xs
xsm
sm
md
lg

รัฐบาลขี้เกียจคิด ติดกับปฏิรูป เอียงวูบเข้าข้างหัวคะแนน เหยียบแบนการศึกษา : การโอนครูสู่องค์กรท้องถิ่น

เผยแพร่:   โดย: ปราโมทย์ นาครทรรพ

สี่ห้าวันที่ผ่านมานี้ วุฒิสมาชิกจากอุดรธานีท่านหนึ่งโทร.มาหา และขอมาปรึกษาผม เนื่องจากท่านได้รับฉันทานุมัติจากนักการศึกษาในรัฐสภา และบรรดาตัวแทนครูทั่วประเทศให้เป็นแกนนำคัดค้านการโอนการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น ท่านถามว่าท่านสมควรจะกระทำหน้าที่หรือไม่ ผมตอบว่า ดีแล้ว เอาเลย

ท่านถามต่อว่า ผมเห็นด้วยหรือไม่ในการโอนการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น ผมตอบว่า ในด้านหลักการ ผมเห็นด้วยครึ่งหนึ่ง-ไม่เห็นด้วยครึ่งหนึ่ง แต่ในเรื่องเงื่อนเวลา ผมไม่เห็นด้วยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากจะโอนไปที่ อบต.หรือ อบจ.ถ้าเป็นเทศบาลเมืองขึ้นไปละก้อให้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

ท่านจะให้ผมช่วยเขียนหรือไปพูดเพื่อคัดค้านการโอนดังกล่าว ตามข้ออ้างของรัฐบาลว่าจำเป็นต้องกระทำ ตามพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายลูกของกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ผมลืมบอกท่านไปว่า นายกฯ ท่านเป็นคนไม่กลัวกฎหมาย ท่านเคยบอกว่ากฎหมายอะไรที่เป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญ ก็แก้ไขยกเลิกเสียไม่เห็นจะยากอะไร

ผมขอโทษที่ไม่อาจไปร่วมพูดด้วยได้ หรือจะเขียนอะไร ก็ยังไม่ถนัด เพราะอยู่ในระหว่างกำลังพักฟื้น แต่ก็ได้ให้ข้อคิดท่านไป 2-3 ประการเพื่อจะได้ให้ไปเล่าให้หมู่คณะฟัง

ผมได้ฟื้นความจำของท่านในเรื่องที่ท่านบอกว่ายังไม่ลืมและจำได้ดี เรื่องนี้คือเรื่องที่ผมอยากให้ขบวนการครูรำลึกถึงบุญคุณของอดีตนายกฯ เกรียงศักดิ์ผู้ล่วงลับ นายกฯ เกรียงศักดิ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ยอมสูญเสียอำนาจ งบประมาณและอัตรากำลัง (คน) จำนวนมหาศาล โดยคำนึงถึงความถูกต้องและอนาคตของประเทศชาติ แทนที่จะปกปักรักษาผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องบริวาร

ท่านยอมให้โอนการศึกษาประชาบาลออกมาจากกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานในสังกัด นั่นก็คือ องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีชื่อว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งในขณะนั้นเป็นการปกครองท้องถิ่นจำบัง ความจริงอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัดและนายอำเภออย่างเคร่งครัด

หากไม่มีนายกฯ ที่มีจิตใจเสียสละ มองการณ์ไกลและเป็นนักปฏิรูปอย่างแท้จริงแบบพลเอกเกรียงศักดิ์แล้ว คงไม่มีทางที่จะโอนการศึกษาออกจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดของกระทรวงมหาดไทยสำเร็จ

ก่อนที่จะตัดสินใจเด็ดขาดครั้งสุดท้าย พลเอกเกรียงศักดิ์คุยกันกับผมอยู่สองต่อสองกว่าสามชั่วโมง ผมยังจำได้ที่ท่านทุบโต๊ะ ทีแรกผมนึกว่าท่านจะปฏิเสธเสียอีก แต่ท่านกลับบอกว่าตกลง ก่อนหน้านั้นท่านขอเวลาไปคิดเป็นเดือน พบปะนักการศึกษา ครู นักการเมือง และที่ปรึกษาหลายคณะ ผมกราบเรียนท่านว่า ประเทศไทยเผชิญทางเลือกอยู่ 3 ทาง คือ 1. ให้กระทรวงมหาดไทยหรือกอ.รมน.เป็นผู้จัดตั้งและควบคุมครูประชาบาลต่อไป 2. พรรคคอมมิวนิสต์ย่อมจะอาสาเข้าแข่งขันทำการจัดตั้ง และควบคุมครูประชาบาลหนักขึ้น โดยเฉพาะในท้องถิ่นกันดารและห่างไกล 3. ให้บรรดาครูจัดตั้งและควบคุมกันเอง โดยรัฐบาลเป็นผู้อนุเคราะห์

พลเอกเกรียงศักดิ์ขอให้ผมไปร่างความคิดและเสนอชื่อกรรมการ โดยชั้นแรกอาจจะให้อยู่ในกระทรวงศึกษาไปชั่วคราวก่อน แต่ให้รีบพัฒนาองค์การศึกษาในรูปคณะกรรมการผสมกับการเลือกตั้งโดยมีผู้แทนครูทุกระดับ ผมเสียดายเมื่อผมร่างแนวความคิดให้แล้ว ผมไม่ยอมรับเป็นกรรมการหรือตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ท่านยังเขียนมาขอบคุณผมบอกว่าอาจารย์นี่แปลก คนอื่นมีแต่เขาขอเป็นโน่นเป็นนี่กันทั้งนั้น รายละเอียดบางอย่างของเรื่องนี้ขอให้ไปหาอ่านได้จากหนังสือเรื่อง “คำขานรับของครูประชาบาล” โดย สุชน ชาลีเครือ และพิสิฐ สร้อยธุหร่ำ

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 เป็นวันที่คณะรัฐประหารได้ทำลายวิวัฒนาการประชาธิปไตยรวมทั้งการศึกษาไทยด้วย ผมยังไม่มีเวลาที่จะแจงรายละเอียด นอกจากจะบอกสั้นๆ ว่า เป็นการเปิดศักราชที่เราแยกโรงเรียนออกมาจากวัดและชุมชน กลายเป็นโรงเรียนข้างถนน (แบบอเมริกัน แต่ไม่เหมือนอเมริกัน เพราะของเขาเป็นถนนที่ประชาคมเข้าถึงเพราะมีรถยนต์และความสะดวกต่างๆ นานา รวมทั้งองค์กรท้องถิ่นเพื่อการศึกษาที่เข้มแข็งและหลากหลาย องค์กรดังกล่าวมิใช่องค์กรปกครอง)

และในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 นับเป็นเวลาได้ 58 ปี ผมได้ข่าวว่ามีครูจากทั่วราชอาณาจักรมาชุมนุมกันใน กทม. เป็นจำนวนพันหรือหมื่น เพื่อคัดค้านมิให้โอนครูไปอยู่ใต้การบังคับบัญชาขององค์กรปกครองท้องถิ่น มีเพื่อนครูหลายคนอยากมาเยี่ยมผม ผมต้องขอโทษที่ไม่ค่อยจะสบาย แต่ผมได้ให้ข้อคิดกับวุฒิสมาชิกคำพันธ์ไปแล้ว เป็นความย่อๆ ดังนี้

1. ผมเห็นด้วยที่ครูสมควรจะอยู่ในท้องถิ่น (อันเป็นหน่วยภูมิศาสตร์) แต่มิใช่สังกัดองค์กรท้องถิ่นแบบ อบต.หรือ อบจ.ในปัจุบัน แต่ขอให้เพื่อนครูโปรดระมัดระวัง อย่าให้เกิดความเข้าใจผิดหรือแปลกแยกว่าครูดูถูกชาวบ้านหรือตัวแทนของชาวบ้าน

2. กระทรวงศึกษาธิการอาจจะมิใช่องค์กรในอุดมคติในระยะยาว เพราะกระทรวงศึกษาฯ ไม่ควรจะทำหน้าที่เป็นนายครู ควรเป็นเพียงที่ปรึกษาทางวิชาการ-การวิจัย ผู้สนับสนุนงบประมาณ อีกประการหนึ่งกระทรวงศึกษาขณะนี้เป็นองค์กรที่ล้าหลัง ใหญ่โตเทอะทะ ไม่นับหรือตัดจำนวนครูที่ทำการสอนในโรงเรียนออกแล้ว ขุนนางการศึกษาของไทยมีขนาดใหญ่กว่ากระทรวงศึกษาของ 5 มหาประเทศคือ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่นรวมกันหนึ่งเท่าตัว ดูดงบประมาณไปจากโรงเรียนหมด

3. ขณะนี้เขตการศึกษาของเราก็เป็นการลอกเลียนแบบของอเมริกันกับอังกฤษมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา หากไม่แก้ไขกลับจะเป็นผลร้าย หากแก้ไขให้ดีอาจเป็นโอกาสทองของการศึกษาไทย หากสามารถวางจุดหนักได้ที่นักเรียน โรงเรียน ครู ประชาคมและประชาธิปไตย พ.ร.บ.การศึกษา ที่เราใช้เป็นคัมภีร์อยู่เดี๋ยวนี้ มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย มีหลายอย่างจำเป็นต้องแก้ไข หาไม่แล้วการศึกษาจะเป็นมิคสัญญี

4. องค์กรบริหารการศึกษาในท้องถิ่นนั้นจะต้องเป็นองค์กรบริการที่ชำนาญเฉพาะอย่างคือช่ำชองในการให้ศึกษาตั้งแต่เริ่มมีชีวิตและตลอดชีวิตของบุคคล ครอบครัวและชุมชน จะมีลักษณะและองค์ประกอบเป็นแบบใดนั้นต้องเป็นผลของการศึกษาหาข้อมูลอย่างจริงจัง เพื่
กำลังโหลดความคิดเห็น