ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม สำหรับการจัดงาน EU-Thailand Partenariat 2005 “ทางลัด SMEs ไทยสู่พันธมิตรทางธุรกิจและการลงทุนกับยุโรป” เมื่อวันที่ 17 - 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและแสดงสินค้านานาชาติ อิมแพค เมืองทองธานี จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมกับ คณะกรรมาธิการยุโรป
โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรือง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม และ ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ดร. ฟริดดริค ฮัมบวร์เกอร์ หัวหน้าคณะกรรมการยุโรปประจำประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน
การจัดงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือทางด้านธุรกิจ การค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่าง SMEs จากประเทศไทย และ SMEs จากสหภาพยุโรป อีกทั้งยังเป็นเวทีในการแสดงศักยภาพของ SMEs ไทย และเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ด้านเศรษฐกิจการลงทุนของประเทศ สู่สายตานักธุรกิจ นักลงทุนจากสหภาพยุโรปนับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ได้จับคู่เจรจาแบบ one-on-one business matchmaking กับผู้ประกอบการ SMEs จาก สหภาพยุโรป เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
กล่าวได้ว่าการจัดงานในครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการ และสนับสนุนให้ SMEs ไทยก้าวสู่การแข่งขันในระดับสากล และส่งเสริมให้มีการเปิดตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะตลาดในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และเป็นตลาดที่สำคัญของโลก
สำหรับ SMEs ไทยที่เข้าร่วมงาน ได้ผ่านการคัดเลือกมาทั้งสิ้นจำนวน 282 บริษัท ครอบคลุม 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไอซีที และซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรมแฟชั่นและการออกแบบ อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ และอุตสาหกรรมการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น การท่องเที่ยว ศูนย์สุขภาพและสปา การพิมพ์ การวิจัยและพัฒนา พลังงานและพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ส่วน SMEs จากสหภาพยุโรปนั้น มาจากกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปกว่า 20 ประเทศ ได้แก่ สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี สหราชอาณาจักร เยอรมนี ลักซ์เซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ สโลวีเนีย ออสเตรีย ฮังการี สวีเดน ลัตเวีย เอสโตเนีย โปรตุเกส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ สโลวีเกีย ลิธัวเนีย รวม 146 บริษัท โดยผ่านการคัดเลือก โดย National counselor ของแต่ละประเทศมาแล้วเช่นกัน
ในการจัดงาน 2 วัน มีการลงทะเบียนนัดหมายประชุมธุรกิจกว่า 2,100 คู่ ซึ่งนับเป็นการลงทะเบียนสูงสุดเท่าของการจัดงาน Partenariat ที่ผ่านมา คือเฉลี่ยแล้วมีการนัดประชุม 1 บริษัท ต่อ 14 นัดหมาย โดยเคยมีการจัดงานในลักษณะนี้มาแล้วเช่น ที่สิงคโปร์ อินเดีย มาเลเซีย จีน ฯลฯ สูงสุดมีการนัดหมายมาถึง 37 นัด คือ บริษัท อเนก แมชินเนอรี่ จำกัด ผู้ผลิต เครื่องจักรบรรจุขวดและกระป๋องสำหรับอุตสาหกรรมและเครื่องดื่ม อันดับ 2 บริษัทซิตี้ สตีล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตชิ้นส่วน
หัวข้อการเจรจาแบ่งออกเป็น การร่วมทุน (joint venture) คิดเป็นร้อยละ 10 การค้าและการรับจ้างผลิต ร้อยละ 50 การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ร้อยละ 32 และหัวข้ออื่น ๆ ร้อยละ 32 อาทิ การร่วมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ การเป็นตัวแทนผลิตสินค้าฯลฯ
ที่สำคัญ ผลจากการประชุมได้ก่อให้เกิดการตกลงทางธุรกิจมากถึงร้อยละ 80 คือจะมีการเจรจากัน และติดต่อกันทางธุรกิจต่อไป ทั้งนี้ มีบริษัทที่ตกลงจะเริ่มธุรกิจด้วยกันแล้วประมาณร้อยละ 6 สำหรับความร่วมมือทางธุรกิจมีความสนใจเปิดสปาแผนโบราณไทยในประเทศของตน การร่วมทุนเปิดสปาในไทยหรือจัดแพกเกจทัวร์สปาในเมืองไทย บริษัทไทยได้เป็นตัวแทนจำหน่ายซอฟแวร์ การซื้อขายเว็บไซต์ การเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าไทย การว่าจ้างบริษัทไทยผลิตสินค้า เป็นต้น
ความสำเร็จของการจัดงานครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า SMEs จากสหภาพยุโรปมีความสนใจที่จะร่วมมือกันทางธุรกิจ การค้า การลงทุน และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี กับ SMEs ไทยเป็นอย่างมาก โดยอุตสาหกรรมที่ SMEs จาก EU สนใจ SMEs ไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการมูลค่าเพิ่มสูง อุตสาหกรรมแฟชั่นและการออกแบบ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอกนิกส์ ไอทีซี และซอฟต์แวร์
ในด้านกิจกรรมการสัมมนาในงาน EU-Thailand Partenariat 2005 ก็ได้รับความสนใจอย่างมาก มีผู้เข้าสัมมนามากถึง 1,000 คนใน 15 หัวข้อ โดยหัวข้อที่น่าได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ ได้แก่ แนวโน้มและสถิติการนำเข้า-ส่งออกระหว่างไทยกับ EU ครบเครื่องเรื่องการส่งออก และกุญแจความสำเร็จสู่การลงทุนใน EU
ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า สหภาพยุโรป เป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของโลก โดยถือเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เป็น 1 ใน 5 ของโลกที่มีการค้ากับต่างประเทศมากที่สุด มีสัดส่วน GDP สูงถึงร้อยละ 40 ของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหมด เป็นประเทศผู้ลงทุนในต่างประเทศรายใหญ่ของโลก รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งของบรรษัทข้ามชาติระดับโลกจำนวนมาก และ เป็นทั้งตลาดสินค้า และบริการ ที่มีศักยภาพในการซื้อสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
สำหรับด้านการลงทุนในประเทศไทย นั้น สหภาพยุโรป ถือเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ของไทย โดยอยู่ในอันดับที่ 2 รองจากประเทศญี่ปุ่น เท่านั้น ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน มีโครงการลงทุนจากสหภาพยุโรปที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมากถึง 893 โครงการ คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 466,187 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมบริการ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นต้น
โดยในปี 2548 (มกราคม – ตุลาคม) บีโอไอ ได้ให้การส่งเสริมการลงทุนโครงการจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป รวมมูลค่าประมาณ 25,377 ล้านบาท อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมเคมีและกระดาษ มีมูลค่า 7,447 ล้านบาท รองลงมา เป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 5,586 ล้านบาท และอันดับสาม คือ อุตสาหกรรมบริการ มีมูลค่า 4,025 ล้านบาท
ในด้านการค้า สหภาพยุโรปนับเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 4 ของไทย รองจาก อาเซียน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ มีมูลค่าเฉลี่ยเกือบ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อ สินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 3 อันดับแรก คือ 1) เครื่องคอมพิวเตอร์ 2) รถยนต์ และ 3) อัญมณีและเครื่องประดับ
โดยในปี 2548 (มกราคม - กันยายน) การส่งออกสินค้าจากไทยไปสหภาพยุโรปมีอัตราการเติบโต ประมาณร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 11,101 ล้านบาท ตลาดคู่ค้าสำคัญของไทย ได้แก่ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และตลาดดาวรุ่ง คือ เชค ออสเตรีย และเอสโตเนีย
ทั้งนี้ อุปสรรคสำคัญของการส่งออกไปสหภาพยุโรป คือ เรื่องของมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี ซึ่งเอสเอ็มอีไทยควรเตรียมพร้อม ได้แก่ ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางประเภทในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Directive on Restriction of the Use of Certain Hazardous Substance) โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฏาคม 2549 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย จะได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษภายใต้ GSP โครงการใหม่ด้วย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 – 31 ธันวาคม 2558 และจะทำให้รายการสินค้าที่ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นจาก 6,900 รายการเป็น 7,200 รายการ
โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรือง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม และ ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ดร. ฟริดดริค ฮัมบวร์เกอร์ หัวหน้าคณะกรรมการยุโรปประจำประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน
การจัดงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือทางด้านธุรกิจ การค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่าง SMEs จากประเทศไทย และ SMEs จากสหภาพยุโรป อีกทั้งยังเป็นเวทีในการแสดงศักยภาพของ SMEs ไทย และเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ด้านเศรษฐกิจการลงทุนของประเทศ สู่สายตานักธุรกิจ นักลงทุนจากสหภาพยุโรปนับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ได้จับคู่เจรจาแบบ one-on-one business matchmaking กับผู้ประกอบการ SMEs จาก สหภาพยุโรป เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
กล่าวได้ว่าการจัดงานในครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการ และสนับสนุนให้ SMEs ไทยก้าวสู่การแข่งขันในระดับสากล และส่งเสริมให้มีการเปิดตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะตลาดในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และเป็นตลาดที่สำคัญของโลก
สำหรับ SMEs ไทยที่เข้าร่วมงาน ได้ผ่านการคัดเลือกมาทั้งสิ้นจำนวน 282 บริษัท ครอบคลุม 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไอซีที และซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรมแฟชั่นและการออกแบบ อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ และอุตสาหกรรมการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น การท่องเที่ยว ศูนย์สุขภาพและสปา การพิมพ์ การวิจัยและพัฒนา พลังงานและพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ส่วน SMEs จากสหภาพยุโรปนั้น มาจากกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปกว่า 20 ประเทศ ได้แก่ สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี สหราชอาณาจักร เยอรมนี ลักซ์เซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ สโลวีเนีย ออสเตรีย ฮังการี สวีเดน ลัตเวีย เอสโตเนีย โปรตุเกส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ สโลวีเกีย ลิธัวเนีย รวม 146 บริษัท โดยผ่านการคัดเลือก โดย National counselor ของแต่ละประเทศมาแล้วเช่นกัน
ในการจัดงาน 2 วัน มีการลงทะเบียนนัดหมายประชุมธุรกิจกว่า 2,100 คู่ ซึ่งนับเป็นการลงทะเบียนสูงสุดเท่าของการจัดงาน Partenariat ที่ผ่านมา คือเฉลี่ยแล้วมีการนัดประชุม 1 บริษัท ต่อ 14 นัดหมาย โดยเคยมีการจัดงานในลักษณะนี้มาแล้วเช่น ที่สิงคโปร์ อินเดีย มาเลเซีย จีน ฯลฯ สูงสุดมีการนัดหมายมาถึง 37 นัด คือ บริษัท อเนก แมชินเนอรี่ จำกัด ผู้ผลิต เครื่องจักรบรรจุขวดและกระป๋องสำหรับอุตสาหกรรมและเครื่องดื่ม อันดับ 2 บริษัทซิตี้ สตีล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตชิ้นส่วน
หัวข้อการเจรจาแบ่งออกเป็น การร่วมทุน (joint venture) คิดเป็นร้อยละ 10 การค้าและการรับจ้างผลิต ร้อยละ 50 การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ร้อยละ 32 และหัวข้ออื่น ๆ ร้อยละ 32 อาทิ การร่วมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ การเป็นตัวแทนผลิตสินค้าฯลฯ
ที่สำคัญ ผลจากการประชุมได้ก่อให้เกิดการตกลงทางธุรกิจมากถึงร้อยละ 80 คือจะมีการเจรจากัน และติดต่อกันทางธุรกิจต่อไป ทั้งนี้ มีบริษัทที่ตกลงจะเริ่มธุรกิจด้วยกันแล้วประมาณร้อยละ 6 สำหรับความร่วมมือทางธุรกิจมีความสนใจเปิดสปาแผนโบราณไทยในประเทศของตน การร่วมทุนเปิดสปาในไทยหรือจัดแพกเกจทัวร์สปาในเมืองไทย บริษัทไทยได้เป็นตัวแทนจำหน่ายซอฟแวร์ การซื้อขายเว็บไซต์ การเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าไทย การว่าจ้างบริษัทไทยผลิตสินค้า เป็นต้น
ความสำเร็จของการจัดงานครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า SMEs จากสหภาพยุโรปมีความสนใจที่จะร่วมมือกันทางธุรกิจ การค้า การลงทุน และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี กับ SMEs ไทยเป็นอย่างมาก โดยอุตสาหกรรมที่ SMEs จาก EU สนใจ SMEs ไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการมูลค่าเพิ่มสูง อุตสาหกรรมแฟชั่นและการออกแบบ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอกนิกส์ ไอทีซี และซอฟต์แวร์
ในด้านกิจกรรมการสัมมนาในงาน EU-Thailand Partenariat 2005 ก็ได้รับความสนใจอย่างมาก มีผู้เข้าสัมมนามากถึง 1,000 คนใน 15 หัวข้อ โดยหัวข้อที่น่าได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ ได้แก่ แนวโน้มและสถิติการนำเข้า-ส่งออกระหว่างไทยกับ EU ครบเครื่องเรื่องการส่งออก และกุญแจความสำเร็จสู่การลงทุนใน EU
ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า สหภาพยุโรป เป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของโลก โดยถือเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เป็น 1 ใน 5 ของโลกที่มีการค้ากับต่างประเทศมากที่สุด มีสัดส่วน GDP สูงถึงร้อยละ 40 ของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหมด เป็นประเทศผู้ลงทุนในต่างประเทศรายใหญ่ของโลก รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งของบรรษัทข้ามชาติระดับโลกจำนวนมาก และ เป็นทั้งตลาดสินค้า และบริการ ที่มีศักยภาพในการซื้อสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
สำหรับด้านการลงทุนในประเทศไทย นั้น สหภาพยุโรป ถือเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ของไทย โดยอยู่ในอันดับที่ 2 รองจากประเทศญี่ปุ่น เท่านั้น ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน มีโครงการลงทุนจากสหภาพยุโรปที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมากถึง 893 โครงการ คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 466,187 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมบริการ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นต้น
โดยในปี 2548 (มกราคม – ตุลาคม) บีโอไอ ได้ให้การส่งเสริมการลงทุนโครงการจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป รวมมูลค่าประมาณ 25,377 ล้านบาท อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมเคมีและกระดาษ มีมูลค่า 7,447 ล้านบาท รองลงมา เป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 5,586 ล้านบาท และอันดับสาม คือ อุตสาหกรรมบริการ มีมูลค่า 4,025 ล้านบาท
ในด้านการค้า สหภาพยุโรปนับเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 4 ของไทย รองจาก อาเซียน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ มีมูลค่าเฉลี่ยเกือบ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อ สินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 3 อันดับแรก คือ 1) เครื่องคอมพิวเตอร์ 2) รถยนต์ และ 3) อัญมณีและเครื่องประดับ
โดยในปี 2548 (มกราคม - กันยายน) การส่งออกสินค้าจากไทยไปสหภาพยุโรปมีอัตราการเติบโต ประมาณร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 11,101 ล้านบาท ตลาดคู่ค้าสำคัญของไทย ได้แก่ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และตลาดดาวรุ่ง คือ เชค ออสเตรีย และเอสโตเนีย
ทั้งนี้ อุปสรรคสำคัญของการส่งออกไปสหภาพยุโรป คือ เรื่องของมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี ซึ่งเอสเอ็มอีไทยควรเตรียมพร้อม ได้แก่ ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางประเภทในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Directive on Restriction of the Use of Certain Hazardous Substance) โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฏาคม 2549 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย จะได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษภายใต้ GSP โครงการใหม่ด้วย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 – 31 ธันวาคม 2558 และจะทำให้รายการสินค้าที่ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นจาก 6,900 รายการเป็น 7,200 รายการ