ศาลปค.สูงสุดมีคำสั่งยืนตามศาลปค.ชั้นต้นไม่รับคำฟ้องไอทีวีเพิ่มของ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรภาคประชาชน 7 องค์กร
วานนี้ ( 8 พ.ย.) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องบางประเด็นของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรภาคประชาชน 7 องค์กร ที่ได้ร่วมกันฟ้องสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และบริษัทไอทีวี จำกัด กรณีที่สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ยอมปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาให้แก่บริษัท ไอทีวี รวมถึงให้ไอทีวีสามารถออกอากาศช่วงเวลาระหว่าง 09.00 -21.30 น. ได้โดยไม่ถูกจำกัดเฉพาะรายการข่าว สารคดีที่เป็นสารประโยชน์ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้คดีดังกล่าวทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษาใน 3 ประเด็นโดย ศาลปกครองชั้นต้นได้รับคำฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาประเด็นเดียวคือ กรณีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งหรือพิพากษาให้สำนักงานปลัดสำนักนายกฯมีคำสั่งทางปกครองให้บริษัท ไอทีวี ยุติรายการที่ออกอากาศนับแต่วันที่1 เม.ย. 47 ทีผิดไปจากผังรายการที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 11 โดยทันที
ส่วนอีก 2 ประเด็นเมื่อไม่รับไว้พิจารณาทางมูลนิธิจึงได้ยื่นอุทธรณ์
ซึ่งศาลปกครองสูงสุด ก็มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้อง ในกรณีที่ ขอให้สั่งให้ สำนักงานปลัดสำนักนายกฯปฏิบัติหน้าที่ยื่นคำร้อง ขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ระบุว่าสำนักงานปลัดสำนักนายกฯกระทำผิดสัญญาและให้ชดเชยความเสียหายแก่ บริษัท ไอทีวี โดยชำระเงินคืนและปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาให้แก่ บริษัท ไอทีวี รวมทั้งให้บริษัทไอทีวี สามารถออกอากาศช่วงเวลาระหว่าง 09.00 -21.30 น.ได้โดยไม่ถูกจำกัดเฉพาะรายการข่าว สารคดีที่เป็นสารประโยชน์ ต่อศาลปกครองกลางภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด
ศาลปกครองสูงสุด เห็นว่า ตามมาตรา 40 พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการบัญญัติให้สามารถยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด กรณีนี้อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 47 สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ มีเวลาในการยื่นฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้อย่างเร็วที่สุดในวันที่ 30 เม.ย. 47 แต่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นำคดีมาฟ้องต่อศาลวันที่ 5 เม.ย.47 จึงเป็นการฟ้องคดีในขณะที่ยังไม่มีเหตุแห่งการ ฟ้องคดีว่าสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ งดเว้นการกระทำเกิดขึ้น ศาลจึงไม่สามารถ กำหนดคำบังคับได้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรภาคประชาชนทั้งหมดจึงมิได้เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี
ส่วนประเด็นที่ขอให้ศาลสั่งให้สำนักงานปลัดสำนักนายกฯบอกเลิกสัญญากับ บริษัท ไอทีวี และให้ริบหลักประกันสัญญา เรียกร้องค่าเสียหายอื่น ๆ อันพึงมีตาม กฎหมายนั้นเห็นว่า กรณีดังกล่าวเมื่อทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเห็นว่าสำนักงานปลัดสำนักนายกฯซึ่งมีหน้าที่ปกป้องประโยชน์สาธารณะละเลยไม่ดำเนินการยกเลิกสัญญา เข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHFกับบริษัทไอทีวี ทั้งที่บริษัท ไอทีวี ทำผิดสัญญามาโดยตลอด จึงได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 17 มี.ค. 47 บอกกล่าว ไปยังสำนักงานปลัดสำนักนายกฯเพื่อขอให้ยกเลิกสัญญา
แม้สำนักงานปลัดจะนิ่งเฉย แต่การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรภาคประชาชนทั้งหมดนำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 47 นั้น เป็นช่วงเวลาที่ยังไม่พ้น กำหนด 90 วัน นับแต่วันที่มีหนังสือร้องตามมาตรา 49 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้ ศาลปกครองสูงสุดจึงไม่เห็นพ้อง ศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องใน 2 ประเด็นดังกล่าว
วานนี้ ( 8 พ.ย.) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องบางประเด็นของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรภาคประชาชน 7 องค์กร ที่ได้ร่วมกันฟ้องสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และบริษัทไอทีวี จำกัด กรณีที่สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ยอมปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาให้แก่บริษัท ไอทีวี รวมถึงให้ไอทีวีสามารถออกอากาศช่วงเวลาระหว่าง 09.00 -21.30 น. ได้โดยไม่ถูกจำกัดเฉพาะรายการข่าว สารคดีที่เป็นสารประโยชน์ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้คดีดังกล่าวทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษาใน 3 ประเด็นโดย ศาลปกครองชั้นต้นได้รับคำฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาประเด็นเดียวคือ กรณีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งหรือพิพากษาให้สำนักงานปลัดสำนักนายกฯมีคำสั่งทางปกครองให้บริษัท ไอทีวี ยุติรายการที่ออกอากาศนับแต่วันที่1 เม.ย. 47 ทีผิดไปจากผังรายการที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 11 โดยทันที
ส่วนอีก 2 ประเด็นเมื่อไม่รับไว้พิจารณาทางมูลนิธิจึงได้ยื่นอุทธรณ์
ซึ่งศาลปกครองสูงสุด ก็มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้อง ในกรณีที่ ขอให้สั่งให้ สำนักงานปลัดสำนักนายกฯปฏิบัติหน้าที่ยื่นคำร้อง ขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ระบุว่าสำนักงานปลัดสำนักนายกฯกระทำผิดสัญญาและให้ชดเชยความเสียหายแก่ บริษัท ไอทีวี โดยชำระเงินคืนและปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาให้แก่ บริษัท ไอทีวี รวมทั้งให้บริษัทไอทีวี สามารถออกอากาศช่วงเวลาระหว่าง 09.00 -21.30 น.ได้โดยไม่ถูกจำกัดเฉพาะรายการข่าว สารคดีที่เป็นสารประโยชน์ ต่อศาลปกครองกลางภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด
ศาลปกครองสูงสุด เห็นว่า ตามมาตรา 40 พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการบัญญัติให้สามารถยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด กรณีนี้อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 47 สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ มีเวลาในการยื่นฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้อย่างเร็วที่สุดในวันที่ 30 เม.ย. 47 แต่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นำคดีมาฟ้องต่อศาลวันที่ 5 เม.ย.47 จึงเป็นการฟ้องคดีในขณะที่ยังไม่มีเหตุแห่งการ ฟ้องคดีว่าสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ งดเว้นการกระทำเกิดขึ้น ศาลจึงไม่สามารถ กำหนดคำบังคับได้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรภาคประชาชนทั้งหมดจึงมิได้เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี
ส่วนประเด็นที่ขอให้ศาลสั่งให้สำนักงานปลัดสำนักนายกฯบอกเลิกสัญญากับ บริษัท ไอทีวี และให้ริบหลักประกันสัญญา เรียกร้องค่าเสียหายอื่น ๆ อันพึงมีตาม กฎหมายนั้นเห็นว่า กรณีดังกล่าวเมื่อทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเห็นว่าสำนักงานปลัดสำนักนายกฯซึ่งมีหน้าที่ปกป้องประโยชน์สาธารณะละเลยไม่ดำเนินการยกเลิกสัญญา เข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHFกับบริษัทไอทีวี ทั้งที่บริษัท ไอทีวี ทำผิดสัญญามาโดยตลอด จึงได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 17 มี.ค. 47 บอกกล่าว ไปยังสำนักงานปลัดสำนักนายกฯเพื่อขอให้ยกเลิกสัญญา
แม้สำนักงานปลัดจะนิ่งเฉย แต่การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรภาคประชาชนทั้งหมดนำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 47 นั้น เป็นช่วงเวลาที่ยังไม่พ้น กำหนด 90 วัน นับแต่วันที่มีหนังสือร้องตามมาตรา 49 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้ ศาลปกครองสูงสุดจึงไม่เห็นพ้อง ศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องใน 2 ประเด็นดังกล่าว