RMF (Retirement Mutual Fund) และ LTF (Long Term Equity Fund) เป็นเครื่องมือการลงทุนอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป ก็คือ เงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งสองประเภทนี้ผู้ลงทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถือเป็นสิทธิประโยชน์พิเศษที่ผู้ลงทุนจะได้รับนอกเหนือจากผลตอบแทนจากการลงทุน
กองทุน RMF เป็นกองทุนรวมภาคเอกชนชนิดหนึ่งที่ส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้มีรายรับเป็นเงินเดือนและสะสมเงินไว้ใช้ในยามที่ตนเองเกษียณอายุจากการทำงาน เพื่อที่จะสามารถเลี้ยงตนเองได้ในอนาคต ซึ่งสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่มีการจ่ายเงินปันผล
ส่วน LTF เป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่จะเน้นการลงทุนในหุ้น และสามารถจ่ายเงินปันผลได้ไม่เกิน 30% ของกำไรสะสม รวมทั้งเปิดให้มีการซื้อขายได้ปีละ 2 ครั้ง โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนแบบกองทุนรวมที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ให้มากขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นตาม
นโยบายการลงทุนของ RMF และ LTF
แตกต่างกันอย่างไร
กองทุนรวม RMF มีนโยบายการลงทุนในแต่ละกองให้เลือกหลากหลายรูปแบบเหมือนกับกองทุนรวมทั่วๆ ไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรืออาจจะเป็นกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลางที่อาจจะผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูงที่เน้นการลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น ซึ่งมีให้นักลงทุนเลือกหลากหลายรูปแบบแตกต่างกับกองทุน LTF อย่างสิ้นเชิง
กองทุน LTF มีนโยบายการลงทุนแบบเดียว คือ การลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน โดยแต่ละกอง LTF จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เช่น บางกอง LTF อาจจะเน้นการลงทุนในหุ้นของกลุ่ม SET50 หรือที่เรียกกันว่าหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ หรืออาจจะลงทุนในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในนโยบายการลงทุนของกองทุน LTF นั้นๆ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ทั้งกองทุน RMF และ LTF ก็จะแตกต่างกันออกไปตามนโยบายการลงทุน
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF และ LTF
กองทุน RMF และ กองทุน LTF มีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป ดังนี้
กองทุน RMF เน้นให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยนักลงทุนจะต้องสะสมเงินเข้ากองทุนอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง โดยจะต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือจำนวน 5,000 บาทแล้ว แต่จำนวนใดจะต่ำกว่ากัน ยกตัวอย่างเช่น รายได้ในปีนั้นคือ 100,000 บาท 3%ของรายได้ คือ 3,000 บาท จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องลงทุนใน RMF คือ 3,000 บาท นั่นเอง ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนนานเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน แต่ในกรณีนี้จะยกเว้นให้ในปีที่คุณไม่มีเงินได้และการขายคืนหน่วยลงทุนจะทำให้ได้ก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และจะต้องลงทุนในกองทุน RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งหมด คือ เงื่อนไขในการลงทุนในกองทุน RMF
ส่วนเงื่อนไขของการลงทุนในกองทุน LTF นั้น เมื่อผู้ลงทุนซื้อกองทุน LTF แล้ว จะต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งจะนับตามปีปฏิทิน เช่น เงินลงทุนแต่ละยอดที่ซื้อในระหว่างปี 2548 ก็จะครบเงื่อนไขที่จะสามารถขายหน่วยลงทุนได้อีกทีในปี 2552 เป็นต้นไป และในการขายคืนนั้นคุณจะขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดหรือขายเฉพาะบางส่วนก็ได้
ที่มา: หนังสือ "น่ารู้จาก กบข." จากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)
กองทุน RMF เป็นกองทุนรวมภาคเอกชนชนิดหนึ่งที่ส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้มีรายรับเป็นเงินเดือนและสะสมเงินไว้ใช้ในยามที่ตนเองเกษียณอายุจากการทำงาน เพื่อที่จะสามารถเลี้ยงตนเองได้ในอนาคต ซึ่งสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่มีการจ่ายเงินปันผล
ส่วน LTF เป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่จะเน้นการลงทุนในหุ้น และสามารถจ่ายเงินปันผลได้ไม่เกิน 30% ของกำไรสะสม รวมทั้งเปิดให้มีการซื้อขายได้ปีละ 2 ครั้ง โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนแบบกองทุนรวมที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ให้มากขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นตาม
นโยบายการลงทุนของ RMF และ LTF
แตกต่างกันอย่างไร
กองทุนรวม RMF มีนโยบายการลงทุนในแต่ละกองให้เลือกหลากหลายรูปแบบเหมือนกับกองทุนรวมทั่วๆ ไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรืออาจจะเป็นกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลางที่อาจจะผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูงที่เน้นการลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น ซึ่งมีให้นักลงทุนเลือกหลากหลายรูปแบบแตกต่างกับกองทุน LTF อย่างสิ้นเชิง
กองทุน LTF มีนโยบายการลงทุนแบบเดียว คือ การลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน โดยแต่ละกอง LTF จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เช่น บางกอง LTF อาจจะเน้นการลงทุนในหุ้นของกลุ่ม SET50 หรือที่เรียกกันว่าหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ หรืออาจจะลงทุนในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในนโยบายการลงทุนของกองทุน LTF นั้นๆ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ทั้งกองทุน RMF และ LTF ก็จะแตกต่างกันออกไปตามนโยบายการลงทุน
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF และ LTF
กองทุน RMF และ กองทุน LTF มีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป ดังนี้
กองทุน RMF เน้นให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยนักลงทุนจะต้องสะสมเงินเข้ากองทุนอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง โดยจะต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือจำนวน 5,000 บาทแล้ว แต่จำนวนใดจะต่ำกว่ากัน ยกตัวอย่างเช่น รายได้ในปีนั้นคือ 100,000 บาท 3%ของรายได้ คือ 3,000 บาท จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องลงทุนใน RMF คือ 3,000 บาท นั่นเอง ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนนานเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน แต่ในกรณีนี้จะยกเว้นให้ในปีที่คุณไม่มีเงินได้และการขายคืนหน่วยลงทุนจะทำให้ได้ก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และจะต้องลงทุนในกองทุน RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งหมด คือ เงื่อนไขในการลงทุนในกองทุน RMF
ส่วนเงื่อนไขของการลงทุนในกองทุน LTF นั้น เมื่อผู้ลงทุนซื้อกองทุน LTF แล้ว จะต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งจะนับตามปีปฏิทิน เช่น เงินลงทุนแต่ละยอดที่ซื้อในระหว่างปี 2548 ก็จะครบเงื่อนไขที่จะสามารถขายหน่วยลงทุนได้อีกทีในปี 2552 เป็นต้นไป และในการขายคืนนั้นคุณจะขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดหรือขายเฉพาะบางส่วนก็ได้
ที่มา: หนังสือ "น่ารู้จาก กบข." จากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)