นับจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความสัมพันธ์ของไทยกับมาเลเซีย ดูเหมือนจะอ่อนแอลงทุกวัน ส่วหนึ่งเกิดจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน อีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะการใช้ถ้อยคำที่รุนแรงของผู้นำประเทศของไทยเอง
นับจากพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว.กลาโหม กล่าวหาว่า มีการประชุมเพื่อวางแผนก่อความไม่สงบในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และซ่องสุมกำลังที่เกาะลังกาวี โดยไม่มีหลักฐานยืนยัน สร้างความไม่พอใจให้มาเลเซียอย่างมาก
ทำให้ มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตผู้นำมาเลเซีย ออกมาตอบโต้ พร้อมเสนอแนะให้ ไทยจัดระบบการปกครองพิเศษใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแก้ปัญหา
สถานการณ์ยิ่งแย่ลง เมื่อเกิดกรณี 131คนไทยที่อพยพไปเพื่อขอลี้ภัยในมาเลเซีย ซึ่งไทยมองว่าเป็นแผนของฝ่ายตรงข้ามเพื่อยกระดับปัญหาในพื้นที่ให้เป็นปัญหาสากล
ความหวาดระแวงเริ่มมีเพิ่มขึ้นเมื่อ มาเลเซีย ไม่ยอมให้ความร่วมมือกับไทยในการเข้าไปสอบสวน 131 คนไทยหรือไม่ยอมให้ 131 คนไทยกลับประเทศโดยอ้างว่ากลัวความไม่ปลอดภัย ที่ร้ายไปกว่านั้น ยังไม่ยอมส่งตัว 1 ใน 131 คนไทย ที่ถูกออกหมายจับคดีปล้นปืนค่ายทหารมาให้ไทยดำเนินคดี
ขณะที่องค์กรภาคประชาชนในมาเลเซีย ก็ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่อง สิทธิมนุษยชน หลังมีข่าวอุ้มฆ่าจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพืื้นที่ภาคใต้ หน้าสถานทูตไทยในมาเลเซีย พร้อมให้บอยคอตสินค้าไทย
ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อดรนทนไม่ได้ถึงกับประกาศว่า พวกที่ไปประท้วงหน้าสถานทูตไทยในมาเลเซีย เป็นหัวหน้าโจร พวกเดียวกับโจรที่ก่อเหตุในภาคใต้
ด้าน ดาโต๊ะ ไซยิด ฮามิด อัลบาร์ รมต.ต่างประเทศมาเลเซีย ออกมาสอนมวยรัฐบาลไทยให้เป็นผู้ใหญ่และมีวุฒิภาวะมากกว่านี้ จนนำไปสู้การตอบโต้กันไปมา
ขณะเดียวกัน องค์การการประชุมอิสลาม(โอไอซี) ก็ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขปัญหาภาคใต้โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนกับพี่น้องมุสลิม
แถลงการณ์ดังกล่าวทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ ฟิวขาดอีกครั้ง ตอบโต้อย่างมีอารมย์อีกครั้ง จะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่รัฐบาลไทยเกิดความไม่เข้าใจกับต่างประเทศนายกรัฐมนตรีไทยมักจะใช้อารมย์และถ้อยคำที่รุนแรงตอบโต้กลับโดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ซึ่งถือเป็นการผิดธรรมชาติทางการทูต และไม่เคยปรากฎมาก่อนในประเทศไทย จนทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วงต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ว.นครราชสีมา ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา ยอมรับว่ารัฐบาลยุคปัจจุบันการฑูตของไทยแทบจะไม่มีประสิทธิภาพเลย เพราะมีนายกฯที่ทำหน้าที่เป็น รมต.ต่างประเทศไปด้วย ทำเหมือนตัวเองรู้ทุกอย่าง
การตอบโต้โอไอซีของคุณทักษิณเท่ากับเป็นการดูถูกเขา ภาษาที่ใช้ก็ไม่ต่างอะไรกับวาทศิลป์ที่ใช้ตอบโต้ คุณธีรยุทธ บุญมี หรือพวกขาประจำต่างๆ ซึ่งผิดธรรมชาติทางการทูต ถือเป็นการสร้างพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุมีผลไปสู่สังคมโลก
นายไกรศักดิ์ บอกว่าไทยกับมาเลเซียมีการแลกเปลี่ยนทางการฑูตแบบวันต่อวันในเรื่องปัญหาความไม่สงบในพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอด 2 ปี ที่สำคัญอย่าลืมว่ารัฐบาลไทยเองที่ใช้กำลังเกินเหตุกับชาวมุสลิมและ ไม่เคยมีมีคำขอโทษ หรือลงโทษผู้กระทำผิด รวมทั้งไทยไม่ยอมรับว่าตัวเองได้ทำผิดพลาดไปแล้ว แต่ยังกลับทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ซึ่งเชื่อเลยว่าตราบใดที่เรายังใช้ความรุนแรงอยู่ เขาเองก็ต้องวิจารณ์รัฐบาลเราอยู่ดี เพราะสังคมของมุสลิมจะเป็นสังคมที่มีความ กลมเกลียวเป็นปึกแผ่นกันทำให้มีน้ำหนักมากในเมื่อไม่พอใจกับการได้รับการปฏิบัติจากประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม
พ.ต.ท.ทักษิณ”แข็งกร้าวไปไม่ช่วยเสริมภาพการเป็นผู้นำอาเซียนที่ผ่านมานั้นรัฐบาลไทยใช้การฑูตในเชิงรุกเต็มตัวในเรื่องการขอให้มาเลเซียส่ง131คนไทยกลับมาทันที โดยที่นายกฯมีท่าทีแข็งกร้าวแต่ถึงกระนั้นนายอับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเก็บตัวเงียบไม่ออกมาต่อปากต่อคำ
การที่นายกฯบาดาวี ไม่อยากออกมาตอบโต้นั้นเป็นเพราะเขาไม่อยากที่ขัดแย้งกับประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นวิธีทางการฑูตที่สุภาพมาก และการที่เรารุกในลักษณะนี้ไม่ได้ประโยชน์มีแต่การได้สร้างคะแนนนิยมในทางลบให้คนคลั่งชาติมากกว่า ในทางตรงกันข้ามเขากลับรุกเราจนเสียศูนย์ จากการที่เขายื่นมือขอเจรจาสองต่อสอง เมื่อครั้งที่มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่ามาเลเซีย คิดว่าถึงเวลาที่จะต้องนำปัญหานี้มาคุยกันแต่เราปฏิเสธ
ดังนั้นในเมื่อไม่ร่วมมือแล้วหน่วยงานทุกหน่วยชะงักไป เพราะฉะนั้นการที่เราอัดเขาถึงขนาดนี้แต่เขายังขอจับมือแต่เราไม่จับก็เท่ากับว่าเราเสียมวยไปแล้ว และงานนี้เราเสียเปรียบมากฉะนั้นการแก้ในเรื่องอาจจะต้องไปแก้ในเรื่องของทัศนคติก่อน
ขณะที่ นายอัษฎา ชัยนาม อดีตผู้แทนถาวรประจำองค์กรสหประชาชาติ(ยูเอ็น) กรุงนิวยอร์ค กล่าว ว่า การใช้การฑูตระดับสูงสุดโดยนายกฯนั้นต้องมีความระวังในการใช้ ไม่ใช่ใช้แบบฟุ่มเฟือย และถ้าจะใช้การฑูตลักษณะนี้ต้องมีความรู้ชั้นเชิงและต้องรู้ประเพณีด้วย แต่สถานการณ์ตอนนี้นายกฯเองกลับใช้การฑูตเชิงอารมณ์ที่ตะโกนด่ากัน (Megaphone Diplomacy) ในการสร้างเงื่อนไขที่ต้องการได้ คนไทย131คนกลับคืนมาทันที ทำให้ คุณกันตธีร์ ศุภมงคล รมต.ต่างประเทศ ต้องตามไปกับอารมณ์นายกฯแทนที่จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ ซึ่งการที่ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าไปมีบทบาทมากในทางการฑูต ในเรื่อง 131คนไทย และเรื่องอื่นๆมากไปซึ่งเป็นเรื่องอันตรายเพราะถ้าพลาดไปแล้วมันจะถอยไม่ได้
นายอัษฎา ระบุว่า ต้องยอมรับในระดับหนึ่งว่าการที่โอไอซีออกแถถงการณ์ ตำหนิการทำงานหรือการแสดงความเห็นของทางมาเลเซียนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถมองได้ว่าเป็นการแทรกแซงการทำงานภายในประเทศไทย แต่ตอนนี้วิวัฒนาการของปัญหาได้เปลี่ยนไป ที่เรื่องความขัดแย้งกับศาสนาอิสลามกลายเป็นเรื่อง ข้ามชาติ ประกอบกับทางยูเอ็นก็มีองค์กรมาปกป้องในเรื่องสิทธิมนุษชน จึงคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ให้องค์ระหว่างประเทศแสดงความคิดเห็น
นายอัษฎา กล่าวว่า เมื่อประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์ที่กำลังจนแต้ม ในเรื่องทางการฑูตแต่เรากลับไม่เห็นคุณสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกฯ แสดงความเป็นผู้นำในเรื่องการฑูตออกมาเลยว่าเราจะต้องดำเนินการทางการฑูต อย่างไรแต่กลับไม่มีคำแนะนำออกมาทั้งๆที่เคยเป็นเจ้ากระทรวงบัวแก้วมาตลอด ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าคิดเหมือนกันว่าในกลุ่มประเทศสมาชิกถาวรของยูเอ็น 5 ประเทศจะยอมรับบุคคลที่ไร้ภาวะผู้นำในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างนี้มาเป็นเลขาธิการ ยูเอ็น หรือไม่
"คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าการฑูตคือวิธีการที่นิ่มนวล ซึ่งก็จริงแต่ไม่ใช่ เสมอไปเพราะการฑูตคือความพยายามทำให้นโยบายต่างประเทศบรรลุเป้าหมาย ซึ่ง มีวิธีการต่างๆ ทั้งนิ่มนวลและไม่นิ่มนวลสุดแล้วแต่จังหวะและกาลเวลารวมทั้งอำนาจต่อรองของแต่ละประเทศและนักการฑูตของตน ซึ่งเราเองต้องถามว่าตอนนี้ เรามีอำนาจในการต่อรองกับมาเลเซียด้วยวิธีการแบบนี้หรือไม่ ในเรื่องนี้นายกฯและคุณสุรเกียรติ์ไม่รู้เลย ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่าคุณสุรเกยรติ์ยังมีชั้นเชิงทางการฑูต ที่สู้ไม่ได้เลยกับทางมาเลเซีย"
นายอัษฏา ยังวิเคราะห์ถึงลักษณะทางการฑูตของประเทศไทยในรัฐบาลชุดนี้ว่า เป็นแบบการฑูตอ่อนหัดที่คนใช้ไม่รู้เรื่องและคนที่รู้เรื่องก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ โดยที่คนที่รู้เรื่องและมีความเข้าใจอย่าง นายอานันท์ ปันยารชุน ที่เป็นถึงประธานกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลต้องสร้างให้ นายอานันท์ มีบทบาทมากกว่านี้แต่รัฐบาลก็ไม่ทำ
"ที่พูดได้อย่างนี้เพราะที่ผ่านมาอย่างตอนเกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่11ก.ย.ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสถานฑูตอเมริกาทั่วโลกได้ตั้งโต๊ะให้มีการ ลงนามแสดงความเสียใจ แต่ทำเนียบรัฐบาลไทยกลับสั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศสอบถามสถานฑูตไทยทั่วโลกว่ามีนายกรัฐมนตรีคนไหนลงนามบ้าง แทนที่กระทรวงจะให้คำแนะนำไปว่าลงนามได้เลยเพราะเราทั้ง 2 ประเทศเป็นพันธมิตรกันและเหตุการณ์นี้ก็เป็นโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่"
นอกจากนี้สิ่งที่แย่กว่านั้นคือในช่วงเวลาตอนนั้นนายสรุเกียตริ์เองก็ทำตัวไม่ถูก จนต้องเรียกอดีตนักการฑูตและอดีต รัฐมนตรีเข้ามาให้คำปรึกษา ซึ่งได้มีการตำหนิ นายสุรกียรติ์อย่างรุนแรงโดยหนึ่งในนั้นคือ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ จึงอยากฝากไปว่าธรรมชาติการฑูตคือยิ่งแก่ถึงยิ่งเก่งที่ไม่ใช่แต่เก่งเพียงแค่การศึกษาแต่ตำราอย่างเดียว"
นายอัษฎา กล่าวว่าภาพสะท้อนปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับมาเซีย ถือเป็นการ เปิดแผลให้ประชาชนเห็นชัดเลยว่า ด้านการต่างประเทศเป็นจุดอ่อนของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามจุดแข็งของพรรคในเรื่องของนโยบายประชานิยม เพราะไม่มีใครเลยที่จะสามารถให้คำแนะนำนายกฯในเรื่องทางการฑูต ที่ถูกต้องได้
"ถึงเวลาที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะต้องปรับท่าทีของตัวเองในเรื่องทางการฑูตและหันมา ยอมรับความจริงว่าจะต้องใช้นักการฑูตมืออาชีพจริงๆ และเลิกเข้าไปล้วงลูก การทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ นายกันตธีร์ ศุภมงคล ต้องกล้า ที่เตือนเมื่อคิดว่านายกฯกำลังที่จะพลาดในเรื่องทางการฑูต ซึ่งนายกฯเองก็ต้องรับฟังคำแนะนำด้วยใจจริงเช่นกัน"
"มนุษย์เรานั้นไม่สามารถรอบรู้ทุกอย่างได้ ฉะนั้นหากเรายอมรับข้อจำกัดนี้ เราก็จะได้จุดเริ่มต้นของความฉลาด ยอมสอบถามและพึ่งพาคนที่รู้ดีกว่าเราในปัญหา ต่างๆ หากปฏิบัติตามนี้ได้การทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยความไม่ยากนัก"
นับจากพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว.กลาโหม กล่าวหาว่า มีการประชุมเพื่อวางแผนก่อความไม่สงบในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และซ่องสุมกำลังที่เกาะลังกาวี โดยไม่มีหลักฐานยืนยัน สร้างความไม่พอใจให้มาเลเซียอย่างมาก
ทำให้ มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตผู้นำมาเลเซีย ออกมาตอบโต้ พร้อมเสนอแนะให้ ไทยจัดระบบการปกครองพิเศษใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแก้ปัญหา
สถานการณ์ยิ่งแย่ลง เมื่อเกิดกรณี 131คนไทยที่อพยพไปเพื่อขอลี้ภัยในมาเลเซีย ซึ่งไทยมองว่าเป็นแผนของฝ่ายตรงข้ามเพื่อยกระดับปัญหาในพื้นที่ให้เป็นปัญหาสากล
ความหวาดระแวงเริ่มมีเพิ่มขึ้นเมื่อ มาเลเซีย ไม่ยอมให้ความร่วมมือกับไทยในการเข้าไปสอบสวน 131 คนไทยหรือไม่ยอมให้ 131 คนไทยกลับประเทศโดยอ้างว่ากลัวความไม่ปลอดภัย ที่ร้ายไปกว่านั้น ยังไม่ยอมส่งตัว 1 ใน 131 คนไทย ที่ถูกออกหมายจับคดีปล้นปืนค่ายทหารมาให้ไทยดำเนินคดี
ขณะที่องค์กรภาคประชาชนในมาเลเซีย ก็ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่อง สิทธิมนุษยชน หลังมีข่าวอุ้มฆ่าจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพืื้นที่ภาคใต้ หน้าสถานทูตไทยในมาเลเซีย พร้อมให้บอยคอตสินค้าไทย
ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อดรนทนไม่ได้ถึงกับประกาศว่า พวกที่ไปประท้วงหน้าสถานทูตไทยในมาเลเซีย เป็นหัวหน้าโจร พวกเดียวกับโจรที่ก่อเหตุในภาคใต้
ด้าน ดาโต๊ะ ไซยิด ฮามิด อัลบาร์ รมต.ต่างประเทศมาเลเซีย ออกมาสอนมวยรัฐบาลไทยให้เป็นผู้ใหญ่และมีวุฒิภาวะมากกว่านี้ จนนำไปสู้การตอบโต้กันไปมา
ขณะเดียวกัน องค์การการประชุมอิสลาม(โอไอซี) ก็ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขปัญหาภาคใต้โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนกับพี่น้องมุสลิม
แถลงการณ์ดังกล่าวทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ ฟิวขาดอีกครั้ง ตอบโต้อย่างมีอารมย์อีกครั้ง จะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่รัฐบาลไทยเกิดความไม่เข้าใจกับต่างประเทศนายกรัฐมนตรีไทยมักจะใช้อารมย์และถ้อยคำที่รุนแรงตอบโต้กลับโดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ซึ่งถือเป็นการผิดธรรมชาติทางการทูต และไม่เคยปรากฎมาก่อนในประเทศไทย จนทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วงต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ว.นครราชสีมา ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา ยอมรับว่ารัฐบาลยุคปัจจุบันการฑูตของไทยแทบจะไม่มีประสิทธิภาพเลย เพราะมีนายกฯที่ทำหน้าที่เป็น รมต.ต่างประเทศไปด้วย ทำเหมือนตัวเองรู้ทุกอย่าง
การตอบโต้โอไอซีของคุณทักษิณเท่ากับเป็นการดูถูกเขา ภาษาที่ใช้ก็ไม่ต่างอะไรกับวาทศิลป์ที่ใช้ตอบโต้ คุณธีรยุทธ บุญมี หรือพวกขาประจำต่างๆ ซึ่งผิดธรรมชาติทางการทูต ถือเป็นการสร้างพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุมีผลไปสู่สังคมโลก
นายไกรศักดิ์ บอกว่าไทยกับมาเลเซียมีการแลกเปลี่ยนทางการฑูตแบบวันต่อวันในเรื่องปัญหาความไม่สงบในพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอด 2 ปี ที่สำคัญอย่าลืมว่ารัฐบาลไทยเองที่ใช้กำลังเกินเหตุกับชาวมุสลิมและ ไม่เคยมีมีคำขอโทษ หรือลงโทษผู้กระทำผิด รวมทั้งไทยไม่ยอมรับว่าตัวเองได้ทำผิดพลาดไปแล้ว แต่ยังกลับทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ซึ่งเชื่อเลยว่าตราบใดที่เรายังใช้ความรุนแรงอยู่ เขาเองก็ต้องวิจารณ์รัฐบาลเราอยู่ดี เพราะสังคมของมุสลิมจะเป็นสังคมที่มีความ กลมเกลียวเป็นปึกแผ่นกันทำให้มีน้ำหนักมากในเมื่อไม่พอใจกับการได้รับการปฏิบัติจากประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม
พ.ต.ท.ทักษิณ”แข็งกร้าวไปไม่ช่วยเสริมภาพการเป็นผู้นำอาเซียนที่ผ่านมานั้นรัฐบาลไทยใช้การฑูตในเชิงรุกเต็มตัวในเรื่องการขอให้มาเลเซียส่ง131คนไทยกลับมาทันที โดยที่นายกฯมีท่าทีแข็งกร้าวแต่ถึงกระนั้นนายอับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเก็บตัวเงียบไม่ออกมาต่อปากต่อคำ
การที่นายกฯบาดาวี ไม่อยากออกมาตอบโต้นั้นเป็นเพราะเขาไม่อยากที่ขัดแย้งกับประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นวิธีทางการฑูตที่สุภาพมาก และการที่เรารุกในลักษณะนี้ไม่ได้ประโยชน์มีแต่การได้สร้างคะแนนนิยมในทางลบให้คนคลั่งชาติมากกว่า ในทางตรงกันข้ามเขากลับรุกเราจนเสียศูนย์ จากการที่เขายื่นมือขอเจรจาสองต่อสอง เมื่อครั้งที่มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่ามาเลเซีย คิดว่าถึงเวลาที่จะต้องนำปัญหานี้มาคุยกันแต่เราปฏิเสธ
ดังนั้นในเมื่อไม่ร่วมมือแล้วหน่วยงานทุกหน่วยชะงักไป เพราะฉะนั้นการที่เราอัดเขาถึงขนาดนี้แต่เขายังขอจับมือแต่เราไม่จับก็เท่ากับว่าเราเสียมวยไปแล้ว และงานนี้เราเสียเปรียบมากฉะนั้นการแก้ในเรื่องอาจจะต้องไปแก้ในเรื่องของทัศนคติก่อน
ขณะที่ นายอัษฎา ชัยนาม อดีตผู้แทนถาวรประจำองค์กรสหประชาชาติ(ยูเอ็น) กรุงนิวยอร์ค กล่าว ว่า การใช้การฑูตระดับสูงสุดโดยนายกฯนั้นต้องมีความระวังในการใช้ ไม่ใช่ใช้แบบฟุ่มเฟือย และถ้าจะใช้การฑูตลักษณะนี้ต้องมีความรู้ชั้นเชิงและต้องรู้ประเพณีด้วย แต่สถานการณ์ตอนนี้นายกฯเองกลับใช้การฑูตเชิงอารมณ์ที่ตะโกนด่ากัน (Megaphone Diplomacy) ในการสร้างเงื่อนไขที่ต้องการได้ คนไทย131คนกลับคืนมาทันที ทำให้ คุณกันตธีร์ ศุภมงคล รมต.ต่างประเทศ ต้องตามไปกับอารมณ์นายกฯแทนที่จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ ซึ่งการที่ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าไปมีบทบาทมากในทางการฑูต ในเรื่อง 131คนไทย และเรื่องอื่นๆมากไปซึ่งเป็นเรื่องอันตรายเพราะถ้าพลาดไปแล้วมันจะถอยไม่ได้
นายอัษฎา ระบุว่า ต้องยอมรับในระดับหนึ่งว่าการที่โอไอซีออกแถถงการณ์ ตำหนิการทำงานหรือการแสดงความเห็นของทางมาเลเซียนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถมองได้ว่าเป็นการแทรกแซงการทำงานภายในประเทศไทย แต่ตอนนี้วิวัฒนาการของปัญหาได้เปลี่ยนไป ที่เรื่องความขัดแย้งกับศาสนาอิสลามกลายเป็นเรื่อง ข้ามชาติ ประกอบกับทางยูเอ็นก็มีองค์กรมาปกป้องในเรื่องสิทธิมนุษชน จึงคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ให้องค์ระหว่างประเทศแสดงความคิดเห็น
นายอัษฎา กล่าวว่า เมื่อประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์ที่กำลังจนแต้ม ในเรื่องทางการฑูตแต่เรากลับไม่เห็นคุณสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกฯ แสดงความเป็นผู้นำในเรื่องการฑูตออกมาเลยว่าเราจะต้องดำเนินการทางการฑูต อย่างไรแต่กลับไม่มีคำแนะนำออกมาทั้งๆที่เคยเป็นเจ้ากระทรวงบัวแก้วมาตลอด ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าคิดเหมือนกันว่าในกลุ่มประเทศสมาชิกถาวรของยูเอ็น 5 ประเทศจะยอมรับบุคคลที่ไร้ภาวะผู้นำในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างนี้มาเป็นเลขาธิการ ยูเอ็น หรือไม่
"คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าการฑูตคือวิธีการที่นิ่มนวล ซึ่งก็จริงแต่ไม่ใช่ เสมอไปเพราะการฑูตคือความพยายามทำให้นโยบายต่างประเทศบรรลุเป้าหมาย ซึ่ง มีวิธีการต่างๆ ทั้งนิ่มนวลและไม่นิ่มนวลสุดแล้วแต่จังหวะและกาลเวลารวมทั้งอำนาจต่อรองของแต่ละประเทศและนักการฑูตของตน ซึ่งเราเองต้องถามว่าตอนนี้ เรามีอำนาจในการต่อรองกับมาเลเซียด้วยวิธีการแบบนี้หรือไม่ ในเรื่องนี้นายกฯและคุณสุรเกียรติ์ไม่รู้เลย ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่าคุณสุรเกยรติ์ยังมีชั้นเชิงทางการฑูต ที่สู้ไม่ได้เลยกับทางมาเลเซีย"
นายอัษฏา ยังวิเคราะห์ถึงลักษณะทางการฑูตของประเทศไทยในรัฐบาลชุดนี้ว่า เป็นแบบการฑูตอ่อนหัดที่คนใช้ไม่รู้เรื่องและคนที่รู้เรื่องก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ โดยที่คนที่รู้เรื่องและมีความเข้าใจอย่าง นายอานันท์ ปันยารชุน ที่เป็นถึงประธานกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลต้องสร้างให้ นายอานันท์ มีบทบาทมากกว่านี้แต่รัฐบาลก็ไม่ทำ
"ที่พูดได้อย่างนี้เพราะที่ผ่านมาอย่างตอนเกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่11ก.ย.ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสถานฑูตอเมริกาทั่วโลกได้ตั้งโต๊ะให้มีการ ลงนามแสดงความเสียใจ แต่ทำเนียบรัฐบาลไทยกลับสั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศสอบถามสถานฑูตไทยทั่วโลกว่ามีนายกรัฐมนตรีคนไหนลงนามบ้าง แทนที่กระทรวงจะให้คำแนะนำไปว่าลงนามได้เลยเพราะเราทั้ง 2 ประเทศเป็นพันธมิตรกันและเหตุการณ์นี้ก็เป็นโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่"
นอกจากนี้สิ่งที่แย่กว่านั้นคือในช่วงเวลาตอนนั้นนายสรุเกียตริ์เองก็ทำตัวไม่ถูก จนต้องเรียกอดีตนักการฑูตและอดีต รัฐมนตรีเข้ามาให้คำปรึกษา ซึ่งได้มีการตำหนิ นายสุรกียรติ์อย่างรุนแรงโดยหนึ่งในนั้นคือ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ จึงอยากฝากไปว่าธรรมชาติการฑูตคือยิ่งแก่ถึงยิ่งเก่งที่ไม่ใช่แต่เก่งเพียงแค่การศึกษาแต่ตำราอย่างเดียว"
นายอัษฎา กล่าวว่าภาพสะท้อนปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับมาเซีย ถือเป็นการ เปิดแผลให้ประชาชนเห็นชัดเลยว่า ด้านการต่างประเทศเป็นจุดอ่อนของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามจุดแข็งของพรรคในเรื่องของนโยบายประชานิยม เพราะไม่มีใครเลยที่จะสามารถให้คำแนะนำนายกฯในเรื่องทางการฑูต ที่ถูกต้องได้
"ถึงเวลาที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะต้องปรับท่าทีของตัวเองในเรื่องทางการฑูตและหันมา ยอมรับความจริงว่าจะต้องใช้นักการฑูตมืออาชีพจริงๆ และเลิกเข้าไปล้วงลูก การทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ นายกันตธีร์ ศุภมงคล ต้องกล้า ที่เตือนเมื่อคิดว่านายกฯกำลังที่จะพลาดในเรื่องทางการฑูต ซึ่งนายกฯเองก็ต้องรับฟังคำแนะนำด้วยใจจริงเช่นกัน"
"มนุษย์เรานั้นไม่สามารถรอบรู้ทุกอย่างได้ ฉะนั้นหากเรายอมรับข้อจำกัดนี้ เราก็จะได้จุดเริ่มต้นของความฉลาด ยอมสอบถามและพึ่งพาคนที่รู้ดีกว่าเราในปัญหา ต่างๆ หากปฏิบัติตามนี้ได้การทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยความไม่ยากนัก"