ผู้จัดการรายวัน - เปิดรายละเอียดคำให้การ “เกวลิน กังวานธนวัต” ผู้ประกาศข่าวสาวช่อง 9 พยานปากเอกในคดี “บิ๊กขี้หลี” แฉพฤติกรรม อดีต ผบ.ตร. ระหว่างร่วมประชุมครม.สัญจรที่ภูเก็ต-อุบลราชธานี จนในที่สุดศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้อง ให้สื่อมวลชนพ้นผิด
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2548 นางสาวเกวลิน กังวานธนวัต ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี ได้ให้การในฐานะพยานจำเลย ในคดีที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และพวกรวม 17 คน ทั้งหมดเป็นสื่อมวลชนและนักพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ) เป็นจำเลย ในคดีแพ่ง ข้อหาหมิ่นประมาท กรณีการเสนอข่าวข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีพฤติกรรมลวนลามนักข่าวสาว หรือ “บิ๊กขี้หลี” โดยพล.ต.อ.สันต์ เรียกค่าเสียหาย 2,500 ล้านบาท ตามคดีหมายเลขดำที่ 3968-3977/2547
บางส่วนของคำให้การมีดังนี้
“ข้าฯ ทำงานอยู่ที่สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นนายทีวี ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ช่วงเดือนพฤษภาคม 2546 ข้าฯ เดินทางไปทำข่าวในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดอุบลราชธานี
ข้าฯรู้จักนางอนัญญา ตั้งใจตรง ซึ่งปัจจุบันนี้เปลี่ยนนามสกุลเป็น ไสยมรรคา ซึ่งนางอนัญญา ก็เป็นผู้สื่อข่าวสายการเมืองของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เช่นกัน
นางอนัญญา มิได้เดินทางไปทำข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดภูเก็ต แต่ไปทำข่าวที่จังหวัดอุบลราชธานี
ที่จังหวัดอุบลราชธานี นางอนัญญาพักห้องเดียวกับข้าฯ ที่โรงแรมลายทอง
ขณะพักอยู่ภายในห้องเดียวกันนั้น ก็จะพูดคุยกันว่า ในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่แต่ละคนพบเหตุการณ์อะไรบ้าง
ข้าฯรู้จัก พลตำรวจโท พงศพัศ พงษ์เจริญ และพลตำรวจตรีสุรสิทธิ สังขพงษ์
ที่จังหวัดอุบลราชธานี ข้าฯ พบพลตำรวจโท พงศพัศ ช่วงที่คณะรัฐมนตรีเดินทางไปถึงโรงแรมลายทอง โดยพลตำรวจโท พงศพัศ เรียกข้าฯไปพบบอกว่า ให้ไปหานาย ซึ่งข้าฯ ก็ทราบว่า นายที่ให้ไปหาก็คือโจทย์ ไม่ได้แจ้งเหตุผล บอกเพียงว่า นายอยากพบ
ขณะที่พลตำรวจโท พงศพัศ บอกข้าฯ ข้าฯ ยืนอยู่บริเวณหน้าห้องผู้สื่อข่าวใกล้ๆ กับห้องรักษาความปลอดภัย ขณะนั้นข้าฯ ใส่สูทแต่งตัวพร้อมออกรายการสด
ข้าฯ ฟังแล้วยังคงยืนเฉยๆ พลตำรวจโทพงศพัศ จึงเข้ามาจับแขนดึงข้าฯไป แต่ข้าฯก็ไม่ยอมไป พลตำรวจโท พงศพัศ ก็มิได้พูดอะไร
จังหวะนั้นมีผู้สื่อข่าวอาวุโสคือ นางยุวดี ธัญญศิริ จำเลยที่ 2 ตะโกนขึ้นว่า “ทำอะไรน้องเขา ไปยุ่งอะไรเค้า” พลตำรวจโท พงศพัศ จึงปล่อยมือจากการจับแขนข้าฯ
หลังจากนั้น ข้าฯ ก็มิได้พบ พลตำรวจโท พงศพัศอีก
.............
ขณะพักอยู่โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งข้าฯ อยู่ในห้องพัก เวลาประมาณ 22 นาฬิกา มีคนนำจดหมายไปสอดไว้บริเวณช่องว่างใต้ประตู จ่าหน้าซองเขียนชื่อจ้าฯ ว่า เกวลิน ข้าฯ เอาจดหมายฉบับดังกล่าวมาดู ปรากฏว่าไม่ปิดผนึก แกะออกดูภายในจดหมายเขียนข้อความว่า
“ พรุ่งนี้เวลา 8.30 นาฬิกา ให้ไปขึ้นเครื่องบินตำรวจ ลงชื่อ พลตำรวจตรีสุรสิทธิ สังขพงศ์”
ข้าฯงง ซึ่งนางอนัญญา ก็เห็นจดหมายฉบับดังกล่าวด้วย
................
การเดินทางไปทำข่าวที่จังหวัดภูเก็ต ข้าฯเดินทางไปกับเครื่องบินของคณะนายกรัฐมนตรี โดยมีนักข่าวคนอื่นร่วมเดินทางไปด้วย
มีการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่โรงแรมภูเก็ตอาคราเดียร์
ข้าฯ เดินทางไปถึงโรงแรมดังกล่าวตอนสาย เมื่อไปถึงก็ต้องปฏิบัติหน้าที่จุดที่จะรายงานข่าวอยู่ด้านนอกโรงแรม
ไม่มีใครแจ้งให้ทราบว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าฯ จะต้องติดบัตรประจำตัว สำหรับข้าฯ มีเฉพาะบัตรแสดงตัวเป็นพนักงานของสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 เท่านั้น
ข้าฯมีเวลาว่างก่อนทำหน้าที่รายงานข่าวประมาณ 2 ชั่วโมง ดังนั้น จึงใช้เวลาดังกล่าวในการไปซื้อของแห้งประเภทน้ำพริกกลับบ้าน ซึ่งบริเวณชั้นล่างของโรงแรมมีร้านอาหารอยู่
ข้าฯ สั่งรายการอาหารที่ต้องการแล้ว ระหว่างรอการจัดอาหาร ข้าฯ ไปนั่งรอที่โต๊ะภายในร้านอาหาร ระหว่างนั้นพลตำรวจโทพงศพัศ มาเรียกข้าฯ โดยพูดขึ้นว่า “น้องๆ ขอเชิญไปพบ ผบ.ตร.หน่อย” ข้าฯ ถามว่า “มีอะไรคะ” พลตำรวจโทพงศพัศ บอกว่า “ท่านอยากถามอะไรหน่อย”
ข้าฯเดินตาม พลตำรวจโทพงศพัศ ไปที่ห้องๆหนึ่ง ซึ่งจัดไว้เป็นสัดส่วน มีนายตำรวจอยู่จำนวนหลายคนรวมทั้งโจทก์
เมื่อเข้าไปในห้องแล้ว มีตำรวจเชิญให้ข้าฯ ไปนั่ง แต่จำไม่ได้ว่าคนที่เชิญเป็นใคร
ขณะนั้นโจทก์นั่งอยู่ที่หัวโต๊ะคนเดียว ข้าฯถูกเรียกให้ไปนั่งอยู่ด้านข้าง ฝั่งซ้ายมือของโจทก์ เมื่อข้าฯนั่งแล้ว โจทก์ถามขึ้นว่า “มาจากไหน” ข้าฯตอบว่า มาจากช่อง 9 โจทก์ถามว่า ทำไมไม่เคยเห็นหน้าข้าฯ ตอบว่า ตามปกติข้าฯ ไม่ใช่นักขาวการเมือง แต่วันนี้ข้าฯมารายงานสด โจทก์ถามข้าฯ ต่อว่าชื่ออะไร ข้าฯ ตอบว่า ชื่อเกวลิน กังวานธนวัต จากนั้นโจทก์ถามข้าฯ ว่า จบการศึกษาจากที่ไหน ถามส่วนสูงว่าสูงเท่าไร ถามว่าทำไมตัดผมสั้น ถามต่อว่ามาทำข่าวอย่างไร ตอบว่ามากับคณะท่านนายกรัฐมนตรี โจทก์ถามว่า ตอนกลับจะกลับอย่างไร ข้าฯ ตอบว่า กลับกับคณะนายกรัฐมนตรี โจทก์ถามว่า “ไม่สนขึ้นเครื่องบินตำรวจหรือ” จังหวะนั้น มีตำรวจคนหนึ่งพูดแทรกขึ้นมาว่า “แต่มีที่ว่างที่เดียวนะ” จากนั้นตำรวจที่อยู่ในห้องก็หัวเราะกัน ข้าฯ ตอบไปว่า “ไม่เป็นไรคะ กลับกับทีมข่าว” ช่วงนั้นข้าฯ รู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ และไม่อยากที่จะคุยต่อไปแล้ว จึงบอกกับโจทก์ว่า “เดี๋ยวขอตัวขึ้นไปทำงาน” โจทก์ก็แสดงท่าทางยินยอมให้ไป ข้าฯ จึงเดินออกจากห้องไปโดยไม่ได้กลับไปเอาเอาอาหารที่สั่งไว้ ตั้งใจว่าทิ้งระยะเวลาไว้สักครู่ให้คณะของตำรวจไปเสียก่อน จึงค่อยกลับไปเอา
ข้าฯ ออกจากห้องที่ไปพบโจทก์แล้ว ก็ไปอยู่ที่จุดซึ่งต้องรายงานข่าว ประมาณครึ่งชั่วโมง จึงชวนนางสาวปิยะกมล สันทัดการ เพื่อนนักข่าวลงไปเอาของที่สั่งไว้ นางสาวปิยะกมล ถามข้าฯว่า ทำไมจึงต้องชวนลงไปด้วย ไปคนเดียวไม่ได้หรือ ข้าฯบอกว่าไม่กล้าลงไปคนเดียว จากนั้นข้าฯ จึงเล่าเหตุการณ์ตามที่เบิกความมาข้างต้นให้นางสาวปิยะกมลฟัง นางสาวปิยะกมลจึงลงไปเป็นเพื่อนข้าฯ ผ่านห้องที่ข้าฯไปพบโจทก์ก่อนหกน้านั้น เห็นโจทก์ยังอยู่ในห้องดังกล่าว
ข้าฯไปรับอาหารที่สั่งไว้ ขณะจะจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์ พลตำรวจโทพงศพัศ ไปหาข้าฯ ชอเบอร์โทรศัพท์ข้าฯ จึงให้เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน ซึ่งเป็นเบอร์กลางไป ตอนกลับข้าฯ เดินผ่านห้องที่โจทก์นั่งอยู่ โจทก์เรียกข้าจากในห้องว่า “อาวจะไปไหน” ข้าฯบอกว่าจะกลับแล้วระหว่างนั้นโจทก์พูดกับข้าฯ เป็นลักษณะประวิงเวลาที่จะชวนคุยต่อ แต่ข้าฯ จำรายละเอียดไม่ได้ ข้าฯ พูดตัดบทแล้วรีบกลับไป
ขณะที่จำเลยที่ 2 ตะโกนถามในทำนองที่ว่า พลตำรวจโทพงศพัศ มาทำอะไรข้าฯ พลตำรวจโทพงศพัศ ตอบว่า “เปล่าไม่มีอะไร” จากนั้นก็ปล่อยมือจากการจับแขนข้าฯ
เกี่ยวกับจดหมายที่มาสอดไว้ด้านล่างประตู ข้าฯ อ่านดูแล้ววางไว้บนโต๊ะในห้องพัก
คืนนั้นข้าฯหลับไปแล้วก็มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น นางอนัญญา เป็นคนรับโทรศัพท์ ข้าฯ คิดว่าเป็นโทรศัพท์ถึงข้า เพราะได้ยินเสียงนางอนัญญา พูดถามไปว่า “เกวลินไหน” หลังจากนั้นนางอนัญญาพูดปฏิเสธว่าไม่มี แล้ววางหูโทรศัพท์
.........
ขณะโจทก์พูดคุยกับข้าฯนั้น โจทก์มองหน้าข้าฯ แต่ข้าฯ ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโจทก์
....
ขณะเรียกข้าฯไปสอบถามนั้น โจทก์มิได้สอบถามข้าฯ ถึงเรื่องที่ข้าไม่ติดบัตรแสดงตัวเลย วันนั้น ข้าฯ ไม่ได้ติดบัตรประจำตัวนักข่าว
ตามปกติการเดินทางไปทำข่าวของนักข่าวในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร จะต้องติดบัตรประจำตัว แต่ในส่วนของข้าฯ ซึ่งทำหน้าที่รายงานสดนั้น ไม่มีการติดบัตรใดๆ
........
การเดินทางไปทำข่าวนอกสถานที่ รวมทั้งการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ไม่มีหน่วยราชการจัดทำบัตรเพื่อติดแสดงตัวเป็นพิเศษ
จากการติดตามข่าวเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น เห็นว่า ข้อมูลที่โจทก์แสดงต่อนักข่าวหรือสื่อมวลชนไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าฯ แต่ข้าฯ ไม่เคยท้วงติง เพราะเห็นว่ามีแต่จะเสียหาย ทั้งต่อภาพลักษณ์ของตนเอง และต่อองค์กร."
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2548 นางสาวเกวลิน กังวานธนวัต ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี ได้ให้การในฐานะพยานจำเลย ในคดีที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และพวกรวม 17 คน ทั้งหมดเป็นสื่อมวลชนและนักพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ) เป็นจำเลย ในคดีแพ่ง ข้อหาหมิ่นประมาท กรณีการเสนอข่าวข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีพฤติกรรมลวนลามนักข่าวสาว หรือ “บิ๊กขี้หลี” โดยพล.ต.อ.สันต์ เรียกค่าเสียหาย 2,500 ล้านบาท ตามคดีหมายเลขดำที่ 3968-3977/2547
บางส่วนของคำให้การมีดังนี้
“ข้าฯ ทำงานอยู่ที่สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นนายทีวี ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ช่วงเดือนพฤษภาคม 2546 ข้าฯ เดินทางไปทำข่าวในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดอุบลราชธานี
ข้าฯรู้จักนางอนัญญา ตั้งใจตรง ซึ่งปัจจุบันนี้เปลี่ยนนามสกุลเป็น ไสยมรรคา ซึ่งนางอนัญญา ก็เป็นผู้สื่อข่าวสายการเมืองของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เช่นกัน
นางอนัญญา มิได้เดินทางไปทำข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดภูเก็ต แต่ไปทำข่าวที่จังหวัดอุบลราชธานี
ที่จังหวัดอุบลราชธานี นางอนัญญาพักห้องเดียวกับข้าฯ ที่โรงแรมลายทอง
ขณะพักอยู่ภายในห้องเดียวกันนั้น ก็จะพูดคุยกันว่า ในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่แต่ละคนพบเหตุการณ์อะไรบ้าง
ข้าฯรู้จัก พลตำรวจโท พงศพัศ พงษ์เจริญ และพลตำรวจตรีสุรสิทธิ สังขพงษ์
ที่จังหวัดอุบลราชธานี ข้าฯ พบพลตำรวจโท พงศพัศ ช่วงที่คณะรัฐมนตรีเดินทางไปถึงโรงแรมลายทอง โดยพลตำรวจโท พงศพัศ เรียกข้าฯไปพบบอกว่า ให้ไปหานาย ซึ่งข้าฯ ก็ทราบว่า นายที่ให้ไปหาก็คือโจทย์ ไม่ได้แจ้งเหตุผล บอกเพียงว่า นายอยากพบ
ขณะที่พลตำรวจโท พงศพัศ บอกข้าฯ ข้าฯ ยืนอยู่บริเวณหน้าห้องผู้สื่อข่าวใกล้ๆ กับห้องรักษาความปลอดภัย ขณะนั้นข้าฯ ใส่สูทแต่งตัวพร้อมออกรายการสด
ข้าฯ ฟังแล้วยังคงยืนเฉยๆ พลตำรวจโทพงศพัศ จึงเข้ามาจับแขนดึงข้าฯไป แต่ข้าฯก็ไม่ยอมไป พลตำรวจโท พงศพัศ ก็มิได้พูดอะไร
จังหวะนั้นมีผู้สื่อข่าวอาวุโสคือ นางยุวดี ธัญญศิริ จำเลยที่ 2 ตะโกนขึ้นว่า “ทำอะไรน้องเขา ไปยุ่งอะไรเค้า” พลตำรวจโท พงศพัศ จึงปล่อยมือจากการจับแขนข้าฯ
หลังจากนั้น ข้าฯ ก็มิได้พบ พลตำรวจโท พงศพัศอีก
.............
ขณะพักอยู่โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งข้าฯ อยู่ในห้องพัก เวลาประมาณ 22 นาฬิกา มีคนนำจดหมายไปสอดไว้บริเวณช่องว่างใต้ประตู จ่าหน้าซองเขียนชื่อจ้าฯ ว่า เกวลิน ข้าฯ เอาจดหมายฉบับดังกล่าวมาดู ปรากฏว่าไม่ปิดผนึก แกะออกดูภายในจดหมายเขียนข้อความว่า
“ พรุ่งนี้เวลา 8.30 นาฬิกา ให้ไปขึ้นเครื่องบินตำรวจ ลงชื่อ พลตำรวจตรีสุรสิทธิ สังขพงศ์”
ข้าฯงง ซึ่งนางอนัญญา ก็เห็นจดหมายฉบับดังกล่าวด้วย
................
การเดินทางไปทำข่าวที่จังหวัดภูเก็ต ข้าฯเดินทางไปกับเครื่องบินของคณะนายกรัฐมนตรี โดยมีนักข่าวคนอื่นร่วมเดินทางไปด้วย
มีการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่โรงแรมภูเก็ตอาคราเดียร์
ข้าฯ เดินทางไปถึงโรงแรมดังกล่าวตอนสาย เมื่อไปถึงก็ต้องปฏิบัติหน้าที่จุดที่จะรายงานข่าวอยู่ด้านนอกโรงแรม
ไม่มีใครแจ้งให้ทราบว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าฯ จะต้องติดบัตรประจำตัว สำหรับข้าฯ มีเฉพาะบัตรแสดงตัวเป็นพนักงานของสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 เท่านั้น
ข้าฯมีเวลาว่างก่อนทำหน้าที่รายงานข่าวประมาณ 2 ชั่วโมง ดังนั้น จึงใช้เวลาดังกล่าวในการไปซื้อของแห้งประเภทน้ำพริกกลับบ้าน ซึ่งบริเวณชั้นล่างของโรงแรมมีร้านอาหารอยู่
ข้าฯ สั่งรายการอาหารที่ต้องการแล้ว ระหว่างรอการจัดอาหาร ข้าฯ ไปนั่งรอที่โต๊ะภายในร้านอาหาร ระหว่างนั้นพลตำรวจโทพงศพัศ มาเรียกข้าฯ โดยพูดขึ้นว่า “น้องๆ ขอเชิญไปพบ ผบ.ตร.หน่อย” ข้าฯ ถามว่า “มีอะไรคะ” พลตำรวจโทพงศพัศ บอกว่า “ท่านอยากถามอะไรหน่อย”
ข้าฯเดินตาม พลตำรวจโทพงศพัศ ไปที่ห้องๆหนึ่ง ซึ่งจัดไว้เป็นสัดส่วน มีนายตำรวจอยู่จำนวนหลายคนรวมทั้งโจทก์
เมื่อเข้าไปในห้องแล้ว มีตำรวจเชิญให้ข้าฯ ไปนั่ง แต่จำไม่ได้ว่าคนที่เชิญเป็นใคร
ขณะนั้นโจทก์นั่งอยู่ที่หัวโต๊ะคนเดียว ข้าฯถูกเรียกให้ไปนั่งอยู่ด้านข้าง ฝั่งซ้ายมือของโจทก์ เมื่อข้าฯนั่งแล้ว โจทก์ถามขึ้นว่า “มาจากไหน” ข้าฯตอบว่า มาจากช่อง 9 โจทก์ถามว่า ทำไมไม่เคยเห็นหน้าข้าฯ ตอบว่า ตามปกติข้าฯ ไม่ใช่นักขาวการเมือง แต่วันนี้ข้าฯมารายงานสด โจทก์ถามข้าฯ ต่อว่าชื่ออะไร ข้าฯ ตอบว่า ชื่อเกวลิน กังวานธนวัต จากนั้นโจทก์ถามข้าฯ ว่า จบการศึกษาจากที่ไหน ถามส่วนสูงว่าสูงเท่าไร ถามว่าทำไมตัดผมสั้น ถามต่อว่ามาทำข่าวอย่างไร ตอบว่ามากับคณะท่านนายกรัฐมนตรี โจทก์ถามว่า ตอนกลับจะกลับอย่างไร ข้าฯ ตอบว่า กลับกับคณะนายกรัฐมนตรี โจทก์ถามว่า “ไม่สนขึ้นเครื่องบินตำรวจหรือ” จังหวะนั้น มีตำรวจคนหนึ่งพูดแทรกขึ้นมาว่า “แต่มีที่ว่างที่เดียวนะ” จากนั้นตำรวจที่อยู่ในห้องก็หัวเราะกัน ข้าฯ ตอบไปว่า “ไม่เป็นไรคะ กลับกับทีมข่าว” ช่วงนั้นข้าฯ รู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ และไม่อยากที่จะคุยต่อไปแล้ว จึงบอกกับโจทก์ว่า “เดี๋ยวขอตัวขึ้นไปทำงาน” โจทก์ก็แสดงท่าทางยินยอมให้ไป ข้าฯ จึงเดินออกจากห้องไปโดยไม่ได้กลับไปเอาเอาอาหารที่สั่งไว้ ตั้งใจว่าทิ้งระยะเวลาไว้สักครู่ให้คณะของตำรวจไปเสียก่อน จึงค่อยกลับไปเอา
ข้าฯ ออกจากห้องที่ไปพบโจทก์แล้ว ก็ไปอยู่ที่จุดซึ่งต้องรายงานข่าว ประมาณครึ่งชั่วโมง จึงชวนนางสาวปิยะกมล สันทัดการ เพื่อนนักข่าวลงไปเอาของที่สั่งไว้ นางสาวปิยะกมล ถามข้าฯว่า ทำไมจึงต้องชวนลงไปด้วย ไปคนเดียวไม่ได้หรือ ข้าฯบอกว่าไม่กล้าลงไปคนเดียว จากนั้นข้าฯ จึงเล่าเหตุการณ์ตามที่เบิกความมาข้างต้นให้นางสาวปิยะกมลฟัง นางสาวปิยะกมลจึงลงไปเป็นเพื่อนข้าฯ ผ่านห้องที่ข้าฯไปพบโจทก์ก่อนหกน้านั้น เห็นโจทก์ยังอยู่ในห้องดังกล่าว
ข้าฯไปรับอาหารที่สั่งไว้ ขณะจะจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์ พลตำรวจโทพงศพัศ ไปหาข้าฯ ชอเบอร์โทรศัพท์ข้าฯ จึงให้เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน ซึ่งเป็นเบอร์กลางไป ตอนกลับข้าฯ เดินผ่านห้องที่โจทก์นั่งอยู่ โจทก์เรียกข้าจากในห้องว่า “อาวจะไปไหน” ข้าฯบอกว่าจะกลับแล้วระหว่างนั้นโจทก์พูดกับข้าฯ เป็นลักษณะประวิงเวลาที่จะชวนคุยต่อ แต่ข้าฯ จำรายละเอียดไม่ได้ ข้าฯ พูดตัดบทแล้วรีบกลับไป
ขณะที่จำเลยที่ 2 ตะโกนถามในทำนองที่ว่า พลตำรวจโทพงศพัศ มาทำอะไรข้าฯ พลตำรวจโทพงศพัศ ตอบว่า “เปล่าไม่มีอะไร” จากนั้นก็ปล่อยมือจากการจับแขนข้าฯ
เกี่ยวกับจดหมายที่มาสอดไว้ด้านล่างประตู ข้าฯ อ่านดูแล้ววางไว้บนโต๊ะในห้องพัก
คืนนั้นข้าฯหลับไปแล้วก็มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น นางอนัญญา เป็นคนรับโทรศัพท์ ข้าฯ คิดว่าเป็นโทรศัพท์ถึงข้า เพราะได้ยินเสียงนางอนัญญา พูดถามไปว่า “เกวลินไหน” หลังจากนั้นนางอนัญญาพูดปฏิเสธว่าไม่มี แล้ววางหูโทรศัพท์
.........
ขณะโจทก์พูดคุยกับข้าฯนั้น โจทก์มองหน้าข้าฯ แต่ข้าฯ ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโจทก์
....
ขณะเรียกข้าฯไปสอบถามนั้น โจทก์มิได้สอบถามข้าฯ ถึงเรื่องที่ข้าไม่ติดบัตรแสดงตัวเลย วันนั้น ข้าฯ ไม่ได้ติดบัตรประจำตัวนักข่าว
ตามปกติการเดินทางไปทำข่าวของนักข่าวในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร จะต้องติดบัตรประจำตัว แต่ในส่วนของข้าฯ ซึ่งทำหน้าที่รายงานสดนั้น ไม่มีการติดบัตรใดๆ
........
การเดินทางไปทำข่าวนอกสถานที่ รวมทั้งการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ไม่มีหน่วยราชการจัดทำบัตรเพื่อติดแสดงตัวเป็นพิเศษ
จากการติดตามข่าวเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น เห็นว่า ข้อมูลที่โจทก์แสดงต่อนักข่าวหรือสื่อมวลชนไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าฯ แต่ข้าฯ ไม่เคยท้วงติง เพราะเห็นว่ามีแต่จะเสียหาย ทั้งต่อภาพลักษณ์ของตนเอง และต่อองค์กร."