ตำรวจยโสธร แจ้งความดำเนินคดี "สนธิ ลิ้มทองกุล" - "สโรชา พรอุดมศักดิ์" และทีมงานรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ อ้างดูหมิ่นเบื้องสูง กรณีตั้งคำถามที่รัฐบาลซื้อเครื่องบิน "ไทยคู่ฟ้า" เปรียบเทียบกับเครื่องบินพระราชพาหนะ ในรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร" ครั้งล่าสุด ผบช.ภ.3 ตั้งกรรมการคุมคดี ขณะหัวหน้าทีมสอบสวน ยันการเมืองแทรกแซงไม่ได้ และพร้อมให้ความเป็นธรรม
วานนี้ (8พ.ย.) พ.ต.ท.สำเนียง ลือเจียงคำ รองผู้กำกับสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ได้เข้าแจ้งความต่อ ร.ต.ท.พีระพิทธิ์ เทพบรรหาร พนักงานสอบสวน (สบ 1) สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองยโสธร เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
หลังจาก ร.ต.ท.พีระพิทธิ์ เทพบรรหาร ได้รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้ว เห็นว่า เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงได้รายงานเหตุดังกล่าวไปยังสำนักงานตำรวจภาค 3 ตาม คำสั่ง ตร.705/2547 ลงวันที่ 26 ต.ค.2547 เรื่องการแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อไป
พ.ต.ท.สำเนียง แถลงต่อสื่อมวลชน ว่า เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2548 เวลา 18.00 น.- 22.00 น.และล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2548 เวลา 21.00 น. ตนได้เปิดโทรทัศน์ ชมรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทาง ASTV ช่อง NEWS 1 ซึ่งออกเทปโทรทัศน์ รายการ"เมืองไทยรายสัปดาห์" ในรายการมีนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้จัดรายการร่วมกับ นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ โดยเนื้อหาสาระที่นายสนธิ พูดกล่าวโจมตีการปฏิบัติงานของรัฐบาลโดยเฉพาะ และเน้นการไปที่การปฏิบัติงานของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีทำให้ตนเห็นว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง คือ การที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้พูดแอบอ้างถึงพระราชอำนาจแห่งพระบรมจักรีวงศ์ มาเปรียบเทียบกับสามัญชน อาทิ เกี่ยวกับ พระราชยานพาหนะ นายสนธิ ได้กล่าวว่า "แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังไม่มีเครื่องบินประจำพระองค์"หรือ"สมเด็จพระเทพฯ ยังเสด็จแปรพระราชสถานประทับเครื่องบิน C 130 แล้วทักษิณ"เป็นใคร" ด้วยคำต่างๆ เหล่านี้ ตนเห็นว่าเป็นคำพูดที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
พ.ต.ท.สำเนียง กล่าวว่า หากนายสนธิ ลิ้มทองกุล กับพวกจะขัดแย้งหรือไม่เห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรี เป็นการส่วนตัว หรือการบริหารงานด้านนโยบาย ควรที่จะไปฟ้องร้องตามขบวนการยุติธรรม นายสนธิ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำเอา สถาบันพระมหากษัตริย์ ลงมาเปรียบเทียบเช่นนี้ ตนเห็นว่ากระกระทำดังกล่าวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล กับพวก เข้าข่ายเป็นความผิดฐาน "ดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตากฎหมารัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2548 มาตรา 8 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ส่วนหลักฐานเทปบันทึกภาพรายการ สำเนาแกะคำพูดของนายสนธิ ลิ้มทองกุล และ นางสาวสโรชาฯ ในรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" ทั้งวันที่ 5,6 พฤศจิกายน 2548 ตนจะมอบให้พนักงานสอบสวน 1 ชุด ส่งไปยังกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 หนึ่งชุด และส่งไปให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1 ชุด ซึ่งพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีจะส่งหมายเรียกไปเชิญนายสนธิ ลิ้มทองกุล มารับทราบข้อกล่าวหาในเร็ววันนี้
พ.ต.ท.สำเนียง กล่าวอีก ว่าที่ต้องตัดสินใจแจ้งความเอาผิดกับนายสนธิ ลิ้มทองกุลครั้งนี้เพราะทนไม่ได้กับการที่นานสนธิพูดในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ทุกครั้ง โดยเฉพาะครั้งล่าสุดยังพยายามกล่าวอ้างดึงในหลวงเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ตนเองพูดกล่าวโจมตีรัฐบาล นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกอบกับมีประชาชนจำนวนไม่น้อยติดต่อสอบถามข้องใจนายสนธิในประเด็นเดียวกัน ทำให้ต้องตัดสินใจแจ้งความในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และทำให้นายกรัฐมนตรีเสียหายโดยไม่สามารถพิสูจน์ได้
“พื้นฐานส่วนตัวผมเคารพอาจารย์สนธิอยู่แล้ว เพราะท่านเป็นคนมีความรู้ความสามารถท่านหนึ่ง แต่ในช่วงหลังท่านพยายามพูดจาโจมตีนายก โดยดึงในหลวงเข้ามาเกี่ยวข้องทุกครั้ง ผมในฐานะของคนไทยคนหนึ่งที่ศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ทนไม่ได้ จึงต้องเข้าแจ้งความเพื่อให้อาจารย์สนธิรู้สำนึกเสียบ้าง”พ.ต.ท.สำเนียงกล่าวและว่า การเข้าแจ้งความกล่าวโทษ นายสนธิ ครั้งนี้ ไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง เป็นความเห็นส่วนตัว เพราะก่อนที่จะเข้าแจ้งความกับร้อยเวรก็ได้ทำหนังสือเรียนให้ผู้บังคับบัญชาทราบก่อนแล้วตามระเบียบ
พ.ต.ท.สำเนียงกล่าวอีกว่า ปกติทุกเย็นวันศุกร์ตนติดตามรับชมรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ASTV ช่อง NEW 1 ที่ นายสนธิ เป็นผู้ดำเนินรายการทุกครั้ง
ด้านพ.ต.อ.องอาจ ผิวเรืองนนท์ รอง ผบก.ภ.จ.ยโสธร รักษาการ ผบก.ภ.จ.ยโสธร กล่าวว่า การเข้าแจ้งความครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่สามารถทำได้ ส่วนตัวมองว่า พ.ต.ท.สำเนียง ลือเจียงคำ ตัดสินใจถูกต้องแล้ว เพราะเมื่อเห็นว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ก็ควรนำมาแจ้งความ
ขณะที่ พล.ต.ท.สถาพร หลาวทอง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3(ผบช.ภ 3) กล่าวว่า ตนได้รับรายงานในเบื้องต้นแล้ว โดยรายละเอียดการแจ้งความ เป็นไปตามที่ พ.ต.ท.สำเนียง ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า เป็นผลจากการนำเทปรายการเมืองไทยรายสัปดาห์มาดูและเห็นว่า นายสนธิ น่าจะเข้าข่ายดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิทธิส่วนตัวของ พ.ต.ท.สำเนียง ที่สามารถกระทำได้ และเรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกับกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 หรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่อย่างใด
พล.ต.ท.สถาพร กล่าวอีกว่า เมื่อเกิดเป็นคดีขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นธรรม ในการทำสำนวนการสอบสวน ตนจึงได้สั่งตั้งกรรมการเพื่อทำสำนวนคดีนี้โดยเฉพาะ โดยมอบหมายให้ พล.ต.ต.สุรสีห์ สุนทรศารทูล รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน เพื่อทำการตรวจสอบเบื้องต้นว่า ข้อหาที่แจ้งความ เข้าข่ายหรือครบองค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ โดยยืนยันว่า คดีนี้จะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย และจะทำสำนวนไปตามพยานหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมด
ด้าน พล.ต.ต.สุรสีห์ สุนทรศารทูล รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 กล่าวว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่มีการกล่าวหาว่า ดูหมิ่นสถาบันชั้นสูง ดังนั้น จะต้องขอดูรายละเอียดสำนวนการแจ้งความก่อน รวมทั้ง จะต้องสอบปากคำผู้แจ้งความ และตรวจวัตถุพยาน โดยเฉพาะเทปรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ที่ทาง พ.ต.ท.สำเนียง อ้างว่านายสนธิ ทำความผิด ก่อนที่จะวินิจฉัยว่า เข้าข่ายความผิดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.สุรสีห์ ยืนยันว่า จะทำคดีอย่างตรงไป ตรงมา ด้วยความรอบคอบมากที่สุด ต่อข้อถามเกรงนักการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำคดีนี้หรือไม่ รอง ผบช.ภ.3 ยืนยันว่า การทำคดีของตำรวจภูธรภาค 3 โดยเฉพาะการทำงานรูปแบบของคณะกรรมการ การเมืองไม่สามารถแทรกแซงได้ และทุกอย่างต้องเป็นไปตามพยานหลักฐาน
สำหรับรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้น ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. ที่ผ่านมา นายสนธิ ได้ตั้งคำถามต่อรัฐบาลถึงความเหมาะสมกรณีการอนุมัติซื้อเครื่องบินประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี “ไทยคู่ฟ้า” เมื่อปี 2546 ด้วยความรีบเร่ง ขณะเดียวกันรัฐบาลกลับถ่วงเรื่องการอนุมัติซื้อเครื่องบินพระราชยานพาหนะ
นายสนธิได้ถามถึงความจำเป็นของการซื้อเครื่องบินไทยคู่ฟ้าด้วยงบประมาณมากกว่า 2,000 ล้านบาท ทั้งที่รัฐบาลสามารถใช้บริการของการบินไทย หรือใช้เครื่องบินของตำรวจ-ทหาร ในการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจในต่างจังหวัดได้ ขณะที่ผู้นำประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกไม่มีเครื่องบินประจำตำแหน่ง แม้กระทั่งประเทศอังกฤษ แต่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็ยังอนุมัติซื้อเมื่อปี 2546 โดยนำเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะพูม่า 2 ลำไปแลก
ขณะเดียวกัน เครื่องบินพระราชพาหนะสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีอยู่ 2 ลำ มีสภาพเก่าจากการใช้งานมานาน 18 ปี และ 25 ปี ตามลำดับ จนในบางโอกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ต้องเสด็จพระราชดำเนินโดยเครื่องบิน ซี 130 ของกองทัพอากาศ เมื่อมีการเสนอขออนุมัติซื้อเครื่องบินพระราชพาหนะในปี 2546 รัฐบาลกลับแช่เรื่องเอาไว้ โดยอ้างเหตุผลว่า ยังไม่มีงบประมาณ เพิ่งจะอนุมัติซื้อเมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา
เป็นที่น่าสังเกตอีกว่า ผู้ที่มาแจ้งความดำเนินคดีกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล ครั้งนี้เป็นนายตำรวจแทนที่จะเป็นประชาชนทั่วไปที่เห็นว่านายสนธิกระทำผิดจริงๆ นั่นเพราะข้าราชการตำรวจในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ นับเป็นช่วงที่ตำรวจคุมตำแหน่งสำคัญๆ เอาไว้หมด นอกจากนายตำรวจคนใกล้ชิดนายกฯ จะได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญแล้ว ตำแหน่งสำคัญอื่นๆ ก็เป็นของตำรวจเช่นกัน ตั้งแต่ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประธานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เลขาธิการคณะกรรมการปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แม้กระทั่งผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จนนักวิชาการว่ายุคนี้เป็นยุคตำรวจครองเมือง เหมือนยุคพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เมื่อราว 60 ปีก่อน
สำหรับพ.ต.ท.สำเนียง ลือเจียงคำ ผู้แจ้งความดำเนินคดีครั้งนี้เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ในสังกัดพรรคมวลชน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2538 และเดือนพฤศจิกายน 2539 เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว. จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี 2543 และเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส. เขต 2 ขอนแก่น ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ ในการเลือกตั้งใหญ่ 6 มกราคม 2544 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จึงขอกลับเข้ารับราชการ และอยู่ในพื้นที่จังหวัดยโสธรซึ่งมีส.ส.มาจากพรรคไทยรักไทยยกจังหวัด
นอกจากนี้ ในช่วงที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปต่างประเทศ มักเกิดเหตุคุกคามสื่อมวลชนเสมอ เช่น กรณีแกรมมี่เข้าซื้อหุ้นบางกอกโพสต์และมติชน เกิดขึ้นระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณทัวร์ยุโรปเมื่อต้นเดือนตุลาคม การปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกจากผังรายการช่อง 9 เมื่อเดือนกันยายน 2548 เกิดขึ้นระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-สหประชาชาติที่สหรัฐอเมริกา และการแจ้งความดำเนินคดีกับนายสนธิครั้งนี้ ก็เกิดขึ้นในขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางเยือนประเทศเคนยา
อนึ่ง เรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ ขณะนี้กำลังมีการล่าชื่อของกลุ่มประชาชนเพื่อดำเนินคดีกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่เข้าไปนั่งทำพิธีในบริเวณที่สงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ ภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อเดือนเมษายน 2548 ที่ผ่านมา (อ่าน รายละเอียดใน “คุณถาม-พายัพตอบ” เรื่อง ภาพคาใจคนไทย ‘นายกฯทักษิณในโบสถ์วัดพระแก้ว”)
วานนี้ (8พ.ย.) พ.ต.ท.สำเนียง ลือเจียงคำ รองผู้กำกับสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ได้เข้าแจ้งความต่อ ร.ต.ท.พีระพิทธิ์ เทพบรรหาร พนักงานสอบสวน (สบ 1) สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองยโสธร เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
หลังจาก ร.ต.ท.พีระพิทธิ์ เทพบรรหาร ได้รับแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้ว เห็นว่า เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงได้รายงานเหตุดังกล่าวไปยังสำนักงานตำรวจภาค 3 ตาม คำสั่ง ตร.705/2547 ลงวันที่ 26 ต.ค.2547 เรื่องการแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อไป
พ.ต.ท.สำเนียง แถลงต่อสื่อมวลชน ว่า เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2548 เวลา 18.00 น.- 22.00 น.และล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2548 เวลา 21.00 น. ตนได้เปิดโทรทัศน์ ชมรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทาง ASTV ช่อง NEWS 1 ซึ่งออกเทปโทรทัศน์ รายการ"เมืองไทยรายสัปดาห์" ในรายการมีนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้จัดรายการร่วมกับ นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ โดยเนื้อหาสาระที่นายสนธิ พูดกล่าวโจมตีการปฏิบัติงานของรัฐบาลโดยเฉพาะ และเน้นการไปที่การปฏิบัติงานของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีทำให้ตนเห็นว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง คือ การที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้พูดแอบอ้างถึงพระราชอำนาจแห่งพระบรมจักรีวงศ์ มาเปรียบเทียบกับสามัญชน อาทิ เกี่ยวกับ พระราชยานพาหนะ นายสนธิ ได้กล่าวว่า "แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังไม่มีเครื่องบินประจำพระองค์"หรือ"สมเด็จพระเทพฯ ยังเสด็จแปรพระราชสถานประทับเครื่องบิน C 130 แล้วทักษิณ"เป็นใคร" ด้วยคำต่างๆ เหล่านี้ ตนเห็นว่าเป็นคำพูดที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
พ.ต.ท.สำเนียง กล่าวว่า หากนายสนธิ ลิ้มทองกุล กับพวกจะขัดแย้งหรือไม่เห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรี เป็นการส่วนตัว หรือการบริหารงานด้านนโยบาย ควรที่จะไปฟ้องร้องตามขบวนการยุติธรรม นายสนธิ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำเอา สถาบันพระมหากษัตริย์ ลงมาเปรียบเทียบเช่นนี้ ตนเห็นว่ากระกระทำดังกล่าวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล กับพวก เข้าข่ายเป็นความผิดฐาน "ดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตากฎหมารัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2548 มาตรา 8 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ส่วนหลักฐานเทปบันทึกภาพรายการ สำเนาแกะคำพูดของนายสนธิ ลิ้มทองกุล และ นางสาวสโรชาฯ ในรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" ทั้งวันที่ 5,6 พฤศจิกายน 2548 ตนจะมอบให้พนักงานสอบสวน 1 ชุด ส่งไปยังกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 หนึ่งชุด และส่งไปให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1 ชุด ซึ่งพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีจะส่งหมายเรียกไปเชิญนายสนธิ ลิ้มทองกุล มารับทราบข้อกล่าวหาในเร็ววันนี้
พ.ต.ท.สำเนียง กล่าวอีก ว่าที่ต้องตัดสินใจแจ้งความเอาผิดกับนายสนธิ ลิ้มทองกุลครั้งนี้เพราะทนไม่ได้กับการที่นานสนธิพูดในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ทุกครั้ง โดยเฉพาะครั้งล่าสุดยังพยายามกล่าวอ้างดึงในหลวงเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ตนเองพูดกล่าวโจมตีรัฐบาล นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกอบกับมีประชาชนจำนวนไม่น้อยติดต่อสอบถามข้องใจนายสนธิในประเด็นเดียวกัน ทำให้ต้องตัดสินใจแจ้งความในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และทำให้นายกรัฐมนตรีเสียหายโดยไม่สามารถพิสูจน์ได้
“พื้นฐานส่วนตัวผมเคารพอาจารย์สนธิอยู่แล้ว เพราะท่านเป็นคนมีความรู้ความสามารถท่านหนึ่ง แต่ในช่วงหลังท่านพยายามพูดจาโจมตีนายก โดยดึงในหลวงเข้ามาเกี่ยวข้องทุกครั้ง ผมในฐานะของคนไทยคนหนึ่งที่ศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ทนไม่ได้ จึงต้องเข้าแจ้งความเพื่อให้อาจารย์สนธิรู้สำนึกเสียบ้าง”พ.ต.ท.สำเนียงกล่าวและว่า การเข้าแจ้งความกล่าวโทษ นายสนธิ ครั้งนี้ ไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง เป็นความเห็นส่วนตัว เพราะก่อนที่จะเข้าแจ้งความกับร้อยเวรก็ได้ทำหนังสือเรียนให้ผู้บังคับบัญชาทราบก่อนแล้วตามระเบียบ
พ.ต.ท.สำเนียงกล่าวอีกว่า ปกติทุกเย็นวันศุกร์ตนติดตามรับชมรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ASTV ช่อง NEW 1 ที่ นายสนธิ เป็นผู้ดำเนินรายการทุกครั้ง
ด้านพ.ต.อ.องอาจ ผิวเรืองนนท์ รอง ผบก.ภ.จ.ยโสธร รักษาการ ผบก.ภ.จ.ยโสธร กล่าวว่า การเข้าแจ้งความครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่สามารถทำได้ ส่วนตัวมองว่า พ.ต.ท.สำเนียง ลือเจียงคำ ตัดสินใจถูกต้องแล้ว เพราะเมื่อเห็นว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ก็ควรนำมาแจ้งความ
ขณะที่ พล.ต.ท.สถาพร หลาวทอง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3(ผบช.ภ 3) กล่าวว่า ตนได้รับรายงานในเบื้องต้นแล้ว โดยรายละเอียดการแจ้งความ เป็นไปตามที่ พ.ต.ท.สำเนียง ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า เป็นผลจากการนำเทปรายการเมืองไทยรายสัปดาห์มาดูและเห็นว่า นายสนธิ น่าจะเข้าข่ายดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิทธิส่วนตัวของ พ.ต.ท.สำเนียง ที่สามารถกระทำได้ และเรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกับกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 หรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่อย่างใด
พล.ต.ท.สถาพร กล่าวอีกว่า เมื่อเกิดเป็นคดีขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นธรรม ในการทำสำนวนการสอบสวน ตนจึงได้สั่งตั้งกรรมการเพื่อทำสำนวนคดีนี้โดยเฉพาะ โดยมอบหมายให้ พล.ต.ต.สุรสีห์ สุนทรศารทูล รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน เพื่อทำการตรวจสอบเบื้องต้นว่า ข้อหาที่แจ้งความ เข้าข่ายหรือครบองค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ โดยยืนยันว่า คดีนี้จะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย และจะทำสำนวนไปตามพยานหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมด
ด้าน พล.ต.ต.สุรสีห์ สุนทรศารทูล รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 กล่าวว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่มีการกล่าวหาว่า ดูหมิ่นสถาบันชั้นสูง ดังนั้น จะต้องขอดูรายละเอียดสำนวนการแจ้งความก่อน รวมทั้ง จะต้องสอบปากคำผู้แจ้งความ และตรวจวัตถุพยาน โดยเฉพาะเทปรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ที่ทาง พ.ต.ท.สำเนียง อ้างว่านายสนธิ ทำความผิด ก่อนที่จะวินิจฉัยว่า เข้าข่ายความผิดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.สุรสีห์ ยืนยันว่า จะทำคดีอย่างตรงไป ตรงมา ด้วยความรอบคอบมากที่สุด ต่อข้อถามเกรงนักการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำคดีนี้หรือไม่ รอง ผบช.ภ.3 ยืนยันว่า การทำคดีของตำรวจภูธรภาค 3 โดยเฉพาะการทำงานรูปแบบของคณะกรรมการ การเมืองไม่สามารถแทรกแซงได้ และทุกอย่างต้องเป็นไปตามพยานหลักฐาน
สำหรับรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้น ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. ที่ผ่านมา นายสนธิ ได้ตั้งคำถามต่อรัฐบาลถึงความเหมาะสมกรณีการอนุมัติซื้อเครื่องบินประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี “ไทยคู่ฟ้า” เมื่อปี 2546 ด้วยความรีบเร่ง ขณะเดียวกันรัฐบาลกลับถ่วงเรื่องการอนุมัติซื้อเครื่องบินพระราชยานพาหนะ
นายสนธิได้ถามถึงความจำเป็นของการซื้อเครื่องบินไทยคู่ฟ้าด้วยงบประมาณมากกว่า 2,000 ล้านบาท ทั้งที่รัฐบาลสามารถใช้บริการของการบินไทย หรือใช้เครื่องบินของตำรวจ-ทหาร ในการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจในต่างจังหวัดได้ ขณะที่ผู้นำประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกไม่มีเครื่องบินประจำตำแหน่ง แม้กระทั่งประเทศอังกฤษ แต่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็ยังอนุมัติซื้อเมื่อปี 2546 โดยนำเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะพูม่า 2 ลำไปแลก
ขณะเดียวกัน เครื่องบินพระราชพาหนะสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีอยู่ 2 ลำ มีสภาพเก่าจากการใช้งานมานาน 18 ปี และ 25 ปี ตามลำดับ จนในบางโอกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ต้องเสด็จพระราชดำเนินโดยเครื่องบิน ซี 130 ของกองทัพอากาศ เมื่อมีการเสนอขออนุมัติซื้อเครื่องบินพระราชพาหนะในปี 2546 รัฐบาลกลับแช่เรื่องเอาไว้ โดยอ้างเหตุผลว่า ยังไม่มีงบประมาณ เพิ่งจะอนุมัติซื้อเมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา
เป็นที่น่าสังเกตอีกว่า ผู้ที่มาแจ้งความดำเนินคดีกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล ครั้งนี้เป็นนายตำรวจแทนที่จะเป็นประชาชนทั่วไปที่เห็นว่านายสนธิกระทำผิดจริงๆ นั่นเพราะข้าราชการตำรวจในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ นับเป็นช่วงที่ตำรวจคุมตำแหน่งสำคัญๆ เอาไว้หมด นอกจากนายตำรวจคนใกล้ชิดนายกฯ จะได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญแล้ว ตำแหน่งสำคัญอื่นๆ ก็เป็นของตำรวจเช่นกัน ตั้งแต่ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประธานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เลขาธิการคณะกรรมการปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แม้กระทั่งผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จนนักวิชาการว่ายุคนี้เป็นยุคตำรวจครองเมือง เหมือนยุคพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เมื่อราว 60 ปีก่อน
สำหรับพ.ต.ท.สำเนียง ลือเจียงคำ ผู้แจ้งความดำเนินคดีครั้งนี้เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ในสังกัดพรรคมวลชน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2538 และเดือนพฤศจิกายน 2539 เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว. จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี 2543 และเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส. เขต 2 ขอนแก่น ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ ในการเลือกตั้งใหญ่ 6 มกราคม 2544 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จึงขอกลับเข้ารับราชการ และอยู่ในพื้นที่จังหวัดยโสธรซึ่งมีส.ส.มาจากพรรคไทยรักไทยยกจังหวัด
นอกจากนี้ ในช่วงที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปต่างประเทศ มักเกิดเหตุคุกคามสื่อมวลชนเสมอ เช่น กรณีแกรมมี่เข้าซื้อหุ้นบางกอกโพสต์และมติชน เกิดขึ้นระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณทัวร์ยุโรปเมื่อต้นเดือนตุลาคม การปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกจากผังรายการช่อง 9 เมื่อเดือนกันยายน 2548 เกิดขึ้นระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-สหประชาชาติที่สหรัฐอเมริกา และการแจ้งความดำเนินคดีกับนายสนธิครั้งนี้ ก็เกิดขึ้นในขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางเยือนประเทศเคนยา
อนึ่ง เรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ ขณะนี้กำลังมีการล่าชื่อของกลุ่มประชาชนเพื่อดำเนินคดีกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่เข้าไปนั่งทำพิธีในบริเวณที่สงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ ภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อเดือนเมษายน 2548 ที่ผ่านมา (อ่าน รายละเอียดใน “คุณถาม-พายัพตอบ” เรื่อง ภาพคาใจคนไทย ‘นายกฯทักษิณในโบสถ์วัดพระแก้ว”)