเนินนโยบายคุมกำเนิดต่อไป อัตราเจริญพันธุ์ของประเทศไทยจะลดลงเหลือเพียง 1.41 คน ซึ่งเป็นระดับเดียวกับสิงคโปร์และญี่ปุ่น จะส่งผลให้ประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว โดยพยากรณ์ว่าในปี 2643 หรือ 99 ปีข้างหน้า ประชากรของประเทศไทยจะลดลงเหลือเพียงแค่ 21 ล้านคน เท่านั้น
ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน" อาจารย์ประจำวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงกล่าวว่า ช่วงปี 2543-2552 เป็น 6 ปีทองสุดท้ายของโอกาสการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากนับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป สัดส่วนของประชากรวัยแรงงานจะลดลงเรื่อยๆ
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่ของประชากรของไทยในอนาคตจะเป็นคนแก่ โดยมีประชากรในวัยทำงานน้อยมาก ซึ่งปัจจุบันเราเริ่มจะเห็นแนวโน้มนี้แล้ว กล่าวคือ ในปี 2513 อายุเฉลี่ยของคนไทย คือ 19 ปี อีก 20 ปีต่อมา คือ ปี 2533 อายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 24.6 ปี ต่อมาอีก 10 ปี คือ ปี 2543 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 29.7 ปี ในอนาคตประชากรไทยอาจจะมีอายุเฉลี่ยในระดับสูงถึง 40 ปี เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นที่มีอายุเฉลี่ย 41 ปี หรือเยอรมนี 40 ปี
ในอดีตที่ผ่านมานักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น จอห์นเมนาร์ดเคนส์ ได้เคยวิเคราะห์กรณีประชากรของประเทศใดประเทศหนึ่งมีจำนวนลดลงแล้ว จะกระทบต่ออุปสงค์รวมของประเทศ เศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราลดลง หรือกรณีประชากรลดลงมากๆ แล้ว เศรษฐกิจก็จะหดตัวลง สำหรับนายกรีนสแปนก็ได้เคยกล่าวปราศรัยขณะดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ เช่นเดียวกันโดยกล่าวเตือนว่าหากโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป โดยมีสัดส่วนเป็นประชากรสูงอายุจำนวนมาก จะต้องเตรียมตัวเตรียมใจเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ปัจจุบันหลายประเทศจึงเปลี่ยนจากนโยบายคุมกำเนิดมาเป็นนโยบายเพิ่มประชากร เป็นต้นว่า รัฐบาลสิงคโปร์ได้เริ่มให้บริการ Matchmaking หรือเป็นพ่อสื่อแม่ชักให้คนสิงคโปร์แต่งงานกันตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม บริการ Matchmaking ดังกล่าวข้างต้นไม่ประสบผลสำเร็จนัก ดังนั้น ในปี 2543 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศนโยบายเพิ่มเติม โดยกำหนดว่าหากครอบครัวใดมีบุตรคนที่ 2 รัฐบาลจะจ่ายเงินอุดหนุนและสมทบให้ปีละ 12,500 บาท และหากมีบุตรคนที่ 3 รัฐบาลจะเพิ่มโบนัสเป็นปีละ 37,500 บาท โดยจะอุดหนุนจนเด็กอายุครบ 6 ปี
กรณีมารดาสามารถหยุดงานเพื่อคลอดบุตรได้นาน 8 สัปดาห์ รัฐบาลสิงคโปร์จะจ่ายเงินเดือนระหว่างหยุดงานให้เองเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่นายจ้าง โดยเงินเดือนที่รัฐบาลจ่ายให้จะต้องไม่เกิน 20,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 500,000 บาท ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลมีแผนจะพยายามปรับปรุงค่านิยมของประชาชนเพื่อกระตุ้นให้ต้องการมีลูกมาก เนื่องจากเห็นว่ามาตรการทางการเงินเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะต้องมีมาตรการด้านวัฒนธรรมมาเสริม
สำหรับนายลีเชียนหลุงเมื่อได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์เมื่อเดือนสิงหาคม 2547 นโยบายเร่งด่วนที่ได้ประกาศเนื่องในวาระโอกาสรับตำแหน่ง คือ ประกาศขยายสิทธิและประโยชน์ จากเดิมกำหนดจะให้เงินช่วยเหลือเฉพาะบุตรคนที่ 2 และ 3 เท่านั้น เปลี่ยนมาให้ความช่วยเหลือบุตรคนที่ 1 และ 4 ด้วยเช่นเดียวกัน
ล่าสุดรัฐบาลสิงคโปร์ได้ส่งข้าราชการไปดูงานที่ยุโรปเพื่อศึกษากรณีของบางประเทศ เช่น นอร์เวย์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ฯลฯ ซึ่งเดิมประสบปัญหาการเจริญพันธุ์อยู่ในระดับต่ำ แต่ได้ประสบผลสำเร็จระดับหนึ่งในการเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ให้สูงขึ้น ซึ่งการศึกษาพบว่าประเทศเหล่านี้ให้สวัสดิการมากมายเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประชากร แม้จะส่งผลกระทบในระยะสั้นต่อฐานะการคลังของรัฐบาล แต่จะส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
อนึ่ง ปัจจุบันรัฐบาลสิงคโปร์ยังได้มีนโยบายแสวงหาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพจากต่างประเทศให้มาทำงานที่สิงคโปร์ หากทำงานในสิงคโปร์แล้วมีผลงานดี ก็จะอนุญาตให้อยู่ในประเทศเป็นการถาวร ซึ่งจะช่วยลดปัญหาประชากรลดลงได้ในระดับหนึ่ง
รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามส่งเสริมสตรีให้มีบุตรมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันประชาชนในวัยทำงานลดลงอย่างฮวบฮาบ นับเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะถดถอยติดต่อกันอย่างยาวนานมากกว่า 10 ปี นับเป็นกรณีศึกษาสำคัญของประเทศคนแก่
รัฐบาลญี่ปุ่นมีมาตรการหลายประการ เป็นต้นว่า กำหนดให้กระทรวงทบวงกรมต่างๆ จะจัดสรรพื้นที่ภายในอาคารสำนักงานเพื่อเป็นสถานรับเลี้ยงดูลูกๆ ของข้าราชการ พร้อมกับจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูบุตร 2 คนแรก 5,000 เยน/เดือน หรือประมาณ 2,000 บาท/เดือน และบุตรคนต่อไปคนละ 10,000 เยน/เดือน หรือประมาณ 4,000 บาท/เดือน ในช่วงเด็กยังไม่เข้าโรงเรียน นอกจากนี้ ยังสามารถได้รับเงินเดือน 40% ของที่เคยได้รับ กรณีออกมาเลี้ยงดูลูกบุตร
นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2545 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตั้งงบประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อนำไปสนับสนุนภาคเอกชนขยายกิจการรับเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้สามารถรองรับเด็กได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 50,000 คน ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น ได้พิจารณาเกี่ยวกับนโยบายจะส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจ Matchmaking เพื่อเป็นพ่อสื่อแม่ชัก เนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทให้บริการประเภทนี้ในญี่ปุ่นมากถึง 3,100 บริษัท แต่บริการยังไม่ดีเพียงพอ ยังไม่มีหน่วยงานใดควบคุมคุณภาพ
สำหรับไต้หวันได้เริ่มประสบวิกฤติด้านประชากรเมื่อประมาณ 25 ปีมาแล้ว เมื่ออัตราการเจริญพันธุ์ลดลงเหลือเพียง 1.5 เท่านั้น รัฐบาลไต้หวันจึงตั้งเป้าหมายตัวชี้วัดที่จะเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์เป็น 2.2 โดยกรมประชากร ซึ่งเป็นหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้รณรงค์ส่งเสริมให้การมีลูกมากขึ้น มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนแต่งงาน และเมื่อแต่งงานแล้ว ก็รณรงค์อย่างต่อเนื่องให้มีลูกเพิ่มขึ้น
รัฐบาลไต้หวันยังมีการให้เงินโบนัสแก่ข้าราชการมีบุตรเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงมหาดไทยของไต้หวันยังได้ทำเรื่องเสนอรัฐบาลว่าควรให้โรงพยาบาลเสนอบริการฟรีโดยไม่คิดมูลค่าสำหรับบริการให้แก่ผู้มีบุตรยากให้สามารถมีบุตรได้
สำหรับกรณีของมาเลเซีย เมื่อนายมหาเธร์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ก็ได้สั่งยกเลิกนโยบายคุมกำเนิด ขณะเดียวกันได้ประกาศนโยบายเพิ่มประชากร โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มประชากรเป็น 70 ล้านคน ส่วนหน่วยงาน NGO คือ สมาคมคนเชื้อสายจีนในมาเลเซีย ก็ได้เสนอรางวัลจูงใจแก่ครอบครัวที่มีลูกมากตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป จะได้รับเงินโบนัสประมาณ 25,000 บาท ต่อบุตรที่เพิ่มขึ้นแต่ละคน นอกจากนี้ สมาคมยังก่อตั้ง Cupid Space Club เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 เพื่อเป็นสถานที่พบกันของคนหนุ่มสาวเชื้อสายจีนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป เพื่อส่งเสริมให้มาพบปะและแต่งงานกัน
ส่วนออสเตรเลียได้ประกาศนโยบายเพิ่มประชากร โดยนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2547 เป็นต้นว่า หากครอบครัวใดมีบุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์จากรัฐบาล 3,000 เหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 84,000 บาท ต่อบุตรที่เกิดใหม่แต่ละคน
สุดท้ายนี้ กรณีของประเทศไทย นโยบายเพิ่มประชากรไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เคยมีพระราชปรารภเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้วว่าประเทศไทยกว้างใหญ่ไพศาล แต่ประชากรมีน้อยมาก โดยทรงมีพระราชดำริว่าหากประเทศไทยมีประชากรมากแล้ว จะส่งผลดีนานัปการ ต่อประเทศทั้งในแง่การทหาร เศรษฐกิจ ฯลฯ
ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเสริมให้สตรีมีบุตรมาก โดยจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์การส่งเสริมการสมรส สำนักงานสื่อสมรส ฯลฯ นอกจากนี้ ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้มีบุตรมาก สนับสนุนให้ภาคเอกชนจัดตั้งสถานพยาบาลด้านสูติกรรม
นอกจากนั้น ในช่วงก่อนจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐบาลไทยยังกำหนดโควต้าอนุญาตให้คนจีนเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทยมากถึงปีละ 20,000 คน พร้อมกับตั้งสถานกงสุลที่นครซันโถว(ซัวเถา)เพื่ออำนวยความสะดวกในการอนุญาตให้คนจีนเข้าเมือง นับเป็นมาตรการเพิ่มประชากรอีกทางหนึ่ง ซึ่งชาวจีนอพยพเหล่านี้ต่อมาได้สร้างคุณประโยชน์แก่เศรษฐกิจไทยอย่างมากมาย
ปัจจุบันมีแนวโน้มว่ารัฐบาลไทยได้เริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายหันมาส่งเสริมการเพิ่มประชากรอีกครั้งหนึ่ง โดยได้เริ่มประกาศหลายมาตรการ เป็นต้นว่า การคลอดบุตร ซึ่งเดิมให้รายละไม่เกิน 6,000 บาท และต้องออกค่าตรวจครรภ์เองนั้น ทางกองทุนประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ไม่จำกัดวงเงินและออกค่าตรวจครรภ์ให้ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป