ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – ท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อานิสงส์เทศกาลฮารีรายอ มั่นใจเงินสะพัดในช่วงนี้ถึง 500 ล้านบาท หาดใหญ่-สงขลา ยังเป็นจุดขายหลักของนักเที่ยวมาเลย์ที่มีวันหยุดยาว ตามด้วยปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ส่วนสตูลตลาดชายแดนบูมสุดๆ
วานนี้ (3 พ.ย.) ซึ่งเป็นวันอีดดิลฟริตรี อันเป็นการสิ้นสุดเดือนรอมฎอน หรือเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม และนับเป็นการเริ่มต้นของเทศกาลฮารีรายอด้วยนั้น “ผู้จัดการรายวัน” ได้สำรวจภาวะธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า แม้จะมีผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาต่อเนื่องในพื้นที่ แต่เทศกาลฮารีรายอปีนี้ก็มีความคึกคักมากกว่าปีที่ผ่านมา แม้จะยังเทียบไม่ได้กับช่วงก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 ม.ค.47 ก็ตาม
ยอดโรงแรมหาดใหญ่-สงขลาพุ่ง 80%
นายสมชาติ พิมธนะพูนพร นายกสมาคมธุรกิจโรงแรมหาดใหญ่–สงขลา เปิดเผยว่า ในส่วนของโรงแรมในตัวเมืองหาดใหญ่และสงขลามียอดจองรับช่วงเทศกาลฮารีรายอสูงถึงประมาณ 80% ซึ่งมีความคึกคักมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยเกื้อหนุนหลักที่สำคัญก็คือ เป็นช่วงวันหยุดยาวของประเทศมาเลเซียด้วย ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวจีนและมุสลิมจะเดินทางมาพักผ่อนยาวถึงประมาณ 6 วัน ตั้งแต่วันที่ 1-6 พ.ย.นี้ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยเองก็มีการจองห้องพักเข้ามาบ้างเช่นกัน
“ในหมู่ผู้ประกอบการได้พูดคุยกันว่า คาดว่าช่วงเทศกาลฮารีรายอปีนี้จะมีเม็ดเงินสะพัดในธุรกิจการท่องเที่ยวของเมืองหาดใหญ่และเมืองสงขลาไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท” นายสมชาติกล่าวและว่า
ความจริงแล้ว ช่วงเวลานี้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างถือว่าเป็นไฮซีซันของการท่องเที่ยวก็ว่าได้ เนื่องจากมีเทศกาลต่อเนื่องกันแทบทุกเดือน อย่างหลังจากหมดเทศกาลฮารีรายอแล้วก็จะเข้าสู่เป็นเทศกาลลอยกระทง และเทศกาลวันปีใหม่ จึงนับว่ามีแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
ตลาดค้าปลีกกระเตื้องอีกเล็กน้อย
นายประสิทธิ์ ช่วยชูสกูล ประธานชมรมผู้ค้าตลาดสดพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นแหล่งค้าขายย่านสำคัญของเมืองหาดใหญ่ เปิดเผยว่า สำหรับบรรยากาศของตลาดต่างๆ ใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลานั้นก็มีความคึกคักขึ้น ทั้งตลาดกิมหยงที่เป็นแหล่งรวมสินค้าบริโภคและของฝาก ซึ่งก่อนหน้านี้ชาวมุสลิมนิยมเดินทางเข้ามาซื้ออินทผาลัมเพื่อบริโภคเพราะมีให้เลือกมากมาย แต่กำลังการซื้อน้อยลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
“ตอนนี้ก็ระดมกันจัดงานตลาดสดพลาซ่ามิดไนท์ระหว่างวันที่ 5-9 พ.ย.นี้ เพื่อส่งเสริมการขายสินค้า ทั้งเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ผ้าไหม สินค้ากิ๊ฟชอป อาหารและผลไม้ เพื่อสร้างกระแสให้เกิดการท่องเที่ยว อีกทั้งให้เป็นทางเลือกในการซื้อสินค้าระหว่างเทศกาลนี้” นายประสิทธิ์กล่าวและว่า
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมแล้วยอดขายของตลาดต่างๆ ลดลงประมาณ 30% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนไฟใต้จะปะทุรอบใหม่เมื่อเดือน ม.ค.2547 ที่ผ่านมา เนื่องจากระยะหลังนักท่องเที่ยวชาวจีนไม่ค่อยนิยมมาซื้อของ ยกเว้นคนในท้องถิ่นที่ยังเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งน่าจะมีเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการกวาดล้างสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ของรัฐที่มีความเข้มงวด ทำให้ลูกค้าไม่ค่อยได้สินค้าราคาถูกดังเดิม
มุสลิมชายแดนใต้ขนเงินกลับบ้าน
ด้านนายอับดุลอายิ อาแวสือแม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ช่วงนี้คนไทยมุสลิมที่ทำงานในประเทศมาเลเซีย ทั้งในกิจการร้านอาหาร สวนยางพารา สวนปาล์ม และโรงงานต่างๆ ต่างทยอยเดินทางกลับมายังภูมิลำเนาผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนคนเลยทีเดียว ทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างคึกคัก ทั้งรถโดยสารรับ-ส่งในประเทศมาเลเซีย และรถรับส่งในฝั่งไทย รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 70 คัน และภายในระยะเวลา 10 วันนี้จะไม่มีรถรับจ้างว่างเลย
นายอับดุลอายิกล่าวว่า สิ่งนี้จะทำให้มีเม็ดเงินที่เป็นรายได้ของคนไทยจากประเทศมาเลเซียสะพัดประมาณวันละ 12 ล้านบาท และส่วนใหญ่จะจับจ่ายใช้เงินประมาณ 15 วัน รวมแล้วมีเงินสะพัดถึงประมาณ 180 ล้านบาทเลยทีเดียว ทั้งนี้ นายจ้างในประเทศมาเลเซียมักจะจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นเวลา 2 เดือน เพื่อให้ลูกจ้างนำมาใช้จ่ายได้เต็มที่ ก่อนที่จะกลับไปทำงานภายหลัง
“ในปีนี้นับว่ามีคนไทย ที่ไปทำงานประเทศมาเลเซียลดลงกว่า 50% เพราะมีการเข้มงวดเรื่องการเดินทางไปทำงานมากขึ้น จึงอยากให้กระทรวงแรงงานมาช่วยดูแลแรงงานไทยด้วย เพราะทุกปีในช่วงนี้จะนำรายได้เข้าประเทศมากกว่าการท่องเที่ยวเสียอีก และประเทศมาเลเซียเองต้องการแรงงานไทยเป็นอับดับหนึ่ง” นายอับดุลอายิกล่าว
ร้านทอง-ห้างดังรับอานิสงส์
จากเทศกาลฮารีฮายอทำให้การค้าในทุกจังหวัดที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มียอดขายเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทั้งร้านทอง ห้างสรรพสินค้า ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขนมนมเนยต่างๆ โดยชาวมุสลิมนิยมซื้อทองให้กับพ่อ-แม่ ญาติ ลูกหลาน เพราะเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมมาก และสวมใส่กันอย่างเต็มที่ในวันสำคัญเพื่อแสดงถึงนิมิตหมายอันดี
“ระหว่างที่มุสลิมยังอยู่ร่วมเทศกาลนี้ ยังมีการซื้อข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านใหม่ ไม่เว้นแม้แต่เฟอร์นิเจอร์ และห้างดังที่มุสลิมนิยมไปซื้อของคือใน จ.สงขลา ทั้งห้างโลตัส เซ็นทรัลหาดใหญ่ หลังจากที่ซื้อของเสร็จก็ยังมีเงินเหลือไว้ก้อนหนึ่งเพื่อมอบให้กับพ่อแม่ก่อนที่จะเดินทางกลับไปทำงานต่อ” นายอับดุลอายิกล่าว
ตลาดชายแดนที่สตูลคึกคัก
นายภิรมย์ มีรุ่งเรือง นายอำเภอควนโดน จ.สตูล เปิดเผยว่า สำหรับการจับจ่ายซื้อสินค้าของพี่น้องชาวมุสลิมในช่วงเทศกาลฮารีรายอปีนี้คึกคักมากเช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณตลาดชายแดน เนื่องจากมีชาวมุสลิมทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซียมาจับจ่ายใช้สอยกันมาก โดยคาดว่าจะมีเงินสะพัดแห่งละไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
“อย่างบริเวณตลาดนัดชายแดน บ้านวังประจัน อ.ควนโดน มุสลิมใน จ.สตูล และมุสลิมในมาเลเซียตามแนวชายแดนต่างพากันเดินทางเข้าจับจ่ายซื้อขนม เสื้อผ้า และสินค้าตกแต่งบ้านเรือนกันอย่างคึกคัก เพื่อต้อนรับเทศกาลฮารีรายอ หลังเสร็จสิ้นเดือนรอมฎอน หรือเดือนถือศีลอดของพี่น้องชาวมุสลิม ในขณะที่ร้านค้าบางรายได้ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าหลายรายการเช่นกันในช่วงนี้” นายภิรมย์กล่าวในที่สุด
วานนี้ (3 พ.ย.) ซึ่งเป็นวันอีดดิลฟริตรี อันเป็นการสิ้นสุดเดือนรอมฎอน หรือเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม และนับเป็นการเริ่มต้นของเทศกาลฮารีรายอด้วยนั้น “ผู้จัดการรายวัน” ได้สำรวจภาวะธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า แม้จะมีผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาต่อเนื่องในพื้นที่ แต่เทศกาลฮารีรายอปีนี้ก็มีความคึกคักมากกว่าปีที่ผ่านมา แม้จะยังเทียบไม่ได้กับช่วงก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 ม.ค.47 ก็ตาม
ยอดโรงแรมหาดใหญ่-สงขลาพุ่ง 80%
นายสมชาติ พิมธนะพูนพร นายกสมาคมธุรกิจโรงแรมหาดใหญ่–สงขลา เปิดเผยว่า ในส่วนของโรงแรมในตัวเมืองหาดใหญ่และสงขลามียอดจองรับช่วงเทศกาลฮารีรายอสูงถึงประมาณ 80% ซึ่งมีความคึกคักมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยเกื้อหนุนหลักที่สำคัญก็คือ เป็นช่วงวันหยุดยาวของประเทศมาเลเซียด้วย ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวจีนและมุสลิมจะเดินทางมาพักผ่อนยาวถึงประมาณ 6 วัน ตั้งแต่วันที่ 1-6 พ.ย.นี้ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยเองก็มีการจองห้องพักเข้ามาบ้างเช่นกัน
“ในหมู่ผู้ประกอบการได้พูดคุยกันว่า คาดว่าช่วงเทศกาลฮารีรายอปีนี้จะมีเม็ดเงินสะพัดในธุรกิจการท่องเที่ยวของเมืองหาดใหญ่และเมืองสงขลาไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท” นายสมชาติกล่าวและว่า
ความจริงแล้ว ช่วงเวลานี้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างถือว่าเป็นไฮซีซันของการท่องเที่ยวก็ว่าได้ เนื่องจากมีเทศกาลต่อเนื่องกันแทบทุกเดือน อย่างหลังจากหมดเทศกาลฮารีรายอแล้วก็จะเข้าสู่เป็นเทศกาลลอยกระทง และเทศกาลวันปีใหม่ จึงนับว่ามีแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
ตลาดค้าปลีกกระเตื้องอีกเล็กน้อย
นายประสิทธิ์ ช่วยชูสกูล ประธานชมรมผู้ค้าตลาดสดพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นแหล่งค้าขายย่านสำคัญของเมืองหาดใหญ่ เปิดเผยว่า สำหรับบรรยากาศของตลาดต่างๆ ใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลานั้นก็มีความคึกคักขึ้น ทั้งตลาดกิมหยงที่เป็นแหล่งรวมสินค้าบริโภคและของฝาก ซึ่งก่อนหน้านี้ชาวมุสลิมนิยมเดินทางเข้ามาซื้ออินทผาลัมเพื่อบริโภคเพราะมีให้เลือกมากมาย แต่กำลังการซื้อน้อยลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
“ตอนนี้ก็ระดมกันจัดงานตลาดสดพลาซ่ามิดไนท์ระหว่างวันที่ 5-9 พ.ย.นี้ เพื่อส่งเสริมการขายสินค้า ทั้งเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ผ้าไหม สินค้ากิ๊ฟชอป อาหารและผลไม้ เพื่อสร้างกระแสให้เกิดการท่องเที่ยว อีกทั้งให้เป็นทางเลือกในการซื้อสินค้าระหว่างเทศกาลนี้” นายประสิทธิ์กล่าวและว่า
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมแล้วยอดขายของตลาดต่างๆ ลดลงประมาณ 30% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนไฟใต้จะปะทุรอบใหม่เมื่อเดือน ม.ค.2547 ที่ผ่านมา เนื่องจากระยะหลังนักท่องเที่ยวชาวจีนไม่ค่อยนิยมมาซื้อของ ยกเว้นคนในท้องถิ่นที่ยังเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งน่าจะมีเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการกวาดล้างสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ของรัฐที่มีความเข้มงวด ทำให้ลูกค้าไม่ค่อยได้สินค้าราคาถูกดังเดิม
มุสลิมชายแดนใต้ขนเงินกลับบ้าน
ด้านนายอับดุลอายิ อาแวสือแม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ช่วงนี้คนไทยมุสลิมที่ทำงานในประเทศมาเลเซีย ทั้งในกิจการร้านอาหาร สวนยางพารา สวนปาล์ม และโรงงานต่างๆ ต่างทยอยเดินทางกลับมายังภูมิลำเนาผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนคนเลยทีเดียว ทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างคึกคัก ทั้งรถโดยสารรับ-ส่งในประเทศมาเลเซีย และรถรับส่งในฝั่งไทย รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 70 คัน และภายในระยะเวลา 10 วันนี้จะไม่มีรถรับจ้างว่างเลย
นายอับดุลอายิกล่าวว่า สิ่งนี้จะทำให้มีเม็ดเงินที่เป็นรายได้ของคนไทยจากประเทศมาเลเซียสะพัดประมาณวันละ 12 ล้านบาท และส่วนใหญ่จะจับจ่ายใช้เงินประมาณ 15 วัน รวมแล้วมีเงินสะพัดถึงประมาณ 180 ล้านบาทเลยทีเดียว ทั้งนี้ นายจ้างในประเทศมาเลเซียมักจะจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นเวลา 2 เดือน เพื่อให้ลูกจ้างนำมาใช้จ่ายได้เต็มที่ ก่อนที่จะกลับไปทำงานภายหลัง
“ในปีนี้นับว่ามีคนไทย ที่ไปทำงานประเทศมาเลเซียลดลงกว่า 50% เพราะมีการเข้มงวดเรื่องการเดินทางไปทำงานมากขึ้น จึงอยากให้กระทรวงแรงงานมาช่วยดูแลแรงงานไทยด้วย เพราะทุกปีในช่วงนี้จะนำรายได้เข้าประเทศมากกว่าการท่องเที่ยวเสียอีก และประเทศมาเลเซียเองต้องการแรงงานไทยเป็นอับดับหนึ่ง” นายอับดุลอายิกล่าว
ร้านทอง-ห้างดังรับอานิสงส์
จากเทศกาลฮารีฮายอทำให้การค้าในทุกจังหวัดที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มียอดขายเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทั้งร้านทอง ห้างสรรพสินค้า ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขนมนมเนยต่างๆ โดยชาวมุสลิมนิยมซื้อทองให้กับพ่อ-แม่ ญาติ ลูกหลาน เพราะเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมมาก และสวมใส่กันอย่างเต็มที่ในวันสำคัญเพื่อแสดงถึงนิมิตหมายอันดี
“ระหว่างที่มุสลิมยังอยู่ร่วมเทศกาลนี้ ยังมีการซื้อข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านใหม่ ไม่เว้นแม้แต่เฟอร์นิเจอร์ และห้างดังที่มุสลิมนิยมไปซื้อของคือใน จ.สงขลา ทั้งห้างโลตัส เซ็นทรัลหาดใหญ่ หลังจากที่ซื้อของเสร็จก็ยังมีเงินเหลือไว้ก้อนหนึ่งเพื่อมอบให้กับพ่อแม่ก่อนที่จะเดินทางกลับไปทำงานต่อ” นายอับดุลอายิกล่าว
ตลาดชายแดนที่สตูลคึกคัก
นายภิรมย์ มีรุ่งเรือง นายอำเภอควนโดน จ.สตูล เปิดเผยว่า สำหรับการจับจ่ายซื้อสินค้าของพี่น้องชาวมุสลิมในช่วงเทศกาลฮารีรายอปีนี้คึกคักมากเช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณตลาดชายแดน เนื่องจากมีชาวมุสลิมทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซียมาจับจ่ายใช้สอยกันมาก โดยคาดว่าจะมีเงินสะพัดแห่งละไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
“อย่างบริเวณตลาดนัดชายแดน บ้านวังประจัน อ.ควนโดน มุสลิมใน จ.สตูล และมุสลิมในมาเลเซียตามแนวชายแดนต่างพากันเดินทางเข้าจับจ่ายซื้อขนม เสื้อผ้า และสินค้าตกแต่งบ้านเรือนกันอย่างคึกคัก เพื่อต้อนรับเทศกาลฮารีรายอ หลังเสร็จสิ้นเดือนรอมฎอน หรือเดือนถือศีลอดของพี่น้องชาวมุสลิม ในขณะที่ร้านค้าบางรายได้ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าหลายรายการเช่นกันในช่วงนี้” นายภิรมย์กล่าวในที่สุด