มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social Animal) และด้วยนัยแห่งความหมายนี้ มนุษย์ก็มีลักษณะการดำเนินชีวิตที่ไม่แตกต่างไปจากสัตว์ในแง่การรวมกลุ่มกันอยู่เป็นชุมชนเมือง และประเทศ หรือที่เรียกว่าเป็นสังคมนั่นเอง
ถึงแม้ว่ามนุษย์จะมีการรวมกันอยู่เป็นกลุ่มเฉกเช่นเดียวกับสัตว์ แต่มนุษย์ก็มีอะไรที่แตกต่างไปจากสัตว์ที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่มโดยอาศัยสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว เพราะมนุษย์ได้พัฒนาสัญชาตญาณมาเป็นจารีตประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา และสุดท้ายก็คือกฎหมาย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการอยู่ร่วมกัน
ด้วยเหตุนี้ผู้คนทุกคนในสังคมจะมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ร่วมกันอยู่ 2 ประการคือ
1. สิ่งที่เราเป็น อันได้แก่ เชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ เป็นต้น
2. สิ่งที่เรามี อันได้แก่ ประเพณี วัฒนธรรม และภาษา เป็นต้น
สังคมอันเป็นศูนย์รวมของมนุษย์ โดยนัยแห่งสังคมวิทยาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.สังคมปฐมภูมิ หรือสังคมดั้งเดิม สมาชิกส่วนใหญ่หรือทั้งหมดของสังคมนี้จะมีลักษณะที่เหมือนๆ กัน ทั้งสิ่งที่เขาเป็น และสิ่งที่เขามี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทุกคนในสังคมเป็นเพื่อนร่วมสังคมที่มีความสัมพันธ์ภายในกลุ่มแน่นแฟ้น โดยอาศัยการเป็นและการมีสิ่งเดียวกัน
สังคมปฐมภูมิในปัจจุบันจะพบเห็นได้ทั่วไปในชนบทที่ผู้คนในสังคมเกิดโต และตายในสังคมนั้น ไม่มีการย้ายถิ่น และในขณะเดียวกันไม่มีคนนอกสังคมของพวกเขาเข้าปะปนด้วย จึงทำให้สิ่งที่เขามีและเขาเป็นไม่มีความหลากหลายในหมู่สมาชิกของสังคมนั้น
2.สังคมทุติยภูมิ หรือสังคมผสมที่เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมได้มีการผสมผสานกัน ทั้งในส่วนที่เขาเป็นและเขามี
ส่วนว่าการผสมผสานจะเกิดขึ้นด้วยตั้งใจหรือบังเอิญนั้นเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยากในบางเรื่อง แต่ก็มีหลายเรื่องหรือหลายประเด็นพิสูจน์ได้ เป็นต้นว่า เกิดจากการแต่งงานระหว่างกลุ่ม และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและประเพณีโดยอาศัยการเยี่ยมเยือนระหว่างกลุ่ม เป็นต้น
ในสังคม 2 ประเภทนี้ สังคมปฐมภูมิจะมีความเข้มของการยึดถือในความมี และความเป็นของพวกเขามากกว่าผู้คนในสังคมประเภท 2 หรือสังคมทุติยภูมิ
ดังนั้น การที่ผู้คนในสังคมหนึ่งได้ย้ายถิ่นหรือข้ามถิ่นเข้าไปอยู่แห่งหนึ่ง ย่อมทำให้สิ่งที่เขาเป็น และสิ่งที่เขามีเจือจางได้ และนี่เองคือเหตุแห่งการต่อต้านการเข้ามาของบุคคลต่างถิ่นที่เกิดขึ้นในหมู่สมาชิกของสังคมปฐมภูมิที่ไม่ต้องการให้สิ่งที่เขามี และสิ่งที่เขาเป็นเจือจางลง และอาจถูกกลืนในที่สุด
แนวคิดในการที่จะทำให้กระแสต่อต้านเพื่อป้องกันสิ่งที่เขามี และสิ่งที่เขาเป็นเจือจางลงครั้งหนึ่งได้เกิดขึ้นในสังคมไทย เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีแนวคิดย้ายคนจากภาคอีสานลงไปอยู่ใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่ผู้คนส่วนใหญ่ใน 3 จังหวัดแห่งนี้เป็นชาวไทยมุสลิม และมีเชื้อสายมาเลเซีย ทั้งส่วนใหญ่พูดภาษามาเลเซียด้วย
แต่ดูเหมือนว่าแผนการของจอมพลสฤษดิ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ไม่ทำให้ความเข้มแห่งการยึดถือในความมี และความเป็นของผู้คนในสังคมปฐมภูมิแห่งนี้จางลงแต่ประการใด ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่ผู้คนส่วนหนึ่งในสังคมแห่งนี้ยังต่อต้านอำนาจการปกครองของไทยเรื่อยมา และได้เริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2547 ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้นำพรรคไทยรักไทยเป็นนายกรัฐมนตรี
จากวันนั้นถึงวันนี้ เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดภาคใต้ก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะเบาบางลง ทั้งๆ ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในภาคเอกชน และภาครัฐได้พยายามจะแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน
ท่ามกลางกระแสแห่งความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้มีผู้เสนอแนวคิดที่เคยเกิดขึ้นแล้วในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อแก้ปัญหานี้อีกครั้ง โดยอ้างว่าการอพยพคนจากอีสานลงมาภาคใต้เพื่อแก้ปัญหาที่ทำกิน และในขณะเดียวกันแก้ปัญหาความไม่สงบไปด้วยในตัว
อย่างไรก็ตาม ในทันทีที่ข่าวนี้แพร่ออกไปได้มีเสียงคัดค้านดังขึ้นเกือบทุกวงการ ในส่วนของการเมืองและนักวิชาการ และโดยนัยแห่งการคัดค้านมุ่งไปที่ประเด็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระแก้ไขปัญหาไม่ได้ ทั้งส่วนของที่ทำกิน และปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
นักการเมืองในภาคอีสานท่านหนึ่งบอกว่า คนอีสานไม่ได้ขาดที่ทำกิน แต่ขาดน้ำในการทำมาหากิน โดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมโดยอาศัยน้ำฝน และเมื่อใดก็ตามที่ฝนแล้งไม่มีน้ำทำไร่ทำนาคนเหล่านี้ก็เดือดร้อน และเมื่อความเดือดร้อนเกิดจากการขาดน้ำ การแก้ไขปัญหานี้ก็น่าจะต้องแก้ด้วยการหาน้ำมาให้มากกว่าการหาที่ทำกินให้ใหม่ซึ่งจะมีปัญหาตามมาทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคนอีสานที่อพยพลงไปภาคใต้ และในส่วนที่เกี่ยวกับคนภาคใต้เอง พอจะอนุมานได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่อพยพจากอีสานจะต้องย้ายถิ่น และพลัดพรากจากญาติเพื่อนฝูง และถิ่นฐานบ้านเกิดอันเป็นสิ่งที่พวกเขาผูกพัน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งที่เขาเป็น และสิ่งที่เขามี
2. เมื่อเข้ามาอยู่ในที่ใหม่อันเป็นสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาไม่เคยชินมาก่อน จะต้องใช้เวลาและศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ และช่วงแห่งเวลาเช่นนี้พวกเขาจะต้องเดือดร้อน
3.ในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าถิ่น คือผู้คนที่อยู่ใน 3 จังหวัดภาคใต้ เมื่อพบว่ามีคนใหม่เข้ามาแทรกแซงในสังคมที่พวกเขาอยู่ ก็จะเกิดกระแสต่อต้านในสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาพร้อมกับผู้มาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความแตกต่างในส่วนที่เขาเป็นคือเชื้อชาติต่างกัน และสิ่งที่เขามี เช่น พูดภาษาต่างกัน มีความเชื่อถือในศาสนาและวัฒนธรรมต่างกัน
ยิ่งกว่านี้ แม้กระทั่งคนไทยที่เป็นคนนับถือศาสนาพุทธด้วยกันก็ใช่ว่าจะไม่มีสิ่งแตกต่างกันระหว่างคนอีสานกับคนใต้
ในความเป็นจริง ถ้ามองในแง่ของสังคมวิทยา และจริยธรรมแล้ว คน 2 กลุ่มนี้มีข้อแตกต่างกัน เป็นต้นว่า ในสิ่งที่เขามี เช่น ภาษา และประเพณีแตกต่างกัน ก็เกิดกระแสต้านได้ ถึงแม้จะไม่รุนแรงแต่ก็ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้มาใหม่ได้
โดยนัยแห่งแนวคิดดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดที่จะนำคนไม่ว่าจากอีสานหรือจากไหนไปเพื่อแก้ไขปัญหาในภาคใต้ โอกาสที่จะแก้ได้มีน้อย แต่โอกาสที่จะเกิดปัญหาเพิ่มมีมากกว่า จึงใคร่ขอร้องผู้ที่คิดให้หยุดคิด และคิดใหม่ในสิ่งที่คิดแล้วไม่มีปัญหาจะดีกว่า
การแก้ไขปัญหาที่ทำกินไม่เพียงพอโดยการย้ายถิ่น ถ้าไม่ย้ายไปภาคใต้ แต่ย้ายไปภาคอื่นจะแก้ไขปัญหานี้ได้หรือไม่? และถ้าย้ายไม่ได้จะแก้ไขอย่างไร?
เกี่ยวกับปัญหาที่ทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นมาตลอด ทั้งนี้ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เกษตรกรในประเทศไทย ไม่ว่าในภาคไหนจะพบกับปัญหาไม่มีที่ทำกินเหมือนๆ กัน จะแตกต่างกันอยู่ในประเด็นว่ามากหรือน้อย และที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเหตุผลเดียวคือ จำนวนคนในกลุ่มผู้ทำเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันพื้นที่เพาะปลูกไม่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจำนวนคนต่อพื้นที่เพาะปลูกต่อคนต่อไร่โดยรวมก็ลดลงทุกปี
2. นอกจากพื้นที่ลดลงเพราะคนทำกินเพิ่มขึ้นตามข้อ 1 แล้ว การพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นรวดเร็วทำให้พื้นที่เพาะปลูกส่วนหนึ่งกลายเป็นที่อยู่อาศัย กลายเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม จะเห็นได้ชัดเจนในจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพฯ เช่น ปทุมธานี และสมุทรปราการ เป็นต้น
เมื่อความเจริญเข้ามาถึงเขตทำเกษตรกรรม เกษตรกรส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ก็ว่าได้จะขายพื้นที่ทำกิน และไปหาที่ใหม่ไกลออกไป และการหาที่ใหม่ก็ใช่ว่าทำให้ชาวนาประสบความสำเร็จในการทำมาหากิน เช่น ที่ใหม่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์พอหรือมีความสมบูรณ์แต่มีจำนวนน้อยลงกว่าที่เคยมี เนื่องจากเงินที่ขายที่เดิมได้ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้สอยอย่างอื่น หรือในบางรายที่มีลูกหลานหลายคนก็อาจมีการแบ่งสันปันส่วนออกไปจนทำให้ไม่มีเหลือมากพอไปซื้อที่ทำกินใหม่ในจำนวนเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมได้ จึงเป็นเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ที่ทำกินไม่เพียงพอ
3.เกษตรกรที่เคยมีที่ทำกินอย่างเพียงพอในอดีต เมื่อทำกินที่เดิมเรื่อยๆ มา จนพื้นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ต้องอาศัยปัจจัยการผลิตสมัยใหม่ เช่น ปุ๋ย น้ำยาเคมี รวมไปถึงพันธุ์พืช ถ้าจะให้ได้ผลผลิตเท่าเดิมนั่นหมายถึงว่าต้องมีเงิน
แต่ถ้าบังเอิญไม่มีเงินเพียงพอก็แปลว่าต้องทำแบบเดิมๆ ถึงแม้พื้นที่ไม่ลดลงผลผลิตก็ได้น้อยลง
ด้วยเหตุ 3 ประการนี้ การแก้ไขปัญหาพื้นที่ไม่พอทำกินด้วยการหาที่ใหม่ให้ จึงไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น เพราะว่าวันหนึ่งก็เกิดเหตุ 3 ประการที่ทำให้เกิดปัญหาไม่มีที่ทำกินเพียงพอ ผู้ที่ย้ายที่ก็คงจะต้องย้ายกันต่อไปไม่รู้จบ
ดังนั้น ทางที่ดีควรแก้โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการย้าย และสนับสนุนให้ชาวนาหันไปทำอาชีพเสริมเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งรายได้จากการทำเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวก็คงจะพอช่วยได้ แต่อย่าช่วยโดยการคิดและพูดเพียงอย่างเดียว แต่ให้คิดและทำ โดยคำนึงถึงศักยภาพของชาวนาเป็นหลัก และแนวคิดที่เกษตรกรจะรับได้ และทำได้โดยไม่ต้องรอเงินกู้ ก็คงหนีไม่พ้นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้นั่นเอง
ถึงแม้ว่ามนุษย์จะมีการรวมกันอยู่เป็นกลุ่มเฉกเช่นเดียวกับสัตว์ แต่มนุษย์ก็มีอะไรที่แตกต่างไปจากสัตว์ที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่มโดยอาศัยสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว เพราะมนุษย์ได้พัฒนาสัญชาตญาณมาเป็นจารีตประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา และสุดท้ายก็คือกฎหมาย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการอยู่ร่วมกัน
ด้วยเหตุนี้ผู้คนทุกคนในสังคมจะมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ร่วมกันอยู่ 2 ประการคือ
1. สิ่งที่เราเป็น อันได้แก่ เชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ เป็นต้น
2. สิ่งที่เรามี อันได้แก่ ประเพณี วัฒนธรรม และภาษา เป็นต้น
สังคมอันเป็นศูนย์รวมของมนุษย์ โดยนัยแห่งสังคมวิทยาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.สังคมปฐมภูมิ หรือสังคมดั้งเดิม สมาชิกส่วนใหญ่หรือทั้งหมดของสังคมนี้จะมีลักษณะที่เหมือนๆ กัน ทั้งสิ่งที่เขาเป็น และสิ่งที่เขามี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทุกคนในสังคมเป็นเพื่อนร่วมสังคมที่มีความสัมพันธ์ภายในกลุ่มแน่นแฟ้น โดยอาศัยการเป็นและการมีสิ่งเดียวกัน
สังคมปฐมภูมิในปัจจุบันจะพบเห็นได้ทั่วไปในชนบทที่ผู้คนในสังคมเกิดโต และตายในสังคมนั้น ไม่มีการย้ายถิ่น และในขณะเดียวกันไม่มีคนนอกสังคมของพวกเขาเข้าปะปนด้วย จึงทำให้สิ่งที่เขามีและเขาเป็นไม่มีความหลากหลายในหมู่สมาชิกของสังคมนั้น
2.สังคมทุติยภูมิ หรือสังคมผสมที่เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมได้มีการผสมผสานกัน ทั้งในส่วนที่เขาเป็นและเขามี
ส่วนว่าการผสมผสานจะเกิดขึ้นด้วยตั้งใจหรือบังเอิญนั้นเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยากในบางเรื่อง แต่ก็มีหลายเรื่องหรือหลายประเด็นพิสูจน์ได้ เป็นต้นว่า เกิดจากการแต่งงานระหว่างกลุ่ม และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและประเพณีโดยอาศัยการเยี่ยมเยือนระหว่างกลุ่ม เป็นต้น
ในสังคม 2 ประเภทนี้ สังคมปฐมภูมิจะมีความเข้มของการยึดถือในความมี และความเป็นของพวกเขามากกว่าผู้คนในสังคมประเภท 2 หรือสังคมทุติยภูมิ
ดังนั้น การที่ผู้คนในสังคมหนึ่งได้ย้ายถิ่นหรือข้ามถิ่นเข้าไปอยู่แห่งหนึ่ง ย่อมทำให้สิ่งที่เขาเป็น และสิ่งที่เขามีเจือจางได้ และนี่เองคือเหตุแห่งการต่อต้านการเข้ามาของบุคคลต่างถิ่นที่เกิดขึ้นในหมู่สมาชิกของสังคมปฐมภูมิที่ไม่ต้องการให้สิ่งที่เขามี และสิ่งที่เขาเป็นเจือจางลง และอาจถูกกลืนในที่สุด
แนวคิดในการที่จะทำให้กระแสต่อต้านเพื่อป้องกันสิ่งที่เขามี และสิ่งที่เขาเป็นเจือจางลงครั้งหนึ่งได้เกิดขึ้นในสังคมไทย เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีแนวคิดย้ายคนจากภาคอีสานลงไปอยู่ใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่ผู้คนส่วนใหญ่ใน 3 จังหวัดแห่งนี้เป็นชาวไทยมุสลิม และมีเชื้อสายมาเลเซีย ทั้งส่วนใหญ่พูดภาษามาเลเซียด้วย
แต่ดูเหมือนว่าแผนการของจอมพลสฤษดิ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ไม่ทำให้ความเข้มแห่งการยึดถือในความมี และความเป็นของผู้คนในสังคมปฐมภูมิแห่งนี้จางลงแต่ประการใด ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่ผู้คนส่วนหนึ่งในสังคมแห่งนี้ยังต่อต้านอำนาจการปกครองของไทยเรื่อยมา และได้เริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2547 ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้นำพรรคไทยรักไทยเป็นนายกรัฐมนตรี
จากวันนั้นถึงวันนี้ เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดภาคใต้ก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะเบาบางลง ทั้งๆ ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในภาคเอกชน และภาครัฐได้พยายามจะแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน
ท่ามกลางกระแสแห่งความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้มีผู้เสนอแนวคิดที่เคยเกิดขึ้นแล้วในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อแก้ปัญหานี้อีกครั้ง โดยอ้างว่าการอพยพคนจากอีสานลงมาภาคใต้เพื่อแก้ปัญหาที่ทำกิน และในขณะเดียวกันแก้ปัญหาความไม่สงบไปด้วยในตัว
อย่างไรก็ตาม ในทันทีที่ข่าวนี้แพร่ออกไปได้มีเสียงคัดค้านดังขึ้นเกือบทุกวงการ ในส่วนของการเมืองและนักวิชาการ และโดยนัยแห่งการคัดค้านมุ่งไปที่ประเด็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระแก้ไขปัญหาไม่ได้ ทั้งส่วนของที่ทำกิน และปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
นักการเมืองในภาคอีสานท่านหนึ่งบอกว่า คนอีสานไม่ได้ขาดที่ทำกิน แต่ขาดน้ำในการทำมาหากิน โดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมโดยอาศัยน้ำฝน และเมื่อใดก็ตามที่ฝนแล้งไม่มีน้ำทำไร่ทำนาคนเหล่านี้ก็เดือดร้อน และเมื่อความเดือดร้อนเกิดจากการขาดน้ำ การแก้ไขปัญหานี้ก็น่าจะต้องแก้ด้วยการหาน้ำมาให้มากกว่าการหาที่ทำกินให้ใหม่ซึ่งจะมีปัญหาตามมาทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคนอีสานที่อพยพลงไปภาคใต้ และในส่วนที่เกี่ยวกับคนภาคใต้เอง พอจะอนุมานได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่อพยพจากอีสานจะต้องย้ายถิ่น และพลัดพรากจากญาติเพื่อนฝูง และถิ่นฐานบ้านเกิดอันเป็นสิ่งที่พวกเขาผูกพัน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งที่เขาเป็น และสิ่งที่เขามี
2. เมื่อเข้ามาอยู่ในที่ใหม่อันเป็นสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาไม่เคยชินมาก่อน จะต้องใช้เวลาและศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ และช่วงแห่งเวลาเช่นนี้พวกเขาจะต้องเดือดร้อน
3.ในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าถิ่น คือผู้คนที่อยู่ใน 3 จังหวัดภาคใต้ เมื่อพบว่ามีคนใหม่เข้ามาแทรกแซงในสังคมที่พวกเขาอยู่ ก็จะเกิดกระแสต่อต้านในสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาพร้อมกับผู้มาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความแตกต่างในส่วนที่เขาเป็นคือเชื้อชาติต่างกัน และสิ่งที่เขามี เช่น พูดภาษาต่างกัน มีความเชื่อถือในศาสนาและวัฒนธรรมต่างกัน
ยิ่งกว่านี้ แม้กระทั่งคนไทยที่เป็นคนนับถือศาสนาพุทธด้วยกันก็ใช่ว่าจะไม่มีสิ่งแตกต่างกันระหว่างคนอีสานกับคนใต้
ในความเป็นจริง ถ้ามองในแง่ของสังคมวิทยา และจริยธรรมแล้ว คน 2 กลุ่มนี้มีข้อแตกต่างกัน เป็นต้นว่า ในสิ่งที่เขามี เช่น ภาษา และประเพณีแตกต่างกัน ก็เกิดกระแสต้านได้ ถึงแม้จะไม่รุนแรงแต่ก็ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้มาใหม่ได้
โดยนัยแห่งแนวคิดดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดที่จะนำคนไม่ว่าจากอีสานหรือจากไหนไปเพื่อแก้ไขปัญหาในภาคใต้ โอกาสที่จะแก้ได้มีน้อย แต่โอกาสที่จะเกิดปัญหาเพิ่มมีมากกว่า จึงใคร่ขอร้องผู้ที่คิดให้หยุดคิด และคิดใหม่ในสิ่งที่คิดแล้วไม่มีปัญหาจะดีกว่า
การแก้ไขปัญหาที่ทำกินไม่เพียงพอโดยการย้ายถิ่น ถ้าไม่ย้ายไปภาคใต้ แต่ย้ายไปภาคอื่นจะแก้ไขปัญหานี้ได้หรือไม่? และถ้าย้ายไม่ได้จะแก้ไขอย่างไร?
เกี่ยวกับปัญหาที่ทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นมาตลอด ทั้งนี้ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เกษตรกรในประเทศไทย ไม่ว่าในภาคไหนจะพบกับปัญหาไม่มีที่ทำกินเหมือนๆ กัน จะแตกต่างกันอยู่ในประเด็นว่ามากหรือน้อย และที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเหตุผลเดียวคือ จำนวนคนในกลุ่มผู้ทำเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันพื้นที่เพาะปลูกไม่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจำนวนคนต่อพื้นที่เพาะปลูกต่อคนต่อไร่โดยรวมก็ลดลงทุกปี
2. นอกจากพื้นที่ลดลงเพราะคนทำกินเพิ่มขึ้นตามข้อ 1 แล้ว การพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นรวดเร็วทำให้พื้นที่เพาะปลูกส่วนหนึ่งกลายเป็นที่อยู่อาศัย กลายเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม จะเห็นได้ชัดเจนในจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพฯ เช่น ปทุมธานี และสมุทรปราการ เป็นต้น
เมื่อความเจริญเข้ามาถึงเขตทำเกษตรกรรม เกษตรกรส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ก็ว่าได้จะขายพื้นที่ทำกิน และไปหาที่ใหม่ไกลออกไป และการหาที่ใหม่ก็ใช่ว่าทำให้ชาวนาประสบความสำเร็จในการทำมาหากิน เช่น ที่ใหม่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์พอหรือมีความสมบูรณ์แต่มีจำนวนน้อยลงกว่าที่เคยมี เนื่องจากเงินที่ขายที่เดิมได้ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้สอยอย่างอื่น หรือในบางรายที่มีลูกหลานหลายคนก็อาจมีการแบ่งสันปันส่วนออกไปจนทำให้ไม่มีเหลือมากพอไปซื้อที่ทำกินใหม่ในจำนวนเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมได้ จึงเป็นเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ที่ทำกินไม่เพียงพอ
3.เกษตรกรที่เคยมีที่ทำกินอย่างเพียงพอในอดีต เมื่อทำกินที่เดิมเรื่อยๆ มา จนพื้นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ต้องอาศัยปัจจัยการผลิตสมัยใหม่ เช่น ปุ๋ย น้ำยาเคมี รวมไปถึงพันธุ์พืช ถ้าจะให้ได้ผลผลิตเท่าเดิมนั่นหมายถึงว่าต้องมีเงิน
แต่ถ้าบังเอิญไม่มีเงินเพียงพอก็แปลว่าต้องทำแบบเดิมๆ ถึงแม้พื้นที่ไม่ลดลงผลผลิตก็ได้น้อยลง
ด้วยเหตุ 3 ประการนี้ การแก้ไขปัญหาพื้นที่ไม่พอทำกินด้วยการหาที่ใหม่ให้ จึงไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น เพราะว่าวันหนึ่งก็เกิดเหตุ 3 ประการที่ทำให้เกิดปัญหาไม่มีที่ทำกินเพียงพอ ผู้ที่ย้ายที่ก็คงจะต้องย้ายกันต่อไปไม่รู้จบ
ดังนั้น ทางที่ดีควรแก้โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการย้าย และสนับสนุนให้ชาวนาหันไปทำอาชีพเสริมเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งรายได้จากการทำเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวก็คงจะพอช่วยได้ แต่อย่าช่วยโดยการคิดและพูดเพียงอย่างเดียว แต่ให้คิดและทำ โดยคำนึงถึงศักยภาพของชาวนาเป็นหลัก และแนวคิดที่เกษตรกรจะรับได้ และทำได้โดยไม่ต้องรอเงินกู้ ก็คงหนีไม่พ้นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้นั่นเอง