ผู้จัดการรายวัน - สภาพัฒน์ งุบงิบชงเรื่องโอนอำนาจการอนุมัติรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการของรัฐและเอกชนจาก สผ.ไปยังกระทรวงเจ้าของโครงการและหน่วยงานผู้อนุญาต รองรับแผนเร่งรัดลงทุนเมกะโปรเจกและเขตเศรษฐกิจพิเศษ นักวิชาการสวดยับขาดระบบถ่วงดุลตรวจสอบ จับตาปล่อยผีโครงการเจ้าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมระลอกใหญ่
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะเรียกประชุมคณะกรรมการฯ นัดแรกหลังเข้ารับตำแหน่ง ประมาณวันที่ 15 ธ.ค.นี้ โดยมีวาระพิจารณาที่สำคัญคือ การทบทวนอำนาจการพิจารณา อนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ใหม่
สาระสำคัญที่จะทบทวน ก็คือ การโอนอำนาจการพิจารณาสั่งอนุญาต หรือต่อใบอนุญาตอีไอเอ จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่มีอำนาจตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 50 ไปให้หน่วยงานรัฐเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานอนุญาต ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติ อีไอเอและอนุญาตดำเนินโครงการเอง ซึ่งโครงการของรัฐ สามารถดำเนินการ ตามแนวทางดังกล่าวได้โดยใช้อำนาจทางการบริหาร ส่วนโครงการเอกชน จะต้องแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ก่อนให้หน่วยงานผู้อนุญาตโครงการ พิจารณาอนุมัติ
เรื่องข้างต้น เกิดขึ้นภายหลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มอบหมาย ให้สภาพัฒน์ โดยนายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นประธานประชุมหารือกับสผ. ในการทบทวนกรอบแนวคิดการทำอีไอเอใหม่ และได้ข้อสรุปดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ข้าราชการใน สผ. ส่วนใหญ่ต่างไม่เห็นพ้องด้วย
ตามรายงานสรุปผลการประชุมหารือ เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 48 ระบุเหตุผลที่ต้อง ทบทวนการพิจารณาอนุมัติอีไอเอว่า การทำหน้าที่ของ สผ. ไม่ค่อยมีผลในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะการควบคุม กำกับดูแล และบังคับใช้มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ตามกรอบแนวทางใหม่ สผ.จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข แนวทางการพิจารณา โดยหารือร่วมกับหน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงาน อนุญาตเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและปฏิบัติได้
นายธงชัย พรรณสวัสดิ์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม กล่าว ว่า หลักการสามารถ ทำได้ต่างประเทศก็ทำกัน ถ้าหากหน่วยงานนั้นๆ มีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมที่มากพอ ข้อดีก็คือเรื่องทั้งหมดจะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานต้นสังกัดโครงการหน่วยงานเดียว เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาก็ชี้ได้ว่าหน่วยงานนั้นๆ ต้องรับผิดชอบ จากปัจจุบันที่มี 2 หน่วยงานคือ หน่วยงานเจ้าของโครงการ และ สผ.ร่วมกันรับผิดชอบ คอยตรวจสอบซึ่งกันและกัน
นายธงชัย กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ก่อนที่หน่วยงานหรือกระทรวงจะเอาอำนาจพิจารณาอนุมัติอีไอเอไป ต้องพิสูจน์ให้ชัดก่อนว่าสามารถติดตามตรวจสอบ และป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้จริง ซึ่งหากประเมินในเวลานี้ต้องบอกว่ายังไม่มีหน่วยงานหรือกระทรวงไหนที่พร้อม ยังไม่มั่นใจ เป็นเรื่องน่าห่วงและอันตราย เพราะจะกลายเป็นช่องโหว่
“ถ้ากระทรวงอยากทำเองก็ต้องพิสูจน์กันก่อน ในหน่วยงานก็ต้องมีระดับรองผู้ว่าการฯ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมขึ้นมาคานกับฝ่ายพัฒนา และจะต้องมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานนั้น ที่มีคนนอกเข้ามาร่วมด้วย ทั้งนักวิชาการ เอ็นจีโอ เป็นคณะกรรมการถาวรของหน่วยงานและรายโครงการด้วย”
ด้านนายบัณฑูร เศรษฐศิโรฒน์ อนุกรรมการด้านฐานทรัพยากรในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า แนวทางใหม่จะทำให้ขาดระบบถ่วงดุล เพราะหน่วยงานเจ้าของโครงการมีอำนาจทั้งตรวจเอง อนุมัติเอง ทำให้ธรรมาภิบาล ด้านสิ่งแวดล้อมไม่มี เกิดความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ระหว่างความต้องการดำเนิน โครงการอย่างเร่งด่วนกับการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา ซึ่งมีแนวโน้มชัดเจนว่าความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมจะอยู่ท้ายสุด
นายบัณฑูร กล่าวว่า การแก้ไขทบทวนอำนาจการอนุมัติอีไอเอข้างต้น มีความเชื่อมโยงกับการเร่งดำเนินโครงการเมกะโปรเจคและโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมาโครงการใหญ่หลายโครงการล่าช้า เพราะถูกตรวจสอบด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด
“หากที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เห็นชอบในข้อเสนอดังกล่าวจะมีโครงการที่คั่งค้างเพราะมีปัญหาด้านนี้อยู่เดินหน้าได้เร็วขึ้น ให้จับตาดูการปล่อยผีโครงการต่างๆ จะออกมาเป็นชุดๆ”
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะเรียกประชุมคณะกรรมการฯ นัดแรกหลังเข้ารับตำแหน่ง ประมาณวันที่ 15 ธ.ค.นี้ โดยมีวาระพิจารณาที่สำคัญคือ การทบทวนอำนาจการพิจารณา อนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ใหม่
สาระสำคัญที่จะทบทวน ก็คือ การโอนอำนาจการพิจารณาสั่งอนุญาต หรือต่อใบอนุญาตอีไอเอ จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่มีอำนาจตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 50 ไปให้หน่วยงานรัฐเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานอนุญาต ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติ อีไอเอและอนุญาตดำเนินโครงการเอง ซึ่งโครงการของรัฐ สามารถดำเนินการ ตามแนวทางดังกล่าวได้โดยใช้อำนาจทางการบริหาร ส่วนโครงการเอกชน จะต้องแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ก่อนให้หน่วยงานผู้อนุญาตโครงการ พิจารณาอนุมัติ
เรื่องข้างต้น เกิดขึ้นภายหลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มอบหมาย ให้สภาพัฒน์ โดยนายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นประธานประชุมหารือกับสผ. ในการทบทวนกรอบแนวคิดการทำอีไอเอใหม่ และได้ข้อสรุปดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ข้าราชการใน สผ. ส่วนใหญ่ต่างไม่เห็นพ้องด้วย
ตามรายงานสรุปผลการประชุมหารือ เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 48 ระบุเหตุผลที่ต้อง ทบทวนการพิจารณาอนุมัติอีไอเอว่า การทำหน้าที่ของ สผ. ไม่ค่อยมีผลในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะการควบคุม กำกับดูแล และบังคับใช้มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ตามกรอบแนวทางใหม่ สผ.จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข แนวทางการพิจารณา โดยหารือร่วมกับหน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงาน อนุญาตเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและปฏิบัติได้
นายธงชัย พรรณสวัสดิ์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม กล่าว ว่า หลักการสามารถ ทำได้ต่างประเทศก็ทำกัน ถ้าหากหน่วยงานนั้นๆ มีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมที่มากพอ ข้อดีก็คือเรื่องทั้งหมดจะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานต้นสังกัดโครงการหน่วยงานเดียว เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาก็ชี้ได้ว่าหน่วยงานนั้นๆ ต้องรับผิดชอบ จากปัจจุบันที่มี 2 หน่วยงานคือ หน่วยงานเจ้าของโครงการ และ สผ.ร่วมกันรับผิดชอบ คอยตรวจสอบซึ่งกันและกัน
นายธงชัย กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ก่อนที่หน่วยงานหรือกระทรวงจะเอาอำนาจพิจารณาอนุมัติอีไอเอไป ต้องพิสูจน์ให้ชัดก่อนว่าสามารถติดตามตรวจสอบ และป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้จริง ซึ่งหากประเมินในเวลานี้ต้องบอกว่ายังไม่มีหน่วยงานหรือกระทรวงไหนที่พร้อม ยังไม่มั่นใจ เป็นเรื่องน่าห่วงและอันตราย เพราะจะกลายเป็นช่องโหว่
“ถ้ากระทรวงอยากทำเองก็ต้องพิสูจน์กันก่อน ในหน่วยงานก็ต้องมีระดับรองผู้ว่าการฯ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมขึ้นมาคานกับฝ่ายพัฒนา และจะต้องมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานนั้น ที่มีคนนอกเข้ามาร่วมด้วย ทั้งนักวิชาการ เอ็นจีโอ เป็นคณะกรรมการถาวรของหน่วยงานและรายโครงการด้วย”
ด้านนายบัณฑูร เศรษฐศิโรฒน์ อนุกรรมการด้านฐานทรัพยากรในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า แนวทางใหม่จะทำให้ขาดระบบถ่วงดุล เพราะหน่วยงานเจ้าของโครงการมีอำนาจทั้งตรวจเอง อนุมัติเอง ทำให้ธรรมาภิบาล ด้านสิ่งแวดล้อมไม่มี เกิดความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ระหว่างความต้องการดำเนิน โครงการอย่างเร่งด่วนกับการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา ซึ่งมีแนวโน้มชัดเจนว่าความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมจะอยู่ท้ายสุด
นายบัณฑูร กล่าวว่า การแก้ไขทบทวนอำนาจการอนุมัติอีไอเอข้างต้น มีความเชื่อมโยงกับการเร่งดำเนินโครงการเมกะโปรเจคและโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมาโครงการใหญ่หลายโครงการล่าช้า เพราะถูกตรวจสอบด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด
“หากที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เห็นชอบในข้อเสนอดังกล่าวจะมีโครงการที่คั่งค้างเพราะมีปัญหาด้านนี้อยู่เดินหน้าได้เร็วขึ้น ให้จับตาดูการปล่อยผีโครงการต่างๆ จะออกมาเป็นชุดๆ”