xs
xsm
sm
md
lg

ชี้ตัด‘สมัครใจ’โอนการศึกษาทันที

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้จัดการรายวัน - กมธ.แก้ไขกม.ถ่ายโอนครูสู่ อปท.ตั้ง “ปองพล” นั่งประธาน เตรียมหารือเป็นรายมาตราวันนี้ พร้อมเสนอให้ กฤษฎกาไปศึกษาผลดีผลเสียคำว่า “สมัครใจ” และ “ความพร้อม” พร้อมให้ดูผลกระทบต่อกม.ที่เกี่ยวข้องหากมีการแก้ไข เผยหากตัดคำว่า “สมัครใจ” ต้องโอนการศึกษาทันที ด้านม็อบครูพักรบหยุดถวายพระพรในหลวง ยันหากไม่ตัดคำว่า “สมัครใจ” กลับมาชุมนุมใหญ่แน่ “จาตุรนต์” ตั้งคณะทำงานเพื่อประสานเสนอความเห็นต่อ กมธ.และชี้แจงทำความเข้าใจกับองค์กรครู

ที่รัฐสภา วานนี้ (1ธ.ค.) นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พร้อมด้วยนายพิษณุ ตุลสุข ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยนายชินวรณ์ แถลงผลการประชุมว่า กรรมาธิการได้ตั้งนายปองพล อดิเรกสาร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย เป็นประธาน

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาถึงกรอบในหลักการและเหตุผลในร่าง กฎหมายฉบับนี้ โดยที่ประชุมได้เปิดให้กมธ.จากทุกส่วนอภิปรายอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วนตัวแทนองค์กรครูและอปท. ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใด แต่ในวันนี้ (2 ธ.ค.) จะมีการพิจารณารายมาตรา โดยเฉพาะในประเด็นที่มีการเพิ่ม คำว่า สมัครใจ และ ความพร้อม ซึ่งในเบื้องต้นทางกมธ.ได้เสนอให้ทางกฤษฎีกา นำไปศึกษา ถึงผลดีและเสียว่าในการที่จะมีหรือไม่มีคำว่าสมัครใจและความพร้อมจะออกมาเป็น รูปแบบใด รวมทั้งหากแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง อย่างไร ซึ่งต้องพิจารณาให้รอบด้านเพราะอาจจะมีผลต่อการปฏิรูปการศึกษา หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ซึ่งทางกรรมาธิการจะเอาข้อสังเกตมาประกอบกับคำแปรญัตติ เช่นกัน โดยที่วันที่2ธ.ค.จะเป็นการเปิดโอกาสในการแปรญัติในวันสุดท้าย

นายชินวรณ์ กล่าวว่า แม้ที่ประชุมกมธ.ได้หารือกันอย่างกว้างขว้างและมีความคิดเห็นที่แตกต่างแต่ยังไม่มีมติอะไรออกมา อย่างไรก็ตามกรรมาธิการจะไม่หยิบยกประเด็นว่า พ.ร.บ.การกระจายอำนาจว่าเกิดขึ้นในสมัยไหน เพราะเห็นว่า ไม่น่าจะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย ส่วนมติจะออกมาเป็นอย่างไรจะมีการแถลงข่าวในวันที่ 2 ธ.ค.

ด้าน นายพิษณุ กล่าวฐานะรองประธานองค์กรเครือข่ายคัดค้านการถ่ายโอน การศึกษ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กล่าวว่า ตนก็ยังเห็นว่ าพ.ร.บ. ควรที่จะมีคำว่าสมัครใจ โดยในที่ประชุมของกรรมาธิการได้มีผู้เชี่ยวชาญทาง กฎหมายกล่าวในที่ประชุมว่าหากตัดคำว่าสมัครใจเมื่อไหร่ อปท.ก็ต้องรับการ ถ่ายโอนการศึกษาทันที แต่หากใส่คำว่าสมัครใจ ก็หมายความว่าสถานศึกษาใดสมัครใจถึงจะถ่ายโอไปที่อปท. ดังนั้นตนคิดว่า นายอวยชัย วะทา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคัดค้านการถ่ายโอนสถานศึกษาไปให้ท้องถิ่น จะต้องไปศึกษากฎหมาย ให้รอบคอบเพราะหากตัดคำว่าสมัครใจออกน่าจะมีผลกระทบ ซึ่งตอนนี้ความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นมีแต่การขัดแย้งทางความคิดเห็นระหว่างองค์กรครูทั้ง 2 ฝ่าย

อย่างไรก็ตามถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องมีการตัดสินกันโดยใช้มติในที่ประชุมขององค์กรครูด้วยกันว่าจะอย่างไร

ส่วนนายอวยชัยที่ระบุว่าจะมีการเคลื่อนไหว อีกครั้งหากยังมี่การตัดคำว่าสมัครใจออกจสากพ.ร.บ.ดังกล่าว เรื่องนี้ก็เป็นสิทธินายอวยชัยจะทำได้แต่อยากให้ ทุกฝ่ายหันมาคุยกันด้วยเหตุผลดีกว่า

ส่วนกรณีที่กระแสข่าวออกมาว่า ตัวแทนครูทั้ง9คนที่เข้าหารือกับทาง พรรคไทยรักไทยขายตัวให้กับทางทางพรรคและกลายเป็นหนอนบ่อนไส้นั้น นายพิษณุ กล่าวว่า ไม่เป็นความจริงเพราะตนได้ออกมาเคลื่อนไหวตั้งแต่ปีพ.ศ.2542ซึ่งตอนนั้นพรรคไทยรักไทยยังไม่เกิด จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ตนจะต้องไปขายตัวให้เขา และเรื่องการแก้กฎหมายเราเป็นฝ่ายไปง้อเขาแล้วเขาจะมาซื้อเราได้อย่างไร

“ตอนนี้ผมแทบจะกราบไหว้ส.ส.ในพรรคไทยรักไทยเพื่อขอให้เขาแก้กฎหมาย ให้ เพราะเขามีอำนาจที่จะแก้ได้ ซึ่งแนวทางของผมยังแน่วแน่เพราะฉะนั้นตนเอง ไม่มีทางขายตัวแน่นอน จึงขอให้ทุกฝ่ายให้ความเป็นธรรมกับผมด้วย”

ด้าน นายธนารัชต์ สมคเณ ผู้ประสานงานองค์กรพันธมิตรเพื่อปกป้อง การศึกษาชาติ กล่าวว่า ขั้นตอนต่อจากนี้ไปองค์กรครูจะปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยตั้งแต่วันที่ 1-6 ธ.ค.นี้ จะยุติการ เพื่อร่วมถวายพระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 5 ธ.ค.นี้ แต่หลังจากวันที่ 6 ธ.ค. เป็นต้นไปองค์กรพันธมิตรฯ จะกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง

อย่างไรก็ตามในส่วนของแกนนำองค์กรพันธมิตรฯ จะยังคงติดตามข่าวสาร และความเคลื่อนไหวในการแก้กฎหมายอย่างใกล้ชิดว่าจะพิจารณาตัดคำว่า “สมัครใจ” ออกหรือไม่ หากไม่ทำตามที่ครูเรียกร้องเราจะระดมชี้แจงข่าวสารให้กับครูทั่วประเทศในวันที่ 7 ธ.ค. เพื่อจะระดมครูมาชุมนุมที่ สภาฯ ต่อไป

นายธนารัชต์ กล่าวอีกว่า การคัดเลือกตัวแทนครูเพื่อเข้าร่วมในคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้น ที่ประชุมได้คัดเลือกผู้แทนเหลือเพียง 5 คน แต่ทางสภาฯ ได้คัดเลือกตัวแทนขององค์กรพันธมิตรเหลือ 3 คนได้แก่ นายจำเริญ พรหมมาศ นายกสมาคมศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทย เป็นกรรมาธิการในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ นายประภาส ศาสตร์แก้ว ประธานชมรมเครือข่ายครูประชาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนายอวยชัย วะทา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคัดค้านการถ่ายโอนการศึกษาฯ เป็นกรรมาธิการในส่วนของพรรคไทยรักไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับในส่วนขององค์กรเครือข่ายคัดค้านการถ่ายโอน การศึกษาทราบว่าสภาฯ ได้คัดเลือกตัวแทนขององค์กรเครือข่ายเข้าร่วม เป็นกรรมาธิการวิสามัญ 3 คนเช่นกัน ได้แก่ นายถวิล น้อยเขียว นายพิษณุ ตุลสุข และนายนิพนธ์ ชื่นตา รองประธานและคณะกรรมการองค์กรเครือข่ายฯ

ด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวถึงการเตรียมการ รองรับเรื่องถ่ายโอนการศึกษาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ว่า ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลเรื่องดังกล่าว โดยมีนางพรนิภา ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เป็นแกนหลัก ซึ่งนายพีรพันธ์ พาลุสุข เลขาธิการรัฐมนตรี ศธ. ก็ได้เข้าเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างกฎหมาย กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายให้แก่ อปท. สภาผู้แทนราษฎร ร่วมด้วย

ทั้งนี้ คณะทำงานชุดดังกล่าวจะทำหน้าที่ประสาน แลกเปลี่ยนข้อมูลความเห็น ให้ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการฯ ให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ความเห็นขององค์กรครูแตกต่างกันไป ซึ่งไม่ว่ากรรมาธิการฯ จะสรุปออกมาอย่างไร ก็ไม่มีทางตรงตามความต้องการทุกคนได้ นอกจากนี้ ให้ทำหน้าที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งครู อาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษาด้วย

นอกจากนั้น ยังมอบหมายให้คณะทำงาน เตรียมแนวความคิดและแนวทางที่จะรองรับกฎหมายซึ่งจะสรุปออกมาเป็นขั้นสุดท้าย ในแบบต่างๆ เพื่อให้เป็นผลดีต่อการจัดการศึกษา ต่อครู อาจารย์ และสอดคล้องกับหลักการของกฎหมาย เช่น หากสภาฯ ให้ตัดเรื่องการศึกษาออกไปเลย ต้องเตรียมการอย่างไรบ้าง และต้องทำอะไรต่อไป อย่างไร หรือหากสภาฯ ให้ถ่ายโอนโดยสมัครใจ จะมีวิธีคิดแก้ปัญหาความไม่สบายใจของครูให้มากยิ่งขึ้นได้อย่างไร

ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถอธิบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นได้ ครอบคลุมไปถึงกรณีที่ต้องแก้กฎกระทรวงฯ ก็ให้คิดมาอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการจัดการศึกษาของประเทศในส่วนต่างๆ อย่างยั่งยืน และสามารถดูแลปัญหาได้ในระยะยาวด้วยดี โดยขอได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 7 ธ.ค.ก่อนที่สภาฯ จะได้ข้อสรุปออกมา
กำลังโหลดความคิดเห็น