จับตาเด้งผู้ว่าฯยะลา ฐานปล่อยโจรเหยียบจมูกนักปกครอง "ชุมพร"มือโนเนม"เด็กคุณหญิงเจ๊"เสียบแทน ด้านประธานกอส.ข้องใจนโยบายเชิงรุกแก้ปัญหา 3 จว.ชายแดนภาคใต้ เป็นรุกด้านรุนแรง หรือรุกด้านสมานฉันท์ ส่วนนายกฯพบ"มหาเธร์ เจรจาแบบ"โฟร์อายส์"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (22พ.ย.)พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา รมว.มหาดไทย อาจจะเตรียมสนอรายชื่อแต่งตั้งโยกย้าย ข้าราชการระดับ 10 จำนวน 3 ตำแหน่ง ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวง 1 ตำแหน่ง และผู้ว่าราชการจังหวัด 2 ตำแหน่ง คาดว่าจะนำเป็นวาระจรให้ครม.อนุมัติให้มีการแต่งตั้ง
ทั้งนี้การแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าวสืบเนื่องมากจาก นายบวร รัตนประสิทธิ์ ผวจ.พะเยา ได้ลาออกจากตำแหน่งเพราะมีปัญหาสุขภาพ และนายสมศักดิ์ แก้วสุทธิ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช)ได้ยื่นหนังสือลาออกจากรองปลัดกระทรวงมหาดไทย มีผลเมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา
มีรายงานว่านายวิทยา ปิณฑะแพทย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย จะได้รับการแต่งตั้งเป็น ผวจ.พะเยา แทนนายบวร รัตนประสิทธิ์ และที่น่าสนใจคือ จะมีการแต่งตั้ง นายชุมพร พลรักษ์ นักปกครอง 10ไปเป็น ผวจ.ยะลา แทน นายบุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ โดยให้ นายบุณยสิทธิ์ มารับตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
แหล่งข่าว เปิดเผยว่า เหตุผลในการย้ายนายบุณยสิทธิ์ ไปเป็นรองปลัด ซึ่งถือว่ามีศักดิ์ที่สูงกว่า ผู้ว่าฯ เนื่องจากเหลืออายุราชการถึงแค่เดือนต.ค.49 และจะได้เกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองปลัดไปพร้อมกับ นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อกันข้อครหา แต่เหตุผลหลักในการย้ายครั้งนี้คือ รมว.มหาดไทย ไม่พอใจกับการปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ จ.ยะลา
"โดยเฉพาะเหตุการณ์เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่คนร้ายยิงถล่มบ้านพักนายอำเภอบันนังสตา จ.ยะลา และเหตุการณ์ระเบิดที่บริเวณลานจอดรถในศาลากลางจ.ยะลา ทำให้ผู้ใหญ่ของกระทรวงไม่พอใจมากที่ปล่อยให้กลุ่มคนร้าย บุกเข้าถึงรังของฝ่ายปกครอง จึงเป็นเหตุให้มีการโยกย้ายดังกล่าว"แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับนายบุณยสิทธิ์ เป็นคนสนิทของ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นผวจ.ยะลา มาตั้งแต่สมัยที่นายวันมูหะมัดนอร์ เป็น รมว.มหาดไทย
ส่วนนายชุมพร พลรักษ์ จบการศึกษาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นเพเป็นคนจ.สตูล เป็นคนใกล้ชิดคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรฯ โดยเฉพาะในสมัยที่คุณหญิงสุดารัตน์ เป็นรมช.มหาดไทย ในโควต้าของพรรคพลังธรรม สมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา นั้น คุณหญิงสุดารัตน์ได้ขอโอนตำแหน่ง นายชุมพร ซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง มาช่วยงานที่กระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งนักปกครอง 9 ก่อนจะขึ้นมาเป็นรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และถูกโยกย้ายมาเป็นนักปกครองระดับ 10 และล่าสุดจะได้รับการแต่งตั้งเป็น ผวจ.ยะลา
**กอส.ข้องใจปฏิบัติการเชิงรุกอะไรกันแน่
นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) กล่าวถึงการประชุมกอส.ว่า เป็นการประชุมพิจารณา ร่างรายงานที่จะเสนอต่อรัฐบาลฉบับแรก เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางที่ปรับปรุงนั้นเป็นแนวทางที่เห็นพ้องต้องกัน ซึ่งต้องมีการประชุมอีกครั้งในเดือน ก.พ.49 เมื่อถึงเวลานั้นคงจะได้เค้าว่าเป็นแนวทางไหน ซึ่งในส่วนของทิศทางใหญ่ๆ หรือสาเหตุนั้นไม่มีปัญหา เพราะมีความเห็นคล้ายคลึงกัน แต่ปัญหาคือจะบำบัดปัญหาภาคใต้ได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเสนออะไรขึ้นมาก็อย่าคิดว่าจะต้องสมบูรณ์ เมื่อนำไปใช้แล้วจะแก้ปัญหาได้ทันควัน ต้องอดทน อดใจ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่สะสมมานาน แต่เริ่มเข้มข้นขึ้นในระยะ 2 ปีนี้ ต้องใช้เวลากันเป็นปีๆ
เมื่อถามว่าเป็นเพราะรัฐบาลหรือไม่ ที่ปล่อยให้ปัญหาภาคใต้รุนแรงขึ้น นายอานันท์ บอกว่า ต้องไปถามรัฐบาล เพราะ กอส. ไม่ได้แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาประจำวัน และการรักษาความสงบในพื้นที่ การให้ความปลอดภัยกับประชาชน ไม่ใช่หน้าที่ของกอส. เราคงต้องติดตามเหตุการณ์ในแต่ละวันว่าเป็นอย่างไร จึงจะบอกได้ว่าปัญหาจะลุกลามออกไปหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า รู้สึกผิดหวังหรือไม่ที่กอส.พยายามเสนอมาตรการแก้ไขแต่สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ประธาน กอส.กล่าวว่า มาตรการที่กอส.ออกมา รัฐบาลจะผิดหวังหรือไม่ ไม่ทราบ แม้จะมีฝ่ายที่คัดค้านกอส.อยู่เยอะก็ไม่เป็นไร ต้องเข้าใจก่อนว่ากอส.คืออะไร เพราะกอส.ไม่ใช่รัฐบาล
นอกจากนี้ นายอานันท์ ยังกล่าวถึงการเดินทางมาประเทศไทยของ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อพบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ประธานกอส.ว่าเป็นการพูดคุยกันธรรมดา ทั้งนี้ตนไม่ได้เข้าร่วมในการหารือระหว่างนายมหาเธร์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย ส่วนการหารือกันครั้งนี้จะทำให้บรรยากาศค่างๆ คลี่คลายหรือไม่นั้นนายอานันท์ กล่าวว่า ดร.มหาเธร์ ไม่ได้มีตำแหน่งอะไร ตนเข้าใจว่าไม่ได้มาเจรจาอะไร คงมีการคุยกันในฐานะนายกฯทักษิณ กับอดีตนายกฯมหาเธร์ ที่เคยรู้จักกันอยู่แล้ว เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การพบกันครั้งนี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ให้ดีขึ้นหรือไม่ นายอานันท์ กล่าวว่า"ต้องไปถาม พ.ต.ทักษิณ ตนไม่มีตำแหน่ง อะไร เมื่อถามต่อว่า ขณะนี้มาเลเซียออกเว็บไซต์ขององค์กรสิทธิแห่งชาติมลายู –ปัตตานี ประณามการฆ่าล้างครอบครัว 9 คน ว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ นายอานันท์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่ได้เปิดเว็บไซต์ เรื่องนี้ต้องไปถามรัฐบาล
ส่วนท่าทีของมาเลเซีย จะเป็นอุปสรรคต่อการสมานฉันท์หรือไม่ นายอานันท์ กล่าวว่า ตนไม่ไปเกี่ยว สมานฉันท์ก็ทำของเราไปเรื่อยๆ ใครเห็นด้วยก็สมานฉันท์ ใครไม่เห็นด้วยก็ไม่สมานฉันท์ ก็ช่วยไม่ได้ ต่อข้อถามว่า มีความเห็นอย่างไร ที่ขณะนี้รัฐบาลเริ่มใช้นโยบายเชิงรุก แต่ก็ยังมีการตอบโต้รุนแรง นายอานันท์ กล่าวว่า "คำว่านโยบายเชิงรุก หมายความว่าอย่างไร สมานฉันท์เชิงรุก หรือ รุนแรงเชิงรุก ผมไม่ทราบ"
**"แม้ว"พบ "มหาเธร์"แบบโฟร์อาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 17.30 น.วานนี้ (21พ.ย.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปยังบ้านพิษณุโลก เพื่อรอต้อนรับ นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ในฐานะแขกของรัฐบาลสืบเนื่องจากที่ นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการสมานฉันท์แห่งชาติ ได้เชิญเมื่อครั้งไปพบที่ประเทศมาเลเซีย น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการพบกันระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับ นายมหาเธร์ ในครั้งนี้ ว่า จะไม่มีการแถลงข่าว เพราะเป็นการพบกันแบบโฟร์อาย (สองต่อสอง)เท่านั้น ไม่มีคนนอกเข้าไป หากจะมีการพูดนายกฯ ก็คงจะพูดในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (22พ.ย.)
**พบแผน'มะแซ อุเซ็ง"ปลุกปั่นแนวร่วม
ผูสื่อข่าวรายงานว่า มีรายงานจากหน่วยข่าวกรองในท้องถิ่นระบุว่า นายมะแซ อุเซ็ง เลขาขบวนการบีอาร์เอ็นโคออร์ดิเน็ต เครือข่ายของนายเจ๊ะกูแม กูเต๊ะ หัวหน้ากลุ่มมูจาฮีดีน อิสลามปัตตานี ได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ พร้อมผู้นำหน่วยที่ได้รับการจัดตั้งจาก นายสะแปอิง บาซอ ประธานขบวนการบีอาร์เอ็นฯ จากพื้นที่ จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ซึ่งเป็นผู้นำหน่วยคนใหม่แทนผู้นำหน่วยที่ถูกทางการจับตัว และเสียชีวิตในการปะทะกับเจ้าหน้าที่ โดยผู้นำหน่วยแต่ละพื้นที่ได้เข้าพบกับบรรดาครูสอนศาสนาตามโรงเรียนสอนศาสนาในแต่ละพื้นที่ที่ผู้นำหน่วยรับผิดชอบ โดยให้มีการเกณฑ์ผู้คนระหว่าง 5 ถึง 20 คน ปฏิบัติการร่วมกับกลุ่ม RKK ที่เป็นหน่วยรบจรยุทธ์ขนาดเล็กที่มีกำลัง 5-6 คน วางแผนซุ่มโจมตีทำลายหน่วยต่างๆ ของทางการในทุกโอกาสไม่ว่าจะเป็นการลอบยิงครู ทหาร ตำรวจ และลอบวางระเบิดโดยจะเลือกปฏิบัติการในที่ที่มีประชาชนพลุกพล่านเพราะต้องการให้สื่อมวลชนสนใจเสนอข่าว
โดยจะส่งผลเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลโดยตรงและจะได้รับผลตอบแทนรายละ 8,000 บาทในการลอบยิงเจ้าหน้าที่ ส่วนผลตอบแทนในการลอบวางระเบิดตามจุดต่างๆ มีตั้งแต่ 10,000-50,000 บาท ซึ่งการลอบวางระเบิดที่ อ.สุไหงโก-ลก 2 จุดเมื่อเช้าวันที่ 20 พ.ย.นี้ เชื่อว่าเป็นการเริ่มต้นของการปฏิบัติการดังกล่าว
**พัลลภ"ชี้สถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ
พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ว่า หลังจากที่นายกรัฐมนตรี ได้มอบให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ไปรับผิดชอบในด้านปฎิบัติการ ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ทั้งนี้จากการจับกุมคนร้าย 16 คน ที่ก่อเหตุในวัดพรหมประสิทธิ์ แต่มีหลักฐานประมาณ 8-9 คน จากการพูดคุยกับเขาทราบว่า เขาเป็นคนที่มีความรู้และให้ความร่วมมือดี ระบายความในใจ แสดงว่าการทำงานของเจ้าหน้าที่ดีขึ้น เพราะมีผู้เข้ามอบตัวและสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้เรื่อยๆ ทั้งนี้ การทำงานในลักษณะสงครามแบบนี้การปิดลับของเขาจะมีสูง ดังนั้นการจะเข้าหาตัวการใหญ่เป็นไปได้ยาก เขาก็จะตัดตอนเป็นกลุ่มๆ ซึ่งเราจะจับกุมได้เป็นกลุ่ม ๆละ 7-8 คน
ส่วนกรณีการฆ่ายกครอบครัว 9 ศพ ใน จ.นราธิวาส เขาต้องการให้เห็นว่า คนที่อยู่กับเขาแล้วหันมาร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องได้รับอันตรายแบบนี้ ถือเป็นมาตรการที่ป่าเถื่อนโหดร้ายที่สุด ส่วนการป้องกันขณะนี้กองทัพได้กระจายกำลังทหารและตำรวจเข้าไปคุ้มครองประชาชนเกือบทุกพื้นที่
"เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องปฏิบัติการเชิงรุกมากว่านี้ ตอนนี้ ผบ.ทบ.แยกกำลังเจ้าหน้าที่ออกมาเป็นฐานปฏิบัติการย่อย 100 กว่าฐาน ในการคุ้มครองประชาชน และปฏิบัติการในเชิงรุกต่อพื้นที่เป้าหมาย ผมเคยลงไปตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในพื้นที่ โดยมี พล.อ.เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ เป็น ผอ.กอ.รมน. และผมเป็น ผบ.กองพัน ผมใช้เวลา 4 ปีในการปฏิบัติการกับกลุ่มก่อความไม่สงบ สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คือ การข่าวเรายังเข้าไม่ถึง ปัญหาการข่าวเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติการกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ถ้าข่าวเราชัดเจนและเข้าถึงก็สามารถทำลายโครงสร้างและคุ้มครองประชาชน ซึ่งขณะนี้ประชาชนยังไม่กล้าให้ข่าวมาก เนื่องจากเกรงว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจะปฏิบัติการโหดเหี้ยม หากเจ้าหน้าที่รัฐสามารถคุ้มครองได้ประชาชนก็จะกลับมาให้ความร่วมมือ ซึ่งขณะนี้ทราบว่ามีแกนนำประมาณ 300 คน กระจายอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะ จ.นราธิวาส ซึ่งกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบพยายามทำให้มีแนวร่วมจำนวน 30,000 คน"พล.อ.พัลลภ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (22พ.ย.)พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา รมว.มหาดไทย อาจจะเตรียมสนอรายชื่อแต่งตั้งโยกย้าย ข้าราชการระดับ 10 จำนวน 3 ตำแหน่ง ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวง 1 ตำแหน่ง และผู้ว่าราชการจังหวัด 2 ตำแหน่ง คาดว่าจะนำเป็นวาระจรให้ครม.อนุมัติให้มีการแต่งตั้ง
ทั้งนี้การแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าวสืบเนื่องมากจาก นายบวร รัตนประสิทธิ์ ผวจ.พะเยา ได้ลาออกจากตำแหน่งเพราะมีปัญหาสุขภาพ และนายสมศักดิ์ แก้วสุทธิ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช)ได้ยื่นหนังสือลาออกจากรองปลัดกระทรวงมหาดไทย มีผลเมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา
มีรายงานว่านายวิทยา ปิณฑะแพทย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย จะได้รับการแต่งตั้งเป็น ผวจ.พะเยา แทนนายบวร รัตนประสิทธิ์ และที่น่าสนใจคือ จะมีการแต่งตั้ง นายชุมพร พลรักษ์ นักปกครอง 10ไปเป็น ผวจ.ยะลา แทน นายบุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ โดยให้ นายบุณยสิทธิ์ มารับตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
แหล่งข่าว เปิดเผยว่า เหตุผลในการย้ายนายบุณยสิทธิ์ ไปเป็นรองปลัด ซึ่งถือว่ามีศักดิ์ที่สูงกว่า ผู้ว่าฯ เนื่องจากเหลืออายุราชการถึงแค่เดือนต.ค.49 และจะได้เกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองปลัดไปพร้อมกับ นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อกันข้อครหา แต่เหตุผลหลักในการย้ายครั้งนี้คือ รมว.มหาดไทย ไม่พอใจกับการปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ จ.ยะลา
"โดยเฉพาะเหตุการณ์เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่คนร้ายยิงถล่มบ้านพักนายอำเภอบันนังสตา จ.ยะลา และเหตุการณ์ระเบิดที่บริเวณลานจอดรถในศาลากลางจ.ยะลา ทำให้ผู้ใหญ่ของกระทรวงไม่พอใจมากที่ปล่อยให้กลุ่มคนร้าย บุกเข้าถึงรังของฝ่ายปกครอง จึงเป็นเหตุให้มีการโยกย้ายดังกล่าว"แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับนายบุณยสิทธิ์ เป็นคนสนิทของ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นผวจ.ยะลา มาตั้งแต่สมัยที่นายวันมูหะมัดนอร์ เป็น รมว.มหาดไทย
ส่วนนายชุมพร พลรักษ์ จบการศึกษาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นเพเป็นคนจ.สตูล เป็นคนใกล้ชิดคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรฯ โดยเฉพาะในสมัยที่คุณหญิงสุดารัตน์ เป็นรมช.มหาดไทย ในโควต้าของพรรคพลังธรรม สมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา นั้น คุณหญิงสุดารัตน์ได้ขอโอนตำแหน่ง นายชุมพร ซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง มาช่วยงานที่กระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งนักปกครอง 9 ก่อนจะขึ้นมาเป็นรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และถูกโยกย้ายมาเป็นนักปกครองระดับ 10 และล่าสุดจะได้รับการแต่งตั้งเป็น ผวจ.ยะลา
**กอส.ข้องใจปฏิบัติการเชิงรุกอะไรกันแน่
นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) กล่าวถึงการประชุมกอส.ว่า เป็นการประชุมพิจารณา ร่างรายงานที่จะเสนอต่อรัฐบาลฉบับแรก เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางที่ปรับปรุงนั้นเป็นแนวทางที่เห็นพ้องต้องกัน ซึ่งต้องมีการประชุมอีกครั้งในเดือน ก.พ.49 เมื่อถึงเวลานั้นคงจะได้เค้าว่าเป็นแนวทางไหน ซึ่งในส่วนของทิศทางใหญ่ๆ หรือสาเหตุนั้นไม่มีปัญหา เพราะมีความเห็นคล้ายคลึงกัน แต่ปัญหาคือจะบำบัดปัญหาภาคใต้ได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเสนออะไรขึ้นมาก็อย่าคิดว่าจะต้องสมบูรณ์ เมื่อนำไปใช้แล้วจะแก้ปัญหาได้ทันควัน ต้องอดทน อดใจ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่สะสมมานาน แต่เริ่มเข้มข้นขึ้นในระยะ 2 ปีนี้ ต้องใช้เวลากันเป็นปีๆ
เมื่อถามว่าเป็นเพราะรัฐบาลหรือไม่ ที่ปล่อยให้ปัญหาภาคใต้รุนแรงขึ้น นายอานันท์ บอกว่า ต้องไปถามรัฐบาล เพราะ กอส. ไม่ได้แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาประจำวัน และการรักษาความสงบในพื้นที่ การให้ความปลอดภัยกับประชาชน ไม่ใช่หน้าที่ของกอส. เราคงต้องติดตามเหตุการณ์ในแต่ละวันว่าเป็นอย่างไร จึงจะบอกได้ว่าปัญหาจะลุกลามออกไปหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า รู้สึกผิดหวังหรือไม่ที่กอส.พยายามเสนอมาตรการแก้ไขแต่สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ประธาน กอส.กล่าวว่า มาตรการที่กอส.ออกมา รัฐบาลจะผิดหวังหรือไม่ ไม่ทราบ แม้จะมีฝ่ายที่คัดค้านกอส.อยู่เยอะก็ไม่เป็นไร ต้องเข้าใจก่อนว่ากอส.คืออะไร เพราะกอส.ไม่ใช่รัฐบาล
นอกจากนี้ นายอานันท์ ยังกล่าวถึงการเดินทางมาประเทศไทยของ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อพบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ประธานกอส.ว่าเป็นการพูดคุยกันธรรมดา ทั้งนี้ตนไม่ได้เข้าร่วมในการหารือระหว่างนายมหาเธร์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย ส่วนการหารือกันครั้งนี้จะทำให้บรรยากาศค่างๆ คลี่คลายหรือไม่นั้นนายอานันท์ กล่าวว่า ดร.มหาเธร์ ไม่ได้มีตำแหน่งอะไร ตนเข้าใจว่าไม่ได้มาเจรจาอะไร คงมีการคุยกันในฐานะนายกฯทักษิณ กับอดีตนายกฯมหาเธร์ ที่เคยรู้จักกันอยู่แล้ว เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การพบกันครั้งนี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ให้ดีขึ้นหรือไม่ นายอานันท์ กล่าวว่า"ต้องไปถาม พ.ต.ทักษิณ ตนไม่มีตำแหน่ง อะไร เมื่อถามต่อว่า ขณะนี้มาเลเซียออกเว็บไซต์ขององค์กรสิทธิแห่งชาติมลายู –ปัตตานี ประณามการฆ่าล้างครอบครัว 9 คน ว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ นายอานันท์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่ได้เปิดเว็บไซต์ เรื่องนี้ต้องไปถามรัฐบาล
ส่วนท่าทีของมาเลเซีย จะเป็นอุปสรรคต่อการสมานฉันท์หรือไม่ นายอานันท์ กล่าวว่า ตนไม่ไปเกี่ยว สมานฉันท์ก็ทำของเราไปเรื่อยๆ ใครเห็นด้วยก็สมานฉันท์ ใครไม่เห็นด้วยก็ไม่สมานฉันท์ ก็ช่วยไม่ได้ ต่อข้อถามว่า มีความเห็นอย่างไร ที่ขณะนี้รัฐบาลเริ่มใช้นโยบายเชิงรุก แต่ก็ยังมีการตอบโต้รุนแรง นายอานันท์ กล่าวว่า "คำว่านโยบายเชิงรุก หมายความว่าอย่างไร สมานฉันท์เชิงรุก หรือ รุนแรงเชิงรุก ผมไม่ทราบ"
**"แม้ว"พบ "มหาเธร์"แบบโฟร์อาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 17.30 น.วานนี้ (21พ.ย.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปยังบ้านพิษณุโลก เพื่อรอต้อนรับ นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ในฐานะแขกของรัฐบาลสืบเนื่องจากที่ นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการสมานฉันท์แห่งชาติ ได้เชิญเมื่อครั้งไปพบที่ประเทศมาเลเซีย น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการพบกันระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับ นายมหาเธร์ ในครั้งนี้ ว่า จะไม่มีการแถลงข่าว เพราะเป็นการพบกันแบบโฟร์อาย (สองต่อสอง)เท่านั้น ไม่มีคนนอกเข้าไป หากจะมีการพูดนายกฯ ก็คงจะพูดในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (22พ.ย.)
**พบแผน'มะแซ อุเซ็ง"ปลุกปั่นแนวร่วม
ผูสื่อข่าวรายงานว่า มีรายงานจากหน่วยข่าวกรองในท้องถิ่นระบุว่า นายมะแซ อุเซ็ง เลขาขบวนการบีอาร์เอ็นโคออร์ดิเน็ต เครือข่ายของนายเจ๊ะกูแม กูเต๊ะ หัวหน้ากลุ่มมูจาฮีดีน อิสลามปัตตานี ได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ พร้อมผู้นำหน่วยที่ได้รับการจัดตั้งจาก นายสะแปอิง บาซอ ประธานขบวนการบีอาร์เอ็นฯ จากพื้นที่ จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ซึ่งเป็นผู้นำหน่วยคนใหม่แทนผู้นำหน่วยที่ถูกทางการจับตัว และเสียชีวิตในการปะทะกับเจ้าหน้าที่ โดยผู้นำหน่วยแต่ละพื้นที่ได้เข้าพบกับบรรดาครูสอนศาสนาตามโรงเรียนสอนศาสนาในแต่ละพื้นที่ที่ผู้นำหน่วยรับผิดชอบ โดยให้มีการเกณฑ์ผู้คนระหว่าง 5 ถึง 20 คน ปฏิบัติการร่วมกับกลุ่ม RKK ที่เป็นหน่วยรบจรยุทธ์ขนาดเล็กที่มีกำลัง 5-6 คน วางแผนซุ่มโจมตีทำลายหน่วยต่างๆ ของทางการในทุกโอกาสไม่ว่าจะเป็นการลอบยิงครู ทหาร ตำรวจ และลอบวางระเบิดโดยจะเลือกปฏิบัติการในที่ที่มีประชาชนพลุกพล่านเพราะต้องการให้สื่อมวลชนสนใจเสนอข่าว
โดยจะส่งผลเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลโดยตรงและจะได้รับผลตอบแทนรายละ 8,000 บาทในการลอบยิงเจ้าหน้าที่ ส่วนผลตอบแทนในการลอบวางระเบิดตามจุดต่างๆ มีตั้งแต่ 10,000-50,000 บาท ซึ่งการลอบวางระเบิดที่ อ.สุไหงโก-ลก 2 จุดเมื่อเช้าวันที่ 20 พ.ย.นี้ เชื่อว่าเป็นการเริ่มต้นของการปฏิบัติการดังกล่าว
**พัลลภ"ชี้สถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ
พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ว่า หลังจากที่นายกรัฐมนตรี ได้มอบให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ไปรับผิดชอบในด้านปฎิบัติการ ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ทั้งนี้จากการจับกุมคนร้าย 16 คน ที่ก่อเหตุในวัดพรหมประสิทธิ์ แต่มีหลักฐานประมาณ 8-9 คน จากการพูดคุยกับเขาทราบว่า เขาเป็นคนที่มีความรู้และให้ความร่วมมือดี ระบายความในใจ แสดงว่าการทำงานของเจ้าหน้าที่ดีขึ้น เพราะมีผู้เข้ามอบตัวและสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้เรื่อยๆ ทั้งนี้ การทำงานในลักษณะสงครามแบบนี้การปิดลับของเขาจะมีสูง ดังนั้นการจะเข้าหาตัวการใหญ่เป็นไปได้ยาก เขาก็จะตัดตอนเป็นกลุ่มๆ ซึ่งเราจะจับกุมได้เป็นกลุ่ม ๆละ 7-8 คน
ส่วนกรณีการฆ่ายกครอบครัว 9 ศพ ใน จ.นราธิวาส เขาต้องการให้เห็นว่า คนที่อยู่กับเขาแล้วหันมาร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องได้รับอันตรายแบบนี้ ถือเป็นมาตรการที่ป่าเถื่อนโหดร้ายที่สุด ส่วนการป้องกันขณะนี้กองทัพได้กระจายกำลังทหารและตำรวจเข้าไปคุ้มครองประชาชนเกือบทุกพื้นที่
"เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องปฏิบัติการเชิงรุกมากว่านี้ ตอนนี้ ผบ.ทบ.แยกกำลังเจ้าหน้าที่ออกมาเป็นฐานปฏิบัติการย่อย 100 กว่าฐาน ในการคุ้มครองประชาชน และปฏิบัติการในเชิงรุกต่อพื้นที่เป้าหมาย ผมเคยลงไปตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในพื้นที่ โดยมี พล.อ.เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ เป็น ผอ.กอ.รมน. และผมเป็น ผบ.กองพัน ผมใช้เวลา 4 ปีในการปฏิบัติการกับกลุ่มก่อความไม่สงบ สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คือ การข่าวเรายังเข้าไม่ถึง ปัญหาการข่าวเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติการกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ถ้าข่าวเราชัดเจนและเข้าถึงก็สามารถทำลายโครงสร้างและคุ้มครองประชาชน ซึ่งขณะนี้ประชาชนยังไม่กล้าให้ข่าวมาก เนื่องจากเกรงว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจะปฏิบัติการโหดเหี้ยม หากเจ้าหน้าที่รัฐสามารถคุ้มครองได้ประชาชนก็จะกลับมาให้ความร่วมมือ ซึ่งขณะนี้ทราบว่ามีแกนนำประมาณ 300 คน กระจายอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะ จ.นราธิวาส ซึ่งกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบพยายามทำให้มีแนวร่วมจำนวน 30,000 คน"พล.อ.พัลลภ กล่าว