ศูนย์ข่าวอิศรา - เสนอร่างรายงานฉบับแรกเข้าถกในกอส. ชุดใหญ่กลางเดือนพ.ย.นี้ วิเคราะห์เจาะลึกความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ จุดหักเหสำคัญชาวบ้านไม่ไว้วางใจรัฐ พร้อมเสนอยุทธศาสตร์พระราชทานผนวกแนวคิดสมานฉันท์ แก้ไขปัญหาระยะสั้น-ยาว เพื่อก้าวไปสู่ชัยชนะของสังคมไทย
ร่างเอกสารรายงานฉบับแรกของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) ซึ่งเป็นร่างใช้ในการพิจารณาแก้ไขเป็นร่างที่ 2 และ 3 ก่อนนำเสนอรัฐบาล ได้ถูกนำมาแจกจ่ายให้ กอส.ทั้ง 50 คน เพื่อใช้ในการเสนอแนะระหว่างการประชุมกอส.ในครั้งต่อไป โดยเอกสารดังกล่าวมีด้วยกัน 77 หน้า แบ่งออกเป็น 8 ส่วน ประกอบด้วย
1.จินตนาการ 1 : เรื่องของยศพรและอัมมานา
2 .วินิจฉัยเหตุ:ทำความเข้าใจความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3. แนวโน้มปรากฎการณ์ความรุนแรงในอนาคตอันใกล้
4. วิธีแก้ไข:ยุทธศาสตร์พระราชทานกับแนวคิดสมานฉันท์ 9 ประการ
5. วิธีการแก้ไขปัญหาความรุนแรงอย่างยั่งยืน:ข้อเสนอสมานฉันท์สำหรับสังคมไทย
6. ลักษณะพิเศษของงาน กอส.
7. มรดกของ กอส.ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้และความริเริ่ม กอส.เพื่อสร้างสมานฉันท์ในสังคมไทยระยะยาว
8. จินตนาการ2 : ชัยชนะของสังคมไทย
ร่างรายงานในส่วนที่ 3 ที่ว่าด้วยแนวโน้มของเหตุการณ์รุนแรงในอนาคตอันใกล้ เนื้อหาตอนหนึ่งได้ระบุถึงความรุนแรง-ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างผู้คนในรัฐโดยได้มีการหยิบยกเหตุการณ์รุนแรงครั้งใหญ่จำนวน 8 ครั้งในรอบ 2 ปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทั้งสองมิติ
โดยเฉพาะเหตุการเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ซึ่งมีการสลายการชุมชุนที่หน้า สภ.อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความไม่ไว้วางใจให้ทวีขึ้นในหมู่ประชาชน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัด เชื่อว่าผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ ดังนั้น การปราบปรามด้วยกำลังจึงเป็นเรื่องที่เกินกว่าเหตุ
ยิ่งกว่านั้นไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นคนร้ายจริงหรือไม่หรือเป็นเพียงผู้ชุมนุมเรียกร้องจากรัฐก็ตาม วิธีที่รัฐปฎิบัติต่อพวกเขาจนต้องเสียชีวิตระหว่างการเคลื่อนย้ายไปยังค่ายทหารเป็นสิ่งที่ภาครัฐหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะเป็นความตายระหว่างอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ และแม้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบความจริง แต่ดูเหมือนว่าทางการเองก็ไม่ยอมแสดงความรับผิดชอบตามที่ควร ผลที่ตามมาคือความเชื่อถือไว้วางใจที่ประชาชนในพื้นที่ที่มีต่อรัฐยิ่งถูกกร่อนแซะให้อ่อนแอลงไปอีก
เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูรู้สึกได้ชัดเจนว่า รัฐปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างไม่เป็นธรรม และเมื่อเกิดเหตุขึ้นก็ไม่ได้แสดงความเสียใจกับความตายของคนเหล่านี้ ไม่แน่ว่าความรู้สึกเช่นนี้เป็นความรู้สึกร่วมของผู้คนที่แตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่หรือไม่ แต่หลายคนเห็นว่า
“เหตุการณ์ตากใบเป็นเหตุการณ์ที่ไม่(เคย)ปรากฎในประวัติศาสตร์ พี่น้องประชาชนไม่เคยคาดคิดมาก่อนและทำให้การอยู่รวมกันระหว่างพี่น้องไทยพุทธและไทยมุสลิมเปลี่ยนไป”
นอกจากนั้น ในบริบทของความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค เหตุการณ์ตากใบเป็นจุดเริ่มต้นที่สื่อมวลชนและกลุ่มต่างๆในมาเลเซียวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยในทางลบอย่างกว้างขวาง นับเป็นครั้งแรกที่การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยรวมศูนย์อยู่ที่รัฐสภา โดยสมาชิกทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลร่วมกันประนามการใช้มาตรการรุนแรง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากจะกร่อนเซาะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูแล้ว “กรณีตากใบ”ยังเป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงทั่วไป ทั้งในแง่ที่ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่ถูกกดขี่ในประเทศไทยและในแง่ที่รัฐไทยละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยการทำทารุณผู้ถูกจับกุมถึงชีวิต
ในรายงานส่วนที่ 3 ยังระบุด้วยว่า ผลสะเทือนของเหตุการณ์ทั้ง 8 ครั้ง สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูไม่ไว้วางใจรัฐเพราะไม่แน่ใจว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐมากน้อยเพียงไร ชาวพุทธในพื้นที่ไม่ไว้วางใจรัฐเพราะเห็นว่าไม่สามารถปกปักรักษาพวกตนรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐเองได้
ในแง่นี้สัญญาณอันตรายของรัฐอยู่ที่กำลังเคลื่อนเข้าสู่ภาวะซึ่งบางคนเรียกว่า “รัฐล้มละลาย”(failed states) ซึ่งเป็นอาการที่รัฐไม่สามารถประกันความปลอดภัยให้กับพลเมืองของตนได้ ไม่สามารถให้บริการสาธารณะกับผู้คนในรัฐได้ อีกทั้งยังเหมือนมีอาณาบริเวณที่อำนาจรัฐเข้าไม่ถึงมากขึ้นเรื่อยๆ
ที่อันตรายยิ่งกว่านั้นคือ ไม่ว่ารัฐจะเป็นอย่างไร เข้มแข็งหรือล้มละลาย หากชุมชนยังเข้มแข็ง ผู้คนที่แตกต่างหลากหลายยังอยู่ร่วมกันในฐานะพลเมืองเสมอกันได้ ประเทศก็ยังมั่นคงปลอดภัย แนวโน้มที่น่ากังวลคือไม่เพียงรัฐอ่อนแอแทบหมดกำลังจะปกป้องคุ้มครองพลเมือง แต่ชุมชนเองก็เหมือนเข้าใกล้กับความล้มละลายไปด้วย(failed communities) เช่น กรณีตันหยงลิมอ เป็นต้น
ส่วนในรายงานส่วนที่ 4 ที่ว่าด้วยยุทธศาสตร์พระราชทานกับแนวคิดสมานฉันท์ 9 ประการ ระบุถึงแนวทางสมานฉันท์ในสังคมไทยเพื่อยุติปัญหาความรุนแรงในระยะยาวและสร้างสันติสุขและความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในประเทศ น่าประกอบด้วยความคิดหลัก 9 ประการ คือ
1.การเปิดเผยความจริง
2.ให้ความสำคัญกับความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ด้วยการส่งเสริมแนวคิดวิเคราะห์ในสังคมไทยให้เรียนรู้การแยกคนผิดออกจากความผิด ตลอดจนเรียนรู้วิธีการมองปัญหาความรุนแรงในบริบทเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรม
3.ส่งเสริมระบบและวัฒนธรรมความพร้อมรับผิดชอบในระบบราชการ
4.การให้อภัย
5.การเคารพความหลากหลายทางศาสนาวัฒนธรรมส่งเสราสานเสวนาระหว่างกันให้ความสำคัญกับขันติธรรมในฐานะคุณค่าทางการเมือง การเรียนรู้ศาสนาต่างๆที่ดำรงอยู่ในประเทศไทย
6.ถือสันติวิธีเป็นทางเลือกเผชิญความขัดแย้ง
7.การเปิดพื้นที่ให้ความทรงจำที่เจ็บปวด ด้วยการเปิดพื้นที่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย
8.มุ่งแก้ปัญหาในอนาคตด้วยจินตนาการ เพราะจินตนาการทางการเมืองใหม่เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสังคมการเมืองที่ยั่งยืน ให้พร้อมเผชิญปัญหาใหม่ๆ ที่สำคัญต้องลด “ภยาคติ”(ลำเอียงเพราะความกลัว) ลักษณะต่างๆ
9.การยอมรับความเสี่ยงทางสังคมเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน
ในส่วนที่ 5 ที่ว่าด้วยวิธีแก้ไขปัญหาความรุนแรงอย่างยั่งยืน:ข้อเสนอสมานฉันท์สำหรับสังคมไทย ระบุว่า วิธีการแก้ไขปัญหาความรุนแรงตามแนวทางสมานฉันท์เพื่อสร้างสันติสุขที่ยั่งยืน ประกอบด้วย
วิธีสร้างสมานฉันท์ 1 : แก้ปัญหาความรุนแรงที่โครงสร้าง
1. ออกกฎหมายให้สิทธิชุมชนจัดการทรัพยากรบนฐานความเชื่อทางศาสนา
2.คงสภาพความหลากหลายในระบบการศึกษา-เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสามัญ และให้ความสำคัญกับนักเรียนไทยในต่างประเทศ
3.สร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมด้วยหลักนิติธรรมและเสริมความเข้มแข็งของสังคมด้วยการให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมรักษาความยุติธรรม
4.เสริมสร้างให้สันติวิธีเป็นแนวทางหลักในนโยบายแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
5.ลดทอนปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ด้วยการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
วิธีสร้างสมานฉันท์ 2 : แก้ปัญหาความรุนแรงที่ชั้นวัฒนธรรม อันได้แก่
1.ส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในขอบเขตทั่วประเทศที่มีอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในสังคมไทย
2.ส่งเสริมให้สันติวิธีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีคนไทยในการเผชิญกับความขัดแย้งทั้งประเทศ
รศ.สุริชัย หวันแก้ว เลขานุการ กอส. เปิดเผยว่า รายงานชิ้นนี้เป็นเพียงรายงานฉบับร่างชุดแรก ที่มาจากการกลั่นกรองรายงานของคณะอนุกรรมการทั้ง 5 ชุดของ กอส. และงานวิจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องหลายชิ้น แต่ยังไม่ใช่รายงานที่จะนำเสนอต่อรัฐบาลได้ ต้องรอการ “ยำใหญ่” ของคณะกรรมการชุดใหญ่อีกหลายครั้ง โดยครั้งแรกจะประชุมใหญ่ครั้งต่อไปในวันที่ 11- 13 พ.ย.นี้ ที่โรงแรมซี เอส ปัตตานี และคาดว่าจะต้องมีร่างรายงานอีก 3 – 4 ฉบับ
“ในระหว่างการยำใหญ่เราจะให้คณะอนุกรรมการแต่ละชุดนำกลับไปพิจารณาว่าตรงตามที่เขาต้องการหรือไม่อย่างไร จากนี้ไปคงต้องใช้เวลาอีกราว 3 เดือน ก่อนที่จะเสนอต่อ ครม.ต่อไป”
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิชาการสันติวิธี และกรรมการ กอส.คนสำคัญที่รับหน้าที่หลักในการกลั่นรายงานฉบับร่างชิ้นนี้ ระบุว่า จุดหลักปักใหญ่ของรายงานชิ้นนี้คือต้องการให้เห็นภาพว่า สิ่งที่สังคมไทยต้องทำร่วมกันคืออะไร ทั้งนี้ ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดของรายงานฉบับดังกล่าวได้ทั้งหมด เนื่องจากยังไม่ใช่รายงานฉบับสมบูรณ์
เขาชี้ว่า ในส่วนแรกของรายงาน ที่กล่าวถึง จินตนาการในเรื่องยศพรและอัมมานา ซึ่งต้องการชี้ให้เห็นชนิดของปัญหาที่ กอส.และสังคมไทยต้องการสร้างความสมานฉันท์
สำหรับเรื่องของ “ยศพร” รศ.ดร.ชัยวัฒน์ เล่าว่า เป็นเรื่องของเด็กไทยพุทธคนหนึ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นลูกชายเจ้าของร้านขายของชำ และถูกคนร้ายยิงหน้าร้านจนเป็นอัมพาต ทุกวันนี้ พ่อของยศพรต้องสะดุ้งตกใจทุกครั้งที่มีลูกค้ามาจอดรถหน้าร้านเพื่อจะซื้อของ หวาดระแวงทุกครั้งเมื่อลูกค้าล้วงกระเป๋าจะหยิบเงินจ่าย
“คำถามสำคัญคือ หากยศพรอยู่ในที่เกิดเหตุ สิ่งที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ที่สำคัญคือยศพรต้องอยู่กับพ่อเขาทุกวัน และเห็นอาการของพ่อเขาอย่างนี้ และต้องถามตัวเองแน่ๆ ว่าเรื่องอย่างนี้ถึงต้องเกิดขึ้นกับพ่อของตัวเอง แน่นอนที่จะต้องมีความโกรธแค้น คำถามคือเขาจะโตขึ้นมาได้อย่างไร”
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ เล่าถึง เรื่องของ “อัมมานา” ว่า เธออยู่กับพ่อของเธอกระทั่งวันหนึ่งมีคนบุกมาที่บ้านและซ้อมพ่อของเธออย่างหนักหน่วง พร้อมทั้งตะโกนถามว่า “ปืนเก็บไว้ที่ไหน” และนำตัวพ่อของเธอไป อยู่มาอีก 2 วันมีคนพบศพพ่อของเธอกลางถนนในสภาพยับเยินจากการถูกซ้อม
“คำถามในเรื่องของ อัมมานา ก็ไม่แตกต่างกับในเรื่องของ ยศพร” รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สรุป
ร่างเอกสารรายงานฉบับแรกของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) ซึ่งเป็นร่างใช้ในการพิจารณาแก้ไขเป็นร่างที่ 2 และ 3 ก่อนนำเสนอรัฐบาล ได้ถูกนำมาแจกจ่ายให้ กอส.ทั้ง 50 คน เพื่อใช้ในการเสนอแนะระหว่างการประชุมกอส.ในครั้งต่อไป โดยเอกสารดังกล่าวมีด้วยกัน 77 หน้า แบ่งออกเป็น 8 ส่วน ประกอบด้วย
1.จินตนาการ 1 : เรื่องของยศพรและอัมมานา
2 .วินิจฉัยเหตุ:ทำความเข้าใจความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3. แนวโน้มปรากฎการณ์ความรุนแรงในอนาคตอันใกล้
4. วิธีแก้ไข:ยุทธศาสตร์พระราชทานกับแนวคิดสมานฉันท์ 9 ประการ
5. วิธีการแก้ไขปัญหาความรุนแรงอย่างยั่งยืน:ข้อเสนอสมานฉันท์สำหรับสังคมไทย
6. ลักษณะพิเศษของงาน กอส.
7. มรดกของ กอส.ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้และความริเริ่ม กอส.เพื่อสร้างสมานฉันท์ในสังคมไทยระยะยาว
8. จินตนาการ2 : ชัยชนะของสังคมไทย
ร่างรายงานในส่วนที่ 3 ที่ว่าด้วยแนวโน้มของเหตุการณ์รุนแรงในอนาคตอันใกล้ เนื้อหาตอนหนึ่งได้ระบุถึงความรุนแรง-ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างผู้คนในรัฐโดยได้มีการหยิบยกเหตุการณ์รุนแรงครั้งใหญ่จำนวน 8 ครั้งในรอบ 2 ปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทั้งสองมิติ
โดยเฉพาะเหตุการเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ซึ่งมีการสลายการชุมชุนที่หน้า สภ.อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความไม่ไว้วางใจให้ทวีขึ้นในหมู่ประชาชน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัด เชื่อว่าผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ ดังนั้น การปราบปรามด้วยกำลังจึงเป็นเรื่องที่เกินกว่าเหตุ
ยิ่งกว่านั้นไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นคนร้ายจริงหรือไม่หรือเป็นเพียงผู้ชุมนุมเรียกร้องจากรัฐก็ตาม วิธีที่รัฐปฎิบัติต่อพวกเขาจนต้องเสียชีวิตระหว่างการเคลื่อนย้ายไปยังค่ายทหารเป็นสิ่งที่ภาครัฐหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะเป็นความตายระหว่างอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ และแม้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบความจริง แต่ดูเหมือนว่าทางการเองก็ไม่ยอมแสดงความรับผิดชอบตามที่ควร ผลที่ตามมาคือความเชื่อถือไว้วางใจที่ประชาชนในพื้นที่ที่มีต่อรัฐยิ่งถูกกร่อนแซะให้อ่อนแอลงไปอีก
เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูรู้สึกได้ชัดเจนว่า รัฐปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างไม่เป็นธรรม และเมื่อเกิดเหตุขึ้นก็ไม่ได้แสดงความเสียใจกับความตายของคนเหล่านี้ ไม่แน่ว่าความรู้สึกเช่นนี้เป็นความรู้สึกร่วมของผู้คนที่แตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่หรือไม่ แต่หลายคนเห็นว่า
“เหตุการณ์ตากใบเป็นเหตุการณ์ที่ไม่(เคย)ปรากฎในประวัติศาสตร์ พี่น้องประชาชนไม่เคยคาดคิดมาก่อนและทำให้การอยู่รวมกันระหว่างพี่น้องไทยพุทธและไทยมุสลิมเปลี่ยนไป”
นอกจากนั้น ในบริบทของความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค เหตุการณ์ตากใบเป็นจุดเริ่มต้นที่สื่อมวลชนและกลุ่มต่างๆในมาเลเซียวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยในทางลบอย่างกว้างขวาง นับเป็นครั้งแรกที่การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยรวมศูนย์อยู่ที่รัฐสภา โดยสมาชิกทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลร่วมกันประนามการใช้มาตรการรุนแรง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากจะกร่อนเซาะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูแล้ว “กรณีตากใบ”ยังเป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงทั่วไป ทั้งในแง่ที่ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่ถูกกดขี่ในประเทศไทยและในแง่ที่รัฐไทยละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยการทำทารุณผู้ถูกจับกุมถึงชีวิต
ในรายงานส่วนที่ 3 ยังระบุด้วยว่า ผลสะเทือนของเหตุการณ์ทั้ง 8 ครั้ง สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูไม่ไว้วางใจรัฐเพราะไม่แน่ใจว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐมากน้อยเพียงไร ชาวพุทธในพื้นที่ไม่ไว้วางใจรัฐเพราะเห็นว่าไม่สามารถปกปักรักษาพวกตนรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐเองได้
ในแง่นี้สัญญาณอันตรายของรัฐอยู่ที่กำลังเคลื่อนเข้าสู่ภาวะซึ่งบางคนเรียกว่า “รัฐล้มละลาย”(failed states) ซึ่งเป็นอาการที่รัฐไม่สามารถประกันความปลอดภัยให้กับพลเมืองของตนได้ ไม่สามารถให้บริการสาธารณะกับผู้คนในรัฐได้ อีกทั้งยังเหมือนมีอาณาบริเวณที่อำนาจรัฐเข้าไม่ถึงมากขึ้นเรื่อยๆ
ที่อันตรายยิ่งกว่านั้นคือ ไม่ว่ารัฐจะเป็นอย่างไร เข้มแข็งหรือล้มละลาย หากชุมชนยังเข้มแข็ง ผู้คนที่แตกต่างหลากหลายยังอยู่ร่วมกันในฐานะพลเมืองเสมอกันได้ ประเทศก็ยังมั่นคงปลอดภัย แนวโน้มที่น่ากังวลคือไม่เพียงรัฐอ่อนแอแทบหมดกำลังจะปกป้องคุ้มครองพลเมือง แต่ชุมชนเองก็เหมือนเข้าใกล้กับความล้มละลายไปด้วย(failed communities) เช่น กรณีตันหยงลิมอ เป็นต้น
ส่วนในรายงานส่วนที่ 4 ที่ว่าด้วยยุทธศาสตร์พระราชทานกับแนวคิดสมานฉันท์ 9 ประการ ระบุถึงแนวทางสมานฉันท์ในสังคมไทยเพื่อยุติปัญหาความรุนแรงในระยะยาวและสร้างสันติสุขและความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในประเทศ น่าประกอบด้วยความคิดหลัก 9 ประการ คือ
1.การเปิดเผยความจริง
2.ให้ความสำคัญกับความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ด้วยการส่งเสริมแนวคิดวิเคราะห์ในสังคมไทยให้เรียนรู้การแยกคนผิดออกจากความผิด ตลอดจนเรียนรู้วิธีการมองปัญหาความรุนแรงในบริบทเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรม
3.ส่งเสริมระบบและวัฒนธรรมความพร้อมรับผิดชอบในระบบราชการ
4.การให้อภัย
5.การเคารพความหลากหลายทางศาสนาวัฒนธรรมส่งเสราสานเสวนาระหว่างกันให้ความสำคัญกับขันติธรรมในฐานะคุณค่าทางการเมือง การเรียนรู้ศาสนาต่างๆที่ดำรงอยู่ในประเทศไทย
6.ถือสันติวิธีเป็นทางเลือกเผชิญความขัดแย้ง
7.การเปิดพื้นที่ให้ความทรงจำที่เจ็บปวด ด้วยการเปิดพื้นที่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย
8.มุ่งแก้ปัญหาในอนาคตด้วยจินตนาการ เพราะจินตนาการทางการเมืองใหม่เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสังคมการเมืองที่ยั่งยืน ให้พร้อมเผชิญปัญหาใหม่ๆ ที่สำคัญต้องลด “ภยาคติ”(ลำเอียงเพราะความกลัว) ลักษณะต่างๆ
9.การยอมรับความเสี่ยงทางสังคมเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน
ในส่วนที่ 5 ที่ว่าด้วยวิธีแก้ไขปัญหาความรุนแรงอย่างยั่งยืน:ข้อเสนอสมานฉันท์สำหรับสังคมไทย ระบุว่า วิธีการแก้ไขปัญหาความรุนแรงตามแนวทางสมานฉันท์เพื่อสร้างสันติสุขที่ยั่งยืน ประกอบด้วย
วิธีสร้างสมานฉันท์ 1 : แก้ปัญหาความรุนแรงที่โครงสร้าง
1. ออกกฎหมายให้สิทธิชุมชนจัดการทรัพยากรบนฐานความเชื่อทางศาสนา
2.คงสภาพความหลากหลายในระบบการศึกษา-เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสามัญ และให้ความสำคัญกับนักเรียนไทยในต่างประเทศ
3.สร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมด้วยหลักนิติธรรมและเสริมความเข้มแข็งของสังคมด้วยการให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมรักษาความยุติธรรม
4.เสริมสร้างให้สันติวิธีเป็นแนวทางหลักในนโยบายแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
5.ลดทอนปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ด้วยการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
วิธีสร้างสมานฉันท์ 2 : แก้ปัญหาความรุนแรงที่ชั้นวัฒนธรรม อันได้แก่
1.ส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในขอบเขตทั่วประเทศที่มีอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในสังคมไทย
2.ส่งเสริมให้สันติวิธีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีคนไทยในการเผชิญกับความขัดแย้งทั้งประเทศ
รศ.สุริชัย หวันแก้ว เลขานุการ กอส. เปิดเผยว่า รายงานชิ้นนี้เป็นเพียงรายงานฉบับร่างชุดแรก ที่มาจากการกลั่นกรองรายงานของคณะอนุกรรมการทั้ง 5 ชุดของ กอส. และงานวิจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องหลายชิ้น แต่ยังไม่ใช่รายงานที่จะนำเสนอต่อรัฐบาลได้ ต้องรอการ “ยำใหญ่” ของคณะกรรมการชุดใหญ่อีกหลายครั้ง โดยครั้งแรกจะประชุมใหญ่ครั้งต่อไปในวันที่ 11- 13 พ.ย.นี้ ที่โรงแรมซี เอส ปัตตานี และคาดว่าจะต้องมีร่างรายงานอีก 3 – 4 ฉบับ
“ในระหว่างการยำใหญ่เราจะให้คณะอนุกรรมการแต่ละชุดนำกลับไปพิจารณาว่าตรงตามที่เขาต้องการหรือไม่อย่างไร จากนี้ไปคงต้องใช้เวลาอีกราว 3 เดือน ก่อนที่จะเสนอต่อ ครม.ต่อไป”
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิชาการสันติวิธี และกรรมการ กอส.คนสำคัญที่รับหน้าที่หลักในการกลั่นรายงานฉบับร่างชิ้นนี้ ระบุว่า จุดหลักปักใหญ่ของรายงานชิ้นนี้คือต้องการให้เห็นภาพว่า สิ่งที่สังคมไทยต้องทำร่วมกันคืออะไร ทั้งนี้ ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดของรายงานฉบับดังกล่าวได้ทั้งหมด เนื่องจากยังไม่ใช่รายงานฉบับสมบูรณ์
เขาชี้ว่า ในส่วนแรกของรายงาน ที่กล่าวถึง จินตนาการในเรื่องยศพรและอัมมานา ซึ่งต้องการชี้ให้เห็นชนิดของปัญหาที่ กอส.และสังคมไทยต้องการสร้างความสมานฉันท์
สำหรับเรื่องของ “ยศพร” รศ.ดร.ชัยวัฒน์ เล่าว่า เป็นเรื่องของเด็กไทยพุทธคนหนึ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นลูกชายเจ้าของร้านขายของชำ และถูกคนร้ายยิงหน้าร้านจนเป็นอัมพาต ทุกวันนี้ พ่อของยศพรต้องสะดุ้งตกใจทุกครั้งที่มีลูกค้ามาจอดรถหน้าร้านเพื่อจะซื้อของ หวาดระแวงทุกครั้งเมื่อลูกค้าล้วงกระเป๋าจะหยิบเงินจ่าย
“คำถามสำคัญคือ หากยศพรอยู่ในที่เกิดเหตุ สิ่งที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ที่สำคัญคือยศพรต้องอยู่กับพ่อเขาทุกวัน และเห็นอาการของพ่อเขาอย่างนี้ และต้องถามตัวเองแน่ๆ ว่าเรื่องอย่างนี้ถึงต้องเกิดขึ้นกับพ่อของตัวเอง แน่นอนที่จะต้องมีความโกรธแค้น คำถามคือเขาจะโตขึ้นมาได้อย่างไร”
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ เล่าถึง เรื่องของ “อัมมานา” ว่า เธออยู่กับพ่อของเธอกระทั่งวันหนึ่งมีคนบุกมาที่บ้านและซ้อมพ่อของเธออย่างหนักหน่วง พร้อมทั้งตะโกนถามว่า “ปืนเก็บไว้ที่ไหน” และนำตัวพ่อของเธอไป อยู่มาอีก 2 วันมีคนพบศพพ่อของเธอกลางถนนในสภาพยับเยินจากการถูกซ้อม
“คำถามในเรื่องของ อัมมานา ก็ไม่แตกต่างกับในเรื่องของ ยศพร” รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สรุป